วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 20:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 61, 62, 63, 64, 65, 66, 67 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยอาการ "เผลอ" หรือ "หลง" ไปในความอยากมี อยากได้ อยากเป็น ที่เกิดขึ้น "เป็นบางครั้ง" นี้นั้น จะมีความถี่ ดีกรีความเข้มข้น และระยะเวลาในการเกิดที่น้อยลง น้อยลง ไปเรื่อยๆจนบางเฉียบในระดับอนาคามี และดับสนิทลงไปได้อย่างสิ้นเชื้อในระดับอรหันต์นะครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

เปรียบเทียบกับอาการของปุถุชนให้เห็นภาพได้ง่ายๆดังนี้ก็คือ กรณีของหนุ่มสาวที่อกหักรักคุดเพราะโดนแฟนทิ้ง หรือแฟนไปมีคนรักใหม่ :b2: :b46: :b39:

ซึ่งคนที่อกหัก ถึงแม้จะรู้แจ้งแก่ใจ "ละความเห็นผิด" ลงไปได้ว่า แฟนที่จากไปนั้น "ไม่ใช่ของตน" แล้วก็ตาม แต่ก็ยังสลัด "ความอาลัย" ออกไปไม่ได้ :b46: :b47: :b46:

ยัง "อยาก" ที่จะให้แฟนคนนั้น กลับมาเป็นของตนอยู่อีก :b47: :b48: :b49:

หรือในกรณีบุคคลอันเป็นที่รักตายจากไป ทั้งๆที่ละความเห็นผิด คือรู้แจ้งแก่ใจแล้วว่า คนที่ตายไปแล้วไม่สามารถฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ได้ :b49: :b50: :b49:

แต่ก็ยังไม่อาจ "ตัดใจ" เพราะยังเกิดความอาลัย "อยาก" ให้ผู้ที่จากไป ฟื้นกลับขึ้นมาอยู่กับตนอีก
:b47: :b46: :b47:

(ซึ่งความอาลัยในขันธ์ภายนอกดังตัวอย่างสุดท้ายตรงนี้ ก็ยังเกิดแก่เสขะอริยบุคคลในระดับต้น โดยเฉพาะในระดับโสดาบันได้อย่างรุนแรงนะครับ :b1: :b46: :b47: :b46:

เนื่องด้วยกำลังของสติ สมาธิ และปัญญาของโสดาบันที่ใช้ตัดอาการอาลัยดังกล่าว ยังไม่เข้มแข็งเพียงพอจนเป็นสติอัตโนมัติ สมาธิอัตโนมัติ ปัญญาอัตโนมัติได้ จนกว่าจะเข้าสู่ระดับอนาคามี :b46: :b39: :b46:

ซึ่งตัวอย่างในครั้งพุทธกาลก็เช่นท่านวิสาขามหาอุบาสิกา ที่ยังอาลัยเศร้าโศกเมื่อครั้งสูญเสียหลานสาว หรือท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่ยังอาลัยโศกเศร้าเมื่อครั้งลูกสาวตายจากไป) :b48: :b49: :b50:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และการจะละเสียซึ่งความอาลัย (อาลยสมุคฺฆาโต การถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย อันเป็นอาการและไวพจน์หนึ่งของการเห็นแจ้งพระนิพพานในช่วงอรหัตตมรรค) :b46: :b39: :b46:

จนพ้นเสียจากความอาลัยไปได้ (อนาลโย อันเป็นอาการและไวพจน์หนึ่งของการเห็นแจ้งพระนิพพานในช่วงอรหัตตผล) :b46: :b39: :b46:

ก็ต้องอาศัยการเห็นขันธ์ตามความเป็นจริง :b46: :b39: :b46:

คือเห็นในลักษณะสามัญของขันธ์ โดยเฉพาะแจ้งชัดอนัตตาหรือศูนยตาในระดับอรหันต์ ตอกย้ำลงไปเรื่อยๆจนจิตยอมรับความจริง ยอมคล้อยตามสัจจธรรม เห็นปฏิจจสมุปบาท เห็นอริยสัจจ์ จนข้ามโคตรทิ้งขันธ์ลงได้ในที่สุด
:b46: :b47: :b46:

ซึ่งในระดับพระโสดาบันนั้น มีโลกุตรปัญญาซาบซึ้งในการเห็นแจ้งเป็นอย่างดีแล้วว่า :b49: :b50: :b49:

"สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา" :b49: :b51: :b50:

นั่นคือเหล่าท่านพระโสดาบันปัญจวัคคีย์ มีปัญญาเห็นแจ้งในความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ของขันธ์เป็นธรรมดามาแล้วอย่างแนบแน่น (แต่จิตยังไม่ยอมทิ้งขันธ์) :b48: :b49: :b50:

ดังนั้น เมื่อพระบรมครูทรงแจกแจงขันธ์ทีละอย่าง (นามรูปปริจเฉทญาณ) และถามนำว่า "ขันธ์แต่ละอย่าง เที่ยงหรือไม่เที่ยง?"

ท่านปัญจวัคคีย์ก็ตอบได้โดยไม่ลังเลสงสัยเลยว่า ขันธ์นั้นไม่เที่ยง (ปัจจัยปริคคหญาณ, สัมมสนญาณ, อุทยัพพยญาณ, ภังคานุปัสสนาญาณ) :b50: :b55: :b50:

และเมื่อพระบรมครูทรง "จูงจิต" ของท่านปัญจวัคคีย์ให้เดินหน้าต่อทางปัญญาด้วยการถาม เพื่อชักนำให้ลาดลึกลงไปในทุกขังสามัญลักษณะและวิปัสสนาญาณว่า "ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า?"

ซึ่งด้วยโลกุตรปัญญาในระดับพระโสดาบัน ย่อมเห็นและ "รู้สึก" ตามจริงอย่างแจ่มแจ้งได้ไม่ยากว่า ก็สิ่งใดแปรปรวนไป ไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมเป็นการบีบคั้น เป็นทุกข์ (ภยญาณ, อาทีนวญาณ) :b46: :b47: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และเมื่อปัญญาของท่านปัญจวัคคีย์ถูกบ่มเพาะมาถึงจุดที่ควรรวบยอดแล้ว พระบรมครูจึงทรงทิ้งคำถามสรุป เพื่อชี้ลงในความไม่มีอัตตา หรือความเป็นอนัตตา คือความไม่มีตัวตนในขันธ์ เพื่อเข้าถึงซึ่งความปล่อยวาง ความไม่ยึดมั่น ความ "ไม่เอาขันธ์" อย่างฉับพลัน เพื่อให้จิตปล่อย และเคลื่อนเข้าสู่ความว่างเปล่าในขันธ์ (ศูนยตา) อย่างถาวร ว่า :b46: :b39: :b41:

"ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือหนอ ที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นตัวตนของเรา?"

ซึ่งถ้าปัญญาของผู้ฟัง ได้ถูกบ่มเพาะมาจนเกือบสุดทางแล้ว และสามารถพัฒนาวิปัสสนาปัญญาญาณต่อไปได้ด้วยตนเอง พอได้ยินวรรคทองตรงประโยคนี้เข้าไปก็คงถึงกับน้ำตาร่วง สว่างแจ้งขึ้นในจิต พร้อมทิ้งขันธ์พรึบ หลุดพ้นไปแบบไม่เอาขันธ์ด้วยโลกุตรปัญญากันได้อย่างฉับพลันทีเดียว ก่อนที่พระองค์จะทรงเทศน์จบเลยนะครับ :b8: :b46: :b39:

แต่ถ้ายังไม่หลุดพ้นทิ้งขันธ์ที่การเทศน์ตรงจุดนี้ ก็จะสามารถหลุดพ้น "ไม่เอาขันธ์" ด้วยการฟังต่อและเห็นตามในคำเทศน์สรุปสุดท้ายด้วยปัญญา ตามคำเทศน์ที่ไล่ลำดับวิปัสสนาญาณขึ้นไปอีกจนสุดที่ข้อสุดท้ายของโสฬสญาณในระดับอรหัตตผลว่า :b46: :b39: :b46:

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งที่อยู่ในที่ไกลหรือใกล้

รูป .. เวทนา .. สัญญา .. สังขาร .. วิญญาณ ทั้งหมดนั้น เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป .. แม้ในเวทนา .. แม้ในสัญญา .. แม้ในสังขาร .. แม้ในวิญญาณ
(นิพพิทาญาณ, มุญจิตุกัมยตาญาณ, ปฏิสังขาญาณ)

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด (สังขารุเปกขาญาณ, สัจจานุโลมิกญาณ)

เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. (โคตรภูญาณ, มัคคญาณ, ผลญาณ)

เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. (ปัจจเวกขณญาณ)

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี."


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงตรงนี้อาจพิจารณาได้ว่า การเทศนาในพระสูตรนี้ เป็นการทวนโสฬสญาณที่เหล่าท่านพระโสดาบันปัญจวัคคีย์ได้เคยผ่านมาแล้วจนละ "ความเห็นผิด" ในขันธ์ แต่ให้เห็นละเอียดขึ้นไปอีกจนกระทั่งไถ่ถอน "ความยึดติด" ในขันธ์ลงไปได้ :b46: :b39: :b46:

เปรียบเทียบในปุถุชนเหมือนกับการตอกย้ำลงในจิตให้เห็นตามจริงว่าแฟนเป็นของคนอื่นไปแล้ว หรือคนที่เรารักได้ตายจากไปแล้วจริงๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปเรื่อยๆ จนจิตยอมรับความจริง สามารถตัดใจ ละทิ้งความอาลัยในขันธ์ภายนอกที่จากไปแล้วนั้นลงได้นั่นหล่ะครับ :b1: :b46: :b41:

ซึ่งในระดับอริยะแล้ว อาการทิ้งความอาลัยในขันธ์จะไม่มีการเลือกเฉพาะเจาะจง แต่จะทิ้งขันธ์โดยทั่วไปทั้งหมดทั้งหลาย ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายใน ไม่ว่าหยาบหรือละเอียด ไม่ว่าเลวหรือปราณีต ไม่ว่าอดีตปัจจุบันหรืออนาคต ลงไปได้อย่างหมดจดภายในครั้งเดียว ไม่เฉพาะเจาะจงแต่ผู้ที่จากไป :b46: :b47: :b46:

โดยมีความละเอียด ความลึกซึ้ง ความปราณีตทางปัญญาที่เห็นธรรมทั้งหลายถ้วนทั่วตามจริง และความเบิกบานเป็นอิสระของจิตที่มากมายก่ายกองกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้ :b46: :b47: :b41:

(ซึ่งถึงที่สุดแล้ว แม้แต่ขันธ์ที่เกิดขึ้นในภายหลัง คือปัญญาที่เห็นธรรมตามจริง อีกทั้งความเบิกบานเป็นอิสระที่มากมายมหาศาลนั้น ก็ได้ถูกละทิ้งลงไปแล้วด้วย)
:b46: :b47: :b41:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และถ้าจะกล่าวในแง่ของการปฏิบัติจากอนัตตลักขณสูตรนี้ ตามความเห็นของวิสุทธิปาละซึ่งเห็นตามมติของอรรถกถาจารย์และครูบาอาจารย์รุ่นหลังว่า :b47: :b48: :b47:

การโยนิโสมนสิการเพื่อให้เห็นถึงอนัตตา สุญญตา (หรือศูนยตา) จนแจ้งพระนิพพานนี้ (ที่อรรถกถาจารย์ท่านเรียกว่า สุญญตนิพพาน) เป็นการปฏิบัติที่เหมาะสมกับผู้ที่สร้างบารมีมาอย่างแรงกล้าด้วยปัญญา :b46: :b47: :b46:

เนื่องจากว่า การจะเห็นแจ้งได้ในศูนยตา เป็นการเห็นที่ย้อนทวนธรรมชาติความคุ้นชินของจิตในเหล่าสัตตานังทั้งหลาย ซึ่งโดยปรกติมักเห็นการปรากฏของกายใจทั้งภายนอกภายในว่าเป็นของๆตน หรือเป็นตนอยู่เสมอๆ ทำให้เห็นอนัตตาหรือศูนยตาได้ยาก ต้องใช้ปัญญาที่มากในการเห็นย้อนทวนความเคยชินที่สะสมมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
:b47: :b48: :b47:

ต่างกับการเห็นในอาการแปรปรวนไปของกายใจ หรือเห็นในอนิจจังทั้งภายในภายนอก ซึ่งพิจารณาสังเกตเห็นได้ง่ายกว่า :b46: :b47: :b46:

ตั้งแต่การเกิดการเสื่อมของกาย (หรือของรูป) ไปถึงการแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปของใจ (หรือของนาม) ทั้งภายในภายนอก จนแจ้งพระนิพพาน (อนิมิตนิพพาน) ซึ่งอรรถกถาจารย์ท่านว่า เป็นการปฏิบัติที่เหมาะสมกับผู้ที่สร้างบารมีมาอย่างแรงกล้าด้วยศีล :b49: :b50: :b49:

หรือการเห็นในอาการถูกบีบคั้น เป็นทุกข์ไปของกายใจ หรือเห็นในทุกขังทั้งภายในภายนอก ซึ่งพิจารณาสังเกตเห็นได้ง่ายกว่า :b46: :b47: :b46:

ทั้งการถูกบีบคั้นทางกาย (หรือในรูป) ไปถึงการถูกบีบคั้นทางใจ (หรือในนาม) ทั้งภายในภายนอก จนแจ้งพระนิพพาน (อัปปณิหิตนิพพาน) ซึ่งอรรถกถาจารย์ท่านว่า เป็นการปฏิบัติที่เหมาะสมกับผู้ที่สร้างบารมีมาอย่างแรงกล้าด้วยสมาธิ :b49: :b50: :b47:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้น ถ้าจะสรุปตามนี้แล้ว การปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งในศูนยตาที่ปรากฏอยู่ในพระสูตรส่วนใหญ่ของมหายาน ก็จะเหมาะสมกับปุถุชนผู้ที่สร้างบารมีมามากทางด้านปัญญา :b46: :b39: :b46:

หรือบุคคลที่ประกอบด้วยโลกุตรปัญญา คือพระเสขะเช่นพระโสดาบันปัญจวัคคีย์ :b46: :b39: :b46:

หรือบุคคลผู้ตั้งความปราถนาไว้ในความเป็นพระโพธิสัตว์เพื่อเข้าสู่พุทธภูมิตามคติมหายาน :b46: :b39: :b46:

ไม่ได้เหมาะกับนักปฏิบัติโดยทั่วไปนะครับ (ยกเว้นได้ฟังจากพระโอษฐ์ของพระบรมครูโดยตรง ซึ่งมีปรากฏอยู่หลายที่ในพระไตรปิฎก) :b47: :b48: :b49:

โดยขอย้ำตามที่ทิ้งโน๊ตเตือนไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่า การศึกษาเรื่องศูนยตาโดยที่ไม่มีสัมมาทิฏฐิหรือปัญญาที่ถูกทางเป็นเครื่องรองรับ ก็อาจจะทำให้ผู้ศึกษา เข้าใจผิดในศูนยตาไป กลายเป็นเข้าใจว่าทุกสิ่งว่างเปล่า ไม่มีอะไร ขาดสูญ หรืออุจเฉททิฏฐิได้โดยง่าย :b48: :b49: :b48:

แต่เนื่องด้วยแนวทางปฏิบัติด้วยการเห็นแจ้งในศูนยตานี้ ก็มีข้อดีคือ เป็นการปฏิบัติที่ทำให้เกิดการเห็นแจ้งได้อย่างรวดเร็วฉับพลัน :b46: :b39: :b46:

ก็เนื่องด้วยกำลังของปัญญาที่เกิดขึ้นอย่างแรงกล้า แทงตลอดเข้าไปในขันธ์ จนทิ้งขันธ์ลงได้อย่างไม่เหลือเยื่อใยอาลัยอีก เข้าสู่สภาวะแห่งศูนยตาอย่างฉับพลันทันทีในขณะที่จิตรวมลงพรึบแล้วแผ่กระจายออกร่วมและรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับธรรมทั้งหลายด้วยโลกุตรปัญญาในขั้นอรหันต์ :b48: :b49: :b48:

ซึ่งตรงนี้ ก็เป็นแนวทางปฏิบัติของพุทธนิกายเซ็นที่เน้นการเห็นแจ้งอย่างฉับพลันด้วยการพิจารณาศูนยตาและความเป็นหนึ่งเดียวกันรวดของธรรมทั้งหลาย :b46: :b47: :b46:

ซึ่งจะมาลงรายละเอียดด้วยแง่มุมที่มีอยู่ในสูตรของท่านเว่ยหลาง และบันทึกของท่านฮวงโปในคราวต่อไปนะครับ :b1: :b46: :b39:

ไว้มาต่อในพระสูตรของมหายานที่เหลือในครั้งหน้า :b8: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตกลับมาที่วิมลเกียรตินิทเทสสูตรในส่วนของศูนยตากันต่อ ตามด้านล่างครับ

เนื้อหาที่ตัดมาอาจจะยาวไปบ้าง :b5: :b46: :b39: :b1:

แต่เพื่อเป็นการปูพื้นให้เข้าใจในแก่นธรรมคำสอนของมหายานแล้ว ก็เป็นสิ่งที่ควรศึกษากันก่อนจะลงลึกไปในรายละเอียดของแนวทางการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เพื่อนำไปสู่ความรู้แจ้งทางโลกุตรปัญญา อันเนื่องมาจากคติธรรมของทางสายมหายานนะครับ :b1: :b46: :b39:

----------------- :b46: :b39: :b46: -----------------

"พระโพธิสัตว์ พึงเพ่งพิจารณาสรรพสัตว์โดยประการอย่างไรหนอ?"

ท่านวิมลเกียรติตอบว่า

"เปรียบด้วยผู้เป็นมายากร พิจารณาแลดูซึ่งมายาบุรุษอันตนนิรมิตขึ้นฉันใด พระโพธิสัตว์พึงเพ่งพิจารณาสรรพสัตว์โดยอาการอย่างเดียวกันฉันนั้น

อนึ่ง เปรียบด้วยผู้มีปัญญาแลดูซึ่งเงาดวงจันทร์ในท้องนํ้า
ฤๅเปรียบด้วยการแลดูฉายาแห่งตนในกระจก
ฤๅเปรียบด้วยพยับแดดในท่ามกลางแสงสุริยัน

ฤๅเปรียบด้วยเสียงกู่ก้องสะท้อน
ฤๅเปรียบด้วยก้อนเมฆในท้องนภาลัย
ฤๅเปรียบด้วยฟองนํ้า
ฤๅเปรียบด้วยต่อมนํ้า

ฤๅเปรียบด้วยแก่นสารอันคงทนของต้นกล้วย
ฤๅเปรียบด้วยความดำรงมั่นแห่งสายวิชชุ
ฤๅเปรียบด้วยมหาภูตที่ ๕ ฤๅเปรียบด้วยขันธ์ที่ ๖

ฤๅเปรียบด้วยวิญญาณที่ ๗
ฤๅเปรียบด้วยอายตนะ ๑๓
ฤๅเปรียบด้วย ธาตุ ๑๙*

พระโพธิสัตว์พึงเพ่งพิจารณาดูสรรพสัตว์ด้วยอาการอย่างนี้แล*"

(* หมายเหตุจากผู้แปล : คำพูดในตอนนี้เป็นคำปฏิเสธความเป็นตัวตนในสรรพสัตว์

คือให้พิจารณาดูว่าสรรพสัตว์เป็น อนัตตา ศูนยตา เช่นกับธรรมที่ยกมาเปรียบ ย่อมเป็นสิ่งที่มีไม่ได้ฉันใด

การจะหาสาระแก่นสารโดยความเป็นตนหรือของๆตนในสรรพสัตว์ ก็ฉันนั้น.)


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อนึ่ง พึงพิจารณาดูสรรพสัตว์ โดยอาการดังนี้อีก คือ

ด้วยอาการเปรียบด้วยรูปธาตุในอรูปภพ
ฤๅเปรียบด้วยการงอกเงยของเมล็ดพันธุ์ข้าวซึ่งแห้งตายแล้ว
ฤๅเปรียบด้วยสักกายทิฐิของพระโสดาบัน

ฤๅเปรียบด้วยการถือเอาครรภ์ปฏิสนธิของพระอนาคามีบุคคล
ฤๅเปรียบด้วยอกุศลมูล ๓ แห่งพระอรหันต์
ฤๅเปรียบด้วยพระโพธิสัตว์ผู้ลุธรรมกษานติ ลุแก่โลภะโทสะ กระทำการล่วงศีลสังวร
ฤๅเปรียบด้วยกิเลสาสวะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฤๅเปรียบด้วยผู้มีจักษุมืดแลเห็นรูป
ฤๅเปรียบด้วยผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีลมอัสสาสะปัสสาสะอยู่
ฤๅเปรียบด้วยรอยเท้านกในอากาศ
ฤๅเปรียบด้วยบุตรแห่งนางหิน

ฤๅเปรียบด้วยกิเลสของมายาบุรุษ
ฤๅเปรียบด้วยประสบการณ์ในความฝันซึ่งตื่นขึ้นก็อาจพบเห็นได้อีก
ฤๅเปรียบด้วยในอนุปาทิเสสนิพพานธาตุยังมีวิบากขันธ์มาเสวยภพอีก
ฤๅเปรียบด้วยควันที่ปราศจากไฟเป็นเชื้อ

พระโพธิสัตว์พึงเพ่งพิจารณาดูสรรพสัตว์ ด้วยอาการดังพรรณนามานี้แล**"

(** หมายเหตุจากผู้แปล : คำพูดตอนนี้เป็นการแสดงภาวะตรงกันข้ามทั้งนั้น กล่าวคือเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้

เช่นเดียวกับการที่จะถือเอาอัตตาในสัตว์ บุคคลก็ย่อมถือเอาไม่ได้ ด้วยสรรพสัตว์ย่อมเป็นศูนยตาโดยสภาพนั่นเอง

ถ้ายังขืนสาคัญว่ามีสาระในสิ่งอันปราศจากสาระอยู่ ก็เปรียบได้ว่าพระอรหันต์ยังละอกุศลมูลไม่ได้

ซึ่งตามความจริงแล้ว ไม่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้)


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ถามว่า

"หากพระโพธิสัตว์ เพ่งพิจารณาดูสรรพสัตว์ด้วยอาการดั่งพรรณนามาแล้วไซร้ ก็จักดำเนินเมตตาจริยาโดยประการฉันใดหนอ"

ท่านวิมลเกียรติ ตอบว่า

"เมื่อพระโพธิสัตว์เพ่งพิจารณาด้วยอาการดั่งกล่าวมาแล้ว ก็พึงมนสิการว่า เราจักต้องประกาศธรรมเห็นปานนี้ให้สำเร็จประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง จึงจักเป็นผู้ได้ชื่อว่าดำเนินเมตตาจริยาโดยแท้จริง กล่าวคือ

พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการแสดงอนุตปาทธรรม คือธรรมอันไม่มีความเวียนเกิดอีก
พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการแสดงอสันตาปธรรม คือ ธรรมปราศจากความเร่าร้อนเพราะกิเลส
พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการแสดงสมธรรม คือธรรมซึ่งยังกาละทั้ง ๓ ให้เสมอกัน

พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการแสดงอรณวิหารธรรม คือธรรมเป็นเครื่องอยู่อันปราศจากการอุบัติขึ้นแห่งข้าศึกคือกิเลส
พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการแสดงอไทฺวตธรรม คือธรรมไม่เป็นคู่ ไม่มีภายนอก ฯลฯ
พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการยังความสันติสุขให้เกิดมีขึ้นในสรรพสัตว์ คือยังสัตว์เหล่านั้นให้ได้รับสันติรสแห่งพระพุทธองค์

เมตตาปฏิปทาของพระโพธิสัตว์ ต้องบำเพ็ญด้วยประการฉะนี้แล"

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ถามว่า

"ก็กรุณาปฏิปทาเล่า เป็นไฉน?"

"กุศลสมภารต่างๆ ซึ่งพระโพธิสัตว์บำเพ็ญ ล้วนยังสรรพสัตว์ให้มีส่วนร่วมในกุศลสมภารนั้นด้วย ชื่อว่ากรุณาปฏิปทา"

ถาม "ก็มุทิตาปฏิปทาเล่า เป็นไฉน?"

ตอบ "สัตว์เหล่าใด บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์เป็นไปอยู่ พระโพธิสัตว์ย่อมมีความพลอยปีติยินดี ปราศจากวิปฏิสารใดๆ ชื่อว่ามุทิตาปฏิปทา"

ถาม "ก็อุเบกขาปฏิปทาเล่า เป็นไฉน?"

ตอบ "พระโพธิสัตว์กระทำความดีใดๆ ย่อมไม่ตั้งความหวังผลสนอง ชื่อว่าอุเบกขาปฏิปทา"


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม "ในท่ามกลางภัยแห่งธรรมชาติ มรณะนี้ พระโพธิสัตว์พึงอาศัยอะไรเป็นที่พำนัก?"

ตอบ "พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในท่ามกลางห้วงมหรรณพ อันมีชาติภัย มรณภัย เป็นต้น พึงอาศัยพุทธานุภาพเป็นที่พึ่งพำนัก"

ถาม "พระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาจักอาศัยพุทธานุภาพเป็นที่พึ่งพำนัก พึงปฏิบัติอย่างไร?"

ตอบ "พระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาจะอาศัยพุทธานุภาพเป็นที่พึ่งพำนัก พึงปฏิบัติตนด้วยการโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์"

ถาม "ในการโปรดสรรพสัตว์ พึงกําจัดสิ่งใด?"

ตอบ "ในการโปรดสรรพสัตว์ พึงกําจัดอาสวกิเลส"

ถาม "ในการกําจัดอาสวกิเลส พึงปฏิบัติอย่างไร?"

ตอบ "พึงมีสัมมาสติ"

ถาม "สัมมาสติ พึงปฏิบัติอย่างไร?"

ตอบ "พึงปฏิบัติในธรรมอันไม่ให้มีความเกิดขึ้น แลธรรมอันไม่ให้มีความดับไป"

ถาม "ธรรมอะไรที่ไม่ให้เกิดขึ้น ธรรมอะไรที่ไม่ให้ดับไป?"

ตอบ "อกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น กุศลธรรมไม่ให้ดับไป"

ถาม "กุศล อกุศล มีอะไรเป็นสมุฏฐาน?"

ตอบ "มีกายเป็นสมุฏฐาน"

ถาม "กาย มีอะไรเป็นสมุฏฐาน?"

ตอบ "มีอภิชฌาวิสมโลภะเป็นสมุฏฐาน"

ถาม "อภิชฌาวิสมโลภะ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน?"

ตอบ "มีมายาวิกัลปะเป็นสมุฏฐาน"

ถาม "มายาวิกัลปะ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน?"

ตอบ "มีวิปลาสสัญญาเป็นสมุฏฐาน"

ถาม "วิปลาสสัญญา มีอะไรเป็นสมุฏฐาน?"

ตอบ "มีความไม่มีที่ตั้งเป็นสมุฏฐาน"

ถาม "ความไม่มีที่ตั้ง มีอะไรเป็นสมุฏฐาน?"

ตอบ "ความไม่มีที่ตั้ง ย่อมไม่มีสิ่งใดมาเป็นสมุฏฐานได้อีก

ข้าแต่พระคุณเจ้ามัญชุศรี จากความไม่มีที่ตั้งนี้แล จึงบัญญัติธรรมทั้งปวงขึ้นมา*"

(* หมายเหตุจากผู้แปล : ความไม่มีที่ตั้งคือ ศูนยตานั่นเอง

ปุถุชนหลงผิดในศูนยตาว่าเป็นอัตตา จึงยึดถือสาคัญหมายในภาวะที่ว่างเปล่าว่ามีสาระ

จึงต้องมาเวียนว่ายตายเกิด)


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เทพธิดากล่าวว่า "คำพูดก็ดี ตัวอักษรก็ดี ย่อมได้ชื่อว่าเป็นลักษณะแห่งวิมุตติ ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน?

ก็เพราะว่าในวิมุตตินั้นย่อมไม่มีภายใน ภายนอก หรือท่ามกลาง
อักษรก็ไม่อยู่ใน ภายใน ภายนอก หรือท่ามกลาง
.. ธรรมทั้งปวง ย่อมล้วนเป็นวิมุตติลักษณะทั้งสิ้น"

"พระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลผู้มีอติมานะ ให้ละจาก ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าวิมุตติ
หากไม่มีอติมานะบุคคลไซร้ พระพุทธองค์จักตรัสว่า ราคะ โทสะ โมหะ นั่นแลเป็นวิมุตติ*"

(* หมายเหตุจากผู้แปล : เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นมายาธรรม เป็นศูนยตา

พระนิพพานเล่า ก็เป็นศูนยตา)


(ถาม) "สาธุๆ ดูก่อนเทวี เธอได้บรรลุธรรมอะไร ตรัสรู้ในธรรมอะไรหนอ จึงมีปฏิภาณโกศลสามารถเห็นปานนี้?"

(ตอบ) "ดิฉันไม่ได้บรรลุอะไร และก็ไม่ได้รู้แจ้งในอะไรเลยเจ้าข้า .. ดิฉันถึงมีปฏิภาณโกศลเห็นปานฉะนี้ได้ ถ้าดิฉันได้บรรลุอะไร ฤๅได้รู้แจ้งในอะไรไซร้ ก็ชื่อว่าเป็นอติมานะบุคคลในพรหมจรรย์แห่งพระพุทธองค์ไปแล้ว*"

(* หมายเหตุจากผู้แปล : กล่าวคือ เมื่อธรรมทั้งปวงเป็นศูนยตา ถ้าไปเกิดสาคัญว่าตนได้บรรลุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือได้รู้แจ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ยังชื่อว่าเป็นอุปาทานอยู่นั่นเอง

เพราะโดยปรมัตถ์แล้ว ตนผู้เป็นทุกข์นั้นไม่มี

ก็เมื่อตนไม่มีแล้ว ธรรมอันตนจักบรรลุจักรู้แจ้งจักมีได้อย่างไร

เหมือนคนกินข้าวไม่มี ความหิวความอิ่มก็ไม่มีไปด้วย)


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ถาม) "ดูก่อนเทวี ก็ไฉนเธอจึงไม่เปลี่ยนสภาวะความเป็นหญิงของเธอเสียเล่า?"

(ตอบ) "ตลอดระยะกาล ๑๒ ปีมา ดิฉันค้นหาไม่พบสภาวะความเป็นหญิงในตัวดิฉันเลย เมื่อเป็นดังนี้จะให้เอาอะไรมาเปลี่ยนเล่า .. อุปมาบุรุษมายากรได้สำแดงรูปสตรีมายาขึ้น หากมีผู้ถามรูปมายานั้นว่า ไฉนท่านจึงไม่เปลี่ยนสภาวะของท่านเสียเล่า การถามเช่นนั้นชื่อว่าเป็นการถามที่ถูกต้องกับความจริงฤๅไม่เจ้าคะ?"

(ตอบ) "ไม่ถูกต้องหรอก เทวี! เพราะอันที่จริงมีแต่สภาพมายาสาระ หาแก่นสารมั่นคงมิได้ จะเอาอะไรที่ไหนมาเปลี่ยน"

.. (ถาม) "อิตถีลักษณะนั้น เดี๋ยวนี้ตั้งอยู่ ณ ที่ไหน?"

(ตอบ) "อิตถีลักษณะนั้นมิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ใด และไม่มีสถานที่ใดเลยที่อิตถีลักษณะนั้นจักมิได้ตั้งอยู่

.. ธรรมทั้งปวงก็มีนัยดุจเดียวกัน มิได้ตั้งอยู่กําหนดแน่นอน ณ.ที่ใด แลในประการเดียวกันก็ไม่มีสถานที่ใดที่ธรรมเหล่านั้นมิได้ตั้งอยู่

อันหลักที่ว่ามิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ใด แลไม่มีสถานที่ใดที่จักมิได้ตั้งอยู่ นี้เป็นพระพุทธานุศาสน์นั่นเอง"

......

"ข้อที่ดิฉันจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้ เพราะเหตุไฉน? ก็เพราะว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น เป็นธรรมปราศจากที่ตั้ง เหตุฉะนั้นแลจึงไม่มีผู้จักบรรลุ*"

(* หมายเหตุจากผู้แปล : หมายความว่าพระโพธิญาณเป็นอนัตตา ไม่มีที่ตั้งกาหนดได้ว่าอยู่ทิศนั้นทิศนี้

ไม่อยู่ในวิสัยแห่งกาละหรือเทศะใดๆ

ส่วนบุคคลผู้บรรลุเล่า ก็เป็นอนัตตา

จึงกล่าวว่าไม่มีการบรรลุ โดยปรมัตถนัย)


ถาม "ก็บัดนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย สำเร็จบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในอดีตด้วย ในอนาคตด้วย นับจำนวนดุจเม็ดทรายในคงคานที ความเป็นไปปรากฏอยู่อย่างนี้ จักว่าฉันใดเล่า?"

ตอบ "ความเป็นไปปรากฏอย่างนั้น ล้วนนับเนื่องด้วยอักขระบัญญัติโวหารตามสมมุติโลกิยนัย จึงบัญญัติว่ามีกาละทั้ง ๓ อันพระโพธิญาณนั้นย่อมไม่อยู่ในวิสัยแห่งอดีต ปัจจุบัน อนาคตใดๆ"

"เพราะเหตุที่มิได้ยึดถือว่ามีตัวตนเป็นผู้ได้บรรลุ
มรรคผล จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์"

"แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย กับทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งปวงก็ดุจเดียวกัน กล่าวคือ มิได้มีความยึดถือว่ามีสภาวะอันจักพึงบรรลุ เมื่อปราศจากความยึดถือ จึงได้ชื่อว่าได้สำเร็จพระโพธิญาณโดยแท้จริง"


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พระผู้มีพระภาคเจ้าถามว่า)

"ดูก่อนคฤหบดี ความปรารถนาของเธอในอันจักยลตถาคตนั้น เธอจักทัศนาได้ด้วยธรรมประการฉันใดหนอ?"

ท่านวิมลเกียรติทูลว่า

"ข้าแต่พระสุคต อุปมาการพิจารณาดูตัตตวลักษณะในสรีรกายของตนเองด้วยประการฉันใด ข้าพระองค์ก็ย่อมพิจารณาดูพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีอุปมัยด้วยประการฉันนั้น

กล่าวคือ ข้าพระองค์มาพิจารณาเห็นแจ้งว่า อันสภาวธรรมแห่งพระตถาคตเจ้านั้น ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤๅการไปในอนาคต แลในปัจจุบันกาลเล่า ก็ปราศจากการตั้งอยู่*

(* หมายเหตุจากผู้แปล : ทางฝ่ายมหายาน ย่อมถือว่าพระธรรมกายของพระพุทธเจ้าอันเป็นตัตตวลักษณะ

ย่อมไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด เป็นอกาล)


ข้าพระองค์ย่อมไม่พิจารณาเห็นพระองค์ในรูป หรือในรูปตถตา หรือในรูปสภาวะ
ย่อมไม่พิจารณาเห็นพระองค์ แม้ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่พิจารณาเห็นพระองค์ในวิญญาณตถตา หรือในวิญญาณสภาวะ

ด้วยพระกายของพระองค์ (หมายถึงพระธรรมกาย) มิได้อุบัติก่อกําเนิดขึ้นด้วยอาศัยจตุรมหาภูตทั้ง ๔
แต่เป็นสภาวะอันปราศจากขอบเขตที่ตั้ง ครุวนาดุจเดียวกับสุญญากาศ
พ้นจากความพอกพูนปรากฏแห่งสฬายตนะ

มิได้อยู่ในภพ ๓ พ้นแล้วจากมลทิน เครื่องเศร้าหมองแห่งภพนั้น
อนุโลมตามวิโมกขธรรม ๓ พรั่งพร้อมบริบูรณ์ด้วยเตวิชชธรรม เสมอด้วยอวิชชาทีเดียว*

(* หมายเหตุจากผู้แปล : สภาวะของอวิชชานั้น โดยปรมัตถ์ เป็นศูนยตา ปราศจากแก่นสาร

ดังนั้น ผู้รู้แจ้งดังนี้จึงไม่เกิดความเห็นแตกต่างระหว่างวิชชากับอวิชชา เพราะต่างก็เป็นศูนยตา

นี้เป็นไปโดยปรมัตถนัย)


ไม่เป็นเอกภาพ ไม่เป็นอเนกภาพ
ไม่ใช่สวลักษณะ ฤๅปรลักษณะ
จะว่าปราศจากนิมิตลักษณะเสียเลยก็มิใช่ แต่ก็ไม่มีอุปาธิลักษณะ
ไม่ใช่ฝั่งนี้ฤๅฝั่งโน้น แลไม่ติดในท่ามกลาง แต่บำเพ็ญพุทธกิจโปรดสรรพสัตว์...ฯลฯ...

ไม่มีความเกิดขึ้น ไม่มีความดับไป
ไม่มีภัย ไม่มีโศก ไม่มีความยินดี ไม่มีความเบื่อหน่าย
มิได้มีแล้ว มิได้จักมี แลมิได้มีอยู่
ไม่สามารถจักนำพจนโวหาร ถ้อยคำสำนวนใดมากล่าวแสดงจำแนกได้เลยนั่นแล

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระวรกายของพระตถาคตเจ้า มีสภาพดังข้าพระองค์กราบทูลมานี้ ฉะนั้น จึงควรเพ่งทัศนาดูพระองค์ด้วยอาการดั่งกล่าวมา

ผู้ใดทัศนาพระองค์ด้วยธรรมเช่นที่พรรณนามานี้ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าเป็นสัมมาทัศนา ผู้ใดทัศนาพระตถาคตเจ้า โดยธรรมประการอื่นไซร้ ชื่อว่าเป็นมิจฉาทัศนาโดยแท้เทียว"


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พระสาวกถาม) "ดูก่อนคฤหบดี อันตัวของท่านนี้ จุติมาจากนิวาสโลกธาตุแดนใด จึงมาปฏิสนธิ ณ โลกธาตุด้าวแดนนี้"

(ตอบ) "ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ก็ธรรมอันท่านบรรลุสำเร็จนั้น จักมีจุติปฏิสนธิอีกฤๅไม่เล่า?"

(ตอบ) "หามิได้ ธรรมที่เราบรรลุ ย่อมพ้นจากจุติปฏิสนธิ"

(ถาม) "ก็ถ้าหากว่า ธรรมทั้งหลายปราศจากอาการจุติปฏิสนธิ เหตุดังฤๅ ท่านจึงมาถามว่า "อันตัวของท่านนี้จุติมาจากนิวาสโลกธาตุแดนใด จึงมาปฏิสนธิ ณ โลกธาตุด้าวแดนนี้"

ท่านจักมีความคิดเป็นไฉน เปรียบเหมือนมายากรนิรมิตรูปชายหญิงมายาขึ้น ก็รูปมายานั้นจักมีจุติปฏิสนธิกระนั้นหรือ?"

(ตอบ) "หามิได้ จักหาจุติปฏิสนธิในรูปมายานั้นแต่ไหนได้*"

(* หมายเหตุจากผู้แปล : รูปมายาเป็นสิ่งไม่มีสภาวะจริง

อุปมาดังเปลวแดดในทะเลทรายทำให้สาคัญผิดว่ามีลำธารน้ำ

อันที่จริงลำธารน้ำไม่เคยมีเลย ณ ที่ตรงนั้น

ฉะนั้นจะกล่าวว่าลำธารนั้นเกิดขึ้นหรือดับไปย่อมไม่ได้

มีแต่ความสาคัญผิดของเราผู้เห็นเปลวแดดเป็นสายน้ำไป)


(ถาม) "ท่านไม่ได้สดับพระพุทธพจน์บ้างหรอกหรือที่ว่า ธรรมทั้งปวงนั้นมีอุปมาดุจมายา?"
(ตอบ) "เราได้สดับซึ่งพระพุทธพจน์นั้น"

(ถาม) "ก็เมื่อธรรมทั้งปวงมีสภาพดุจมายาไซร้ ไฉนท่านจึงมาตั้งปัญหาถามกระผมว่า "อันตัวของท่านนี้จุติมาจากนิวาสโลกธาตุแดนใด จึงมาปฏิสนธิ ณ โลกธาตุด้าวแดนนี้"

อัน "จุติ" นั้นเป็นธรรมมายาหลอกลวง จัดเป็นพินาศธรรม
อัน "ปฏิสนธิ" เล่า ก็เป็นธรรมมายาหลอกลวง จัดเป็นสันตติธรรม

พระโพธิสัตว์ถึงมาตรยังต้องจุติ แต่ก็มิได้ยังกุศลธรรมให้จุติไปด้วย
แลมาตรยังต้องปฏิสนธิ ก็มิได้ยังอกุศลธรรมให้บังเกิดเจริญขึ้นมาตาม"


โพสต์ เมื่อ: 28 ก.ย. 2014, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"อนึ่ง ผู้ใดสามารถปฏิบัติธรรมตามธรรมซึ่งกล่าวแล้ว
อนุโลมเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาท เว้นจากปวงมิจฉาทิฐิเสีย ได้บรรลุอนุตปาทธรรมกษานติ

กําหนดแน่ชัดลงไปได้ว่า ธรรมทั้งปวงนั้นไม่มีอาตมัน ไม่มีสัตว์
แต่ก็ไม่บังเกิดความกีดข้องโต้แย้งในเรื่องของเหตุปัจจัย ผลวิบากของกรรม

เช่นนี้จึงชื่อว่าเป็นผู้พ้นแล้วจากความยึดถือในเรื่องตนแลของๆตน

(๑) ผู้นั้นย่อมมีอรรถะเป็นปฏิสรณะ ไม่ถือเอาวจนโวหารเป็นปฏิสรณะ
(๒) ย่อมมีปัญญาเป็นปฏิสรณะ ไม่ถือเอาวิญญาณทางอายตนะเป็นปฏิสรณะ
(๓) ย่อมมีพระสูตรประเภทนิปปริยายธรรมเป็นปฏิสรณะ ไม่ถือเอาพระสูตรประเภทปริยายธรรมเป็นปฏิสรณะ
(๔) ย่อมมีธรรมเป็นปฏิสรณะ ไม่ถือเอาบุคคลเป็นปฏิสรณะ*

เป็นผู้รู้แจ้งชัด อนุโลมเป็นไปในยถาภูตธรรมลักษณะ
ปราศจากการเข้ามา ปราศจากคติมุ่งไป
อวิชชาย่อมดับสนิทไปในที่สุด

เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งปวงก็ย่อมดับสนิทไปในที่สุด
แม้จนชาติความเกิดก็ย่อมดับสนิทไปในที่สุด
ชรามรณะก็ย่อมดับสนิทไปในที่สุด

(กล่าวคือทั้งหมดเป็นศูนยตา ปราศจากสภาวะเกิดขึ้นหรือดับไป)

ผู้ใดมาเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนี้ ก็ย่อมรู้ชัดว่า อันปฏิจจสมุปบาท ๑๒ นั้น ปราศจากอันตลักษณะ ไม่เกิดอุปาทลักษณะขึ้นอีก

ผู้ซึ่งกระทำเช่นนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้บูชาพระตถาคต ด้วยธรรมปฏิบัติบูชาอันสูงสุด"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 61, 62, 63, 64, 65, 66, 67 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร