วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 03:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 45, 46, 47, 48, 49, 50, 51 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 23 ต.ค. 2013, 11:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


กรณี น้อง ก จึงต้องย้อนกลับมาพิจารณาหาสาเหตุของการรู้รูปนามที่ไม่เป็นกลาง จึงได้ลองสอบถามว่า ปฏิบัติอย่างไร ซึ่งน้อง ก ก็บอกว่าตามรู้สภาวะสิ่งที่ปรากฏในร่างกาย แบบธรรมชาติ ซึ่งอันนั้นเป็นความเข้าใจของน้อง ก แต่อย่างไรก็ตามผลการปฏิบัติที่เกิดขึ้น ฟ้องว่าน้อง ก ยังมีการรู้รูปนามแบบเพ่ง

หากกลับมาย้อนพิจารณาคำสอนเพื่อการพ้นทุกข์ของพระพุทธองค์ ที่เรียกว่าวิปัสสนานั้น ท่านได้จำแนกธรรมให้เหมาะกับ พละ 5 และการติดข้องของบุคคล (อุปนิสัย) แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ
1.สติปัฏฐาน 4 แนวทางปฏิบัติเพื่อตามรู้ กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งใช้กับบุคคลทั่วไป เป็นแนวกลางๆ หรือผู้มีพละ 5 ปานกลาง
2.ธรรมจักรกัปวัตนสูตร เป็นคำสอนให้กับปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 สำหรับผู้มีการเพ่งเพียรอย่างยิ่งยวด หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีพละที่แก่กล้า พร้อมกับความยึดติดในอารมณ์ ที่เป็นผลจากความแนบแน่นในอารมณ์ ดังนั้นปัญหาของปัญจวัคคีย์ทั้ง 5คือ การแก้ความยึดติด(อุปทาน) โดยพระพุทธองค์ ได้กล่าวว่า ภิกขุ ไม่ควรสุดโต่ง ทั้ง 2 ด้าน คือกามสุขขัลลิกานุโยค (ติดกาม) กับอัตตกิลมถานุโยค (การเพ่งเพียรทรมานตน) การแปลนัยยะของคำสอนนี้ ยังมีระดับลึกลงไปอีกคือ การรู้หรือจดจ่อสภาวะจนเกินเลยสิ่งที่ควรรู้ (รู้อดีต) หรืออีกนัยหนึ่งคือรู้แต่สิ่งที่สนใจจะรู้ ซึ่งอาจสรุปว่าเป็นการไม่รู้ตามความจริงที่เป็นปัจจุบันธรรม นั่นเอง


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2013, 17:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหร้บ การพิจารณาอินทรีย์ของน้อง ก จะเห็นว่าน้อง ก พบความสั่นสะเทือนในเรือนกายแล้วซึ่งเมื่อสอบถามก็ได้ร้บทราบว่า ส่วนใหญ่พบความสงบ ไม่ค่อยฟุ้งซ่าน แสดงว่า น้อง ก มีอิทรีย์ในระดับสูงแล้ว สภาวะธรรมก็สอดคล้องกับระดับอิทรีย์ เป็นวิปัสสนาที่มีอารมณ์สมถะนำหน้า การปรับลดความยึดถือคือการรู้สภาวะการสั่นสะเทือนแบบรวมๆ และไม่ตวรรู้นานเกินไป เพราะการรู้นาน จะทำให้เกิดอัตตา(การนำความรู้สีกเข้าไปสร้างเงื่อนไจกับสภาวธรรม


โพสต์ เมื่อ: 09 พ.ย. 2013, 20:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จากการปรับอินทรีย์ของน้อง ก เพื่อให้ตัวรู้มีความเป็นธรรมชาติปกติ หากย้อนกลับไปก่อนปรับ หากถามน้อง ก หรือทุกคนที่ปฏิบัติว่าทำแบบเป็นธรรมชาติหรือไม่ ทุกคนจะตอบว่าเป็นธรรมชาติไม่ได้เพ่ง ซึ่งคำตอบดังกล่าวไม่สามารถสะท้อนความจริง จึงต้องกลับมาพิจารณาจาผลการปฏิบัติหรือ process เช่น เราถามผู้เดินทางว่าจะไปใหน ได้รับคำตอบว่า จะไปเชียงใหม่ จึงถามต่อว่าระหว่างทางเจออะไรบ้าง ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า ได้พบเห็นทะเล เป็นการถามถึงผลการปฏิบัติ ผู้ถามซึ่งเคยเดินทางมาแล้วก็จะรู้ทันทีว่าใช่หรือไม่ หรือ จะต้องซักถามวิธีการปฏิบัติ(process) โดยละเอียด

สำหรับน้อง ก เมื่อรู้ว่าติดเพ่ง จึงต้องปรับให้รู้โดยละความสนใจที่จะกำหนดรู้จุดใดจุดหนึ่ง เช่นรู้ที่ท้อง หรือลมหายใจที่จมูก โดยเปลี่ยนเป็นรู้อาการที่ปรากฏทั้งกายภายนอกหรือกายภายในโดยไม่เลือกตำแหน่ง หรือรู้บ้างปล่อยวางบ้าง ซึ่งมักจะเป็นการฝืนความรู้สึก เนื่องจากการรู้ที่จุดใดจุดหนึ่งจะพบความสงบได้ง่ายและเกิดความชอบ


โพสต์ เมื่อ: 18 พ.ย. 2013, 20:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางที่กล่าวเป็นลักษณะของผู้ปฏิบัติที่มีสมถะนำวิปัสสนา หรือธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนกับปัญจวัคคีย์ ที่ติดในอัตตกิลมถานุโยค การสอนจึงเน้นการไม่ติดในสองส่วน ผู้ปฏิบัติที่มีอุปนิสัยสมถะนำวิปัสสนา นั้น การปฏิบัติวิปัสสนาทำได้ 2 แนวทาง คือ 1) เข้าสมาธิแล้วถอนมาที่อารมณ์ปกติแล้วกำหนดรู้ในรูปนาม หรือ 2) ฝึกการรู้โดยไม่เลือก จนละการเพ่ง จนทำให้อารมณ์เป็นธรรมชาติ นำจิตที่เป็นธรรมชาติไปกำหนดรู้รูปนามที่สัมพันธ์กัน ตามที่กล่าวมา แต่หากทำแล้วยังเกิดการเพ่งอีกก็ให้รู้รูปนามที่แสดงตามความจริงอะไรก็ได้ ความยากของการปฏิบัติอยู่ที่จุดนี้ คือทำอย่างไรจะแยกผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ พระพุทธองค์จึงให้ความสำคัญที่ สติ คือการระลึกได้ เป็นการปล่อยให้จิตเป็นธรรมชาติ เมื่อเผลอก็ตามรู้ว่าเผลอ คิดก็ตามรู้ว่าคิด หรือเกิดเวทนาพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ ก็ตามรู้สภาพธรรมนั้น ๆ


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2013, 17:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อดำรงจิตเป็นธรรมชาติและรู้รูปนามตามความเป็นจริง ความจริงของรูปนามก็จะแสดงออกมา สิ่งแรกคือการเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง) การเปลี่ยนแปลงจะปลดปล่อยพลังออกมา(ทุกขัง) ซึ่งเป็นของร้อน เสียดแทง และเมื่อความร้อนคลายออกแล้วจึงพบกับความย็น ความนิ่ง สงบ(อนัตตา) จึงสรุปว่าไตรลักษณ์ คือธรรมชาติของรูปนามที่แสดงความเป็นเหตุเป็นผล การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องจึงเป็นการละเหตุ เมื่อละเหตุที่เป็นบ่อเกิดทุกข์ ผลทุกข์ก็ดับตาม วิธีนี้จึงนำไปใช้ในการทำสมาธิระดับลึกที่เรียกว่า ฌาน (ลักขณูณิชฌาน) แทนการเพ่งอารมณ์ที่มีที่เกิดจากการ action จึงพบกับแรงสะท้อนกลับ reaction ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ดำรงจิตอยู่ในสมาธิได้ยาก


โพสต์ เมื่อ: 27 พ.ย. 2013, 20:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จึงเห็นได้ว่าการปฏิบัติไม่สามารถลัดขั้นตอนได้ การเรียนรู้ความจริงเฉพาะหน้า(เฉพาะที่ปรากฏจริงในขณะนั้น) เป็นสิ่งสำคัญ ต้องระลึกเสมอว่า เราได้สร้างเงื่อนไขในการปฏิบัติ หรือไม่ บางครั้งในขณะดูลมพอได้เพียงเล็กน้อยพลังงานที่คลายออกมาที่ทำให้อึดอัด จากความเครียดที่เราสะสมไม่ว่าเรื่องงานหรือ ครอบครัว เวลาปกติก็ไม่ได้คิดถึง แต่เวลาปฏิบัติก็จะเกิดขึ้นมาทุกทีไม่รู้มันเป็นอะไร คิดแล้วก็เริ่มหงุดหงิด บ่งบอกถึงความไม่เข้าใจในระบบของรูปนามว่า ทุกขณะที่ใช้ชีวิตปกติที่ไม่ได้กำหนดสติ ทั้งวันจิตจะเป็นการสร้างเงื่อนไขตลอดเวลาทั้งในเรื่องอดีตและอนาคต เป็นการสร้างภพขึ้น โดย 1 วินาที จิตเกิดดับ 17 ขณะ กาย 7 ขณะ ดังนั้นวันหนึ่งๆจะสร้างภพเท่าไร ดังนั้นเมื่อเริ่มดูลม ภพเหล่านั้นจึงคลายออกมาในรูปความนึกคิด ความอึดอัด หากรู้ทันว่าขณะนั้นเกิดปรากฏการณ์นั้นๆ ความร้อนของจิตก็จะคลายตัวได้เร็วยิ่งขึ้น เสมือนหม้อน้ำเดือดพอฝาปิดขยับเขยื้อนเพื่อให้ความร้อนคลายออก ผู้ฉลาดจะช่วยเปิดฝาให้ลดความร้อนเร็วที่สุด ก็คือรู้ทันว่าขณะนั้นเกิดปรากฏการณ์นั้นๆ แต่ผู้ไม่รู้ก็จะทำตรงข้ามคือแทนที่จะรู้ทันปรากฏการณ์นั้นๆ กลับเร่งไปเพ่งลมหายใจ เปรียบกับรีบเอามือไปกดฝาให้แน่น ผลปรากฏแรงดันไอน้ำดันน้ำร้อนลวกมือตนเอง ปรากฏการณ์ทางการปฏิบัติคือเครียดหนักกว่าเดิม หลังเลิกปฏิบัติแล้วหนักหัว มึน นี่แหละอัตตกิลมถานุโยคของแท้


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2013, 20:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่หากผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจแนวทางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างดี โดยรู้ว่าอะไรก็ตามที่ปรากฏให้รู้ตามความจริง เพียรทำเหตุให้มาก เจริญให้มากแล้ว โดยไม่หวัง ผลย่อมปรากฏ ซึ่งถือว่าเดินบนเส้นทางวิปัสสนาแล้ว แต่หากผลยังไม่ปรากฏก็ต้องมาหาเหตุผลว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เนิ่นช้า ซึ่งส่วนใหญ่ของผู้ปฏิบัติมักเกิดจาก พละ 5 ไม่สมดุล โดยสามารถแบ่งความไม่สมดุลได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มกลุ่มสมาธินำปัญญา และกลุ่มปัญญานำสมาธิ ซึ่งในกลุ่มหลังจะไม่ค่อยมีปัญหาในการปฏิบัติมากนัก

ดังนั้นจะเน้นกลุ่มสมาธินำปัญญา ลักษณะคือกำหนดรูปนามไปสักระยะหนึ่งจิตเริ่มสงบ นิ่งและเบลอ รู้รูปนามไม่ชัด ต่อมาเผลอและหลับ แนวทางปรับอินทรีย์ ขณะเริ่มกำหนดรูปนามกำหนดอยู่กับรูปนามเกิน 5 – 10 วินาที โดยเปลี่ยนไปรู้สิ่งอื่น เช่น ลมที่กระทบกาย เสียง หรือ ปรากฏการณ์ที่เกิดในร่างกาย 5-10 วินาที แล้ว จึงกลับไปรู้รูปนามอีกครั้ง หากยังซึมอยู่ ให้ลุกขึ้นเดิน การเดินก็ให้เป็นธรรมชาติไม่ต้องเพ่งที่เท้าหรือการเคลื่อน แต่เพียงให้รู้ว่าเดินแล้วปล่อยวางเป็นขณะแล้วรู้ใหม่ แล้วค่อยกลับไปนั่งสมาธิอีก และในวิปัสสนาญาณระดับสูงในสังขารรุเบกขาญาณ ขณะรูปนามมีอาการเบาอาจมีบางช่วงที่อยู่ๆ ลมหายใจหยุดลงหายใจไม่ได้ ทำอย่างไรก็หายใจไม่ออกให้แก้ไขโดยลุกขึ้นเดินสบายๆ แล้วกลับไปนั่งใหม่


โพสต์ เมื่อ: 07 ธ.ค. 2013, 21:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถดำรงให้สภาวะจิตอิสระที่ปลอดจากทุกข์ ที่เกิดขึ้นชั่วขณะ อยู่ต่อเนื่องได้ เพราะเหตุของทุกข์ยังมีอยู่ โดยปุถุชนยังเต็ม 100 % กัลยาณชน เต็ม 100 เช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากการบำเพ็ญเพียร ทำให้มีพละ 5 ระดับหนึ่งที่ไปขจัดกิเลสได้ชั่วคราวแบบต่อเนื่อง สำหรับอริยชนชั้นต้นกิเลส หมดไป 3 ใน 10 ส่วน ชีวิตก็พบความสงบเย็น ซาบซึ้งในคุณของพระรัตนตรัย ทุกลมหายใจเข้าออก และเดินทางลาดลง จุดหมายปลายทางที่สุดแห่งทุกข์ เพียรทำเหตุที่ไปละเจตสิกตั้งแต่หยานสู่ละเอียด

แม้แต่อุเบกขาที่ไม่ประกอบด้วยสัมปชัญญะ ( ไม่เป็นสัมมาสมาธิ ) ก็ต้องกำหนดรู้ทั้งส่วนชองอุเบกขาเวทนา(ผล) และลักษณะของแรงที่กระทำต่อมโน เป็นแรงบีบหรือรู้สึกหน่วงที่ 1.จุดหรือตำแหน่งที่เกิดอุเบกขา หรือ2.ที่กลางหน้าอก หรือ 3.ที่หัวใจ แล้วแต่ความสามารถที่จะรู้ได้ ซึ่งจัดเป็น(เหตุ)ของอุเบกขาเวทนาระดับนั้น ๆ จะทำให้รู้ถึงแรงที่กระทำต่อมโน เช่น แรงที่กระทำต่อมโน ระดับสมาธิในปฐมฌานจะต่างกับทุติยฌานซึ่งเบาขึ้น และต่างกับระดับตติยฌานที่เบากว่าระดับที่ ฌาน2 แต่เมื่อถึงระดับจตุตฌานจะพบแรงที่กระทำต่อมโนกลับหนาแน่นที่สุด และลมหายใจเบาลง จนไม่รู้สึกว่าหายใจ เป็นที่สังเกตว่า สมาธิที่เกิดจากการรู้ตามความสัมพันธ์ของรูปนามนี้ จะรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเป็นความเกิดดับต่อเนื่อง ปิติขณะที่1 จะแตกต่างจากปิติขณะที่ 2 สุขขณะที่1จะแตกต่างจากสุข ขณะที่ 2 และอุบกขาขณะหนึ่งจะแตกต่างจากอุเบกขาระดับต่อมา ความจริงของรูปนามระดับละเอียด ซึ่งเป็นลหุเวทนาก็เปลี่ยนแปลงตลอด ถือเป็นต้วชี้วัดหนึ่งว่ายังเดินบนเส้นทางวิปัสสนา และการเปลี่ยนแปลงนี้ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “เป็นทุกข์”


โพสต์ เมื่อ: 10 ธ.ค. 2013, 08:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อระบบของรูปนามมีการเคลียร์ตนเอง จากการรู้ปัจจุบันธรรม ปรากฏการณ์ที่เกิดปฏิกิริยาในร่างกาย เช่น ความร้อน ความอึดอัด เป็นผลจากการคลายอารมณ์ บางครั้งร่างกายมีการโยก หมุน เป็นการคลายของแรงยึดถือ และเจตนา จะสังเกตได้จากเวลากำหนดรู้ลมหายใจ ไปสักพัก หากหยุดสังเกตลมและมาสังเกตความรู้สึก จะรู้สึกเหมือนการโยกเบาๆของความรู้สึก นั่นคือ การกระทำใดๆก็ตามจะเกิดแรงขึ้นที่เรียกว่า action และจะเกิดแรงตรงข้ามทันที คือแรง reaction เป็นกฎสากลจักรวาล หรือการกระทำย่อมมีวิบาก นอกจากการกระทำที่ไร้เจตนา จึงจะไม่ส่งผลเป็นวัฏฏะ


โพสต์ เมื่อ: 11 ธ.ค. 2013, 21:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
เป็นที่สังเกตว่า สมาธิที่เกิดจากการรู้ตามความสัมพันธ์ของรูปนามนี้ จะรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเป็นความเกิดดับต่อเนื่อง ปิติขณะที่1 จะแตกต่างจากปิติขณะที่ 2 สุขขณะที่1จะแตกต่างจากสุข ขณะที่ 2 และอุบกขาขณะหนึ่งจะแตกต่างจากอุเบกขาระดับต่อมา ความจริงของรูปนามระดับละเอียด ซึ่งเป็นลหุเวทนาก็เปลี่ยนแปลงตลอด ...


ชอบที่จะคอยติดตามดูท่านแสดงความเห็นจังเลย...

ใช่ค่ะ...มันแตกต่างกัน... :b1:

:b1:


โพสต์ เมื่อ: 11 ธ.ค. 2013, 21:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
จะสังเกตได้จากเวลากำหนดรู้ลมหายใจ ไปสักพัก หากหยุดสังเกตลมและมาสังเกตความรู้สึก จะรู้สึกเหมือนการโยกเบาๆของความรู้สึก นั่นคือ การกระทำใดๆก็ตามจะเกิดแรงขึ้นที่เรียกว่า action และจะเกิดแรงตรงข้ามทันที คือแรง reaction


ใช่...เอกอนก็เห็นแรงผลักดันทั้นสองแรง
ท่านลองเพิ่มเติมความเห็นในส่วนของ action กะ reaction อีกสักหน่อยจะได้มั๊ยคะ
...
:b1:


โพสต์ เมื่อ: 14 ธ.ค. 2013, 10:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


Action คือ เจตนา และกรรม
Reaction คือ วิบาก หรือ ผลจากการกระทำกรรม

Action หรือ เจตนา และกรรม มีหลายระดับ ระดับที่เกิดจากเป็นโลภะ โทสะ และโมหะเจตนา ส่งผลให้เกิดวิบาก หรือ ผลจากการกระทำกรรมที่นำไปสู่ทุคติ ซึ่งทุกท่านได้ทราบอยู่แล้ว แต่ในส่วนของการสร้างเจตนาในการปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมีบางส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ปฏิบัติโดยไม่รู้ตัว การปฏิบัติธรรมมีจุดมุ่งหมายเพื่อชำระใจและกายให้สะอาด มีใจขาวรอบ หากเปรียบการปฏิบัติธรรม คือการกวาดสิ่งสกปรกในบ้าน ฝุ่นผงมีที่มา 2 แหล่ง คือ มาจากอากาศหรือลมที่พัดเข้ามาในบ้าน เกาะอยู่ที่พื้น และที่ติดมากับเท้าของท่านที่เดินเข้าไป และในการกวาดพื้นบ้าน จริงแล้วท่านต้องกวาดฝุ่นที่มาจากทั้ง 2 แหล่ง โดยฝุ่นมาจากอากาศหรือลมที่พัดเข้ามาในบ้าน เกาะอยู่ที่พื้นเปรียบได้กับอารมณ์ทางใจและอินทรีย์เคมีที่เกิดขึ้นทางกาย ได้รับจากผัสสะต่างๆ แต่ส่วนใหญ่หลายท่านจะไม่เคยเห็นฝุ่นที่มากับเท้าของท่าน เพราะเป็นส่วนที่เกาะหรือประกอบมากับตัวตนหรืออุปนิสัย ความเคยชิน ซึ่งมาจากเจตนา นั่นเอง ดังนั้นการปฏิบัติธรรมพึงระลึก เปรียบได้ดังคำที่กล่าวว่า “ ดูละครให้ย้อนดูตัว” หรือรู้สภาวะธรรมที่เป็นทั้งส่วนผลและย้อนรู้เหตุ


โพสต์ เมื่อ: 21 ธ.ค. 2013, 13:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อธรรมทั้งหมดทั้งปวงล้วนเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เมื่อรู้เหตุนั้น ธรรมนั้นก็ดับลงเพราะสิ้นเหตุ แต่เมื่อยังไม่พบปรากฏการณ์การดับสิ้นสุดลงของวิญญาณธาตุ (โสดาบันปฏิมรรค) ยังมีเชื้อกิเลส ซึ่งเป็นเหตุปัจจัย ให้มีการสร้างกรรม เกิดผลวิบากดำเนินต่อไป

การรู้ลมเข้าออก ท้องพองยุบ คำบริกรรม การรู้ในองค์กรรมฐานดังกล่าว เพื่อให้มีการคลายออกมาของสิ่งที่สะสมของรูปและนาม โดยเนื้อแท้แล้วองค์กรรมฐานดังกล่าว ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย เป็นเพียงเครื่องมือแต่จุดมุ่งหมายที่แท้จริง เพื่อให้เราได้กำหนดรู้การคลายออกมาของสิ่งที่สะสมของรูปและนาม แต่เนื่องจากการไม่เข้าใจนัยยะ จึงอาจหลงประเด็น ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ใช่การไม่เห็นความสำคัญขององค์กรรมฐานดังกล่าว แต่ต้องเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ


โพสต์ เมื่อ: 22 ธ.ค. 2013, 18:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ดังนั้นขณะรู้ลมอยู่หากเกิดปรากฏการณ์ทางใจ เช่น ความฟุ้งซ่าน หรือทางกายเกิดการมึนงง ร้อน ขณะนั้นจึงหยุดรู้ในลม เปลี่ยนมารู้ปรากฏการณ์ ทั้งกายหรือใจ ที่เกิดขึ้น การรู้ความจริงดังกล่าวเมื่อความจริงเปลี่ยนไป(อนิจจัง) จะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปความร้อน แสงสว่าง และความเหนื่อยล้าออกมา (ทุกขัง) เป็นที่สังเกตว่าการปลดปล่อยพลังงานหรือทุกขังนี้ เนื่องจากร่างกายประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลมและไฟ การปลดปล่อยพลังงาน ธาตุทั้ง 4 จะต้องปรับตัวทุกครั้งที่ปลดปล่อยพลังงาน สำหรับผู้มีอินทรีย์สมดุลจะชัดเจนมาก จะเห็นได้จากขณะสภาวธรรมเปลี่ยนแปลง จะมีการหาว (ธาตุลม) ขณะนั้นจะมีความร้อนเกิดขึ้นที่หน้าผาก (ธาตุไฟ)และจะมีน้ำตาเอ่อๆ (ธาตุน้ำ)ออกมาส่วนร่างกายถือเป็นธาตุดินรองรับธาตุอื่นๆ [/color[color=#008040]]ต่อมาหลังปรากฏการณ์การปรับธาตุ จะพบความเย็นปรากฏขึ้น จิตจะสงบชั่วขณะ ว่างชั่วขณะ(อนัตตา) สภาวะอนัตตาดังกล่าว จึงเปรียบเป็นการสัมผัส นิพพานเทียมหรือทตังคนิพพาน ทั้งหมดนี้ถือเป็นไตรลักษณ์ 1 รอบ ผู้ปฏิบัติพึงภาวิตา พหุลิกตา เจริญให้มาก บำเพ็ญให้มาก จะพบรูปนามแสดงไตรลักษณ์ รอบแล้วรอบเล่า เป็นการสลัดคืนกิเลส ตัณหาจากระดับพื้นผิวของจิตจนถึงเบื้องลึก


โพสต์ เมื่อ: 30 ธ.ค. 2013, 13:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเป็นจริงของรูปนามที่แสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผล ในแต่ละระดับ ซึ่งอาจจำแนกได้ 2 ระดับคือ

1.ภายนอกสู่ภายใน คือการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น และกายเกิดการปรุงแต่งของใจเก็บสะสมเป็นภพที่วิญญาณธาตุ เป็นปรากฏการณ์ในการดำเนินอริยาบทของชีวิตประจำวัน การปฏิบัติวิปัสสนาโดยตามสังเกตรู้การปรุงแต่งของใจซึ่งเป็นผลจากการกระทบของอายตนะภายนอก เป็นการปฏิบัคิที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นการป้องกันกรรมที่จะเกิดขึ้นใหม่
2.ภายในสู่ภายใน คือการรู้สภาวะภายในกาย(ผล) เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง ตึง เหนื่อย อึดอัด แล้วสังเกตอารมณ์ความพอใจไม่พอใจ (เหตุ)และลึกกว่านั้นคืออารมณ์ที่บันทึกหลายๆครั้งจะเกิดเป็นแรงะสมที่กลางอกที่อาจเรียกว่าหนักอกหรือที่เกิดที่หัวใจคือความรู้สึกแน่นๆ ทึบๆที่เรียกว่าหนักใจ(สายโซ่ของเหตุสู่ผล) เป็นการปฏิบัติวิปัสสนาในอิริยาบถนั่งสมาธิ เป็นการปฏิบัติที่พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นการละกรรมเก่าที่ทำแล้วสลัดคืนออกมาจากกายใจนี้

ผลการกระทำทั้ง 2 ข้อ จะเกิดผลเป็นข้อ 3 คือการทำใจให้ขาวรอบหรือการเกิดใจที่สะอาด สงบ สว่างเพื่อเตรียมรองรับอริยมรรค อริยผล


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 45, 46, 47, 48, 49, 50, 51 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร