วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 56, 57, 58, 59, 60, 61, 62 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ค. 2014, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


สองใจ เขียน:
ทั้งหมดนั้นเป็นไปเพื่อปัญญา แต่ละบุคคล มีวิธีการนำไปสู่ปัญญาที่แตกต่างกัน(แต่ไม่เกินขอบข่ายที่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงสอนไว้)
แต่ผลนั้นเหมือนกัน คือปัญญารู้แจ้ง ถึงความบริสุทธิ์หลุดไป พ้นไป
หากไม่เรียนรู้ที่จะสุดโต่ง ก็ไม่รู้ว่ากลาง อยู่ตรงไหน
สุดท้ายแล้ว ปัญญา ที่ว่านี้ ที่เป็นเครื่องพาเราออกจากวัฏฏะ
ไม่ใช่วิธีการปฏิบัติที่พาเราออกไป วิธีการเป็นเพียงเครื่องมือช่วยเท่านั้น
อย่าไปหลงติดอยู่ว่า ทำอย่างงี้ๆๆ แล้วจะดี ทำอย่างงี้ๆๆ แล้วจะได้อะไรๆ
ไม่ใช่เลย ทำตามวิธีการปฏิบัติแล้วโยนิโส น้อมมาใส่ตัว แล้วจะเกิดปัญญา
"ปัญญา คือ การรู้ถูกเข้าใจถูก ที่ท่านเรียกว่า สัมมาทิฐิ เห็นถูก เห็นตรง ตามความเป็นจริง"

อนุโมทนาครับ ความบริสุทธิ์จะเกิดขึ้นได้ด้วยความขัดเกลา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 21 พ.ค. 2014, 20:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การสอบทานผลการปฏิบัติธรรม หรือผลข้างเคียงจากการปฏิบัติธรรม ที่เป็นเกณฑ์วัดว่าการปฏิบัติธรรมโดยหลงสร้างอัตตา หรือปฏิบัติวิปัสสนาที่เข้าใจว่าเดินทางสายกลาง แต่สภาพจิตเป็นอัตตกิลมถานุโยคโดยไม่รู้ตัว มีลักษณะดังนี้ คือ.ปฏิบัติแล้วรู้สึกทื่อๆ หนัก มึน ปวดศีรษะ คลื่นเหียน อาเจียน ปวดท้อง แน่นหน้าอก ไม่ว่าจะเกิดขณะ หรือภายหลังจากการนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมก็ตามล้วนเกิดจากการเพ่ง(แรงเจตนา) หรือพยายามอยู่กับองค์กรรมฐานอย่างต่อเนื่อง (ฝืนธรรมชาติของจิต)


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ค. 2014, 14:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวปัญหาในการปฏิบัติที่ไม่เข้าใจ มีความเห็นที่ไม่ตรงกับความหมายสัมมาทิฐิ

เมื่อเพ่งใส่เจตนาโดยไม่รู้(ยึด)ในองค์กรรมฐาน เกิดจากการใช้ตัวรู้ที่ใช้ในภาวการณ์ทำงาน ที่ต้องใช้เจตนา ใส่ใจ (1)สนใจในองค์กรรมฐาน จดจ่อต่อเนื่อง(2) ข้อ1และ2 ได้กล่าวในโพสต์ก่อน

วิเคราะห์

1.ใช้ตัวรู้ที่ใช้ในภาวะการทำงานที่ต้องใช้เจตนา นี่คือตัวตน เป็นตัวรู้ที่ไม่เป็นกลาง
2.ใส่ใจ สนใจเฉพาะในองค์กรรมฐาน นี่คือ การเลือกที่จะรู้ ภาวะนี้จะรู้ความจริงเฉพาะที่สนใจ จึงเป็นการไม่รู้ตามความเป็นจริงที่รอบด้าน
3.สนใจในองค์กรรมฐาน จดจ่อต่อเนื่อง นี่คือการฝืนธรรมชาติที่แท้จริงของจิต ที่จริงแล้ววิถีจิตโดยทั่วไปจะเริ่มจากการรับรู้โดยสร้างกระแสการทำงานของจิต เกิดพลังงานจากการรับรู้ระดับธรรมดาสู่ระดับสูงสุด peak (เกิด) พลังงานการรับรู้จะค่อยๆลดลง จนกระแสตก low และ(ดับ) เมื่อเกิดการดับนี้ จะเป็นช่วงปลดปล่อยพลังงานที่เราได้สร้างขึ้นมา ถ้าสร้างมากก็ปลดปล่อยมาก เพื่อรักษาระดับสมดุลของจิต หมุนเวียนเช่นนี้ ดังนั้นหากพยายามรู้องค์กรรมฐานต่อเนื่องมากกว่า 5-6 วินาที ไม่รู้จักการปลดปล่อยพลังงาน จะเกิดการสะสมทำให้เกิดการรวมตัวของพลังงาน เกิดหนักแน่น ซึม ง่วง และหลับในที่สุด
ข้อควรพิจารณา การปล่อยรู้ ไม่ใข่ความพยายามในการปล่อยรู้ เพราะนั่นนั่นคือการยึดอีกลักษณะหนึ่ง จึงต้องมีวิธีการที่เหมาะสม จะขอกล่าวต่อไป ทั้งหมดนี้จึงเป็นความละเอียดอ่อนในธรรมของพระพุทธองค์ต้องรู้ถึงหลักการ วิธีการ และเทคนิคที่ใช้เพื่อปรับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างของบุคคลตามจริต


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ค. 2014, 19:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


โดยส่วนใหญ่เวลาจะทำกรรมฐานเรามักจะใช้ความรู้สึกว่าจะต้องกระทำหรือตั้งใจทำ จิตลักษณะนี้ไม่ใช่จิตที่เป็นธรรมชาติ ผู้แนะนำจึงปรับให้ใช้วิธีการที่เป็นการผ่อนคลาย เพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติเกิดความเคร่งเครียด แต่มีบางท่านปกติเป็นคนที่มีความตั้งใจสูงไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม เมื่อมาปฏิบัติธรรมทั้งที่ใช้วิธีการที่เป็นการผ่อนคลาย เช่นเดียวกับบุคลอื่น และตนเองก็เข้าใจว่าได้ผ่อนคลายไม่ได้เพ่งแล้ว แต่พอให้รู้ลมก็เพ่ง สร้างอดีนารีที่ศีรษะโดยไม่รู้ตัว แล้วปวดศีรษะ บุคคลเช่นนี้ต้องแก้ไขเป็นพิเศษ ดังนั้นเพื่อป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหา จึงต้องปรับแนวทางการแนะนำ

แนวทางแก้ไข

1.ฝึกภาวะที่ตัวรู้เป็นธรรมชาติ โดยเข้าสู่การปล่อย ผ่อน คลาย ฝึกเรียนรู้จากภาวะก่อนหลับ (ท่าศพ) เริ่มจากการนอนราบกับพื้น ปล่อยแขนวางด้านข้างกาย ทำความรู้สึกว่าหมดภาระทั้งปวง ปล่อยใจสบายเข้าสู่ภาวะก่อนหลับ ให้จดจำว่าวางใจอย่างไรจิตจึงเข้าสู่ภาวะปล่อยวางก่อนหลับ ภาวะนี้จะเป็นจิตที่ไร้เจตนาหรือมีเจตนาน้อยมาก ซึ่งจัดเป็นจิตที่เป็นธรรมชาตินั่นเอง ให้ฝึกทำบ่อยๆ
2.หากผู้ใดทำได้ตามข้อ 1 ได้แล้ว เมื่อจะนั่งสมาธิในเบื้องต้นให้นั่งบนเก้าอี้ ที่ห้อยขาได้ เพื่อป้องกันการเกร็งโดยไม่รู้ตัว โดยนั่งให้หลังตรง การนั่งอย่าเพิ่งรีบหลับตา เพื่อให้การสัมผัสเกิดจากภายนอกเข้าสู่ภายในตามลำดับ เป็นการไม่สร้างความแตกต่างตั้งแต่เริ่มต้น


โพสต์ เมื่อ: 31 พ.ค. 2014, 11:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวว่าไม่สร้างความแตกต่างตั้งแต่เริ่มต้นระหว่างการรับรู้ในชีวิตประจำวันกับการนั่งกรรมฐานหรือเดินจงกรม คือการรับรู้ในการใช้ชีวิตประจำวันที่เป็นธรรมชาติปกติ กับการรับรู้ในขณะการนั่งกรรมฐานหรือเดินจงกรม ซึ่งต้องมีขั้นตอน วิธีการ ที่มีลักษณะไม่เป็นธรรมชาติปกติ จึงจำเป็นต้องปรับให้เป็นเนื้อเดียวกัน นั่นคือปรับให้สอดคล้องกับธรรมชาติการทำงานของจิต และจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติการทำงานของจิต ดังนี้

:b48: จิตปกติมีธรรมชาติเคลื่อนไหวตั้งอยู่ในอารมณ์ใดได้ไม่นาน จึงไม่ควรบังคับจิตให้อยู่กับองค์ภาวนากรรมฐานนานๆ
:b48: จิตรับรู้การกระทบของอายตนะทางใดทางหนึ่งได้เป็นขณะ เช่นขณะรับรู้ทางเสียง ขณะนั้นก็จะไม่รับรู้ทางตา ทั้งที่เราเหมือนรู้สึกว่าได้ยินทั้งเสียงและมองเห็นภาพพร้อมกัน เนื่องจากจิตเคลื่อนไหวเร็วมาก จึงควรฝึกเรียนรู้ฐานที่ตั้งของจิตแต่ละขณะ เพื่อรู้ถึงการเคลื่อนของจิตจากฐานหนึ่งไปอีกฐานหนึ่ง เช่น ขณะกำลังมอง ฐานอยู่ที่ตาหรือบริเวณใบหน้า ต่อมาได้ยินเสียงจะพบว่าจิตเคลื่อนไปที่เสียง หากมีสติจะรู้ว่าจิตได้เคลื่อนไปแล้ว


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 15:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ย้อนกลับโพสต์ 29พค.เมื่อเริ่มต้นการนั่งสมาธิบนเก้าอี้(สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่)นั่งพิงพนักหลังตั้งตรง ปล่อยใจและกายให้สบายไม่ต้องcontrolอะไร และจากที่เคยกล่าวว่า จิตจะต้องอาศัยการรับรู้ในแต่ละขณะที่ฐานใดฐานหนึ่ง เช่นขณะนี้สายตาจับจ้องภาพเบื้องหน้า อีกต่อมา2-3วินาทีจิตก็อาจจะเคลื่อนจากสายตามาที่หู หรืออาจคลื่อนมาที่ฐานความคิดนึก การศึกษาฐานจิตต้องเป็ยนธรรมชาติ ปล่อยสบายๆ อย่าจับจ้อง เมื่อจิตเคลื่อน ก็รู้ตามว่าจิตเคลื่อน แรกๆจิตอาจเคลื่อนไปนานกว่าจะรู้ตัว(สติ) ต่อมาระยะเวลาที่เผลอจะลดลง


โพสต์ เมื่อ: 08 มิ.ย. 2014, 16:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่จิตเคลื่อนไปแล้วรู้ คือความหมายของการตามรู้ ที่เรียกว่าสติ นั้น หากเป็นการรับรู้ทางตา หู ...แลัวตามรุ้ ก็ดูเหมือนจะยังไม่เกิดปัญหา แต่หากให้รู้ลม หรือคำบริกรรม ก็มักจะเกิดความอึดอัดขึ้นมาทันที เพราะเรามักสร้างเงื่ิอนไขต่อการรู้ เช่น สงสัยว่าต้องรู้อย่างไร ต้องรู้ขณะลมที่เข้าแล้วรู้ลมที่ออก ใช่ไหม มีคำบริกรรมหรือไม่ โดยเฉพาะคำที่กล่าวว่าให้รุู้ลมอย่างต่อเนืองอย่าขาดสติ สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างเงื่อนไข ที่ขัดกับธรรมชาติของจิตอันที่จริงแล้วหากปฏิบัติให้สอดคล้องกับธรรมชาติของจิต ปัญหาต่างๆจะไม่เกิดขึ้นหรือมีน้อยมาก ปฏิบัติครั้งแรกไม่เกิน 30นาทีก็สามารถเข้าสมาธิระดับลึกได้(จากการจัดคอร์ส กับผู้ปฏิบัติแต่ละกลุ่มอาชีพ) แต่นั่นต้องควบคุมปัจจัยแวดล้อมหรือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติทั้งกลุ่ม และรายบุคคล โดยเฉพาะความเข้าใจนัยยะของสัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ ตั้งแต่เริ่มต้น


โพสต์ เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตมาต่อกันครับ :b46: :b8: :b46:

แต่ก่อนที่จะลงรายละเอียดในส่วนของการเจริญสติด้วยการรู้กายผ่านการเคลื่อนไหวของมือ จนเข้าไปสู่การรู้ใจตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน :b46: :b47: :b46:

วิสุทธิปาละขอขยายความเพิ่มเติมในส่วนของการฝึกสติ สัมปชัญญะ และสมาธิ เพื่อเข้าไปสู่การรู้แจ้งในสภาวะของการเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันของธรรมทั้งหลายทั้งปวง ที่ยังเนื่องด้วยการปรุงแต่งตามกระแสของเหตุปัจจัยอยู่ (สังขตธรรม ที่มีสังขตลักษณะ ๓ อันได้แก่ มีความเกิดขึ้นปรากฏ, มีความแตกดับหรือความเสื่อมสลายปรากฏ, และเมื่อดำรงอยู่ มีความผันแปรปรากฏ) :b48: :b42: :b41:

จนแจ้งในธรรมที่พ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากกระแสของเหตุปัจจัยไปได้ (อสังขตธรรม ที่มีอสังขตลักษณะ ๓ อันได้แก่ ไม่ปรากฏความเกิด, ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย, และดำรงอยู่โดยไม่ปรากฏความผันแปร) อันได้แก่พระนิพพาน :b46: :b39: :b46:


ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของการเอาตัวรอด การพ้นทุกข์ในระดับปัจเจกบุคคลอันเป็นส่วนแรก (อัตตัตถจริยา) และเป็นจุดเน้นของพุทธเถรวาท :b48: :b49: :b47:

จากนั้น ขยายขอบเขตจากประโยชน์ในส่วนปัจเจกบุคคล ไปจนถึงการนำธรรมะเหล่านั้นมาใช้งานเพื่อให้เกิดศานติสุขขึ้นในโลก ตามคำเทศน์ของหลวงปู่นัท ฮันห์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากพระสูตรต่างๆของมหายานกันก่อนสักช่วง :b39: :b42: :b44:

ซึ่งในส่วนหลังนี้เป็นเรื่องของการช่วยเหลือสังคมโลก (โลกัตถจริยา อันหมายรวมถึงการช่วยเหลือมนุษย์และเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังเวียนว่ายในสังสารวัฎ) ให้อยู่รอดปลอดทุกข์ตามหลักมหาโพธิสัตว์ที่เน้นกันเป็นภารกิจแรกของพุทธมหายาน (การหลุดพ้นส่วนตัวเอาไว้ทีหลัง) :b51: :b50: :b51:

โดยถึงแม้จะช่วยเหล่าสรรพสัตว์นั้นไว้ไม่ได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ทำให้เขาเหล่านั้นคลายทุกข์ลง จนสามารถที่จะยกระดับ หรือรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมของความเป็นมนุษย์ คือ "มนุษยภูมิ" ที่เอื้อต่อการปฏิบัติธรรมได้มากขึ้น :b46: :b47: :b46:

เนื่องเพราะหลังจากย้อนทวนอ่านบทความของหลวงปู่ที่ลงไปแล้ว เห็นว่าถ้าขยายความโดยแทรกรายละเอียดและตัวอย่างของการปฏิบัติ ภายใต้บริบทของสังคมไทยในปัจจุบันลงไปด้วย เพื่อเสริมคำสอนของหลวงปู่ (ที่ส่วนใหญ่ท่านเทศน์ให้ชาวตะวันตกฟัง) ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับมิตรทางธรรมในลานฯกันได้บ้างนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และด้วยความที่หลวงปู่ท่านเป็นพระภิกษุในนิกายเซ็น ซึ่งเป็นสายหนึ่งของพุทธมหายาน (บางท่านก็ว่า เป็นสายที่แตกออกจากมหายานเพื่อคัดค้านบางด้านของมหายานอีกที) :b46: :b47: :b46:

วิสุทธิปาละเลยขอโอกาสแทรกความรู้และการปฏิบัติในวิถีแบบเซ็นรวมถึงพุทธมหายานบางส่วนไว้ด้วย เผื่อจะเป็นประโยชน์กับมิตรทางธรรมตามประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้ปฏิบัติมา และสติปัญญาที่พอจะมีให้เรียบเรียงได้บ้างนะครับ :b1: :b47: :b39:

(ซึ่งผู้ที่ศึกษาแก่นธรรมคำสอนสำคัญของเซ็นและมหายาน โดยเฉพาะเรื่องของ "ศูนยตา" แต่ว่าไม่ทำไว้ในใจให้แยบคายอย่างเพียงพอแล้วละก็ อาจจะพลาดพลั้งหลงเข้าไปในส่วนของมิจฉาทิฏฐิได้โดยง่าย ดังที่มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า “ผู้ใดพูดคำว่าศูนยตาโดยไม่มีสัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องรองรับ ผู้นั้นย่อมเป็นอุจเฉททิฏฐิ (ขาดสูญ ว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย) โดยถ่ายเดียว” :b42: :b39: :b40:

และตรงนี้ ไหนๆก็ได้กล่าวถึงแนวปฏิบัติของหลวงปู่นัท ฮันห์ กันแล้ว เลยขอโอกาสแทรกคั่นเพิ่มรายละเอียดของเซ็นและมหายานกันไว้หน่อย ก่อนที่จะผ่านเลยและไปกันต่อในส่วนที่เหลือของอธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขาในระดับสกทาคามีมรรค สกทาคามีผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล และอรหัตตมรรค จนถึงอรหัตตผล ตามโครงที่วางไว้นะครับ :b1: :b46: :b42:

ซึ่งด้วยเวลาที่มี และความเร็วในการเขียนระดับปัจจุบัน วิสุทธิปาละเองก็ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถเรียบเรียงข้อธรรมที่เหลือ ลงลึกในรายละเอียดแต่ละขั้นจากประสบการณ์ปฏิบัติที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ได้หมดภายในสิบปีหรือเปล่า เพราะมีเรื่องสำคัญๆที่ยังไม่ได้เรียบเรียงขึ้นมานอกเหนือจากส่วนที่ลงไปแล้วอีกเยอะอยู่ :b49: :b50: :b51:

เอาเฉพาะแค่รายละเอียดของการปฏิบัติในสมาธิภาวนา (สมาบัติทั้ง ๘, อสัญสมาบัติทั้งโลกิยะและโลกุตระ, และผลสมาบัติ) หรือวิปัสสนาภาวนาเฉพาะในส่วนของสติปัฏฐานทั้ง ๔ ฐาน รวม ๒๑ บรรพให้ครบหมด ก็คงใช้เวลากันหลายปี ยกเว้นแต่ว่าจะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้ผู้เรียบเรียงมีเวลาว่างที่จะใช้สมาธิกับงานเขียนได้มากขึ้นนะครับ :b1: :b47: :b44:

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะพยายามเรียบเรียงขึ้นมาให้ได้มากที่สุด ตามเวลาและสติปัญญาจากประสบการณ์ปฏิบัติที่พอจะมี โดยย้อนทวนสอบกลับไปที่พระไตรปิฎกแล้วว่า ไม่ผิดทิศผิดทางไปจากที่พระบรมครูทรงกำหนดไว้ดีแล้ว ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้ให้หายไปกับตัวผู้เรียบเรียงเองโดยไม่เกิดประโยชน์อันใดเพิ่มเติมกับเพื่อนร่วมวัฎฎะที่เคยเวียนว่ายตายเกิดร่วมกันมา) :b8: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มาเริ่มที่กรอบแก่นแนวทางของพุทธมหายานและเซ็น ซึ่งเป็นพื้นฐานในคำเทศน์ของหลวงปู่กันเสียก่อน :b46: :b39: :b41:

ซึ่งก็เหมือนกับทางเถรวาทนะครับ คือคงต้องเริ่มจากรากฐานสำคัญอันได้แก่พระสูตรต่างๆของทางมหายานกันสักหลายพระสูตร (ที่บางส่วน ถูกอ้างอิงอยู่ในบทความของหลวงปู่ที่ยกมา) :b43: :b49: :b50:

โดยถึงแม้จะมีความเชื่อและหลักฐานที่สื่อว่า พระสูตรเหล่านั้นไม่ได้มาจากพุทธพจน์ แต่เป็นสิ่งที่ท่านนาคารชุนและปราชญ์มหายานรุ่นหลังได้แต่งขึ้นมาใหม่ในช่วง ๗๐๐ - ๘๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน :b51: :b50: :b49:

และเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคมพุทธในสมัยนั้น เลยต้องมีตำนานประกอบเข้ามาว่า บางพระสูตรเป็นพุทธพจน์ที่พวกนาค (ซึ่งอาจจะเป็นแค่ชื่อของชนเผ่าหนึ่งในอินเดียสมัยนั้น) เก็บรักษาไว้ แต่ท่านนาคารชุนได้อัญเชิญมาจากนาคพิภพอีกที (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อของท่านคือ นาคะ + อรชุน ซึ่งมหายานบางที่ ได้ยกย่องท่านว่าเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง (Bodhisattva Nāgārjuna - बोधिसत्त्व नागार्जुन)) :b44: :b48: :b39:

หรือแม้กระทั่งข้อขัดแย้งต่างๆที่ยังไม่สามารถลงกันได้ระหว่างเถรวาทและมหายาน ทั้งเรื่องการปฏิบัติในพระวินัยที่ไม่เหมือนกัน (สีลสามัญญตาวิบัติ) หรือทัศนะ ความคิดเห็นในหลักธรรมบางอย่างที่อธิบายไม่ตรงกัน (ทิฏฐิสามัญญตาวิบัติ) :b50: :b49: :b51:

หรือแม้แต่ประเด็นที่ดูเหมือนว่า ทางมหายานจะยกปัญญาของพระโพธิสัตว์ให้ดูเหนือกว่าปัญญาของพระอรหันต์ที่มีปัญญามากเช่นองค์พระสารีบุตร :b49: :b48: :b47:

ก็ขอให้เราก้าวข้ามสิ่งเหล่านั้นไปก่อน และลองใช้ปัญญาตามหลักกาลามสูตร ทำการโยนิโสมนสิการ และลองศึกษาปฏิบัติในแก่นธรรมที่มีอยู่เหมือนๆกันระหว่างพระสูตรของทางมหายานกับเถรวาทว่า เข้ากันได้ตรงไหนหรือไม่อย่างไรนะครับ :b1: :b46: :b39:

โดยเฉพาะเรื่องของอนัตตา, สุญญตา (ที่ภาษาไทยสันสกฤตใช้คำว่า ศูนยตา) ที่ไม่ได้หมายความว่า ว่างชนิดไม่มีอะไร (อุจเฉททิฏฐิ) หรือมีอะไรแบบตายตัว (สัสตทิฏฐิ) :b50: :b51: :b50:

แต่หมายถึงว่า มี หรือ ไม่มี ก็เป็นไปโดยกระบวนธรรมตามเหตุปัจจัย (ปฎิจจสมุปบาทสายเกิด) :b53: :b51: :b50:

จนถึงที่สุดก็คือ หมดไปซึ่งเหตุปัจจัย คือไม่ขึ้นกับเหตุปัจจัยใดๆอีก (ปฎิจจสมุปบาทสายดับ)
:b46: :b44: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนี้เพื่อกันความสับสนในความเข้าใจเรื่องศูนยตาอย่างถูกต้อง ผู้ศึกษาที่อาจจะมีคำถามขึ้นในใจว่า
การหมดไปซึ่งเหตุปัจจัย ก็ยังเป็นเหตุปัจจัย (ซึ่งก็คือการหมดไปในเหตุและปัจจัยนั้นนั่นเอง ที่เป็นเหตุและปัจจัย ทำให้สภาวะนั้นๆไม่ขึ้นกับเหตุปัจจัยอีก) :b47: :b48: :b47:

ทำให้แย้งได้ว่า ถึงที่สุดแล้ว ศูนยตาก็ยังขึ้นกับเหตุปัจจัย (คือการหมดไปซึ่งเหตุปัจจัย กลายเป็นเหตุปัจจัยด้วยตัวมันเอง) :b50: :b49: :b55:

หรือสิ่งที่มักจะเข้าใจกันผิด เกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิกันอยู่บ่อยๆสำหรับผู้ที่ศึกษาธรรมะในเรื่องศูนยตาหรือความว่างก็คือว่า ถ้าทุกสิ่งทุกอย่าง "ว่างเปล่า" เสียตั้งแต่ทีแรกแล้ว พระบรมครูจะสอนให้เราจะปฏิบัติธรรมในทาน ศีล ภาวนา หรือใน ศีล สมาธิ ปัญญา ไปเพื่ออะไร แค่มองโลกและทำใจให้กลับไปสู่สภาพว่างเปล่าก็พอแล้ว :b44: :b43: :b39:

อีกทั้งผู้ผิดศีลผิดธรรมโดยแท้จริงแล้วก็ไม่มี กุศลอกุศลไม่มี เพราะผู้กระทำก็ไม่มี (ว่าง) สิ่งที่กระทำก็ไม่มี (ว่าง) ผู้ถูกกระทำก็ไม่มี (ว่าง) เลยโดนกิเลสหลอก (โดยเฉพาะตัวโมหะ อวิชชา) ให้ทำในสิ่งที่เป็นอกุศลโดยคิดว่า ทำด้วยจิตว่าง :b47: :b46: :b41:

หรือทำบางสิ่งที่อาจคิดว่าเป็นกุศลเพื่อสะสมบารมี เช่น บำเพ็ญทานบารมีด้วยจิตว่างอย่างพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์กวนอิมตามที่อ่านมาจากพระสูตร แต่เมื่อทำด้วยจิตว่างอย่างมีโมหะอวิชชาเข้าครอบ เข้าใจผิดในศูนยตาด้วยมิจฉาทิฏฐิเสียแล้ว การกระทำนั้นๆจึงเป็นการสะสมบารมีไปไม่ได้ :b48: :b47: :b42:

หรือมีหนทางลัดสั้นสำหรับ "ทุกคน" โดยไม่ต้องฝึกปฏิบัติใน ทาน ศีล ภาวนา หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ยากเย็นอะไรหรอก แค่ไม่ยึดไม่ติด ทำจิตให้ว่าง มองโลกให้ว่าง รู้เปล่าๆ รู้แล้วทิ้งรู้อย่างเดียว ไม่ต้องไปดิ้นรนทำจิตให้ขาวรอบ เพราะจิตนั้นมีสภาวะสว่าง ว่าง (ศูนยตา) อยู่แต่เดิมแล้ว แค่ "รู้สักว่ารู้" และ "ทิ้งรู้" ก็สามารถซาโตริแบบเซ็นได้ในฉับพลัน เช่นเดียวกับท่านพระพาหิยะ ฯลฯ :b50: :b49: :b51:

ก็ขอให้อย่าพึ่งด่วนสรุปด้วยทิฏฐิที่เกิดจากการคิดและเข้าใจเอาเองเช่นนั้นนะครับ เพราะบางอย่างก็เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับบุญบารมีในทาน ศีล ภาวนา โดยเฉพาะปัญญาบารมีที่สะสมมานั้นแก่รอบพอแล้วหรือยังถึงจะปฏิบัติเช่นนั้นได้ ส่วนบางอย่างก็เป็นเรื่องที่ตีความผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิกันเลยทีเดียว :b46: :b47: :b39:

วิสุทธิปาละเลยขอใช้โอกาสที่จะเขียนถึงพระสูตรของเซ็นและมหายานตรงนี้ พยายามสรุปข้อความที่เข้าใจได้ยากด้วยตรรกะในพระสูตร ให้ตรงตามแนวทางของพระบรมครูที่ได้ทรงวางไว้เป็นอย่างดีแล้วให้ได้มากที่สุดตามสติปัญญาที่พอจะมีนะครับ :b1: :b46: :b39:


โพสต์ เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสูตรหลักๆของมหายานที่จะยกมาขยายความในแนวปฏิบัติก็คงไม่พ้นพระสูตรต่างๆที่รู้จักกันดีเหล่านี้นะครับ :b1: :b46: :b39:

(แต่ถ้าจะให้อธิบายลงลึกในแต่ละพระสูตร ก็จะใช้เวลาหลายปีถึงจะจบ วิสุทธิปาละเลยขอสรุปเฉพาะหัวใจของแต่ละพระสูตรแบบสั้นๆ เพื่อเป็นการปูพื้นสำหรับผู้ที่ไม่เคยศึกษามหายานมาก่อนนะครับ แล้วจึงไปต่อกันในภาคปฏิบัติอันเนื่องมาจากพระสูตรเหล่านั้น) :b47: :b48: :b47:

และเนื่องจากทางมหายานเชื่อกันว่า ธรรมปัญญาที่สำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิจะต้องรู้แจ้งก็คือ ศูนยตาธรรม (ซึ่งเหนือกว่าธรรมชั้นรองลงมา คือการรู้แจ้งในปฏิจจสมุปบาทด้วยตนเองของผู้ปรารถนาปัจเจกภูมิ และการรู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔ สำหรับผู้ปรารถนาสาวกภูมิ .. อันนี้เป็นคติความเชื่อ ค่านิยมของทางมหายานบางสายนะครับ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การรู้แจ้งในธรรมทั้ง ๓ ก็คือการรู้แจ้งในสิ่งเดียวกัน เกิดขึ้นพร้อมๆกัน ไม่สูงไม่ต่ำกว่ากัน) :b50: :b49: :b51:

เลยขอเริ่มต้นกันที่พระสูตรซึ่งเป็นที่ยกย่องอย่างมาก และเป็นแก่นเป็นหัวใจสำคัญของมหายานและของเซ็นที่ว่าด้วยเรื่องศูนยตาโดยตรงกันก่อนก็คือ ปรัชญาปารมิตาสูตร (แปลว่า ปัญญาอันใหญ่หลวงที่นำพาให้ถึงฝั่งคือพระนิพพาน ซึ่งมีมหาปรัชญาปารมิตาสูตรเป็นแกนหลัก และรวมเอาพระสูตรปกิณกะย่อยๆที่มีชื่อคล้ายๆกัน เช่น วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร, ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร, มัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร, ราชไมตรีโลกปาลปารมิตาสูตร ฯลฯ เข้ามาไว้ในกลุ่มด้วย) :b48: :b42: :b39:

ซึ่งถ้าจะเทียบเคียงกับพระสูตรของทางเถรวาท แก่นของคติธรรมก็คงจะใกล้เคียงกับอนัตตลักขณสูตร และยมกสูตรนั่นเองครับ เพียงแต่ของทางมหายานนั้น ลงรายละเอียดและยกตัวอย่างขยายความเรื่องศูนยตาเอาไว้เยอะกว่ามากมาย
:b47: :b46: :b42:

(เนื่องจากมีคำสอนของอาจารย์ หรืออาจาริยวาทปนอยู่เยอะกว่า แถมด้วยการขยายความต่อในปรัชญาปารมิตาศาสตร์ ซึ่งเป็นอรรถกถาขนาดยาวมากๆที่ท่านนาคารชุนแต่งขึ้นเพื่อขยายความปรัชญาปารมิตาสูตรอีกที :b47: :b42: :b39:

ในขณะที่ของเถรวาทเป็นพุทธพจน์ หรือคำเทศน์ของพระสารีบุตรสั้นๆที่ "จี้จุด" และ "ชี้ช่อง" ให้มองขันธ์หรือโลกให้ตรงตามธรรม คือความเป็นอนัตตา สุญญตาอย่างเดียว จนผู้ที่ฟังคำเทศน์ของท่านในขณะนั้นๆ หลุดพ้นแบบบัดเดี๋ยวนั้นกันทุกองค์ โดยมีอาจาริยวาทอธิบายรายละเอียดของคำเทศน์แยกออกมาต่างหากอยู่ในอรรถกถา, ฎีกา, และปกรณ์รุ่นหลัง) :b46: :b47: :b46:

อนัตตลักขณสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1472&Z=1535&pagebreak=0
ยมกสูตร http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=2447&Z=2585&pagebreak=0


โพสต์ เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยเนื้อหาของปรัชญาปารมิตาสูตรนี้ กล่าวโดยสรุปได้ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายในโลก ทั้งรูปธรรมและนามธรรม ต่าง "ไม่มีอยู่จริง" ด้วยตัวมันเอง :b46: :b47: :b41:

(เพราะต้องพึ่งพาเหตุปัจจัย สรรพสิ่งนั้นจึงปรากฏ .. และที่ปรากฏ ก็สักแต่เป็นเพียงชื่อสมมติ หรือสมมติบัญญัติ ไว้ใช้เรียกกันให้เข้าใจได้เท่านั้น เพราะโดยความจริงแท้หรือโดยปรมัตถ์แล้ว สิ่งๆนั้นปรากฏขึ้นได้ แต่ไม่มีอยู่ด้วยตัวมันเองจริงๆ) :b47: :b48: :b47:

ดังนั้น การเข้าถึงศูนยตา จึงไม่ใช่การทำใจให้ว่าง หรือทำทุกสิ่งโดย "กำหนดจิต" ให้ว่าง :b46: :b47: :b42:

แต่ให้พิจารณาสภาพธรรมอย่างลึกซึ้ง จนแจ่มแจ้งว่า :b48: :b43: :b44:

ทุกสรรพสิ่งในโลก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ผันแปร และดับไป ตามเหตุปัจจัย :b46: :b47: :b41:

เมื่อสิ่งใดต้องอาศัยเหตุปัจจัย สิ่งนั้นก็บอกไม่ได้ว่า มันเป็น หรือ มันไม่เป็นอะไร (ทวิภาวะ โดยสมมติ) :b48: :b47: :b46:

เพราะเหตุดังนี้ มัน (คือสรรพสิ่งทั้งหลาย) จึงเป็นศูนยตา (เอกภาวะ โดยปรมัตถ์) :b49: :b48: :b46:

นี่คือมุมมองอย่างลึกซึ้งต่อสภาวธรรม ต่อทุกสรรพสิ่งที่ปรากฏขึ้นในโลก :b47: :b48: :b41:

ทั้งภาวะความมีอยู่ (สวภาวะ) และ ความไม่มีอยู่ (อภาวะ) :b44: :b48: :b39:

ทั้งตัวผู้รู้ ทั้งสิ่งที่ถูกรู้ :b46: :b47: :b46:

ที่ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของสรรพสิ่ง :b49: :b48: :b41:

สรรพสิ่งมีอยู่จริง แต่ไม่ได้มีอยู่อย่างอิสระ :b48: :b49: :b47:

จึงไม่มีตัวตนที่แท้จริง :b46: :b47: :b46:

และนั่นคือความเป็นมายา คือความว่างเปล่าของสรรพสิ่ง :b48: :b49: :b47:

จนแจ้งในสภาวะที่ไม่ขึ้นกับเหตุปัจจัยมาแต่ไหนแต่ไร :b46: :b47: :b39:

ว่างจากการเกิด ว่างจากการดับ :b48: :b47: :b48:

ว่างจากการมา ว่างจากการไป :b48: :b49: :b48:

ว่างจากการบรรลุ ว่างจากการไม่บรรลุ :b49: :b51: :b50:

ว่างจากการเข้าถึง ว่างจากการไม่เข้าถึง :b49: :b49: :b50: :b47:

ว่างจากทุกสิ่ง แต่เต็มอยู่ด้วยทุกสิ่ง ในทุกสิ่ง :b48: :b49: :b46:

เป็นอยู่อย่างนั้น เช่นนั้นเองมาแต่ไหนแต่ไร :b50: :b49: :b46:


(เถรวาท-บาลี เรียก สุญญตา, มหายาน-สันสกฤต เรียก ศูนยตา)

:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 20 มิ.ย. 2014, 23:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดตัวอย่างสั้นๆจากปรัชญาปารมิตาสูตรมาให้ลองศึกษากันครับ :b8: :b46: :b44: :b39:

..................................................................................

พระอริยอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ อันท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว
ได้กล่าวตอบท่านสารีบุตรว่า

ท่านสารีบุตร กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆ
ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง
เขาพึงพิจารณาอย่างนี้ คือ

พิจารณาขันธ์ ๕ และความสูญโดยสภาพ
รูปคือความสูญ ความสูญนั่นแหละคือรูป
ความสูญไม่อื่นไปจากรูป รูปไม่อื่นไปจากความสูญ
รูปอันใดความสูญก็อันนั้น ความสูญอันใด รูปก็อันนั้น

อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็คือความสูญอย่างเดียวกัน
ท่านสารีบุตร ธรรมทั้งปวง มีความสูญเป็นลักษณะ
ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้

เพราะฉะนั้นแหละ ท่านสารีบุตร
ในความสูญจึงไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ไม่มีจักษุธาตุ จนถึงมโนธาตุ ธรรมชาตินั้น วิญญาณธาตุ

ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชา และอวิชชา
จนถึงไม่มี ความแก่ ความตาย ไม่มีความสิ้นไปแห่ง ความแก่ ความตาย
ไม่มีทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค ไม่มีญาณ
ไม่มีการบรรลุ ไม่มีการไม่บรรลุ


(ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร)


โพสต์ เมื่อ: 20 มิ.ย. 2014, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระมัญชุศรี (หมายเหตุ : เป็นพระโพธิสัตว์ผู้เป็นเลิศด้านปัญญา) ว่า
“บัดนี้ เธอได้เห็นตถาคตอย่างแท้จริงหรือไม่?”

พระมัญชุศรีทูลว่า
“พระผู้มีพระภาค! ธรรมกายแห่งพระตถาคตแต่เดิมมาก็ไม่อาจเห็นได้
เพื่อสรรพสัตว์เป็นเหตุ ข้าพระองค์จึงมาทัศนาพระพุทธองค์

ธรรมกายของพระองค์นั้นเป็นอจินไตย (นึกคิดเอาไม่ได้)
ไร้ลักษณะ ไร้รูปร่าง มิได้มา แลมิได้ไป มิใช่มี แลมิใช่ไม่มี มิใช่เห็น แลมิใช่ไม่เห็น
ดั่งตถตา (ความเป็นไปอย่างนั้นเอง) ที่ไม่ได้มา และไม่ได้ไป
มิใช่การปราศจาก และมิใช่การไม่ปราศจาก

มิใช่สถานที่ แลมิใช่การไม่ใช่สถานที่
มิใช่การเป็นหนึ่ง มิใช่การเป็นสอง
มิใช่ความบริสุทธิ์ มิใช่มลทิน ไม่เกิดไม่ดับ
ข้าพระองค์ทัศนาพระตถาคตอยู่อย่างนี้พระเจ้าข้า”

มีพุทธดารัสกะพระมัญชุศรีว่า
“บัดนี้เธอได้เห็นตถาคต ด้วยลักษณะเช่นนี้หรือ?”

พระมัญชุศรีทูลว่า
“พระผู้มีพระภาค! ที่แท้แล้วข้าพระองค์ไร้ซึ่งการเห็น จึงไร้ซึ่งการเห็นลักษณะใดๆ”

ครั้งนั้นพระสารีบุตรกล่าวกะพระมัญชุศรีว่า
“ข้าพเจ้าไม่เข้าใจที่ท่านกล่าว เหตุไฉนจึงทัศนาพระตถาคตอย่างนี้?”

พระมัญชุศรีตอบว่า
“พระคุณท่านสารีบุตร ข้าพเจ้าไม่ได้ทัศนาพระตถาคตอย่างนี้”

พระสารีบุตรกล่าวกะพระมัญชุศรีว่า
“ที่ท่านกล่าวมานี้ ยิ่งไม่อาจเข้าใจ”

พระมัญชุศรีตอบว่า
“อันการไม่อาจเข้าใจ ก็คือปัญญาปารมี
ปัญญาปารมี มิใช่การสามารถเข้าใจ แลมิใช่การไม่อาจเข้าใจ”

พระสารีบุตรกล่าวว่า
“ท่านเกิดจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์หรือไม่?
ท่านประพฤติบารมีทั้งหก เพื่อสรรพสัตว์หรือไม่?
แลได้เข้าสู่นิพพานเพื่อสรรพสัตว์หรือไม่เล่า?”

พระมัญชุศรีตอบพระสารีบุตรว่า
“ดั่งที่ท่านกล่าวมา ว่าเรานั้นเกิดจิตเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์
ได้ประพฤติบารมีหก ได้เข้าสู่นิพพาน
แต่ทว่าที่แท้แล้วความเป็นสรรพสัตว์ก็ไม่อาจเข้าถึง
ไร้ลักษณะไร้รูปร่าง ไม่เพิ่มไม่ลด


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 56, 57, 58, 59, 60, 61, 62 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร