วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 06:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2011, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลับอยู่ เขียน
แค่จิตรวมมั่งไม่รวมมั่ง....ยังซัดไปซัดมาอยู่(ไม่ถึงปฐมฌาณถ้าอัปมาสมาธินี่....กริ๊กเข้าไปอีกชั้นเลยครับ...รู้ได้ทันทีว่าอีกชั้นนึงคล้ายๆหลับแต่ว่าหลับอย่างรู้หลับอย่างมีสติหากได้ขั้นนี้จริงตาทิพย์หูทิพย์แบบบางๆทำได้แต่ต้องน้อมเข้าตั้งมั่นในตัว.....แค่ขั้นนี้คนที่ได้ก็เข้าใจว่าตนเองได้ฌาณแล้ว


ตอนเริ่มนั่งเป็นครับ หลังจากเวลาผ่านไปรู้แต่ว่าจิตเป็นสมาธิแล้วเกิดความชัดเจนของการกำหนดรู้ และความสงบลง จะนั่งต่อไปเรื่อยๆ กำหนดต่อไปที่เวทนา รู้ตัวเองว่าอดทนขึ้น ความเพียรมากขึ้น ไม่เกียจคร้านต่อการนั่ง ส่วนลักษณะของคุณหลับอยู่ว่าคล้ายหลับอย่างรู้นั้น ไม่เคยเกิดขึ้นครับ จะทำความเพียรต่อไปเรื่อยๆเพื่อพัฒนาเรื่องสติให้เข้มแข็งขึ้นต่อไป

อ้างคำพูด:
FLAME เขียน
เรื่องฐานจิต ครูบาอาจารย์หลายท่านได้พูดไว้
แต่ละท่านก็จะมีจำนวนฐานของจิตไม่เท่ากัน 5 บ้าง 7 บ้าง และอื่นๆ

บางท่านให้เริ่มหาฐานจิตก่อน แล้วก็ไปเพ่งเฉพาะซึ่งฐานจิตนั้นๆ หรือบริกรรมคำต่างๆที่ฐานจิตนั้นๆ เช่นพุทโธ จนจิตเป็นสมาธิ ท่านว่าเหมือนการสั่งสมพลัง หรือเฝ้าดูความเกิดดับความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ของจิตที่ฐานจิตนั้น หรือให้แผ่เมตตาแผ่อารมณ์จากฐานจิตนั้นๆ

บางท่านให้เคลื่อนตามฐานต่างๆแล้ว มาหยุดอยู่ที่ฐานๆหนึ่


ขอบคุณครับสำหรับความรู้ ตอนนี้ต้องเพิ่มความตั้งใจในเรื่องสติเพื่อการกำหนดรู้ ในด้านอารมณ์นั้นก็ค่อนข้างจะสงบดีไม่ฟุ่งซ่าน และหดหู่ใจอะไร

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2011, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณไม่ต้องไปกำหนดเวทนาก่อนหรอกครับเช่นหากเกิดเมื่อยขาไปเอาจิตจดจ่อที่ความรู้สึกเจ็บขาความแน่วแน่ของคุณก็ซัดออกไปแล้วครับคำว่าอย่าส่งจิตออกนอกนี่ลึกซึ้งมากครับเช่นสายหลวงปู่มั่นสายหลวงพ่อวัดปากน้ำและในพระไตรปิฏก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2011, 23:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


แบบที่ผมบอกนั้นสติกับสมาธิมีอยู่แล้วครับแต่ไม่แน่นเท่าระดับฌาณ....มีฤทธิ์บ้างนิดหน่อย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2011, 23:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น



Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๑๘๒ - ๔๔๙๖. หน้าที่ ๑๗๘ - ๑๙๐.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๓๖๓ - ๔๓๖๙. หน้าที่ ๑๘๕.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0

ย้อนหน้าย้อนหลังอ่านดูไว้เป็นกำลังใจ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อกำหนดลมหายใจจึงเห็นผัสสะ สมาธิเกิดขึ้น มีบางอย่างเกิดขึ้นที่กลางอกผม บริเวณลิ้นปี่ เป็นคล้ายๆ กำลังของสมาธิ ยิ่งกำหนดรู้การเกิดดับของผัสสะจากการหายใจเข้าออก ความชัดเจนของกำลังนี้ยิ่งมากขึ้น


ขออนุญาต-ร่วมวงสนธนา

จากประสบการณ์ จะกลับทางกันค่ะ
คือ เมื่อกำหนดลมหายใจจนมีกำลังสมาธิมากขึ้นๆ
จนนิ่งเกือบไม่มีลม - สมาธิเป็นเหมือนดวงเด่นตั้งอยู่

ภาวะเช่นนี้ จะรู้การกระทบ(ผัสสะ)ได้รวดเร็ว
เห็นการเกิดของความชอบ-ไม่ชอบ โกรธ-ไม่โกรธ
อันเป็นผลมาจากผัสสะ ได้ชัด
และก็จะตัดวงจรที่ต่อจากความชอบ-ชัง ได้ในทันที

ต่างกันตรงที่ไม่ได้กำหนดรู้การเกิด-ดับ ของผัสสะ
แต่ รู้-เห็นการเกิดดับเป็นผลจากกำลังของสมาธิ+สติ
สมาธิ+สติ เป็นเหตุ - รู้เกิด/ดับเป็นผล

เจ้าของกระทู้ รู้การเกิดดับ(เหตุ)มาก - กำลังสมาธิ(ผล)มาก

ผิดถูกอย่างไร - ฝากให้ผู้รู้ร่วมพิจารณาค่ะ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 15:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


นิรินธน์ เขียน:
อ้างคำพูด:
เมื่อกำหนดลมหายใจจึงเห็นผัสสะ สมาธิเกิดขึ้น มีบางอย่างเกิดขึ้นที่กลางอกผม บริเวณลิ้นปี่ เป็นคล้ายๆ กำลังของสมาธิ ยิ่งกำหนดรู้การเกิดดับของผัสสะจากการหายใจเข้าออก ความชัดเจนของกำลังนี้ยิ่งมากขึ้น


ขออนุญาต-ร่วมวงสนธนา

จากประสบการณ์ จะกลับทางกันค่ะ
คือ เมื่อกำหนดลมหายใจจนมีกำลังสมาธิมากขึ้นๆ
จนนิ่งเกือบไม่มีลม - สมาธิเป็นเหมือนดวงเด่นตั้งอยู่

ภาวะเช่นนี้ จะรู้การกระทบ(ผัสสะ)ได้รวดเร็ว
เห็นการเกิดของความชอบ-ไม่ชอบ โกรธ-ไม่โกรธ
อันเป็นผลมาจากผัสสะ ได้ชัด
และก็จะตัดวงจรที่ต่อจากความชอบ-ชัง ได้ในทันที

ต่างกันตรงที่ไม่ได้กำหนดรู้การเกิด-ดับ ของผัสสะ
แต่ รู้-เห็นการเกิดดับเป็นผลจากกำลังของสมาธิ+สติ
สมาธิ+สติ เป็นเหตุ - รู้เกิด/ดับเป็นผล

เจ้าของกระทู้ รู้การเกิดดับ(เหตุ)มาก - กำลังสมาธิ(ผล)มาก

ผิดถูกอย่างไร - ฝากให้ผู้รู้ร่วมพิจารณาค่ะ
:b8:


อนุโมทนาครับ การกำหนดรู้การเกิดดับของผัสสะมีความสำคัญมาก หมายถึงกำหนดรู้สภาวะจริงของ อายตนะ12 น้อมลงสู่พระไตรลักษณ์คือทุกขัง อนิจจัง อนัตตา จุดมุ่งหมายคือความเข้าใจแจ่มแจ้ง ส่วนตัวทำความเพียรศึกษาอยู่ อย่างการกำหนดรู้การเกิดดับของการหายใจเข้าออกย่อมอาศัยกาย คือหายใจเข้าออก อาศัยนามคือวิญญาณ เกิดผัสสะจากกายวิญญาณจึงเป็นการกำหนดรู้นามรูป ส่วนตัวยังกำหนดรู้จากชีวิตปกติที่ไม่ได้นั่งสมาธิ การมอง การฟัง การฟังนั้น หากสนใจวิญญาณเกิด ผัสสะที่เกิดจากโสตวิญญาณเกิดและดับลงพร้อมเสียง จึงเป็นการกำหนดรู้สภาวะจริงของธรรม จึงต้องมีสติด้วย จึงหมายถึงกำหนดรู้ซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อความรู้แจ้ง จึงต้องทำความเพียรต่อไปครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
จิตอันเป็นไปภายในเท่านั้น ย่อมคงที่
แน่นิ่ง เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น



Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๑๘๒ - ๔๔๙๖. หน้าที่ ๑๗๘ - ๑๙๐.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0


Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๔๓๖๓ - ๔๓๖๙. หน้าที่ ๑๘๕.
http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B= ... agebreak=0

ย้อนหน้าย้อนหลังอ่านดูไว้เป็นกำลังใจ :b8:


อนุโมทนาครับ เข้าไปอ่านลิงค์แรก อ่านจนหมดรู้สึกเกิดศรัทธามาก จึงตั้งใจทำความเพียรในคืนนั้น ผ่านไปจนเข้าสู่ความนิ่งจากผลของสมาธิ กำหนดรู้ลมหายใจต่อไปไม่ส่งไปที่เวทนา ผ่านไปจนเห็นลมหายใจเหลือก้อนเล็ก เหมือนไม่มีรูป เกิดกิเลสคือความกลัวถอนจากสมาฺธิในที่สุดประมาณชั่วโมงครึ่ง แม้จะถอนจากสมาธิแต่เหมือนสมาธิยังอยู่ อาการเหมือนกินกระทิงแดง2ขวดพร้อมกัน แต่ไม่มีภาพหลอน จึงอธิฐานว่าหากเกิดจิตวิปลาส (คงยังกลัวอยู่ในตอนนั้น) ขออย่าให้ตัวเองต้องทำร้ายใครเลย เหมือนในข่าวหนังสือพิมพ์ สักพักลุกขึ้นมานั่งสมาธิอีกครึ่งชั่วโมง ผลปรากฏนอนไม่หลับผ่านไป4ชั่วโมงจึงเคลิ้มหลับลง ตื่นขึ้นมาก็เป็นปกติ ก็มาเขียนเป็นประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่งครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าถอนถ้าถอนให้ดำเนินกลางเข้าไปหาได้ในมหาวรรคอานาปานกถา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 19:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


เสียดายแทนตรงที่มาเกิดความกลัวระหว่างบริกรรม ภาวนานี่แหละ การทำได้อย่างนั้นแม้จะเกิดการถอนออกจากสมาธิ แต่สติที่ได้จากการทำสมาธิยังดีอยู่ มีความพอใจกับความรู้ที่ได้ทำมาอยู่ คือกำลังปีติมีไม่มากก็น้อยล่ะ ใช้สติที่มีนั้นให้เป็นประโยชน์ เปลี่ยนอิริยาบถช่วงไหน ก็ใช้สติให้รู้ทัน ทรงไว้ได้ตลอดก็จะดี อย่าเสียดายหากทำไม่ได้เหมือนอย่างเดิม สภาวะอย่างนี้สติจะสำคัญ สติฝึกได้ทุกอิริยาบถ ฉะนั้น ใช้สติให้มากๆ มีกำลังที่จะพิจารณาก้ปล่อยให้พิจารณา จะพักทำสมาธิก็ทำสมาธิ...... สติจะพาไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


น่าสนตรงที่คุรนิรินธร์ บอกว่าสมาธิเป็นดวงเด่นอยู่นี่แหละครับ....ถ้าผุดขึ้นตรงกลางกาย...ไม่ใช่ส่วนอื่นก็เทียบกับธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นในภายในที่พระไตรปิฏกระบุไว้ในแต่ละขั้นๆและดวงพุทโธของสายหลวงปู่มั่นและดวงปฐมมรรคตามแบบที่หลวงวัดปากน้ำสอน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron