วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 06:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2012, 21:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สวัสดีครับพี่ชาวโลก :b8:
**อาการอึดอัดที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะเป็นเพราะจิตที่ไปยึดติดในอารมณ์ที่เป็นอดีต(สัญญา) แล้วสติของเราตามรู้ไม่ทันจึงเกิดการปรุงแต่งต่อเนื่องโดยที่เราไม่รู้ตัว พอปรุงแต่งมากเข้าๆจิตเราก็ไปยึดเอาอารมณ์นั้นมาเป็นตัวเป็นตนจนเกิดอาการอึดอัด เรียกว่าหลงในธรรมที่ตนเองพิจารณาจนน้อมเอามายึดเป็นตัวตน เพราสติยังอ่อน แต่ถ้าสติมีกำลังตามทันเมื่อมันรู้มันเบื่อมันก็วาง....วิธีแก้ก็เพียงลดการพิจารณาธรรมอันนี้ลงเสีย แล้วเจริญสมาธิให้มากขึ้นให้สมาธิเกิดขึ้นเต็มที่จนจิตรวมลงอยู่ในองค์สมาธิ เจริญสมาธิให้ชำนาญให้มั่นคงเสียก่อน แล้วสติปัญญาย่อมมีกำลังและเฉียบแหลมขึ้นตามมา
ขอบคุณครับ :b8:


:b8: :b8: สาธุ ขอบคุณค่ะ น้อมรับความรู้นะค่ะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2012, 21:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


บางทีวัวที่คุณเลี้ยง
เขากำลังแสดงอาการคล้ายจะเข้าที่เข้าทาง
และพร้อมที่คุณจะต้องเรียนรู้ที่จะค่อย ๆ ผ่อนเชือก ปล่อยเชือก
และคุณก็จะผ่อนคลายสายตาในการจับจ้องเขา
และก็ไปสู่ แค่ทำความรู้สึกไว้เท่านั้น
และ คุณก็อาจจะปล่อยเขาเป็นอิสระจากคุณ
และคุณก็เป็นอิสระจากการเฝ้าเขาด้วย :b1:

บางทีมันก็เป็นเรื่องที่พูดยากจริง ๆ ว่าจะต้องทำยังไง
เมื่อถึงระดับนี้แล้ว เอกอนเชื่อว่าคุณจับกระแสธรรมจากภาษาออก

ธรรมอันว่าด้วยจิตหนึ่ง
คุณต้องหา จิตหนึ่งมานำทางจิตที่ยังหลงอยู่
คุณต้องใช้ สภาวะธรรมจิตหนึ่งเข้ามาช่วยนำวิถีจิตที่ยังหลงอยู่
ใช้ธรรมของผู้ที่เข้าถึงสภาวะจิตหนึ่งช่วยนำวิถี

ธรรมย่อมไหลไปสู่ธรรม
แม่น้ำทุกสายย่อมไหลลงไปสู่ทะเล
ธรรมที่ผู้ไปแล้วสู่ทะเลนั่นล่ะ จะงัดจิตได้
เพราะ ผัสสะ จะนำไปสู่

เพราะ จิตหนึ่ง เป็นไป

:b8: เดาหง่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2012, 21:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ดิฉันมาอ่านซ้ำๆในสิ่งที่ทุกๆท่านไ้ด้เมตตาแนะนำ เพื่อให้ดิฉันสามารถคลายปัญหาที่เกิดขึ้นได่ ดิฉัน

พิจารณาและทบทวนอยู่นาน มองย้อนไปถึงวิธีปฎิบัติของตัวเองที่ผ่านมาและนึกถึงคำแนะนำของท่านผู้มี

คุณทุกท่านที่ได้แนะนำดิฉันมาในกระทู้นี้...ทำให้ดิฉันได้เห็นข้อเสียของตัวเองมากมาย เห็นความยึิดถือ

ยึดมั่นในขันธ์5 เห็นข้อสอบใหม่ๆที่มาหลอกเราให้เราคิดไม่ทัน เพราะมาแบบข้อสอบเดิมๆ ดิฉันเริ่มชิน

และรับได้เสมอ คราวนี้ข้อสอบเลยมาแนวไหม่ ทำให้ดิฉันคิดและพิจารณาไม่ได้ ..ดิฉันกราบขอบพระคุณ

ทุกๆท่านนะค่ะ ที่ช่วยมาแนะและมาสะกิดให้ดิฉันได้คิดและได้เห็นข้อเสียของตัวเองนะค่ะ นอกจากการ

ยึดถือยึดมั่นในขันธ์5 แล้ว ดิฉันยังเห็นข้อเสียของตัวเองอีกข้อหนึ่งค่ะ คือข้อ ไม่อดทน มีความอดทนต่อ

สภาวะที่เกิดขึ้นทางจิตได้น้อย นั่นหมายถึงว่า ดิฉันขาด ขันติบารมี 1 ใน บารมี 10



วันนี้เมื่อดิฉันได้ทบทวนและคิดได้แล้ว ดิฉันบอกตัวเองว่า ดิฉันต้องอดทนต่อสภาวะของจิตให้ได้มากกว่า

นี้ ถึงแม้ดิฉันจะวางออกจากใจไม่ได้จริง มันเป็นเพียงสมถะที่บอกซ้ำๆตัวเองว่า อดทน และวางเฉยต่อ

ทุกสภาวะที่เกิดขึ้นกับขันธ์ 5 ให้เน้นไปที่จิตอย่างเดียวว่า...จิตนิ่งได้จริงไหม เมื่อจิตนิ่งได้ เราก็มาดูว่า

เราจะสามารถวางเฉยต่อขันธ์5 ได้ไหม ลดความยึดถือยึดมั่นของร่างกายเราได้ไหม อดทนต่อสภาวะที่

เกิดขึ้นกับขันธ์5 ได้ไหม สิ่งเหล่านี้ดิฉันจะค่อยๆเรียนรู้ไป ตามสภาวะของจิต โดยไม่คิดที่จะรีบเร่งอะไร

ค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อเรารู้ข้อเสียของตัวเองแล้ว เราก็แค่ค่อยๆแก้ไป

...ดิฉันมาเล่าแนวทางของดิฉันให้ฟัง เพื่อกราบขอบพระคุณทุกๆท่านที่ได้เมตตา

มาแนะนำและให้ความรู้ในกระทู้นี้ค่ะ กราบขอบพระคุณมากๆน่ะค่ะ :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ชาวโลก เมื่อ 24 ก.พ. 2012, 21:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2012, 21:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
eragon_joe เขียน:
บางทีวัวที่คุณเลี้ยง
เขากำลังแสดงอาการคล้ายจะเข้าที่เข้าทาง
และพร้อมที่คุณจะต้องเรียนรู้ที่จะค่อย ๆ ผ่อนเชือก ปล่อยเชือก
และคุณก็จะผ่อนคลายสายตาในการจับจ้องเขา
และก็ไปสู่ แค่ทำความรู้สึกไว้เท่านั้น
และ คุณก็อาจจะปล่อยเขาเป็นอิสระจากคุณ
และคุณก็เป็นอิสระจากการเฝ้าเขาด้วย :b1:



ค่ะดิฉันเข้าใจ...ดิฉันเริ่มจะช่างมันบ้างแล้วค่ะ

:b8: :b8: ขอบคุณนะ่ค่ะที่มาแนะนำและตักเตือนดิฉัน :b8: :b8:


อ้างคำพูด:
ธรรมอันว่าด้วยจิตหนึ่ง
คุณต้องหา จิตหนึ่งมานำทางจิตที่ยังหลงอยู่
คุณต้องใช้ สภาวะธรรมจิตหนึ่งเข้ามาช่วยนำวิถีจิตที่ยังหลงอยู่
ใช้ธรรมของผู้ที่เข้าถึงสภาวะจิตหนึ่งช่วยนำวิถี

ธรรมย่อมไหลไปสู่ธรรม
แม่น้ำทุกสายย่อมไหลลงไปสู่ทะเล
ธรรมที่ผู้ไปแล้วสู่ทะเลนั่นล่ะ จะงัดจิตได้
เพราะ ผัสสะ จะนำไปสู่

เพราะ จิตหนึ่ง เป็นไป


ดิฉันแปลคำกลอนหรือศัทพ์ธรรมไม่ค่อยเ่ก่ง..แต่ดิฉันจะแปลแบบที่ดิฉันเข้าใจนะค่ะว่า(ถ้าแปลผิดกรุณา

แก้ไขให้ดิฉันเข้าใจได้ถูกต้องด้วย จะกราบขอบพระคุณมากค่ะ :b8: )

..สติ.. ขอบคุณ คุณเอกอนค่ะที่มาเตือนให้ดิฉันนึกถึงสติ สติเท่านั้นที่จะนำพาจิตที่หลงให้เข้าสู่ทางเดิม

ได้ เมื่อสติพาเข้าสู่ทางเดิม ต่อไปปัญญาก็จะมาเอง....ดิฉัีนแปลได้อย่างนี้นะค่ะ

:b8: :b8: กราบขอบพระคุณน่ะค่ะ :b8: :b8: ... :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2012, 00:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ธ.ค. 2011, 20:43
โพสต์: 15


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่คุณ ชาวโลกกล่าวว่า ปฎิบัติธรรมเพื่อพระนิพพานในชาติปัจจุบันเท่านั้น ...ฟังแล้วช่างมีจิตใจที่แรงกล้าจริง ๆ ครับ
ที่ผ่านมาผมก็เฝ้าเพียรพยายามปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิฟังอาจารย์ อ่านหนังสือ ก็ต้องยอมรับว่ามีอาจารย์ดี ๆ หลายท่าน หนังสือดี ๆ ก็หลายเล่ม ผ่านไปหลายปี นิพพานที่แสวงหาไม่เห็นว่าจะปรากฎ จนท้อ ก็เลยบอกตัวเองว่าพอแล้ว แต่ทันทีที่ผมหยุดรู้สึกโล่งโปร่งเบาสบาย (ถ้าบินได้คงบินไปไกลลิบ555+) จิตรู้สึกเป็นอิสระไม่ติดข้องอะไรใด ๆ มองโลกด้วยมุมมองใหม่ที่สวยสดงดงาม ผมจึงวางตำราเสียสิ้น นิพพานจะเป็นอะไรยังไงก็ชั่งมัน ชิวิตไม่มีอะไรเลย มันก็เป็นดั่งที่มันเป็นนั่นแหละ

ส่วนคำถามที่ว่า อารมณ์โดดจะแก้ยังไง ผมเห็นว่าคุณคงไม่ต้องแก้อะไรแล้วครับ
คุณพูดเองไม่ใช่หรือว่า "ไม่มีความหวั่นไหวเกิดขึ้นในจิตเลย จิตมันแข็งและ
แกร่งมาก แข็งคล้ายๆจิตเป็นหินไม่รู้สึกถึงความหวั่นไหว กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น"
ในเมื่อคุณไม่หวั่นไหว ใยต้องแก้ด้วยหละ.....ถ้าไม่หวั่นไหวแล้วผมว่า มันจะ โดด หรือ ไม่โดด
ค่ามันก็เท่ากันนั่นแหละ ช่างมั่นเถอะนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2012, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไงๆเสีย ก็อย่าเพิ่งทิ้งอารมณ์ทางโลกไปนะครับ เพราะอารมณ์ทางโลกหากแม้เราไม่คิดอะไร มันก้สงบเปนธรรมชาติในตัวของมัน หรือมีไรมากระทบให้ดีใจหรือหัวเราะเราก้ยินดี แต่หากอะไรมากระทบทำให้โกรธหรือหงุดหงิด เราก้ร้สึกรำคาญเปนทุกข์ ซึ่งก้คือปกติ เพราะนี่คือธรรมชาติมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

จิตปุถุชนเมื่อยังไม่ถึงโลกุตตระ เราจะทิ้งอย่างใดอย่างหนึ่งเลยไม่ได้ ขาข้างหนึ่งอย่ทางโลกขาอีกข้างหนึ่งอย่ทางธรรม หรือขาทั้งสอง เดินก้าวระหว่างโลกกับธรรมะ :b14:

อารมณ์โดด สำหรับคนที่ได้สมถะใหม่ ก้คงจะรู้สึกอย่างนี้บ้างเพราะไปอินน์หรือสนใจกับความรู้สึกทางกายมากไป เมื่อจิตเราเริ่มสงบ สิ่งแรกที่ปรากฏความสุขทางกาย หรือความร้ทางกายเพราะร้สึกได้ง่ายที่เรียกว่ากายสงบ ถือเปนเรื่องดี แต่ว่าถ้าทุกครั้งเมื่อสงบแล้วหรือถัดจากความสงบไปแล้วเราไม่พิจารณาด้วยสติและอุเบกขา แล้วไปเพลิดเพลินกับมัน ตรงนี้จะทำให้เกิดช่องว่างหรือรอยต่อให้อารมณ์ที่ปรุงแต่งจิตหรือความร้สึกนึกคิดที่ต้องตัดทิ้ง แทรกเข้ามาในขณะจิตเปนสมาธิ ทำให้เกิดผลลัพธ์แสดงออกทั้งทางใจและทางกาย แต่เมื่อไรที่จิตเข้าสู่อุเบกขาจริงๆ หรือมีสติและสมาธิเท่าๆกันแล้ว ความร้สึกที่พูดมาทั้งหมดจะหายไป แล้วถ้ายิ่งปลงได้หมด จิตจะเริ่มมีสมาธิที่แนบแน่นและละเอียดลงไป ทำให้ตัดความร้สึกทางกายและความอึดอัดทางใจอันเนื่องจากความร้สึกที่จิตคิดไปเอง ได้อย่างสิ้นเชิงครับ :b40: :b40:

โลกของสมาธิที่ต้องศึกษาด้วยสติ และสัมปชัญญะ ให้ดีไปเรื่อยๆจริงๆ ถึงจะไม่โดนความคิดและอุปทานหลอกหลอนเรา :b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2012, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณชาวโลก

การเจริญวิปัสสนาภาวนา สิ่งสำคัญต้องรู้เท่าทันสภาวธรรมที่กำลังปรากฏในปัจจุบันขณะ
:b39: ถ้ารู้ทัน ก็จะมีแต่สิ่งที่เข้าไปรู้และสิ่งที่ถูกรู้ เกิดและดับต่อเนื่องกันไป
:b39: ถ้ารู้ไม่ทัน ก็จะกลายเป็นเรา มีเราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้โลภ เราเป็นผู้โกรธ เราเป็นผู้หลง

คนส่วนใหญ่จะหลงติดกันอยู่ที่เนื้อหาของความคิด หรือเรียกว่า หลงในสมมติบัญญัติ
จึงไม่อาจจะมองลึกเข้าไปถึงสภาวธรรมที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆได้ :b41:

ขอเจริญในธรรม :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2012, 12:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
kitti123 เขียน:
ที่คุณ ชาวโลกกล่าวว่า ปฎิบัติธรรมเพื่อพระนิพพานในชาติปัจจุบันเท่านั้น ...ฟังแล้วช่างมีจิตใจที่แรงกล้าจริง ๆ ครับ


ดิฉันว่า นักปฎิบัติธรรมส่วนใหญ่ที่ใฝ่ทางธรรมทุกๆท่านก็ปราถนาในเรื่องนี้เช่นกัน

คือ ทุกๆท่านต่างปฎิบัติธรรมเพื่อพระนิพพานในชาติปัจจุบันเหมือนกัน..เพียงแต่ว่า ดิฉันอาจจะบ้าระห่ำ

ไปหน่อยที่กล่าวออกมาเป็นวาจาเท่านั้นเองค่ะ :b12: :b12:



อ้างคำพูด:
ที่ผ่านมาผมก็เฝ้าเพียรพยายามปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิฟังอาจารย์ อ่านหนังสือ ก็ต้องยอมรับว่ามีอาจารย์ดี ๆ หลายท่าน หนังสือดี ๆ ก็หลายเล่ม ผ่านไปหลายปี นิพพานที่แสวงหาไม่เห็นว่าจะปรากฎ จนท้อ ก็เลยบอกตัวเองว่าพอแล้ว แต่ทันทีที่ผมหยุดรู้สึกโล่งโปร่งเบาสบาย (ถ้าบินได้คงบินไปไกลลิบ555+) จิตรู้สึกเป็นอิสระไม่ติดข้องอะไรใด ๆ มองโลกด้วยมุมมองใหม่ที่สวยสดงดงาม ผมจึงวางตำราเสียสิ้น นิพพานจะเป็นอะไรยังไงก็ชั่งมัน ชิวิตไม่มีอะไรเลย มันก็เป็นดั่งที่มันเป็นนั่นแหละ


ดิฉันว่า อารมณ์ที่คุณ kitti123 เป็น เป็นเรื่องธรรมดามากค่ะ ดิฉันก็เคยเป็น และ

เป็นเป็นประจำเลย ครูบาอาจารย์ตักเตือนดิฉันประจำว่า เธออยากมากเกินไป จนกลายเป็นนิวรณ์ ตอน

นั้นดิฉันไมู่้รู้หรอกค่ะว่า สิ่งที่ครูบาอาจารย์เตือนนั้นเป็นสิ่งที่ถูก (เพราะดิฉันเป็นคนดื้อน่ะค่ะ) กว่าจะรู้ได้

และผ่านมาได้ก็ต้องเจอประสบการณ์กับตัวเองและ้ข้อสอบของตัวเอง จึงจะเชื่ออาจารย์ได้ ในความนิสัย

ไม่ดีของตัวเอง จึงทำให้การปฎิบัติของดิฉันเดินไปได้ช้า..จากนั้นดิฉันก็ท่องบอกตัวเองเสมอเลยว่า..ต้อง

ทำแบบคนโง่ๆ ท่านบอกอย่างไหน ก็เชื่อแล้วทำไปก่อน อีกอย่างคือ ดิฉันก็ต้องทิ้งหนังสือเช่นกันค่ะ

เพราะแต่ก่อนเถียงครูบาอาจารย์ซึ่งเป็นเรื่องนิสัยไม่ดีของตัวเอง ก็เถียงมาจากสัญญาในหนังสือ แต่สิ่งที่

ท่านเตือนท่านสอนมาจากปัญญาที่แก่กล้าที่ท่านสะสมมา ไม่เหมือนตัวดิฉันเองที่เถียงจากสัญญา

ค่ะ..จากนั้นดิฉันทิ้งหนังสือมาเรื่อยไป ติดตรงไหนก็สอบถามครูบาอาจารย์เอง เรียนจากการปฎิบัติเอาค่ะ

ไม่เรียนจากหนังสืออีก..ดิฉันจะใช้หนังสือก็ต่อเมื่อ เปรียบเทียบว่าการปฎิบัติของดิฉันออกนอกลู่นอกทาง

หรือป่าว..เอาไว้เป็นหลักในการเดินอย่างคราวๆนะค่ะ ดิฉันยึด สังโยชน์ 10 บารมี 10 และอุปกิเลส 10

เป็นหลักในการเดินทางธรรมของดิฉันค่ะ...มาเล่าสู่กันฟัง ว่าสิ่งที่คุณ kitti 123 เจอ เป็นสิ่งที่นักปฎิบัติ

ทุกๆคนต้องผ่านและต้องเจอกันทุกๆคนทั้งสิ้น จนกว่าเราจะชนะใจตัวเอง เราถึงจะเดินต่อไปได้..เป็น

กำลังใจให้คุณkitti 123 นะค่ะ เราจะได้มีเพื่อนทางเดินทางธรรมด้วยกันเยอะๆ โมทนาสาธุ ในการ

ปฎิบัติมาทั้งหมดของคุณ kitti123ด้วค่ะ :b8: :b16: :b16:




อ้างคำพูด:
ส่วนคำถามที่ว่า อารมณ์โดดจะแก้ยังไง ผมเห็นว่าคุณคงไม่ต้องแก้อะไรแล้วครับ
คุณพูดเองไม่ใช่หรือว่า "ไม่มีความหวั่นไหวเกิดขึ้นในจิตเลย จิตมันแข็งและ
แกร่งมาก แข็งคล้ายๆจิตเป็นหินไม่รู้สึกถึงความหวั่นไหว กับความรู้สึกที่เกิดขึ้น"
ในเมื่อคุณไม่หวั่นไหว ใยต้องแก้ด้วยหละ.....ถ้าไม่หวั่นไหวแล้วผมว่า มันจะ โดด หรือ ไม่โดด
ค่ามันก็เท่ากันนั่นแหละ ช่างมั่นเถอะนะครับ


:b8: :b8: กราบขอบพระคุณนะค่ะที่เตือนสติ แต่จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้

ดิฉันเห็นข้อเสียของตัวเองเรื่องการยึดถือยึดมั่นในขันธ์5 นั่นคือ ร่างกาย คือดิฉันสนใจมันมากเกิดไป

จริงๆแล้วดิฉันมักพูดเสมอว่า การปฎิบัตินั้น ส่วนใหญ่เน้นการละที่จิตไม่ใช่ที่กาย แต่ดิฉันก็ตกม้าตาย

อย่างง่ายๆ ข้อสอบมาหลอกดิฉันโดยดิฉันไม่รู้ตัว จนมีท่านผุ้มีคุณหลายๆท่านที่มาตอบในกระทู้นี้ มา

สะกิดสะเกา ทำให้ดิฉันได้คิดและรู้ตัวว่าตัวเองพลาดอะไรไปบ้าง สิ่งที่คุณ kitti123 เตือนก็เช่นเดียวกัน

กราบขอบพระคุณนะค่ะ :b8:

:b8: .... :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2012, 13:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ม.ค. 2011, 12:57
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณชาวโลก
ขอแสดงความเห็น ถือเป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ กระบวนการของทุกข์ในร่างกายและจิตใจ
เกิดจากการรับรู้ทางตา หู......เมื่อรับรู้แล้วเกิดความรู้สึก เช่นพอใจ ไม่พอใจ(เกิดจากอนุสัยได้แก่โลภ โกรธ หลง) ความรู้สึกนั้นจะไปสั่งการให้สมองหลั่งสารฮอร์โมนประเภทเดียวกันออกมา(อาสวะ เครื่องหมักดอง) เช่นไม่พอใจ จะทำให้สมองหลั่งสารอะดีนารีน ออกมาไหลเอิบอาบ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ร้อน และมือสั่นในขณะนั้นหากระงับอารมณ์ไม่ได้ก็จะแสดงออกทางใจและกาย เกิดกรรมและวิบากต่อไป ต่อมาในร่างกายจะเกิดความเหนื่อยล้า สรุปว่าการเกิดของอารมณ์ 1 ครั้งจะกระตุ้นให้เกิดสาร 1 ครั้ง เรียกว่า 1 รอบการเกิดทุกข์ ใน 1 นาที 1 ชม. จะเกิดปรากฏการณ์นี้จนนับไม่ถ้วน เป็นการสร้างภพ ชาติขึ้นในใจสัมพันธ์กับกาย
การปฏิบัติวิปัสนาจึงเป็นปฏิกริยาย้อนกลับ จากการไม่รู้เกิดการปรุงแต่งเกิดอารมณ์ ปรับมาเป็นการรู้เท่าทันการกระทบของรูปเกิดอารมณ์ โดยมารู้อารมณ์ และรู้ความสัมพันธ์ที่เกิดกับกาย
สำหรับคุณชาวโลก ความตั้งใจในการปฺฏิบัติ เกิดการเพ่งมีความปารถนาที่จะตามติดในองค์กรรมฐานโดยไม่รู้ตัว(ไม่เป็นกลางทางอารมณ์) ทำให้เกิดมวลที่หน้าอกแน่นที่ใจเกิดความร้อน
แนวทาง ไม่ใส่ความตั้งใจ ทำความรู้สึกสบาย ๆ แตะรู้เบาๆ (มัชฌิมาปฏิปทา)ที่ความรู้สึกแน่นร้อน ที่หน้าอกแตะ รู้ 1 ครั้งใช้เวลา 5-6 วินาทีแล้วค่อยๆ เลื่อนความรู้สึกฃ้าๆ ไปที่หน้าผาก ชึ่งสำหรับคุณชาวโลก คุณได้สร้างอดีนารีนไว้ที่หน้าผากด้วย จะทำให้คุณรู้สึกมึนๆ ที่หน้าผาก(ไม่เหมือนกันทุกคน) เมื่อเลื่อนมาที่หน้าผากแล้วให้รู้เบาๆถึงความรู้สึกมึนใช้เวลา 5-6 วินาทีแล้วค่อยๆ เลื่อนความรู้สึกฃ้าๆ กลับไปที่หน้าอกอีกครั้งทำสลับไปมาช้าๆเบาๆ หากมีคำถามว่าทำไมต้องทำเช่นนี้
คำตอบ การปฏิบัติ จะรู้ถึงสิ่งสำคัญ คือ สติ และสัมปชัญญะ แต่ถ้าเราถลำไปรู้นานๆจะเกิดความเป็นตัวตนเข้าร่วมกับสติ ไม่เป็นสัมมาสติและไม่มีสัมปชัญญะ ฃึ่งก็คือการรู้แบบติดยึด(อุปาทาน) การรู้กายและใจสัมพันธ์กัน รู้ประมาณ 5-6 วินาทีสลับกัน จึงเป็นเทคนิคการละอุปาทาน ขอให้คุณชาวโลกลองใช้วิธีนี้ดู ได้ผลประการใดช่วยแจ้งด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยังไงๆเสีย ก็อย่าเพิ่งทิ้งอารมณ์ทางโลกไปนะครับ เพราะอารมณ์ทางโลกหากแม้เราไม่คิดอะไร มันก้สงบเปนธรรมชาติในตัวของมัน หรือมีไรมากระทบให้ดีใจหรือหัวเราะเราก้ยินดี แต่หากอะไรมากระทบทำให้โกรธหรือหงุดหงิด เราก้ร้สึกรำคาญเปนทุกข์ ซึ่งก้คือปกติ เพราะนี่คือธรรมชาติมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

จิตปุถุชนเมื่อยังไม่ถึงโลกุตตระ เราจะทิ้งอย่างใดอย่างหนึ่งเลยไม่ได้ ขาข้างหนึ่งอย่ทางโลกขาอีกข้างหนึ่งอย่ทางธรรม หรือขาทั้งสอง เดินก้าวระหว่างโลกกับธรรมะ :b14:


:b32: :b32: ดิฉันยังเป็นชาวโลกเป็นปกติค่ะ ยังมีโกรธ รำคาญ หงุดหงิด มีทุกอารมณ์ เป็นเรื่องปกตืธรรมดา..ดิฉันไม่ใช่ตอไม้ค่ะ :b32: :b32:

:b8: ..กราบขอบพระคุณนะคะ ในความหวังดีที่ได้นำมาตักเตือนกัน :b8:

อ้างคำพูด:
อารมณ์โดด สำหรับคนที่ได้สมถะใหม่ ก้คงจะรู้สึกอย่างนี้บ้างเพราะไปอินน์หรือสนใจกับความรู้สึกทางกายมากไป เมื่อจิตเราเริ่มสงบ สิ่งแรกที่ปรากฏความสุขทางกาย หรือความร้ทางกายเพราะร้สึกได้ง่ายที่เรียกว่ากายสงบ ถือเปนเรื่องดี


จริงหรือค่ะว่าสุขกาย..ตามความเป็นจริงเราปฎิบัติธรรมกับเพื่ออะไร ก็เพื่อเห็นความเป็นจริงของร่างกาย

เมื่อเราเห็นความเป็นจริงของร่างกาย เราจะมีความรู้สึกถึงความว่าสุขอยู่ไหม เมื่อใดท่านใดรู้สึกว่าสุขกับ

ร่างกาย เมื่อนั้นท่านนั้นไม่สามารถเห็นความเป็นจริงของร่างกายได้ ยังหลงมัวเมา เห็นว่าร่างกายนั้นยังดี

ยังวิเศษอยู่ ยังเห็นร่างกายเป็นของตน เป็นตัวเป็นตนอยู่ ในระยะแรกถ้าผู้ใดปฎิบัติธรรมแล้วสุขนั้น ท่านๆ

นั้นยังติดแค่ ปิดิ เท่านั้น ในด้านหลักธรรมจริงๆแล้ว พระท่านว่า ห้ามติดในปิติ ไม่ว่าจะทางด้านร่างกาย

หรือจิตใจ และท่านใดที่สามารถสงบในกายได้จริงๆจังๆนั้น ก็ต่อเมื่อท่านนั้นเป็นพระอรหันต์เท่านั้น ถึง

สามารถวางกายและใจให้สงบได้เปินปกติ...สำหรับนักปฎิบัติธรรมที่กำลังเดินเข้าสู่ทางเดินของพระอริย

เจ้าและพระอรหันต์การรู้สึกทุกข์ในกาย ทุกข์ในจิตเกิดขึ้นได้เสมอ และเกิดได้ตลอดเวลา เพราะว่าถ้าเรา

ยังติดในสุขของร่างกายหรือของจิต เมื่อไหร่เราจะเข็ดการเกิดกัน ยังรักที่จะเกิดอยู่ในวัฏฏสงสารนี้ต่อไป

เมื่อไหร่ เราเข็ดการเกิด เห็นว่าการเกิดเป็นที่มาของทุกข์ เราก็จะขยาดและหาทางหนีมันให้ได้ไวที่สุด

เพราะทุกข์ อยากทุกข์ก็ต้องเกิดต่อไป ถ้าไม่อยากทุกข์ก็ หยุดการเกิด ทำอย่างไรหล่ะที่จะหยุดการเกิด

ได้ ก็ขึ้นอยู่ตามภาวะปัญญาของแต่และบุคคล ภาวะกรรมของแต่ละบุคคล ภาวะบุญของแต่ละบุคคล ที่ได้

สะสมมา..


อ้างคำพูด:
แต่ว่าถ้าทุกครั้งเมื่อสงบแล้วหรือถัดจากความสงบไปแล้วเราไม่พิจารณาด้วยสติและอุเบกขา แล้วไปเพลิดเพลินกับมัน ตรงนี้จะทำให้เกิดช่องว่างหรือรอยต่อให้อารมณ์ที่ปรุงแต่งจิตหรือความร้สึกนึกคิดที่ต้องตัดทิ้ง แทรกเข้ามาในขณะจิตเปนสมาธิ ทำให้เกิดผลลัพธ์แสดงออกทั้งทางใจและทางกาย แต่เมื่อไรที่จิตเข้าสู่อุเบกขาจริงๆ หรือมีสติและสมาธิเท่าๆกันแล้ว ความร้สึกที่พูดมาทั้งหมดจะหายไป แล้วถ้ายิ่งปลงได้หมด จิตจะเริ่มมีสมาธิที่แนบแน่นและละเอียดลงไป ทำให้ตัดความร้สึกทางกายและความอึดอัดทางใจอันเนื่องจากความร้สึกที่จิตคิดไปเอง ได้อย่างสิ้นเชิงครับ :b40: :b40:

โลกของสมาธิที่ต้องศึกษาด้วยสติ และสัมปชัญญะ ให้ดีไปเรื่อยๆจริงๆ ถึงจะไม่โดนความคิดและอุปทานหลอกหลอนเรา
:b40:


อารมณ์นี้เป็นอารมณ์ของพระท่านที่หมดสิ้นกิเลสค่ะ คือเป็นพระอรหันต์เท่านั้นที่จะทำได้..เหตุใดจึงว่า

เช่นนั้น เพราะพระอรหันต์เท่านั้นถึงมีสติและมีอุเบกขาได้จริงๆ เมื่อใดที่เรายังไม่ถึงอรหันต์ เมื่อนั้น

อารมณ์ต่างๆสามารถเข้ามาแทรกในจิตได้ เพราะเรายังไม่ถึงผู้สิ้นอาสวะกิเลส เรายังเป็นผู้เดินทางที่ต้อง

ค่อยๆเดินเรียนรู้กันไป ศึกษาจากการที่เดินทางโดยการปฏิบัติจริง...สติของนักปฎิบัติธรรมที่ยังไม่ถึงคำ

ว่าอริยะเจ้านั้น จะมีสติจากสมถภาวนา เป็นตัวก่อตั้ง แต่ถ้้้้้้้าท่านใดเป็นพระอริยะเจ้าแล้ว สติไม่ได้มาจาก

สมถะภาวนาเลย แต่สติจะมาจากเนื้อในที่มาจากความเป็นธรรมดาที่เห็นความเป็นไป ตามความเป้นจริง

ของร่างกายและของโลก ไม่ต้องใช้สมาธิคุมหรือใช้สมาธิกดอารมณ์แต่อย่างใด อุเบกขาเช่นกัน อุเบกขา

ถ้านักปฎิบัติที่ยังไม่สิ้นอาสวะกิเลสนั้น จะมีอุเบกขาได้ก็ต่อเมื่อมีสติ สติจะมีได้ก็ต่อเมื่อมีสถมะ

ภาวนา..จะเห็นว่าทุกอย่างต่อเนื่องกัน....นี่คือความเห็นส่วนตัวนะค่ะ...ถ้าผิดอย่างใดดิฉันขอขมาและ

โปรดเมตตาชี้แนะและแก้ไขให้ดิฉันด้วยค่ะ เพื่อดิฉันจะได้ตาสว่างและสามารถเดินได้อย่างถูกต้องและถูก

ทาง :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 05:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


ปลีกวิเวก เขียน:
สวัสดีค่ะ คุณชาวโลก

การเจริญวิปัสสนาภาวนา สิ่งสำคัญต้องรู้เท่าทันสภาวธรรมที่กำลังปรากฏในปัจจุบันขณะ
:b39: ถ้ารู้ทัน ก็จะมีแต่สิ่งที่เข้าไปรู้และสิ่งที่ถูกรู้ เกิดและดับต่อเนื่องกันไป
:b39: ถ้ารู้ไม่ทัน ก็จะกลายเป็นเรา มีเราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้โลภ เราเป็นผู้โกรธ เราเป็นผู้หลง

คนส่วนใหญ่จะหลงติดกันอยู่ที่เนื้อหาของความคิด หรือเรียกว่า หลงในสมมติบัญญัติ
จึงไม่อาจจะมองลึกเข้าไปถึงสภาวธรรมที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆได้ :b41:

ขอเจริญในธรรม :b8:


:b8: :b8: สาธุน้อมรับความรู้ค่ะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 06:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


suttiyan เขียน:
สวัสดีครับคุณชาวโลก
ขอแสดงความเห็น ถือเป็นการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ กระบวนการของทุกข์ในร่างกายและจิตใจ
เกิดจากการรับรู้ทางตา หู......เมื่อรับรู้แล้วเกิดความรู้สึก เช่นพอใจ ไม่พอใจ(เกิดจากอนุสัยได้แก่โลภ โกรธ หลง) ความรู้สึกนั้นจะไปสั่งการให้สมองหลั่งสารฮอร์โมนประเภทเดียวกันออกมา(อาสวะ เครื่องหมักดอง) เช่นไม่พอใจ จะทำให้สมองหลั่งสารอะดีนารีน ออกมาไหลเอิบอาบ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ร้อน และมือสั่นในขณะนั้นหากระงับอารมณ์ไม่ได้ก็จะแสดงออกทางใจและกาย เกิดกรรมและวิบากต่อไป ต่อมาในร่างกายจะเกิดความเหนื่อยล้า สรุปว่าการเกิดของอารมณ์ 1 ครั้งจะกระตุ้นให้เกิดสาร 1 ครั้ง เรียกว่า 1 รอบการเกิดทุกข์ ใน 1 นาที 1 ชม. จะเกิดปรากฏการณ์นี้จนนับไม่ถ้วน เป็นการสร้างภพ ชาติขึ้นในใจสัมพันธ์กับกาย
การปฏิบัติวิปัสนาจึงเป็นปฏิกริยาย้อนกลับ จากการไม่รู้เกิดการปรุงแต่งเกิดอารมณ์ ปรับมาเป็นการรู้เท่าทันการกระทบของรูปเกิดอารมณ์ โดยมารู้อารมณ์ และรู้ความสัมพันธ์ที่เกิดกับกาย
สำหรับคุณชาวโลก ความตั้งใจในการปฺฏิบัติ เกิดการเพ่งมีความปารถนาที่จะตามติดในองค์กรรมฐานโดยไม่รู้ตัว(ไม่เป็นกลางทางอารมณ์) ทำให้เกิดมวลที่หน้าอกแน่นที่ใจเกิดความร้อน
แนวทาง ไม่ใส่ความตั้งใจ ทำความรู้สึกสบาย ๆ แตะรู้เบาๆ (มัชฌิมาปฏิปทา)ที่ความรู้สึกแน่นร้อน ที่หน้าอกแตะ รู้ 1 ครั้งใช้เวลา 5-6 วินาทีแล้วค่อยๆ เลื่อนความรู้สึกฃ้าๆ ไปที่หน้าผาก ชึ่งสำหรับคุณชาวโลก คุณได้สร้างอดีนารีนไว้ที่หน้าผากด้วย จะทำให้คุณรู้สึกมึนๆ ที่หน้าผาก(ไม่เหมือนกันทุกคน) เมื่อเลื่อนมาที่หน้าผากแล้วให้รู้เบาๆถึงความรู้สึกมึนใช้เวลา 5-6 วินาทีแล้วค่อยๆ เลื่อนความรู้สึกฃ้าๆ กลับไปที่หน้าอกอีกครั้งทำสลับไปมาช้าๆเบาๆ หากมีคำถามว่าทำไมต้องทำเช่นนี้
คำตอบ การปฏิบัติ จะรู้ถึงสิ่งสำคัญ คือ สติ และสัมปชัญญะ แต่ถ้าเราถลำไปรู้นานๆจะเกิดความเป็นตัวตนเข้าร่วมกับสติ ไม่เป็นสัมมาสติและไม่มีสัมปชัญญะ ฃึ่งก็คือการรู้แบบติดยึด(อุปาทาน) การรู้กายและใจสัมพันธ์กัน รู้ประมาณ 5-6 วินาทีสลับกัน จึงเป็นเทคนิคการละอุปาทาน ขอให้คุณชาวโลกลองใช้วิธีนี้ดู ได้ผลประการใดช่วยแจ้งด้วยครับ


:b8: :b8: น้อมรับความรู้ค่ะ :b8: :b8:

ดิฉันได้ลองทำอย่างคุณ suttiyan แล้วค่ะ ในความคิดเห็นส่วนตัวนะค่ะ ถ้าผิดก็ขออภัยด้วยค่ะ..ดิฉันคิด

ว่าวิธีที่คุณ suttiyan แนะนำนั้น ทำให้เกิดผลดีเช่นกัน ทำให้มีสติรู้เท่าทันทุกครั้งที่แตะ เหตุใดถึงว่า

เช่นนั้น เพราะนั่นคือสิ่งแปลกไหม่สำหรับคนที่ไม่เคยทำ เมื่อไม่เคยทำ ก็ต้องมีสติเพื่อให้รู้การกระทบได้

ในแต่ละครั้ง แต่ถ้าเมื่อใดทำคล่องแล้ว ก็ไม่ต่างจากสมถะภาวนา ที่รู้การกระทบของฐานต่างๆในร่างกาย

ในความคิดดิฉันเป็นเช่นนี้ อาจเพราะดิฉันไม่ได้มีความถนัดในสิ่งที่คุณ suttiyan ได้แนะนำ เลยไม่รู้ผล

ที่เกิดได้อย่างจริงจัง..ในการลองทำไม่กี่ครั้งอาจทำให้ไม่รู้ผลที่เกิดได้อย่างสมบูรณ์..แต่เมื่อลองทำแล้ว

ทำให้ดิฉันคิดว่า การทำวิธีนี้ ทางนักปฎิบัติอาจเรียกได้ว่า กีฬาสมาธิอย่างหนึ่งค่ะ..


ถ้าเป็นสมัยก่อนย้อนไป สัก 1 ปีก่อนหน้านี้ ดิฉันคงสนุกกับการลองเล่น กีฬาสมาธิแปลกๆไหม่ๆ เพื่อ

ความสนุกและเพลิดเพลินใจ..แต่ในปัจจุบันดิฉันเลิกเล่นกีฬาสมาธิแล้วค่ะ..ดิฉันทำสมาธิเพื่อวัตถุประสงค์

ในการสะสมปัญญาบารมีเท่านั้น ดังนั้นการทำสมาธิของดิฉันจะเน้นไปที่ความสงบของจิต ซึ่งดิฉันจะไม่

ทำตลอดทั้ง 24 ชม. ดิฉันทำเฉพาะเวลากรรมฐานของดิฉันเท่านั้น คือ 30 นาที หรือ ร่นเวลาลงหรือ

เพิ่มเวลาขึ้น ตามสภาวะในขณะนั้นว่าดิฉันควรทำระยะเท่าไหร.แต่ต้องไม่ต่ำว่า 20 นาทีเป็นอย่าง

น้อย....เวลาที่เหลือ ดิฉันใช้วิธี ปล่อยจิตเป็นธรรมดา ไม่ใช้สมาธิกดอารมณ์ และดูร่างกาย(ธาตุ4) ดู

สังคม(ความพอใจไม่พอใจ) และดูโลก(อนิจจัง อนัตตา) และพิจารณา ในขอบเขต มหาสติหรือไม่ก็

กรรมฐานกองใดกองหนึ่งของ กรรมฐาน 40 ...โดยยึดสังโยชน์ 10 เป็นเกณฑ์ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 09:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ห้องนี้ร่มเย็น...ไม่มีเสียงเอ่ะ..อะ...โวยวายดี...

นอนฟังเสียงอันภิรมณ์นี้....คงหลับสบายดีแท้
:b30: :b30: :b30:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 10:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


ชาวโลก เขียน:
ดิฉันแปลคำกลอนหรือศัทพ์ธรรมไม่ค่อยเ่ก่ง..แต่ดิฉันจะแปลแบบที่ดิฉันเข้าใจนะค่ะว่า(ถ้าแปลผิดกรุณา

แก้ไขให้ดิฉันเข้าใจได้ถูกต้องด้วย จะกราบขอบพระคุณมากค่ะ :b8: )

..สติ.. ขอบคุณ คุณเอกอนค่ะที่มาเตือนให้ดิฉันนึกถึงสติ สติเท่านั้นที่จะนำพาจิตที่หลงให้เข้าสู่ทางเดิม

ได้ เมื่อสติพาเข้าสู่ทางเดิม ต่อไปปัญญาก็จะมาเอง....ดิฉัีนแปลได้อย่างนี้นะค่ะ

:b8: :b8: กราบขอบพระคุณน่ะค่ะ :b8: :b8: ... :b1:


:b12: คุณแปลได้ดี ค่ะ
ตอนแรกเอกอนก็ว่าจะให้คงคำแปลนี้
และเก็บความในใจที่ต้องการสื่อจริง ๆ เอาไว้ เพราะเป็นเรื่องที่
เอกอนไม่รู้ว่า เซนท์ จะเข้าเพี้ยนไปอย่างไรหรือเปล่า
เดี๋ยวหน้าแตกขึ้นมา ชาวบ้านชาวช่องจะได้
ฮา กะลากลิ้ง กลิ้ง กลิ้ง :b32:
แบบว่า เวลาหน้าแตก เอกอนก็อายเป็นเหมือนกันนะ :b3:

คือจริง ๆ บอกตรง ๆ ว่าเอกอนไม่ได้มีความรู้อะไร
เพียงแต่ว่า เมื่ออ่านเรื่องราวที่คุณเล่าจบ
เอกอนก็เห็นภาพ แว๊บขึ้นมา และก็พยายามพูดในสิ่งที่เห็น

ซึ่งเอกอนไม่ได้หมายถึง สติ เพราะ สติ เป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติต่าง
รู้กัน ให้ความสำคัญกันอยู่แล้ว

แต่เรื่องที่เอกอนเห็น มันพูดยาก
เพราะผู้ที่จะมีความเห็นในทำนองนั้น อย่างน้อย ๆ
สักครั้งเขาต้องได้รู้จักสภาวะที่จิต ไม่มีสายเบ็ดเกี่ยวรั้งไว้
ทำให้เขาเห็น จิต ทรงตัวกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับ ธรรม
ประหนึ่งจิตก็คือธรรม ซึ่งเป็นสภาวะที่จิตจะมีความละเอียดมาก
ประหนึ่งจิตแทบจะเป็นสิ่งเดียวกับอากาศ อวกาศรอบ ๆ ตัว
ประหนึ่งผืนน้ำ ที่เมื่อโยนก้อนหินลงไป
ย่อมปรากฎคลื่นน้ำกระจายออกไปทุกทิศทุกทางอย่างสมมาตร
ธรรมก็คือ จิตหนึ่ง (และเป็นหนึ่งเดียวกับสภาวะแวดล้อมรอบ ๆ ตัว)
ซึ่งการเห็นสภาวะนั้น จะทำให้เห็นอิทธิพลของผัสสะที่มีต่อจิต
เมื่อเห็นอิทธิพลของผัสสะที่มีต่อจิต
ก็จะทำให้เห็นภาพ ค้างคาวห้าร้อยตัวที่เกาะอยู่บนผนังถ้ำ
ได้ฟังเสียงสวดแล้วเผลอปล่อยตัวตกลงมาตายไปเกิดเป็น พรหม
ทั้ง ๆ ที่ค้างคาวฟังภาษาไม่ออก
แต่เป็น ลักษณะการเกิดขึ้นของ กระแสธรรมที่ไหลแบบจิตสู่จิต

คุณไม่จำเป็นต้องรู้ความหมายธรรม ภาษาธรรม
คุณเป็นคนที่มีจิตละเอียดระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่คุณติดสภาวะบางอย่าง
ที่ภาษาธรรมช่วยคุณให้คลายจากสภาวะนั้นไม่ได้
คุณต้องใช้ธรรม(กระแสธรรม)จากผู้ที่เข้าถึงสภาวะ จิตหนึ่ง เข้ามาช่วย
คุณไม่ใช่ต้องแก้ด้วยการเข้าไปรับธรรมจากผู้มีความรู้
แต่คุณต้อง เข้าไปรับกระแสธรรม จากคณาจารย์ที่มีกระแสจิต(พลังจิต)ที่ละเอียดกว่า

คือตอนแรกจะไม่พูดเรื่องนี้
เพราะมันเป็นเรื่องการ ถ่ายเท ถ่ายทอดธรรม แบบกระแส
เป็นผัสสะอย่างละเอียด ที่จิตจะรับรู้ได้ ผู้ที่ไม่รู้ ไม่ถึง ก็ย่อมมีแง่โต้แย้งว่า ไม่มี เป็นไปไม่ได้
แต่มันเป็นไปเช่นนั้น ไม่ต่างจากการสัมผัสแก้วน้ำร้อนแล้วรู้สึกร้อน
เพียงแต่ ผัสสะในลักษณะนี้มันละเอียด(ลึก)กว่านั้น
ซึ่งเป็นเรื่องที่ถ้าไม่แม่นจริง การกล่าวมันออกจะเป็นการเสี่ยง

ซึ่งตอนแรกเมื่อคุณตีความไปที่สติ เอกอนก็มองเห็นว่าเป็นความเข้าใจที่เป็นคุณ
ก็เลยจะวางเรื่องนี้ไว้ เพราะเอกอนก็ไม่ค่อยจะไว้ใจ เซนท์ ที่ปรากฎ
แต่เหมือนมันจะต้องเป็นไป
เพราะ เมื่อเช้า นาฬิกามือถือเอกอนเพี้ยน(แบบว่าทั้งเนื้อทั้งตัวมีอยู่เรือนเดียว)
ทำให้เอกอนจะต้องไปเปิดวิทยุฟังเพื่อรอเทียบเวลา
และก็ได้ฟังธรรม(พระอาจารย์วิริยัง) ซึ่งท่านพูดถึงเรื่องนี้พอดี

:b1:

ความบังเอิญ ที่ดูเหมือนจะไม่บังเอิญเลย เน๊อะ
คุณอาจจะเป็นศิษย์ที่มีครูดูแลอยู่ :b16: :b16: :b27:

:b1: ก็เลยตัดสินใจ ว่าคงต้องชี้แจงเรื่องนี้ :b12:

อิอิ แบบว่ายังเป็นนักเดา เหมือนเดิมน๊ะจ๊ะ

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2012, 14:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2012, 16:35
โพสต์: 110


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ห้องนี้ร่มเย็น...ไม่มีเสียงเอ่ะ..อะ...โวยวายดี...

นอนฟังเสียงอันภิรมณ์นี้....คงหลับสบายดีแท้
:b30: :b30: :b30:


:b8: :b8: :b8:

ดิฉันเคยเจอสภาวะ ถูกเฉือดเฉือนด้วยวาจา ด้วยคารม ถูกเยาะเย้ยถากถาง ถูกตราหน้าว่า คนอย่างดิฉัน

นรกจะกินหัวเอา ถูกบอกว่า หัวใจดิฉันนั้นมืดบอดไม่สามารถเห็นธรรมได้หรอกในชาตินี้ ถูกขุนคอย

พยักทับถมซ้ำเติม ถูกกล่าวว่า อยู่ดีๆไม่ว่าดี รนหาที่มาให้ด่า ไม่เจียมตัว ผยอง อวดดี อวดตัว ถูกหาว่า

บ้า ถูกหาว่าเพี้ยน เป็นคนไร้ค่า เป็นคนที่ถูกสังคมรังเกียจจากเหตุที่ดิฉันไม่ได้ทำ...ดิฉันเจอสภาวะและ

เหตุการณ์แบบนี้มามากและเจอมานานค่ะ...ดิฉันจึงเหนื่อยกับสภาวะแบบนั้น คิดในมุมกลับกัน เมื่อดิฉัน

เจอดิฉันก็สะเทือนใจและดิฉันก็ไม่อยากให้ใครเจอเหตุการณ์แบบดิฉัน


การคุยดีๆด้วยเหตุผล แลกเปลี่ยนความรู้กัน ยอมรับซึ่งกันและกัน เคารพในตัวนักฎิบัตซึ่งกันและกัน ต่าง

ประคองใจซึ่งกันและกัน ดิฉันเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี และสามารถสร้างกำลังใจให้กับตัวเองและผู้อืน

ได้..หากว่าวาจาเราแม้เพียงน้อยนิดสามารถประคองใจคนอื่นได้..ดิฉันจะดีใจมาก เพราะด้วยทางเดิน

ของนักปฎิบัติธรรมนั้นต่างก็มีทุกข์ในทางเดินของตนอยู่แล้ว..เห็นใดยังจะต้องมาซ้ำเติมทางวาจาด้วยกัน

อีก..

:b53: :b53: ดิฉันดีใจที่ท่านกบ ชมว่า ห้องนี้ร่มเย็น...ดิฉันปลื้มกับคำนี้มากค่ะ :b16: :b16: ..... :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 54 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร