วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 01:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ๔....
[๖๙๒] มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความ
เพียร มีสัมปชัญญะ มีธรรมเอกผุดขึ้น มีจิตผ่องใส มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เดียว เพื่อรู้กาย
ตามความเป็นจริง......

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=3941&Z=3970&pagebreak=0
Quote Tipitaka:
จิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่านพระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย ย่อมตั้งมั่นจิตนั้นไว้ในฐานหนึ่ง จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

จิตจำนงหวังอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่ง พระโยคาวจรเว้นจิตนั้นเสีย น้อมจิตนั้นไปในฐานะนั้นแล จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

จิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายความเกียจคร้าน พระโยคาวจรประคองจิตนั้นไว้แล้ว ละความเกียจคร้าน จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

จิตถือจัด ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ พระโยคาวจรข่มจิตนั้นเสียแล้วละอุทธัจจะ จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

จิตรู้เกินไปตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด พระโยคาวจรผู้รู้ทันจิตนั้น ละความกำหนัดเสีย จิตย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

จิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายความพยาบาท พระโยคาวจรเป็นผู้รู้ทันจิตนั้น ละความพยาบาทเสีย จิตย่อมไม่ถึง
ความฟุ้งซ่านแม้ด้วยอาการอย่างนี้

จิตบริสุทธิ์ด้วยฐานะ ๖ ประการนี้ ย่อมขาวผ่อง ถึงความเป็นธรรมอย่างเดียว

Quote Tipitaka:
ความเป็นธรรมอย่างเดียวเหล่านั้นเป็นไฉน ฯ
...ความเป็นธรรมอย่างเดียวในความปรากฏแห่งสมถนิมิต...

[จิตถือจัด คือจิตที่เพียรจัดเกินไป เช่นขยันเกิน มุมานะเกินไป ก็จะทำให้ฟุ้งซ่านได้

จิตรู้เกินไป คือจิตที่ไวต่อความรู้สึกเกินไป เช่นไวต่อความรู้สึกต่ออารมณ์ที่มากระทบเกินไปมากกว่าที่ควรจะเป็น ละเอียดละออมากกว่าที่ควรจะเป็น และขยายความรู้สึกออกไปได้เองมากกว่าที่เป็นจริง ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นต้น

จิตไม่รู้ ในที่นี้ หมายถึงจิตไม่แจ่มใส ปราศจากความรู้ที่ทำให้จิตแจ่มใสหรือผ่องใส ปราศจากความรู้ที่ปรุงจิตให้ปีติปราโมทย์ หรือสงบเสงี่ยม เป็นจิตที่สลัวอยู่ด้วยความไม่รู้ซึ่งในที่สุดตกไปฝ่ายพยาบาท.
พยาบาทในที่นี้ มิได้หมายถึงความอาฆาตจองเวรโดยตรง หากหมายถึงความไม่พอใจทุกชนิด โดยเฉพาะหมายถึงปฏิฆะ คือความกลัดกลุ้มหงุดหงิดอยู่ในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นความรำคาญใจ หรือความไม่สบายใจอยู่ตามลำพังตน.]

เป็นข้อสังเกต ว่า คุณ idea มีจิตตั้งมั่นมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ หรือจิตถึงความผ่องใสคือตั้งมั่นในอารมณ์เดียวได้นาน จึงใช้ความรู้ดังกล่าวข้างต้นในการพิจารณา.
เจริญภาวนา ตามคำพระศาสดา ย่อมละวิจิกิจฉาทั้งปวง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 15:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไม่ค่อยเข้าใจ แบบแน่ชัดค่ะคุณเช่นนั้น
s007
เอามาโยงกับคำตอบในวันนี้อีกที
Kiss
วันนี้นั่งสมาธิ40นาที
เกิดอาการวนไปมาระหว่างปิติ พอพิจารณาถึงความสุขทางกาย ?
ก็เกิดอาการนิ่งขึง หรือกายหนัก แต่อารมเบาที่อธิบายรอบแล้ว
ก็จะยังวนไปวนมาเหมือนเดิม แต่วันนี้
มีอาการนิ่งขึงหรือกายหนัก หรือ หนักแน่นในอารมณ์เดียว แต่ยังรู้ลมเบาๆมากเป็นตรงนี้ได้นานขึ้นกว่าเดิม
ก่อนจะกลับไปปิติอีก ตรงนี้ไม่ก้าวหน้าใช่ใหมคะ
ที่อธิบายเรื่องจิต นั่นให้เอามาพิจารณา ว่าidea ตกไปฝ่ายไหน รู้ให้ทัน ปรับให้มันสมดุล
และเป้าหมายสูงสุดของ การทำอานาปานสติสำเร็จ จะต้องอยู่ที่อารมณ์ใด
:b8: :b8: :b8:
ขอบคุณค่ะ
หากมีคำถามไหนไม่ควร ขอโทษด้วยนะคะ
Ideaถามด้วยความไม่รู้ เพราะเป็นคนเข้าใจอะไรยาก อยากรู้อะไรก็ถาม ไม่รู้จะกวนใจคุณเช่นนั้นมากเกินไปรึเปล่า
เหมือนอย่างที่แนะนำมา น้อมรับนะคะ แต่แค่อ่านตอนนี้ยังไม่เข้าใจค่ะ แค่เหมือนจะเข้าใจ
แต่หากได้โอกาสปฏิบัติอีกรอบถึงจะเอามาพิจารณา ตอนนั้นจะเห็นชัดค่ะ
ประโยคทางธรรมบอกจริงๆ จะใช้ทำความเข้าใจวิธีนี้ ไม่งั้นแค่อ่านยังไม่เข้าใจจริงๆค่ะ เพราะซับซ้อน
ทำด้วยเหตุนี้ จะมีข้อเสียใดมั้ยคะ ต้องทบทวนไปมาจนกว่าใจมันเชื่อแน่ว่าไม่มีการสมมุติขึ้นมาเอง หากใจมันตกลงยอมรับแล้ว เรื่องใดเป็นข้อสงสัยก็มักจะไม่กลับเข้ามาเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 15:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ไปวัด เพิ่งกลับมาถึงบ้านค่ะ
ทำบุญถวายเทียนกับสังฆทาน ไกลหน่อย วัดนี้ปกติมีแต่ศาลาไม้
กำลังเริ่มสร้างวิหาร 3ปีแล้วยังได้ไม่เท่าไหร่
จึงขอร่วมด้วยค่ะ เอาบุญมาฝากนะคะทุกท่าน tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 15:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
ยังไม่ค่อยเข้าใจ แบบแน่ชัดค่ะคุณเช่นนั้น
s007
เอามาโยงกับคำตอบในวันนี้อีกที
Kiss
วันนี้นั่งสมาธิ40นาที
เกิดอาการวนไปมาระหว่างปิติ พอพิจารณาถึงความสุขทางกาย ?
ก็เกิดอาการนิ่งขึง หรือกายหนัก แต่อารมเบาที่อธิบายรอบแล้ว
ก็จะยังวนไปวนมาเหมือนเดิม แต่วันนี้
มีอาการนิ่งขึงหรือกายหนัก หรือ หนักแน่นในอารมณ์เดียว แต่ยังรู้ลมเบาๆมากเป็นตรงนี้ได้นานขึ้นกว่าเดิม
ก่อนจะกลับไปปิติอีก ตรงนี้ไม่ก้าวหน้าใช่ใหมคะ

ไม่กล่าวว่าไม่ก้าวหน้าหรือถอยหลัง
เพียงแต่ ขาดความเข้าใจในอารมณ์หรือนิมิตของสมถะครับ
ที่ไปต่อไม่ได้ เพราะคุณ idea ยังไม่ได้รับรู้ถึง อานาปานสติสมาธิภาวนา ในลำดับที่ 3 ครับ และ 4 ครับ

Quote Tipitaka:
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า


กองลมทั้งปวง หรือกายทั้งปวง
เป็นการพิจารณาศึกษา โดย ส่วน 3
คือ กายภายนอก กายภายใน กายภายในและกายภายนอก
กองลมเข้า กองลมออก ที่เป็นภายนอก ที่เป็นภายใน ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก

ค่อยๆอ่านไปนะครับ

เรียกว่า ภายนอก ภายใน ภายในและภายนอก เป็นอย่างไร?
ภายนอก คือ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อันมหาภูตรูป 4 นั้นปรุงแต่งขึ้น [รูปกาย]
ภายใน คือ นิมิตเครื่องหมายที่จิตรู้ว่าลมหายใจออก ลมหายใจเข้า
ภายนอกและภายใน คือจิตรู้ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า.
[ซึ่งเข้าใจง่ายๆว่า จิตรู้ลม โดยสภาพของรูปเรื่อง หรือนามรูปนั่นเองครับ >นามกาย]

ขณะที่คุณ idea รู้ลมระยะแรก โดยที่ไม่ใส่ใจอารมณ์อื่นจนมั่นคง
คุณidea บอกว่า ตัวโยกโคลง ตัวเบาสงบ สบาย ขณะนั้น จิตเป็นปฐมฌาน สำเร็จ
จิตไม่มีลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเป็นอารมณ์ แต่จิตมีจิตปฐมฌานเป็นอารมณ์. นิมิตแห่งลมหายใจเข้าลมหายใจออก ตั้งอยู่โดยความกำหนดอยู่ด้วยสติ.

ขณะที่ไม่คำนึงถึงนิมิต แต่จิตยังคงเพียงรู้สึกลมเข้าลมออกต่อไปนั้นอยู่ จิตเลื่อนไปถึงความตั้งมั่นมากขึ้น
ปิติสุขทางกายและใจปรากฏเด่นขึ้น จิตรู้ตรงนั้นชัดขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ของจิตคือ จิตมีทุติยฌานจิตเป็นอารมณ์ของจิต. ความรู้สึกตัวพอง ตัวลอย ตัวเบา ต่างๆ และรู้สึกว่าสุขสบาย จึงปรากฏชัดในความรู้สึกของคุณ idea. แต่เมื่อปิติทางกายมีกำลังแรง คุณ idea ไม่รู้ จึงเป็นความรำคาญแห่งจิต ตอนนั้นคุณ idea ถามมา จึงให้ละปิติสุขทางกายเสีย โดยไม่ใส่ใจปิติสุขทางกาย โดยใส่ใจสุขทางใจ เพื่อให้ คุณ idea เลื่อนไปที่ ตติยฌานจิต. ซึ่งเป็นที่สงบของปิติสุขทางกาย.

พอคุณ idea ระงับปิติสุขทางกายได้ ก็อาศัยสุขทางใจ หรือ ตติยฌานจิตนั้น กายจะไม่เบา ไม่พอง ไม่ลอย ความรู้สึกทางกายก็จะหนักๆแน่นๆ ตึงๆ อันเป็นธรรมดาในตติยฌานจิต แต่จิตจะเบาสบายถ่ายเดียว.
เพราะจิตไม่รู้ ถึงความรู้สึกทางกายที่หนักๆแน่นๆ อันเป็นธรรมดานี้เอง คุณidea จึงกลับไปที่ ปฐมฌานจิต หรือไม่ก็กลับไปที่ ทุติยฌานจิต จนในที่สุดกลายเป็นความสงสัยขึ้นมา.

ที่ไม่บอกเล่าก่อน เพราะว่า ถ้าบอกเล่าไป คุณ idea จะไม่เห็นด้วยประสบการณ์ตรง.

ดังนั้น ในอานาปานสติขั้นที่ 3และ 4
จึงสมควรแก่เวลาที่จะนำมาบอกมาเล่าให้คุณ idea เข้าใจ

ในลำดับที่ 3 นั้น จึงเป็นการให้สติปัญญา รู้จักสภาวะที่เกิดขึ้นในแต่ละ ฌานจิตที่เนื่องด้วยกาย หรือลมหายใจเข้าลมหายใจออก

และในลำดับที่ 4 จึงเป็นการให้สติปัญญาในการ บังคับกายให้สงบรำงับด้วย ลำดับฌานที่เลื่อนขึ้นไป
จนถึงความตั้งมั่นได้นาน เป็นอัปปนา. คือรู้เฉยๆ ไม่ใส่ใจทุกข์สุข ทางกายทางใจ (จตุตถฌานจิต)
สตินั้นจึงบริสุทธิ์ และเป็นอุเบกขา ..

อาการที่เกิดขึ้นในขณะนี้โดยไม่มีความเข้าใจดังที่กล่าว จึงเป็นเหมือน ชั่วขณะ หรือไม่ก็เข้าไปสู่ฌานจิตได้ในแต่ละขณะอย่างฟลุ๊คๆ

ซึ่งต่อไป ก็จะเป็นการกำหนดเลื่อน ฌานจิต ด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อม...

[ฌานจิต จึงเป็นอารมณ์ของจิตดวงเดียว]

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 14 ก.ค. 2014, 16:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 15:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
วันนี้ไปวัด เพิ่งกลับมาถึงบ้านค่ะ
ทำบุญถวายเทียนกับสังฆทาน ไกลหน่อย วัดนี้ปกติมีแต่ศาลาไม้
กำลังเริ่มสร้างวิหาร 3ปีแล้วยังได้ไม่เท่าไหร่
จึงขอร่วมด้วยค่ะ เอาบุญมาฝากนะคะทุกท่าน tongue


:b8: อนุโมทนาครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 16:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
หากมีคำถามไหนไม่ควร ขอโทษด้วยนะคะ
Ideaถามด้วยความไม่รู้ เพราะเป็นคนเข้าใจอะไรยาก อยากรู้อะไรก็ถาม ไม่รู้จะกวนใจคุณเช่นนั้นมากเกินไปรึเปล่า
เหมือนอย่างที่แนะนำมา น้อมรับนะคะ แต่แค่อ่านตอนนี้ยังไม่เข้าใจค่ะ แค่เหมือนจะเข้าใจ
แต่หากได้โอกาสปฏิบัติอีกรอบถึงจะเอามาพิจารณา ตอนนั้นจะเห็นชัดค่ะ
ประโยคทางธรรมบอกจริงๆ จะใช้ทำความเข้าใจวิธีนี้ ไม่งั้นแค่อ่านยังไม่เข้าใจจริงๆค่ะ เพราะซับซ้อน
ทำด้วยเหตุนี้ จะมีข้อเสียใดมั้ยคะ ต้องทบทวนไปมาจนกว่าใจมันเชื่อแน่ว่าไม่มีการสมมุติขึ้นมาเอง หากใจมันตกลงยอมรับแล้ว เรื่องใดเป็นข้อสงสัยก็มักจะไม่กลับเข้ามาเลย

เมื่อถึงขณะใดเกิดขึ้น ความรู้ที่ได้อ่าน จากพระสูตรที่ยกมานั้น
จะเด่นชัดขึ้นในจิต และจะช่วยได้เองครับ
จำได้คือสัญญา
ทำสำเร็จได้ คือปัญญาครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 18:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้น
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
การมีผู้ชี้นำนี้ดีมากเลยค่ะ เพิ่มกำลังใจในการปฏิบัติ
Ideaเป็นคน คิดวุ่นวาย สงสัยไปเรื่อย อยากรู้อยากลองทำไปซะหมด คิดว่าทำได้
แม้เตือนตัวเอง ว่ามากเกินไป แต่เข้าใจใหมคะ นิสัยคนเรา ทั้งรู้ก็ยังอดไม่ได้ แต่ยังดีที่ไปในทางให้เกิดบุญกุศล
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
การมีผู้ชี้นำนี้ดีมากเลยค่ะ เพิ่มกำลังใจในการปฏิบัติ
Ideaเป็นคน คิดวุ่นวาย สงสัยไปเรื่อย อยากรู้อยากลองทำไปซะหมด คิดว่าทำได้
แม้เตือนตัวเอง ว่ามากเกินไป แต่เข้าใจใหมคะ นิสัยคนเรา ทั้งรู้ก็ยังอดไม่ได้ แต่ยังดีที่ไปในทางให้เกิดบุญกุศล
smiley
:b8:
เดินตามบาทพระศาสดา ไม่ผิดหวังหรอกครับ : )

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2014, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมก็มีความเห็นว่า อารมณ์เราได้แล้ว คืออารมณ์กรรมฐาน

แต่เรายังพิจารณาอารมณ์ไม่ได้เพราะยังห่วงว่าพิจารณาอย่างไร

จะเป็นอานาปานสติก็ลง ทุกขัง อนิจจัง อนัตตาเหมือนกันครับ (ถ้ามุ่งเน้นวิปัสสนา)

ถ้ามุ่งเน้นญาณสมาธิที่ลึก ความเห็นผมคือตั้งจิตให้มั่น(วิญญาณ)ที่ใดที่หนึ่ง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 07:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณstudent
ขอบคุณมากค่ะ
:b8: :b8: :b8:
ในความคิดของคุณ จะเริ่มพิจารณา ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ยังไงคะ
พิจารณาแล้วจะเกิดปัญญาขึ้นมา
หรือทำสมาธิจนนิ่งลึก แล้วจะเกิดอะไรคะ
s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 16:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้มีเรื่องกังวลที่โรงงาน ด้านล่าง เสียงดังวุ่นวาย
แต่ก่อนจะต้องทำงาน ยุ่งต่อเนื่องทั้งวัน เช้านี้เลยขอทำความสงบสักนิดก่อนลงไป
เวลามีน้อยเลยไม่กำหนด
หลับตาลงกำหนดลมหายใจ เสียงดังอะไรไม่เป็นอุปสรรค นอกจากกังวลว่าคนข้างล่างจะรอ
แต่ปล่อยไป สักพักจากที่พยายามกำหนด ลมหายใจเริ่มเบาสบาย เกิดปิติเล็กน้อย
ต่อเนื่องมารู้สึกตัวแน่นหนัก ก็กำหนดรู้ลม ดังคุณเช่นนั้นบอกมาในระยะที่3
ก็อยู่ในอารมณ์นั้น สงบ สบาย เฉยๆ อยู่เรื่อย ก็ออกจากสมาธิ
แปลกมากเลย วันนี้ทำทุกอาการผ่านไปทันทีได้เลย เหมือนอยู่ในอารมณ์สุดท้ายนาน
จนออกจากสมาธิ จริงแล้วใช้เวลาแค่ไม่ถึง20นาทีค่ะ ได้แค่ระยะที่3 เข้าใจถูกใหมคะ
ขอบคุณมาก :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2014, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
วันนี้มีเรื่องกังวลที่โรงงาน ด้านล่าง เสียงดังวุ่นวาย
แต่ก่อนจะต้องทำงาน ยุ่งต่อเนื่องทั้งวัน เช้านี้เลยขอทำความสงบสักนิดก่อนลงไป
เวลามีน้อยเลยไม่กำหนด
หลับตาลงกำหนดลมหายใจ เสียงดังอะไรไม่เป็นอุปสรรค นอกจากกังวลว่าคนข้างล่างจะรอ
แต่ปล่อยไป สักพักจากที่พยายามกำหนด ลมหายใจเริ่มเบาสบาย เกิดปิติเล็กน้อย
ต่อเนื่องมารู้สึกตัวแน่นหนัก ก็กำหนดรู้ลม ดังคุณเช่นนั้นบอกมาในระยะที่3
ก็อยู่ในอารมณ์นั้น สงบ สบาย เฉยๆ อยู่เรื่อย ก็ออกจากสมาธิ
แปลกมากเลย วันนี้ทำทุกอาการผ่านไปทันทีได้เลย เหมือนอยู่ในอารมณ์สุดท้ายนาน
จนออกจากสมาธิ จริงแล้วใช้เวลาแค่ไม่ถึง20นาทีค่ะ ได้แค่ระยะที่3 เข้าใจถูกใหมคะ
ขอบคุณมาก :b16:

ครับ ถ้าทรงอารมณ์ ที่ตติยฌานจิตได้ทั้งวัน ก็จะทำงานได้อย่างมีความสุข
การกำหนด ฌานจิตต่างๆ เป็นอารมณ์ เข้าออกได้เร็ว และจะหยุดที่อามรณ์ใดก็ได้ เป็นความสามารถของจิต
เป็นความชำนาญของจิต ในสมถะนิมิตต่างๆ.

ต่อไปก็คงจะทำความศึกษาในเวทนานุปัสสนาให้ชัดขึ้นอีก
กายานุปัสสนา ในลำดับที่สาม รู้กายทั้งปวง ไว้จะกล่าวอีกครั้งในภายหลัง

อนุโมทนา ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 06:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณstudent
ขอบคุณมากค่ะ
:b8: :b8: :b8:
ในความคิดของคุณ จะเริ่มพิจารณา ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ยังไงคะ
พิจารณาแล้วจะเกิดปัญญาขึ้นมา
หรือทำสมาธิจนนิ่งลึก แล้วจะเกิดอะไรคะ
s006


หลักใหญ่คือพิจารณาความเป็นธาตุครับ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ

ไม่มีใครออกจากบ้านโดยลืมธาตุไฟไว้ที่บ้าน ต้องแบกทุกข์นี้ไปด้วย นี่พิจารณาความเป็นธาตุไฟด้วยความเป็นทุกข์

อันนี้ไม่ต้องนั่งทำสมาธิจนนิ่งลึก ก็สามารถกำหนดรู้ความเป็นทุกข์นี้ได้

พิจารณาธาตุไฟเป็นหลักคือ ทั้งวัน นั่ง ยืน นอน ถือ แตะ ก็กำหนดรู้ความเป็นทุกข์นี้ด้วยความเป็นธาตุไฟ

ผมกำหนดอย่างนี้ทั้งวัน จริงๆ ผมมีแนวปฎิบัติที่เยอะและแยกแยะธรรมของผม. ไม่เฉพาะความเป็นธาตุไฟ

ธาตุน้ำ ดิน ลม โดยใช้หลักการใดหลักการหนึ่ง เช่นหายใจเข้าออก อาการปกติ หรือ วิงเวียนศรีษะ หรืออาการเหน็บชา อาการโดนกระแทก กระทบ หรือของมีคมบาด

พิจารณาจากธาตุรู้ การฟัง การดู การกิน เป็นต้น ให้ลงทุกขัง หรืออนิจจัง หรือ อนัตตา

อนัตตาไม่ได้หมายถึงความหาตัวตนไม่ได้ ว่าง ไม่เหลืออะไรอย่างเดียวนะครับ
อนัตตาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์คือ ความเป็นเช่นนั้น เช่น เย็นเป็นแบบนี้

ปวดเป็นแบบนี้ ตึงเป็นแบบนี้ ไหวเป็นแบบนี้ คือ อาการเป็นทุกข์ ลักษณะเป็นอนัตตา ความเปลี่ยนไปมาคืออนิจจัง

แต่อารมณ์คือ ความอยู่ อยู่อย่างตั้งใจ มีความเพียร ปัจจุบัน คืออารมณ์วิปัสสนา จะกำหนดรู้อะไรก็ตามแต่ แต่จิตเอาธรรมตามจริง เรียกอารม์วิปัสสนา เอาปัญญามาใช้ ไม่ใช่เอากิเลสมาใช้

จิตที่นิ่งลึก ไม่ใช่อารมณ์วิปัสสนา แต่เป็นเหตุใกล้ คือ เนื่องจากจิตนิ่งแต่ต้องน้อมธรรมสู่พระไตรลักษณ์

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 07:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณstudent
พอเข้าใจบ้างค่ะ
คล้ายๆการเจริญสติ ใช่ใหมคะ
ตามรู้ ตามสังเกตุ แต่เน้นไปตรงความเป็นธาตุ
ขอบคุณที่แนะนำ จะเก็บไว้เป็นความรู้ค่ะ หากจิตใจคงสมาธิได้มากกว่านี้คงทำได้

ตอนที่เคยทำสมาธิต่อเนื่อง สงบดี ideaชอบกำหนดกองไฟในร่างตัวเองไม่ว่าจะท่านั่งยืนเดิน
กำหนดจนชัดเจนในกิริยานั้น อันนี้ใกล้เคียงรึเปล่า รู้ลมไปด้วยนะ เรื่องไฟนี่มันน่าจะเป็นความชอบส่วนตัวลึกๆค่ะ
พยายามปรับเปลี่ยนเอง ระลึกถึงเอง ทั้งที่บางทีบอกตัวเองว่าไม่อยากเอา เพราะได้ยินว่าเป็นกสิณ
เลยกลัวเพราะไม่มีครูบาอาจารย์ แต่ก็พยายามเอามาแทรกแซงตลอด ตั้งมั่นดีด้วยค่ะ

ตอนนี้ก็เริ่มเจริญสติบ้างแล้ว คือเริ่มจากรู้ลมหายใจสบาย ซึ่งมันเริ่มเกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ
ในระหว่างวันเวลาที่ว่าง แต่สติยังไม่ค่อยเต็มที่ขาดๆหายๆบ้าง แต่นับวันยิ่งแน่นขึ้น

ทั้งหมดนี้เข้าใจถูกหรือไม่ ชี้แนะด้วยค่ะ
tongue
คุณเช่นนั้น
ให้ความเข้าใจเรื่องไฟ กับการเจริญสติ ด้วยได้ใหมคะ ยังคงการปฏิบัติเดิม แต่ถ้าสมาธิแน่นขึนต้องหวนคิดแน่ๆ หมายถึงระหว่างวันที่เจริญสติ รู้ลมสบายพร้อมระลึกถึงดวงไฟหนะค่ะ
มันติดใจจริงๆค่ะ จึงอยากเข้าใจความหมายโดยรวม ทีถูกที่ควร มาถึงขนาดนี้ติเตือนกันตรงๆนะคะ
Ideaปฏิบัติตามคุณเช่นนั้น ตามขั้นตอนเหมือนลูกศิษย์กับครูอาจารย์เลยค่ะ
smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2014, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


idea เขียน:
คุณเช่นนั้น
ให้ความเข้าใจเรื่องไฟ กับการเจริญสติ ด้วยได้ใหมคะ ยังคงการปฏิบัติเดิม แต่ถ้าสมาธิแน่นขึนต้องหวนคิดแน่ๆ หมายถึงระหว่างวันที่เจริญสติ รู้ลมสบายพร้อมระลึกถึงดวงไฟหนะค่ะ
มันติดใจจริงๆค่ะ จึงอยากเข้าใจความหมายโดยรวม ทีถูกที่ควร มาถึงขนาดนี้ติเตือนกันตรงๆนะคะ
Ideaปฏิบัติตามคุณเช่นนั้น ตามขั้นตอนเหมือนลูกศิษย์กับครูอาจารย์เลยค่ะ
smiley

หากว่าคุณ Idea จะพิจารณาโดยความเป็นธาตุ
ก็ปฏิบัติเช่นเดิม คือรู้ลม ด้วยความรู้สึกตัวว่าไม่มีอุปกิเลส หรือนิวรณ์ใดกวนจิตใจ
จิตแนบแน่นกับความรู้ลม และมีฌานจิตเป็นอารมณ์ของจิต
เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างมั่นคงในภายในดีแล้ว
จึงถอยฌานจิตกลับมาที่ปฐมฌานจิต
เพื่อทำความสังเกตุ ธาตุ ที่ประกอบกับลมหายใจทั้งปวง.

อ้างคำพูด:
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า จักกำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.


โดย
สังเกตุ ลมหายใจเข้า ออก มีความร้อนความเย็นต่างๆ กัน ตั้งแต่รู้ลมหายใจหยาบ ไปถึงละเอียดของลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น คือการสังเกต เตโชธาตุที่ปรุงแต่งลมหายใจเข้าลมหายใจออก.

สังเกตุ ความเคลื่อไหว ของลมหายใจเข้า ลมหายใจออก คือการสังเกตุ วาโยธาตุ

สังเกตุ ความนุ่ม ความเป็นกลุ่มของลมหายใจเข้า ลมหายใจออก คือการสังเกตุ ปฐวีธาตุ

สังเกตุ ความอิ่มเอิบ แทรกซึมไปขณะผ่านจุดกระทบ บริเวณจุดกระทบของลมหายใจเข้าลมหายใจออก คือการสังเกตุ อาโปธาตุ

สังเกตุ ความว่างช่องว่างที่มีเป็นช่องการไหลเลื่อนของลมหายใจเข้าลมหายใจออก คือการสังเกตุอากาศธาตุ (ดังนั้นอากาศจึงไม่ลม แต่เป็นช่องว่างที่ให้ธาตุต่างๆ ตั้งอยู่รวมตัวกัน)


สังเกตุ การรับรู้ของธาตุต่างๆ ว่าเป็นเพียงนิมิตเครื่องรู้ของจิตคือการสังเกตุ วิญญาณธาตุ [นามธาตุ]

[การที่ไม่เอาคำบริกรรมต่างๆ ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ให้รู้ลมโดยสภาวะนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตุโดยความเป็นธาตุต่างๆ โดยความเป็นรูปธาตุ นามธาตุ ]

ถ้าหากว่า มีนิวรณ์ใดๆ มาแทรกในระหว่างการพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ก็หมายความว่า สมาธิอ่อนกำลัง
ให้หยุดการพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ให้มีสติกลับมารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก และทำความระงับแห่งกาย.

การเจริญกายานุปัสสนา กลับไปมาระหว่าง สมถะและวิปัสสนา อย่างนี้ ก็เพื่อการพักและเสริมกำลังกันและกันของสมถะและวิปัสสนา.

จิตที่ยังไม่เป็นอัปปนา หรือแนบแน่น สงบตั้งมั่นจะเห็นโดยบัญญัติ ไม่ได้เห็นโดยสภาวะอย่างแท้จริงครับ คุณ idea. เมื่อเราพิจารณา อย่างนี้ได้คล่องแคล่วแล้ว ก็จะเกิดเป็นญาณขึ้น และเกิดความเคยชินขยายขอบเขตของความรู้ไปรู้กาย อันเนื่องกับรูปขันธ์ได้ทุกอย่างครับ.

ไม่ว่าจะเป็นรูปภายนอก รูปภายใน รูปภายในและภายนอก.

[การสังเกตุ คือการรู้โดยสภาวะธรรมชาติที่มันเป็น]

กายานุปัสสนา ในลำดับที่ 3 จึงมีประโยชน์ สามารถพลิกแพลงสังเกตุได้หลากหลายมากมายครับ.

จิตที่ผ่องใสจึงจะเห็นสภาพธรรมทั้งปวงตามเป็นจริง.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 284 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร