วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 20:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 01 ก.ค. 2013, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว




1294397797-400x441.jpg
1294397797-400x441.jpg [ 50.58 KiB | เปิดดู 6045 ครั้ง ]
สตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการงาน, ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ, จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใด ๆ , อารมณ์มักจะเป็นปกติ ไม่ค่อยโกรธ เครียด หรือทุกข์ใจอะไรมาก ๆ กล่าวโดยรวมคือย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดีซึ่งเป็นประโยชน์ที่ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน

หากแต่ถ้ารู้เนือง ๆ มาก ๆ เข้าจนเป็นมหาสติ ก็จะได้ประโยชน์จากทางธรรมด้วย การที่เรามีสติอยู่เนือง ๆ รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ทำอย่างติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็เพื่อให้สติเกื้อกูลต่อการ “เห็นความจริง” ความจริงนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเราที่สุดก็คือกายกับใจของเรา แต่เราไม่เคยรู้สึกถึงความจริงนี้เลย

จุดหมายของการรู้ก็เพื่อให้เห็นความจริง อันได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา เนื่องจากสัมมาสติทำให้เราได้เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่นับครั้งไม่ถ้วน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนในที่สุดจิตจะยอมรับความจริงในข้อนี้ อันนำไปสู่หนทางแห่งการดับทุกข์ ที่เป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของพระพุทธศาสนา

สติยังเกื้อกูลต่อปัญญา ดังที่ผู้รู้ทั่วๆกล่าวไว้ว่า สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดจะเกิดปัญหา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสต์ เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกหัดตัวเราให้มี "สติ" รู้สึกตัวเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย
ไม่ต้องถือศีล ไม่ต้องนั่งบริกรรมคาถา ไม่ต้องหลับตา ไม่ต้องนั่งให้ตัวตรง
ไม่ต้องเดินนับก้าว เพียงแต่เราต้องหมั่นเตือนตนเองอยู่เสมอว่า ก่อนจะทำอะไรต้องรู้จักคิด
และตอบตนเองให้ได้ว่าทำไปเพื่ออะไร ผลของการกระทำนั้นจะออกมาในรูปแบบใด
แยกความคิดของการทำดี ทำชั่ว และรู้หน้าที่ของตนรู้ว่าเราทำนั้นทำอะไรอยู่
กายทำอะไร ใจก็ต้องอยู่ที่นั่น และหมั่นทำให้เป็นประจำจนเป็นนิสัย
ถ้าเราหมั่นสัมผัสกับความรู้สึกตัวก็จะมีสติ ไม่ต้องอดทน
ไม่ต้องสำรวม กาย วาจา มันจะเกิดขึ้นเอง
โดยอัตตโนมัติ จากคนที่ขี้โกรธก็จะไม่โกรธ จากที่เป็นคนขี้หลงก็จะไม่หลงลืม
ชีวิตในครอบครัวก็จะมีแต่ความสงบร่มรื่นครับ ลองทำกันดูนะครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย สติ
คำว่า สติ มีวจนัตถะว่า สรณํ สติ อสมฺโมโส แปลว่า ความระลึกได้ ชื่อว่า สติ ได้แก่ ความไม่หลงลืม ดังนี้.
สตินั้น มีความไม่เลอะเลือนเป็นลักษณะ และมีความเข้าไปถือไว้เป็นลักษณะ

สติ เมื่อเกิดขึ้นย่อมไม่เลอะเลือน ไม่สับสน ซึ่งธรรมที่เป็นกุศล และธรรมที่เป็นอกุศล.
ธรรมที่มีโทษและธรรมที่ไม่มีโทษ. ธรรมที่เลว ธรรมที่ปราณีต ธรรมที่ดำ ธรรมที่ขาว. ธรรมที่เหมาะสม ธรรมที่ไม่เหมาะสม
ย่อมไม่เลอะเลือนว่า "นี้คือสติปัฏฐาน 4. นี้คือ สัมมัปปธาน 4. นี้คืออิทธิบาท 4. นี้คืออินทรีย์ 5. นี้คือพละ 5. นี้คือโพชฌงค์ 7.
นี้คืออริยมรรคมีองค์ 8. นี้คือสมถะ. นี้คือวิปัสสนา. นี้คือวิชชา. นี้คือวิมุตติ. ดังนี้ เพราะลักษณะที่ไม่เลอะเลือนนั้น
พระโยคาวจรจึงเสพแต่ธรรมที่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ. สติ ชื่อว่ามีความไม่เลอะเลือนเป็นลักษณะดังนี้แล" ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
การฝึกหัดตัวเราให้มี "สติ" รู้สึกตัวเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย
ไม่ต้องถือศีล ไม่ต้องนั่งบริกรรมคาถา ไม่ต้องหลับตา ไม่ต้องนั่งให้ตัวตรง
ไม่ต้องเดินนับก้าว เพียงแต่เราต้องหมั่นเตือนตนเองอยู่เสมอว่า ก่อนจะทำอะไรต้องรู้จักคิด
และตอบตนเองให้ได้ว่าทำไปเพื่ออะไร ผลของการกระทำนั้นจะออกมาในรูปแบบใด
แยกความคิดของการทำดี ทำชั่ว และรู้หน้าที่ของตนรู้ว่าเราทำนั้นทำอะไรอยู่
กายทำอะไร ใจก็ต้องอยู่ที่นั่น และหมั่นทำให้เป็นประจำจนเป็นนิสัย
ถ้าเราหมั่นสัมผัสกับความรู้สึกตัวก็จะมีสติ ไม่ต้องอดทน
ไม่ต้องสำรวม กาย วาจา มันจะเกิดขึ้นเอง
โดยอัตตโนมัติ จากคนที่ขี้โกรธก็จะไม่โกรธ จากที่เป็นคนขี้หลงก็จะไม่หลงลืม
ชีวิตในครอบครัวก็จะมีแต่ความสงบร่มรื่นครับ ลองทำกันดูนะครับ


ลุงๆ
ไหลเพลินเชียวครับ

สติที่เป็นผล มันไม่ยากหรอกครับ
แต่ตอนฝึกตัวสติ ที่เป็นเหตุ ยากหน่อย

สติอัตตโนมัติ ที่ลุง บอกมาน่ะ เป็นสติผล ครับ ^ ^

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลุงๆ
ไหลเพลินเชียวครับ

สติที่เป็นผล มันไม่ยากหรอกครับ
แต่ตอนฝึกตัวสติ ที่เป็นเหตุ ยากหน่อย

สติอัตตโนมัติ ที่ลุง บอกมาน่ะ เป็นสติผล ครับ ^ ^

เช่นนั้นเข้าใจเรื่อง เหตุไหม ?

อธิบายด้วย ครับ _/I\_

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
Quote Tipitaka:
ลุงๆ
ไหลเพลินเชียวครับ

สติที่เป็นผล มันไม่ยากหรอกครับ
แต่ตอนฝึกตัวสติ ที่เป็นเหตุ ยากหน่อย

สติอัตตโนมัติ ที่ลุง บอกมาน่ะ เป็นสติผล ครับ ^ ^

เช่นนั้นเข้าใจเรื่อง เหตุไหม ?

อธิบายด้วย ครับ _/I\_


สติ ที่เกิดร่วมเกิดพร้อมกับ กุศลจิต สตินั้นเป็นสติในจิตเหตุ
สติ ที่เกิดร่วมเกิดพร้อม กับ วิบากจากกุศลจิตใด สตินั้นเป็นสติในจิตผล

ลุง เข้าใจไหม _/\_

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 14 ส.ค. 2013, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สติ (ความระลึกได้) คือ สภาวะระลึกได้ หมายความว่า เข้าถึงกรรมดีที่ตนกระทำแล้วและพึงกระทำ
หรือเข้าถึงพระพุทธคุณเป็นต้น ด้วยความไม่หลงลืม

สติมี ๒ ประเภท คือ สัมมาสติ และ มิจฉาสติ
ในเรื่องนั้น พระพุทธองค์ทรงหมายเอาสัมมาสติในที่นี้
ส่วนสติอื่นไม่ใช่สติแท้ แต่เป็นอกุศลจิตตุปบาทสติปฏิรูปที่เป็นไปโดยไม่หลงลืมกรรมชั่วที่กระทำแล้ว
และพึงกระทำ

สติย่อมรักษาจิตจากอกุศลธรรมทั้งหมดได้ และยังจิตให้ประกอบกับกุศลธรรม
สติจึงเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ทำกิจทั้งปวงของพระราชาให้สำเร็จ ดังพระพุทธวจนะว่า

สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ.
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวสติว่ามีอุปการะในที่ทั้งปวง"

(อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี โครงการแปลคัมภีร์พุทธศาสน์ วัดท่ามะโอ)

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสต์ เมื่อ: 14 ส.ค. 2013, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


SOAMUSA เขียน:
สติ (ความระลึกได้) คือ สภาวะระลึกได้ หมายความว่า เข้าถึงกรรมดีที่ตนกระทำแล้วและพึงกระทำ
หรือเข้าถึงพระพุทธคุณเป็นต้น ด้วยความไม่หลงลืม

สติมี ๒ ประเภท คือ สัมมาสติ และ มิจฉาสติ
ในเรื่องนั้น พระพุทธองค์ทรงหมายเอาสัมมาสติในที่นี้
ส่วนสติอื่นไม่ใช่สติแท้ แต่เป็นอกุศลจิตตุปบาทสติปฏิรูปที่เป็นไปโดยไม่หลงลืมกรรมชั่วที่กระทำแล้ว
และพึงกระทำ

สติย่อมรักษาจิตจากอกุศลธรรมทั้งหมดได้ และยังจิตให้ประกอบกับกุศลธรรม
สติจึงเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ทำกิจทั้งปวงของพระราชาให้สำเร็จ ดังพระพุทธวจนะว่า

สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ.
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวสติว่ามีอุปการะในที่ทั้งปวง"

(อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี โครงการแปลคัมภีร์พุทธศาสน์ วัดท่ามะโอ)

อ้างคำพูด:
ส่วนสติอื่นไม่ใช่สติแท้ แต่เป็นอกุศลจิตตุปบาทสติปฏิรูปที่เป็นไปโดยไม่หลงลืมกรรมชั่วที่กระทำแล้ว
และพึงกระทำ


สัมมาสติ ก็สติแท้
มิจฉาสติ ก็สติแท้

สภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นของแท้ .......

พระศาสดา ไม่ได้แบ่งแยกว่า มิจฉาสติ หรือสัมมาสติ เป็นสติแท้ไม่แท้
มีแต่ การเขียนขึ้นมาในภายหลังว่าอกุศลจิตทุกดวง ไม่มีสติประกอบอยู่ ..........
หวังว่าคงพิจารณา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 14 ส.ค. 2013, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
SOAMUSA เขียน:
สติ (ความระลึกได้) คือ สภาวะระลึกได้ หมายความว่า เข้าถึงกรรมดีที่ตนกระทำแล้วและพึงกระทำ
หรือเข้าถึงพระพุทธคุณเป็นต้น ด้วยความไม่หลงลืม

สติมี ๒ ประเภท คือ สัมมาสติ และ มิจฉาสติ
ในเรื่องนั้น พระพุทธองค์ทรงหมายเอาสัมมาสติในที่นี้
ส่วนสติอื่นไม่ใช่สติแท้ แต่เป็นอกุศลจิตตุปบาทสติปฏิรูปที่เป็นไปโดยไม่หลงลืมกรรมชั่วที่กระทำแล้ว
และพึงกระทำ

สติย่อมรักษาจิตจากอกุศลธรรมทั้งหมดได้ และยังจิตให้ประกอบกับกุศลธรรม
สติจึงเหมือนมหาอำมาตย์ผู้ทำกิจทั้งปวงของพระราชาให้สำเร็จ ดังพระพุทธวจนะว่า

สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ.
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตกล่าวสติว่ามีอุปการะในที่ทั้งปวง"

(อภิธัมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี โครงการแปลคัมภีร์พุทธศาสน์ วัดท่ามะโอ)

อ้างคำพูด:
ส่วนสติอื่นไม่ใช่สติแท้ แต่เป็นอกุศลจิตตุปบาทสติปฏิรูปที่เป็นไปโดยไม่หลงลืมกรรมชั่วที่กระทำแล้ว
และพึงกระทำ


สัมมาสติ ก็สติแท้
มิจฉาสติ ก็สติแท้

สภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นของแท้ .......

พระศาสดา ไม่ได้แบ่งแยกว่า มิจฉาสติ หรือสัมมาสติ เป็นสติแท้ไม่แท้
มีแต่ การเขียนขึ้นมาในภายหลังว่าอกุศลจิตทุกดวง ไม่มีสติประกอบอยู่ ..........
หวังว่าคงพิจารณา


มิจฉาสติ หรือ สัมมาสติ เป็นองค์มรรคทั้งสอง
การฟังธรรมต้องเข้าใจว่าพระองค์ทรงเทศนาที่ไหน ใน พระสูตร หรือ พระอภิธรรม
ถ้าในพระสูตรท่านจะยกบุคคลขึ้นมากล่าวด้วย เช่นบางครั้งจะเห็นว่า มรรค มีแค่ ๘
บางครั้งมี ๙ บางครั้งมี ๑๖ ถ้ามีกล่าวว่ามี มิจฉาสติ ด้วยให้รู้เถอะว่าท่านกล่าว มรรค มี ๑๖
ถ้าท่านแสดงเพียงแค่องค์มรรคมี ๘ ให้รู้เถอะว่าท่านเทศนาในนัยพระอภิธรรม
แต่บางครั้งในพระสูตรก็แสดงมรรค ๘ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลที่พระองค์ทรงแสดงด้วย
พระองค์ถือเอาจริตของผู้ฟังด้วยว่าจริตของผู้ฟังถูกต้องกับจริตอะไร เพราะพระองค์
จะเทศนาให้แก่ผู้ใดพระองค์จะเลือกจะจริตของผู้นั้นด้วยเป็นอันดับแรก
เหตุที่ที่ว่าในพระอภิธรรม "สติ" จะไม่มีในอกุศลจิตดังนี้ สติ จึงเป็นมหากุศลฝ่ายเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 14 ส.ค. 2013, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
สัมมาสติ ก็สติแท้
มิจฉาสติ ก็สติแท้

สภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นของแท้ .......

พระศาสดา ไม่ได้แบ่งแยกว่า มิจฉาสติ หรือสัมมาสติ เป็นสติแท้ไม่แท้
มีแต่ การเขียนขึ้นมาในภายหลังว่าอกุศลจิตทุกดวง ไม่มีสติประกอบอยู่ ..........
หวังว่าคงพิจารณา


มิจฉาสติ หรือ สัมมาสติ เป็นองค์มรรคทั้งสอง
การฟังธรรมต้องเข้าใจว่าพระองค์ทรงเทศนาที่ไหน ใน พระสูตร หรือ พระอภิธรรม
ถ้าในพระสูตรท่านจะยกบุคคลขึ้นมากล่าวด้วย เช่นบางครั้งจะเห็นว่า มรรค มีแค่ ๘
บางครั้งมี ๙ บางครั้งมี ๑๖ ถ้ามีกล่าวว่ามี มิจฉาสติ ด้วยให้รู้เถอะว่าท่านกล่าว มรรค มี ๑๖
ถ้าท่านแสดงเพียงแค่องค์มรรคมี ๘ ให้รู้เถอะว่าท่านเทศนาในนัยพระอภิธรรม
แต่บางครั้งในพระสูตรก็แสดงมรรค ๘ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลที่พระองค์ทรงแสดงด้วย
พระองค์ถือเอาจริตของผู้ฟังด้วยว่าจริตของผู้ฟังถูกต้องกับจริตอะไร เพราะพระองค์
จะเทศนาให้แก่ผู้ใดพระองค์จะเลือกจะจริตของผู้นั้นด้วยเป็นอันดับแรก
เหตุที่ที่ว่าในพระอภิธรรม "สติ" จะไม่มีในอกุศลจิตดังนี้ สติ จึงเป็นมหากุศลฝ่ายเดียว

เมื่อพระศาสดา ไม่ได้แยกแยะ และไม่เคยแสดงปรากฏในพระสูตร ถึงการแยกแยะสภาวะสติว่าแท้หรือไม่แท้
สติเจตสิกของจิตอันเป็นอกุศลอย่างไรก็มีอยู่ดี
จึงไม่อาจกล่าวแทนพระศาสดาได้ว่า สติ จึงเป็นมหากุศลฝ่ายเดียว
การนำสติเจตสิกออกจากอกุศลจิต จึงเป็นมติของอาจารย์พระสาวกผู้รวบรวมอภิธรรมปิฏก แน่นอน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 14 ส.ค. 2013, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
ลุงหมาน เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
สัมมาสติ ก็สติแท้
มิจฉาสติ ก็สติแท้

สภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นของแท้ .......

พระศาสดา ไม่ได้แบ่งแยกว่า มิจฉาสติ หรือสัมมาสติ เป็นสติแท้ไม่แท้
มีแต่ การเขียนขึ้นมาในภายหลังว่าอกุศลจิตทุกดวง ไม่มีสติประกอบอยู่ ..........
หวังว่าคงพิจารณา


มิจฉาสติ หรือ สัมมาสติ เป็นองค์มรรคทั้งสอง
การฟังธรรมต้องเข้าใจว่าพระองค์ทรงเทศนาที่ไหน ใน พระสูตร หรือ พระอภิธรรม
ถ้าในพระสูตรท่านจะยกบุคคลขึ้นมากล่าวด้วย เช่นบางครั้งจะเห็นว่า มรรค มีแค่ ๘
บางครั้งมี ๙ บางครั้งมี ๑๖ ถ้ามีกล่าวว่ามี มิจฉาสติ ด้วยให้รู้เถอะว่าท่านกล่าว มรรค มี ๑๖
ถ้าท่านแสดงเพียงแค่องค์มรรคมี ๘ ให้รู้เถอะว่าท่านเทศนาในนัยพระอภิธรรม
แต่บางครั้งในพระสูตรก็แสดงมรรค ๘ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุคคลที่พระองค์ทรงแสดงด้วย
พระองค์ถือเอาจริตของผู้ฟังด้วยว่าจริตของผู้ฟังถูกต้องกับจริตอะไร เพราะพระองค์
จะเทศนาให้แก่ผู้ใดพระองค์จะเลือกจะจริตของผู้นั้นด้วยเป็นอันดับแรก
เหตุที่ที่ว่าในพระอภิธรรม "สติ" จะไม่มีในอกุศลจิตดังนี้ สติ จึงเป็นมหากุศลฝ่ายเดียว

เมื่อพระศาสดา ไม่ได้แยกแยะ และไม่เคยแสดงปรากฏในพระสูตร ถึงการแยกแยะสภาวะสติว่าแท้หรือไม่แท้
สติเจตสิกของจิตอันเป็นอกุศลอย่างไรก็มีอยู่ดี
จึงไม่อาจกล่าวแทนพระศาสดาได้ว่า สติ จึงเป็นมหากุศลฝ่ายเดียว
การนำสติเจตสิกออกจากอกุศลจิต จึงเป็นมติของอาจารย์พระสาวกผู้รวบรวมอภิธรรมปิฏก แน่นอน



พระพุทธเจ้าทรงแสดง ทั้งมิจฉาสติและสัมมาสติ การคล้อยตามจึงเป็นเรื่องที่ควร


โพสต์ เมื่อ: 15 ส.ค. 2013, 01:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาสติ เป็นกุศล เป็นทางที่ถูก
ส่วนมิจฉา เป็นอกุศล เป็นทางที่ผิด และมีผลที่ไม่ดี

ซึ่งบางท่านอาจจะ ไม่นับรวมมิจฉาสติเข้าในสติ บ้างว่าเป็นสติเทียมไม่ใช่ของแท้
เพราะสติจะหมายถึงธรรมที่เป็นโสภณธรรมเท่านั้น

อย่างไรก็ตามพระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสมิจฉาสติไว้แล้วแสดงว่าต้องเป็นสิ่งที่มีจริง ดังนั้นผู้ใดบอกว่ามิจฉาสติไม่มีอยู่จริงท่านก็ควรละคำเหล่านั้นเสีย เพราะไม่ตรงกับพุทธพจน์

ฃอให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาการระลึกที่ผิดที่เป็นอกุศล ซึ่งประกอบด้วยความเห็นผิด ละได้ด้วยการระลึกที่ถูกซึ่งประกอบด้วยความเห็นที่ถูกต้อง


โพสต์ เมื่อ: 15 ส.ค. 2013, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8585


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อพระศาสดา ไม่ได้แยกแยะ และไม่เคยแสดงปรากฏในพระสูตร ถึงการแยกแยะสภาวะสติว่าแท้หรือไม่แท้
สติเจตสิกของจิตอันเป็นอกุศลอย่างไรก็มีอยู่ดี
จึงไม่อาจกล่าวแทนพระศาสดาได้ว่า สติ จึงเป็นมหากุศลฝ่ายเดียว
การนำสติเจตสิกออกจากอกุศลจิต จึงเป็นมติของอาจารย์พระสาวกผู้รวบรวมอภิธรรมปิฏก แน่นอน


ถ้ายังมีความคิดอย่างนั้น ก็คงต้องเลือกเฟ้นควานหาความถูกต้องเอาเอง
เมื่อเห็นว่าเป็นมติของอาจารย์รุ่นหลังก็โยนทิ้งไปเสียเพราะว่าไม่ถูกต้อง เดี๋ยวจิตตกไปสู่อบาย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 15 ส.ค. 2013, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
เมื่อพระศาสดา ไม่ได้แยกแยะ และไม่เคยแสดงปรากฏในพระสูตร ถึงการแยกแยะสภาวะสติว่าแท้หรือไม่แท้
สติเจตสิกของจิตอันเป็นอกุศลอย่างไรก็มีอยู่ดี
จึงไม่อาจกล่าวแทนพระศาสดาได้ว่า สติ จึงเป็นมหากุศลฝ่ายเดียว
การนำสติเจตสิกออกจากอกุศลจิต จึงเป็นมติของอาจารย์พระสาวกผู้รวบรวมอภิธรรมปิฏก แน่นอน


ถ้ายังมีความคิดอย่างนั้น ก็คงต้องเลือกเฟ้นควานหาความถูกต้องเอาเอง
เมื่อเห็นว่าเป็นมติของอาจารย์รุ่นหลังก็โยนทิ้งไปเสียเพราะว่าไม่ถูกต้อง เดี๋ยวจิตตกไปสู่อบาย


ถูกแล้วลุงหมาน
ต้องเลือกเฟ้นหาความถูกต้องจากพุทธวจนะเป็นหลัก... จิตจะได้ไม่ตกไปสู่อบาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 16 ส.ค. 2013, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สติอุปการะในที่ทั้งปวงที่เป็นกุศล สติเจตสิกประกอบกับจิตฝ่ายกุศลทุกดวง
ถ้าจะให้สติไปประกอบกับอกุศล ก็เรียกมิจฉาสติ
สติที่เป็นมิจฉาสติ สภาวธรรมคืออกุศลจิตตุปบาท (อกุศลจิตและเจตสิกที่ประกอบกับอกุศลจิต)
มีโมหะคือโมหเจตสิกประกอบทุกสภาวะอยู่แล้ว ถามว่าเวลาทำชั่วมีสติหรือไม่ บอกคนที่กำลังโกรธอยู่สิ
บอกเธอๆๆ มีสติไว้ เค้าก็บอกว่า เนี่ยยย..ชั้นมีสติดี แต่ขณะนั้นโกรธด่าใครก็ได้เพราะอวิชชาหนุนอยู่
เค้ามีมิจฉาสติมีสภาวะเป็นโทสมูลจิตมีเจตสิกที่ประกอบกับโทสะอยู่ด้วย
และเจตสิกที่ประกอบนั้นก็มีโมหเจตสิก โมหเจตสิกจะประกอบกับอกุศลจิตทุกดวง ไม่ว่าทำอกุศลใดๆ
โมหเจตสิกหนุนอยู่เสมอ

มันแบ่งเป็น 2 ฝ่ายชัดเจนอยู่แล้ว จะต้องไปเน้นบัญญัติเป็นคำๆ ให้ได้ทำไม ดูที่สภาวะเป็นหลัก
ในพระอภิธรรมก็มีสภาวะรองรับคำว่ามิจฉาสติ ถ้าหากเอาคำว่าสติเจตสิกไปใส่ไว้ในอกุศลอีกเจตสิกหนึ่ง
ถ้าสติอุปการะในธรรมทั้งปวงแล้ว ในฝ่ายอกุศล โมหะจะทำอย่างไรในปฏิจจสมุปบาท ก็ต้องเปลี่ยนกันใหม่
แล้วในปฏิจจสมุปบาทจาก อวิชชาปจฺจยาสงฺขารา เป็นอะไรดีล่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร