วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 01:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 46, 47, 48, 49, 50, 51, 52 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 30 ธ.ค. 2013, 13:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป็นจริงของรูปนามที่แสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผล ในแต่ละระดับ ซึ่งอาจจำแนกได้ 2 ระดับคือ

1.ภายนอกสู่ภายใน คือการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกายเกิดการปรุงแต่งของใจเก็บสะสมเป็นภพที่วิญญาณธาตุ เป็นปรากฏการณ์ในการดำเนินอริยาบทของชีวิตประจำวัน การปฏิบัติวิปัสสนาโดยตามสังเกตรู้การปรุงแต่งของใจซึ่งเป็นผลจากการกระทบของอายตนะภายนอก เป็นการปฏิบัคิที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นการป้องกันกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่
2.ภายในสู่ภายใน คือการรู้สภาวะภายในกาย(ผล) เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง ตึง เหนื่อย อึดอัด แล้วสังเกตอารมณ์ความพอใจไม่พอใจ (เหตุ)และลึกกว่านั้นคืออารมณ์ที่บันทึกหลายๆครั้งจะเกิดเป็นแรงะสมที่กลางอกที่อาจเรียกว่าหนักอกหรือที่เกิดที่หัวใจคือความรู้สึกแน่นๆ ทึบๆที่เรียกว่าหนักใจ(สายโซ่ของเหตุสู่ผล) เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาในอิริยาบถนั่งสมาธิ เป็นการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นการละกรรมเก่าที่ทำแล้วสลัดคืนออกมาจากกายใจนี้

ผลการกระทำทั้ง 2 ข้อ จะเกิดผลเป็นข้อ 3 คือการทำใจให้ขาวรอบหรือการเกิดใจที่สะอาด สงบ สว่างเพื่อเตรียมรองรับอริยมรรค อริยผล


โพสต์ เมื่อ: 31 ธ.ค. 2013, 20:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ความเป็นจริงของรูปนามที่แสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผลดังที่กล่าวมาเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวทางของสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของบุคคลทั่วไป แต่ยังมีอีกแนวทางหนึ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้สำหรับผู้บำเพ็ญเพียรด้วยตบะอันยิ่ง ด้วยการทรมานตนของปัญจวัคคีย์ เป็นเหตุให้ท่านเหล่านั้นมีความเพียร สมาธิมากและก่อให้เกิดการยึดถือ พระพุทธองค์จึงมอบคำสอนที่เหมาะกับอุปนิสัย เพื่อให้ปล่อยวางการรู้ โดยกล่าวว่าภิกษุไม่ควรสุดโต่ง 2 ส่วนทั้งกามสุขขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค จุดมุ่งหมายที่พระพุทธองค์กล่าวก็เพื่อให้ปัญจวัคคีย์ละการทรมานตนให้หันมาสู่ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) จึงเป็นหลักที่ทำให้ใจตั้งอยู่บนฐานความเป็นธรรมชาตินั่นเอง

ดังนั้นการปฏิบัติวิปัสสนา จึงจำแนกได้ 2 แนวทาง คือสติปัฏฐาน 4 และการไม่สุดโต่ง 2 ส่วน เปรียบเสมือนเหรียญ 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือสติปัฏฐาน 4 และอีกด้านคือการไม่สุดโต่ง 2 ส่วน ทั้ง 2 แนวทางใช้หลักการเหมือนกัน คือ การรู้ความเป็นจริงของรูปนามที่แสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผล ซึ่งแนวทางของสติปัฏฐาน 4 ได้กล่าวมาแล้ว แต่สำหรับการไม่สุดโต่ง 2 ส่วน นั้นมีแนวทางปฏิบัติ คือ

ขณะที่โยคีได้รู้ความรู้สึกของสภาวะชองกาย ที่ร้อน เย็น อ่อน แข็ง ตึง มึน เหนื่อย อึดอัด ขณะนั้นอาจสังเกตพบว่ามีอารมณ์ความพอใจไม่พอใจ ให้นำตัวรู้มาวางไว้ระหว่างความรู้สึกทั้ง 2 เช่น สมมุติ รู้สึกมึนที่ศีรษะ ขณะเดียวกันรู้สึกปวดทัองด้วย ให้เริ่มต้นโดยไปรู้ที่ความรู้สึกมึน 3- 4 วินาที ค่อยๆเคลื่อนไปรู้ที่ความรู้สึกปวดทัอง 3-4 วินาที แล้วนำความรู้สึกรู้มาวางไว้ระหว่างความรู้สึกมึนที่ศีรษะกับรู้สึกปวดทัอง วางเบาๆ(อย่าใส่เจตนามาก)ระหว่างกลางแล้วปล่อยวาง การวางไม่อิงระยะทาง (แค่วางระหว่างก็พอ) จะพบว่า เกิดการวาบดับลงทั้งการมึนและการปวด ถ้ายังมีปรากฏการณ์ที่เป็นภาวะคู่อื่นๆ อีกก็ทำเช่นเดียวกัน ลองปฏิบัติด้วยวิธีนี้ท่านจะพบอีกแนวทางปฏิบัติที่ไม่ค่อยมีใครกล่าวถึง


โพสต์ เมื่อ: 01 ม.ค. 2014, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




mountain top.jpg
mountain top.jpg [ 135.42 KiB | เปิดดู 3791 ครั้ง ]
.
โพสต์ เมื่อ: 01 ม.ค. 2014, 20:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


“สิ่งนั้น”
โอ้ สิ่งนี้ช่างประเสริฐจริงหนอ
ไม่มีจุดเริ่มต้นหรือแตกแยก
นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ
ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยกาละเวลา
ไม่มีใครหรือธรรมชาติอันใด
ที่จะเข้าไปเกี่ยวและยึดถือ
ช่างไม่รู้จะสรรหาสิ่งใดเข้าไปเปรียบเทียบ
ทั้งไม่สามารถบรรยายเป็นภาษาพูดได้
ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
แม้กาละเวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป
ตราบนาน เท่านาน แสนนาน
ทว่าสิ่งนี้ก็หาได้แปรเปลี่ยนไปตามไม่
ไม่มีใครที่จะอาจเอื้อมเข้าไปแตะต้องได้แม้แต่น้อย
ถึงขุนเขาจะละลาย แม่น้ำจะเหือดแห้งไป
แต่สิ่งนี้ก็ยังคงดำรงสภาพของมันอยู่
คงฟ้า คงดิน คงจักรวาล
ไม่มีใครจะร้องเรียกหรือตั้งชื่อมันได้
ไม่มีคนที่จะเข้าไปรู้เห็นมัน
ไม่อาจที่จะเข้าไปยึดถือว่าเป็นของคนนั้นคนนี้
โธ่ช่างวิเศษอะไรเช่นนี้
ถึงแม้กฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติจะไหลเรื่อยไป
ทุกขณะของกงล้อแห่งกาละ
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลาย
อยู่แล้วๆ เล่าๆ
แต่สิ่งนี้ก็ยังคงสภาพเดิมของมัน
ช่างไม่รู้ร้อน รู้หนาว รู้เปลี่ยนแปลงจริง
ฉันไม่รู้จะร้องเรียกสิ่งนั้นว่าอย่างไร
เพราะมันมิได้อยู่ใต้กฎแห่งธรรมชาติและสมมุติบัญญัติ
หรือกฎเกณฑ์ขอบข่ายของอะไรทั้งสิ้นในอนันตจักรวาลนี้

รัตน์ รตนญาโณ
๑ กันยายน ๒๕๑๕

คงฟ้าคงดิน
ความเห็นต่าง เรากับเขา ล้วนมีเหตุ
เกิดจากเจต จำนง อดีตสมัย
ถึงอยากเปลี่ยน ห้ามการเกิด แล้วเป็นไง
กรรมสร้างไว้ หมุนตามส่ง คงจักรวาล
suttiyan


โพสต์ เมื่อ: 04 ม.ค. 2014, 09:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


หากรู้เท่าทันสภาวะกายใจ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสภาวธรรม หรือการเกิดดับ 1 ครั้ง เป็นการดับเหตุและผลทุกข์ เมื่อเจตนาที่จะทำกรรมดับลง การสร้างกรรมจึงไม่เกิดขึ้น และเมื่อไม่ก่อกรรมใหม่ กรรมเก่าจึงคลายตัวออกมาโดยในส่วนของนาม (ตัณหาและโทสะ)อารมณ์ต่างๆ จะคลายตัวจากเบื้องลึกสู่พื้นผิวของจิต จึงทำให้เกิดการกระวนกระวาย อึดอัด สำหรับในส่วนของรูป(อาสวะ)จะมีการขับออกของสารอินทรีย์เคมีจากไขกระดูกสู่เนื้อเยื่อและผิวหนัง ทำให้เกิดความเจ็บ ร้อน เหมือนมดกัด หรือเข็มแทง เมื่อของเสียทั้งส่วนของรูปและนาม ซึ่งเป็นของร้อนได้ถูกขับออกมา แล้ว ณ ที่แห่งเดียวกันเมื่อความร้อนลดลง รูปและนามนี้ จึงเข้าสู่ความสงบเย็น


โพสต์ เมื่อ: 05 ม.ค. 2014, 18:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะญาณ 16 คือความจริงของระบบการทำงานของร่างกายและจิตใจตั้งแต่เริ่มปฏิบัติจนลุถึงมรรคผล นิพพาน แบ่งได้ 3 ช่วง ที่เป็นขั้นโลกียะ(ไตรลักษณะ)คือ ญาณที่1- 11 และ 1 ช่วง โลกุตระ ญาณที่ 12-16

1.นามรูปปริเฉทญาณ เป็นจุดเริ่มต้นของผู้ปฏิบัติที่ต้องแยกรูปแยกนามคือการแยกสิ่งรู้กับสิ่งถูกรู้
1.1 สิ่งรู้ หรือตัวรู้ เป็นส่วนของนาม ลักษณะคือการรู้สภาพธรรมต่างๆของรูปและนาม(สิ่งถูกรู้) โดยตัวรู้ที่จะนำไปรู้สิ่งที่ถูกรู้ จะต้องเป็นตัวรู้ที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งก็คือ ตัวรู้ที่ไปรู้ความรู้สึกที่ตั้งฐานการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นไปตามการสัมผัสรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ จะพบว่า จิตจะเคลื่อนไปตามจุดสัมผัสตลอดเวลา และจะเกิดความรู้สึกอารมณ์ต่างๆเกิดต่อจากการกระทบ ณ จุดสัมผัสนั้นๆ จะสังเกตว่าตัวรู้จะยังไม่เกิดขึ้น ขณะเกิดอารมณ์จากการสัมผัส แต่จะเกิดหลังจากมีสติ(ระลึกได้) ตัวรู้จึงเป็นตัวรู้จากสติ หากเราจะตั้งตัวรู้เพื่อจะรู้ ตัวรู้นี้จะไม่เป็นธรรมชาติ เป็นตัวรู้ที่เจตนาจะรู้ จะเป็นตัวรู้ที่สะกดการรู้ เพราะขณะนั้น(ปัจจุบัน)คุณมีความอยากรู้แฝงอยู่คุณยังไม่รู้ตนเอง คุณจึงรู้อารมณ์ที่เป็นอดีต ณจุดที่เพ่งรู้อยู่ร่ำไป
1.2 สิ่งที่ถูกรู้ จำแนกได้ 2 ประเภท คือสิ่งที่ถูกรู้ ที่เป็นรูปและนาม สิ่งถูกรู้ที่เป็นนาม กล่าวคือ ขณะที่มีการสัมผัสรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ จะพบว่า จิตจะเคลื่อนไปตามจุดสัมผัสตลอดเวลา และจะเกิดความรู้สึกอารมณ์ต่างๆเกิดต่อจากการกระทบ ณ จุดสัมผัสนั้นๆ เมื่อมีสติระลึกรู้จะพบความจริงของอารมณ์เปลี่ยนไปหรือดับลง ณ จุดดับลงจะพบมีตัวรู้ใหม่เกิดขึ้นเป็นตัวรู้ ที่สะอาด สว่าง สงบ ชั่วขณะ ตัวรู้นี้ ที่เรียกว่า สัมปชัญญะ จึงกล่าวได้ว่าสติเป็นเหตุ สัมปชัญญะเป็นผล หากเจริญสติต่อเนื่อง จะทำให้เกิดสัมปชัญญะที่เชื่อมต่อกัน สัมปชัญญะนี้เป็นตัวปัญญา ที่จะหยั่งรู้ลงสู่กายใจในระดับลึก สำหรับสิ่งที่ถูกรู้ที่เป็นรูป เช่น การรู้การเคลื่อนไหวของกายภายนอก หรือกายภายใน หลักสำคัญคือการรู้เป็นการตามรู้ความรู้สึกของการเคลื่อนไหว ไม่ใช่การรู้ที่เป็นรูปกายเคลื่อนไหว และที่สำคัญคือไม่ใข่การสะกดรู้ที่การเคลื่อนไหว แต่เป็นการสังเกตว่าเมื่อตามรู้ความรู้สึกของการเคลื่อนไหวแล้ว หากเกิดปรากฏการณ์อะไรเกิด ขึ้นขณะนั้น ให้หยุดการรู้การเคลื่อนไหวทางกายแล้วเปลี่ยนมารู้สิ่งที่เกิดขึ้น การรู้จึงจะเป็นการรู้ตามความเป็นจริงที่ถูกตามหลักที่พระพุทธองค์ได้กล่าวไว้


โพสต์ เมื่อ: 09 ม.ค. 2014, 20:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


หากเราได้สังเกตความเป็นไปของธรรมชาติ เราจะพบความเป็นของคู่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันที่ตรงข้ามได้แก่ ขาว-ดำ ดี-ชั่ว หรือกฎของหยิน-หยาง และหากมองภาพกว้างไปที่จุดกำเนิดของจักรวาล เช่น จักรวาลของรูป หรือสรรพสิ่งต่างๆในสุริยจักรวาล อาจมีสมมุติฐานมีจุดเริ่มมาจากความนิ่ง และความไหวของรูป ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดการการใหลวน เปลี่ยนแปลง การควบรวม จนก่อให้เกิดสรรพสิ่งต่างๆ ในอีกฟากฝั่งหนึ่งคือจักรวาลของนาม เมื่ออารมณ์ต่างๆได้จางคลาย ต่อมาธรรมารมณ์ได้คลายไป แล้วเข้าสู่สมาธิระดับต่างๆ จนถึงจุดกำเนิดคือ สมาธิระดับอรูปฌาน ก็จะพบภาวะความไหว และความนิ่ง ที่สุดของการไหว คือความนิ่ง และที่สุดของความนิ่ง คือความไหว สรุปความสัมพันธ์ของของคู่ก็คือการเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน พระนิพพานเป็นภาวะที่สละการติดยึดในความสัมพันธ์ของภาวะของคู่


โพสต์ เมื่อ: 11 ม.ค. 2014, 20:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัยปริคคหญาณ (ญาณที่ 2) คือปัญญากำหนดรู้ทั้งในนามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย โดยบางครั้งนามเป็นเหตุ รูปเป็นผล หรือรูปเป็นเหตุนามเป็นผล แต่ที่เราสัมผัสรู้อาจแตกต่างออกไป อาจรู้เพียงการสัมผัสของรูปสู่การกระทำของรูป เช่น เมื่อไปห้างซื้อของ ตาเห็นสิ่งของที่ชอบ ก็เดินไปเข้าไปหยิบดู ซึ่งเราอาจไม่ทันสังเกตรู้ถึงความรู้สึกอยากได้ เรื่องของนามจึงเป็นเรื่องละเอียด เห็นได้ยาก พระพุทธองค์จึงได้เรียงลำดับความละเอียดของนามตามสติ ปัญญาที่รู้ คือ เวทนา จิต และธรรม

จึงสรุปได้ว่า
ทุกผัสสะที่กระทบต่อรูปทุกขณะ ย่อมส่งผลต่อนาม
ทุกผัสสะที่กระทบต่อนามทุกขณะ ย่อมส่งผลต่อรูป
ทุกความรู้สึกสัมผัสจะสร้างกระแสปฏิกิริยาเคมีในร่างกายทุกขณะ
และสร้างแรงร้อยรัดปกคลุมบีบเค้นเป็นรอบๆที่มโน ที่หัวใจและกลางหน้าอก
สภาวธรรมหรือ ปรากฏการณ์นี้ จะรู้หรือไม่ก็ตาม ก็เป็นสัจจะที่ยังดำเนินต่อไป


โพสต์ เมื่อ: 15 ม.ค. 2014, 11:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การเข้าถืงทั้งนามรูปปริเฉทญาณและปัจจยปริคหญาณนี้เป็นความรู้ที่เป็นตัวชี้วัดว่าผู้ปฏิบัติมีสัมมาทิฐิแล้วแต่เป็นความเห็นถูกในเบื้องต้นโดยทั้ง 2 ญาณนี้จะเป็นเหตุ ญาณที่เหลือ 3-16จะเป็นผลตามมา ดังนั้นหากความเข้าใจในแนวทางปฏิบัติในญาณทั้ง 2 ไม่เคลียร์จะทำให้การปฏิบัติล่าช้า


โพสต์ เมื่อ: 17 ม.ค. 2014, 18:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


มีความจำเป็นที่ต้องรู้เรื่องของญาณ 16 หรือไม่ สำหรับคำตอบจะมีทั้งที่ตอบว่าจำเป็น และไม่จำเป็น ซึ่งคำตอบถูกทั้งคู่ ที่ตอบว่าไม่จำเป็นนั้นถูกกรณีที่ผู้ปฏิบัติมีสภาวธรรมอะไรเกิดขึ้นก็กำหนดรู้ ทำไปเรื่อยๆก็จะถึงมรรคผลนิพพานในวันใดวันหนึ่งแน่นอน แต่สำหรับผู้ปฏิบัติวิปัสสนาการเดินบนเส้นทางนี้จะพบสภาวธรรมต่างๆ ที่บางอาการแยกไม่ออกระหว่างอาการที่เกิดในใช้ชีวิตปกติ กับสภาวญาณ

ต่อไปนี้คืออาการที่เกิดกับข้าพเจ้าเมื่อครั้งเริ่มปฏิบัติธรรมใหม่ๆ ซึ่งในการปฏิบัติต้องรักษาศีล 8 ข้าพเจ้ามีความตั้งใจมาก โดยไม่รู้ว่าตัวเองเครียด เมื่อปฏิบัติไปได้5-6 วัน เริ่มคลื่นใส้ จะอาเจียน เป็นทุกวันแต่จะเป็นช่วงเวลาบ่าย 3-4 โมงเย็น ทีแรกก็นึกว่าเป็นวิปัสสนาญาณ แต่ก็แปลกใจทำไมต้องเกิดช่วงเย็น ต่อมาอาการคลื่นเหียน อาเจียนหายไป รู้ไหมครับว่าทำไมถึงหาย ผมออกไปหาอะไรกินในตอนเย็นอาการต่างๆก็หายไป ปฏิบัติได้ดีขึ้น

อีกกรณีคือในการปฏิบัติ เมื่อผ่านการเกิดดับไปได้ระยะหนึ่ง( อุทพยญาณและภังคญาณ) ก็จะเข้าสู่ญาณที่เป็นทุกขังในญาณนี้จะมีสภาวธรรมหนึ่งที่อะดีนารีนคลายออกจากไขสันหลัง กล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการปวดร้าว เป็นไข้ตัวร้อน หากไม่เข้าใจก็จะไปกินยาแก้ไข้ ก็จะพลาดโอกาสดีไป แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นสภาวญาณ หรือเป็นไข้จริง ตรงนี้แหละความรู้ทางบัญญัติ จะมีส่วนช่วยในการพิจารณา รวมถึงผู้ปฏิบัติที่ผ่านสภาวธรรมนี้มาก่อน จะช่วยแนะนำ ตรงนึ้เองที่ต้องมีองค์ความรู้ต่างๆนำมาประมวลสถานการณ์


โพสต์ เมื่อ: 20 ม.ค. 2014, 09:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ม.ค. 2014, 08:17
โพสต์: 73

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ.. คุณสุทธิญาณ
มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลังจากปฏิบัติไปได้สักพักหนึ่ง
ก็มีอาการป่วย คือเป็นไข้ ตัวร้อนขึ้นมาเฉยๆ ปวดตามร่างกาย
โดยที่ไม่ได้มีทีท่าว่าจะป่วยมาก่อน

สิ่งที่ทำตอนนั้นคือ ไม่ทานยา
นอนดูร่างกายที่ป่วยนั้น จิตแยกต่างหาก กายก็เป็นไข้ตัวร้อนไป
ร่างกายร้อนมาก จนน้ำตาไหลออกมา ไหลเอง โดยไม่ได้มีความรู้สึกทุกข์อะไรในใจ
แต่พอดึกๆ อาการเป็นไข้ตัวร้อนก็หายไปเอง
เช้าวันรุ่งก็ปกติเหมือนเดิม


โพสต์ เมื่อ: 22 ม.ค. 2014, 19:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมสนญาณ(ญาณที่ 3)คือการรู้สภาวธรรมของรูปนามถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นผลจากการเข้าใจวิธีปฏิบัติในญาณที่1และญาณที่ 2 สำหรับการรู้ความจริงคืออะไร เกิดได้เพราะเหตุใด

ปกติการที่อายตนะภายนอกรับผัสสะ จิตที่ยังมีกิเลสอยู่(เหตุ)จะมีการปรุงแต่งตลอดเวลา ก่อให้เกิดการกระทำทางใจ(เจตนา)หรือแรง(นาม)เข้าครอบงำรายล้อมจิต อยู่ตลอดเวลา ซึ่งศูนย์กลางรองของจิตจะอยู่ที่กลางหน้าอก และศูนย์กลางรวมอยู่ที่ตำแหน่งหัวใจหรือหทัยวัตถุ นอกจากนี้แรงดังกล่าวจะไปกระตุ้นต่อมใต้สมองหลั่งสารอินทรีย์เคมี(รูป) ซึ่งจะสัมพันธ์กับสภาพอารณ์(นาม) เข่น อารมณ์สบาย เมตตา จะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และอารมณ์โกรธ เครียด หลั่งอะดินารีน แพร่กระจายสะสมในกระแสโลหิตและกล้ามเนื้อ เกิดสภาวการสะสมธรรมคู่ของนามและรูป อื่นๆ ที่เกิดขึ้นเป็นชุดๆไป เป็นปฏิจจสมุปบาทสายเกิด เป็นที่สังเกตได้ว่าการปรุงแต่งเป็นปฏิจจสมุปบาทสายเกิด นี้ จะเกิดไปในเรื่องที่เป็นอดีตและอนาคต


โพสต์ เมื่อ: 24 ม.ค. 2014, 19:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่ตื่นนอน ปฏิบัติกิจวัตรตลอดวัน จนเข้านอน รอบๆหนึ่งของการเกิดเป็นปฏิจจสมุปบาทสายเกิดนี้จะใช้เวลาเพียง 2-3 วินาที ถือเป็น 1 ภพ ดังนั้นใน 1 วันจะเกิดภพเท่าไร
ตั้งแต่เกิดจนตาย จะสร้างภพเท่าไร วัฏฏะสงสารนี้จึงไม่มีที่สิ้นสุด น้ำตาสรรพสัตว์ 1 รายจึงมีมากกว่าน้ำในมหาสมุทร

ความจริงนี้ เป็นความจริงคู่สากลจักรวาล เราจะรู้หรือไม่ สัจจะนี้ก็จะดำเนินต่อไป พระพุทธองค์ ได้แจกแจงหลักการ และวิธีการเข้าถึงไว้หลากหลาย ครอบคลุม เพื่อให้ผู้บำเพ็ญบารมีที่มีความต่างของการสั่งสมอิทรีย์ ได้ถือปฏิบัติตาม เหล่าสาวกทั้งส่วนที่เป็นสงฆ์และฆราวาสที่เป็นกัลยาณมิตร มีส่วนชี้แนะ ขยายความ นัยยะต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ เพราะธรรมที่พระพุทธองค์ค้นพบลึกซึ้งเห็นได้ยาก วิธีการต้องปรับให้เหมาะสมขณะอยู่บนเส้นทางจนกว่าถึงที่หมาย เมื่อถึงที่หมายแล้วก็ต้องมองกลับมาถึงปัญหาอุปสรรคที่ตนเองเคยประสบ พร้อมแนวทางแก้ไข เพื่อผู้กำลังเดินทางตามหลังมาไม่ต้องหลงทางอย่างที่ตนเองเคยประสบ เดินตรงสู่เป้าหมาย นี้คือหน้าที่เหล่าสาวกที่ต้องตอบแทนคุณของพระพุทธองค์ที่มอบอมตธรรมและสันติสุขแด่มวลสรรพสัตว์ที่เวียนว่ายในทะเลทุกข์


โพสต์ เมื่อ: 25 ม.ค. 2014, 14:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไปนี้จะเป็นการกล่าวถึงองค์ประกอบและสภาพธรรมที่เกิดขึ้น อาจมีบางส่วนของเนื้อหาที่ไม่ได้กล่าวไว้ในหลักคำสอน แต่เป็นผลการปฏิบัติที่ผู้นำเสนอสรุปขึ้นจากประสบการณ์ ซึ่งภาษาที่ใช้อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด เนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้นำเสนอ ผู้นำเสนอจึงขอให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมถึงผู้อ่านโปรดงดโทษนี้ด้วย


โพสต์ เมื่อ: 27 ม.ค. 2014, 10:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติเพื่อพ้นจากทุกข์ คือกระบวนการเรียนรู้ระบบการทำงานของร่างกายและจิตใจ(ทุกข) เพื่อย้อนหา(เหตุ) หรือปรากฎการณ์ที่เกิดก่อนหน้านั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 46, 47, 48, 49, 50, 51, 52 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร