วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 00:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 16 ส.ค. 2013, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
สติอุปการะในที่ทั้งปวงที่เป็นกุศล สติเจตสิกประกอบกับจิตฝ่ายกุศลทุกดวง
ถ้าจะให้สติไปประกอบกับอกุศล ก็เรียกมิจฉาสติ
สติที่เป็นมิจฉาสติ สภาวธรรมคืออกุศลจิตตุปบาท (อกุศลจิตและเจตสิกที่ประกอบกับอกุศลจิต)
มีโมหะคือโมหเจตสิกประกอบทุกสภาวะอยู่แล้ว ถามว่าเวลาทำชั่วมีสติหรือไม่ บอกคนที่กำลังโกรธอยู่สิ
บอกเธอๆๆ มีสติไว้ เค้าก็บอกว่า เนี่ยยย..ชั้นมีสติดี แต่ขณะนั้นโกรธด่าใครก็ได้เพราะอวิชชาหนุนอยู่
เค้ามีมิจฉาสติมีสภาวะเป็นโทสมูลจิตมีเจตสิกที่ประกอบกับโทสะอยู่ด้วย
และเจตสิกที่ประกอบนั้นก็มีโมหเจตสิก โมหเจตสิกจะประกอบกับอกุศลจิตทุกดวง ไม่ว่าทำอกุศลใดๆ
โมหเจตสิกหนุนอยู่เสมอ

มันแบ่งเป็น 2 ฝ่ายชัดเจนอยู่แล้ว จะต้องไปเน้นบัญญัติเป็นคำๆ ให้ได้ทำไม ดูที่สภาวะเป็นหลัก
ในพระอภิธรรมก็มีสภาวะรองรับคำว่ามิจฉาสติ ถ้าหากเอาคำว่าสติเจตสิกไปใส่ไว้ในอกุศลอีกเจตสิกหนึ่ง
ถ้าสติอุปการะในธรรมทั้งปวงแล้ว ในฝ่ายอกุศล โมหะจะทำอย่างไรในปฏิจจสมุปบาท ก็ต้องเปลี่ยนกันใหม่
แล้วในปฏิจจสมุปบาทจาก อวิชชาปจฺจยาสงฺขารา เป็นอะไรดีล่ะ


ไม่ต้องเปลี่ยนกันใหม่อย่างไร

เปลี่ยนเฉพาะแค่การทำความเข้าใจต่อแบบแผนการศึกษาในสำนักต่างๆ ที่อิงอภิธรรมมัตถสังคหะเท่านั้น

เพราะในพระอภิธรรมปิฏก ระบุเปิดไว้ว่า
"จิตดวงที่ ๑
ปทภาชนีย
[๒๗๕] ธรรมเป็นอกุศล เป็นไฉน?
อกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยทิฏฐิ มีรูปเป็นอารมณ์ หรือมีเสียงเป็น
อารมณ์ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ มีรสเป็นอารมณ์ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ มีธรรมเป็นอารมณ์ หรือ
ปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น ในสมัยใด ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร ปีติ
สุข เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปพละ
โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ มีใน
สมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น..."

ซึ่งแล้วแต่ภูมิปัญญาของผู้ศึกษาว่าจะเห็นเจตสิกอื่นใดที่เกิดร่วมใน อกุศลจิตนี้อื่นอีกหรือไม่ ก็เพียงนั้น

มีแต่ระบบการศึกษาจัดตั้งทุกวันนี้ ที่แยกแยะเขียนกันเอง
ว่า สติมีเฉพาะในกุศลจิตเท่านั้น

สติเป็นอุปะการะในธรรมทั้งปวง คือทำให้ไม่ลืมหลง
ส่วนโมหะเจตสิก ไม่เกี่ยวกับการลืมหลง และเป็นความหลงไปรู้อยู่กับอวิชชา ซึ่งสติที่เป็นมิจฉาสติก็ระลึกการรู้อยู่กับอวิชชาได้เช่นกัน

ดังนั้นการเปิดเจตสิกพ่วงท้ายไว้ในพระอภิธรรม จึงเป็นการให้พิจารณาเพิ่มเติม ว่าเจตสิกมีมาก เพราะเจตสิกเป็นอาการของจิต ไม่อาจจะกล่าวจำกัดแน่นอนลงไปได้

เพียงแต่ผู้แต่อภิธัมมมัตถะสังคห เรียบเรียงเพี่อการศึกษาให้ทำความเข้าใจพอสังเขปให้ง่ายขึ้นเท่านั้นเอง

ผู้ศึกษาจึงไม่ควรกล่าวสรุปแทนผู้แต่งอภิธัมมัตถสังคหะ และยิ่งไม่ควรกล่าวสรุปแทนพระพุทธองค์
เท่านั้นเอง

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


สติที่เกิดขึ้นในขณะที่มีจิตอกุศล แต่ยังพ่ายแพ้ต่อกิเลส เพราะขาดธรรมที่ระงับอกุศล เกิดเพราะมีเหตุ แต่เพราะไม่รู้เหตุตามความเป็นจริง จึงเกิดความหลง คือสติที่เกิดตอนมีอกุศลนั้นอ่อนกำลังอยู่แล้ว หรือใกล้เลื่อนลอย

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่ไม่เอาบาลีไม่เรียนบาลี ไม่เอาพระอภิธรรม หยิบพระสูตรมาอธิบาย ถามว่าเอาปัญญามาจากไหน
มาแปล นำพุทธพจน์มาอธิบายจากปัญญาของตน บาลีก็ไม่ได้เรียน สภาวธรรมก็ไม่รู้ ปฏิบัติเห็นจริงมา
บ้างมั้ยก็ยังไม่มีอะไรยืนยัน

ถ้าจะมุ่งเน้นเอาแต่สังคายนาเมื่อเร็วๆ นี้ในประเทศไทย ก็แปลกอยู่นะสังคายนาใหม่ๆ สดๆ สมัยรัตนโกสิน
เมื่อเร็วๆ นี้กลับยอมรับ
ถ้าเทียบกับที่สังคายนาไว้ในสมัยต้นๆ หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์ ๕๐๐ พระองค์ หนึ่งในนั้นมีพระอานนท์อยู่ด้วย ท่านแยกพระอภิธรรมไว้ให้ศึกษาเป็นเรื่องเป็นราว

จะบอกให้นะถ้าไม่มีพระอรหันต์ ๕๐๐ พระองค์สังคายนาเรียบเรียงไว้นะ
ไม่มีพระฎีกาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ รักษาจดจำไว้ อธิบายไว้นะ
แล้วท่านที่อธิบายไว้นั้นในยุคต้นๆนั้น ท่านเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ท่านถึงอธิบายได้
ถ้าไม่มีท่านเหล่านี้ทำสังคายนาไว้ป่านนี้ทุกอย่างสูญสิ้นไปหมดแล้ว
ถ้าพระอริยะในยุคต่อมา ท่านสำเร็จมรรค ผลแล้ว ท่านไม่อนุเคราะห์อธิบายไว้ จะมีใครเข้าใจได้
จะมีปัญญาปฏิบัติตามคำสั่งสอนพระพุทธองค์ได้เหมือนท่านหรือไม่ในคนยุคนี้

ควรนึกกตัญญู และปฏิบัติให้เห็นสภาวธรรมจริงๆ แล้วไปดูว่าที่ท่านทั้งหลายกล่าวชี้แนะมานั้น
เป็นความจริงหรือไม่ ไม่ใช่มาทำเป็นผู้มีปัญญามากเที่ยวจับผิด ทั้งๆ ที่ตนเองก็ไม่รู้อะไรเลย
ไม่เคยเข้าไปพิสูจน์ ต้องเข้าไปเรียนพระอภิธรรมไปสัมผัสให้รู้ก่อน แล้วค่อยมาบอกว่าใช้ไม่ได้
คนที่ปฏิเสธก็เพราะไม่เคยเข้าไปเรียน แม้แต่บาลีก็ไม่เรียน แล้วก็มาอธิบายพระพุทธพจน์กัน
อธิบายได้ถูกต้องจริงหรือ เอาอะไรมายืนยันมาที่อธิบายมานั้น ถูกต้องดีแล้วหรือ เป็นการ
นำปัญญาของตนไปพูดปัญญาของพระพุทธองค์หรือไม่

คนที่นำพระอภิธรรมมากล่าวนั้น กล่าวด้วยเรื่องปรมัตถ์ เรื่องของสภาวะมันพิสูจน์กันได้ด้วยการปฏิบัติ
ถ้าปฏิบัติแล้วไม่เกิดจริงตามนั้น ก็ค่อยมาบอกว่าพระอภิธรรมไม่จริง

ไปดูนะว่า สัปดาห์ที่ ๔ แห่งการตรัสรู้นั้น พระฉัพพรรณรังสีเกิดจากพระพุทธองค์พิจารณาอะไร
พรรษาที่ ๗ พระพุทธเจ้าไปโปรดพระมารดาอย่างไร

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
สติที่เกิดขึ้นในขณะที่มีจิตอกุศล แต่ยังพ่ายแพ้ต่อกิเลส เพราะขาดธรรมที่ระงับอกุศล เกิดเพราะมีเหตุ แต่เพราะไม่รู้เหตุตามความเป็นจริง จึงเกิดความหลง คือสติที่เกิดตอนมีอกุศลนั้นอ่อนกำลังอยู่แล้ว หรือใกล้เลื่อนลอย



สติไม่มีกำลัง สู้โทสะไม่ได้ ขณะนั้นมันเป็นโทสะไปรู้โทสะแล้ว ดูแบบนี้โกรธจนระเบิดเปิดเปิงเลยค่ะ
เวลาเราเจริญสติปัฏฐาน สติตามดูรูปนามนั้น สติก็ยังต้องไปรู้สติอีก คือ อารมณ์ถูกรู้โดยผู้รู้อารมณ์
ผู้รู้อารมณ์ก็ต้องไปรู้ผู้รู้อารมณ์ด้วย เทียบให้ดูค่ะ

ในกรณีที่โทสะเกิดนั้น สติไปดูโทสะ สติไม่กำลังพอพ่ายแพ้ต่อโทสะ ก็ต้องไปทำสมาธิทันที
ใช้สมาธิข่มโทสะให้สงบลงบ้าง แล้วค่อยให้สติตามดูโทสะที่หลงเหลืออยู่บ้างค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 10:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
....เวลาเราเจริญสติปัฏฐาน สติตามดูรูปนามนั้น สติก็ยังต้องไปรู้สติอีก คือ อารมณ์ถูกรู้โดยผู้รู้อารมณ์
ผู้รู้อารมณ์ก็ต้องไปรู้ผู้รู้อารมณ์ด้วย เทียบให้ดูค่ะ

....


:b1:

smiley smiley smiley

:b1:


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
สติที่เกิดขึ้นในขณะที่มีจิตอกุศล แต่ยังพ่ายแพ้ต่อกิเลส เพราะขาดธรรมที่ระงับอกุศล เกิดเพราะมีเหตุ แต่เพราะไม่รู้เหตุตามความเป็นจริง จึงเกิดความหลง คือสติที่เกิดตอนมีอกุศลนั้นอ่อนกำลังอยู่แล้ว หรือใกล้เลื่อนลอย

สติที่เกิดในขณะที่จิตอกุศล
เป็นมิจฉาสติที่มีกำลังแรง
ระลึกอยู่ใน อวิชชา อวิชชาครอบงำ ระลึกอยู่ในมิจฉาปฏิบัติ

ไม่มีสติ คือ พวกไร้สมปฤดี
พวกนอนหลับสนิท จิตอยู่ในภวังค์หลับไหล
พวกที่วิกลจริต
คนพวกนี้ กำหนดอะไรไม่ได้ ระลึกอะไรไม่ได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 11:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
คนที่ไม่เอาบาลีไม่เรียนบาลี ไม่เอาพระอภิธรรม หยิบพระสูตรมาอธิบาย ถามว่าเอาปัญญามาจากไหน
มาแปล นำพุทธพจน์มาอธิบายจากปัญญาของตน บาลีก็ไม่ได้เรียน สภาวธรรมก็ไม่รู้ ปฏิบัติเห็นจริงมา
บ้างมั้ยก็ยังไม่มีอะไรยืนยัน

ถ้าจะมุ่งเน้นเอาแต่สังคายนาเมื่อเร็วๆ นี้ในประเทศไทย ก็แปลกอยู่นะสังคายนาใหม่ๆ สดๆ สมัยรัตนโกสิน
เมื่อเร็วๆ นี้กลับยอมรับ
ถ้าเทียบกับที่สังคายนาไว้ในสมัยต้นๆ หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอรหันต์ ๕๐๐ พระองค์ หนึ่งในนั้นมีพระอานนท์อยู่ด้วย ท่านแยกพระอภิธรรมไว้ให้ศึกษาเป็นเรื่องเป็นราว

จะบอกให้นะถ้าไม่มีพระอรหันต์ ๕๐๐ พระองค์สังคายนาเรียบเรียงไว้นะ
ไม่มีพระฎีกาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ รักษาจดจำไว้ อธิบายไว้นะ
แล้วท่านที่อธิบายไว้นั้นในยุคต้นๆนั้น ท่านเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ท่านถึงอธิบายได้
ถ้าไม่มีท่านเหล่านี้ทำสังคายนาไว้ป่านนี้ทุกอย่างสูญสิ้นไปหมดแล้ว
ถ้าพระอริยะในยุคต่อมา ท่านสำเร็จมรรค ผลแล้ว ท่านไม่อนุเคราะห์อธิบายไว้ จะมีใครเข้าใจได้
จะมีปัญญาปฏิบัติตามคำสั่งสอนพระพุทธองค์ได้เหมือนท่านหรือไม่ในคนยุคนี้

ควรนึกกตัญญู และปฏิบัติให้เห็นสภาวธรรมจริงๆ แล้วไปดูว่าที่ท่านทั้งหลายกล่าวชี้แนะมานั้น
เป็นความจริงหรือไม่ ไม่ใช่มาทำเป็นผู้มีปัญญามากเที่ยวจับผิด ทั้งๆ ที่ตนเองก็ไม่รู้อะไรเลย
ไม่เคยเข้าไปพิสูจน์ ต้องเข้าไปเรียนพระอภิธรรมไปสัมผัสให้รู้ก่อน แล้วค่อยมาบอกว่าใช้ไม่ได้
คนที่ปฏิเสธก็เพราะไม่เคยเข้าไปเรียน แม้แต่บาลีก็ไม่เรียน แล้วก็มาอธิบายพระพุทธพจน์กัน
อธิบายได้ถูกต้องจริงหรือ เอาอะไรมายืนยันมาที่อธิบายมานั้น ถูกต้องดีแล้วหรือ เป็นการ
นำปัญญาของตนไปพูดปัญญาของพระพุทธองค์หรือไม่

คนที่นำพระอภิธรรมมากล่าวนั้น กล่าวด้วยเรื่องปรมัตถ์ เรื่องของสภาวะมันพิสูจน์กันได้ด้วยการปฏิบัติ
ถ้าปฏิบัติแล้วไม่เกิดจริงตามนั้น ก็ค่อยมาบอกว่าพระอภิธรรมไม่จริง

ไปดูนะว่า สัปดาห์ที่ ๔ แห่งการตรัสรู้นั้น พระฉัพพรรณรังสีเกิดจากพระพุทธองค์พิจารณาอะไร
พรรษาที่ ๗ พระพุทธเจ้าไปโปรดพระมารดาอย่างไร

ถ้าเป็นผู้เรียนบาลีอย่างไม่หลับหูหลับตา
ย่อมจะรู้ว่า อภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ใช่พระอภิธรรมปิฎก
และอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นเพียงแบบเรียนย่อเพื่อให้เข้าใจพระอภิธรรมปิฎก เท่านั้นเอง

อย่าอวดอ้างทับซ้อน ว่า อภิธัมมัตถสังคหะ อธิบายสภาวธรรมทั้งหมดทุกประการในพระอภิธรรมปิฎก
ควรนึกถึงความกตัญญูของพระอรหันตเจ้าที่เรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎก ไว้ให้มาก

อย่าอวดอ้างว่าตนรู้มาก ในอภิธัมมมัตถะแล้วตะแบงว่า อภิธรรมมัตถสังคหะคือพระอภิธรรมปิฎก

ควรหรือที่จะตะแบงแบบนั้นว่า เป็นคำตรัสของพระพุทธองค์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:
สติที่เกิดขึ้นในขณะที่มีจิตอกุศล แต่ยังพ่ายแพ้ต่อกิเลส เพราะขาดธรรมที่ระงับอกุศล เกิดเพราะมีเหตุ แต่เพราะไม่รู้เหตุตามความเป็นจริง จึงเกิดความหลง คือสติที่เกิดตอนมีอกุศลนั้นอ่อนกำลังอยู่แล้ว หรือใกล้เลื่อนลอย

สติที่เกิดในขณะที่จิตอกุศล
เป็นมิจฉาสติที่มีกำลังแรง
ระลึกอยู่ใน อวิชชา อวิชชาครอบงำ ระลึกอยู่ในมิจฉาปฏิบัติ

ไม่มีสติ คือ พวกไร้สมปฤดี
พวกนอนหลับสนิท จิตอยู่ในภวังค์หลับไหล
พวกที่วิกลจริต
คนพวกนี้ กำหนดอะไรไม่ได้ ระลึกอะไรไม่ได้


ความเห็นผมนั้น สตินั้นทำงานได้สมบูรณ์เมื่อเรากำลังเสพธรรมที่เป็นความจริงตรงหน้าครับ คือ คนเราจะฝึกหรือไม่ฝึกก็รู้ความหมายของสติดีว่าคืออะไร แต่ธรรมที่เป็นความจริงนั้น ต้องอาศัยความเห็นถูกเท่านั้น เช่น ธาตุไฟ ความร้อนของร่างกายนั้นเป็นความจริง แต่เราจะต้องใช้สติเข้าไปรู้จึงจะรู้สภาวะชัดเจน หรือธาตุลม ต่องอาศัยสติเข้าไปรู้ด้วยการหายใจเข้าออก แต่อารมณ์นั้น คือการเสพธรรมที่ไม่ใช่ความจริงครับ เพราะอารมณ์จะโกรธ หรือ อารมณ์ดี ตัวเรานั้นก็ยังคงประกอบด้วยธาตุทั้ง4 อยู่เหมือนเดิม คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธรรมที่เป็นความจริงยังคงแสดงออกมา แต่เราไม่เห็นเพราะกำลังเสพธรรมเกี่ยวกับอารมณ์อยู่ แล้วจะบอกว่ามีสติอยู่ได้อย่างไร ที่ผมเขียนก็เขียนว่า สติอ่อนกำลังครับ คือไม่ใช่ไม่มีสติเลย

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
student เขียน:
สติที่เกิดขึ้นในขณะที่มีจิตอกุศล แต่ยังพ่ายแพ้ต่อกิเลส เพราะขาดธรรมที่ระงับอกุศล เกิดเพราะมีเหตุ แต่เพราะไม่รู้เหตุตามความเป็นจริง จึงเกิดความหลง คือสติที่เกิดตอนมีอกุศลนั้นอ่อนกำลังอยู่แล้ว หรือใกล้เลื่อนลอย



สติไม่มีกำลัง สู้โทสะไม่ได้ ขณะนั้นมันเป็นโทสะไปรู้โทสะแล้ว ดูแบบนี้โกรธจนระเบิดเปิดเปิงเลยค่ะ
เวลาเราเจริญสติปัฏฐาน สติตามดูรูปนามนั้น สติก็ยังต้องไปรู้สติอีก คือ อารมณ์ถูกรู้โดยผู้รู้อารมณ์
ผู้รู้อารมณ์ก็ต้องไปรู้ผู้รู้อารมณ์ด้วย เทียบให้ดูค่ะ

ในกรณีที่โทสะเกิดนั้น สติไปดูโทสะ สติไม่กำลังพอพ่ายแพ้ต่อโทสะ ก็ต้องไปทำสมาธิทันที
ใช้สมาธิข่มโทสะให้สงบลงบ้าง แล้วค่อยให้สติตามดูโทสะที่หลงเหลืออยู่บ้างค่ะ


เมื่อใดที่สติไม่ได้อยู่กับเนื้อตัว (มหาภูติรูป4) ความเห็นผมคือ โทสะนั้นถูกอำนาจกิเลสเข้าแทรกครับ คือ เสพธรรมนั่นเอง ต้องอาศัยสติครับจึงจะถอนออกจากการเสพธรรมครับ ไม่ใช่สติไปรู้สติ โทสะนั้นเป็นผลอยู่แล้วครับ เพราะมีเหตุคือความหลงหรือไม่รู้ตามความเป็นจริงของธรรมที่เกิดขึ้นตรงหน้า เช่น เสพเสียงว่า ไม่ไพเราะ เสพแสงว่าไม่น่าดู เป็นต้น

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:
สติที่เกิดขึ้นในขณะที่มีจิตอกุศล แต่ยังพ่ายแพ้ต่อกิเลส เพราะขาดธรรมที่ระงับอกุศล เกิดเพราะมีเหตุ แต่เพราะไม่รู้เหตุตามความเป็นจริง จึงเกิดความหลง คือสติที่เกิดตอนมีอกุศลนั้นอ่อนกำลังอยู่แล้ว หรือใกล้เลื่อนลอย

สติที่เกิดในขณะที่จิตอกุศล
เป็นมิจฉาสติที่มีกำลังแรง
ระลึกอยู่ใน อวิชชา อวิชชาครอบงำ ระลึกอยู่ในมิจฉาปฏิบัติ

ไม่มีสติ คือ พวกไร้สมปฤดี
พวกนอนหลับสนิท จิตอยู่ในภวังค์หลับไหล
พวกที่วิกลจริต
คนพวกนี้ กำหนดอะไรไม่ได้ ระลึกอะไรไม่ได้


ความเห็นผมนั้น สตินั้นทำงานได้สมบูรณ์เมื่อเรากำลังเสพธรรมที่เป็นความจริงตรงหน้าครับ คือ คนเราจะฝึกหรือไม่ฝึกก็รู้ความหมายของสติดีว่าคืออะไร แต่ธรรมที่เป็นความจริงนั้น ต้องอาศัยความเห็นถูกเท่านั้น เช่น ธาตุไฟ ความร้อนของร่างกายนั้นเป็นความจริง แต่เราจะต้องใช้สติเข้าไปรู้จึงจะรู้สภาวะชัดเจน หรือธาตุลม ต่องอาศัยสติเข้าไปรู้ด้วยการหายใจเข้าออก แต่อารมณ์นั้น คือการเสพธรรมที่ไม่ใช่ความจริงครับ เพราะอารมณ์จะโกรธ หรือ อารมณ์ดี ตัวเรานั้นก็ยังคงประกอบด้วยธาตุทั้ง4 อยู่เหมือนเดิม คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธรรมที่เป็นความจริงยังคงแสดงออกมา แต่เราไม่เห็นเพราะกำลังเสพธรรมเกี่ยวกับอารมณ์อยู่ แล้วจะบอกว่ามีสติอยู่ได้อย่างไร ที่ผมเขียนก็เขียนว่า สติอ่อนกำลังครับ คือไม่ใช่ไม่มีสติเลย


แยกขณะให้ออก ว่า
ความเห็น ต่อขณะจิตใด เกี่ยวกับสัมมาสติ
ความเห็นต่อขณะจิตใด เกี่ยวกับมิจฉาสติ

สติ เป็นเจตสิกกลางๆ ว่าระลึกได้ ไม่ลืมหลง

จะเป็นมิจฉา หรือสัมมา ต้องพิจารณาองค์ธรรมอื่นที่ประกอบจิตนั้นอยู่
เพราะสติ มีอุปการะมาก ไม่เลือกหรอกครับว่า จะเป็นมิจฉา หรือสัมมา .........

จิตเสพย์อารมณ์ดีก็ตาม ก็มีสติระลึกอยู่
จิตเสพย์อารมณ์ไม่ดีก็ตาม ก็ยังมีสติระลึกอยู่รู้อยู่

อารมณ์ที่ปรากฏเฉพาะหน้าที่จิตเสพย์ เป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริง
แต่หากสติไประลึกหลงในความรู้ การรู้ของจิตจึงบิดเบือนไปจากสภาพธรรมที่เป็นจริงนั้น
ซึ่งการที่จิตไปรู้สภาพธรรมนั้นโดยความบิดเบือน ก็เป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริงเช่นกัน

เป็นจริง เกิดขึ้นจริง
ไม่เป็นจริง เกิดขึ้นจริง.......

สติพละ กำลังของสติ ย่อมตรงข้ามกับความหลงลืม ระลึกไม่ได้
ถ้าระลึกได้ลางๆ เรืองๆ ขณะนั้น กำลังของสติอ่อน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติของหิน เมื่อโยนลงน้ำก็ต้องจมน้ำ
จะไปนั่งอ้อนวอน ให้หินลอยน้ำขึ้นมาเถิด
ซัก ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี หินนั้นก็ไม่สามารถจะลอยขึ้นมาได้
จะให้สมความปรารถนาก็หามิได้ จะไปเสียเวลากับสิ่งที่ผิดวิสัยของมันเอง

เมื่อปลาเคยชินแต่ในน้ำ เมื่อจะเอาความบนบกไปสาธยายให้ปลาฟังปลาก็ไม่สามารถเข้าใจได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ธรรมชาติของหิน เมื่อโยนลงน้ำก็ต้องจมน้ำ
จะไปนั่งอ้อนวอน ให้หินลอยน้ำขึ้นมาเถิด
ซัก ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี หินนั้นก็ไม่สามารถจะลอยขึ้นมาได้
จะให้สมความปรารถนาก็หามิได้ จะไปเสียเวลากับสิ่งที่ผิดวิสัยของมันเอง

เมื่อปลาเคยชินแต่ในน้ำ เมื่อจะเอาความบนบกไปสาธยายให้ปลาฟังปลาก็ไม่สามารถเข้าใจได้


:b12: ค่ะลุง แหม..ลุงพูดซะแซ่บเลยนะ เห็นหายไปจากกระทู้นี้ เงียบๆ ไม่พูดไม่จา พูดออกมาทีนี้ไม่กี่
บรรทัด แซ่บหลายเด้อ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ธรรมชาติของหิน เมื่อโยนลงน้ำก็ต้องจมน้ำ
จะไปนั่งอ้อนวอน ให้หินลอยน้ำขึ้นมาเถิด
ซัก ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี หินนั้นก็ไม่สามารถจะลอยขึ้นมาได้
จะให้สมความปรารถนาก็หามิได้ จะไปเสียเวลากับสิ่งที่ผิดวิสัยของมันเอง

เมื่อปลาเคยชินแต่ในน้ำ เมื่อจะเอาความบนบกไปสาธยายให้ปลาฟังปลาก็ไม่สามารถเข้าใจได้

ควายเคยชินแต่กินหญ้ากินฟาง
ถึงหุงข้าวปลาอาหารให้ควายกิน ควายก็ไม่อาจเข้าใจที่จะกินข้าวปลาอาหาร
เพราะควายพอใจแต่จะกินฟางเคี้ยวเอื้องอยู่อย่างนั้น

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
student เขียน:
สติที่เกิดขึ้นในขณะที่มีจิตอกุศล แต่ยังพ่ายแพ้ต่อกิเลส เพราะขาดธรรมที่ระงับอกุศล เกิดเพราะมีเหตุ แต่เพราะไม่รู้เหตุตามความเป็นจริง จึงเกิดความหลง คือสติที่เกิดตอนมีอกุศลนั้นอ่อนกำลังอยู่แล้ว หรือใกล้เลื่อนลอย

สติที่เกิดในขณะที่จิตอกุศล
เป็นมิจฉาสติที่มีกำลังแรง
ระลึกอยู่ใน อวิชชา อวิชชาครอบงำ ระลึกอยู่ในมิจฉาปฏิบัติ

ไม่มีสติ คือ พวกไร้สมปฤดี
พวกนอนหลับสนิท จิตอยู่ในภวังค์หลับไหล
พวกที่วิกลจริต
คนพวกนี้ กำหนดอะไรไม่ได้ ระลึกอะไรไม่ได้


ความเห็นผมนั้น สตินั้นทำงานได้สมบูรณ์เมื่อเรากำลังเสพธรรมที่เป็นความจริงตรงหน้าครับ คือ คนเราจะฝึกหรือไม่ฝึกก็รู้ความหมายของสติดีว่าคืออะไร แต่ธรรมที่เป็นความจริงนั้น ต้องอาศัยความเห็นถูกเท่านั้น เช่น ธาตุไฟ ความร้อนของร่างกายนั้นเป็นความจริง แต่เราจะต้องใช้สติเข้าไปรู้จึงจะรู้สภาวะชัดเจน หรือธาตุลม ต่องอาศัยสติเข้าไปรู้ด้วยการหายใจเข้าออก แต่อารมณ์นั้น คือการเสพธรรมที่ไม่ใช่ความจริงครับ เพราะอารมณ์จะโกรธ หรือ อารมณ์ดี ตัวเรานั้นก็ยังคงประกอบด้วยธาตุทั้ง4 อยู่เหมือนเดิม คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธรรมที่เป็นความจริงยังคงแสดงออกมา แต่เราไม่เห็นเพราะกำลังเสพธรรมเกี่ยวกับอารมณ์อยู่ แล้วจะบอกว่ามีสติอยู่ได้อย่างไร ที่ผมเขียนก็เขียนว่า สติอ่อนกำลังครับ คือไม่ใช่ไม่มีสติเลย


แยกขณะให้ออก ว่า
ความเห็น ต่อขณะจิตใด เกี่ยวกับสัมมาสติ
ความเห็นต่อขณะจิตใด เกี่ยวกับมิจฉาสติ

สติ เป็นเจตสิกกลางๆ ว่าระลึกได้ ไม่ลืมหลง

จะเป็นมิจฉา หรือสัมมา ต้องพิจารณาองค์ธรรมอื่นที่ประกอบจิตนั้นอยู่
เพราะสติ มีอุปการะมาก ไม่เลือกหรอกครับว่า จะเป็นมิจฉา หรือสัมมา .........

จิตเสพย์อารมณ์ดีก็ตาม ก็มีสติระลึกอยู่
จิตเสพย์อารมณ์ไม่ดีก็ตาม ก็ยังมีสติระลึกอยู่รู้อยู่

อารมณ์ที่ปรากฏเฉพาะหน้าที่จิตเสพย์ เป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริง
แต่หากสติไประลึกหลงในความรู้ การรู้ของจิตจึงบิดเบือนไปจากสภาพธรรมที่เป็นจริงนั้น
ซึ่งการที่จิตไปรู้สภาพธรรมนั้นโดยความบิดเบือน ก็เป็นสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นจริงเช่นกัน

เป็นจริง เกิดขึ้นจริง
ไม่เป็นจริง เกิดขึ้นจริง.......

สติพละ กำลังของสติ ย่อมตรงข้ามกับความหลงลืม ระลึกไม่ได้
ถ้าระลึกได้ลางๆ เรืองๆ ขณะนั้น กำลังของสติอ่อน


อ๋อ ผมโยง ความหมายของ สภาวะธรรมจริง กับ อริยสัจ4 ครับ ไม่ใช่ผมรู้ท่องแท้นะครับ แต่ที่อธิบายคืิอ เราต้องรู้จักจำแนกด้วยครับว่าความจริงนั้น ต้องเป็นสภาวะใด สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมันก็จริงหมด แต่จริงในสิ่งที่เจริญปัญญา กับจริงในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ จะบอกว่าอารมณ์โกรธนั้นถ้าไม่มีสติจะรู้ได้ไงว่าโกรธอยู่ เห็นด้วยอยู่ แต่ สภาวะจริงๆที่เราควรรู้กลับถูกบดบังไงครับ แล้วเราไปรับรู้ธรรมอันไม่มีประโยชน์ พอรับรู้ธรรมอันไม่มีประโยชน์จึงเรียกว่ากำลังสติไม่พอครับ เพราะสลัดออกยาก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2013, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
ธรรมชาติของหิน เมื่อโยนลงน้ำก็ต้องจมน้ำ
จะไปนั่งอ้อนวอน ให้หินลอยน้ำขึ้นมาเถิด
ซัก ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี หินนั้นก็ไม่สามารถจะลอยขึ้นมาได้
จะให้สมความปรารถนาก็หามิได้ จะไปเสียเวลากับสิ่งที่ผิดวิสัยของมันเอง

เมื่อปลาเคยชินแต่ในน้ำ เมื่อจะเอาความบนบกไปสาธยายให้ปลาฟังปลาก็ไม่สามารถเข้าใจได้

ควายเคยชินแต่กินหญ้ากินฟาง
ถึงหุงข้าวปลาอาหารให้ควายกิน ควายก็ไม่อาจเข้าใจที่จะกินข้าวปลาอาหาร
เพราะควายพอใจแต่จะกินฟางเคี้ยวเอื้องอยู่อย่างนั้น


จริงๆ ไม่อยากจะพูดครับ แต่คนที่จะพูดสำนวนเหล่านี้ เปรียบกับผู้ที่ศึกษาธรรม ต้องเป็นผู้ที่บรรลุธรรมแล้วเท่านั้น จึงจะมีสิทธิ์กล่าวสำนานนี้กับคนอื่นได้

หากยกขึ้นมาเปรียบเปรยว่าภาษาไทยเรามีสำนวนเด็ดๆไว้จัดการกับคนที่หัวแข็งหรือดื้อ ก็ต้องแน่ใจว่า ใช้กับคนที่กำลังก้าวไปผิดทาง หลงผิด ไปในทางเสื่อม ไม่ใช่มาใช้กับคนที่ต้องการศึกษาธรรมด้วยกันอย่างนี้

แต่หากเป็นผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว คนนั้นก็ต้องเลือกเฟ้นคำพูดด้วยจิตเมตตา ผมคิดว่าผู้บรรลุธรรมย่อมเลือกที่จะไม่ใช้สำนวนเหล่านี้พูดกับคนอื่นแน่นอน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron