วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 57, 58, 59, 60, 61, 62, 63 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนสารีบุตร ท่านมีความคิดอยู่เสมออย่างนี้ว่า
“แต่ละโลกธาตุหนึ่งๆ มีพระพุทธเจ้าเท่าเม็ดทรายในคงคานที
ที่ได้ดำรงพระชนม์อยู่เป็นกัลป์เท่าเม็ดทรายในคงคานที

ได้ตรัสธรรมหนึ่งๆ เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ให้หลุดพ้น
และสรรพสัตว์หนึ่งๆ ก็ล้วนได้ดับลง”
ท่านมีความคิดเช่นนี้หรือไม่?”

พระสารีบุตรตอบ
“ท่านมัญชุศรี เรามีความคิดอย่างนี้อยู่เสมอ”

พระมัญชุศรีตอบพระสารีบุตรว่า
“อุปมาอากาศที่นับคำนวณไม่ได้ สรรพสัตว์ก็นับคำนวณไม่ได้
เมื่อไม่อาจข้ามพ้นอากาศไปได้ ก็ไม่อาจข้ามพ้นสรรพสัตว์เช่นกัน
เหตุไฉนนั้นฤๅ? สรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอด้วยอากาศ
แล้วพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะสั่งสอนสรรพสัตว์ได้อย่างไร?”

พระสารีบุตรกล่าวว่า
“หากสรรพสัตว์ทั้งหลายเสมอด้วยอากาศ
แล้วเหตุไฉนท่านจึงแสดงธรรมแก่สรรพสัตว์ยังให้บรรลุโพธิญาณเล่า?”

พระมัญชุศรีตอบว่า
“อันโพธินั้นที่แท้ไม่อาจเข้าถึง แล้วเราจะกล่าวธรรมอันใดเพื่อยังให้สรรพสัตว์เข้าถึงเล่า?
เหตุไฉนนั้นฤๅ ท่านสารีบุตร
โพธิกับสรรพสัตว์ ไม่เป็นหนึ่งไม่เป็นสอง ไม่แตกต่างไม่ปรุงแต่ง ไร้นามไร้ลักษณะ ที่แท้แล้วมิได้มี”

มีพุทธดารัสกะพระมัญชุศรีว่า
“เธอบำเพ็ญปัญญาปารมีอย่างนี้ แล้วปัญญาปารมีมีที่ตั้งอยู่หรือไม่?”

พระมัญชุศรีทูลว่า
“พระผู้มีพระภาค! ปัญญาปารมีไม่มีที่ตั้งอยู่”

มีพุทธดารัสกะพระมัญชุศรีว่า
“หากปัญญาปารมีไม่มีที่ตั้งอยู่ แล้วเธอบำเพ็ญอย่างไร? ศึกษาอย่างไร?”

พระมัญชุศรีทูลว่า
“พระผู้มีพระภาค! หากปัญญาปารมีมีที่ตั้งอยู่แล้วไซร้ ก็ย่อมไม่มีการบำเพ็ญแลศึกษา”


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 20 มิ.ย. 2014, 23:53, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธดารัสกะพระมัญชุศรีว่า
“เมื่อสมัยที่เธอบำเพ็ญปัญญา กุศลมีเพิ่มและลดหรือไม่? ”

พระมัญชุศรีทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค!
กุศลไม่อาจเพิ่มแลไม่อาจลด
หากมีการเพิ่มและลด ย่อมมิใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมี

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค!
ไม่ว่าธรรมจะเพิ่ม ไม่ว่าธรรมจะลด ก็คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี
ไม่ขาดสิ้นจากธรรมของปุถุชน ไม่ยึดมั่นในธรรมแห่งพระตถาคต จึงเป็นการบำเพ็ญปัญญาปารมี

เหตุไฉนนั้นฤๅ? พระผู้มีพระภาค!
อันปัญญาปารมี มิใช่ต้องบรรลุธรรมแล้วจึงบำเพ็ญ
มิใช่ไม่บรรลุธรรมแล้วจึงบำเพ็ญ มิใช่ประพฤติธรรมแล้วจึงบำเพ็ญ
มิใช่ไม่ประพฤติธรรมแล้วจึงบำเพ็ญ

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค!
การไม่เข้าถึง การไม่เพิกเฉย คือการบำเพ็ญปัญญาปารมี
ด้วยเหตุไฉนนั่นฤๅ? เพราะเหตุที่ไม่ใช่ความทุกข์ของสังสารวัฏ แลไม่ใช่กุศลของพระนิพพาน

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค!
หากบำเพ็ญปัญญาปารมีอย่างนี้ เป็นเหตุให้ไม่ยึดมั่น ไม่น้อมรับ
ไม่วางเฉย ไม่ปล่อยวาง ไม่เพิ่ม ไม่ลด ไม่เกิดขึ้น ไม่ดับลง

ข้าแต่พระผู้มีพระภาค!
หากกุลบุตร กุลธิดา จะมีมนสิการอย่างนี้ว่า “ธรรมนี้สูง ธรรมนี้กลาง ธรรมนี้ต่ำ”
อันนี้หาใช่การบำเพ็ญปัญญาปารมีไม่

เหตุไฉนนั้นฤๅ? เหตุที่ธรรมไม่มีสูง กลาง ต่ำ
พระผู้มีพระภาค! ข้าพระองค์ได้บำเพ็ญปัญญาปารมีอยู่อย่างนี้”

มีพุทธดารัสกับพระมัญชุศรีว่า
“บรรดาพุทธธรรมทั้งปวงมิใช่อธิบดีเป็นเลิศกระนั้นหรือ? ”

พระมัญชุศรีทูลว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค!
อันพุทธธรรม โพธิสัตวธรรม สาวกธรรม ปัจเจกโพธิธรรม จนถึงปุถุชนธรรม ล้วนไม่อาจเข้าถึงได้

เหตุไฉนนั้นฤๅ? เพราะที่สุดก็เป็นศูนยตา
ในศูนยตาอันเป็นที่สุดนั้นก็ไร้ซึ่งพุทธธรรมและปุถุชนธรรม
ในปุถุชนธรรมนั้นก็ไม่ได้มีศูนยตาเป็นที่สุด
เหตุไฉนนั่นฤๅ? เหตุเพราะศูนยตาหรือไม่ศูนยตาก็ไม่อาจบรรลุถึงได้ทั้งสิ้น”


(มัญชุศรี ปรัชญาปารมิตาสูตร)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ทรงรับสั่ง
“ ท่านสุภูติ เหล่าปวงโพธิสัตว์ มหาสัตว์ทั้งหลาย ควรฝึกฝนจิตของตนดังนี- :

สรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภูมิใด เกิดจากไข่ เกิดจากครรภ์ เกิดจากความชื้น หรือแปลงรูปขึ้นมาเองก็ดี,
มีรูป หรือไม่มีรูปก็ดี, พวกที่ยังอยู่ในสถานะที่ต้องใช้ความคิด (กามภพ) หรือ มิต้องใช้ความคิด (รูปภพ) ก็ดี

หรือพวกที่อยู่นอกเหนือความคิดโดยสิ้นเชิงแล้ว (อรูปภพ) ก็ดี
เราจักแสดงธรรมอันเป็นไปเพื่อวิมุตติหลุดพ้น
เป็นไปเพื่อพระนิพพานอันยิ่ง แก่สรรพสัตว์เหล่านั้น

และเมื่อสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น อันไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ได้บรรลุหลุดพ้นแล้วก็ตาม
แต่โดยแท้จริงแล้ว หาได้มีสัตว์เหล่าใดบรรลุหลุดพ้นไม่

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ท่านสุภูติ
เพราะว่า โพธิสัตว์ที่แท้จริง ย่อมไม่ยึดติด
อยู่กับความเห็นเรื่องอัตตา ตัวตน บุคคล สัตว์ หรือ ภพภูมิใดๆ ”

“ สุภูติ เธอมีความเห็นเช่นไร ?
บุคคลผู้บรรลุถึงอริยะผลขั้นอนาคามี คือ ผู้ที่จะไม่กลับมาเกิดอีก
จะหลงยึดติดว่า ตนได้บรรลุเป็นอนาคามีแล้วกระนั้น ได้หรือไม่ ? ”

ท่านสุภูติทูลตอบ : “ หามิได้พระเจ้าข้า
เพราะเหตุใด? เพราะอนาคามี เป็นเพียงชื่อ
แท้จริงแล้ว หาได้มีการไม่กลับมาเกิดอีกไม่ จึงเรียกว่า อนาคามี

“ สุภูติ เธอมีความเห็นเช่นไร ?
บุคคลผู้บรรลุขั้นอรหันตผล คือ ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
จะหลงยึดติดว่า ตนได้หลุดพ้นแล้วกระนั้น ได้หรือไม่ ? ”

ท่านสุภูติทูลตอบ : “ หามิได้พระเจ้าข้า
เพราะเหตุใด? เพราะแท้จริงแล้ว มันมิได้มีสภาวะที่เรียกว่า “การหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง”
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระอรหันต์ ยังจะหลงคิดว่าตนเป็นผู้หลุดพ้น
ก็แสดงว่าท่านยังยึดติดอยู่ในความเห็นเรื่อง อัตตา ตัวตน บุคคล สัตว์ และ ภพภูมิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ สุภูติ เธอคิดอย่างไร ?
ในดวงดาวทั้งหมดในอนันตจักรวาล มีอณูที่ประกอบกันขึ้นมากมายไหม ? ”

ท่านสุภูติทูลตอบว่า: “ มากมายมหาศาลพระเจ้าข้า ”
“ สุภูติ ตถาคตกล่าวว่า อณูทั้งหมดนั้น หาใช่อณูไม่
มันเป็นเพียงสิ่งที่ถูกเรียกว่า “อณู” เท่านั้น
แม้โลกเอง ความจริงก็มิใช่โลก มันเป็นเพียงชื่อสมมุติบัญญัติเท่านั้น

ถ้าบุคคลใดได้ฟังพระสูตรนี้
แล้วไม่เต็มไปด้วยความตื่นตระหนก ตกใจ หวาดกลัว ครั่นคร้ามเลย
นั่นจงรู้ไว้เถิดว่า บุคคลผู้นั้น จะเป็นผู้บรรลุผลอันยิ่งใหญ่อย่างหาได้ยากยิ่ง

เพราะเหตุใดเล่า ?
เพราะตถาคตสอนว่า ทานบารมี โดยความจริงแล้ว หาใช่ทานบารมีไม่
มันเป็นเพียงชื่อสมมุติเท่านั้น

สุภูติ ตถาคตได้สอนไว้เช่นเดียวกันว่า
ขันติบารมี แท้จริงแล้ว หาใช่ขันติบารมีไม่ มันเป็นเพียงชื่อสมมุติเท่านั้น

“ บุคคลผู้แสวงหาซึ่งทางหลุดพ้น จะต้องสร้างสัมมาทิฐิว่า
ฉันจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้น
และเมื่อสรรพสัตว์ทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว โดยแท้จริงแล้วหาได้มีใครหลุดพ้นไม่ ”
เพราะเหตุใด ?

เพราะถ้าโพธิสัตว์ยังยึดติดอยู่ในความเห็นเรื่องอัตตาตัวตน บุคคล สัตว์ และภพภูมิต่าง ๆแล้ว
เขาย่อมหาใช่โพธิสัตว์ไม่
สุภูติ นี่เพราะว่า ในความเป็นจริงแล้ว มันไม่มีธรรมใดที่จะทำให้บุคคลหลุดพ้นสู่วิมุตติภาวะอันยิ่งได้เลย

เหตุผลในกรณีนี้ก็คือ “ตถาคต” (ความเป็นเช่นนั้นเอง)
คือ นัยที่สำคัญที่สุดของธรรมทั้งปวง
ในกรณีที่บางคนพูดว่า ตถาคต ได้บรรลุซึ่งอนุตตรสัมโพธิญาณนั้น
ฉันจะบอกเธอตามจริง สุภูติ มันมิได้มีหลักธรรมอันใดเลยที่พระพุทธเจ้าใช้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุภูติ หลักการสำคัญของการบรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณของตถาคต ก็คือ
นอกเหนือสภาวะทั้งปวง ซึ่งมันไม่ใช่ทั้งจริง หรือไม่จริง
ดังนั้น เราจึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวง หาใช่ธรรมไม่
เพราะธรรมมิใช่ธรรม จึงเรียกว่า ธรรม

“ สุภูติ นี่ก็เช่นเดียวกับโพธิสัตว์
ถ้าโพธิสัตว์ประกาศว่า “ ฉันจะทำให้สรรพชีวิตทั้งหลายหลุดพ้น ”
เขาย่อมหาใช่โพธิสัตว์ไม่ เพราะเหตุใดเล่า?
เพราะว่าจริงๆแล้ว มันมิได้มีสภาวะที่เรียกว่า “ โพธิสัตว์ ” เลย

เพราะ พระพุทธเจ้าตรัสอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน
ว่างเปล่าจากบุคคล, ว่างเปล่าจากความมีอยู่จริง, ว่างเปล่าจากภพภูมิใด ๆ
สุภูติ ถ้าโพธิสัตว์ประกาศว่า ฉันจะตกแต่งตระเตรียมแดนแห่งพุทธภูมิอันยิ่งใหญ่
ย่อมไม่มีใครเรียกเขาว่า “ โพธิสัตว์ ” ได้เลย

เพราะว่าตถาคตได้แสดงไว้แล้วว่า การตกแต่งตระเตรียมแดนแห่งพุทธภูมิอันยิ่งใหญ่นั้น
มันเป็นเพียงชื่อสมมุติบัญญัติเท่านั้น
สุภูติ โพธิสัตว์ผู้ทีว่างเปล่าจากความเห็นในเรื่อง การแปลกแยกซึ่งอัตตาตัวตนนั้น
คือ ผู้ที่สมควรได้รับการเรียกว่า “ โพธิสัตว์ ” อย่างแท้จริง

ทันใดนั้น ท่านสุภูติได้กราบทูลขึ้นว่า: “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ในอนาคตกาลภายภาคหน้า หากมีบุคคลมาได้ยินการแสดงคำสอนนี้
ใครเล่า จะบังเกิดศรัทธาความเชื่อขึ้นได้ ? ”

พระพุทธองค์ทรงตอบว่า: “ สุภูติ บุคคลที่เธอหมายถึง
ย่อมไม่ใช่ทั้ง “สรรพสัตว์” และไม่ใช่ทั้ง “ไม่ใช่สรรพสัตว์”
เพราะเหตุใด? เพราะว่า สรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็หาใช่สรรพสัตว์ไม่
มันเป็นเพียงแค่ชื่อ ที่ถูกสมมุติขึ้นเท่านั้น ”

ทันใดนั้น ท่านสุภูติ จึงทูลถามต่อว่า: “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ถ้าเช่นนั้น ในการบรรลุสู่อนุตตรสัมโพธิญาณ แท้จริงแล้ว
พระพุทธเจ้าก็มิได้ได้มาซึ่งสิ่งใดเลยทั้งสิ้น กระนั้นหรือ พระพุทธเจ้าข้า ? ”

พระพุทธองค์ ทรงตรัสตอบ: “ เป็นดังนั้น สุภูติ
การบรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณ เรามิได้ได้มาซึ่งสิ่งใดเลยแม้แต่น้อย
เพราะเหตุนั้น มันจึงชื่อว่า อนุตตรสัมโพธิญาณ ”


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ ยิ่งกว่านั้น สุภูติ นั่นหมายรวมถึงทุกๆอย่างด้วยกัน
ที่ปราศจากความแตกต่างและลำดับชั้นอันใด
เช่นนั้น จึงจะเรียกว่า อนุตตรสัมโพธิญาณ

มันหมายถึง การบรรลุตรงไปสู่อิสระจากการแบ่งแยกโดยอัตตาตัวตนอย่างสิ้นเชิง
และลุถึงกุศลธรรมอันเลิศ
สุภุติ แม้เราพูดว่า กุศลธรรม แต่ตถาคตก็แสดงไว้แล้วว่า
มันมิได้มี “ กุศลธรรม ” ที่แท้จริงอันใด
มันเป็นเพียงชื่อเท่านั้น ”

สุภูติ แม้ว่าปุถุชนทั่วไป จะยอมรับอัตตาตัวตนว่า เป็นสิ่งที่มีจริง
แต่ตถาคตได้แสดงไว้ว่า โดยแท้จริงแล้ว อัตตาตัวตนนั้น
ก็มิได้แตกต่างไปจาก ไม่ใช่อัตตาตัวตน
สุภูติ แม้ปุถุชนที่ตถาคตกล่าวถึงนั้น แท้จริงก็หาใช่ปุถุชนไม่
มันเป็นเพียงชื่อสมมุติเท่านั้น ”

สุภูติ หากบุคคลมีความคิดอีกว่า บุคคลใดก็ตาม ที่บรรลุซึ่งวิมุตติภาวะแล้ว
จักเห็นว่าปรากฏการณ์ทั้งหลาย สิ้นสุด และ ดับสูญ
เธออย่าได้สนับสนุนความเห็นเช่นนั้นเลย เพราะเหตุใด ?

เพราะบุคคลผู้บรรลุแล้วซึ่งวิมุตติภาวะอันบริสุทธิ
จะมิยืนยันเกี่ยวกับเรื่องการสิ้นสุด หรือดับสูญของปรากฏการณ์ใดๆ ”

“ สุภูติ บุคคลผู้ปรารถนาสู่ความบรรลุหลุดพ้นอันยิ่งนั้น
ควรจะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในความหลากหลายของสรรพสิ่งในทำนองเดียวกัน
และปราศจากความยึดติดในรูปลักษณ์ ปรากฏการณ์ใดๆทั้งสิ้น

เพราะในรูปลักษณะปรากฏการณ์ใดๆนั้น แท้จริงก็มิใช่รูปลักษณะ
ปรากฏการณ์ใดๆ มันเป็นเพียงชื อสมมุติบัญญัติเท่านั้น ”


(วัชรเฉทิกะ ปรัชญาปารมิตาสูตร)
...............................................................

เอาย่อๆแค่นี้ก่อนนะครับสำหรับปรัชญาปารมิตาสูตร :b46: :b39: :b46:

ไว้หลังจากแนะนำพระสูตรอื่นๆของทางมหายานเสร็จแล้ว ค่อยมาขยายความหลักสำคัญของเซ็นและมหายาน ซึ่งสรุปรวมลงได้ใน ๓ เรื่อง คือเรื่องของ ศูนยตา โพธิจิต (หรือจิตเดิมแท้) และโพธิสัตว์ รวมถึงการปฏิบัติที่ต่อเนื่องจากพระสูตรปิดท้ายกันอีกครั้ง ก่อนจะไปที่คำสอนของหลวงพ่อเทียนกันครับ :b1: :b46: :b39:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 20:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การไม่สร้างเงื่อนไขต่อการรับรู้จึงเป็นสัมมาทิฏฐิ การไม่สร้างเงื่อนไขมีลักษณะปล่อยให้จิตเคลื่อน แล้วค่อยรู้ตัวหรือรู้จิต ความคิด ขณะรู้นั้น ก็รู้เพียง 3-4 วินาที จิตก็จะเคลื่อน แต่ในทางตรงข้าม เมื่อรู้แล้วหากใส่ใจต่อสิ่งรู้ หรืออาจคิดว่าไม่เพ่งหรือไม่ใส่ใจแล้ว แต่แท้จริงจิตของตนเป็นคนจริงจังต่อชีวิต การรู้ที่คิดว่าเป็นธรรมชาติแล้ว แต่ความจริงก็ยังเป็นการเพ่งโดยไม่รู้ตัว จึงจัดเป็นการใส่ใจต่อการรู้หรือการมีเงื่อนไขต่อการรู้เช่นเดียวกัน สำหรับการรู้เฉพาะที่ใส่ใจนั้น จึงไม่รู้ธรรมที่กำลังคลายออกมาตามความเป็นจริง ธรรมนั้นซึ่งเป็นของร้อนคลายออกแล้วแต่ไม่สามารถหลุดออกจากพื้นผิวของจิตและผิวหนัง จึงสะสมเป็นมวลหนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็นแรงที่ทำให้จิตและกายอึดอัด สมองมึนงง ชา หรือแรงนี้ผลักดันให้ร่างกายโยกคลอน ผู้ปฏิบัติเมื่อเจอสภาพเช่นนี้ จึงเบื่อหน่ายต่อการปฏิบัติ เห็นว่านั่งสมาธิแล้วยิ่งฟุ้งซ่าน อึดอัดตนไร้วาสนา ปฏิบัติธรรมไม่ได้ ทั้งหมดนี้เป็นเพราะไม่เข้าใจนัยยะสัมมาทิฐิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 20:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การไม่สะสมพลังงานหรือแรง จึงเป็นเป็นปัจจัยสำคัญเริ่มต้นของสภาวธรรมที่เรียกว่า อนิจจัง หากเด่นอนิจจังโดยไม่สะสมพลังงานไว้มาก ทุกขังก็จะไม่รุนแรง เมื่อทุกขังไม่รุนแรง เพราะได้คลายพลังออกแล้ว อนัตตาก็จะชัดเจน ผู้ปฏิบัติเช่นนี้จึงเป็นผู้เห็นสภาวะเด่นของอนิจจังและอนัตตานั่นคือเห็นทุกขังด้วยแต่ไม่ชัดเจนรุนแรง และเม่ื่อไตรลักษณ์ชัดวิปัสสนาญาณก็บังเกิด ในทางกลับกันถ้ายึดอยู่กับสภาพขององค์ภาวนาไม่ปล่อยวางจะทำให้เกิดแรงอัดแน่น(ในขณะนั้นจึงเป็นการปฏิบัติด้วยความปารถนา หรือโลภะที่พยายามไม่พรากจากองค์กรรมฐาน) ต่อมาเมื่ออึดอัดก็เบื่อหน่ายเกิดปฏิฆะ แรงสะสมเกิดมึนงง ซึมเป็นโมหะ จะกล่าวว่าปฏิบัติเพื่อลดกิเลสได้อย่างไร และภาวนี้จะไม่แสดงสภาพอนิจจัง หรือไม่เห็นสภาวะอนิจจังชัด แต่จะชัดในทุกขัง อนัตตาก็ไม่ชัดเพราะความยึดปิดบังไว้
การบรรลุมรรคผล จึงเข้าถึงได้ 3 ทาง ตือ
1.ผู้บำเพ็ญด้านศรัทธา เข้าทาง อนิจจัง
2.ผู้บำเพ็ญด้านสมาธิ เข้าทาง ทุกขัง
3.ผู้บำเพ็ญด้านปัญญา เข้าทาง อนัตตา
จากการได้พูดคุยกับผู้รู้ให้ความเห็นว่าผู้เข้าถึงธรรมส่วนใหญ่บรรลุธรรมทางทุกขัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 20:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้เข้าถึงธรรมส่วนใหญ่บรรลุธรรมทางทุกขัง ที่เป็นเฃ่นนี้ เพราะแนวทางปฏิบัติที่เผยแพร่ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่
การทำสมาธิ ที่จริงสมาธิเป็นบาทฐานที่ทำให้เกิดปัญญา แต่นั่นต้องเป็นสัมมาสมาธิ
สำหรับสัมมาสมาธิเป็นมรรคองค์สุดท้าย ในมรรคมีองค์ 8 การที่เราไม่ได้เริ่มต้นจากความเข้าใจในสัมมาทิฐิ จึงทำให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างเนิ่นช้า

ไตรลักษณ์เป็นสภาพธรรมของทุกสรรพสิ่ง เริ่มต้นที่คุณสมบัติของการเกิดดับ(อนิจลักษณะ) การเกิดดับ 1 ขณะจะปลดปล่อยพลังงานออกมา(ทุกขลักษณะ) เมื่อพลังงานสลายไปแล้วก็เกิดเป็นความว่าง(อนัตตลักษณะ)

การที่ผู้ปฏิบัติจะสัมผัสไตรลักษณะได้ชัดจะต้องไม่ติดอยู่กับอดีตหรืออนาคต(ปัจจุบันขณะ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

จากปรัชญาปารมิตาสูตรในคราวที่แล้ว คราวนี้ขอสรุปพระสูตรที่เนื่องด้วยศูนยตา (หรืออีกแง่มุมหนึ่งคือ ตถตา (Suchness - ความเป็นเช่นนั้นเอง)) อีกสักพระสูตรก็คือ วิมลเกียรตินิทเทสสูตร (บางที่ก็เขียนว่า วิมลกีรตินิทเทศสูตร หรืออีกชื่อหนึ่งคือ อจินไตยวิมุตติธรรมทวารสูตร) :b46: :b47: :b41:
http://www.sookjai.com/index.php?topic=7016.20

อันที่จริงในพระสูตรนี้ นอกจากข้อธรรมเรื่องศูนยตา - ตถตาแล้ว ยังมีข้อธรรมอื่นๆที่น่าสนใจอยู่อีกด้วย ที่เด่นๆก็คือข้อธรรมในส่วนที่ว่าด้วยวัตรปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ (โพธิสัตว์จริยา) ซึ่งรวมถึงสภาวะจิต และมุมมองของพระโพธิสัตว์ต่อโลก :b48: :b49: :b48:

โดยวิสุทธิปาละขอร่อนเอาแต่หลักธรรมสำคัญมานะครับ สำหรับส่วนที่เป็นข้อขัดแย้ง (แต่ไม่ขัดเคือง :b1: ) ในการเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างเถรวาทและมหายาน และระหว่างอรหันตสาวกกับพระโพธิสัตว์อันเนื่องมาจากพระสูตรนี้ ก็ขอให้ผู้ศึกษาก้าวข้ามพ้นไป ตามที่กล่าวแนะนำไว้แล้วในตอนต้น :b8: :b46: :b47: :b46:

ถ้าไม่นับบทแรกคือพุทธเกษตรวรรคแล้วละก็ เนื้อหาของพระสูตรส่วนใหญ่ที่เหลือได้กล่าวถึงท่านวิมลเกียรติโพธิสัตว์ อุบาสกคฤหบดีแห่งเมืองเวสาลีที่เจ็บไข้ไม่สบาย พระพุทธองค์จึงทรงตรัสในที่ประชุมให้อรหันตเถระและพระโพธิสัตว์ (ซึ่งพระโพธิสัตว์บางองค์เป็นพระสงฆ์ บางองค์เป็นคฤหัสถ์) ไปเยี่ยมไข้ โดยถามไล่ไปทีละองค์ :b47: :b48: :b49:

อรหันตเถระและพระโพธิสัตว์เหล่านั้นต่างพากันปฏิเสธ โดยยกข้อธรรมที่เคยสนทนากับท่านวิมลเกียรติ แต่ท่านวิมลเกียรติสามารถแสดงข้อธรรมได้ลึกซึ้งกว่า มาอ้างเป็นเหตุผลประมาณว่า ตนมีปัญญาปฏิภาณไหวพริบไม่เพียงพอที่จะไปปุจฉาวิสัชนา ไปเยี่ยมไต่ถามอาการกับท่านวิมลเกียรติผู้มีปัญญามากนั้น :b46: :b47: :b46:

สุดท้ายพระพุทธองค์ทรงตรัสให้พระมัญชุศรี ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ผู้เป็นเลิศด้านปัญญา มีปฏิภาณในการโต้ตอบธรรมที่ทันกันกับท่านวิมลกียรติ เป็นผู้ไปเยี่ยมแทน :b48: :b47: :b39:

เนื้อความในพระสูตรโดยบุคลาทิษฐานแล้ว อาจารย์เสถียร โพธินันทะ (มหายานิกในไทยจะรู้จักปราชญ์มหายานท่านนี้ได้ดี) เปรียบบุคลิกลักษณะและปฏิปทาของท่านวิมลเกียรติในฝ่ายมหายาน เทียบได้กับท่านจิตตคฤหบดีในฝ่ายเถรวาท ซึ่งเป็นพระอนาคามีอุบาสกผู้เป็นเลิศทางด้านปัญญาในการโต้ตอบโวหารและแสดงธรรม (ธรรมกถึก) โดยวิเคราะห์ไว้ว่า :b47: :b48: :b46:

"จะเป็นไปได้หรือไม่ที่วรรณึกฝ่ายมหายานได้ความคิดจากปฏิปทาของท่านจิตตคฤหบดี ไปขยายเป็นบุคคลใหม่ขึ้นอีกท่านหนึ่ง คือ ท่านวิมลเกียรติ" :b46: :b39: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และถ้าจะลงลึกในคติธรรมที่แฝงไว้ในพระสูตร ก็จะแบ่งออกคร่าวๆได้เป็นสองส่วน :b46: :b46: :b47: :b47: :b46:

ส่วนที่หนึ่งเป็นส่วนที่แสดงออกถึงความยอดเยี่ยมแตกฉาน ความมีปฎิภาณปัญญาในการแสดงธรรมที่ลึกซึ้งกว่าของท่านวิมลเกียรติ ต่อพระสงฆ์อรหันตเถระและเหล่าพระโพธิสัตว์อื่นๆ ผ่านบทสนทนาโต้ตอบข้อธรรมระหว่างกัน อันเป็นเหตุข้ออ้างให้ท่านเหล่านั้นปฏิเสธที่จะไปเป็นตัวแทนในการเยี่ยมท่านวิมลเกียรติ ด้วยประมาณตนว่ามีปัญญาด้อยกว่า :b46: :b47: :b42:

ซึ่งเนื้อหาข้อธรรมที่ท่านสนทนากับอรหันตเถระ จะเป็นเรื่องที่เนื่องด้วยความไม่ยึดติดถือมั่น เรื่องของความเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) และความว่างเปล่า (ศูนยตา) ของธรรมทั้งหลาย :b46: :b47: :b41:

และในส่วนที่ท่านสนทนากับเหล่าพระโพธิสัตว์ ก็จะเป็นเรื่องของตถตา และข้อปฏิบัติที่เอื้อต่อการเป็นพระโพธิสัตว์ (โพธิสัตว์จริยา) :b48: :b47: :b39:

ตัดบางตอนที่น่าสนใจในพระสูตรส่วนที่หนึ่งนี้ มาให้ได้ศึกษากันก่อนครับ :b1: :b46: :b39: :b46:

(อาจจะมีในส่วนที่สองปนเข้ามาด้วยบ้างนิดหน่อยเพื่อรวมคติธรรมเข้าไว้ด้วยกัน และเนื้อหาที่ยกมาเป็นตัวอย่างอาจจะยาวสักเล็กน้อย แต่ถ้าผู้ศึกษาได้พิจารณาข้อธรรม และสามารถเข้าใจศูนยตาอย่างลึกซึ้งลงได้ด้วยสัมมาทิฏฐิ ก็จะเกิดธรรมปีติด้วยอาการแย้มยิ้มเบิกบานขึ้นในจิตได้ไม่น้อยเลยทีเดียว :b46: :b47: :b39:

เช่นเดียวกับการอ่านพระไตรปิฎกของเถรวาทในส่วนของ เถรคาถา - เถรีคาถา พระสุตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย ที่เป็นบันทึกภาษิตธรรมของเหล่าองค์อรหันตเถระและอรหันตเถรีในสมัยพุทธกาลนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยเราอาจจะเรียกบันทึกพระไตรปิฎกในส่วนนี้ได้ว่า เป็นอุทานธรรมของท่านผู้บรรลุแล้ว ในขณะที่ท่านได้พิจารณาเห็น "ผล" อันเป็นที่สุดแห่งกิจซึ่งตนทำเสร็จลงแล้ว จึงได้ภาษิตเนื้อความที่บรรยายถึงสภาวะของการหลุดพ้น การแจ้งในสภาวะแห่งศูนยตาหรือพระนิพพานออกมาเป็นอุทานธรรม :b8: :b46: :b39:


http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=4962&Z=4973&pagebreak=0

ซึ่งถ้าผู้อ่านสามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งในเนื้อหาที่ท่านอุทานออกมาแล้วละก็ จะเกิดปรากฏการณ์พิเศษอัศจรรย์โดยบัญญัติ แต่เป็นเช่นนั้นเองโดยตถตาปรมัตถ์ ของธรรมปีติอันมีอาการยิ้มแย้มเบิกบานขึ้นมาภายในจิต เป็นลักษณะเด่นขึ้นมาได้อย่างชัดเจนเลยทีเดียว)
:b1: :b46: :b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรมนั้นไม่มีสัตว์ เพราะพ้นจากความเศร้าหมองแห่งสัตว์
ธรรมนั้นไม่มีอาตมัน เพราะพ้นจากความเศร้าหมองแห่งอาตมัน
ธรรมนั้นไม่มีชีวะ เพราะพ้นจากชาติ-มรณะ
ธรรมนั้นไม่มีบุคคล เพราะขาดจากห้วงแห่งอดีต-อนาคต
ธรรมนั้นมีสันติเป็นธรรมดา เพราะดับปวงลักษณะเสียได้

ธรรมนั้นห่างไกลจากลักษณะ เพราะปราศจากอารมณ์
ธรรมนั้นไม่มีนามบัญญัติ เพราะขาดจากวจนโวหาร
ธรรมนั้นไม่มีอะไรจะแสดงได้ เพราะไกลจากความวิตกวิจาร
ธรรมนั้นไม่มีสัณฐานนิมิต เพราะว่างเปล่าดุจอากาศ
ธรรมนั้นปราศจากปปัญจธรรม เพราะมีศูนยตาเป็นสภาพ

ธรรมนั้นไม่มีมมังการ เพราะพ้นจากความยึดถือว่าเป็นของๆเรา
ธรรมนั้นไม่มีวิกัลปะ (การคิดด้วยกิเลส การมองแบบแยกเป็นสอง (ทวิภาวะ) มีเรามีเขา มีผู้รู้ มีสิ่งที่ถูกรู้)
เพราะไกลจากวิญญาณความรู้ทางอายตนะทั้งหลาย
ธรรมนั้นปราศจากการเปรียบเทียบได้ เพราะพ้นจากความเป็นคู่
ธรรมนั้นไม่สงเคราะห์ว่าเป็นเหตุ เพราะมิได้อยู่ในประชุมของปัจจัย...ฯลฯ

เมื่อธรรมลักษณะมีสภาพดั่งนี้แล้วจักนำมาแสดงได้อย่างไรเล่า?
อันการแสดงธรรมนั้น เนื้อแท้ไม่มีการกล่าว ไม่มีการแสดง
แลผู้สดับธรรมเล่า ก็ไม่มีการฟัง หรือการได้อะไรไป
อุปมาดุจมายาบุรุษ แสดงธรรมให้มายาบุรุษอีกผู้หนึ่งฟัง

ฉะนั้นพึงตั้งจิตของตนให้ได้อย่างนี้ แล้วพึงแสดงธรรมเถิด

พึงแจ่มแจ้งในอินทรีย์แก่อ่อนคมทู่ของสรรพสัตว์
มีญาณทัศนะอันเชี่ยวชาญ ปราศจากความขัดข้อง ประกอบด้วยมหากรุณาจิต
จิตตั้งอยู่ในอนุสรณ์ที่จักบูชาพระคุณของพระพุทธองค์ ไม่ละขาดจากพระไตรรัตน์
ทำได้เช่นนี้ภายหลัง จึงแสดงธรรมเถิด"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"เพื่อไม่มีความปรารถนาในอาหารเป็นเหตุ จึงสมควรจาริกบิณฑบาต
เพื่อทำลายการประชุมแห่งขันธ์เป็นเหตุ จึงสมควรถือเอาก้อนภิกษาไป
เพื่อไม่ต้องเสวยภพใหม่อีกเป็นเหตุ จึงสมควรรับบิณฑบาตทานของชาวบ้านได้
พึงมีศูนยตสัญญาในการเข้าไปสู่คามนิคมชนบท

รับรูปารมณ์ดุจผู้มีจักษุมืด
รับสัททารมณ์ดุจสักว่าเสียงดัง
รับคันธารมณ์ดุจสักว่าเป็นวาโย
รับรสารมณ์ก็ไม่มีวิกัลปะ (นึกคิดด้วยกิเลส แบ่งเป็นธรรมคู่ มีเขามีเรา)

รับโผฏฐัพารมณ์ดุจได้บรรลุญาณทัศนะ
รู้ธรรมมารมณ์ทั้งปวงว่าเป็นมายา
ปราศจากอัตตภาวะ (ความมีตัวตน เป็นกลุ่มก้อน) หรือปรภาวะ (ความเป็นอื่นๆ แบ่งแยกเป็นส่วนๆ)
เพราะความที่ธรรมทั้งหลายมิได้เกิดมีขึ้นด้วยภาวะของมันเอง ฉะนั้น จึงไม่มีอะไรที่เรียกว่าแตกดับหักสูญไป"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


".. ถ้าท่านจักสามารถ ไม่ละมิจฉัตตธรรมทั้ง ๘ (มิจฉาในองค์มรรคทั้ง ๘) แต่ก็บรรลุเข้าถึงวิโมกข์ ๘ ได้
อาศัยมิจฉาภาวะเข้ากลมกลืนสัมมาธรรมได้
สามารถนำอาหารมื้อหนึ่งบริจาคให้สรรพสัตว์ได้
และนำไปกระทำบูชาในพระพุทธเจ้าทั้งหลายพร้อมทั้งพระอริยบริษัททั้งปวงได้
(ตรงนี้หมายถึง เห็นความเป็นหนึ่งในสภาวะทั้งปวง ทั้งมิจฉาและสัมมา ทั้งผู้ไม่หลุดพ้นและหลุดพ้นแล้ว)

เมื่อทำได้เช่นนี้แล้ว จึงจักสมควรในการขบฉันอาหารบิณฑบาตต่อภายหลัง
ผู้ที่ทำได้โดยประการดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ที่ขบฉันที่ไม่มีกิเลส ไม่มีความสิ้นไปแห่งกิเลส
ชื่อว่ามิได้เข้าสู่สมาธิจิต หรือออกจากสมาธิจิต
ไม่มีการยึดมั่นตั้งอยู่ในโลก หรือยึดมั่นตั้งอยู่ในพระนิพพาน

ฝ่ายทายกทายิกาผู้บริจาคเล่า ก็ชื่อว่าไม่มีการได้บุญญานิสงส์ใหญ่ หรือได้บุญญานิสงส์น้อย
ไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษเสียหายอย่างไร
นี้แลชื่อว่าเป็นวิถีแห่งการเข้าสู่พุทธภูมิ โดยไม่อาศัยสาวกภูมิ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2014, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"หากท่านสามารถแทงทะลุถึงภาวะตามเป็นจริงแห่งธรรมทั้งหลาย ว่าเป็นสมภาพเสมอกันหมด
และสามารถแทงทะลุในธรรมทั้งหลายแต่ละอย่าง มีการขบฉันภัตตาหารเป็นต้น
ว่ามีภาวะเป็นสมภาพเสมอกันอย่างเดียวกันไซร้
และเที่ยวบิณฑบาตโดยประการดั่งนี้ จึงสมควรที่จักถือเอาภัตตาหารนี้ไปขบฉันได้ ..

ท่านมิต้องตัดถอนราคะ โทสะ โมหะ ให้เป็นสมุจเฉท แต่ก็ไม่อยู่ร่วมกับกองกิเลสเหล่านี้
ไม่ต้องทำลายสรีรขันธ์ แต่ก็สามารถเข้าถึงศูนยตาอันเป็นเอกภาพได้
อาศัยอนันตริยกรรมทั้ง ๕ แต่ก็บรรลุวิมุตติได้

อันที่จริง ก็ไม่มีการรอดพ้นและไม่มีการผูกมัดใดๆ
ไม่ต้องเห็นแจ้งในอริยสัจ และมิได้มีการไม่เห็นแจ้งในอริยสัจ
ไม่มีการบรรลุอริยผล และมิได้มีการไม่บรรลุอริยผล
ไม่มีปุถุชน และไม่มีการพ้นจากภาวะปุถุชน
ไม่มีพระอริยบุคคล และมิได้มีอนาริยบุคคล

ถึงแม้เป็นผู้ยังธรรมทั้งปวงให้สำเร็จเป็นไปอยู่ แต่ก็ไม่มีอุปาทานพ้นจากธรรมเหล่านั้น
ท่านทำได้เช่นนี้ จึงสมควรขบฉันภัตตาหารนี้"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 57, 58, 59, 60, 61, 62, 63 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร