วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 03:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 426 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25 ... 29  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.พ. 2014, 02:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคืน นั่งสมาธิก่อนนอนตอนเที่ยงคืน แล้วตื่นขึ้นมาตี3ครึ่ง ก็รู้สึกเป็นโอกาศที่ดีเลยนั่งสมาธิไปอีกครั้ง ผัสสะเกิดที่ไหน ให้รู้ว่าเป็นทุกข์ที่นั่น ตามดูจนธรรมดับลง ธรรมบางธรรมอาจจะตามดูยาก เช่น มหาภูติร้อนหนาว คือจะตามดูให้ความร้อนดับลงเพื่อเห็นการเกิดดับของธรรมนั้นคงเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าจิตเคลื่อนออกจากกำหนดร้อนหนาว ไปกำหนดอ่อนแข็ง นั่นคือความร้อนหนาวดับลงเพราะเหตุคือผัสสะดับลง แต่ผัสสะเกิดขึ้นที่อ่อนแข็ง นี่คือแนวทางที่ผมกำหนดรู้ มหาภูติดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนน้ำกับลมนั้น ผมยังกำหนดไม่เป็น คือรู้ว่าหายใจเข้าออกคือลม แต่ที่เรากำหนดรู้ เรากำหนดรู้ธาตุดิน หรือธาตุลม พอลมหายใจเข้าแล้วรู้สึกเย็น เรากำหนดรู้ธาตุไฟหรือปล่าว ส่วนธาตุน้ำนั้น ผมก็กำหนดรู้ไม่เป็นเช่นกัน คือพิจารณาเป็นว่า เลือด เหงื่อ น้ำลาย เป็นต้น แต่ทำให้ผัสสะเกิดนั้นยังทำไม่เป็นครับ ก็กำหนดรู้ลงความไม่เที่ยง ว่าธรรมนั้นเกิดดับตลอดตามเหตุ ไม่เที่ยง แล้วกำหนดลงอนัตตา คือ เหตุเกิดของธรรมที่ใด ก็เป็นอนัตตาที่นั่น โดยแยกเป็นส่วน เช่นอาการปวดขา เป็นอย่างนี้ ปวดขาเป็นอาการที่ไม่เหมือนปวดท้อง ไม่เหมือนปวดฟัน ดังนั้นอาการปวดขาเป็นอนัตตา (คือสามัญลักษณะ เป็นแบบนี้ คือ บางคนเห็นเป็นทั้ง3ทาง ทั้ง ทุกข์ อนิจจัง อนัตตา ทางใดทางหนึ่ง ทีละอย่าง) ไม่ใช่ทำให้อาการปวดขาหายไปแล้วเรียกว่าอนัตตาเพราะหาตัวตนไม่ได้ ไม่ใช่นะครับ
ถ้าต้องการจะเห็นการเกิดดับที่ชัดเจน ลองกำหนดรู้ปสาทรูปดู เช่นโสต ตั้งใจฟังเสียงที่ผ่านเข้ามาทีละเสียง ไม่เหมารวมทุกเสียง เช่น รถวิ่งผ่าน 2-3คัน เราก็จับเอาเสียงใดเสียงหนึ่ง แล้วตั้งใจกำหนดรู้โสตประสาทจนกระทั่งเสียงนั้นดับลง ตามไม่เจอ นั่นคือกำหนดรู้การเกิดดับของโสต (เห็นชัดเจนกว่า เร็วและญาณเกิดเร็วครับตามความเห็นของผมเอง)

เมื่อคืนนี้ก็กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ หายใจเข้าออก เข้าออก ไปเรื่อยๆ จู่ๆก็เกิดเป็นคำถามขึ้นมาว่า ทำไมเวลาหายใจเข้าออก เป็นญาณสมาธิขึ้นมา ทำไมจิตไม่เหวี่ยงไปที่อื่นหลังการเกิดดับของธรรม (พิจารณานะครับ อันนี้เข้าสู่ความเห็นแล้วนะครับ) แต่ทำไมเวลากำหนดรู้ที่โสตบ้าง พอธรรมดับลง ทำไมจิตเหวียงมาที่หน้าผาก (กระทู้ข้างบนผมก็ลงประสบการณ์ไว้)
ก็เป็นคำถามใหม่สำหรับผม รู้สึกตื่นเต้นครับ รู้สึกถึงกำลังใจในการอยากพัฒนาขึ้นเป็นกอง

หลังจากนั้นก็ล้มตัวนอน หลับไปนานแค่ไหนไม่รู้ ก็ฝัน

ฝันว่าได้ไปเดินในวัดแห่งหนึ่ง ที่ไหนก็ไม่รู้ สวยแบบโบราณ วัดรูปทรงแปลก ไม่ปรากฏว่าเคยเห็นที่ไหนมาก่อน เดินกันไป 3-4คน เพื่อนที่ไปด้วยกัน ไม่ปรากฏว่ารู้จักมาก่อน เดินไปก็รู้สึกชอบไปหมดอยากถ่ายรูปเก็บไว้ดู นึกไม่ออกว่าได้ถ่ายรูปหรือปล่าว

แล้วเดินไปพบหลวงตา ปรากฎว่าเป็นหลวงตามหาบัวครับ (ขอสาบานว่าฝันจริงๆ) ทุกคนก้มกราบท่าน ท่านยิ้มทัก คุยทักทาย ในฝันผมตื่นเต้นมาก เหมือนนักเรียนเห็นครูแล้วอยากถามคำถาม ท่านนั่งอยู่ด้านหน้าหันหน้าเข้ามา รู้สึกอยู่ลานในบริเวณวัดนั้น แล้วท่านก็หันมาทางผมนั่ง ผมนั่งอยู่ทางขวาสุดของเพื่อน หรือทางซ้ายสุดของท่าน ผมถามคำถามเกี่ยวกับการปฎิบัติธรรม ท่านฟังก็ยิ้ม เห็นแววตาของท่านว่า ตั้งใจปฎิบัติอะไรแบบนั้น แล้วเอื้อมมือมาวางทาบมือผม ผมยังรู้สึกถึงความนุ่มของมือท่าน แล้วผมก็เหมือนเด็ก เล่าประสบการณ์การปฏิบัติว่าผมกำลังปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านก็พยักหน้ารับรู้ แล้วก็เหมือนจำไม่ได้ว่าอะไรต่อ

นี่เป็นครั้งที่2ที่ผมฝันถึงหลวงตา ครั้งนี้ชัดเจนมาก ตื่นขึ้นมารูสึกดีใจมาก เล่าให้ภรรยาฟัง แล้วสักพักก็มานั่งเขียนปะสบการณ์ตอนนี้ครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2014, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


การรักษาอารมณ์ก็เป็นส่วนหนึ่งของการปฎิบัตินอกเหนือจากนั่งสมาธิ ที่ผมปฎิบัติ ก็ตั้งอารมณ์ที่ใดที่หนึ่ง ก้าวเดินยามก้าวเดิน จิ้มแป้นยามจิ้มแป้น ถือกาแฟยามถือ ทีนี้ความรู้จะปรากฎขึ้นมา แข็งบ้าง ร้อนบ้าง หน้าที่ก็คือรักษาอารมณ์ ถือก็สักว่าถือ อุ่นก็สักว่าอุ่น พิจารณาไปว่าเป็นไปอย่างนั้น หากอารมณ์เปลี่ยนไปที่อื่นนอกกายใจ ก็ดึงกลับมาครับผม ต่อโอกาสหน้า

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2014, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วงนี้ก็ปฎิบัติตามปกติ รู้ร้อนรู้หนาว รู้แข็งรู้อ่อน สร้างสติให้เกิดความแข็งแรง รู้เจ็บรู้ชา รู้หิวรู้ อิ่ม รู้ทวารทั้ง5 รู้ไปเรื่อยๆ พิจารณาไปเรื่อยๆ ไม่พักครับ หลงลืมก็ดึงเข้ามาใหม่ กิเลสโหมก็หยุดตั้งหลัก ต่อโอกาสหน้าครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2014, 19:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ลมหายใจเข้าออกที่พัฒนาแบบเป็นธรรมชาติ นั้น action จะมีค่า=0 หรือใก้ลเคียง 0 จึงไม่เกิดแรง reaction แต่กรณีที่กำหนดเสียงที่คุณ student บอกว่าหากมีการเลือกเสียงใดเสียงหนึ่งจะเกืดดับชัด แต่
มีข้อสงสัยว่าทำไมถึงดีดกลับไปที่หน้าผาก ที่ต้องเน้นคือการเลือกเสียงกำหนด ตรงนี้จะมีเจตนาผนวกเข้ากับตัวรู้ action>0
ก็จะเกิดreaction จึงทำให้มีแรงดีด ขออนุโมทนาในความใส่ใจรายละเอียดในการปฏืบัติ :b8: ตต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2014, 02:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
การรู้ลมหายใจเข้าออกที่พัฒนาแบบเป็นธรรมชาติ นั้น action จะมีค่า=0 หรือใก้ลเคียง 0 จึงไม่เกิดแรง reaction แต่กรณีที่กำหนดเสียงที่คุณ student บอกว่าหากมีการเลือกเสียงใดเสียงหนึ่งจะเกืดดับชัด แต่
มีข้อสงสัยว่าทำไมถึงดีดกลับไปที่หน้าผาก ที่ต้องเน้นคือการเลือกเสียงกำหนด ตรงนี้จะมีเจตนาผนวกเข้ากับตัวรู้ action>0
ก็จะเกิดreaction จึงทำให้มีแรงดีด ขออนุโมทนาในความใส่ใจรายละเอียดในการปฏืบัติ :b8: ตต


ครับ ตอนแรกที่เริ่มปฎิบัตินั้น ผมนั่งหลับตา เพ่งลูกตา เพื่อที่อยากจะเห็นแสงสว่าง อยากเห็นภาพ พอนานๆเข้าผมก็เริ่มตั้งข้อสังเกตุ ว่าไม่ใช่แน่ เรากำลังทำอะไร ก็เริ่มที่จะตั้งคำถามว่า ขันธ์5 นั้นคืออะไร ที่ทำๆนั่งเพ่งลูกตานั้นเกี่ยวอะไรกับใจสงบ เกี่ยวอะไรกับธรรม? ไม่รู้เรื่องว่า จิตคืออะไร ขันธ์คืออะไร จับต้นชนปลายไม่เป็น อาศัยที่นั่งสมาธิทุกวัน จึงเริ่มกลายเป็นคนขี้สงสัย และเริ่มสนใจในรายละเอียดว่า ธรรมนั้นอาศัยเหตุเกิด แต่ยังไม่รู้เรื่องว่าธรรมจำแนกอย่างไร

คืนหนึ่ง นั่งสมาธิ ได้ยินเสียงมอเตอร์ไซค์ผ่านหน้าบ้าน ก็เริ่มกลายเป็นความเห็นทางธรรม เริ่มแยกว่า เสียงอาศัยโสต แต่ความเป็นมอเตอร์ไซค์นั้นกลายเป็นมโน และจินตนาการ ยังจับความเกิดดับไม่เป็น แต่ดีใจที่ตนเองเริ่มมีคำถามและข้อสงสัยมากขึ้น

ทีนี้ก็เริ่มแยกความเป็นทวารทั้ง5 ความเป็นธาตุมหาภูติรูป ดินน้ำลมไฟ ความเป็นเวทนาขันธ์ อะไรปสาทรูป อะไรรูป นามคืออะไร เริ่มสังเกตุการเกิดดับของธรรม เริ่มสนใจในจิต (วิญญาณขันธ์) เริ่มสังเกตุการตั้งของจิต ตามอารมณ์และความเป็นใหญ่ของธรรมในขณะนั้น (ความบีบคั้น ความไม่ปกติ)

เริ่มน้อมธรรมสู่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา. สนใจเรื่องของขันธ์5 จับธรรมในตัวมาพิจารณา

เริ่มเข้าสู่อารมณ์ เริ่มแยกแยะและสังเกตุอารมณ์ตามผัสสะที่เกิด เห็นเป็นเรื่องธรรมดา มองความเป็นขันธ์5ตามที่มันเป็น

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2014, 00:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคืน นั่งกำหนดรู้อยู่ ก็พิจารณาผัสสะไปเรื่อยๆ ก็เกิดคำถามว่า เราผู้ยังถูกอุปทานขันธ์ครอบงำอยู่ นี่ความร้อนของร่างกายเรา นี่ความอ่อนแข็งของร่างกายเรา ทั้งๆที่ทุกอย่างล้วนเกิดแต่เหตุ เรายังยึดมั่นอยู่กับความเป็นตัวตน ต้องหาอุบายต่อไปเพื่อลดความเป็นอุปทานขันธ์ต่อไป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2014, 08:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุบายเพื่อลดความเป็นอุปทานขันธ์

การทำความเพียรของแต่ละคน ขึ้นอยู่กับ เหตุปัจจัยที่มีอยู่
และที่กำลังทำให้เกิดขึ้นใหม่ ทุกๆ ขณะ ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย


การทำความเพียร เปรียบเสมือนกับการลงทุน ลงทุนมาก น้อยแค่ไหน ผลกำไรที่จะได้ ก็ตามที่ลงทุนไป
แต่ไม่ต้องกังวล เพราะเหตุปัจจัยที้งหมด ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการทำความเพียรอย่างเดียว
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ การหยุดสร้างเหตุนอกตัวด้วย หากทำทั้งสองทาง เดี๋ยวสภาวะจัดสรรให้เอง


การสร้างเหตุ ของการลงทุน ในการทำความเพียรมากหรือน้อย สติและสมาธิ ที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน ขณะ ในแต่ละ ขณะ ย่อมเกิดขึ้นมาก หรือ น้อย ตามเหตุที่กระทำ

เมื่อมีผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด จะมีสติ ทันหรือไม่ทัน ขึ้นอยู่กับการทำความเพียร ที่ทำอยู่ด้วย

เพราะ สติ ช่วยในการระลึกรู้อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ช่วยกดข่มในการสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

กำลังสมาธิ ช่วยบดบังสภาวะกิเลส ที่กำลังเกิดขึ้น แทนที่จะเกิดแบบรุนแรง ถึงขั้นต้องสร้างเหตุ กลับกลายว่า กำลังสมาธิที่เกิดขึ้น เป็นตัวช่วย ทำให้กิเลสที่เกิดขึ้น จากหนัก เป็นเบา

เพราะเหตุนี้ จึงสามารถหยุดการสร้างเหตุนอกตัว
ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย หยุดได้ทันมากขึ้น


ถ้าทำได้ดังนี้ สภาวะเหล่านี้
ตามคำสอน ที่พระพุทธเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้ จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕
อย่างเหล่านี้ มีอยู่. ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?

ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.
ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก,
คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ
เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.



หมายเหตุ:

เมื่อผัสสะเกิด(สิ่งที่เกิดขึ้น) เช่น ตาเห็น หูได้ยินฯลฯ เป็นเหตุให้ มีความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เกิดขึ้น ให้แค่รู้ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการ ดับเหตุของการเกิดภพชาติปัจจุบัน ให้สั้นลงไปเรื่อยๆ

ชั่วขณะ ที่เกิดผัสสะ แล้วไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เป็นการสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ตามธรรมบทข้างบน



หากเกิดความลังเล เกิดความสงสัยว่า การกระทำแบบนี้(หยุดสร้างเหตุนอกตัว)
ตรงกับคำสอน ที่พระพุทธเจ้า ทรงทิ้งไว้ ให้เห็น เป็นแนวทางหรือไม่

ควรอ่านหมวด ว่าด้วยเรื่อง ผัสสะ ที่เกิดขึ้น
เพราะอะไร เป็นเหตุปัจจัย ให้ผัสสะที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัย ให้เกิด เวทนา



กรรมเก่าและกรรมใหม่

ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงซึ่งกรรมทั้งหลาย
ทั้งใหม่และเก่า (นวปุราณกัมม) กัมมนิโรธ และกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา. ….

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมเก่า (ปุราณกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! จักษุ (ตา) …. โสตะ (หู) …. ฆานะ (จมูก) …. ชิวหา (ลิ้น) …. กายะ (กาย) …. มนะ (ใจ)

อันเธอทั้งหลาย พึงเห็นว่าเป็นปุราณกัมม (กรรมเก่า)
อภิสังขตะ (อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
อภิสัญเจตยิตะ (อันปัจจัย ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น)
เวทนียะ (มีความรู้สึกต่ออารมณ์ได้).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กรรมเก่า.

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมใหม่ (นวกัมม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ในกาลบัดนี้ อันใด,
อันนี้เรียกว่า กรรมใหม่.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับแห่งกรรม)เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่บุคคลถูกต้องวิมุตติ เพราะความดับแห่งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันใด,
อันนี้เรียกว่า กัมมนิโรธ.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ รธค ามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทานั้น คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค
(อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง ได้แก่
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ(การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ(ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.

ภิกษุทั้งหลาย ! ด้วยประการดังนี้แล (เป็นอันว่า)
กรรมเก่า เราได้แสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย กรรมใหม่เราก็แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธ เราก็ได้แสดงแล้ว,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เราก็ได้แสดงแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ! กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
กิจนั้น เราได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้, นั่นเรือนว่าง.
พวกเธอจงเพียรเผากิเลส, อย่าได้ประมาท,
อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.
นี้แล เป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา แก่เธอทั้งหลาย.
สฬา. สํ. ๑๘/๑๖๖/๒๒๗-๒๓๑.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2014, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุปัจจัยที่มีอยู่ และ เหตุที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่

เหตุปัจจัยที่มีอยู่ ได้แก่ อวิชชา(ความไม่รู้) ที่มีอยู่
เป็นเหตุให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น

ทำให้ไม่รู้ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้น แต่ละขณะๆนั้น
อะไรเป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดขึ้น

ทำให้ไม่รู้ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
ทำไมผัสสะบางขณะ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
ทำไมผัสสะบางขณะ รู้สึกเฉยๆ


เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่

เมื่อผัสสะที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ จึงหลงสร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เมื่อนำความมีตัวตน เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้น
คำเรียกเหล่านี้ “บาปบุญ คุณโทษ ดี ชั่ว ถูก ผิด กุศล อกุศล” จึงเกิดขึ้น ตามเหตุปัจจัย




ว่าด้วยเหตุเกิดของกรรม ๓ อย่าง

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

๓ ประการเหล่าไหนเล่า ?
๓ ประการ คือ :-

โลภะ (ความโลภ) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โทสะ (ความคิดประทุษร้าย) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย,
โมหะ (ความหลง) เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้น แห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด

เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้ว ในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้วในเนื้อนาดี.

อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล.

ภิกษุทั้งหลาย ! เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด;

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ

กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ
มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด;
กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.

กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่าง ในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า เป็นไปอย่าง ในอปรปริยายะ (คือ ในเวลาต่อมาอีก) ก็ตาม.

กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโทสะ เกิดจากโทสะ
มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย อันใด;

กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง
ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.

กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโมหะ เกิดจากโมหะ
มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นสมุทัย อันใด;

กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพ ของบุคคลนั้น.
กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง

ไม่ว่าจะ เป็นไปอย่างในทิฏฐธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ
หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม.

ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ เหล่านี้แล
เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
ติก. อํ. ๒๐/๑๗๑/๔๗๓.



หมายเหตุ:
ฉะนั้น พึงศึกษาว่าด้วย กรรม ตามคำสอน ที่พระพุทธเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้





กรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็นกรรม.
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุเกิดของกรรมทั้งหลาย ย่อมมี เพราะความเกิดของผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรม ย่อมมี เพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! มรรคมีองค์ ๘ นี้นั่นเอง เป็นกัมมนิโรธคามินีปฏิปทา.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๖๔/๓๓๔.

ภิกษุทั้งหลาย ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ….

คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น
เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?

ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าวซึ่งเจตนาว่าเป็นกรรม เพราะว่าบุคคล เจตนาแล้ว
ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! นิทานสัมภวะแห่งกรรมทั้งหลายคือ ผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา
ในนรก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา ในกำเนิดเดรัจฉาน มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา ในเปรตวิสัย มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนา ในมนุษย์โลก มีอยู่,
กรรมที่ทำสัตว์ ให้เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่.
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่า มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน)
หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา)
หรือว่า วิบาก ในอปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก).
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เรากล่าวว่า วิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับ แห่งผัสสะ.

ภิกษุทั้งหลาย ! กัม ม นิโ ร ธ ค า มินีป ฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเอง คือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา;
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :-
สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)
สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ)
สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ)
สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ)
สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ)
สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ)
สัมมาสติ (ความระลึกชอบ)
สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้,
รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้;
อริยสาวกนั้น ย่อมรู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่า เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.

ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า
“กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ,
กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”
ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓-๔๖๔/๓๓๔.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2014, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับคุณ walaiporn ที่เข้ามาอธิบายผัสสะ ช่วงนี้มีเรื่องยุ่งก็ไม่ได้เข้ามาคุยประสบการ์ณปฏิบัติ ตอนนี้เริ่มเข้าที่และติดตั้งอินเตอร์เนตใหม่ ก็รักษาสติ รักษาอารมณ์ให้เย็น ต่อพรุ่งนี้ครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2014, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยสังเกตุไหมครับว่า เวลาเราเอาจิตตั้งหรือจับ หรือกำหนดรู้ที่ใดที่หนึ่งภายในตน ถ้าเป็นธาตุที่เป็นเอกในบริเวณเดียวกัน เช่นมือ ลองตั้งจิตอยู่ที่มือแล้วลองกำหนดรู้ไปเรื่อยๆว่าจิตจับอะไรบ้าง คำว่าจับในที่นี้คือการเกิดผัสสะ


ผัสสะคือการรับรู้. อายตนะภายในกระทบอายตนะภายนอกและวิญญาณเกิดผัสสะ

แล้วอะไรคืออายตนะภายนอก? ความเห็นผมนั้น อายตนะภายนอกนั้นไม่ได้หมายถึงนอกร่างกาย หรือนอกตน เพียงอย่างเดียว ตนเองก็ถือเป็นอายตนะภายนอกด้วย

อย่างมือทาบมือ อายตนะภายในคือธาตุรู้ (มือ). อายตนะภายนอกคือลักษณะ (มือ) เกิดผัสสะเพราะมีวิญญาณเกิดตรงมือ(วิญญาณคือจิตนั่นเอง. ไม่ใช่ความตายวิญญาณล่องลอยนะครับ)

ตรงมือเรามีอะไรบ้างก็พิจารณาไป. ความอุ่นความเย็น (ถ้าใครเอามือไปจับน้ำแข็งต้องเย็น เอามือออกมาจับมือตนเองจะรู้สึกเย็น. ความเย็นคือลักษณะที่ปรากฎคือ อนัตตา ความรู้สึกว่าเย็นเป็น ทุกข์ ความสลายลงจากเย็นเป็นปรับอุณหภูมิเข้าสสารอื่นเป็นอนิจจัง เวลาพิจารณาต้องให้ครบไตรลักษณ์ไว้

มือจับมือจึงเกิดผัสสะเพราะตั้งจิตไว้ตรงนั้นเป็น

บางทีก็รู้อุ่นหรือเย็นเป็นอารมณ์

บางทีก็รู้อ่อนแข็งเป็นอารมณ์

บางทีก็รู้เวทนา(ปวด)เป็นอารมณ์. สลับกันรู้อย่างนี้ เพราะการเกิดดับของจิตเร็วมากจนผัสสะที่เกิดเห็นเป็นเวลาเดียวกัน

บางคนเห็นเป็นรูปมือตัวเองนั่นไม่เกี่ยวกับธาตุรู้ตรงมือแล้วครับ แต่ธาตุรู้มาเกิดเป็นผัสสะที่ตา(การมองเห็น) ดังนั้น อายตนะภายในคือดวงตาที่ธาตุรู้ไม่บอด กระทบอายตนะภายนอกคือมือตนเองเกิดผัสสะ

ดังนั้นความรู้จะไม่เกิดขึ้นเลยหากไม่เกิดผัสสะ ความเห็นผมคือ จิตวกกลับไปเกาะที่มโน (จินตนาการ) เกิดผัสสะที่มโน จิตไม่เอาพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ จิตไม่เอาอ่อนแข็ง(ไตรลักษณ์)เป็นอารมณ์ จิตไม่เอาร้อนหนาว(ไตรลักษณ์)เป็นอารมณ์ จิตไม่เอาปวด(ไตรลักษณ์)เป็นอารมณ์ จิตไม่เอาธรรมชาติเป็นอารมณ์เพราะจิตวกไปเกี่ยวเพลิดเพลินกับมโน อันเป็นอารมณ์ของความไม่รู้ปัจจุบันนั่นเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2014, 02:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความว่องไวของจิต

ความว่องไวของจิตนั้นความเห็นผมคิดว่าน่าจะเป็นการรู้ทันผัสสะที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องน้อมเอาธรรมที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้น

เช่น ความกระตือรือร้นที่จะน้อมจิตเข้าสู่ธรรม

ธรรมในที่นี้คือ ปัจจุบันอารมณ์นั่นเอง

ผมเองก็รู้สึกเป็นความเคยชินมากขึ้น เวลาจับ แตะ หยิบ ถือ รู้สึก ก็จะน้อมจิตเข้ามาพิจจารณาครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2014, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ก็มีเรื่องความคล่องของจิต คือความเข้าไปกำหนดรู้ธรรมต่างๆ
บางครั้งตื่นนอนตอนเช้าๆยังเบอกับความฝันบ้าง จะกำหนดรู้ธรรมก็
รู้สึกขี้เกียจ จิตมันไหลไปตามอารมณ์ ไม่อยากพิจารณาอะไร ส่วนตัว
นั้นก็ต้องยึดเอาธรรมอะไรที่คล่องๆ ที่เห็นได้ง่ายคือ ลมหายใจเข้าออก
ให้จิตมันตั้งหลัก พอตั้งหลักได้แล้วก็สานต่อกำหนดรู้ธรรม ส่วนตัวก็
ใช้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ยังไปมากกว่านี้ไม่เป็น รู้แต่ว่า เราเริ่มที่จะ
เห็นธรรมตามสภาวะ ไม่มองภาพรวมว่าเรา เช่น กำหนดรู้อุณหภูมิร่างกาย
กำหนดไปเรื่อยๆ ไหนล่ะเรา ไหนล่ะความเป็นเรา สภาวะธรรมที่ปรากฎขึ้น
มันคือความจริง แล้วความจริงนี้จะปรากฎสภาพตราบใดที่ยังปรากฎตั้งอยู่
ของขันธ์5อยู่ ต่อโอกาสหน้าครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2014, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


พูดเรื่องการกำหนดรู้ สถานะการณ์ก็เป็นส่วนสำคัญ เช่น กำลังกินข้าว เราก็ต้องรู้ว่ากำลังกิน และก็รู้อารมณ์ว่า หวาน เค็ม ตั้งจิตไว้ตรงนั้น ตามสถานะการณ์

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2014, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อคืนได้นั่งสมาธิ กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ กำหนดรู้กายไปเรื่อยๆ (มหาภูติ)กำหนดรู้ธาตุไฟก็ได้ กำหนดรู้ธาตุดินก็ได้ แต่ธาตุลมกับธาตุน้ำข์ ความเจ็บปวดเป็นทุกข์ ความเกิดดับของธรรมเป็นทุกข์ หายใจเข้าออกก็เป็นทุกข์ เมื่อยขาแขนก็เป็นทุกข์ นี่แหละครับความทุกข์

ทีนี้ทุกข์เราควรกำหนดรู้ แต่ไม่ใช่ไปยึดถือ เพราะเราต้องหาอุบายสลัดความยึดถือว่าตัวเราตัวเขาออกไป
เมื่อเรากำหนดรู้ที่อุณหภูมิของร่างกาย ไหนล่ะแขนขา ไหนล่ะรูปร่าง เมื่อเรากำหนดรู้อ่อนแข็ง
ไหนล่ะตัวเรา ไหนล่ะรูปร่าง เมื่อเรากำหนดรู้ความเจ็บปวด ไหนล่ะตัวเรา ไหนล่ะรูปร่างที่แท้จริง
เมื่อเรากำหนดรู้ เราย่อมรู้ว่านั่นร้อนเป็นธรรม เย็นเป็นธรรม อ่อนเป็นธรรม แข็งเป็นธรรม
แล้วด้วยการจำแนกธรรมเราย่อมเห็นความเป็นจริงมากขึ้นครับผม

ต่อโอกาสหน้าครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ประสบการณ์ที่จะเล่าต่อไปนี้ ผมเองยังไม่ได้ไปเทียบพระอภิธรรม แต่อยากเสนอความเห็นอันสืบเนื่องจากการปฏิบัติที่ผมลองเสนอผลการปฏิบัติดู

จากที่ช่วงนี้ผมเองนั้นมีการปฏิบัติแนวกำหนดรู้ธาตุทั้ง4คือดินน้ำลมไฟ

จึงพอจะพิจารณาถึงลักษณะปรมัตร์ของธาตุทั้ง4อย่างที่กล่าวมา

ต่อครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 426 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 19, 20, 21, 22, 23, 24, 25 ... 29  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร