วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 05:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 11 ก.ย. 2011, 12:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ คือผมเป็นคนนึงที่สวดมนต์มาตั้งแต่เด็ก จนถึงตอนนี้อายุ17 สวดได้ก็มากบทแล้ว(ชินบัญชร พาหุง มงคล กะระณียะฯ ทำวัตร ปัตติทานะคาถา ฯลฯ) ซึ่งผมมีความรู้สึกว่าเมื่อสวดมนต์แล้วรู้สึกสงบไว เข้าสมาธิได้ง่าย อีกทั้งรู้สึกปีตีใจเมื่อได้สวดมนต์แผ่เมตตา แต่หลังๆความรู้สึกเหล่านี้กลับหายไป ผมรู้สึกเฉยๆ การทำบุญตักบาตร สวดมนต์ สมาทานศีล อะไรเหล่านี้ผมกลับไม่มีความรู้สึกอิ่มเอิบใจเสียแล้ว ความปีติปราโมทย์ใจจะมีก็ตอนที่ออกจากสมาธิ.....ผมไม่เข้าใจอาการที่ผมเป็นอยู่ ไม่รู้ว่ากำลังปฏิบัติผิดทางอยู่หรือไม่? ช่วยชี้แนะด้วยครับ


โพสต์ เมื่อ: 12 ก.ย. 2011, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ยังมีอารมณ์แบบนี้อยู่รึเปล่าครับ


โพสต์ เมื่อ: 13 ก.ย. 2011, 07:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ก.ย. 2011, 10:31
โพสต์: 36


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
สวัสดีครับ คือผมเป็นคนนึงที่สวดมนต์มาตั้งแต่เด็ก จนถึงตอนนี้อายุ17 สวดได้ก็มากบทแล้ว(ชินบัญชร พาหุง มงคล กะระณียะฯ ทำวัตร ปัตติทานะคาถา ฯลฯ) ซึ่งผมมีความรู้สึกว่าเมื่อสวดมนต์แล้วรู้สึกสงบไว เข้าสมาธิได้ง่าย อีกทั้งรู้สึกปีตีใจเมื่อได้สวดมนต์แผ่เมตตา แต่หลังๆความรู้สึกเหล่านี้กลับหายไป ผมรู้สึกเฉยๆ การทำบุญตักบาตร สวดมนต์ สมาทานศีล อะไรเหล่านี้ผมกลับไม่มีความรู้สึกอิ่มเอิบใจเสียแล้ว ความปีติปราโมทย์ใจจะมีก็ตอนที่ออกจากสมาธิ.....ผมไม่เข้าใจอาการที่ผมเป็นอยู่ ไม่รู้ว่ากำลังปฏิบัติผิดทางอยู่หรือไม่? ช่วยชี้แนะด้วยครับ



ขออนุโมทนาด้วยนะครับ สวดมนต์มากๆดีนะครับ ใจสงบเป็นสมาธิไปในตัว ถ้าในขณะสวดจิตนิ่งสงบดีมากๆ ใจอยู่แต่กับบทสวดจริงๆ เค้าเรียกกันว่าอุปจารอ่อนๆ เพราะมีปีติ

ที่ความรู้สึกหายไปไม่น่าแปลกอะไรนะครับ เพราะธรรมดาจิตจะเคยชินกับบทสวด และแสดงไปในความรู้สึกว่า เฉยๆ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ครับ เพราะธรรมดา ธรรมทั้งหลายย่อมเปลี่ยนแปลงไปอยู่ เสมอ

ขอให้ทำอย่างสม่ำเสมอ และรักษาศรัทธาของเราอย่าให้คลอนแคลน เพราะนั้นจะนำมาซึ่งความเกียจคล้าน

ผมคิดว่าปฏิบัติไม่ผิดนะครับ

ขออนุโมทนาด้วยนะครับ :b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 14 ก.ย. 2011, 18:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณนะครับ ตอนนี้ผมก็ยังมีอารมณ์ดังกล่าวอยู่ เป็นอารมณ์ที่ไม่ค่อยจะมีส่วนร่วมกับใครเขา ยิ่งปฏิบัติไปนานๆ ทำไปทำมา กลายเป็นคนที่ไม่ค่อยรู้สึกรู้สาอะไร เพื่อนเขาสนุกกัน เรามองว่าเฉยๆ เพื่อนเขาเศร้ากันเราว่าธรรมดา คนที่รู้จักผมกลัวว่าจะเป็นคนเบื่อโลกตั้งแต่ยังเด็ก แต่ผมว่าผมมีความสุขจะตาย ที่ไม่ค่อยเดือดเนื้อร้อนใจกับอะไร


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ย. 2011, 00:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ที่มีจิตไปรู้ ทางโลก ๖ โลกคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จะเลว หรือประณีต หยาบหรือละเอียดเพียงใดก็ตาม
ล้วนมีสภาพไม่เที่ยงแท้ เปลี่ยนแปลง แปรปรวน เกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา

การพิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงของสิ่งเหล่านี้อยู่เนื่องๆ
เป็นเหตุให้คลายความติดข้อง คลายความกำหนัดยินดีในอารมณ์
คลายความกำหนัดยินดีในโลกเสียได้

เมื่อไม่เพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ต่างๆ
ก็จะไม่ถูกโลกคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ เล่นงานเอาได้
เมื่อความเพลินดับ อุปาทานย่อมดับ
เมื่ออุปาทานดับ ภพย่อมดับ
เมื่อภพดับ ชาติย่อมไม่มี
เมื่อไม่มีชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมดับไป
เมื่อทุกข์ทั้งมวลดับไป จึงจะพบบรมสุข เป็นสุขที่ไม่เจือด้วยเวทนา ไม่เจือด้วยอามิส
เป็นนิจจัง เป็นสุขัง อย่างแท้จริง

ลองพิจารณาดูแล้วกันครับ


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ย. 2011, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียนท่านผู้ทรงภูมิครับ ผมว่าถ้าท่านไม่สามารถอธิบายความในส่วน
ที่เป็นปัญหาของจขกททางที่ดีกรุณาอยู่เฉยๆดีกว่าครับ

เด็กอายุสิบเจ็ดปีกำลังฝึกทำสมาธิด้วยการสวดมนต์ เห็นท่านไปเอาเรื่องปฏิจจสมุบาท
มาพูด ผมถามครับ ท่านไม่รู้หรือแกล้งไม่รู้ครับ

เด็กมันจะรู้เรื่องกับสิ่งที่ท่านโพสหรือครับ แบบนี้ผมขอวิจารณ์เลยว่า...
ท่านรู้ว่าเด็กไม่รู้ และท่านก็ไม่รู้ในสิ่งที่เด็กไม่รู้ สิ่งที่ท่านนำมาโพสท่านก็ไม่รู้
มันก็แค่อยากอวดภูมิเด็ก จะอวดทำไมครับเด็กมันไม่รู้อยู่แล้ว และมันก็เป็น
คนละเรื่องกับปัญหาของเด็กด้วย

อธิบายเรื่องทุกข์ในอริสัจให้เด็กฟังซิครับ
ไม่ใช่โพสอะไรก็ไม่รู้ แบบนี้เด็กมันจะสับสน อาจเบื่อธรรมะไปเลยก็ได้นะครับ


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ย. 2011, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
แต่หลังๆความรู้สึกเหล่านี้กลับหายไป ผมรู้สึกเฉยๆ การทำบุญตักบาตร สวดมนต์ สมาทานศีล อะไรเหล่านี้ผมกลับไม่มีความรู้สึกอิ่มเอิบใจเสียแล้ว ความปีติปราโมทย์ใจจะมีก็ตอนที่ออกจากสมาธิ.....ผมไม่เข้าใจอาการที่ผมเป็นอยู่ ไม่รู้ว่ากำลังปฏิบัติผิดทางอยู่หรือไม่? ช่วยชี้แนะด้วยครับ


ถ้ายังสวดมนต์ รักษาศีล อยู่ประจำ นั่นหมายความว่า ในขณะที่สวดมนต์ งดเว้นส่วนเกินด้วยศีลอยู่นั้น
ออกผลงานบางอย่างแล้ว กิเลสหยาบๆเมื่อสิ้นไป กายก็สงบระงับได้บางอย่างบางส่วน จิตที่เคยรับรู้
สภาวะสุขแบบหยาบ ก็เริ่มต้องการสุขที่ละเอียดขึ้น

หมายถึง นอกจากการสวดมนต์ รักษาศีลแล้ว พึงมุ่งหาภาวนากิจ เพื่อยังสุขแบบละเอียดมากกว่ามาเป็น
จุดเริ่มต้น

ข้อพึงระวังครับ การเริ่มต้น ต้องกลั่นกรองให้ดีมากๆ พลาดมาเยอะแล้วครับ
อย่างไรเสีย พึงหาวิปัสนาจารย์ พร้อมสถานที่ เป็นจุดเริ่มต้นจะดีกว่าครับ รายละเอียดของจุดเริ่มต้นที่ดี
พูดไปก็จบลงยาก แต่ละที่ล้วนว่าดี อย่างไรก็ตาม แนะว่า ยึดเหตุผลมากๆ แล้วจะพบดีๆครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ย. 2011, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
ขอบคุณนะครับ ตอนนี้ผมก็ยังมีอารมณ์ดังกล่าวอยู่ เป็นอารมณ์ที่ไม่ค่อยจะมีส่วนร่วมกับใครเขา ยิ่งปฏิบัติไปนานๆ ทำไปทำมา กลายเป็นคนที่ไม่ค่อยรู้สึกรู้สาอะไร เพื่อนเขาสนุกกัน เรามองว่าเฉยๆ เพื่อนเขาเศร้ากันเราว่าธรรมดา คนที่รู้จักผมกลัวว่าจะเป็นคนเบื่อโลกตั้งแต่ยังเด็ก แต่ผมว่าผมมีความสุขจะตาย ที่ไม่ค่อยเดือดเนื้อร้อนใจกับอะไร


เป็นเรื่องปกติครับ

การปฏิบัติธรรม ยิ่งถ้าปฏิบัติมาก ผลที่ออกมาจะลักษณะห่างจากสังคม ไปกับสังคมแล้วไม่ค่อยมีสุข
เพราะยิ่งปฏิบัติ ก็จะยิ่งชอบสงบๆ ข้อนี้ผมเคยโดนมาแล้วกับตัว

สิ่งสำคัญตอนนี้ คงต้องประครองจิตใจให้ดีละครับ เพราะเหมือนกับว่าไม่มีคนเสวนาด้วย ยามที่จิตใจดี
ไม่ฟุ้งซ่าน ก็ไม่น่าห่วง ยามที่ฟุ้งซ่านก็น่าห่วง คิดถึงคำพูดที่พระท่านเทศน์ครับ

อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา

ข้อนี้จริงๆเลยครับ

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ย. 2011, 06:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปัญญาในทุติยฌาน รู้ชัดขณะที่มีปิติ(ละคิดนึก) ความจริงแล้วยังมีที่
ประณีตกว่า สุขุมละเอียดกว่า ปิตินั่นแหละเป็น ของหยาบเป็นภาระ
คือการเดินสมาธิให้ประณีตยิ่งขึ้นก็ให้ละปิติเสีย แต่ให้แน่ใจ
ให้ใส่ใจต่อปิตินี้ให้ดี เอิบอาบซึมซาบแผ่ครอบคลุมโดย
ไม่มีประมาณรึยัง..

ถ้าเข้าได้ตรงนี้ ออกไปจากตรงนี้ ทุกครั้งที่ ออกจากสมาธิกำลังใน
การแผ่ เมตตาเจโตวิมุตติ ก็จะดีมากน้อยขึ้นอยู่กับว่า ตอนอบรมสมาธิ
ในทุติยฌานนั้นหยาบ พอประมาณ หรือประณีต

ยังจัดเป็นอามิสอยู่นะครับ ยังไม่ยิ่ง สติยังไม่บริสุทธิ์ (ตามตำรา)
แต่ก็พอจะเป็นบาทฐานอบรมปัญญาต่อไปได้ไม่ใช่ทำไม่ได้

เช่น(สมมติ)อุเบกขาที่ไม่อาศัยกามคุณ ไม่มีอามิส ถึงเวลาเดินปัญญา
ไหว้พระสวดมนต์ วอร์มจิตวอร์มใจแล้ว บริกรรมหายไปก็แล้ว
จิตขณะกระทบสัมผัสตาหูจมูกลิ้นกายใจ วิตกตรึกนึกคิดก็อย่าง
ขณะเดินสมาธิจิตก็ไปอีกอย่าง สงบปราศจากสุขและทุกข์(ฌาน ๔)
ก็พิจารณาต่อครับ เอาสติไประลึก ก่อนคิดก่อนทำก่อนพูด(เพื่อสัมปชัญญะ)

ปราโมทย์ปิติ ในทุติยฌาน นี้ก็พอเป็นบาทอบรมปัญญา
พิจารณาไตรลักษณ์ได้แต่ ตัณหาทิฏฐิยังมีในขณะเกิดปิติ
สำคัญว่าเที่ยง สำคัญว่าสุข สำคัญว่าเป็นอัตตาตัวตน
กุศลในมหัคคตจิต กุศลในรูปาวจรนี้(ฌาน ๒)ก็เป็นบาทของปัญญา

ท่านเรียกว่า กำหนด ภูมินานัตตสัญญา ในปฏิสัมภิทามรรค
ปัญญาในการกำหนดภูมิ กามาวจรภูมิหลังจาก ที่ก้าวล่วง
สัญญา(กามสัญญา)ต่างๆ ภายนอก เหลืออารมณ์เดียว(เข้ารูปสัญญา,มีปฐมฌาน ฯลฯ)
กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ก่อนหลังเป็นอย่างไร
พอออกจากสมาธิออกจากฌานถ้าไม่เคยพิจารณาก็น่าเสียดายตรงนี้...

ไม่ได้กำหนดรู้ เป็นญาตปริญญากิจแรกในอริยสัจ ว่าอุเบกขาเวทนาก็ดี
หรือปิติสุขนี้ก็ดี มีอามิสนี้ หรือที่ไม่มีอามิสนี้ เที่ยงไม่เที่ยง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์
เ็ป็นตัวตนไม่ใช่ตัวตน เวทนาใดๆ ที่ยังเกิดกับมโนผัสสะท่านให้เห็น
ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา พิจารณาตามความจริง ตรงนี้
เพื่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ความคลาย ความสละ ความสลัดคืน

เอาสรุปว่า ไม่ได้ปฏิบัติผิด เลือกอบรมฌานจิตให้ประณีตขึ้นยิ่งขึ้น
หรือเลือกอบรมปัญญา คือขณะปัจเวกขณไ่ม่มี ไม่ได้พิจารณา จะยังหลง
ตามเห็นเป็นเราสุข เราทุกข์ เราเฉยๆ อยู่อย่างนั้นแหละ จนกว่าจะรู้
พอรู้แล้ว ถึงจะตัดสินใจเองนั่นแหละจะอบรมปัญญา หรือเดินสมาธิต่อ
ก็ไม่ผิด ในธรรมจักรก็มีผู้รู้เยอะ คุณโยมเช่นนั้น และอีกหลายๆ คน
คุณโยมเจ้าของกระทู้ ลองปรึกษาไต่ถามดูก็ได้ครับ เรื่องปฏิบัติเรื่อง
ลงที่ใจ ภายนอกภายใน ลองใจมันลงแล้ว เป็นอันเดียวเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ย. 2011, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


น่าจะเป็นอุเบกขา... อันนี้เป็นคำกลางๆ ถ้าจะมีคนใช้คำอื่นๆ เช่น เนกขัมมะ อะไรๆ ก็ไม่ผิด

มันก็เป็นเช่นนั้นแล คือ ใกล้พระเข้าไปทุกที ต่อไปคงอยากมีกุฏิเป็นของตัวเอง :b32: :b32: :b32:

เรื่องเฉยๆ ในการทำทาน ก็เป็นเรื่องปกติของคนที่ฝึกภาวนามามากๆ


โพสต์ เมื่อ: 15 ก.ย. 2011, 21:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2011, 20:09
โพสต์: 82

แนวปฏิบัติ: รู้ตัวเสมอ ก่อนพูด ก่อนคิด ก่อนทำ
อายุ: 17
ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


FLAME เขียน:
อารมณ์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ที่มีจิตไปรู้ ทางโลก ๖ โลกคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
จะเลว หรือประณีต หยาบหรือละเอียดเพียงใดก็ตาม
ล้วนมีสภาพไม่เที่ยงแท้ เปลี่ยนแปลง แปรปรวน เกิดขึ้นและดับไปเป็นธรรมดา

การพิจารณาตามเห็นความไม่เที่ยงของสิ่งเหล่านี้อยู่เนื่องๆ
เป็นเหตุให้คลายความติดข้อง คลายความกำหนัดยินดีในอารมณ์
คลายความกำหนัดยินดีในโลกเสียได้

เมื่อไม่เพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ต่างๆ
ก็จะไม่ถูกโลกคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทุกข์ เล่นงานเอาได้
เมื่อความเพลินดับ อุปาทานย่อมดับ
เมื่ออุปาทานดับ ภพย่อมดับ
เมื่อภพดับ ชาติย่อมไม่มี
เมื่อไม่มีชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมดับไป
เมื่อทุกข์ทั้งมวลดับไป จึงจะพบบรมสุข เป็นสุขที่ไม่เจือด้วยเวทนา ไม่เจือด้วยอามิส
เป็นนิจจัง เป็นสุขัง อย่างแท้จริง

ลองพิจารณาดูแล้วกันครับ


ขอบคุณนะครับ :b8: ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกต้องตามที่ท่านว่าหรือไม่นะครับ ผมเข้าใจว่า....
ผัสสะเข้ามากระทบอายตนะ โดยที่ผัสสะเหล่านี้เมื่อกระทบอายตนะแล้วก่อให้เกิดอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เป็นไปตามไตรลักษณ์ แล้วท่านก็สอนให้พิจารณาสิ่งเหล่านี้เนืองๆว่ามันไม่เที่ยง เพื่อให้คลายความยึดมั่นยินดีในอารมณ์ทางโลก เมื่อไม่เพลิดเพลินแล้ว ก็ย่อมไม่มีความยึดมั่น เมื่อไม่มีความยึดมั่นก็ไม่มีภพ (คือความมี ความเป็น) เมื่อไม่มีภพ ก็ไม่มีชาติ(คือความเกิด) เมื่อไม่มีชาติ ความทุกข์ก็ดับ ทุกข์ที่ว่าก็คือ
ความเกิดก็เป็นทุกข์
ความเสื่อมก็เป็นทุกข์
ความตาย ความโศกเศร้า ความไม่ได้ดั่งใจ ความพลัดพรากจากของรักของเจริญใจ ฯลฯ กล่าวคือความยึดมั่นในขันธ์๕
ย่อมดับ เมื่อความทุกข์ดับ ความสุขก็เกิดขึ้น เป็นความสุขที่เป็นนิรันดร์(นิพพานัง ปรมัง สุขัง)

สรุปคือมีสติรู้เท่าทันอารมณ์ เท่าทันผัสสะที่เข้ามากระทบ พยายามประคองใจไม่ให้ปรุงแต่งฯลฯ

ประมาณนี้ใช่ไหมครับ ......ผมก็พวกอ่านมามาก จำมามาก ผิดถูกอย่างไรก็ชี้แนะด้วย (เรื่องทุกข์ผมจำเอามาจากบทแปลคำทำวัตรเช้าครับ) ยังไงก็ขอบคุณ คุณโฮฮับ ด้วยนะครับที่อุตส่าห์เป็นห่วงว่าผมจะไม่เข้าใจ ซึ่งจริงๆแล้วผมก็ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรหรอก :b23:

ถึงคุณกามโภคี ...ผมหาอาจารย์ไม่ได้อ่ะครับ อ่านๆแล้วก็ลองทำๆดู ถูกบ้างผิดบ้าง จึงต้องอาศัยพวกคุณๆเป็นอาจารย์อ่ะครับ
ขอบคุณนะครับ ทุกๆคน


โพสต์ เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัตติปิตา เขียน:
FLAME เขียน:
ถึงคุณกามโภคี ...ผมหาอาจารย์ไม่ได้อ่ะครับ อ่านๆแล้วก็ลองทำๆดู ถูกบ้างผิดบ้าง จึงต้องอาศัยพวกคุณๆเป็นอาจารย์อ่ะครับ
ขอบคุณนะครับ ทุกๆคน


ละอายใจ :b12: มาอาศัยผมเป็นอาจารย์ :b9:

อย่าเชียว ถ้าเป็นเพื่อร่วมวัฏฏะสงสาร รับได้ครับ

ถ้าจะปฏิบัติ ต้องหาคนที่แนะนำได้ตามหลักเกณฑ์ที่แน่นอน อย่าได้ปฏิบัติตามคำบอกแบบอันนี้นิดตรงนั้น
หน่อย เพราะจะไม่เป็นหลักวินิจฉัยอารมณ์สภาวะได้เลย ทำให้ช้าไป เหมือนสร้างเหตุให้มีผลตามมาอยู่
เรื่อย แทนที่จะสั้น ยาวออกไปอีก

ถ้าสนใจเรื่องการปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ แบบพองหนอยุบหนอ ผมพอมีแนวทางแนะนำให้ได้ครับ
ผมไม่ได้แนะนำแบบฐานะครูอาจารย์ แต่แนะนำเบื้องต้น และเมื่อพร้อม ผมพาส่งถึงวัดต้นแบบเลย

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน คือผัสสะที่ยังมีอาสวะมีอุปาทาน
นี้ธรรมอย่างหนึ่งที่ควรกำหนดรู้ ฯ

ปริญญาสูตร
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวงแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งลายจงฟังธรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเพื่อกำหนดรู้ซึ่งอุปาทานทั้งปวงเป็นไฉน อาศัยจักษุและรูป เกิดจักษุวิญญาณ รวม ธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้ง ในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทาน เรากำหนดรู้แล้วด้วยวิโมกข์ อาศัยหูและเสียง ฯลฯ อาศัยจมูกและกลิ่น ฯลฯอาศัยลิ้นและรส ฯลฯ อาศัยกายและโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึง เกิดมโนวิญญาณ รวมธรรม ๓ ประการ เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อ หน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เธอย่อมทราบชัดว่า อุปาทานเรากำหนดรู้แล้วด้วยวิโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นธรรมเพื่อกำหนดรู้อุปาทานทั้งปวง ฯ


โพสต์ เมื่อ: 16 ก.ย. 2011, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhism-online.org/Section02A_04.htm

อารมณ์ที่ผมหมายถึงก็คืออายตนะภายนอก
โลกที่ผมหมายถึงก็คืออายตนะภายในครับ


โพสต์ เมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 04:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ ปัตติปิตา ก็เพียงเห็นทุกอย่างตามที่เป็นจริง
เห็นรูป ตามที่เป็นรูป
เห็นเสียง ตามที่เป็นเสียง
เห็นรส ตามที่เป็นรส
เห็นสัมผัส ตามที่เป็นสัมผัส
เห็นอารมณ์ ตามที่เป็นอารมณ์
เห็นความคิด ว่าเป็นความคิด
เห็นความจำ ว่าเป็นความจำ
เห็นกายตามที่เป็นกาย
เห็นเวทนาตามที่เป็นเวทนา
เห็นจิตตามที่เป็นจิต
เห็นธรรมตามที่เป็นธรรม
เห็นกุศลตามที่เป็นกุศล
เห็นอกุศลตามที่เป็นอกุศล
ดีก็เห็นดี ชั่วก็เห็นชั่ว
หลงก็เห็นเป็นหลง
ยึดติดก็เห็นว่ายึดติด
พอใจก็เห็นว่าพอใจ
ไม่พอใจก็เห็นว่าไม่พอใจ
เห็นความเบื่อด้วยความเป็นความเบื่อ
เห็นความอยาก ว่าเป็นความอยาก
เห็นทุกข์ตามที่เป็นทุกข์
เห็นว่าเป็นธรรมะแต่ละอย่างๆ ที่ปรากฎ
แล้วก็ไม่ปรากฎบ้าง ดับไปบ้าง
เห็นว่าสภาพธรรมนั้นก็มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งบ้าง
ไม่หยิบไม่ฉวยสิ่งต่างๆมาเป็นของของตน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร