วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 20:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 62, 63, 64, 65, 66, 67, 68 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(* หมายเหตุจากผู้แปล : หลักปฏิสรณะนี้ เป็นหลักสาคัญของฝ่ายมหายาน จัดเป็นแว่นธรรมสาหรับส่องตรวจดูพระสัทธรรมที่แท้จริงด้วย

ข้อแรกหมายความว่า เรื่องภาษาโวหารเป็นเรื่องของบัญญัติ ไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงร้องเรียกอย่างไรก็ได้ แต่ข้อสาคัญอยู่ที่เนื้อความ

เช่นคำว่า “นิโรธ” ก็เป็นภาษาชาวบ้านธรรมดา แปลว่าดับ แต่เมื่อใช้ในทางธรรม นอกจากจะหมายถึงความดับเช่นไฟดับธรรมดาแล้ว ยังหมายถึงสภาพพ้นทุกข์พ้นกิเลสอีกด้วย เราจึงต้องถือเนื้อความเป็นใหญ่กว่าโวหารบัญญัติ

ข้อสอง เนื่องด้วยความรู้ทางอายตนะอาจหลอกเราได้ เช่นคนเดินไปในที่มืดเหยียบเชือกสาคัญคิดว่างู เลยตกใจกลัวถึงนอนป่วยก็มี อารมณ์โลกเป็นเรื่องของมายาที่แสดงหลอกเรา

ฉะนั้นจะถือเอาความจริงทางความรู้ทางอายตนะย่อมไม่แน่แท้ สู้สติปัญญากล่าวคือวิปัสสนาปัญญา ซึ่งสามารถเพิกมายาออกเสียได้

ข้อสาม ฝ่ายมหายานถือว่า บรรดาพระสัทธรรม ซึ่งพระบรมศาสดาแสดงประทานไว้แก่เวไนยสัตว์นั้น ย่อมแสดงให้เหมาะแก่อินทรีย์ อุปนิสัยชั้นภูมิแห่งสัตว์

จึงมีประเภทปริยายธรรมกล่าวคือธรรมซึ่งยังต้องขยายความหรือยังมีนัยที่เหลืออีก

เช่นหลักธรรมที่ว่าด้วยเรื่องการประพฤติธรรม เพื่อบรรลุสุขเยี่ยงโลกียชนเป็นต้น ทรงแสดงแก่สัตว์ที่ยังมีภูมิอินทรีย์อ่อน

ส่วนสัตว์ซึ่งมีอินทรีย์สูงกล้าแล้ว ทรงแสดงปรมัตถธรรม ชี้ให้เห็นความเป็นมายาของโลก

นี้ชื่อว่านิปปริยายธรรม คือธรรมที่ไม่มีนัยที่ต้องไขความกันอีก เป็นการแสดงถึงแก่นสูงสุดของพระพุทธศาสนา

ข้อสุดท้าย ทางมหายานนับถือความถูกต้องเหตุผลเป็นสาคัญ หลักธรรมจะเป็นใครกล่าวก็ตาม ถ้าชอบด้วยเหตุผล เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์แล้ว ก็ให้ถือเป็นหลักปฏิบัติได้

อันที่จริงทั้ง ๔ ข้อนี้ ก็มีนัยอยู่ในหลักพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท

หรือจะพูดให้ถูกต้องก็ว่า เป็นหลักการของพระพุทธศาสนานั่นเอง ไม่ใช่ของฝ่ายเถรวาทหรือฝ่ายมหายาน)


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกรงว่าจะอ่านจบในครั้งเดียวลำบาก .. :b5: :b46: :b39:

ขอแตกในส่วนของ ตถาคตพีชะ-โพธิจิต และโพธิสัตว์จริยาไว้คราวหน้าแล้วกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

และเพื่อไม่ให้เนื้อหามากเกินไปจนไม่ได้ขึ้นการฝึกสติลงที่ใจเสียที :b46: :b47: :b46:

สำหรับพระสูตรที่น่าสนใจของมหายานส่วนที่เหลือ ก็จะใช้การสรุปย่อเนื้อความมาลงแทนนะครับ :b1: :b46: :b39:

เพราะเห็นว่า ด้วย highlight ที่ตัดมาพอเป็นตัวอย่างโดยตรงจากปรัชญาปารมิตาสูตร และวิมลเกียรตินิทเทสสูตร ก็น่าจะเพียงพอให้มิตรทางธรรมได้สัมผัสถึงสิ่งที่เรียกเป็นภาษาสันสกฤตว่า ปรัชญา หรือภาษาบาลีเรียกว่า ปัญญา ของทางมหายานได้แล้ว

และหวังว่าผู้ศึกษา ยังสามารถเห็นถึงการที่ทั้งมหายานและเถรวาท ถึงแม้ว่าจะถูกห่อหุ้มด้วยเปลือกคนละเปลือกในภายนอก แต่ในภายในก็มีแก่นธรรมแก่นเดียวกัน ซึ่งสืบสายธารมาจากคำสอนของพระบรมครูองค์เดียวกันด้วยนะครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันในส่วนที่ว่าด้วยตถาคตพีชะและโพธิจิตที่อยู่ในวิมลเกียรตินิทเทสสูตรครับ :b1: :b46: :b39:

และเพื่อเป็นการปูพื้นในความหมายของคำว่า ตถาคตพีชะ - ตถาคตครรภ์ - โพธิจิต ของทางมหายาน วิสุทธิปาละเลยต้องขออนุญาตยกเอาคำอธิบายจากหนังสือสัญลักษณ์แห่งพระสถูป ซึ่งโพสท์อยู่ใน FB ก่งฮุกของจีนนิกายมาขยายความตามด้านล่างนี้นะครับ :b1: :b46: :b39:

------- :b46: :b39: :b46: ------- :b46: :b39: :b46: ------- :b46: :b39: :b46: --------

ตถาคตครรภ์นี้มีอยู่ในคำสอนของมหายานหลายนิกาย เช่น ในคัมภีร์ของนิกายมัธยมิก,นิกายโยคาจาร นิกายหัวเหลียน ฯ

ตถาคตครรภ์นี้เป็นตัวอ่อนทางจิตวิญญาณที่สถิตอยู่ในสิ่งมีชีวิตทั้งปวง

คำว่าตถาคตถ้าแปลตรงตัวอักษร “ไปเช่นนั้น” ในที่นี้ใช้ในความหมายว่า ความเป็นเช่นนั้น (ตถตา) ซึ่งก็คือธรรมกายหรือเป็นสิ่งปรมัตถ์

ดังนั้น ตถาคตครรภ์ก็คือ “ตถตา" หรือธาตุพุทธะซึ่งซ่อนอยู่ภายในกายมนุษย์ทุกคน เป็นแกนค้ำจุนจิตที่เป็นต้นกำเนิดแห่งเอกจิตของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เป็นสถานที่เพาะเมล็ดพันธุ์ (พีชะ) แห่งการรู้แจ้ง

ดังนั้น ครรภ์แห่งตถาคตจึงเป็นเหตุเป็นผลแห่งพุทธภาวะ เป็น “อาณาจักรแห่งปัญญาอันสูงสุดที่บรรลุได้ในตัวตนอันลึกซึ้งที่สุดของบุคคล”

ตถาคตครรภ์ คือตถตา อันแฝงอยู่ภายในสิ่งมีชีวิตทั้งปวง

อย่างไรก็ดี มีความแตกต่างระหว่างตถตาในการบุคคลที่ยังมีกิเลสตัณหา (สมลา-ตถตา) ซึ่งเป็นตถาคตครรภ์ของผู้ที่ยังมีอวิชชา กับตถตาในภาวะบริสุทธิ์ (นิรมลา-ตถตา) ซี่งเป็นพุทธภาวะอันสมบูรณ์

โดยธรรมชาติแล้ว ตถาคตครรภ์ สุกใสบริสุทธิ์ไร้ราคี ซ่อนอยู่ในกายมนุษย์ประดุจอัญมณีมีค่า แต่ถูกห่อหุ้มด้วยเครื่องนุ่งห่มอันสกปรก เครื่องนุ่งห่มนั้นได้แก่ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และคลุกเคล้าด้วยโลภะ โทสะและโมหะ

พุทธภาวะซึ่งหลบซ่อนอยู่ภายในส่วนที่ลี้ลับที่สุดของจิตใจมนุษย์ ถูกปกคลุมห่อหุ้มด้วยความเห็นผิด (ปริกัลป์ปะ วิกัลลปะ) ทำให้ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆตามสภาพความเป็นจริงว่า ไม่มีอะไรเป็นของเรา และด้วยความหลงยึดมั่นถือมั่น (อภินิเวสะ) ซึ่งเกิดจากความหลงผิดว่าสรรพสิ่งเป็นนิรันดร์

มรรควิถีของพระพุทธเจ้าคือการชำระสิ่งสกปรกที่ห่อหุ้มนั้นเสีย เพื่อให้เห็นจิตประภัสสรดั่งอัญมณีที่ซ่อนอยู่ภายใน เมื่อขจัดสิ่งสกปรกได้แล้ว ครรภ์แห่งตถาคตก็จะเป็นความรู้ที่ไม่แบ่งแยก (นิชวิกัลป์ปะ-ชญาณ) ซึ่งรับรู้ตถตาได้โดยตรง


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปรวมความแล้ว คำว่า ตถาคตพีชะ - ตถาคตครรภ์ - โพธิจิต ในทางมหายานนั้น มีความหมายไปในทางเดียวกันนะครับ :b1: :b46: :b39:

คือหมายถึงธาตุแห่งความเป็นพุทธะ ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ (พีชะ) หรือหน่ออ่อนแห่งการตรัสรู้ :b46: :b44: :b39:

เป็นพุทธภาวะอันบริสุทธิ์ดั้งเดิมที่มีแฝงอยู่ในจิตของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายอยู่แล้ว เพียงแต่ถูกกิเลสคืออวิชชา ความหลงผิดแห่งจิตห่อหุ้มอยู่ จึงไม่สามารถเติบโตงอกงามออกมาได้
:b46: :b47: :b46:

แต่ความหมายของตถาคตพีชะ จะกว้างกว่าตถาคตครรภ์อยู่บ้าง :b47: :b49: :b50:

คือแม้แต่กิเลสอวิชชาต่างๆ ก็ยังแฝงไปด้วยตถาคตพีชะ อันได้แก่เชื้อหรือปัจจัยที่จะทำให้เมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะ ใช้เป็นอาหารเพื่อให้เจริญงอกงามขึ้นมาได้ :b46: :b47: :b42:

ดั่งดอกบัวที่เจริญงอกงาม จากการหล่อเลี้ยงด้วยธาตุอาหารที่มีอยู่ในโคลนตม
:b49: :b48: :b47:

(ซึ่งในทางมหายานนิกายเซ็นยังเพิ่มคำว่า "จิตเดิมแท้" เข้ามาอีก ซึ่งตามความหมายอย่างเคร่งครัดแล้ว อาจจะไม่ตรงกับคำว่าตถาคตพีชะของทางมหายานดั้งเดิมซักเท่าไหร่ และยิ่งแตกต่างมากมายกับคำว่า จิตประภัสสรของทางเถรวาทด้วย ซึ่งเอาไว้ขยายความอีกทีเมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติในแนวทางของเซ็นนะครับ) :b50: :b51: :b53:

ตถาคตพีชะ จึงเปรียบได้ทั้งอาหารและตัวอ่อนทางจิตวิญญาณของเหล่าสัตตานัง ที่พร้อมจะถูกหล่อเลี้ยงให้เจริญเติบโตไปเป็นโพธิจิตที่มุ่งมั่นต่อพุทธภูมิ เพียรบำเพ็ญเพื่อสะสมบารมีทางด้านกรุณาและปัญญา จนไปสู่การบรรลุแจ้งในศูนยตาซึ่งเป็นโลกุตรธรรมอันเป็นที่สุด :b46: :b47: :b41:

โดยต้องทำเหตุทำปัจจัยที่เกื้อหนุนให้ถูกต้อง จนเห็นแจ้งในความเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) ด้วยอาการอันเป็นไปเช่นนั้นเอง (ตถาคตา) และสามารถเรียกท่านผู้ตรัสรู้แล้วนั้นได้ว่า เป็นผู้ที่มาและไปอย่างนั้นเอง (ตถาคต)
:b8: :b46: :b39:

(ซึ่งคติตรงนี้คือ ทางมหายานจะเน้นไปที่การบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ให้ได้มากที่สุดก่อน แล้วจึงเข้าสู่การบรรลุโลกุตรธรรมจนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยตนเองในอนาคต ส่วนทางเถรวาทจะเน้นไปที่การรู้ตาม จนสำเร็จเป็นพระอรหันตสาวกในภพปัจจุบัน) :b48: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยทั้งนี้ ตถาคตพีชะหรือตถาคตครรภ์ที่มีอยู่ในเหล่าสรรพสัตว์ จะไม่มีข้อจำกัดว่า สัตตานังหรือสิ่งมีชิวิตที่มีวิญญาณครองซึ่งยังติดข้องอยู่ในวัฏฏะนั้น มีความโง่หรือความฉลาดแห่งปัญญาในทางโลกแก่อ่อนเพียงไหน, ทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมสะสมเป็นวิบากมาน้อยมากอย่างไร, หรือในขณะนั้นเกิดอยู่ในอัตภาพที่อยู่ในภพภูมิใด ฯลฯ :b46: :b47: :b46:

ทั้งหมดทั้งมวลต่างก็มีความสามารถที่จะบรรลุโลกุตรธรรม "ในอนาคต" ได้เสมอเหมือนกันหมด โดยเข้าสู่พุทธภูมิสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสำหรับคติของมหายาน หรือเป็นผู้รู้ตามเข้าสู่สาวกภูมิ สำเร็จเป็นพระอรหันต์สาวกตามคติของทางเถรวาท ถ้าสะสมบารมีจนมากพอ ด้วยการทำเหตุปัจจัยให้ถูกต้อง
:b46: :b39: :b46:

(เพียงแต่อาจจะไม่สามารถสำเร็จกิจได้ในสภาพนั้นๆ อัตภาพนั้นๆ หรือภพภูมินั้นๆ ในชาตินั้นๆ :b48: :b47: :b49:

แต่เมื่อพ้นไปจากชาตินั้นๆ สภาพนั้นๆ อัตภาพนั้นๆ หรือภพภูมินั้นๆในอนาคตแล้ว ก็ยังสามารถบรรลุธรรมได้ ในชาติใหม่ ถ้าครองสภาพใหม่ ครองอัตภาพใหม่ และครองภพภูมิใหม่ที่เหมาะสม ที่เอื้อต่อการบรรลุธรรม และทำเงื่อนไขปัจจัยให้ถูกต้อง) :b49: :b50: :b44:

ยกตัวอย่างการไร้ซึ่งข้อจำกัดต่อโอกาสของการบรรลุธรรม "ในอนาคต" สำหรับเหล่าสัตตานังตรงนี้ ที่ปรากฏในสมัยพุทธกาลจากพระไตรปิฎกของเถรวาท ก็เช่น :b47: :b46: :b42:

ท่านจูฬปันถกเถระ ซึ่งเป็นผู้ที่มีปัญญาทางโลกน้อย ไม่สามารถแม้แต่จะท่องจำคาถาสั้นๆที่พี่ชายคือท่านมหาปันถกเถระสอนได้ แต่ก็สามารถบรรลุธรรมสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด :b8: :b46: :b39:
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=3

หรือท่านองคุลีมาลเถระ ที่ถึงแม้ว่าจะทำอกุศลกรรมมามากมาย (แต่ยังไม่ถึงขั้นปิดมรรคผลในชาตินั้นๆ) ก็ยังสามารถบรรลุธรรมได้ :b8: :b46: :b39:
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=8237&Z=8451&pagebreak=0
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=521


หรือแม้แต่พระเทวทัต ที่ทำกรรมหนักถึงขนาดปิดมรรคผลในชาตินั้นๆ และต้องเปลี่ยนภพภูมิลงไปอยู่ในนรกขั้นต่ำสุดคืออเวจีมหานรก แต่ก็ยังได้รับพุทธพยากรณ์ว่า จะบรรลุธรรมได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต นามว่าอัฏฐิสสระ ฯลฯ :b8: :b46: :b39:
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=12

หรือเหล่าท่านพระอรหันตสาวก หรือแม้แต่พระบรมครูเองก็ตาม ต่างก็เคยครองอัตภาพในภพภูมิเดรัจฉาน หรือภพภูมิอื่นๆในอดีต ทั้งที่สูงกว่าและต่ำกว่ามาแล้วด้วยกันทั้งสิ้น สะสมบารมีมาอย่างยากลำบากด้วยการทำเหตุปัจจัยให้ถูกต้อง จนสามารถบรรลุธรรมได้ในที่สุด นะครับ :b8: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และคติธรรมของมหายานในเรื่องตถาคตพีชะที่มีแฝงอยู่ในเหล่าสรรพสัตว์ทั้งปวงตรงนี้ ก็ให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์ เป็นกุศโลบายที่แยบคายในทางปฏิบัติ :b46: :b47: :b46:

นั่นคือ หากระลึกได้ว่า ไม่ว่าทุกคนจะเกิดมาในสภาพเช่นไร อับปัญญาในทางโลกมากเพียงไหน หรือในอดีตเคยทำชั่วมามากเท่าไหร่ก็ตาม ฯลฯ :b48: :b47: :b49:

ถ้าสามารถกลับตัวกลับใจ แน่วแน่ในการปฏิบัติธรรมแล้ว ก็ขอให้มั่นใจ และภูมิใจเสียเถิดว่า เราทุกคนต่างเป็นลูกของพระพุทธเจ้า มีเชื้อสายของพระพุทธเจ้าแฝงอยู่ในยีนในดีเอ็นเอทางจิตวิญญาณกันโดยถ้วนทั่ว :b49: :b50: :b55:

เมื่อเห็นได้ดังนี้ ระลึกได้ดังนี้ ก็ขอให้จงตั้งมั่นอย่าได้ท้อถอยในการปฏิบัติ ชาตินี้ไม่ได้ ก็สะสมต่อไปในชาติหน้า หรือชาติต่อๆไปนะครับ :b1: :b4: :b39:

ซึ่งถ้าตั้งจิตอธิษฐานไว้และปฏิบัติได้ตรงดีแล้ว สักวันหนึ่ง ในภพภูมิหนึ่งของอนาคตข้างหน้า ความแน่วแน่ต่อการปฏิบัติตามธรรมดังว่า ก็จะเป็นตัวนำทางให้ตถาคตพีชะ ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะที่มีอยู่ในจิตของทุกเหล่าสรรพสัตว์ ได้เจริญงอกงาม แทงหน่อต่อยอด พัฒนาขึ้นเป็นโพธิจิตจนเต็มขั้น และเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ที่สุดแห่งธรรมลงได้อย่างเป็นเช่นนั้น นั่นเอง
:b8: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปูพื้นเกี่ยวกับตถาคตพีชะแล้ว มาศึกษากันต่อที่พระสูตรครับ :b1: :b46: :b39:

-------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: --------

ลำดับนั้น ท่านวิมลเกียรติคฤหบดี ได้ถามพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ว่า

"ข้าแต่พระคุณเจ้ามัญชุศรีผู้เจริญ ธรรมอะไรหนอชื่อว่าพระตถาคตพีชะ?"

พระมัญชุศรีตอบว่า

"ดูก่อนคฤหบดี สรีรกายนี้แล ชื่อว่าพระตถาคตพีชะ
อวิชชา ภวตัณหาชื่อว่าพระตถาคตพีชะ
โลภะ โทสะ โมหะชื่อว่าพระตถาคตพีชะ

แม้วิปลาส ๔ และนิวรณ์ ๕ ก็ชื่อว่าพระตถาคตพีชะ
สฬายตนะ ๖ ชื่อว่าพระตถาคตพีชะ
วิญญาณธาตุ ๗ มิจฉัตตะ ๘ เหล่านี้ ก็นับว่าเป็นพระพุทธพีชะ
แลเมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้ว มิจฉาทิฐิ ๖๒ กับปวงกิเลสล้วนเป็นพระพุทธพีชะได้ทั้งสิ้น"

ถาม "ข้อนั้น เพราะเหตุดังฤๅ?"

ตอบ "เพราะเหตุว่า หากบุคลเป็นผู้สำเร็จอริยผล ได้บรรลุพระนิพพานไซร้ บุคคลนั้นก็ย่อมไม่อาจตั้งจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้"

"อุปมาดั่งพื้นปฐพีดลอันสูงลิ่ว ย่อมไม่เป็นฐานะที่ดอกโกมุทจักพึงอุบัติขึ้นได้
แต่ถ้าเป็นพื้นที่ตํ่า เป็นเลนตมชื้นแฉะ จึงเป็นแหล่งอันปทุมชาติจักพึงอุบัติขึ้นได้ฉันใด

บุคคลผู้ได้สำเร็จอริยผล บรรลุพระนิพพานแล้วไซร้
ย่อมไม่อาจจักยังเขาให้ตั้งจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้

ในท่ามกลางโคลนตมคือกิเลส จึงมีผู้สามารถบังเกิดจิตปณิธานต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็มีอุปมัยฉันนั้น

อนึ่ง เปรียบเหมือนผู้ที่หว่านพืชลงในกลางอากาศ พืชนั้นย่อมไม่มีทางจักเจริญงอกงามขึ้นได้เลย
แต่หากหว่านพืชลงในสถานพื้นที่โสโครก พืชนั้นกลับจักเจริญงอกงามขึ้น


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นเดียวกับบุคคลผู้สำเร็จอริยผล บรรลุพระนิพพานไปแล้ว
ย่อมไม่อาจตั้งจิตปณิธานต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้อีก

โดยประการตรงกันข้าม บุคคลผู้ที่ยังมีอัตตานุทิฐิกว้างขวางใหญ่โต ครุวนาดั่งจอมสุเมรุบรรพต
กลับจักสามารถบังเกิดจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ ด้วยประการฉะนี้แล

ท่านคฤหบดี! ขอท่านพึงกําหนดรู้ไว้ว่า สรรพกิเลสาสวะทั้งหลาย แต่ละอย่างล้วนนับเป็นพระตถาคตพีชะ

อนึ่ง เปรียบเหมือนบุคคลผู้ปรารถนาจักได้ดวงมณีอันหาค่าเปรียบมิได้
มาตรแม้ว่าเขาไม่ออกไปสู่สาครสมุทรอันลํ้าลึกเพื่อเสาะแสวงหาไซร้
ไหนเลยจักได้เป็นเจ้าของมณีรัตน์อันลํ้าค่าเห็นปานนั้นได้เล่า

ความอุปมานี้ฉันใด ความอุปมัยเช่นเดียวกับบุคคลผู้มิได้เข้าไปสู่ท่ามกลางมหาโอฆกันดารแห่งกิเลส ก็ย่อมไม่อาจสำเร็จบรรลุในสรรเพชดาญาณรัตนะก็ฉันนั้นแล"

"สาธุ! สาธุ! ท่านมัญชุศรีผู้เจริญ ท่านกล่าวได้แหลมลึกนัก ความจริงย่อมเป็นดั่งคำกล่าวของท่านมิคลาดเคลื่อน กล่าวคือสรรพกิเลสทั้งปวงย่อมเป็นพระตถาคตพีชะ *

(* หมายเหตุจากผู้แปล : เพราะถ้าไม่มีความทุกข์เพราะกิเลสในสรรพสัตว์ ก็จักไม่มีผู้ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อเปลื้องทุกข์ภัยให้แก่สรรพสัตว์ได้)

(หมายเหตุวิสุทธิปาละ : ตรงนี้เทียบได้คำเทศน์ของหลวงปู่มั่น หลวงปู่ชา และหลวงปู่นัท ฮันห์ ที่ท่านกล่าวไว้ประมาณว่า เพราะมีกิเลสมีโคลนตม ธาตุรู้หรือดอกบัวอันบริสุทธิ์จึงงอกงามพ้นน้ำขึ้นมาได้)
:b46: :b39: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาต่อกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโพธิสัตว์จริยา หรือการบำเพ็ญเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ตามด้านล่างครับ :b1: :b46: :b39:

-------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: -------- :b46: :b39: :b46: --------

"ดูก่อนคฤหบดี พระโพธิสัตว์จักพึงบรรลุเข้าถึงพระพุทธภูมิโดยประการใดหนอ?"

วิมลเกียรติคฤหบดีตอบว่า

"ข้าแต่พระคุณเจ้า หากพระโพธิสัตว์ใดสามารถดำเนินตามปฏิปทาอันตรงกันข้ามกับปฏิปทาเพื่อบรรลุพระพุทธภูมิไซร้ พระโพธิสัตว์นั้นย่อมชื่อว่าบรรลุเข้าถึงพระพุทธภูมิโดยแท้เทียว"

ถาม "ที่ชื่อว่าดำเนินตามปฏิปทาอันตรงกันข้ามกับปฏิปทาเพื่อบรรลุพระพุทธภูมินั้น เป็นไฉนเล่า?"

ตอบ "หากพระโพธิสัตว์สามารถบำเพ็ญโพธิจริยา ในท่ามกลางปัญจานันตริยภูมิ*ได้ โดยปราศจากความวิปฏิสารเร่าร้อนด้วยกิเลส

(* หมายเหตุจากผู้แปล : ปัญจานันตริยภูมิ หมายถึงนรกซึ่งผู้ที่ก่อปัญจานันตริยกรรม เข้าไปเสวยทุกข์อยู่ พระโพธิสัตว์ลงไปเกิดในภูมิดังกล่าว เพื่อโปรดสัตว์นรกเหล่านั้นโดยปราศจากความหวาดหวั่นต่อความทุกข์ยากในนรกนั้น)

เข้าไปสู่ภูมินรกได้ โดยปราศจากการครอบงำแปดเปื้อนด้วยมลทินใดๆ
ตั้งอยู่ในภูมิเดรัจฉานได้ โดยปราศจากโทษแห่งอวิชชา สาเถยยะ มานะเป็นต้น
บังเกิดในภูมิเปรตอสูรกายได้ โดยมีสรรพกุศลธรรมบริบูรณ์ไม่บกพร่อง

แม้จักอุบัติในรูปาวจรภพ อรูปาวจรภพ แต่ก็ไม่สำคัญหมายว่านั่นเป็นภพอันวิเศษ
แม้จักสำแดงให้เห็น และประหนึ่งว่าเป็นผู้มีอภิชฌาวิสมโลภะ แต่ความจริงนั้นเป็นผู้เว้นจากปวงฉันทราคะ

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีโทสะ แต่ความจริงเป็นผู้ปราศจากความกีดขวางเป็นภัยต่อสรรพสัตว์
แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้โง่เขลา แต่ความจริงเป็นผู้มีสติปัญญาญาณ ฝึกหัดอบรมจิตของตนและของผู้อื่นให้อยู่ในอำนาจได้

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้มีมัจฉริยะตระหนี่ถี่เหนียว แต่ความจริงเป็นผู้เสียสละสรรพสมบัติทั้งภายในภายนอก จนที่สุด แม้สละชีวิตก็สามารถสละได้


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้ทุศีล แต่ความจริงเป็นผู้สถิตอยู่ในศีลสังวรอันบริสุทธิ์เสมอ จนที่สุดแม้โทษอันเล็กน้อยก็มีความครั่นคร้ามยิ่งนัก มิอาจล่วงสิกขาบทได้

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีความโกรธ แต่ความจริงเป็นผู้มีใจตั้งอยู่ในเมตตากษานติธรรมเป็นนิตย์

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งว่าเป็นผู้มีโกสัชชะ(ความเกียจคร้าน) แต่ความจริงเป็นผู้ขวนขวายพากเพียรในการสร้างกุศลธรรมยิ่งนักหนา

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แต่ความจริงเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิจิตมิขาด

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้มีโมหะโฉดเขลา แต่ความจริงเป็นผู้รอบรู้แตกฉานในโลกิยปัญญา และโลกุตตรปัญญา

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้มีมารยา แต่ความจริงเป็นผู้อนุโลมตามอรรถแห่งพระสูตรทั้งหลายโดยกุศโลบายเพื่อโปรดสัตว์

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้มีความเย่อหยิ่งทะนงถือตัว แต่ความจริงเป็นผู้รับใช้บำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ปวงสัตว์ ดุจสะพานเป็นที่อาศัยเดินข้ามของปวงชนฉะนั้น

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสรรพกิเลส แต่ความจริงจิตภายในของเขาสะอาดหมดจดเป็นนิรันดร์

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้เข้าไปสู่มารสมาคม แต่ความจริงเป็นผู้ที่ปฏิบัติตนตามพระพุทธปัญญา ไม่รับปฏิบัติตามมารานุศาสน์เลย

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้ยากจนเข็ญใจ แต่ความจริงเป็นผู้อุดมด้วยรัตนกรคุณานันต์

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้พิกลพิการ แต่ความจริงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศุภลักษณ์ อันเลอเลิศอเนกพรรณรายประดับตน


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้อยู่ในวรรณะตํ่า แต่ความจริงเป็นผู้อุบัติในพระพุทธวงศ์อันประเสริฐ สะพรั่งพร้อมด้วยสรรพคุณานุคุณ

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้อัปลักษณ์ทุพพลภาพ แต่ความจริงเป็นผู้มีสรีรกายดุจองค์นารายณ์เทพ เป็นปรียทัศนาแห่งสรรพสัตว์

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้อันชราพยาธิบีฑา แต่ความจริงเป็นผู้อันยังพยาธิมูลสมุจเฉทแล้ว เป็นผู้ข้ามจากมรณภัยแล้ว

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยสรรพสิ่งอุปโภคบริโภคทรัพย์สินเครื่องบำรุง แต่ความจริงเป็นผู้ตั้งอยู่ในอนิจจานุปัสสนาเป็นนิตย์ ปราศจากอภิชฌาวิสมโลภะใดๆ

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้มีภริยาคู่ครอง ทารสมบัติ แต่ความจริงเป็นผู้ห่างเว้นจากเบญจพิธกามคุณ ดุจปทุมมาลย์ซึ่งเจริญขึ้นพ้นจากโคลนตมฉะนั้น

แม้จักสำแดงให้เห็นเป็นผู้มีวาจาติดขัด ไม่แคล่วคล่องว่องไว แต่ความจริงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งสรรพปฏิสัมภิทา ปฏิภาณโกศล สำเร็จสมบูรณ์มิเสื่อมถอย

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้แสดงคติธรรมฝ่ายมิจฉาทิฐิของพวกพาหิรลัทธิ แต่ความจริงเป็นผู้แสดงคติธรรมฝ่ายสัมมาทิฐิโปรดปวงสัตว์ให้พ้นทุกข์

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้เข้าถึงฉคติทั้ง ๖ แต่ความจริงเป็นผู้มีคติมูลสมุจเฉทแล้ว

แม้จักสำแดงให้เห็นประหนึ่งเป็นผู้บรรลุพระนิพพาน แต่ความจริงเป็นผู้ไม่ละชาติมรณะให้ขาดสิ้น (เพื่ออาศัยชาติมรณะนั้นบำเพ็ญหิตประโยชน์แก่ปวงสัตว์)

ข้าแต่พระมัญชุศรีผู้เจริญ พระโพธิสัตว์ใดสามารถดำเนินตามปฏิปทาอันตรงข้ามดั่งกล่าวมานี้ ย่อมชื่อว่าพระโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้บรรลุเข้าถึงพระพุทธภูมิโดยแท้เทียว"


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"พระโพธิสัตว์มีปรัชญาเป็นมารดา มีอุปายะเป็นบิดา อันพระผู้นำทางพ้นทุกข์แก่สํ่าสัตว์ ไม่มีสักพระองค์หนึ่งเลยที่จักไม่อุบัติขึ้นจากมารดาบิดาดังกล่าวนี้*"

(* หมายเหตุจากผู้แปล : หมายความว่า พระโพธิสัตว์มีทั้งปัญญาและมีทั้งอุปายโกศลที่จะสอนสัตว์ให้พ้นทุกข์ให้ถูกกับจริตของสัตว์ เมื่อเป็นไปได้เช่นนี้ชื่อว่าได้สาเร็จโพธิญาณบำเพ็ญพุทธกิจโดยสมบูรณ์ สำนวนเหล่านี้เป็นสำนวนเปรียบเทียบธรรมาธิษฐานกับบุคคลาธิษฐาน)

"กระผมเอาปีติในพระธรรมมาเป็นคู่เคียง
มีจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตากรุณาเป็นบุตรสาว

เอาความซื่อสัตย์สุจริตใจเป็นบุตรชาย
มีศูนยตาเป็นเรือนอาศัย
เอาสรรพสัตว์เป็นศิษย์

กระผมย่อมอบรมสั่งสอนสัตว์เหล่านั้นได้ตามปรารถนา
อนึ่ง กระผมมีโพธิปักขิยธรรมเป็นกัลยาณมิตร ได้อาศัยธรรมดั่งกล่าวนี้แล้วจึงถึงภูมิตรัสรู้ได้"

"ความทรงไว้ซึ่งสรรพธรรมอรรถ เป็นอุทยานของกระผม
อนาสวธรรมเป็นไพรพฤกษ์ มีจิตตรัสรู้เป็นบุปผชาติลดาวัลย์
เผล็ดผลกล่าวคือวิมุตติญาณ วิโมกข์ ๘ เป็นสระโบกขรณี

มีสมาธิจิตเป็นวารีอันเต็มเปี่ยมเสมอ
สะพรั่งด้วยบัวบานปราศจากมลทิน ๗ อย่าง กล่าวคือวิสุทธิ ๗
กระผมได้อาบรดด้วยวารีดั่งกล่าวนั้น"

"กระผมมีอภิญญา ๕ เป็นช้างม้าที่ไปได้เร็ว
มีมหายานธรรมเป็นยวดยาน เอกัคตาจิตเป็นนายสารถี
กระผมอาศัยยานพาหนะเช่นนี้ท่องเที่ยวไปตามหนทาง กล่าวคืออัฏฐังคิกมรรค ๘"

"มหาปุริสลักษณะ ๓๒ เป็นรูปร่างของกระผม
มีอนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นอลังการแห่งองคาพยพ
มีหิริโอตตัปปะเป็นวิภูษิตาภรณ์
จิตที่สุขุมคัมภีรภาพเป็นศิราภรณ์

กระผมมั่งคั่งด้วยอริยทรัพย์ทั้ง ๗
อนึ่ง การสั่งสอนอบรมทวยนิกรสัตว์ให้เป็นผู้สมบูรณ์ในอริยทรัพย์นั้น เพื่ออุทิศในพระโพธิญาณ นับว่าเป็นดอกเบี้ยประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของกระผมทีเดียว"

"กระผมเอารูปาวจรฌานทั้ง ๔ เป็นอาสนะ
มีความเป็นอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
มีพหูสูตเป็นเครื่องทวีปัญญากับทั้งเป็นเสียงยังตนเองให้รู้แจ้ง

โภชนาหารของกระผมเล่าคืออมฤตธรรม มีวิมุตติรสเป็นนํ้าปานะ
กระผมโสรจสรงสนานตัวด้วยการชำระจิตให้บริสุทธิ์ ลูบไล้ด้วยสุคันธชาติ กล่าวคือศีล"


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"กระผมหักหาญโจรคือกิเลสให้พินาศย่อยยับ
มีวีรภาพอันยิ่งยงปราศจากผู้เปรียบเกิน ยังมาร ๔ ประเภทให้ตกอยู่ในอำนาจ
สถาปนาธรรมมณฑลขึ้นแล้ว ยังธรรมวิชัยธุชให้โบกไสว"

"ถึงมาตรว่า กระผมจักรู้แจ้งในธรรมอันปราศจากความเกิดขึ้นแลดับไป
แต่เพื่อโปรดสรรพสัตว์ จึงยังคงวนเวียนท่องเที่ยวในภพอีก
มีกายปรากฏในสรรพโลกานุโลกดั่งดวงภานุมาศ ซึ่งปรากฏแก่ชนทั้งหลายฉะนั้น"

"กระผมได้บูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีประมาณพระองค์อันจักพึงนับมิได้ทั่วทศทิศ
โดยมิได้เกิดวิกัลปสัญญาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายกับตนเองแตกต่างกันเลย

ถึงมาตรกระผมรู้จักว่าสรรพพุทธเกษตร แลสรรพสัตว์ล้วนเป็นศูนยตา
แต่กระผมก็บำเพ็ญกรณียกิจเพื่อยังโลกธาตุให้บริสุทธิ์เสมอ เพื่อโปรดทวยประชาสัตว์”

"สัตว์ทั้งหลาย โดยประเภทมีหลายหลาก รูปลักษณะก็ดี สุ้มเสียงจำนรรจาอีกทั้งอิริยาบถประการต่างๆ
พระโพธิสัตว์ย่อมอาศัยกําลังแห่งอภัยธรรม สำแดงตนให้ปรากฏโดยลักษณะดั่งกล่าวนั้น ในกาลเพียงชั่วครู่เดียว"

"พระโพธิสัตว์ ย่อมรู้เท่าทันเรื่องราวของมาร แต่สำแดงตนประหนึ่งว่าเข้าไปพัวพันกับมารนั้น
ก็ด้วยอาศัยปัญญากุศโลบายอันแยบคายตามใจปรารถนา ชักจูงให้มารมุ่งจิตต่อพระพุทธภูมิ"

"อนึ่ง พระโพธิสัตว์ ย่อมสำแดงตนประหนึ่งว่ามีชราพยาธิมรณะ ก็เพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้สำเร็จประโยชน์ ในการแทงทะลุสรรพธรรมโดยปราศจากอุปสรรค ว่าสังขารทั้งปวงเป็นมายาไร้แก่นสาร”

"อนึ่ง ย่อมสำแดงให้เห็นกัลป์อันประลัยด้วยอัคนี พร้อมทั้งมหาปฐพี ซึ่งลุกไหม้ยังชนซึ่งยึดถือในนิจจสัญญา ให้บังเกิดความแจ่มชัดในความเป็นอนิจจัง ทวยนิกรสัตว์นับอสงไขยอปรไมย ต่างก็บ่ายหน้ามาพึ่งพิงพระโพธิสัตว์ยังสถานที่อาศัย ในเวลาเดียวกัน พระโพธิสัตว์ย่อมสั่งสอนให้สรรพสัตว์ทั้งนั้นมุ่งจิตต่อพระพุทธภูมิ"

"ศาสตราคม อถรรพเวท อีกทั้งนานาศิลปวิทยา พระโพธิสัตว์ย่อมศึกษาเจนจบ นำมาเป็นเครื่องมือบำเพ็ญประโยชน์เพื่อประชาสัตว์ อนึ่ง ย่อมสำแดงตนถือเพศเป็นนักบวชในสรรพพาหิรลัทธิ ทั้งนี้เพื่อมุ่งขจัดความหลงของเหล่าพาหิรชน โดยที่ตนเองมิได้กลายเป็นมิจฉาทิฐิไปตาม"


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อนึ่ง พระโพธิสัตว์ ย่อมสำแดงตนเป็นสุริยเทพ จันทรเทพ ฤๅท้าวมหาพรหมปชาบดี
ในบางสมัยย่อมสำแดงเป็นปฐพีมหาภูติ อาโปมหาภูติ ฤๅวาโยมหาภูติ เตโชมหาภูติ

ก็แลหากบังเกิดโรคันตราย ในท่ามกลางความเป็นไปแห่งกัลป์ไซร้
พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงสรรพต้นยาสมุนไพร อันชนใดกินเข้าไปแล้ว ย่อมสามารถดับพิษโรคได้อย่างฉมัง

ฤๅหากว่าบังเกิดทุพภิกขภัย พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงโภชนาหารอันประณีต
ยังสรรพชนให้อิ่มหนำสำราญ ระงับความหิวโหย แล้วแลแสดงธรรมแก่เขาเหล่านั้น

ฤๅหากมียุทธภัยบังเกิดขึ้น พระโพธิสัตว์ย่อมยังชนอันเป็นข้าศึกแก่กันทั้ง ๒ ฝ่าย ให้มีจิตเมตตาต่อกัน
ตั้งอยู่ในอรณภูมิ ฤๅหากมีมหารณรงค์ อันกองทัพทั้งสองฝ่ายตั้งประจัญกัน ณ สมรภูมิ

พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงเดชพละ ยังกองทัพทั้งหลายนั้นให้อยู่ในอำนาจ
แล้วแลให้ตั้งอยู่ในสันติความสมัครสมานกันได้ในที่สุด"

"ในท่ามกลางสรรพโลกานุโลก ประดาที่มีนรกภูมิ พระโพธิสัตว์ย่อมเสด็จไปปรากฏ ณ ที่เช่นนั้น
เพื่อช่วยเปลื้องทุกข์ของสัตว์ผู้เสวยทุกข์ ในท่ามกลางสรรพโลกานุโลก

ประดาที่มีเดรัจฉานภูมิ ซึ่งสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายต่างกัดกินกันเป็นอาหาร
พระโพธิสัตว์ย่อมเสด็จไปปรากฏ ณ แดนนั้น เพื่อสั่งสอนให้ระงับการเบียดเบียน ยังหิตานุหิตคุณให้มีขึ้น"

"อนึ่ง พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงตนประหนึ่งว่าเสวยเบญจพิธกามคุณ
ในยามเดียวกันก็สำแดงตนประหนึ่งว่าบำเพ็ญฌานสมาบัติ
ยังจิตของมารให้งงงวย ไม่พบช่องโอกาสที่จักสำแดงมายาได้

เปรียบเหมือนดอกโกมุทซึ่งอุบัติขึ้นท่ามกลางกองอัคนี อันนับว่าเป็นอัจฉริยอัพภูตธรรม
ผู้ที่อยู่ในท่ามกลางแวดวงแห่งกามคุณ แต่กลับสามารถตั้งมั่นอบรมในฌานสมาบัติได้ ก็มีนัยดุจเดียวกัน"


โพสต์ เมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 00:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อนึ่ง บางสมัยพระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงตนประหนึ่งเป็นหญิงหนักในราคะ
ชักจูงล่อบรรดาชายผู้อภิรมย์ในรสกามให้มาผูกพัน

ทั้งนี้ก็โดยใช้วิธีเอากามคุณมาเป็นเบ็ดเกี่ยวจิตใจของชนผู้มีนันทิราคะให้มาติดเสียก่อน
ภายหลังจึงพรํ่าสอนให้เขาเหล่านั้นบรรลุภูมิตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"

"ฤๅบางสมัย สำแดงตนเป็นหัวหน้าแห่งคามนิคม ฤๅเป็นผู้นำเหล่าพาณิช
ฤๅเป็นราชปุโรหิต ฤๅเป็นอัครมนตรี ทั้งนี้ก็เพื่อบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ปวงนิกรชน

ในบรรดาชนทุคตเข็ญใจยากไร้อนาถา
พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงธนทรัพย์อันอเนกอนันต์แจกจ่ายให้แก่ชนเหล่านั้น
แล้วเลยอบรมสั่งสอนแนะนำให้พวกเขาตั้งจิตมุ่งมั่นต่อพระโพธิญาณ"

"ในบุคคลผู้มีความลำพองเย่อหยิ่งทะนง พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงตนเป็นบุรุษผู้กํายำ มีพละแรงกล้า
เพื่อปราบความลำพองเย่อหยิ่งนั้น ให้เขาตั้งอยู่ในภูมิที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้

ในชนที่มีแต่ความหวาดหวั่นภัย พระโพธิสัตว์ย่อมไปปลอบขวัญเล้าโลมจิตของเขา
ย่อมยังอภัยให้บังเกิดขึ้น ภายหลังจึงชักจูงให้เขามุ่งจิตต่อพระโพธิญาณ"

"ในชนผู้ปรารถนามีผู้รับใช้ พระโพธิสัตว์ย่อมสำแดงตนเป็นเด็กรับใช้
ปฏิบัติกิจของผู้เป็นนาย ยังความยินดีของนายให้เป็นไป

จึงถือโอกาสอบรมจิตของนายให้มุ่งพระโพธิญาณ ยังความปรารถนาของเขาให้เป็นไปตามหวัง
กระทำให้เขาเข้าสู่พระพุทธภูมิ ทั้งนี้ก็โดยอาศัยกําลังแห่งกุศโลบาย กระทำให้สมบูรณ์ได้"

"วิถีของพระโพธิสัตว์ย่อมไม่มีประมาณ จริยาของพระโพธิสัตว์ก็ปราศจากขอบเขต
พระโพธิสัตว์ย่อมปลดเปลื้องสัตว์ไม่มีประมาณให้พ้นจากห้วงแห่งทุกข์

และโดยประการดั่งกล่าวนี้ แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
จักตรัสสรรเสริญพรรณนาคุณของพระโพธิสัตว์ นับเป็นอสงไขยกัลป์ก็ยังไม่อาจจักพรรณนาได้จบสิ้นได้"

"ผู้ใดมาตรว่าได้สดับธรรมเห็นปานดั่งนี้ไซร้ ใครเล่าจักไม่บังเกิดจิตปณิธานมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ นอกเสียแต่ชนผู้โง่เขลา มีแต่อัญญาณเท่านั้นแล."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 62, 63, 64, 65, 66, 67, 68 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร