วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 20:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2014, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คำเรียก วิปัสสนา-วิปัสสนาญาณ สภาวะ หรือ ลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร

แตกต่างกันตรงไหน สภาวะไหน เป็นตัวชี้วัด หรือเป็นตัวบ่งบอก
ลักษณะของความแตกต่างของสภาวะ ที่เกิดขึ้นทั้งสองคำเรียก

การตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ
แบ่งปันสภาวะ หรือ เรื่องราวของสภาวะที่เกิดขึ้น


ก่อนที่จะรู้ ลักษณะอาการ ที่เกิดขึ้นของ คำเรียกทั้ง ๒ นั้น
มาเริ่มต้น ศึกษาคำเรียกสภาวะนั้นๆ จากพระไตรปิฎก


เริ่มต้นจาก สมถะ-วิปัสสนา

ในอดีต ตามที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก จะมีแต่คำเรียก สมถะ วิปัสสนา ญาณ
ไม่มีคำเรียกว่า วิปัสสนาญาณ

คำเรียก วิปัสสนาญาณ มีปรากฏขึ้นในภายหลัง
ซึ่งมากจาก วิปัสสนา+ญาณ จึงเป็นที่มาของ วิปัสสนาญาณ ที่มีปราฏอยู่ในปัจจุบัน

ถ้าถามว่า แล้วมีปรากฏขึ้นในปัจจุบัน ได้อย่างไร
การอธิบายเรื่อง ที่มาของ คำเรียก วิปัสสนาญาณ จะนำมาอธิบายภายหลัง

หรือหากผู้ใดมี ที่มาของคำเรียก วิปัสสนาญาณ ที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก
ตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ช่วยนำลิงค์มาแบ่งปันกันบ้าง


คำเรียกต่างๆ ไม่ใช่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อ สภาวะที่เกิดขึ้น
สิ่งที่เป็นอุปสรรค ต่อสภาวะที่เกิดขึ้น เกิดจาก

๑. ความยึดมั่นถือมั่นในคำเรียกนั้นๆ
๒. นำไปสร้างเหตุนอกตัว


หากสักแต่ว่ารู้

แม้มีใครมาบอก ก็สักแต่ว่ารู้ว่า อ้อ มันเป็นแบบนั้น แบบนี้
เรียกว่า อย่างนั้น อย่างนี้ แต่ไม่เอามาเป็นอารมณ์

ถ้าเป็นกรณีนี้ ไม่ก่อให้เกิด เป็นอุปสรรค
ต่อการทำความเพียร และ สภาวะที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2014, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ-วิปัสสนา



ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา
ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง
มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ


ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนา อันมีสมถะเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป
เมื่อภิกษุนั้น เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึง โอภาส อันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะ กั้นไว้
สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น
ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น

เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง
พยากรณ์ อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด
หรือด้วยมรรคเหล่านั้น มรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... 9&bookZ=33

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2014, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความรู้สึกตัว

จะรู้การเกิด-ดับ ของสภาวะที่เกิดขึ้น แต่ละขณะ
ขึ้นอยู่กับกำลังของ สมาธิ สติ สัปชัญญะ ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ
การรู้ชัด จะรู้ในแต่ละขณะๆๆๆๆ ของแต่ละสภาวะที่เกิดขึ้น(เกิด-ดับ)

ถ้ากำลังสมาธิ ไม่ล้ำหน้าสติ เป็นเหตุให้ สัมปชัญญะ เกิดขึ้น
เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
เป็นเหตุให้รู้ชัด การเกิด-ดับ ของสภาวะที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะ
ความคิดจะน้อย(จิตคิดพิจรณา)

ถ้ากำลังสติ ล้ำหน้าสมาธิ เป็นเหตุให้ สัมปชัญญะ เกิดขึ้น
เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่

เหตุของ กำลังสติ มีมากกว่า สมาธิที่เกิดขึ้น
เป็นเหตุให้ จิตเกิดการคิดพิจรณา พร้อมทั้ง รู้ชัดอยู่ที่กายด้วย ขณะเป็นสมาธิอยู่


ถ้ากำลังสมาธิ ล้ำหน้าสติ เป็นเหตุให้ สัมปชัญญะ อ่อนกำลังลง
ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ อาจจะจมแช่อยู่กับความนิ่ง หรือ ดับอย่างเดียว
ขาดความรู้ชัด ของสภาวะที่เกิดขึ้น ในแต่ละขณะๆๆๆ


หากมีโอภาส ความสว่าง จะเกิดขึ้นมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับ กำลังสมาธิ ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

หากกำลังสมาธิ ไม่ล้ำหน้าสติ ถึงแม้มีโอภาสเกิดขึ้น
ก็ยังมีจิตคิดพิจรณาเกิดขึ้นได้ และรู้ชัดของการเกิด-ดับ ในสภาวะที่เกิดขึ้น แต่ละขณะ

หากกำลังสมาธิล้ำหน้าสติ จะรู้แค่ว่ามีโอภาสเกิดขึ้น
แต่จะไม่รู้กาย ไม่รู้ชัดในสภาวะอื่นๆ ส่วนจะเกิดขึ้นนานหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกำลังสมาธิ


ไม่ว่าสภาวะใดๆเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิ
จะเกิดการรู้ชัดสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับ กำลังสมาธิ และสติ ที่เกิดขึ้น ขณะนั้นๆ

เรื่องการรู้ชัด สภาวะแต่ละขณะๆๆๆ เห็นการเกิด-ดับ สภาวะที่เกิดขึ้น แต่ละขณะๆๆๆ
เป็นความปกติของ สภาวะ สัมมาสมาธิ (ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่)

คำเรียกต่างๆ ที่ใส่ลงในสภาวะที่เกิดขึ้น
ขึ้นอยู่กับ เหตุปัจจัยที่มีอยู่ และที่ทำให้เกิดขึ้นใหม่

บางคนติดอุปกิเลส จมแช่กับสภาวะนี้อยู่นาน
จนกว่า จิตเกิดการปล่อยวาง ต่อสภาวะที่เกิดขึ้น
หลุดจากคำเรียกตามสมมุติบัญญัติที่มีอยู่ สภาวะจะดำเนินต่อไป ตามเหตุปัจจัย

หากแม้ ใส่คำเรียกต่างๆลงในสภาวะที่เกิดขึ้น(เหตุปัจจัยที่มีอยู่และที่ทำให้เกิดขึ้นใหม่) ด้วยความเคยชิน
แต่ไม่ได้มีความสำคัญหมายมั่นในคำเรียกนั้นๆ กับสภาวะที่เรียกว่านั่น ว่านี่(ไม่นำไปสร้างเหตุนอกตัว และ ไม่ยึดติดกับสภาวะที่เกิดขึ้น)

หากจาก สักแต่ว่า แค่รู้ เป็นเหตุให้

อุปกิเลส

ความชอบใจ(อยากให้เกิด)

ไม่ชอบใจ(ผลักไส/ไม่อยากให้เกิด)

ทั้งสามสภาวะนี้ ย่อมไม่มีเกิดขึ้น


บางคน อาจจมแช่สภาวะนี้ เป็นเวลา นานมาก หรือ น้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับ การสร้างเหตุนอกตัว(ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น)
ที่เกิดจากผัสสะ ในแต่ละขณะๆๆๆๆ ที่เกิดขึ้นด้วย


สรุป การรู้ชัดในสภาวะที่เกิด-ดับ แต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
เป็นความปกติของสภาวะที่เกิดขึ้น เหตุจาก กำลังสมาธิ และ สติ ที่เกิดขึ้น

ไม่ใช่เรื่องผิดวิสัย หรือ มีความวิเศษใดๆ หรือ ได้อะไร เป็นอะไร
คำเรียกต่างๆ เป็นเพียงใช้ ในการสื่อสาร เรื่องราวของสภาวะที่เกิดขึ้น

สิ่งที่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อ สภาวะที่เกิดขึ้น ในการปฏิบัติ(ทำความเพียร)
คือ การสร้างเหตุนอกตัว ที่เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย



เหตุของความเกิดขึ้น

ความยึดมั่นถือมั่น กับสภาวะที่เกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
เป็นเหตุให้ อุปกิเลสเกิด

เช่น โอภาสที่เกิดขึ้น แค่รู้ว่ามี
มีสติรู้อยู่กับสภาวะที่เกิดขึ้น
อุปกิเลส ย่อมไม่เกิด

การสร้างเหตุนอกตัว(ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น) เกิดจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย
เมื่อมีเหตุ ย่อมมีผล(ภพชาติปัจจุบัน ที่เกิดขึ้นใหม่)



เหตุของฝ่ายดับ

ความยึดมั่นถือมั่น มีอยู่
แต่ไม่นำความยึดมั่นถือมั่นนั้น มาเป็นอารมณ์ คือ แค่รู้ว่า มี

เมื่อผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด แค่รู้ว่า มี
ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น

เมื่อไม่มีเหตุ ผลย่อมไม่มี
ที่ยังมีเหตุอยู่ เกิดจาก เหตุปัจจัย ที่ยังมีอยู่
เพียงแค่รู้ สภาวะนั้นๆ หรือสิ่งที่เกิดขึ้น ย่อมดับลงไปตามเหตุปัจจัย




สมาธิ สติ สัปชัญญะ

ทั้ง ๓ สภาวะนี้ เกี่ยวข้อง เนื่องด้วย สมถะ-วิปัสสนา อย่างไร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2014, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น


[๕๓๕] ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ
วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม ที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ


คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย
อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรค
ย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ


คำว่า ย่อมเสพ

ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ดังนี้
ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ


ภิกษุนั้น นึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ เห็นอยู่ชื่อว่าเสพ
พิจารณาอยู่ชื่อว่าเสพ อธิษฐานจิตอยู่ชื่อว่าเสพ น้อมจิตไปด้วยศรัทธาชื่อว่าเสพ
ประคองความเพียรไว้ชื่อว่าเสพ ตั้งสติไว้มั่นชื่อว่าเสพ ตั้งจิตไว้อยู่ชื่อว่าเสพ
ทราบชัดด้วยปัญญาชื่อว่าเสพ รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งอยู่ชื่อว่าเสพ
กำหนดรู้ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ชื่อว่าเสพ ละธรรมที่ควรละชื่อว่าเสพ
เจริญธรรมที่ควรเจริญชื่อว่าเสพ ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ
ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ



คำว่า เจริญ ความว่า เจริญอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่า เจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

คำว่า ทำให้มาก ความว่า ทำให้มากอย่างไร ฯ

ภิกษุนั้นนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก ... ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง
ชื่อว่าทำให้มาก ทำให้มากอย่างนี้ ฯ


คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย ย่อมสิ้นไป อย่างไร ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๓ นี้ คือ สักกายทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อนุสัย ๒ นี้ คือ
ทิฐิอนุสัย วิจิกิจฉาอนุสัย ย่อมสิ้นไปด้วย โสดาปัตติมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนหยาบๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆ ย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค ฯ

ย่อมละสังโยชน์ ๒ นี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ ส่วนละเอียดๆ อนุสัย ๒ นี้ คือ
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆ ย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค ฯ


ย่อมละสังโยชน์ ๕ นี้ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา อนุสัย ๓ นี้ คือ
มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย ย่อมสิ้นไปด้วยอรหัตมรรค
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างนี้ ฯ




[๕๓๖] ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความไม่พยาบาท เป็นสมาธิ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่ง อาโลกสัญญา เป็นสมาธิ ฯลฯ
ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณา เห็นความสละคืนหายใจออก
ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า เป็นสมาธิ

วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ

ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ นี้มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่า ธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ...
ภาวนาด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ฯ

คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคย่อมเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด ... มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเสพ ในคำว่า ภิกษุนั้นย่อมเสพ ฯลฯ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ความว่า ย่อมเสพอย่างไร ฯ

ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเสพ รู้อยู่ชื่อว่าเสพ ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเสพ ย่อมเสพอย่างนี้ ฯ

คำว่า ย่อมเจริญ ความว่า ย่อมเจริญอย่างไร ฯ
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าเจริญ รู้อยู่ชื่อว่าเจริญ ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าเจริญ ย่อมเจริญอย่างนี้ ฯ

คำว่า ทำให้มาก ความว่า ย่อมทำให้มากอย่างไร ฯ
ภิกษุนึกถึงอยู่ชื่อว่าทำให้มาก รู้อยู่ชื่อว่าทำให้มาก ฯลฯ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งชื่อว่าทำให้มาก ย่อมทำให้มากอย่างนี้ ฯ

คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร ... ฯ



http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... 9&bookZ=33



หมายเหตุ:

"ภาวนา ในคำว่า ภาเวติ มี ๔ คือ
ภาวนาด้วยอรรถว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าอินทรีย์ทั้งหลาย มีกิจเป็นอันเดียวกัน ๑
ด้วยอรรถว่านำไปซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ธรรม ที่ไม่ล่วงเกินกัน ๑
ด้วยอรรถว่าเป็นที่เสพ ๑ ฯ


สภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในเฉพาะ สัมมาสมาธิ คือ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
เกิดจาก การปรับอินทรีย์ ทำให้ กำลังสมาธิ ที่เกิดขึ้น ไม่ล้ำหน้ามากเกินสติ
เป็นเหตุ สัมปชัญญะ เกิดขึ้น เป็นเหตุให้ เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่


สภาวะที่เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย


"คำว่า มรรคย่อมเกิด ความว่า มรรคเกิดอย่างไร ฯ

สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาสังกัปปะด้วย
อรรถว่าดำริ เป็นมรรคย่อมเกิด สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด เป็นมรรค
ย่อมเกิด สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าผ่องแผ้ว เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น เป็นมรรคย่อมเกิด
สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นมรรคย่อมเกิด มรรคย่อมเกิดอย่างนี้ ฯ"



เมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
มีสติรู้อยู่กับสภาวะที่เกิดขึ้น(แค่รู้ ตามความเป็นจริง ของสภาวะที่เกิดขึ้น)

แล้วสภาวะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

"วิปัสสนาด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็นธรรมที่เกิดในสมาธินั้น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา

ด้วยประการดังนี้ สมถะจึงมีก่อน วิปัสสนามีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น ฯ"



ทำความเพียรต่อเนื่อง
กระทำแบบนี้เนืองๆ เมื่อมีสภาวะใดเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
สภาวะที่เกิดขึ้น ไม่มีคำเรียก ถึงแม้ไม่ใส่คำเรียกลงไป
หรือถึงแม้มีการคิดพิจรณว่า สภาวะที่เกิดขึ้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา


คือ ไม่ว่าจะมีการคิดพิจรณา หรือไม่มีการคิดพิจรณา แค่รู้ แค่ดู ตามความเป็นจริง

สภาวะที่เรียกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ย่อมเกิดขึ้นเอง(ตามความเป็นจริง) ตามเหตุปัจจัย
รวมทั้ง อุเบกขา ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
เป็นเหตุให้ เกิดความรู้ชัดในสภาวะ แต่ละขณะ ที่เกิดขึ้น ที่นิยมเรียกว่า เกิด-ดับ

สภาวะทั้งหมดนี้ ย่อมมีเกิดขึ้น เป็นปกติอยู่แล้ว ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่
และมีความรู้สึกตัว ทั่วพร้อม




เมื่อทำความเพียรต่อเนื่อง ถึงเวลาเหตุปัจจัยพร้อม
สภาวะที่เรียกว่า สมุจเฉทประหาน(ต้องตาย)
ซึ่งมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โคตรภูญาณ

สภาวะนี้ จะเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย
ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้

และหาก ขณะที่เกิดสภาวะนี้ แต่มีกิเลสเกิดแทรก(จิตใต้สำนึก)
สภาวะที่เกิดขึ้น จะดับหายไป และกลับมารู้อยู่ที่กายทันที



"คำว่า เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป
ความว่า ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อย่างไร ... ฯ"






ยกตัวอย่างมาให้เห็น เป็นรูปธรรม

ให้ฟังที่ท่านเล่าเรื่อง ความตาย อย่าสนใจเรื่องคำเรียกต่างๆ


http://www.youtube.com/watch?v=rh9eSYmX ... EA&index=6


สภาวะหลวงพ่อเยื้อน สภาวะของท่าน สักแต่ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้น ก็สักแต่ว่าผัสสะ
เกิดจากกำลังสมาธิที่มีมาก หลังจากผ่านสภาวะความตายมา กำลังสมาธิของท่านไม่เสื่อม
ท่านจึงสอนผู้อื่น ให้รู้ชัดในสภาวะอื่นๆได้ยาก ท่านสอนได้แค่แบบ ที่ท่านได้พบประสบมา
ฟังท่านเล่าเรื่อง สภาวะการปฏิบัติของท่านให้เยอะๆนะ เพราะผู้ที่มีจิตเข้าสู่โลกุตรธรรม(ตามคำเรียก)
ทุกคนต้องเจอสภาวะความตาย และสภาวะหลังผ่านความตายมา ต้องเจอเหมือนกับท่านทุกคน

ที่ไม่เจอกัน เพราะ ไปติดกับอุปกิเลส เหตุจาก สิ่งที่เกิดขึ้นในสมาธิ
เลยทำให้คิดว่า ได้อะไร เป็นอะไร

คนที่ผ่านได้ จะไม่ติดกับดักตรงนั้น แต่เขาจะรู้เหมือนกันหมด คือ
อาการใกล้ตาย ขณะตาย ขณะที่จิตออกจากร่าง มีอาการเป็นอย่างไร และไปที่ไหน
จะรู้ตรงนี้เหมือนกันหมด



ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ส่วนว่า อายตนะอีก ๒ ประการ กล่าวคือ
เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งอาศัยสัญญาสมาบัติ เหล่านั้น

นั้นเรากล่าวว่า เป็นสิ่งที่ฌายีภิกษุผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ
จะพึงเข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติ

แล้วกล่าวว่าเป็นอะไรได้เอง โดยชอบ ดังนี้.
นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 17:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มิ.ย. 2014, 20:13
โพสต์: 709

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๔ รู้ ที่ควรรู้


๑. รู้ตัว

๒. รู้สึกตัว

๓. รู้ชัด

๔. รู้สึกตัวทั่วพร้อม



รู้ตัว

รู้ตัว ได้แก่ ความรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำกิจใดๆก็ตาม



เปรียบเทียบกับปริยัติ

สติ ได้แก่ ความระลึกรู้

ระลึก ได้แก่ การหวนคิด

เช่น ก่อนจะลงมือกระทำสิ่งใดๆก็ตาม
การมีสติ คือ การหวนคิด ได้แก่ คิดพิจรณาก่อนที่จะลงมือกระทำในสิ่งนั้นๆ

ระลึก ( หวนคิด ) +รู้ = ระลึกรู้ ได้แก่ ความรู้ตัวก่อนที่จะลงมือกระทำ




รู้สึกตัว

รู้สึกตัว ได้แก่ ความรู้สึกตัวขณะที่กำลังทำกิจนั้นๆอยู่



เปรียบเทียบทางปริยัติ

สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัว ไม่หลงลืม รู้สึกตัวอยู่เสมอทุกขณะจิตว่า กำลังทำอะไรอยู่

ที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน คือ กิจที่กำลังทำอยู่ รู้ลงไปในสิ่งที่กำลังทำ ไม่ส่งใจไปในอดีตหรืออนาคต




รู้ชัด

รู้ชัด ได้แก่ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

การรู้ชัด เป็นการทำงานของสติกับสัมปชัญญะ เป็นเหตุให้มีสมาธิเกิดร่วม

การทำงานร่วมกันของสติกับสัมปชัญญะ สภาวะคือ
การเอาจิตจดจ่อรู้อยู่ในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

การกระทำเช่นนี้เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ
เมื่อมีสมาธิเกิด จึงเป็นเหตุให้เกิดความรู้ชัดในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

ทั้งหมดนี้เป็นผลของการเกิดสภาวะสัมมาสติ คือ
มีความรู้ตัว,รู้สึกตัว,รู้ชัดในกิจที่กำลังทำอยู่





รู้สึกตัวทั่วพร้อม

เปรียบเทียบทางปริยัติ ได้แก่ สัมมาสมาธิ

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น คือ ขณะที่จิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ชัดอยู่ภายในใกาย,เวทนา,จิต,ธรรม

เรียกสั้นๆว่า รูปกับนาม เช่น รู้ลมหายใจเข้า-ออก ,ท้องพองยุบ,เสียงชีพจรเต้น,อาการสั่นหรือการเต้นของหัวใจ

เสียงการทำงานการสูบฉีดของโลหิต,ความรู้สึก,นึกคิดต่างๆ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะรู้ได้หมดในขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิ เกิดพร้อมกันแต่รู้คนละขณะ
เพียงแต่จะมีสติรู้ทันในสภาวะต่างๆขณะที่กำลังเกิดขึ้นหรือเปล่า

สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่มีความรู้สึกตัวเกิดขึ้นร่วม ขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิอยู่

มิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิขาดความรู้สึกตัว ขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิอยู่



หลักของการปฏิบัติ

๑. ตรวจสอบสภาวะของสมาธิที่มีอยู่ก่อนว่า มีมากน้อยแค่ไหน

๑.๑ สัปปายะสัมปชัญญะ ได้แก่ การกำหนดรู้สิ่งที่เป็นสัปปายะ
คือ สิ่งที่ทำให้กรรมฐานดำเนินไปโดยสะดวก

๑.๒ โคจรสัมปชัญญะ ได้แก่ กำหนดรู้อารมณ์กรรมฐานและสถานที่จะทำกรรมฐาน

๒. การปรับอินทรีย์ เพื่อทำให้สติกับสมาธิเกิดความสมดุลย์




วิธีการปรับอินทรีย์

เดินก่อนที่จะนั่ง โดยดูจากการนั่งสมาธิ ว่า ขณะที่จิตกำลังเป็นสมาธิสามารถรู้ชัดที่กาย
ตลอดจนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในกาย แม้กระทั่งความรู้สึก ความคิด สามารถรู้ชัดได้หรือไม่

หากไม่สามารถรู้ชัดในสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ ให้เดินก่อนนั่ง เริ่มจากใช้เวลาเดินกับนั่งเท่ากันก่อน แล้วสังเกตุดูเวลาที่จิตเป็นสมาธิ สามารถรู้ชัดในกายและจิตได้หรือยัง

หากยัง ให้เพิ่มเวลาเดินมากกว่านั่ง หรือไม่ก็ลดเวลานั่งให้น้อยลงกว่าเดิน จนกว่าจะสามารถรู้ชัดอยู่ในกายและจิตได้ขณะที่จิตเป็นสมาธิ



สภาวะหลักที่สำคัญที่สุด คือ
เน้นให้เดินก่อนที่จะนั่ง เพื่อใช้ในการปรับอินทรีย์ให้สมดุลย์ ( สติกับสมาธิ )

ส่วนอิริยาบทย่อยอื่นๆ สามารถนำมาพลิกแพลงผสมผสานระหว่างอยู่ในอิริยาบทเดิน
เพื่อให้เกิดสภาวะอินทรีย์สมดุย์ได้


ในอิริยาบทเดินกับยืน

สามารถทำงานบ้าน,office ,ทำความสะอาดต่างๆ,เย็บผ้า,ดูหนัง,ฟังเพลง,เล่นเกมส์ฯลฯ
เรียกว่าไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะไหนๆ อิริยาบทไหนๆ สามารถนำมาผสมผสานในอิริยาบทเดินกับยืน
ทำให้เกิดอินทรีย์สมดุลย์ได้

และที่สำคัญที่สุด ก่อนที่จะนั่ง ให้เดินก่อน แล้วยืนสำรวมจิตทุกครั้ง ก่อนที่จะนั่ง

การยืนสำรวมจิต คือ ยืนให้รู้ว่ายืน รู้ว่าหายใจเข้า รู้ว่าหายใจออก รู้ไปตามนั้น
ส่วนจะใช้คำบริกรรมภาวนาหรือไม่ แล้วแต่จะถนัด คือ ใช้ก็ได้ ไม่ใช้ก็ได้

ส่วนจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน นำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้
เพราะทุกสิ่งล้วนมีเหตุปัจจัยที่ทำของแต่ละคนมาเป็นองค์ประกอบ
บางคนต้องใช้การกำหนดเข้าช่วย บางคนแค่รู้ตามความเป็นจริงของสภาวะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะ


สิ่งที่ควรรู้ ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ของคำ ที่เรียกว่า สภาวะ

คำว่า สภาวะ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ประจำวัน ในแต่ละขณะ

ไม่ว่าสิ่งนั้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หรือ ไม่มีความรู้สึกนึกคิด เกิดขึ้น ก็ตาม

ตั้งแต่ลืมตาตื่น จนกระทั่งหลับ ขณะที่กำลังหลับ

และที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตเป็นสมาธิอยู่


สิ่งที่เรียกว่า สภาวะ เป็นลักษณะอาการที่เกิดขึ้น
ที่มีสภาพธรรมตามความเป็นจริง ของสิ่ง ที่เรียกว่า ผัสสะ

ตามคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้
เป็นร่องรอย ซึ่งมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก จนถึงปัจจุบันนี้


การเริ่มต้นแกะรอย ตามคำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเริ่มต้นจาก ผัสสะ

เนื่องจาก ผัสสะ เป็นจุดเริ่มต้น
ของการสร้างเหตุแห่งภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้น

และผลของการสร้างเหตุภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้น
เป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดการเวียนว่าย ในสังสารวัฏฏ์

หากจะแก้ ให้แก้ที่ต้นเหตุ คือ แก้ที่ปัจจุบัน(ธรรมปัจจุบัน ได้แก่ ผัสสะ)

ได้แก่ การดับเหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิด การสร้างเหตุภพชาติปัจจุบัน ให้เกิดขึ้น กล่าวคือ

การไม่สร้างเหตุออกไป(วจีกรรม กายกรรม) ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น จาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย

มโนกรรม(ความรู้สึกนึกคิด) เป็นเรื่องของเหตุปัจจัยที่มีอยู่(สังโยชน์) ห้ามไม่ได้

แค่รู้ว่า มีอยู่วจีกรรม กายกรรม สามารถห้ามได้ หากรู้ชัด ในผัสสะที่เกิดขึ้น


ฉะนั้น จึงควรเริ่มต้นศึกษาที่ ผัสสะ ว่า

เพราะอะไร เป็นเหตุปัจจัย เมื่อมีผัสสะเกิด

ทำไม สิ่งที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด และ ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

ทั้งที่บางครั้ง สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งเดียวกันแท้ๆ แค่มีเกิดขึ้นคนละขณะ



การเริ่มต้นศึกษา ควรเริ่มต้นจาก คำสอนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทิ้งเป็นแนวทางไว้ให้

เกี่ยวกับว่าด้วย ผัสสะ และอุบาย ที่ใช้เป็นเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสะ ที่เกิดขึ้น

การกระทำ เพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ และกระทำเพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์
จึงเริ่มต้นที่ ผัสสะ




ผัสสายตนสูตรที่ ๓


[๘๗] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง ผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง

พรหมจรรย์อันเธอไม่อยู่จบแล้ว เธอเป็นผู้ไกล จากธรรมวินัยนี้



เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นผู้ฉิบหายแล้วในธรรมวินัยนี้
เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบชัดความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ฯ

พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือ ไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ

ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ

ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้

ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในหู แม้ในจมูก แม้ในลิ้น แม้ในกาย แม้ในใจ

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุแห่งทิฏฐิ ๖

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งทิฏฐิ ๖ ประการเหล่านี้.
๖ ประการ เป็นไฉน?

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่น เป็นอัตตาของเรา
ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั้น นั่นเป็นอัตตาของเรา
ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา
ย่อมพิจารณา เห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั้นเป็นอัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตาในปรโลก เรานั่นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็น พระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ เห็น สัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมพิจารณา เห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา
ย่อมพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้ว แล้วด้วยใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

ย่อมพิจารณาเห็นเหตุ แห่งทิฏฐิว่า นั่นโลก นั่นตน ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา

พระอริยสาวกนั้นพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง ในเพราะสิ่งที่ไม่ มีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
หน้าที่ ๑๘๙

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร