วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 03:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2011, 10:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นความจริงของธรรมชาติต้องเห็นอย่างไร เห็นสิ่งรอบตัว หรือเห็นที่ตัวของเรา
onion onion onion onion

ขอบพระคุณผู้รู้ที่ให้การชี้แนะ
smiley smiley smiley smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2011, 16:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การเห็นความจริงของธรรมชาติต้องเห็นอย่างไร เห็นสิ่งรอบตัว หรือเห็นที่ตัวของเรา


เห็นทั้งอายตนะ12ครับ เช่นการมอง ต้องอาศัยอายตนะภายในและนอกกระทบกัน มีวิญญาณเกิดขึ้น เกิดผัสสะ สมมุติเรื่องการมอง มองแค่ไหนจึงจะเรียกว่ามองเห็น ต้องใช้สติ เกิดวิญญาณที่แสง (รูปร่างต่างๆ) จนเกิดผัสสะคือความชัดเจน (โฟกัส)รู้ว่าวิญญาณเกิดขึ้นและดับลงแล้วของขันธ์5 ด่านต่อไปคือกำหนดเห็นพระไตรลักษณ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา เป็นเรื่องของวิปัสสนาญาณเป็นขั้นตอนไปครับ

ตัวผมเองก็รู้ในขั้นต้นครับยังไม่เห็นพระไตรลักษณ์ต้องรอผู้รู้มาตอบอีกทีครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2011, 16:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
อ้างคำพูด:
การเห็นความจริงของธรรมชาติต้องเห็นอย่างไร เห็นสิ่งรอบตัว หรือเห็นที่ตัวของเรา


เห็นทั้งอายตนะ12ครับ เช่นการมอง ต้องอาศัยอายตนะภายในและนอกกระทบกัน มีวิญญาณเกิดขึ้น เกิดผัสสะ สมมุติเรื่องการมอง มองแค่ไหนจึงจะเรียกว่ามองเห็น ต้องใช้สติ เกิดวิญญาณที่แสง (รูปร่างต่างๆ) จนเกิดผัสสะคือความชัดเจน (โฟกัส)รู้ว่าวิญญาณเกิดขึ้นและดับลงแล้วของขันธ์5 ด่านต่อไปคือกำหนดเห็นพระไตรลักษณ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา เป็นเรื่องของวิปัสสนาญาณเป็นขั้นตอนไปครับ

ตัวผมเองก็รู้ในขั้นต้นครับยังไม่เห็นพระไตรลักษณ์ต้องรอผู้รู้มาตอบอีกทีครับ


การผัสสะ คือ การกระทบกันของอายตนะภายใน(6) กับอายตนะภายนอก (6) เมื่อกระทบกันปั๊บเกิดวิญญาณ คือ การรับรู้ ต่อไปเกิดการจำ (สัญญา) ต่อไปเกิดการคิดปรุงแต่ง (สังขาร) ต่อไปเกิดความรู้สึก (เวทนา) เกิด พอใจ กับ ไม่พอใจ
การวิปัสสนาเป็นการทำให้เกิดปัญญา เอามาดับเวทนา (ความพอใจ ไม่พอใจ) เพื่อดับต้นเหตุแห่งทุกข์ธรรมชาติ คือ ทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกข์ที่เราสะสม จาก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ตามกฏไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดจากเหตุและปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว ไม่มีตัวตน

onion onion onion onion onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2011, 21:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


การกระทบ หรือ ผัสสะ
การกระทบกันต้องเป็นคู่ ข้ามคู่ไม่ได้ ตา + รูป , หู + เสียง , จมูก + กลิ่น , ลิ้น + รส กาย + สัมผัส , ใจ + ธรรมารมณ์ การกระทบกันแต่ละวินาทีจะไม่พร้อมกัน
ทุกอย่างจะทำงานไวมากวิสัยพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่รู้ได้ ยกตัวอย่าง ตาเห็นรูป จิต ทำงาน 17 ครั้ง
จิตจะทำงานเร็วมาก เราจะไม่เห็นรูป พร้อมกับได้ยินเสียง หรือได้กลิ่น อะไรสัมผัสก่อนจะทำงานก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
การผัสสะ คือ การกระทบกันของอายตนะภายใน(6) กับอายตนะภายนอก (6) เมื่อกระทบกันปั๊บเกิดวิญญาณ คือ การรับรู้ ต่อไปเกิดการจำ (สัญญา) ต่อไปเกิดการคิดปรุงแต่ง (สังขาร) ต่อไปเกิดความรู้สึก (เวทนา) เกิด พอใจ กับ ไม่พอใจ

ตั้งกระทู้ควรตั้งให้น้อย และให้ความสำคัญแก่มันด้วยกระทู้ถึงจะมีคุณค่า
ก่อนจะตั้งกระทู้ควรมีสติและกุศล ตามหลักของสติปัสฐานและสัมมัปปฐาน
แล้วจึงลงมือตั้งกระทู้ด้วยธรรมแห่ง ....อิทธิบาทสี่


คุณไม่เที่ยงเป็นเพราะคุณ กระทำหรือประกอบการงานขาดหลักธรรมที่ผมบอกข้างต้น
มันเลยทำให้เกิดการผิดพลาดบ่อย เดี๋ยวก็คุยเรื่องปฏิจจฯ เดี๋ยวก็มาคุยเรื่อง จิตเจตสิก
ขันธ์ห้า มันก็เลยสับสน

คุณลองกลับไปดูสิว่า ที่คุณแสดงความเห็นมา กระบวนการเกิดของเวทนามันถูกต้องมั้ย
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
การวิปัสสนาเป็นการทำให้เกิดปัญญา เอามาดับเวทนา (ความพอใจ ไม่พอใจ) เพื่อดับต้นเหตุแห่งทุกข์ธรรมชาติ คือ ทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกข์ที่เราสะสม จาก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ตามกฏไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดจากเหตุและปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว ไม่มีตัวตน

ถามหน่อยครับ ปัญญาอะไรของคุณที่มาดับเวทนาได้ เวทนามันเกิดมันดับของมันเอง
ตามเหตุปัจจัย ปัญญามีไว้เพื่อรู้เวทนาและรู้เหตุปัจจัย

กิเลสของปุถุชนและพระอริยะบุคคล ที่เรียกว่า สังโยชน์10 ล้วนแล้วเกิดจากเวทนาทั้งนั้น
กิเลสทั้งกุศลและอกุศล ล้วนแล้วแต่มีเวทนาเป็นมวลรวม
เห็นโพสเรื่องไตรสิกขา เรื่องอธิปัญญา นี้แสดงว่าที่โพสๆมา
ไม่ได้รู้เรื่องที่ตัวเองโพสเลยนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 09:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
การผัสสะ คือ การกระทบกันของอายตนะภายใน(6) กับอายตนะภายนอก (6) เมื่อกระทบกันปั๊บเกิดวิญญาณ คือ การรับรู้ ต่อไปเกิดการจำ (สัญญา) ต่อไปเกิดการคิดปรุงแต่ง (สังขาร) ต่อไปเกิดความรู้สึก (เวทนา) เกิด พอใจ กับ ไม่พอใจ

ตั้งกระทู้ควรตั้งให้น้อย และให้ความสำคัญแก่มันด้วยกระทู้ถึงจะมีคุณค่า
ก่อนจะตั้งกระทู้ควรมีสติและกุศล ตามหลักของสติปัสฐานและสัมมัปปฐาน
แล้วจึงลงมือตั้งกระทู้ด้วยธรรมแห่ง ....อิทธิบาทสี่


คุณไม่เที่ยงเป็นเพราะคุณ กระทำหรือประกอบการงานขาดหลักธรรมที่ผมบอกข้างต้น
มันเลยทำให้เกิดการผิดพลาดบ่อย เดี๋ยวก็คุยเรื่องปฏิจจฯ เดี๋ยวก็มาคุยเรื่อง จิตเจตสิก
ขันธ์ห้า มันก็เลยสับสน

คุณลองกลับไปดูสิว่า ที่คุณแสดงความเห็นมา กระบวนการเกิดของเวทนามันถูกต้องมั้ย
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
การวิปัสสนาเป็นการทำให้เกิดปัญญา เอามาดับเวทนา (ความพอใจ ไม่พอใจ) เพื่อดับต้นเหตุแห่งทุกข์ธรรมชาติ คือ ทุกข์เกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกข์ที่เราสะสม จาก (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ตามกฏไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดจากเหตุและปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว ไม่มีตัวตน

ถามหน่อยครับ ปัญญาอะไรของคุณที่มาดับเวทนาได้ เวทนามันเกิดมันดับของมันเอง
ตามเหตุปัจจัย ปัญญามีไว้เพื่อรู้เวทนาและรู้เหตุปัจจัย

กิเลสของปุถุชนและพระอริยะบุคคล ที่เรียกว่า สังโยชน์10 ล้วนแล้วเกิดจากเวทนาทั้งนั้น
กิเลสทั้งกุศลและอกุศล ล้วนแล้วแต่มีเวทนาเป็นมวลรวม
เห็นโพสเรื่องไตรสิกขา เรื่องอธิปัญญา นี้แสดงว่าที่โพสๆมา
ไม่ได้รู้เรื่องที่ตัวเองโพสเลยนะครับ


ใช่ครับเวทนาดับไม่ได้ มันไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีดับลง เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แต่เราหยุดไม่ให้เกิดได้ (คำว่าดับในกฎไตรลักษณ์ ไม่ใช่การดับทุกข์ แต่เป็นการดับตามธรรมชาติ คือแตกสลาย หายไป ) การใช้ปัญญาเพื่อ หยุดไม่ให้เกิดเวทนา หากหยุดไม่ได้ ตัณหาก็จะเกิดทันที สุดท้ายความทุกข์ก็เกิดขึ้น (ส่วนเวทนาก็ดับไปตามธรรมชาติของมัน)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ใช่ครับเวทนาดับไม่ได้ มันไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีดับลง เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แต่เราหยุดไม่ให้เกิดได้ (คำว่าดับในกฎไตรลักษณ์ ไม่ใช่การดับทุกข์ แต่เป็นการดับตามธรรมชาติ คือแตกสลาย หายไป ) การใช้ปัญญาเพื่อ หยุดไม่ให้เกิดเวทนา หากหยุดไม่ได้ ตัณหาก็จะเกิดทันที สุดท้ายความทุกข์ก็เกิดขึ้น (ส่วนเวทนาก็ดับไปตามธรรมชาติของมัน)

เห็นโพสเรื่องปฏิจจฯเสียเป็นคุ้งเป็นแคว ถามหน่อยพระอนาคามี มีปัญญาหรือเปล่า
แล้วมานะ รูปพรหม อรูปพรหมฯลฯ ของพระอนาคามี เป็นกิเลสหรือเปล่า

ปัญญาหยุดเวทนาได้ ห้ามตัณหาไม่ให้เกิดได้ แล้วไอ้ตัวมานะ รูปพรหมฯลฯ
สังโยชห้าตัวสุดท้ายจะเรียกว่าอะไร ถ้าไม่ใช่ตัณหาในวงปฏิจจฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 11:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ใช่ครับเวทนาดับไม่ได้ มันไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีดับลง เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แต่เราหยุดไม่ให้เกิดได้ (คำว่าดับในกฎไตรลักษณ์ ไม่ใช่การดับทุกข์ แต่เป็นการดับตามธรรมชาติ คือแตกสลาย หายไป ) การใช้ปัญญาเพื่อ หยุดไม่ให้เกิดเวทนา หากหยุดไม่ได้ ตัณหาก็จะเกิดทันที สุดท้ายความทุกข์ก็เกิดขึ้น (ส่วนเวทนาก็ดับไปตามธรรมชาติของมัน)

เห็นโพสเรื่องปฏิจจฯเสียเป็นคุ้งเป็นแคว ถามหน่อยพระอนาคามี มีปัญญาหรือเปล่า
แล้วมานะ รูปพรหม อรูปพรหมฯลฯ ของพระอนาคามี เป็นกิเลสหรือเปล่า

ปัญญาหยุดเวทนาได้ ห้ามตัณหาไม่ให้เกิดได้ แล้วไอ้ตัวมานะ รูปพรหมฯลฯ
สังโยชห้าตัวสุดท้ายจะเรียกว่าอะไร ถ้าไม่ใช่ตัณหาในวงปฏิจจฯ


ปัญญาจะมากขึ้นเป็นลำดับตามชั้น
1. โสดาบันก็จะปัญญาน้อยหน่อย สมาธิน้อย เข้าสู่กระแสธรรม กิเลสยังมาก ไม่ลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
2. สกทาคามีปัญญามีมากกว่าโสดาบัน (ละโกรธ)
กามราคะ และ ปฏิฆะ เบาบาง

3. อนาคามี มีปัญญามากว่าสกทาคามี (ละโลภ)
ยังเหลือสังโยชน์เบื้องสูง (อุทธัมภาคิยสังโยชน์) ยังมีกิเลส 5 ประการเหลืออยู่
ยังไม่สามารถดับวงจรปฏิจจสมุปบาทได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอีก 1 ชาติ

4. อรหันต์ มีปัญญาสูง สมาธิสุง ละสังโยชน์ครบ 10 ประการ " ดับวงจรปฏิจจสมุปบาท " ละโลภ ละโกรธ ละหลงได้สิ้นเชิง นิพพานในชาตินี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ใช่ครับเวทนาดับไม่ได้ มันไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น มีดับลง เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย แต่เราหยุดไม่ให้เกิดได้ (คำว่าดับในกฎไตรลักษณ์ ไม่ใช่การดับทุกข์ แต่เป็นการดับตามธรรมชาติ คือแตกสลาย หายไป ) การใช้ปัญญาเพื่อ หยุดไม่ให้เกิดเวทนา หากหยุดไม่ได้ ตัณหาก็จะเกิดทันที สุดท้ายความทุกข์ก็เกิดขึ้น (ส่วนเวทนาก็ดับไปตามธรรมชาติของมัน)

เห็นโพสเรื่องปฏิจจฯเสียเป็นคุ้งเป็นแคว ถามหน่อยพระอนาคามี มีปัญญาหรือเปล่า
แล้วมานะ รูปพรหม อรูปพรหมฯลฯ ของพระอนาคามี เป็นกิเลสหรือเปล่า

ปัญญาหยุดเวทนาได้ ห้ามตัณหาไม่ให้เกิดได้ แล้วไอ้ตัวมานะ รูปพรหมฯลฯ
สังโยชห้าตัวสุดท้ายจะเรียกว่าอะไร ถ้าไม่ใช่ตัณหาในวงปฏิจจฯ


ปัญญาจะมากขึ้นเป็นลำดับตามชั้น
1. โสดาบันก็จะปัญญาน้อยหน่อย สมาธิน้อย เข้าสู่กระแสธรรม กิเลสยังมาก ไม่ลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
2. สกทาคามีปัญญามีมากกว่าโสดาบัน (ละโกรธ)
กามราคะ และ ปฏิฆะ เบาบาง

3. อนาคามี มีปัญญามากว่าสกทาคามี (ละโลภ)
ยังเหลือสังโยชน์เบื้องสูง (อุทธัมภาคิยสังโยชน์) ยังมีกิเลส 5 ประการเหลืออยู่
ยังไม่สามารถดับวงจรปฏิจจสมุปบาทได้ ยังเวียนว่ายตายเกิดอีก 1 ชาติ

4. อรหันต์ มีปัญญาสูง สมาธิสุง ละสังโยชน์ครบ 10 ประการ " ดับวงจรปฏิจจสมุปบาท " ละโลภ ละโกรธ ละหลงได้สิ้นเชิง นิพพานในชาตินี้

แล้วมันตรงคำถามมั้ยล่ะ แค่นี้แหล่ะ ตามใจละกัน
แค่อยากเตือนสติ ไม่อยากให้ฟุ้งซ่าน ไม่อยากให้เอาห้องสนทนาธรรม
มาเก็บสิ่งเพ้อเจ้อไร้สาระ ยังไงก็เปิดโอกาสให้กระทู้คนอื่นเขาอยู่หน้าบอร์ด
นานๆหน่อย คนที่เขาต้องการความรู้จริงๆมีอีกเยอะ
เอาข้อความนี้มาเตือนสติ....
admin เขียน:
ได้ส่ง PM จาก admin แจ้งไปยัง คุณไม่เที่ยง เกิดดับ แล้ว ความว่า

admin เขียน:
:b8: เรียน คุณ ไม่เที่ยง เกิดดับ

ทางเว็บขอความร่วมมือให้ตั้งกระทู้แต่ละวัน ในบอร์ดสนทนาธรรมทั่วไป จำนวนที่เหมาะสม ไม่มากเกินไป ทั้งนี้เพื่อไม่ให้กระทู้ของท่านอื่นๆ ตกหน้ากระดานไปไวเกินไปด้วย

ท่านอาจไปตั้งกระทู้ในลักษณะเป็น บทความธรรมะ เพื่อให้ธรรมทาน
ได้ที่ บอร์ดบทความธรรมะ แทนก็ได้
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=7


ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือ
admin/ทีมงาน



นี่ระดับแอดมินเขาเตือนเองเลยน่ะ
ถ้าเป็นผูรักษาลานหรือผู้ดูแลก็ว่าไปอย่าง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2011, 16:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ต.ค. 2011, 15:47
โพสต์: 539


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านยังไม่ดับ เราเองก็ยังไม่ดับ เพราะ่ท่านยังยึดติดที่ตัวหนังสือ ทำให้เกิดความพอใจ ไม่พอใจ มันเป็นเพียงภาพ เราใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อการเรียนรู้ ไม่ใช่เื่พื่อรองรับอารมณ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 04:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ท่านยังไม่ดับ

แล้วใครที่ไหนก็บอกเสียเต็มหน้าบอร์ดว่าไม่เทียง เกิดดับ
แล้วใครที่ไหนมาบอกว่า สรรพสิ่งล้วน ไม่เที่ยงเกิดดับ
ตอนนี่มาว่าเรายังไม่ดับ "คุณไม่เที่ยง" คุณจะเอายังไงกันแน่หือ!
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เราเองก็ยังไม่ดับ

ไม่ต้องบอกก็รู้ ไม่งั้นคงไม่โพส คำ"ไม่เที่ยงเกิดดับ"จนเต็มหน้าบอร์ด
ถ้าอยากดับ ก็ต้องไปดับความหลง(โมหะ)ในตัวเสียก่อน แล้วจะเข้าใจ
ว่า คำไม่เที่ยงเกิดดับที่โพสมาจนล้นทะลัก มันล้วนเป็น โลภะทั้งสิ้น
ฉะนั้นจงอย่าไปดับเวทนาเลย จงดับจิตสังขาร กิเลสง่ายตัวนี้ให้ได้เสียก่อน
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
เพราะ่ท่านยังยึดติดที่ตัวหนังสือ ทำให้เกิดความพอใจ ไม่พอใจ มันเป็นเพียงภาพ เราใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อการเรียนรู้ ไม่ใช่เื่พื่อรองรับอารมณ์

เราไม่ได้ยึดติดตัวหนังสือ คนที่ยึดติดเป็นคุณนั้นแหล่ะ ไม่งั้นคงไม่โพสคำ ไม่เที่ยงเกิดดับ
จนเต็มพรืดไปหมด พอสมาชิกให้อธิบายความ ก็ไปตัดปะเอามาจากวิกิพีเดียบ้าง
เอามาจากเว็บอื่นบ้าง(แถมไม่ให้เครดิสเจ้าของบทความด้วย) การกระทำแบบนี้ครับ
ที่เรียกว่า ยึดติดกับตัวหนังสือ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ไร้ปัญญาที่จะตอบ เลยต้องอาศัย
ตัวหนังสือของชาวบ้านมาติดแปะ ตัวเองโพสสมมุติบัญญัติ ชาวบ้านถามอารมณ์ปรมัตถ์
ดันไปเอาสมมุติบัญญัติมาทำเนียน มิหน่ำซ้ำไปเอาสมมุติบัญญัติคนอื่นมาเสียด้วย
ไม่เที่ยง เกิดดับ เขียน:
ทำให้เกิดความพอใจ ไม่พอใจ มันเป็นเพียงภาพ เราใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อการเรียนรู้ ไม่ใช่เื่พื่อรองรับอารมณ์

ที่เราแนะนำไปไม่ได้เกี่ยวกับความพอใจหรือไม่พอใจ ในส่วนของเรา
เราคำนึงถึงสังคมการอยู่ร่วมกัน ในเว็บบอร์ดแห่งนี้เขามีกฎมีเกณท์ไว้ห้าม
ไม่ให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง และไอ้กฎเกณท์อันนี้เมื่อสมาชิกรู้แล้ว
และตกลงใจที่จะปฏิบัติตามแล้ว มันจะแปรสภาพเป็นศีลเป็นสัจจะในทันที

ผมเห็นคุณ เที่ยวพร่ำพรรณาว่า คนเราต้องมีศีลๆๆๆๆๆๆๆๆ เรื่องง่ายแบบนี้
ยังไม่เข้าใจอีกหรือ คุณอาจจะแก้ตัวว่า ไม่รู้กฎเกณท์ไม่รู้รายละเอียดของกฎ
ตอนแรกผมก็คิดแบบนี้ ถึงได้เอาโนติสของแอดมินเตือนสติคุณไง
และการกระทำของผม ก็ไม่ได้ใช้อารมณ์ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นผมคงไปตั้งกระทู้
ในห้องแจ้งปัญหาแล้ว แต่ที่ทำเป็นเพียงให้ความรู้ให้ธรรมกัน
ธรรมมันไม่ใช่อยู่แค่"ไม่เที่ยงเกิดดับ" ธรรมแท้มันคือการเข้าใจธรรมชาติ
การอยู่ในสังคมแบบปกติสุข อยู่ในกฎเกณท์ของหมู่คณะ หัดเอาใจเขามา
ใส่ใจเรา มันก็แค่นี้แหล่ะไม่เห็นยาก ไม่ต้องมานั่งพร่ำแต่ไม่เที่ยงเกิดดับครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2011, 12:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ธ.ค. 2011, 21:40
โพสต์: 952


 ข้อมูลส่วนตัว


" "


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2011, 23:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




b32.jpg
b32.jpg [ 42.82 KiB | เปิดดู 5659 ครั้ง ]
:b12:
คุณไม่เที่ยง เกิด ดับ มาถูกทางแล้วหละครับ แต่ผิดจังหวะไปนิดหนึ่งเลยโดนคุณโฮ ตีรวนจนอาจเสียกระทู้ดีๆไป เชื่อว่าคุณไม่เที่ยงมีกุศลเจตนาที่จะให้ผู้คนได้รู้แง่มุมที่ดีๆของวิปัสสนาภาวนา แต่กระทู้ของคุณค่อนข้างมากไปหน่อย ลองยิงลูกโดดดูบ้าง อย่ายิงแต่ลูกปราย จะล้มช้างหรือเสือเขาต้องยิงด้วยลูกโดนครับ

ปัญญา จะไปดับตัณหาครับ ไม่ใช่ดับเวทนา

การเจริญธรรมตามวงปฏิจจสมุปบาท 12 มีช่องทางที่ออกง่ายอยู่ 3 ช่อง ง่ายที่สุดคือออกตรงช่วงต่อระหว่างเวทนากับตัณหา สำหรับผู้ที่มีอภิญญาและปฏิสัมภิทา สามารถหักออกได้ทุกช่วงต่อของวงโซ่ปฏิจจสมุปบาทครับ

เวทนาทางกาย มี สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์

เวทนาทางจิตมี โสมนัส โทมนัส อุเบกขา

สุข โสมนัส ไปกลายเป็น อภิชฌา ....... ทุกข์ โทมนัส ไปกลายเป็น โทมนัสสัง ในสติปัฏฐาน 4

การจะละอภิชฌาและโทมนัสสังได้ ปัญญาต้องไปเห็นอัตตา ชนะละวางอัตตา เข้าถึงอนัตตา อภิชฌาหรือโทมนัสสังจึงดับ ตัณหาจึงไม่มีโอกาสได้เกิด พูดอีกทางก็เรียกว่า "ดับตัณหา"

ขั้นตอนแห่งธรรมเป็นอย่างนี้โดยคร่าวๆ ถ้าจะวิเคราะห์กันโดยละเอียดต้องใช้ความรู่เรื่องอภิธรรมมาช่วย ต้องมาแจงขั้นตอนของการเกิดขันธ์ และจิตแต่ละดวงแต่ละตอนอีกทีครับ

ขอกุศลจิตของคุณคุณไม่เที่ยง เกิด ดับ จงมาดลให้มีกำลังใจทำความดี และเผยแพร่ความรู้จากประสบการณ์จริงเรื่องวิปัสสนาภาวนาต่อไปนานๆนะครับ สาธุุ
:
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2011, 04:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ปัญญา จะไปดับตัณหาครับ ไม่ใช่ดับเวทนา
การเจริญธรรมตามวงปฏิจจสมุปบาท 12 มีช่องทางที่ออกง่ายอยู่ 3 ช่อง ง่ายที่สุดคือออกตรงช่วงต่อระหว่างเวทนากับตัณหา สำหรับผู้ที่มีอภิญญาและปฏิสัมภิทา สามารถหักออกได้ทุกช่วงต่อของวงโซ่ปฏิจจสมุปบาทครับ

เวทนาทางกาย มี สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์
เวทนาทางจิตมี โสมนัส โทมนัส อุเบกขา
สุข โสมนัส ไปกลายเป็น อภิชฌา ....... ทุกข์ โทมนัส ไปกลายเป็น โทมนัสสัง ในสติปัฏฐาน 4
:

ผมก็พึ่งรู้นะครับว่า ปัญญาของคุณมันดับตัณหาได้
ถ้าดับได้จริง คุณอโศกะ ช่วยอธิบายเรื่อง กฎแห่งอิทัปปัจจยตา
ให้สมาชิกฟังหน่อยสิครับ ถ้าจะให้ดีช่วยอธิบายคำว่า"ดับ"ด้วยจะได้ไม่สับสน
asoka เขียน:
การจะละอภิชฌาและโทมนัสสังได้ ปัญญาต้องไปเห็นอัตตา ชนะละวางอัตตา เข้าถึงอนัตตา อภิชฌาหรือโทมนัสสังจึงดับ ตัณหาจึงไม่มีโอกาสได้เกิด พูดอีกทางก็เรียกว่า "ดับตัณหา" :b8:

อันนี้ถ้าฟังผ่านๆก็ดูดีครับ แต่ดูดีๆแล้วคุณอธิบายด้วยความสับสนครับ

ที่บอกว่าละอัตาเข้าถึงอนันตา เรียกว่าดับตัณหาหรือครับ
พุดโธ่! ก็บอกเองว่าดับอัตตา อัตตาหมายถึงอะไรครับคุณ อโศกะ
ความยึดมั่นถือมั่นคืออะไรครับ การมีอยู่หรือไม่มีอยู่
กับการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือยุ่งเกี่ยวมันคนละเรื่องกันนะครับ


คุณอโศกะอยาก แนะนำนะครับ ถ้ายังไม่เข้าใจกฎอิทัปปัจจยตา ก็อย่างพึ่งไปสนใจ
เรื่องปฏิจจสมุบาทเลยครับ คุณจะสับสนเปล่าๆครับ

บอกเคล็ดให้หน่อยครับ ที่ว่าดับๆๆ ความหมายก็คือดับทุกข์
แล้วทุกข์คืออะไร ก็ไปศึกษาเรื่องอริยสัจจสี่ดู

แล้วกลับไปดูว่า ทุกข์มันอยู่ส่วนไหนของปฏิจจฯ
จะได้เลิกสนใจเรื่องปฏิจจฯ หันมาสนใจอริยสัจจ์สี่อย่างจริงจังเสียก่อน

เหตุเป็นอะไรอย่างไรยังไม่รู้เลย มัวมานั่งดับผล
แล้วเมื่อไรมันจะดับครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2011, 20:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




41_1736.jpg
41_1736.jpg [ 27.79 KiB | เปิดดู 5624 ครั้ง ]
Onion_L
(โฮฮับ) บอกเคล็ดให้หน่อยครับ ที่ว่าดับๆๆ ความหมายก็คือดับทุกข์แล้วทุกข์คืออะไร ก็ไปศึกษาเรื่องอริยสัจจสี่ดู

แล้วกลับไปดูว่า ทุกข์มันอยู่ส่วนไหนของปฏิจจฯ
จะได้เลิกสนใจเรื่องปฏิจจฯ หันมาสนใจอริยสัจจ์สี่อย่างจริงจังเสียก่อน

เหตุเป็นอะไรอย่างไรยังไม่รู้เลย มัวมานั่งดับผล
แล้วเมื่อไรมันจะดับครับ

(Asoka) คำพูดเพียงท่อนนี้ ผมก็รู้ว่าคุณโฮไม่รู้เรื่องอริยสัจ 4 อย่างถูกต้อง
ความไปพยายามดับทุกข์นั้นคือความไปพยายามดับผล สู้ที่ผลซึ่งไม่ถูกต้องตามธรรม

จะดับทุกข์ได้นั้น ต้องไปดับที่เหตุ คือ สมุทัย
พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนให้สู้ที่ สมุทัย เหตุทุกข์ มิได้ทรงสอนให้สู้ที่ ทุกข์ อันเป็นผลหรือวิบากที่ต้องเสวย แก้ไขไม่ได้ มีแต่จะต้องถอนสมุทัยของทุกข์ใหม่มิให้เกิดขึ้นเท่านั้นเอง


สมุทัย ในอริยสัจ 4 นั้น ท่านกล่าวไว้ชัดเจนว่า ตัณหา เป็นสมุทัย หรือเหตุทุกข์
โดยทางทฤษฏีดูเหมือนว่าเราจะต้องไปดับตัณหา แต่ตัณหา ความอยาก ยังมีเหตุที่มาที่เกิดที่ซ่อนลึกลงไปอีก เป็นหน้าที่ที่ผู้เจริญวิปัสสนาต้องค้นลงไปให้พบ

ถ้าว่าโดยปฏิจจสมุปบาท เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา ถ้าผู้ภาวนามีสติปัญญาสังเกตพิจารณาให้ดีที่เวทนา จะได้เห็นว่า ก่อนจะต่อไปเกิดตัณหานั้น เมื่อเวทนาเกิด อภิชฌา ความยินดี หรือ โทมนัสส้ง ความยินร้ายจะเกิดก่อน แล้วตัณหาจึงจะเกิดตามมา

ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถใช้สติ ปัญญา ระงับยับยั้ง ยินดี ยินร้าย ไว้เสียได้ซึ่งก็คือ งานสำคัญของสติปัฏฐาน 4 นั่นเอง ตัณหาก็ไม่มีโอกาสจะเกิด ซึ่งเราอาจเรียกว่าดับตัณหา ก็ได้ นี่เป็นภาษานิยม แต่ถ้าจะเอากันโดยละเอียด
เราไม่ได้ไปเพียรดับตัณหา แต่เราไปทำลายเหตุหรือปัจจัยที่จะทำให้เกิดตัณหา

แล้วตัณหาไปเกี่ยวข้องกับ อัตตา อนัตตา ตอนไหน?

เราเพียงใช้คำถามง่ายๆถามตัวเองเพื่อค้นหา เหตุผล คือถามว่า "ใครอยาก" ค้นดูกันให้ดีๆ เราจะได้คำตอบสุดท้ายว่า "กูอยาก" อัตตา สักกายทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็น กู เป็นเรา นั่นแหละไปอยาก
เพราะฉนั้น สู้ใจเป็นกูนี้ให้ได้ก่อน เมื่อชนะ กู ใจไม่มีกู ใจก็เป็นใจ "อนัตตา" ถึงตรงนี้แหละที่ยินดียินร้ายจะดับลง ตัณหาก็เกิดไม่ได้
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร