วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 13:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 01:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นเวลานานที่ไม่ได้ตั้งกระทู้ขึ้นมาเองครับ มาช่วง2 อาทิตย์นี้หลังจากพิจารณาอายตนะทั้งในนอก เกิดเป็นความรู้ขึ้นมาว่าเมื่อ เมื่อสภาวะธรรมนอกเกิด เรากำหนดรู้เมื่อเกิดการกระทบเกิดผัสสะขึ้น ตรงนี้เรากำหนดเห็นการเกิดดับของผัสสะ เราพิจารณาว่าความชัดเจนนั้นเพราะสติ จากการกำหนดลมหายใจที่แต่ก่อนไม่ค่อยถนัดนักมักเกิดความอึดอัด เมื่อกำหนดรู้ผัสสะที่เกิดจากการหายใจเข้าออกจึงเห็นการเกิดดับอย่างชัดเจนของผัสสะ สามารถกำหนดลมหายใจนานขึ้น สั้นยาว หยาบ ละเอียดตามกำลังของสมาธิ พอมีสมาธิก็เห็นการกระทบกันของอายตนะในนอกชัดเจนขึ้น จึงพิจารณาว่าผัสสะนั้นเกิดดับในจิตเรานั่นเองโดยอาศัยสติกำหนดรู้ มีวิญญาณเป็นสะพานทอดระหว่างในนอก
เมื่อกำหนดลมหายใจจึงเห็นผัสสะ สมาธิเกิดขึ้น มีบางอย่างเกิดขึ้นที่กลางอกผม บริเวณลิ้นปี่ เป็นคล้ายๆ กำลังของสมาธิ ยิ่งกำหนดรู้การเกิดดับของผัสสะจากการหายใจเข้าออก ความชัดเจนของกำลังนี้ยิ่งมากขึ้น หลังจากออกจากสมาธิจึงหวนคิดถึงคำพูดของสมาชิกท่านหนึ่งที่พูดถึงฐานของจิต จึงนำคำถามนี้มาถามเพื่อนๆดูว่าฐานของจิตคืออะไร? ขอบคุณครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลังจากออกจากสมาธิจึงหวนคิดถึงคำพูดของสมาชิกท่านหนึ่งที่พูดถึง ฐานของจิต จึงนำคำถามนี้มาถามเพื่อนๆ ดูว่า ฐานของจิต คือ อะไร?


"ฐานของจิต" ควรถามคนพูดเลยนะครับ ว่าคืออะไร หมายถึงอะไร อาจเป็นคำพูดที่เค้าหมายรู้กันเฉพาะหมู่เฉพาะกลุ่มก็อาจเป็นได้

เราทำสมาธิเพื่อค้นหานั่นนี่ตามคำพูดของผู้นั้นผู้นี้ ที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา โดยเฉพาะเป็นนามธรรมมองไม่เห็นด้วยแล้วยากเอาการอยู่ครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2011, 14:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ฐาน กับคำว่า ภพนี้ หากจะนำมาใช้เป็นไวพจน์ของกันและกัน ดูเหมือนจะใช้แทนกันได้ ฐานของจิตตามความหมายที่ท่านถามมา จะเป็นการที่จิตมีสติไปจดจ่อตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่ง หรือจะเป็นการที่จิตตั้งวางเฉยอยู่เป็นกลางๆ อย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้ สติที่กำหนดรู้ถึงผัสสะลมหายใจเข้าออกนั้น รู้ชัด สั้น ยาว หยาบ ละเอียด ดูเหมือนเป็นการรู้อยู่กับฐานอันเป็นภายนอก เพราะลมหายใจเข้าออกนี้ จัดว่า เป็นรูปอย่างหนึ่ง เมื่อเข้าไปรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ก็เป็นเพียงแต่ใช้สติเป็นตัวควบคุมพานำจิตไปพักศึกษาอยู่กับลมหายใจเข้าออกนั้น ถ้าเป็นเช่นนั้น ฐานของจิตเช่นนี้ ก็เป็นการที่จิตมีสติไปจดจ่อตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่ง ก็หมายความว่า เป็นฐานอย่างหนึ่งคงจะได้ ผลของการปฏิบัติฝึกสติอย่างนี้ เมื่อจิตสงบระงับ มีกำลังมาก จะเป็นฌาน เป็นสมถะภาวนาได้อย่างดี เป็นสัมมาสติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
เราทำสมาธิเพื่อค้นหานั่นนี่ตามคำพูดของผู้นั้นผู้นี้ ที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา โดยเฉพาะเป็นนามธรรมมองไม่เห็นด้วยแล้วยากเอาการอยู่ครับ


เห็นด้วยครับ สังเกตุตัวเองว่าเกิดขึ้นเฉพาะเวลากำหนดลมหายใจ แต่กำหนดจุดอื่นเช่นโสตและจักษุก็ไม่เกิดขึ้น รู้เพียงแต่สมาธิเกิดเมื่อกำหนดรู้ผัสสะอย่างชัดเจน

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
world2/2554 เขียน
สติที่กำหนดรู้ถึงผัสสะลมหายใจเข้าออกนั้น รู้ชัด สั้น ยาว หยาบ ละเอียด ดูเหมือนเป็นการรู้อยู่กับฐานอันเป็นภายนอก เพราะลมหายใจเข้าออกนี้ จัดว่า เป็นรูปอย่างหนึ่ง


ผมก็เข้าใจเช่นเดียวกันคือ จัดเป็นผัสสะที่เกิดจากกายวิญญาณ ผมลองพิจารณาเวลาไม่นั่งสมาธิก็กำหนดวิญญาณที่ลมหายใจบ้าง ผัสสะเกิดดับตามลมหายใจเข้าออก คือเหมือนเป็นความรู้ว่าลมหายใจก็ส่วนลมหายใจ ผัสสะก็ส่วนผัสสะแต่เกิดขึ้นเป็นคู่ขนาน และเวลามองเกิดจักษุวิญญาณผัสสะเกิดขึ้นเหมือนรู้สึกเป็นนามในเรา ผมสังเกตุแล้วเกิดเป็นอย่างนี้ หรือผมเข้าใจผิดระหว่างผัสสะกับสติ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ผมก็เข้าใจเช่นเดียวกันคือ จัดเป็นผัสสะที่เกิดจากกายวิญญาณ ผมลองพิจารณาเวลาไม่นั่งสมาธิก็กำหนดวิญญาณที่ลมหายใจบ้าง ผัสสะเกิดดับตามลมหายใจเข้าออก คือเหมือนเป็นความรู้ว่าลมหายใจก็ส่วนลมหายใจ ผัสสะก็ส่วนผัสสะแต่เกิดขึ้นเป็นคู่ขนาน และเวลามองเกิดจักษุวิญญาณผัสสะเกิดขึ้นเหมือนรู้สึกเป็นนามในเรา ผมสังเกตุแล้วเกิดเป็นอย่างนี้ หรือผมเข้าใจผิดระหว่างผัสสะกับสติ



คุณ student ปฏิบัติเพื่ออะไรครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 01:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
ผมก็เข้าใจเช่นเดียวกันคือ จัดเป็นผัสสะที่เกิดจากกายวิญญาณ ผมลองพิจารณาเวลาไม่นั่งสมาธิก็กำหนดวิญญาณที่ลมหายใจบ้าง ผัสสะเกิดดับตามลมหายใจเข้าออก คือเหมือนเป็นความรู้ว่าลมหายใจก็ส่วนลมหายใจ ผัสสะก็ส่วนผัสสะแต่เกิดขึ้นเป็นคู่ขนาน และเวลามองเกิดจักษุวิญญาณผัสสะเกิดขึ้นเหมือนรู้สึกเป็นนามในเรา ผมสังเกตุแล้วเกิดเป็นอย่างนี้ หรือผมเข้าใจผิดระหว่างผัสสะกับสติ



คุณ student ปฏิบัติเพื่ออะไรครับ :b1:


ขอบคุณครับสำหรับคำถาม การปฏิบัติของผมคือ น้อมการกำหนดรู้สภาวะธรรมลงในพระไตรลักษณ์ เพื่อประโยชน์แห่งการกำหนดรู้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ด้วยการถือเอาสภาวะธรรมของปัจจุบัน ปฏิบัติธรรมด้วยการพิจารณาธรรมเฉพาะหน้าด้วยสติ สมาธิ และความเพียร มีตำราคือมรรคมีองค์8
ช่วงนี้เลยเน้นการกำหนดรู้อายตนะที่เป็นเหตุของผัสสะ สมมุติว่ากำหนดอยู่ที่การหายใจเข้าออก หรือฟังเสียงที่ดังขึ้นมา เมื่อผัสสะเกิดอารมณ์ย่อมวางเฉยไม่ยินดียินร้าย ให้เป็นไปตามความจริงสักแต่ว่าอยาบ ละเอียด สั้นยาว เสียงดัง เสียงเบา กำหนดเฉพาะผัสสะที่เกิดดับพร้อมเหตุ ลำพังเรานึกคิดว่าพระไตรลักษณ์นั้นเป็นอย่างนี้นะก็เป็นแค่สัญญา ต้องกำหนดรู้เพื่อน้อมลงด้วยความรู้จริง
ส่วนด้านอารมณ์นั้น ปัจจุบันอารมณ์ดี ไม่ค่อยมีอารมณ์ขุ่นเคือง งดเว้นตัวเองจากการเชียร์กีฬา อันเป็นเหตุของความลำเอียง ตัวผมเองยังไม่ได้กำหนดรู้แนว อรูปญาณ ยังคงอยู่ในแนวของรูปญาณ ส่วนสมาธิที่เหมือนอยู่กลางอกเป็นผลของการปฏิบัติไม่ได้เปลี่ยนการปฏิบัติผมครับ เพียงแต่บางทีธรรมที่เราไม่เคยเจอมาก่อนก็ปรากฎขึ้น ก็หยิบมาเป็นความรู้ในแนวสมาธิไป ส่วนมโนวิญญาณที่เกิดระหว่างสมาธิก็ไม่ใช่แนวการปฏิบัติผม จะตั้งสติและสลัดออกไป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หลังจากออกจากสมาธิจึงหวนคิดถึงคำพูดของสมาชิกท่านหนึ่งที่พูดถึงฐานของจิต

บอกชื่อสมาชิกท่านนั้นได้ไหมครับ เด่วผมจะช่วยเรียกมาตอบให้ :b40:


ผัสสะ ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง สัมผัส การกระทบ การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก ผัสสะ เป็น ความประจวบกันแห่งสามสิ่ง คือ อายตนะภายใน(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ...
สัมผัส หรือ ผัสสะ มีหกอย่าง คือ

1. จักขุสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางตา คือ ตา+รูป+จักขุวิญญาณ
2. โสตสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางหู คือ หู+เสียง+โสตวิญญาณ
3. ฆานสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางจมูก คือ จมูก+กลิ่น+ฆานวิญญาณ
4. ชิวหาสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางลิ้น คือ ลิ้น+รส+ชิวหาวิญญาณ
5. กายสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางกาย คือ กาย+โผฏฐัพพะ(เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง)+กายวิญญาณ
6. มโนสัมผัส หมายถึง ความกระทบทางใจ คือ ใจ+ธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจนึกคิด)+มโนวิญญาณ
คือประกอบด้วยรูป2 จิต1 จะมีข้อสุดท้ายที่ต่างจากเพื่อนครับ

ส่วนสติกับสมาธินั้น สติคือทำให้ไม่หลงไม่เผลอ รู้ตัวอยู่ว่าจะคิด จะพูด จะทำ กำลังทำอะไรอยู่ ส่วนสมาธิคือความตั้งมั่นของจิต จิตที่่ไม่วอกแวก ไม่มีความฟุ้งซ่านเลยและอยู่กับอารมณ์เดียวได้นานๆ เรียกว่าเกิดสมาธิ ส่วนสัมปชัญญะคือรู้ตัวในรูปกับนามอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวหรือรู้ในอารมณ์ติดต่อกันไปเืรื่อยๆ
ไม่ให้ขาดจากกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการปฏิบัติจิตตภาวนา หรือการเจริญสมาธิ(ที่เรียกกันโดยทั่วไป)
ฐานของสมาธิ
สมาธิมี ศีลเป็นฐาน เป็นเครื่องรองรับ

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:
ผมก็เข้าใจเช่นเดียวกันคือ จัดเป็นผัสสะที่เกิดจากกายวิญญาณ ผมลองพิจารณาเวลาไม่นั่งสมาธิก็กำหนดวิญญาณที่ลมหายใจบ้าง ผัสสะเกิดดับตามลมหายใจเข้าออก คือเหมือนเป็นความรู้ว่าลมหายใจก็ส่วนลมหายใจ ผัสสะก็ส่วนผัสสะแต่เกิดขึ้นเป็นคู่ขนาน และเวลามองเกิดจักษุวิญญาณผัสสะเกิดขึ้นเหมือนรู้สึกเป็นนามในเรา ผมสังเกตุแล้วเกิดเป็นอย่างนี้ หรือผมเข้าใจผิดระหว่างผัสสะกับสติ


คุณ student ปฏิบัติเพื่ออะไรครับ :b1:


ขอบคุณครับสำหรับคำถาม การปฏิบัติของผมคือ น้อมการกำหนดรู้สภาวะธรรมลงในพระไตรลักษณ์ เพื่อประโยชน์แห่งการกำหนดรู้ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ด้วยการถือเอาสภาวะธรรมของปัจจุบัน ปฏิบัติธรรมด้วยการพิจารณาธรรมเฉพาะหน้าด้วยสติ สมาธิ และความเพียร มีตำราคือมรรคมีองค์8


เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ใช่ไหมคะ อนุโมทนาค่ะ :b8:


student เขียน:
กรัชกาย เขียน:
student เขียน:

ช่วงนี้เลยเน้นการกำหนดรู้อายตนะที่เป็นเหตุของผัสสะ สมมุติว่ากำหนดอยู่ที่การหายใจเข้าออก หรือฟังเสียงที่ดังขึ้นมา เมื่อผัสสะเกิดอารมณ์ย่อมวางเฉยไม่ยินดียินร้าย ให้เป็นไปตามความจริงสักแต่ว่าอยาบ ละเอียด สั้นยาว เสียงดัง เสียงเบา กำหนดเฉพาะผัสสะที่เกิดดับพร้อมเหตุ


การภาวนาแบบนี้เรียกว่า มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ยังเป็นสมถะอยู่
การวิปัสสนาภาวนา คือการระลึกรู้ในสภาวธรรมที่กำลังปรากฏด้วยความเป็นปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันของเราโดยสภาวที่มีอยู่จริงหรือเรียกว่า "ปรมัตถ์ธรรม" สภาวปรมัตถ์ นั้นจะไม่มีนิมิตเครื่องหมาย
ไม่มีรูปร่างสัณฐาน ไม่มีภาษา มีแต่รูปนามที่กำลังปรากฏเป็นเพียงสภาวธรรมอย่างหนึ่ง กาย(รูป)ก็รู้สึกไปตามสภาวที่มีอยู่จริง (เช่น การเคลื่อนไหว อาการไหวๆ ความเย็น ความร้อน เป็นต้น) จิตใจ(นาม)ก็เป็นเพียงสภาพรู้ (เช่น การเห็น การได้ยิน การตรึกนึกคิด เป็นต้น) การรู้ในแต่ละครั้งจะเกิดดับเร็วมาก
รู้แล้วดับ(ไม่มีความจำเป็นต้องไปแยกแยะลำดับการเกิดขึ้นของขันธ์ห้า เพราะเราได้ศึกษามาแล้วว่ากระบวนการทำงานของขันธ์ห้าเป็นอย่างไร มันจดจำไว้ในสัญญาแล้ว เวลาภาวนาไม่ต้องตรึกอีก)
แล้วรู้อันใหม่ก็เกิดขึ้นสืบต่อกันเช่นนี้เรื่อยไป การเข้าไปรู้แบบนี้จะมี วิปัสสนาญาณ เกิดขึ้น
จึงจะถอดถอนความเห็นผิดได้ว่าเรามีตัวตน เราเป็นเจ้าของร่างกายและจิตใจนี้ออกเสียได้..เมื่อมีปัญญาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ความเห็นผิดจะค่อย ๆ ลดลง จางลง...

ขอเจริญในธรรมค่ะ :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำงานทั้งวัน แวะมาอ่าน อนุโมทนาครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่จิตรวมมั่งไม่รวมมั่ง....ยังซัดไปซัดมาอยู่(ไม่ถึงปฐมฌาณถ้าอัปมาสมาธินี่....กริ๊กเข้าไปอีกชั้นเลยครับ...รู้ได้ทันทีว่าอีกชั้นนึงคล้ายๆหลับแต่ว่าหลับอย่างรู้หลับอย่างมีสติหากได้ขั้นนี้จริงตาทิพย์หูทิพย์แบบบางๆทำได้แต่ต้องน้อมเข้าตั้งมั่นในตัว.....แค่ขั้นนี้คนที่ได้ก็เข้าใจว่าตนเองได้ฌาณแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2011, 22:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ลิ้นปี่เป็นฐานอีกจุดหนึ่งแต่ยังไม่ใช่ศูนย์เดิม
หากศีลไม่บริสุทธิ์จิตใจไม่ปรอดโปร่งบริสุทธิ์จะสงบระงับและแล่นดำเนินกลางสู่ขั้นต่อไปไม่ได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 01:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องฐานจิต ครูบาอาจารย์หลายท่านได้พูดไว้
แต่ละท่านก็จะมีจำนวนฐานของจิตไม่เท่ากัน 5 บ้าง 7 บ้าง และอื่นๆ

บางท่านให้เริ่มหาฐานจิตก่อน แล้วก็ไปเพ่งเฉพาะซึ่งฐานจิตนั้นๆ หรือบริกรรมคำต่างๆที่ฐานจิตนั้นๆ เช่นพุทโธ จนจิตเป็นสมาธิ ท่านว่าเหมือนการสั่งสมพลัง หรือเฝ้าดูความเกิดดับความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ของจิตที่ฐานจิตนั้น หรือให้แผ่เมตตาแผ่อารมณ์จากฐานจิตนั้นๆ

บางท่านให้เคลื่อนตามฐานต่างๆแล้ว มาหยุดอยู่ที่ฐานๆหนึ่ง

บางท่านทำอานาปานสตินี่แหละ แต่ฐานจะเคลื่อนไปเรื่อยๆ จนหยุดที่ฐานๆหนึ่่ง

บางท่านเอาสามฐานกำหนดสามฐาน

บางท่านสอนว่าฐานจะเปลี่ยนอย่างไรก็ก็ให้กำหนดรู้ว่ามันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่จำเพราะเจาะจง

บางท่านสอนว่าถ้าเพ่งเฉพาะฐานนี้ฐานนี้จะได้ญาณต่างๆ เช่น เพ่งที่ระหว่างคิ้ว จะได้ทิพยจักขุญาณ

หรือแม้แต่การฝึกจักระเองการให้ผลของแต่ละฐานก็จะไม่เหมือนกัน

ครูบาอาจารย์ท่านจะให้ความสำคัญของฐานต่างๆ ไม่เหมือนกัน
บ้างให้ความสำคัญที่ระหว่างอกหรือลิ้นปี่
บ้างให้ความสำคัญที่เหนือสะดือ
บ้างให้ความสำคัญที่กลางกระหม่อม
บ้างให้ความสำคัญที่ปลายจมูก

ซึ่งตามที่คุณ student บอกมา ก็คงเป็นฐานจิตอย่างหนึ่ง
อะไรจะเกิดก็ต้องเกิดตามเหตุปัจจัย ให้กำหนดรู้ซึ่งสภาพธรรมนั้นๆ ตามที่เป็นจริง
แนวทางที่คุณ student เปิดพระไตรปิฎกแล้วปฏิบัติตามนั่นถูกแล้วครับ
เพราะบางครั้งแนวทางปฏิบัติปัจจุบันนั้นมากเหลือเกิน แม้แต่คำบริกรรมก็มีมากเหลือเกิน การศึกษาพระธรรมโดยตรงจากพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทำให้เราไม่หลงทาง และดำเนินตามหนทางอันประเสริฐคืออริยมรรคมีองค์แปดได้อย่างมั่นคง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2011, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จับลมหายใจเข้าออกตามพระไตรปิฏกก็หลายฐานแล้วครับคุณเฟรม

ธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นในภายในอยู่ฐานไหนก็ฐานนั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร