วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 00:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การฝึกสติปัฏฐาน4ก็คือการเดินจงกรมก่อนแล้วค่อยนั่งสมาธิ แต่ต้องกำหนดทุกความเคลื่อนไหวทุกอย่าง และอารมณ์ของจิต ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราต้องกำหนดอ่ะคะ
ที่บ้านสายลมเขาบอกคะแต่จขกทไม่ได้จดไว้เลยลืมอ่ะคะ s002 แล้วคุณกรัชกายมีคำสมาทานกรรมฐานได้ไงคะ


แก้ไขล่าสุดโดย sunflower เมื่อ 06 ต.ค. 2011, 09:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณทุกๆคนที่มาให้ความรู้นะคะ :b8:

แต่ทำไมเวลาที่กำหนดยืนหนอแล้วบางครั้งร่างกายมันเอนไปเอนมา บางครั้งเอนจนเกือบล้ม แต่บางครั้งก็นิ่งแป๊ปเดียว แล้วก็หาย เลยงงว่าทำอะไรผิดไปอ่ะเปล่าอ่ะคะ s006


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 10:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
ขอขอบคุณทุกๆคนที่มาให้ความรู้นะคะ :b8:

แต่ทำไมเวลาที่กำหนดยืนหนอแล้วบางครั้งร่างกายมันเอนไปเอนมา บางครั้งเอนจนเกือบล้ม แต่บางครั้งก็นิ่งแป๊ปเดียว แล้วก็หาย เลยงงว่าทำอะไรผิดไปอ่ะเปล่าอ่ะคะ s006



ปกติร่างกายที่ยืนอยู่ทุกคน ก็ล้วนแต่ไหวเอนทั้งนั้น ร่างกายจะปรับสมดุลการทรงตัวเองตลอด เรียกว่า
อิริยาบท คือปรับเปลี่ยนไปจนเราไม่เห็นลักษณะบางอย่างของรูป(อิริยาบทบังทุกขลักษณะ) ต่อเมื่อได้
ปฏิบัติ ถ้าสติได้ปัจจุบันในระดับหนึ่ง ก็พอจะมองเห็นอย่างหยาบๆของสภาวะรูปในเรื่องอิริยาบทที่บัง
ความทนอยู่แบบเดิมของรูปไม่ได้(ทุกขลักษณะ)

ไม่ผิดครับ อย่าปล่อยให้ล้มไปครับ

เมื่อประสบกับลักษณะอย่างนี้ เอนหนอๆ บริกรรมแบบนี้โดยจิตรู้อาการที่เอน และเมื่อต้องการจะให้หยุดนิ่ง
กำหนดว่า อยากหยุดหนอๆ บริกรรมพร้อมรู้จิตที่อยากหยุด

ดึงหนอๆ เมื่อพยายามทำกายให้นิ่ง

ทั้งนี้ ให้ตามสภาวะที่จริงๆปรากฏทั้งทางรูป(กาย) หรือทางใจ อย่าปล่อยให้เพลินจนเกินไปครับ เดี๋ยวจะ
เคยตัว พอเริ่มยืนหนอๆ จะเอนอีกอยู่เรื่อยไป

อนุโมทนา

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนหน้า จขกท.พูดถึงนั่งสมาธิแล้วร้องไห้ น้ำหูน้ำตาไหล พอดีไปเห็นมาเนี่ย


อ้างคำพูด:
ผมนั่งสมาธิมาได้ประมาณ สองเดือน คืนวันที่ 5 ตุลาคม 2554 ผมนั่งสมาธิแล้วเกิดคิดถึงกรรมที่ตัวเองทำมาในอตีด มันผุดขึ้นมาหมดเลยครับ แล้วจิตก็มานึกว่า เราทำกรรมมาตั้งมากมายตายไปสงสัยต้องไปอบายแน่ ๆ
ผมเลยภาวนาว่า ถ้าตายไปในชาตินี้ขอให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ในชาติหน้า เกิดเป็นมนุษย์แล้วขอให้ได้บวชเป็นสงฆ์เป็นลูกศิษย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เท่านั่นเอง
น้ำตาก็ไหล นั่งร้องไห้สะอึกสะอื้นเลยครับ ออกจากสมาธิเช็ดน้ำมูก น้ำตาอยู่นานเลยครับ

ผมในถานะผู้ใหม่ ขอคำแนะนำด้วยครับ อาการทั้งหมดอย่างนี้จิด ผมคิดไปเองหรือไม่ ผมควรทำอย่างไรต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
การฝึกสติปัฏฐาน 4 ก็คือการเดินจงกรมก่อนแล้วค่อยนั่งสมาธิ แต่ต้องกำหนดทุกความเคลื่อนไหวทุกอย่าง และอารมณ์ของจิต ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราต้องกำหนดอ่ะคะ
ที่บ้านสายลมเขาบอกคะแต่จขกทไม่ได้จดไว้เลยลืมอ่ะคะ
แล้วคุณกรัชกายมีคำสมาทานกรรมฐานได้ไงคะ


ฝึกสติปัฏฐาน 4 ก็คือการเดินจงกรมก่อนแล้วค่อยนั่งสมาธิ แต่ต้องกำหนดทุกความเคลื่อนไหวทุกอย่าง และอารมณ์ของจิต ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราต้องกำหนดอ่ะคะ


กำหนดยังงงไงครับ ยกตัวอย่างได้ไหม :b1:


คุณกรัชกายมีคำสมาทานกรรมฐานได้ไงคะ

ถ้าจะพูดถึงคำสมาทานทำนองๆคำสมาทานศีลแหละ แต่สมาทานแล้วไม่ทำไม่ปฏิบัติ หรือ นั่งหลับเสียคำสมาทานก่อนหน้านั้น ก็เหมือนเสียงที่เข้าหูซ้ายออกหูขวา เนี่ย



แต่ถ้าตั้งใจจริงทำจริงๆ ปฏิบัติถูกต้องเป็นสัมมาปฏิบัติ แม้ไม่ต้องสมาทานว่าอะไรเลย ผลก็เกิดตามเหตุปัจจัยของมัน (ธรรมชาติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 14:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อว่าเป็นกลางๆอย่างนั้นแล้ว ^ หากต้องการเห็นคำสมาทานจะเขียนให้ดูดังนี้

ในการรับเอากรรมฐาน ท่านให้ทำเป็นพิธีการสักหน่อย คือเข้าไปหาท่านผู้เป็นกัลยาณมิตรแล้ว

-กล่าวคำมอบตัวแด่พระพุทธเจ้า ทำนองนี้ว่า "อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจะชามิ" ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพเจ้าขอสละอัตตภาพนี้แด่พระองค์ (จะแปลว่า ขอถวายชีวิตก็ได้)

หรือมอบตัวแก่พระอาจารย์ก็ได้ว่า "อิมาหัง ภันเต อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปริจจะชามิ" ข้าแต่พระอาจารย์ ข้าพเจ้าขอสละอัตตภาพนี้แด่ท่าน (จะแปลว่า ขอถวายชีวิตก็ได้)

การมอบตัวให้นี้ เป็นกลวิธีสร้างความรู้สึกให้ปฏิบัติอย่างจริงจังเด็ดเดี่ยว ช่วยทำลายความหวาดกลัว ทำให้ว่าง่าย ทำให้ความรู้สึกระหว่างอาจารย์กับผู้ปฏิบัติถึงกัน และเปิดโอกาสให้อาจารย์สอนและช่วยในการฝึกได้อย่างเต็มที่ พร้อมนั้น พึงทำพื้นใจของตนให้ประกอบด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ เนกขัมมะ ความใฝ่สงัด และความรอดพ้น กับทั้งทำจิตให้โน้มน้อมไปในสมาธิ และนิพพาน และขอกรรมฐาน


-ฝ่ายอาจารย์หรือผู้ที่จะช่วยแนะนำความรู้คิดแก่ผู้อื่น อาจถือโยนิโสมนสิการ 3 อย่างต่อไปนี้ เป็นหลักพื้นฐานสำหรับตรวจสอบพื้นเพทางด้านภูมิปัญญา หรือความรู้คิดของบุคคล คือ

1. การคิดแบบปัจจยาการ คือ ดูว่า เขามีความคิดเป็นเหตุเป็นผล รู้จักคิดเหตุผล หรือเป็นคนมีเหตุผล รู้จักสืบค้นเหตุปัจจัย หรือไม่

2. การคิดแบบวิภัชชวาท คือ ดูว่า เขารู้จักมองสิ่งทั้งหลาย หรือเรื่องราวต่างๆได้หลายแง่หลายมุมรู้จักแยกแยะแง่ด้านต่างๆ ที่อาจเป็นไปได้ ไม่มองแง่เดียว ไม่คิดคลุมเครือ ดังนี้หรือไม่

3. การคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ ดูว่า เขาพูด ฟัง หรืออ่านอะไร สามารถจับหลัก จับประเด็น หรือแก่นของเรื่อง (ธรรม) และเข้าใจความหมาย ความมุ่งหมาย หรือคุณค่า ประโยชน์ หรือแนวที่จะกระจายขยายความของเรื่องนั้นๆ (อรรถ) หรือไม่

มิฉะนั้นก็สอบถามให้รู้ เช่นว่า เธอเป็นพวกจริตใด ลักษณะอาการความรู้สึกนึกคิดของเธอส่วนมากเป็นอย่างไร เธอนึกถึงพิจารณาอะไรแล้วสบาย ใจเธอน้อมไปในกรรมฐานไหน เป็นต้น แล้วบอกกรรมฐานที่เหมาะกับจริตของเขาให้ ชี้แจงให้รู้ว่าจะเริ่มต้นปฏิบัติอย่างไร วิธีกำหนดและเจริญทำอย่างไร ทำองค์ธรรมมีสติ สัมปชัญญะ สมาธิ เป็นต้นให้มีกำลังขึ้นทำอย่างไร เป็นต้น


ดูความเต็มใน องฺ.ทสก.24/11/17

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในบาลีกล่าวถึงคุณสมบัติของตัวผู้ปฏิบัติที่จะบรรลุวิมุตติได้ในเวลาไม่นานไว้ด้วยว่า ประกอบด้วยองค์คุณ 5 ประการคือ

1. มีศรัทธาในตถาคตโพธิ

2. สุขภาพดี โรคน้อย ระบบการเผาผลาญ (ไฟธาตุ)พอดี

3. เป็นคนเปิดเผยตัวตามเป็นจริงแด่พระศาสดา และเพื่อนพรหมจารี ไม่มีมายา

4. มีความเพียรบากบั่นจริงจัง

5. มีปัญญาที่จะชำแรกกิเลสได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ่อ....ตอนนี้จขกทไม่คิดจะฝึกมโนมยิธิเองแล้วอ่ะคะ กลัวหลงผิด เลยคิดจะไปฝึกที่บ้านสายลมอ่ะคะ ขอบคุณคุณกรัชกายมากนะคะที่ช่วยบอกคำสมาทานกรรมฐาน :b8:


และก็ขอขอบคุณคุณกามโภคีมากนะคะที่ช่วยแนะนำต่างๆ :b8:
แต่ยังมีข้อสงสัยอีกอย่างคือตอนกำหนดยืนหนออ่ะคะ จิตมันลงไวมากแปปๆไปถึงเท้าแล้วอ่ะคะ ตอนไปฝึกที่วัดเห็นพระท่านลากจิตลงมาแบบช้าๆอ่ะคะ(เห็นตอนที่ท่านชี้มือตั้งแต่ศีรษะแล้วลากลงมาอย่างช้าๆ) อยากจะถามว่าทำไงจิตถึงจะลงมาแบบช้าๆเพราะตอนปฏิบัติแค่กำหนดยืนเฉยๆจิตมันก็ไปถึงเท้าแล้วอ่ะคะ cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
แต่ยังมีข้อสงสัยอีกอย่างคือตอนกำหนดยืนหนออ่ะคะ จิตมันลงไวมากแปปๆไปถึงเท้าแล้วอ่ะคะ


ทำความเข้าใจก่อนครับ

จิตมีลักษณะบังคับไม่ได้ ฉะนั้น ในการปฏิบัติทำใจเลยว่า ไม่มีอะไรที่จะได้อย่างใจหวัง
ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่ไปไวไปช้า อยุ่ที่ว่า คุณกำหนดรู้ทันหรือไม่ ถ้าไปไว กำหนดรู้ทัน ก็ไม่ใช่ปัญหา
แต่ถ้าช้าก็จริง กำหนดรู้ไม่ทัน ปัญหาก็เกิดได้

ข้อนี้ให้สังเกตุไว้ว่า ถ้าสติเราตามทันได้ปัจจุบันของสภาวะที่กำหนดลงไปตามอยู่ จะค่อยๆช้าลงไปเอง
ตามสติที่รู้ละเอียดขึ้น ถ้าสติยังรู้ไม่ละเอียด ก็จะรู้ไปไวมาก แต่ ไม่ได้ปัจจุบันขณะ


sunflower เขียน:
ตอนไปฝึกที่วัดเห็นพระท่านลากจิตลงมาแบบช้าๆอ่ะคะ(เห็นตอนที่ท่านชี้มือตั้งแต่ศีรษะแล้วลากลงมาอย่างช้าๆ)


วิธีทางปฏิบัติของพองยุบ ต้องช้าครับ เพราะ...
สติยังไม่ดีพอ ยังไม่ควรแก่การงาน ถ้าไวไป สติจะตามไม่ทัน ไม่ได้ปัจจุบัน และเมื่อไม่ได้ปัจจุบัน จะไม่
เห็นไตรลักษณ์

ข้อที่ช้านนี้ สอดรับกับคำสอนของพระกัจจายนะครับ

และช้าทุกอิริยาบทครับ

sunflower เขียน:
อยากจะถามว่าทำไงจิตถึงจะลงมาแบบช้าๆเพราะตอนปฏิบัติแค่กำหนดยืนเฉยๆจิตมันก็ไปถึงเท้าแล้วอ่ะคะ cry


ที่จริง สายหลวงพ่อจรัญผมไม่ถนัดเลย เคยปฏิบัติกับท่านมาสมัยเมื่อท่านเป็นพระครู ซึ่งนานมาก

วิธีแก้ ต้องรูปัญหาก่อน ปัญหาคือ สติที่ตามปัจจุบันยังไม่ทัน เพราะสติยังไม่ดีพอ ซึ่งทำให้สมาธิไม่ดี
เมื่อสมาธิไม่ดี การกำหนดรู้สภาวะก็หยาบ เก็บรายละเอียดไม่ได้ ทำให้ไวไปถึงเท้าไว ให้ลองสังเกตุว่า
เราเก็บรายละเอียดตั้งแต่หัวจรดเท้าได้ดีไหม มันเหมือนจะข้ามไป ไวจนถึงเท้า

ลองกำหนดแบบปักจิตก่อน นำสมถะมาช่วยมากหน่อยก่อน

กำหนดที่ศีรษะ กำหนดรู้การกระทบที่ศีรษะ ซัก 3 ครั้ง บริกรรม รู้หนอๆ เมื่อมีลมหรืออะไรมาสัมผัส
กำหนดต่อมาที่แขน ข้างใดข้างหนึ่งก่อน เมื่อมีอะไรมาสัมผัสเช่นเดียวกับที่ศีรษะ กรณีแขนอีกข้างมี
อะไรมาสัมผัส ให้ย้ายไปกำหนดที่ข้างนั้น บริกรรมเช่นเดียวกัน
เขาหรือขาก็นัยเดียวกับเขน และ เท้าก็เช่นเดียวกัน
ขณะที่ทำตามลำดับแต่ละอย่างไม่มีอะไรมากระทบ กำหนดว่านิ่งหนอๆ บริกรรม จิตรู้ที่อาการนิ่งห้อยลง
ของแขน ตั้งอยู่ของขา เป็นต้น

การประเมิณ เมื่อรู้สึกว่าการรับรู้แบบปักชัดเจนดีแล้ว จิตไม่ส่ายไปตามนิวรณ์ ก็ลองปรับเปลี่ยนไปรับรู้
แบบทั้งตัวตามลำดับ ไม่นานจะเห็นการตั้งอยู่ของกายเอง มันซ่อยอยู่ในนั้นละครับ

อนุโมทนา

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
เอ่อ....ตอนนี้จขกทไม่คิดจะฝึกมโนมยิธิเองแล้วอ่ะคะ กลัวหลงผิด เลยคิดจะไปฝึกที่บ้านสายลมอ่ะคะ



แน่ใจหรอครับว่าที่บ้านสายลมสอนไม่หลง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณคุณกามโภคีมากๆนะคะ :b8:
ปกติสติจะตามไม่ค่อยทันอารมณ์และความคิดอ่ะคะ เพราะเป็นคนชอบคิดนู้นนี่ ขนาดตอนกำหนดย่างจิตยังสามารถหลุดไปคิดอย่างอื่นได้ทั้งๆที่กำลังกำหนดย่างหนอเลยคะ :b5: เหมือนจิตสามารถคิดสองอย่างในเวลาเดียวกันได้อ่ะคะ หรือจิตที่กำหนดนั้นมันเป็นความเคยชินก็ไม่รู้ทำไมจิตยังหลุดไปคิดนู้นนี่ได้เลย แปลก :b5: และก็เวลาโกรธกว่าจะรู้ตัวว่าตัวเองโกรธก็ต้องใช้เวลาไปประมาณ10-20วิ กว่าจะรู้ cry สติยังไม่ค่อยทันจิตกับความคิดอ่ะคะ s002 แล้วการพยายามให้สติอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จะช่วยทำให้สติทันจิตใช่ไหมคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2011, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเรื่องมโนมยิธิอ่ะคะ คือคิดว่าการฝึกเองน่าจะมีความเสี่ยงมากกว่าการให้ผู้อื่นฝึกให้อ่ะคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
ปกติสติจะตามไม่ค่อยทันอารมณ์และความคิดอ่ะคะ เพราะเป็นคนชอบคิดนู้นนี่ ขนาดตอนกำหนดย่างจิตยังสามารถหลุดไปคิดอย่างอื่นได้ทั้งๆที่กำลังกำหนดย่างหนอเลยคะ :b5:


ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ ปกติจิตแปรผันไปตามอารมณ์หรือสภาวะไวมาก การที่เราฝึกปฏิบัติก็เพื่อการมีสติที่
บริบูรณ์ อย่ากังวลว่าจะตามทันหรือไม่ทัน ฝึกปฏิบัติไปตามโอกาสตามวาระ วันหนึ่งก็สมบูรณ์ได้ครับ
การเดินจงกรมช่วยเรื่องสติได้มาก ควรเดินจงกรมก่อนนั่ง และ เน้นที่เดินจงกรมก่อน

sunflower เขียน:
เหมือนจิตสามารถคิดสองอย่างในเวลาเดียวกันได้อ่ะคะ หรือจิตที่กำหนดนั้นมันเป็นความเคยชินก็ไม่รู้ทำไมจิตยังหลุดไปคิดนู้นนี่ได้เลย แปลก :b5:


จิตคิดหรือรับรู้ได้เพียงครั้งละหนึ่งเท่านั้น ความไวของจิตทำให้เราเข้าใจว่าเหมือนคิดสองอย่างได้ในเวลา
เดียวกัน เรียกภาษาชาวบ้านก็เคยชินครับ ภาษาปฏิบัติคือ สติไม่ได้ปัจจุบันอารมณ์

sunflower เขียน:
และก็เวลาโกรธกว่าจะรู้ตัวว่าตัวเองโกรธก็ต้องใช้เวลาไปประมาณ10-20วิ กว่าจะรู้ cry สติยังไม่ค่อยทันจิตกับความคิดอ่ะคะ s002


ในผู้ที่เริ่มปฏิบัติใหม่ๆ เวลา ๑๐-๒๐ วินาทีถือว่าไม่ช้านะครับ หมั่นรู้ทันอารมณ์ ไม่นาน จะไวกว่านี้

sunflower เขียน:
แล้วการพยายามให้สติอยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จะช่วยทำให้สติทันจิตใช่ไหมคะ


ช่วยได้มาก จัดว่าจำเป็นต่อการปฏิบัติด้วย

องค์ประกอบสำคัญของการปฏิบัติคือ

อาตาปี สติมา สมฺปชาโน ความหมายคือ มีความเพียร มีสติ มีความรู้พร้อม

โดยเฉพาะคำว่ามีความรู้พร้อม หมายถึง รู้ทุกอิริยาบท แม้จะนอกบัลลังก์ เช่น กิน ดื่ม เป็นต้น

วิธีการของการปฏิบัติมีอยู่ว่า แม้จะกำหนดรู้ในการเดินจงกรม การนั่ง มากเท่าไร แต่อิริยาบทย่อยไม่
ได้กำหนดรู้ ความก้าวหน้าก็จะช้ามากหรือไม่ก้าวหน้าเลย แต่หาก การเดินจงกรม การนั่ง แม้ไม่มาก
แต่กำหนดรู้อิริยาบทย่อยได้ดีและมาก สามารถช่วยให้การปฏิบัติก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว

อิริยาบทอื่นในชีวิตประจำวันนอกจากการเดินจงกรมและบัลลังก์ ช่วยได้มากครับ และควรกำหนดทั้งทาง
กายและใจ อย่ามุ่งที่จิตอย่างเดียวครับ

อนุโมทนา

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


sunflower เขียน:
สติอยู่กับปัจจุบัน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จะช่วยทำให้สติทันจิตใช่ไหมคะ


สติอยู่กับปัจจุบัน

คำว่า ปัจจุบัน ขั้นฝึกอบรมจิต ดูที่นี่ครับ

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 950#msg950


คำว่า "ปัจจุบัน" "อดีต" "อนาคต" ระหว่างความหมายทางธรรมกับความเข้าใจทั่วๆไปตรงกันตรงไหนต่างกันตรงไหน

ศึกษาที่นี่ :b1:

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 1#msg10501

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2011, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ก.ย. 2011, 15:23
โพสต์: 53

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
อายุ: 17
ที่อยู่: ก.ท.ม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณทุกๆคนที่เมตตาแนะนำให้นะคะ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 189 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร