วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 04:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 426 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 29  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2013, 03:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ก็มีเรื่องที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟังในการทำความเพียร ความเพียรคือความระลึกได้ด้วยสติ และมีความตั่งมั่นของจิตกำหนดรู้ธรรมที่ปรากฎออกมาเฉพาะหน้า ด้วยความเห็นว่าธรรมที่ปรากฎขึ้นนั้น อยู่ภายใต้กฏของพระไตรลักษณ์ โดยการสำรวมตนด้วยการรักษากายวาจาใจให้อยู่ในกุศล มีความเห็นว่าความเพียรนั้นน่าทำให้แจ้ง น่าทำให้เกิด น่าทำให้ปรากฏชัดด้วยญาณสมถะจนถึงวิปัสสนาญาณ เพราะความเพียรนำมาสู่ความสลัดออกของความยึดติด ยึดมั่น ความเป็นเราเป็นเขา จนกระทั่งทำให้อยู่เป็นสุขสงบในปัจจุบัน

ธรรมที่ไม่สามารถทำให้แจ้งใด้ด้วยการนั่งสมาธิ หรือเดินจงกรม ก็มีเป็นข้อปฎิบัติให้เห็นเช่น การกิน เมื่อกำลังกินอะไรอยู่ นั่นคือเรากำลังใช้ปสาทรูป5คือ รส ในการรับรู้ธรรม การรับรู้รสนั้นเกิดขึ้นอยู่แล้วแต่การทำให้แจ้งคือการเอาสติเข้าไปกำหนดให้เห็น

อย่างส่วนตัวก็กำลังดื่มกาแฟอยู่ การมีสติก็ต้องดำเนินขึ้นตั้งแต่ยกแก้วกาแฟเข้าปากรับรู้รสของกาแฟ ต่อด้วยความร้อนหรืออุณหภูมิของของเหลว มีสติอยู่โพลงปาก กลืนแล้ววางถ้วยกาแฟลง เอาความสนใจมาต่อที่จักษุและนิ้วมือที่แป้นพิมพ์

การรับรู้ปสาทรูป5ส่วนของการมองเห็น ธรรมที่เกิดนั้นต้องเป็นธรรมที่ปสาทรูป คือ มีสติอยูที่จักษุ เพื่อเห็นการเกิดดับ อย่างส่วนตัวไม่แน่ใจว่าเคยเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับปสาทรูปส่วนของการมองเห็นหรือปล่าว ว่า การกรอกสายตาจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง จักษุย่อมเกิดการโฟกัสใหม่ เกิดการคลายโฟกัส เกิดการเรียกสี เช่นหากกำหนดรู้ให้ละเอียด ( เป็นการปฏิบัติของstudent ที่ยังเป็นการเรียนศึกษา อาจจะไม่ตรงตามธรรมที่ควรทำให้ถูกต้อง)จังหวะแรกของการหันไปมองอะไรสักอย่างเกิด ขาวสว่าง สีปรากฎ ประสาทตาทำหน้าที่โฟกัส เป็นวงจรอย่างนี้ ผลของการเข้าไปกำหนดรู้คือ เกิดการผ่อนคลายของหทัยรูปและนาม (โปรดพิจารณานะครับ อาจไม่ตรงตามธรรม) เกิดการระงับลงของสังขารขันธ์(ความคิด ดี ไม่ดี เฉยๆ รวมทั้งนิวรณ์ทั้ง5) กั้นกระแสของ มโนทวาร
วันนี้ก็ฝากเอาไว้ให้พิจารณานะครับ ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยนะครับ ต่อโอกาสหน้า

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

เข้าไปอ่านแต่ไม่เข้าใจเลยครับ วานผู้ศึกษาลองเข้าไปอ่านดูครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ย. 2013, 02:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ก็ปฏิบัติต่อเนื่องสม่ำเสมอทุกวันเหมือนเดิม มีความแปลกอีกอย่างที่มักจะเกิดกับผม เช่นตื่นนอนตอนเช้าผมจะนั่งสมาธิ และก่อนนอนทุกคืน อย่างน้อยต้อง2ครั้ง พอมาพักหลังๆนั้น พอนอนหลับไปแล้วจะรู้ตัวตื่นขึ้นมาประมาณตี 4 ครึ่งเกือบทุกวัน รู้สึกว่าเป็นโอกาศดี ก็นั่งสมาธิไปเรื่อยๆจนถึงตี5 ถือว่าเป็นการรวบรวมสติที่ดี เพราะพอนอนลงก็รู้สึกถึงความรู้ตัวทั่ว ไม่ฟุ่งซ่าน เพราะบางทีตื่นนอนใหม่ๆตอนเช้าจิตเหมือนจะเหวี่ยงไปโน่น ไปนี่ จับความรู้พร้อมด้วยสติไม่ค่อยได้ทั้งๆที่กำหนดสติ ต้องค่อยๆดึงสติ พอจะนอนเล่นไปเรื่อยๆ สติก็เหมือนดึงกลับมายาก ก็เลยต้องลุกขึ้นมานั่งสมาธิ สักพักก็ดีขึ้น เป็นอย่างนี้เกือบทุกวัน

ปัจจุบันนี้ มีธรรมหลายอย่างมากที่ส่วนตัวจะกำหนดรู้อยู่ตลอดเวลา หากจะจำแนกออกมาดู ก็เรื่องแรกคือกาย ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิของร่างกาย หรือธาตุไฟ ซึ่งจริงๆนั้น ธาตุไฟกำหนดรู้ง่ายมาก ทุกคนก็ทำได้ ขอแค่ระลึกรู้กาย ก็จะรับรู้ธาตุไฟทันที หากเป็นผู้ที่มีกระแสวิปัสสนาถึงขั้นพระไตรลักษณ์ก็จะแสดงความรู้ ส่วนตัวเรียง อนัตตา ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา (ขอทุกท่านโปรดพิจารณาก่อนนะครับ)
ทำไมต้องเรียงอนัตตาขึ้นมาก่อน จริงๆไม่ใช่การต้องจับเรียง แต่กระแสวิปัสสนาจะเป็นความรู้ออกมา ตอนแรกนั้นตั้งใจจะตั้งกระทู้ถามผู้รู้อยู่เหมือนกันว่า ความแตกต่างระหว่าง นามรูปปริจเฉทญาณ หรือญาณกำหนดรู้นามรูป กับ สัมมสนญาณ ญาณที่เห็นพระไตรลักษณ์ นั้น กระแสวิปัสสนาแตกต่างกันอย่างไร ส่วนตัวนั้น การกำหนดรู้นามรูปยังคงดำเนินต่อไป และเป็นพื้นฐานของ ปัจจยปริคคหญาณ หรือ ญาณที่เห็นเหตุปัจจัยของนามรูป แล้วก็เป็นพื้นฐานของ สัมมสนญาณ ตามลำดับ แต่ญาณเห็นพระไตรลักษณ์ ก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ย้อนกลับมาว่าทำไมจึงเป็นอนัตตาขึ้นก่อน เพราะความไม่มีอะไร มาเป็น การปรากฎขึ้นของธรรมนั่นเอง

ต่อโอกาสหน้าครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2013, 14:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว




211.jpg
211.jpg [ 40.01 KiB | เปิดดู 6725 ครั้ง ]
เวลาได้เข้ามาอ่านเรื่องราวที่เข้ามาแชร์ที่นี่แล้ว...เป็นได้อมยิ้มทุกที
คุณเป็นคนที่มีความตั้งใจ และยิ่งนานวันจิตคุณก็แสดงความนิ่มนวลขึ้นเรื่อย ๆ
และก็แสดงมุมมองที่คุณเฝ้าพิจารณาสังเกตได้ละเอียดขึ้นเรื่อย ๆ
...


:b1:

...
บางครั้งเวลาที่เอกอนตามรู้ลมหายใจ...
เวลาที่เอกอนรู้สึกว่าลมหายใจมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ
จะเป็นช่วงเวลาที่เอกอนรู้สึกถึงความเงียบ
ความสงบ เย็น บางเบา
...
ใจมันก็เป็นไปตามอารมณ์...

มันไม่ได้เป็นเรา ...มันเป็นไปตามอารมณ์...
เมื่อกายสงบ วาจาสงบ ใจสงบ มันก็นำไปสู่อารมณ์ที่สงบ
เมื่ออารมณ์สงบปรากฎ ใจมันก็สงบ วาจาก็สงบ กายก็สงบ
...
มันเป็นเช่นนั้น...


:b16: :b16: :b16:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2013, 12:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


ณ จุดปลายของสภาวะ(อนัตตา) ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของอนิจจัง หากตัดส่วนใดส่วนหนึ่งของวงกลมก็จะปรากฏจุดเริ่มและจุดสุดท้าย เมื่อวิปัสสนาพัฒนาการไปอีกระดับ คือความไหวและความนิ่ง ความนิ่งคือที่รวม 2 สภาวะทุกขังและอนัตตา เมื่อความต่างของ 2 สภาวะลดลงเรื่อยๆ ทุกขังเป็นทุกข์โดยเนื้อแท้ อนัตตาเป็นทุกข์เนื่องจากการทนสภาพเดิมไม่ได้ ต่อไปจนกระทั่งทั้ง 2ไม่แตกต่างกันจะกลานเป็นความนิ่งอุเบกขา ซึ่งก็จะเป็นทุกขฺ์อีกลักษณะหนึ่ง จึงมีข้อถามว่า ตรงใหนละไม่ทุกข์ก็ต้องตอบว่า ตรงสภาวะนั้นดับลงชั่วขณะ พบตทังคนิพพาน (จำลองพระนิพพาน) การเข้าผลสมาบัติของเสขบุคคล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2013, 03:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ หากลมหายใจมีความรู้สึกเหมือนหยดน้ำ ก็เป็นหยดน้ำแห่งความรู้

อย่างลมหายใจเข้าออกนั้น มีเกิดและมีดับ อะไรเกิดอะไรดับ เวทนาเกิดดับ วิญญาณเกิดดับ สัญญาเกิดดับ สังขารเกิดดับ รูปเกิดดับ ในการเกิดดับนั้นเราเข้าไปรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง ว่า เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตาด้วยญาณวิปัสสนาจนสูงขั้นขึ้นไปเรื่อยๆตามปัญญา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2013, 02:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อวาน รู้สึกตัวว่ากำลังเป็นไข้ อยู่ๆตัวก็ร้อนรุมๆขึ้นมา ก็กำหนดรู้ความร้อนนั้นไปเรื่อยๆ ใจก็ประสบความคิดที่ว่า ว้าว ดีจังเลย ชัดเจนดีจังเลย ไม่ต้องแตะตัวเอง ความร้อนก็แสดงออกมาอย่างเด่นชัด แบบนี้จิตตั้งอยู่ได้ง่ายดี ไปนั่น

ก็เลยกินยาแก้ไข้ไปหนึ่งเม็ด สักพักก็สงบลง ตัวไม่ร้อนรุมๆ เวลาเป็นไข้ ธาตุต่างๆก็แสดงออกมากว่าปกติ

พอล้มตัวนอนตอนดึก ก็ร้อนๆหนาวๆ รู้ตัวว่าเป็นไข้ ใจไม่ได้กลัวอะไร กลับเป็นว่าชอบใจที่ว่า ธาตุแสดงออกมาได้ชัดดีจังเลย จะได้ตั้งสติอยู่กับธาตุไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเตลิดไปไหน

อาการไข้ทำให้เกิดภาพหลอนต่างๆ ไม่รู้อะไรเป็นอะไร ตรงนี้ก็เริ่มคิดว่า แย่แล้ว ทำไมจึงเกิดภาพหลอนเยอะขนาดนี้ เราหลับบ้างหรือปล่าวเนี่ย พอรู้สึกตัวดึกๆ ก็ปรากฎภาพหลอนตลอด แบบนี้ไม่ดีเลย เรากำหนดรู้ไม่ได้เลย เราไม่อยากให้จิตจับที่ภาพหลอนเหล่านั้น เราอยากให้จิตจับที่ธาตุ มันคนละอย่างกัน แต่อำนาจของพิษใข้ ทำให้ภาพหลอนต่างๆมันมีอิทธิพล สลัดออกไม่ได้ มันเหวี่ยงอยู่ในหัวเรา ก็คิดไปว่า เอ คนที่กำลังจะตาย เขากำลังประสบรูปแบบอย่างนี้หรือปล่าว ถ้าเราจะตาย เราก็โอเคถ้าจิตเราอยู่ที่ธาตุได้ ร้อนๆหนาวๆเราชอบ เรากำหนดทัน แต่ภาพหลอนอย่างนี้เรากำลังหลงไปกับมัน จิตก็เริ่มแปลออกมาว่า นี่เป็นอะไร มโนเหรอ จึงลุกขึ้นมากินยาแก้ไข้อีกหนึ่งเม็ด

ก็นอนไปเรื่อยๆ จิตพยายามตั้งอยู่ที่ร่างกาย เรานอนตะแคงนะ มือเราอยู่ตำแหน่งนี้นะ แล้วตั้งจิตอยู่ที่ลมหายใจไปเรื่อยๆ ก็จับได้ตามปกติ ก็คิดว่า เออ เป็นไข้เราก็กำหนดรู้ตามลมหายใจได้เหมือนเดิม อย่างนี้ค่อยยังชั่ว ภาพหลอนค่อยๆเลือนหายไป เพราะฤทธิยา แต่ก็ยังนอนไม่หลับ ตี4 จึงลุกขึ้นมากินยานอนหลับอีก1เม็ด สักพักก็หลับไป

มาตื่นอีกที 10โมงเช้า ก็รู้สึกดีขึ้น ธาตุต่างๆปกติดี แต่อยากไอ และรู้ว่ามีเสมหะ แต่ไม่รุมๆแล้วครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2014, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วงนี้เป็นไข้ก็ได้ตั้งใจพิจารณาธรรม สิ่งที่เด่นขึ้นมาให้เห็นคือเวทนา ปวดไปหมดทั้งตัว แล้วมหาภูติรูป4 ร้อนๆหนาวๆ แต่วิญญาณขันธ์ยังปกติ อยากกำหนดตรงไหนก็ทำได้เหมือนเดิม หายใจเข้าออกก็แสดงออกมาเหมือนเดิม แต่ปวดหน้าอกเพราะพิษไข้ แล้วมโนวิญญาณที่เป็นภาพหลอน ต่อโอกาสหน้าครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ม.ค. 2014, 11:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b1:
student เขียน:
ช่วงนี้เป็นไข้ก็ได้ตั้งใจพิจารณาธรรม สิ่งที่เด่นขึ้นมาให้เห็นคือเวทนา ปวดไปหมดทั้งตัว แล้วมหาภูติรูป 4 ร้อนๆหนาวๆ แต่วิญญาณขันธ์ยังปกติ อยากกำหนดตรงไหนก็ทำได้เหมือนเดิม หายใจเข้าออกก็แสดงออกมาเหมือนเดิม แต่ปวดหน้าอกเพราะพิษไข้ แล้วมโนวิญญาณที่เป็นภาพหลอน ต่อโอกาสหน้าครับ


เอกอนก็ได้ ไอ อย่างสนุกสนาน
ไอ จนแทบจะไม่ได้หลับไม่ได้นอนเรยยย... :b9: :b9: :b9:
พอพักผ่อนน้อย ไมเกรน ก็ทำท่าจะขึ้น...วื๊ด วื๊ด... :b32: :b32: :b32:
ไซนัส จะถามหา... :b19: :b19: :b19:

ก็เข้ามาเดินเล่นในนี้อยู่...ว่าจะเข้ามาสนทนาด้วย
แต่...งานยุ่ง...น่ะ
ไปปีใหม่กับแม่ที่บ้าน
พอดีที่บ้านแม่ขายของน่ะ... :b12: ...
ขายดีเสียด้วย... :b16:
....

ช่วงเวลาหนาว ๆ ร้อน ๆ ไม่สบาย เอกอนก็ชอบนอนกำหนดนะ
...หนุกดี...

:b1: :b1: :b1:

โดยเฉพาะตอนเป็น ไมเกรน... :b32: :b32: :b32:
โอโห้...

:b1:

"อาการไข้ทำให้เกิดภาพหลอนต่างๆ ไม่รู้อะไรเป็นอะไร ตรงนี้ก็เริ่มคิดว่า แย่แล้ว ทำไมจึงเกิดภาพหลอนเยอะขนาดนี้ เราหลับบ้างหรือปล่าวเนี่ย พอรู้สึกตัวดึกๆ ก็ปรากฎภาพหลอนตลอด แบบนี้ไม่ดีเลย เรากำหนดรู้ไม่ได้เลย เราไม่อยากให้จิตจับที่ภาพหลอนเหล่านั้น เราอยากให้จิตจับที่ธาตุ มันคนละอย่างกัน แต่อำนาจของพิษใข้ ทำให้ภาพหลอนต่างๆมันมีอิทธิพล สลัดออกไม่ได้ มันเหวี่ยงอยู่ในหัวเรา ก็คิดไปว่า เอ คนที่กำลังจะตาย เขากำลังประสบรูปแบบอย่างนี้หรือปล่าว ถ้าเราจะตาย เราก็โอเคถ้าจิตเราอยู่ที่ธาตุได้ ร้อนๆหนาวๆเราชอบ เรากำหนดทัน แต่ภาพหลอนอย่างนี้เรากำลังหลงไปกับมัน จิตก็เริ่มแปลออกมาว่า นี่เป็นอะไร มโนเหรอ"

:b1: ... เอกอนก็พิจารณานะ...
คือ...มันจะมีรอยต่อที่บางครั้งจะทำให้เราแยกออก
ว่าเรากำลังเข้าไปรับรู้ภาพที่สมองสร้างขึ้น...
...
แล้วก็นั่งพิจารณาว่าภาพเหล่านี้มันปรากฎออกมาเช่นนั้นได้อย่างไร...

...

:b1:

บางครั้ง ภาพ ก็สร้างอารมณ์
แต่บางครั้ง อารมณ์ ก็สร้างภาพ...
เมื่อเราคือ...ก้อนชีวะโมเลกุล...ที่มาประกอบกันทำงานร่วมกันอยู่...

:b1:

เมื่อเร็ว ๆ นี้
เอกอนได้ฝันไปว่าเอกอนกำลังเดินสนทนากับคนในอาณาเขตอาคารแห่งหนึ่ง
และก็ได้ยินเสียงผู้คนตะโกนโหวกเหวกด้านนอกว่า
"มีสิ่งมหัศจรรย์ปรากฎ มาช่วยกันดูเร็ว ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร"
เอกอนก็เดินไปที่ช่องประตูอาคาร และมองออกไป
ก้อนเมฆขาวสะอาด...ได้มาจับกลุ่มรวมกันเป็นก้อนโต
และ ก็มีศีรษะหนึ่ง...ใหญ่มาก ก้มทะลุก้อนเมฆลงมา...
พอเอกอนเห็น ... "นั่น...พระเยซู..."
ซึ่งที่ ๆ เอกอนยืนมองอยู่ เป็นอาคารของชาว "อิสลาม"
ซึ่ง "พระมหะหมัด" ก็กำลังอยู่ตรงนั้น
คือ...ท่านกำลังอธิบาย/แสดงนัยยะ...ถึงสิ่งที่ท่านเรียกว่า "พระเจ้า" อยู่
...
เอกอนก็มองหน้าพระมหะหมัด...
พระมหะหมัดก็บอกว่า...พระเยซูก็มาแสดงนัยยะในเรื่องของ...พระเจ้า...

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 01:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ครับ เอกอนบอกอารมณ์ก็มีส่วน เห็นด้วยครับ หรือว่ากิเลสดีๆนี่เอง

ถึงวันนี้ก็ดีขึ้นมากเกือบหายเป็นปกติแล้วครับ ก็มีไอค็อกๆแค็กๆไปตามเรื่องเหมือนกัน

เป็นเวลานานมากๆ ที่หาอุบายไม่ออก คิดไม่แยบคลาย ตอนนี้ก็ฝึกแบบเดิมไปเรื่อยๆ ไม่มีคำถามอะไรให้พิจารณา ก็รู้สึกว่า ทำไมหนอ เราถึงคิดอะไรไม่ออก เราเคยเป็นคนเจ้าคำถาม สนใจนั่นสนใจนี่ ทำไมจู่ๆ นึกอะไรก็ไม่ออก แต่กำหนดรู้ธรรมได้เหมือนเดิม สิ่งหนึ่งที่เริ่มจะเข้ามาปรากฏให้เห็นคืออารมณ์
อารมณ์ในที่นี้ไม่ใช่โกรธ รัก โมโห อะไรแบบนั้นนะครับ คือเหมือนเราตามทันว่า เดี๋ยวนะ เดี๋ยวเราจะอยากทำแบบนั้น คือ สิ่งที่เรากำลังทำอะไรก็แล้วแต่ มันเหมือนเราเข้าไปรู้ว่า เหตุจูงใจต่างๆมันปรากฏออกมาให้เห็น ต่อโอกาสหน้าครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2014, 17:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
เป็นเวลานานมากๆ ที่หาอุบายไม่ออก คิดไม่แยบคลาย ตอนนี้ก็ฝึกแบบเดิมไปเรื่อยๆ ไม่มีคำถามอะไรให้พิจารณา ก็รู้สึกว่า ทำไมหนอ เราถึงคิดอะไรไม่ออก เราเคยเป็นคนเจ้าคำถาม สนใจนั่นสนใจนี่ ทำไมจู่ๆ นึกอะไรก็ไม่ออก แต่กำหนดรู้ธรรมได้เหมือนเดิม


พิจารณาดี ๆ ว่า คิดอะไรไม่ออก...
หรือ
เป็นอาการ...จิตมันไม่ฟุ้ง... :b1:

เวลาทำสมาธินะ
มันจะมีช่วงจังหวะหนึ่งที่ จิตมันจะแว๊บไปคิดนั่น เห็นนี่ สารพัด
คิดเพลิน แว๊บเพลิน จนเราต้องคอยฉุดกระชากลากมันกลับมาตลอด
แต่พอเฝ้ามองมันไปสักพัก มันก็ชักจะไม่แว๊บแล้ว กลับรวมลงมารู้ชัดตั้งมั่นอยู่
แม้เราพยายามจะลากมันออกไปคิด มันก็จะรวมกลับมาตั้งมั่นรู้อยู่ที่ฐานกำหนดรู้
...
มันเป็นของมัน...อย่างนั้น...
...
ซึ่งเวลาที่เอกอนเห็นลักษณะจิตที่แสดงอาการรวมลงตั้งมั่น
เอกอนจะยกช่วงเวลานั้นให้กับเขาเลย...
... :b1: :b1: :b1: ...
เพราะเป็นช่วงเวลา ที่จิตจะน้อมไปสู่อารมณ์ที่ละเอียด...ทรงตัวดี...นิ่ง...และ...รู้ชัด...ด้วย
การ...รู้ชัด...ปรากฎเมื่อไร...
ปัญญาจากการเข้าไปกำหนดรู้ในธรรมก็มีโอกาสจะปรากฎ...ขึ้นได้
เป็น...ปัญญา...ที่ปรากฎจากการเข้าไปกำหนดรู้...ไม่ใช่จากการคิด

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2014, 03:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
eragon_joe เขียน
เวลาทำสมาธินะ
มันจะมีช่วงจังหวะหนึ่งที่ จิตมันจะแว๊บไปคิดนั่น เห็นนี่ สารพัด
คิดเพลิน แว๊บเพลิน จนเราต้องคอยฉุดกระชากลากมันกลับมาตลอด
แต่พอเฝ้ามองมันไปสักพัก มันก็ชักจะไม่แว๊บแล้ว กลับรวมลงมารู้ชัดตั้งมั่นอยู่
แม้เราพยายามจะลากมันออกไปคิด มันก็จะรวมกลับมาตั้งมั่นรู้อยู่ที่ฐานกำหนดรู้


ครับ การที่ฝึกฝนบ่อยๆ จิตมีที่อาศัย และที่อาศัยคือ มหาภูติรูป4(ร้อน หนาว แข็ง อ่อน ลมแผ่กระจาย)บ้าง ทุกข์เวทนาบ้าง รูปขันธ์(รวมปสาทรูป)เพราะญาณสมาธิ และนิวรณ์ทั้ง5ดับลง แล้ว สัญญา กับ สังขาร พิจารณาเป็นอย่างไร

อย่างที่เอกอนพูด ความละเอียดปรากฏ

ตอนนี้จริงๆ เริ่มสนใจอารมณ์ มีคำถามขึ้นว่า ทำไมอารมณ์จึงปรากฏออกมา ว่าเราต้องตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เมื่อตัดสินใจแล้ว ทำไมต้องสำเร็จอารมณ์นั้น คือตอนนี้ เป็นแนวคำถามที่กว้างมากๆ เพราะตัวเองยังมองคำถามให้ชัดเจนไม่ได้ ตัวอารมณ์นั้นเป็นอะไร คือที่อ่านๆพอจะรู้ว่าเป็นกิเลส เป็นอวิชชา แต่มันมีน่าสนใจที่จะมองให้ชัด คือ ตอนนี้ มองไม่ชัด เพราะเหตุหลายๆอย่าง ที่สำคัญคือสติปักฐานยังไม่เข้มแข็ง ยังเหมือนเด็กน้อยที่สนใจนั่นสนใจนี่ แต่อยากเรียนลัด ข้ามชั้นไปเก็บหน่วยกิจมหาลัย ประมาณนั้น

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2014, 01:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ก็มีเรื่องความตั้งใจในการกำหนดรู้ครับผม

เรื่องสติ เรื่องวิญญาณขันธ์ เรื่องผัสสะ เรื่องธรรมที่ปรากฏ ต้องไปด้วยกันให้ปรากฏรู้อยู่เสมอ สมมุติเรากำลังหายใจเข้าออก ผมเองจะรู้แล้วว่ามีสติกับวิญญาณขันธ์ตั้งอยู่บริเวณนั้น ธรรมที่เกิดนั้น ผัสสะที่เกิดจากกายวิญญาณก็ได้ คือรู้สึกกำลังพิจารณาธาตุดินหรือธาตุไฟอยู่ สมาธิหรือความแน่วแน่ของจิตนั้น จะปรากฏขึ้นมากน้อย แล้วแต่อารมณ์ของเรา ถ้าเราอารมณ์ฟุ่งซ่าน สมาธิอาจจะเบาบาง ถ้าอารมณ์ผ่อนคลาย ก็จะปรากฏถึงสมาธิที่แน่วแน่ขึ้น ถ้าง่วงนอนก็จะตกภวังค์ไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลับในไปอันนี้คือเรื่องของอารมณ์ มาต่อกันเรื่องของการกำหนดรู้ ในเรื่องของธรรมนั้นอย่างเรากำหนดรู็ความร้อนของกายอยู่ ไม่ว่าเราจะสมาธิแน่วแน่ หรือไม่แน่วแน่อย่างไร หรือ วิญญาณขันธ์ย้ายไปย้ายมาอย่างไร ก็ไม่เกี่ยวกับสภาวะของธาตุ คือความร้อนหรืออุณหภูมของร่างกายก็เป็นอย่างนั้น (อิงปัจจัยทางธรรมชาติ)ไม่สามารถบังคับให้ลดลงหรือฟุ่งปู๊ดตามการกำหนดรู้ของเรา ดังนั้นถือเป็นการพิจารณาและจำแนกธรรมอย่างหนึ่ง ต่อเรื่องหายใจพรุ่งนี้ครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2014, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


การหายใจเข้าออก ผมเองนั้นกำหนดรู้ การหายใจเข้าที่ลิ้นปี่ ลงไปที่ท้อง พอหายใจออกกำหนดรู้ที่ลิ้นปี่กินบริเวณที่ท้องและหน้าอก แต่กำหนดรู้ต่อจนสุดลมหายใจ จนกระทั่งธรรมที่ในใจกลางอกผุดขึ้นมาชัดเจน ธรรมที่ผุดขึ้นมานี้ผมเองไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่เขียนอยู่เสมอว่า ธรรมส่วนหทัย เพราะอิงอารมณ์เมื่อเกิดขึ้นในเวลาปกติ เช่นโมโหปุ๊บ แล้วคิดตำหนิ ตรงกลางในหน้าอกจะวาบฟูขึ้นมา เหมือนความคิดตำหนิ ทำสำเร็จแล้ว(กิเลส)มีผลเป็นอกุศลธรรม กลางหน้าอกก็วาบขึ้นมา ผมคิดว่าน่าจะเป็นฐานของอารมณ์ ในกรณีที่หายใจออกสุด แล้วกำหนดรู้ต่อว่าสุดแล้วไปไหน ก็สังเกตุว่าธรรมตรงกลางหน้าผุดขึ้นมา เป็นลักษณะผ่อนคลาย รู้สึกดี เหมือนความเคลียดที่ค้างอยู่โดนตัดตรงขั่ว จึงคิดไปเองว่าเป็นฐานอารมณ์แน่ๆ

สำหรับแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการหายใจอีกแนวหนึ่งที่ผมเองไม่ค่อยชำนาญ ก็มี ติดตามกระแสลม หายใจเข้ารู้ที่ปลายจมูก ผ่านกลางอก ลงไปที่ท้อง หายใจออก กะแสลมจากท้อง ออกผ่านหน้าอก ออกปลายจมูก การปฏิบัติแนวนี้ผมยอมรับว่าไม่ค่อยถนัด เป็นการฝึกวิญญาณขันธ์ให้เคลื่อนตามจุดต่างๆ แต่การฝึกวิญญาณขันธ์ให้เคลื่อนตามจุดต่างๆ ผมจะถนัดสร้างวงกลม เริ่มที่มือที่ทับกัน ค่อยๆเลื่อนวิญญาณขันธ์ไปทางแขนซ้ายถึงข้อศอกในขณะที่เคลื่อนวิญญาณขันธ์ รักษาสติและกำหนดรู้บริเวณที่วิญญาณขันธ์ตั้งอยู่ จะกำหนดรู้เวทนา(ความปวดเมื่อย)ก็ได้ หรือมหาภูติก็ได้ เช่นแขนที่ร้อนเพราะอุณหภูมิ จัดเป็นธาตุไฟ(มหาภูติรูป) หรือการกดทับกันของแขนกับลำตัว เป็นธาตุดิน(มหาภูติ) เท่าที่กำหนดรู้ได้ตามความเป็นจริง บริเวณที่เรากำหนดรู้ นั่นคือวิญญาณขันธ์ ทำไมผมเองเรียกวิญญาณขันธ์ ทำไมไม่เรียกว่าจิต เพราะคำว่าวิญญาณขันธ์นั่นตามขันธ์5เลยครับว่าเป็นความรู้สภาวะด้วยการอาศัยผัสสะ ผัสสะคือ วิญญาณ+อายตนะภายใน+อายตนะภายนอก ดังนั้น วิญญาณขันธ์จึงเป็นคำที่เข้าใจง่ายกว่าสำหรับผม แต่จิตนั้นกินความหมายที่กว้างและซับซ้อน เมื่อกล่าวคำว่าจิตแล้ว สามารถตีความหมายได้หลายทาง บางทีตีความหมายเป็นอารมณ์ไปเลย บางทีตีความหมายเป็นญาณสมาธิ ญาณวิปัสสนา ซึ่งพิจารณาตามยาก แต่หากกล่าวถึงผัสสะ ก็ยากที่จะพิจารณาตามว่าตรงไหนกันแน่ ผัสสะมีความหมายว่าการกระทบ แต่วิญญาณขันธ์มีความหมายว่าการรู้ถึงเพราะเป็นขันธ์ การเคลื่อนความรู้ถึงผมจึงใช้คำว่าวิญญาณขันธ์นั่นเอง (ไม่ใช่วิญญาณ ผี สาง นางไม้นะครับ)

ต่อครับ การเคลื่อนวิญญาณขันธ์จากข้อศอกขึ้นมาที่ไหล่ กำหนดรู้ เวทนาบ้าง ธาตุบ้าง อย่างใดอย่างหนึ่งให้รู้ว่า รู้ถึงพร้อมตรงนั้น จากไหล่เคลื่อนมาที่ศรีษะ ตรงศรีษะก็กำหนดรู้ ธาตุบ้าง เช่นธาตุดิน รู้พร้อมที่ฟันขบ รู้พร้อมที่กราม รู้พร้อมที่ลิ้น รู้พร้อมที่กระโหลก หรือกำหนดรู้เวทนา อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเครื่อนวิญญาณขันธ์ไปทางไหล่ขวา กำหนดรู้พร้อม เคลื่อนวิญญาณขันธ์ลงไปที่ข้อศอกขวา กำหนดรู้ธาตุ กำหนดรู้เวทนา แล้วเคลื่อนวิญญาณขันธ์ไปที่มือทับกัน เป็นอันจบการหมุนหนึ่งรอบของการเคลื่อนวิญญาณขันธ์ หรือ การรู้พร้อม หรือเป็นการใช้สติอยู่กับตัวตน

แล้วเกี่ยวกับอารมณ์ตรงไหน คำว่าอารมณ์นั้น อย่างที่บอกตอนแรก บอกไม่ได้ว่า กำลังฟุ่งซ่าน กำลังง่วงนอน อารมณ์อะไรสักอย่าง แต่จุดมุ่งหมายนั้นเพื่อการพิจารณาธรรม ด้วยการอาศัยวิญญาณขันธ์ ธรรมที่เกิดขึ้นนั้นเป็นอะไร เป็นธาตุ เป็นเวทนาทางกาย ตามปัญญา ด้วยความเห็นบ้าง ว่าเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา หรือเข้าไปเห็นการเกิดดับนามรูปด้วยวิปัสสนาญาณ ครับผม

สรุปการฝึกแนวนี้คือหากถนัดการกำหนดรู้ช้าๆ ก็เป็นการฝึกที่รู้ทั่วถึงร่างกาย ไปแบบช้าๆ ไม่ต้องรีบร้อน แต่หากท่านใดชำนาญ และถนัดแนวเคลื่อนลมหายใจจากปลายจมูกลงท้อง หรือ ปล่อยลมจากท้องออกปลายจมูก ความเห็นผมคือ ต้องไว เร่งรีบ ต้องจับให้ทันการหายใจ นั่นเอง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ม.ค. 2014, 21:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
วันนี้ก็มีเรื่องความตั้งใจในการกำหนดรู้ครับผม

เรื่องสติ เรื่องวิญญาณขันธ์ เรื่องผัสสะ เรื่องธรรมที่ปรากฏ ต้องไปด้วยกันให้ปรากฏรู้อยู่เสมอ สมมุติเรากำลังหายใจเข้าออก ผมเองจะรู้แล้วว่ามีสติกับวิญญาณขันธ์ตั้งอยู่บริเวณนั้น ธรรมที่เกิดนั้น ผัสสะที่เกิดจากกายวิญญาณก็ได้ คือรู้สึกกำลังพิจารณาธาตุดินหรือธาตุไฟอยู่ สมาธิหรือความแน่วแน่ของจิตนั้น จะปรากฏขึ้นมากน้อย แล้วแต่อารมณ์ของเรา ถ้าเราอารมณ์ฟุ่งซ่าน สมาธิอาจจะเบาบาง ถ้าอารมณ์ผ่อนคลาย ก็จะปรากฏถึงสมาธิที่แน่วแน่ขึ้น ถ้าง่วงนอนก็จะตกภวังค์ไปอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลับในไปอันนี้คือเรื่องของอารมณ์ มาต่อกันเรื่องของการกำหนดรู้ ในเรื่องของธรรมนั้นอย่างเรากำหนดรู็ความร้อนของกายอยู่ ไม่ว่าเราจะสมาธิแน่วแน่ หรือไม่แน่วแน่อย่างไร หรือ วิญญาณขันธ์ย้ายไปย้ายมาอย่างไร ก็ไม่เกี่ยวกับสภาวะของธาตุ คือความร้อนหรืออุณหภูมของร่างกายก็เป็นอย่างนั้น (อิงปัจจัยทางธรรมชาติ)ไม่สามารถบังคับให้ลดลงหรือฟุ่งปู๊ดตามการกำหนดรู้ของเรา ดังนั้นถือเป็นการพิจารณาและจำแนกธรรมอย่างหนึ่ง ต่อเรื่องหายใจพรุ่งนี้ครับ


จริง ๆ จะเข้ามาแสดงความเห็นในเรื่องอารมณ์หลายวันแล้ว
คำว่า "อารมณ์" เอกอนก็หมายอารมณ์อย่างทั่ว ๆ ไปนั่นล่ะ
แต่ด้วยเอกอนเป็นคนที่เก็บอารมณ์ เก็บความรู้สึก เป็นเด็กที่สุขุม เยือกเย็น แต่ก็ซนนะ
ใครจะทำอะไรก็ไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยบ่น ไม่มีปากเสียง
ดังนั้นเอกอนจะคุ้นเคยกับ อารมณ์ ในลักษณะสิ่งที่รู้สึกอยู่ภายในเป็นทุนเดิม
ซึ่งเมื่อมาปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ
อารมณ์ ในมุมมองของเอกอนก็จะเป็นประมาณนี้ รู้สิ่งใดสิ่งที่รู้นั้นเป็นอารมณ์

อ้างคำพูด:
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/s ... amat_2.htm

ในขณะที่จิตกำลังเห็นสิ่งใดอยู่นั้น ขณะนั้นมิได้มีแต่เฉพาะจิตที่เห็นเท่านั้น หรือมิได้มีแต่เฉพาะสิ่งที่จิตเห็นเท่านั้น แต่ต้องมีทั้งจิตเห็นและสิ่งที่จิตเห็น เมื่อมีสิ่งที่ถูกเห็นขณะใด ก็แสดงว่าขณะนั้นต้องมีสภาพเห็น คือจิตเห็นด้วย แต่ถ้ามุ่งสนใจแต่เฉพาะวัตถุ หรือสิ่งที่ถูกเห็นเท่านั้น ก็จะทำให้ไม่รู้ความจริงว่า สิ่งที่ถูกเห็นนั้นจะปรากฏได้ก็เพราะจิตเกิดขึ้นทำกิจเห็นสิ่งนั้น ในขณะคิดนึกก็เช่นเดียวกัน เมื่อจิตคิดนึกเรื่องใด เรื่องราวนั้นเป็นคำที่จิตกำลังคิดนึกอยู่ขณะนั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นรู้สิ่งใด สิ่งที่จิตรู้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า อารมฺมณ

คำว่า อารมฺมณ (อารมณ์) หรือ อาลมฺพน ในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น หมายถึงสิ่งที่จิตรู้ ขณะใดที่จิตเกิดขึ้น เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นอารมณ์ของจิตนั้น ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นได้ยินเสียง เสียงก็เป็นอารมณ์ของจิตขณะนั้น ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นรู้กลิ่น กลิ่นก็เป็นอารมณ์ของจิตขณะนั้น ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นลิ้มรส รสก็เป็นอารมณ์ของจิตขณะนั้น ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นรู้เย็น รู้ร้อน รู้อ่อน รู้แข็ง รู้ตึง รู้ไหว เย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหวก็เป็นอารมณ์ของจิตขณะนั้น ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นคิดนึกถึงเรื่องราวต่างๆ เรื่องราวต่างๆ ก็เป็นอารมณ์ของจิตที่กำลังคิดนึกขณะนั้น ดังนี้ เป็นต้น เมื่อมีจิตก็ต้องมีอารมณ์คู่กันไปทุกครั้ง จิตเกิดขึ้นขณะใด จะต้องรู้อารมณ์ขณะนั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นแล้วไม่รู้อารมณ์ไม่ได้ หรือจะมีแต่จิตซึ่งเป็นสภาพรู้ โดยไม่มีอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็ไม่ได้


และเมื่อเห็นอารมณ์เช่นนั้น การเห็นเจตสิก ก็มีความเป็นไปได้

อ้างคำพูด:
เจตสิกปรมัตถ์

ในขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น มีนามปรมัตถ์อีกประเภทหนึ่งเกิดร่วมกับจิต และรู้อารมณ์เดียวกับจิต นามปรมัตถ์นั้นคือเจตสิก เจตสิกได้แก่ ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ ความตระหนี่ ความริษยา ความเมตตา ความกรุณา เป็นต้น สภาพธรรมเหล่านี้เป็นเจตสิกปรมัตถ์ ไม่ใช่จิตปรมัตถ์

ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ เป็นต้นนั้น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นสภาพธรรมที่ต้องเกิดกับจิต ถ้าไม่มีจิต เจตสิกคือ ความโกรธ ความรัก ความทุกข์ เป็นต้นนั้น ก็เกิดไม่ได้ เจตสิกปรมัตถ์มี ๕๒ ประเภทหรือเรียกว่า ๕๒ ดวง เช่น ความโกรธ (โทสะ) ก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง มีลักษณะหยาบกระด้างดุร้าย ความรักก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง คือ โลภเจตสิก มีลักษณะยึดติด ไม่สละและปรารถนาอารมณ์ จะเห็นได้ว่า เจตสิกแต่ละประเภทเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่สภาพธรรมอย่างเดียวกัน นอกจากมีลักษณะต่างกัน กิจของเจตสิกแต่ละอย่างก็ต่างกัน ผลคืออาการที่ปรากฏก็ต่างกัน และเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเจตสิกแต่ละประเภทก็ต่างกัน

จิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ เป็นนามธรรมที่รู้อารมณ์และเกิดร่วมกัน เจตสิกเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต คือ จิตเกิดดับที่ไหน เจตสิกก็เกิดดับที่นั่น จิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์นั้นไม่แยกกัน คือไม่เกิดดับแต่เพียงปรมัตถ์เดียว จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้อารมณ์ ส่วนเจตสิกต่างๆ ที่เกิดร่วมกับจิต ก็รู้อารมณ์เดียวกับจิต แต่มีลักษณะและหน้าที่ในการรู้อารมณ์นั้นต่างกันไปตามลักษณะ และกิจการงานของเจตสิกแต่ละประเภท เพราะเหตุที่จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นนั้น มีเจตสิกเกิดขึ้นร่วมด้วยมากน้อยต่างๆ กัน และเป็นเจตสิกต่างประเภทกัน จึงทำให้จิตต่างกันเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภท โดยพิเศษ จิตแต่ละประเภทนั้นไม่เหมือนกัน โดยรู้อารมณ์ต่างกันบ้าง โดยทำกิจต่างกันบ้าง โดยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต่างกันบ้าง เช่น จิตบางดวงมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ จิตบางดวงมีเสียงเป็นอารมณ์ จิตบางดวงทำกิจเห็น จิตบางดวงทำกิจได้ยิน เป็นต้น จิตบางดวงมีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตบางดวงมีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย ดังนี้เป็นต้น


เมื่อเห็น

ก็จะเห็น ภพ ของ จิต

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2014, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


จากสภาพธรรมของ คุณstudent

การหายใจเข้าออก ผมเองนั้นกำหนดรู้ การหายใจเข้าที่ลิ้นปี่ ลงไปที่ท้อง พอหายใจออกกำหนดรู้ที่ลิ้นปี่กินบริเวณที่ท้องและหน้าอก แต่กำหนดรู้ต่อจนสุดลมหายใจ จนกระทั่งธรรมที่ในใจกลางอกผุดขึ้นมาชัดเจน ธรรมที่ผุดขึ้นมานี้ผมเองไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่เขียนอยู่เสมอว่า ธรรมส่วนหทัย เพราะอิงอารมณ์เมื่อเกิดขึ้นในเวลาปกติ เช่นโมโหปุ๊บ แล้วคิดตำหนิ ตรงกลางในหน้าอกจะวาบฟูขึ้นมา เหมือนความคิดตำหนิ ทำสำเร็จแล้ว(กิเลส)มีผลเป็นอกุศลธรรม กลางหน้าอกก็วาบขึ้นมา ผมคิดว่าน่าจะเป็นฐานของอารมณ์ ในกรณีที่หายใจออกสุด แล้วกำหนดรู้ต่อว่าสุดแล้วไปไหน ก็สังเกตุว่าธรรมตรงกลางหน้าผุดขึ้นมา เป็นลักษณะผ่อนคลาย รู้สึกดี เหมือนความเคลียดที่ค้างอยู่โดนตัดตรงขั่ว จึงคิดไปเองว่าเป็นฐานอารมณ์แน่ๆ

เมื่อผู้ปฏิบัติได้สังเกตความเป็นไปของกายและใจ ก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ ดั่งนัยะพระพุทธองค์ได้กล่าวว่า เพราะสิ่งนี้มี จึงมีสิ่งนี้ สิ่งนี้(แรก) เป็นเหตุ สิ่งนี้(หลัง)เป็นผล แต่เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นจะไปเห็นผลก่อน เช่น เมื่อโมโหแล้วคิดตำหนิ(อารมณ์)เป็นผล และเมื่อรู้เท่าทัน ความโมโหดับลง ตรงกลางหน้าอก(ฐานอารมณ์)เป็นเหตุ จะวาบดับตาม จิตจะฟูขึ้นมา (ผลของตทังคนิพพาน)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 426 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 29  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร