วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 05:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 13:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว




21.jpg
21.jpg [ 38.3 KiB | เปิดดู 6695 ครั้ง ]
mes เขียน:
ท่านพุทธทาสเป็นผู้นำทางผมสู่พุทธธรรมครับ

ชีวิตนี้ขอมอบให้แก่พระพุทธเจ้าตามท่านพุทธทาส


:b8: :b8: :b8:
สาธุ สาธุ สาธุ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 18:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42:

อธิบายอานาปานสติ หมวดที่ 2 (ขั้นที่ 5 -8)
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ขั้นที่ 5 รู้พร้อมเฉพาะ “ปิติ” จักหายใจออก-เข้า
ขั้นที่ 6 รู้พร้อมเฉพาะ “สุข” จักหายใจออก-เข้า
ขั้นที่ 7 รู้พร้อมเฉพาะ “จิตตสังขาร” จักหายใจออก-เข้า
ขั้นที่ 8 ทำจิตตสังขาร “ให้รำงับ” อยู่ จักหายใจออก-เข้า


หมวดที่ 2 นี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับเวทนาทั้งนั้น ในชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ปีติ และสุข หรือจิตตสังขาร เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงได้ชื่อว่า “เวทนานุปัสสนา” เวทนาในขั้นที่ 5 เรียกชื่อว่า “ปีติ” เวทนาในขั้นที่ 6 เรียกว่า “สุข” เวทนาในขั้นที่ 7 เรียกชื่อว่า “จิตตสังขาร” เวทนาในขั้นที่ 8 ก็คือ “การที่เวทนานั้นรำงับกำลังลง ถอยกำลังลงในการปรุงแต่จิต”. นี่เห็นได้ชัดว่ามีเวทนามาเป็นอารมณ์ทั้ง 4 ขั้น กำหนดเวทนาในลักษณะต่าง ๆ กันทั้งสี่ขั้น เพราะฉะนั้นเป็นการถูกต้องแล้ว ที่จะเรียกข้อปฏิบัติทั้งสี่ขั้นกลุ่มนี้ว่า “เวทนานุปัสสนา”.

ขั้นที่ 5. กำหนดรู้จักปีติ

ที่เนื่องมาจากขั้นที่ 4 คือ “รู้จักปีติ” อันว่าปีตินี้ มีสืบเนื่องมาจากการที่กายสังขารรำงับ จนเกิดสมาธิ มีความพอใจว่าเราสามารถรำงับกายสังขารได้ ปีติจึงเกิดขึ้นหรือหากว่าสามารถทำกายสังขารให้รำงับจนเป็นฌาน เช่น ปฐมฌาน ในปฐมฌานนั้น มันมีปิติเป็นองค์ฌานอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นเราจึงได้ปีติที่หนักกว่า แรงกว่า ในองค์ฌานนั้น มากำหนดในขั้นที่ 5 ต่อไป อย่างนี้ก็ได้ เรียกว่ากำหนดปีติอยู่ รู้สึกอยู่ ซึมซาบอยู่ ในรสของปีติ ในลักษณะของปีติ เพื่อให้รู้จักปีติกันเสียทีก่อน.

ขั้นที่ 6. กำหนดรู้จักความสุข

นี่ก็เพราะว่าความยินดีนั้นเปลี่ยนให้เป็นความสุขก็ได้ ปีตินั้นเปลี่ยนให้เป็นความสุขก็ได้. ปีติเป็นความพอใจหรือยินดี สุขนั้นเป็นความสบาย และสิ่งทั้งสองนี้ กำหนดให้เห็นความที่เนื่องกันอยู่ก็ได้ ความยินดีกับความสุขนี้ ผสมกันอยู่สองอย่างก็ได้. แต่ในการปฏิบัติขั้นนี้ ต้องการให้แยกออกเป็นอย่าง ๆ เป็นปีติอย่างหนึ่ง เป็นสุขอย่างหนึ่งเรียกไว้เป็น 2 อย่าง สิ่งที่เรียกว่าปีติหรือสุขนี้ ปรากฏอยู่ในใจจริง ๆ มาตั้งแต่ขั้นที่ 4 แล้ว แต่ว่าเราเริ่มมากำหนดจริง ในขั้นที่ 5-6 เพราะฉะนั้นเราจึงรู้จักปีติและสุขถึงที่สุด ว่ามีรสชาติเป็นอย่างไร. ปีติและสุขชนิดนี้ ไม่ได้อาศัยกามคุณ แต่อาศัยธรรมะหรือเนกขัมมะ (การปราศจากกามคุณ) ฉะนั้นจึงเป็นปีติและสุขที่สมบูรณ์และสูงสุด เรียกว่าได้รู้จักความสุขในทางจิตใจ หรือทางนามธรรม ที่สูงสุด เป็นอันว่ารู้จัก ปีติ รู้สุข อย่างกว้างขวางที่สุด.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 18:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42:

ขั้นที่ 7. กำหนดรู้จักปีติและสุขนั้น ในฐานที่ปรุงแต่งจิต

เช่นเดียวกับลมหายใจเป็นสิ่งปรุงแต่งกายในขั้น 3 ปีติและสุข ก็เป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ในขั้นที่ 7 นี้. รู้จักจิตสังขาร ก็คือรู้ปีติและสุข หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เวทนา” นั่นเอง เวทนาที่มีชื่อว่า “ปีติ” เวทนาที่มีชื่อว่า “สุข” ยกเอามาเป็นบทศึกษา ให้รู้ว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต เลยให้นามแก่เวทนานั้นใหม่ว่า “จิตตสังขาร”. รู้จักอาการที่เวทนาปรุงแต่งจิตนี้อยู่เป็นประจำ ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก

เวทนาทำให้เกิด “สัญญา” (คือความสำคัญมั่นหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ว่านั่นอย่างนั้น นี่อย่างนี้) แล้วสัญญา ก็ให้เกิดวิตก คือ “ความคิดที่เป็นจิต” จึงได้ชื่อว่า “เวทนา ปรุงแต่งจิต”. เวทนาปรุงแต่งจิตผ่านทางสัญญา เช่นในกรณีธรรมดาก็เช่นว่า เห็นรูปที่สวยงามเป็นสุขตา เป็นสุขเวทนาทางตา และสำคัญมั่นหมายว่าเป็นดอกไม้ที่สวยงาม เป็นสตรีที่สวยงาม เป็นบุรุษที่สวยงาม อย่างนี้ ก็เรียกว่าเป็นสัญญา ; แล้วสัญญานั้นจะปรุงแต่งให้เกิดวิตก คือ ความคิดว่าเอาอย่างนั้น จะเอาอย่างนี้ ขึ้นมาทีเดียว นี้เรียกว่า “จิตหรือวิตก” ก็ได้. เวทนาปรุงแต่งจิตอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเวทนาจึงได้ชื่อว่า “เครื่องปรุงแต่งจิต หรือ จิตตสังขาร”. เราต้องดูที่เป็นอยู่จริง ในภายในของเรา ว่าเวทนาคือ ปีติและสุข ได้ปรุงความคิดอย่างไรขึ้นมาบ้าง ให้ดูที่ตรงนั้น อย่าไปคำนวณข้างนอกโน้น ว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ นั่นจะเป็นเรื่องข้างนอก ไม่ประสงค์ในที่นี้ ; ประสงค์จะให้ดูแต่ว่า ปีติและสุขในใจของเราที่แท้ล้วน ๆ กำลังปรุงความคิดอะไรได้ ก็ดูสิ่งนั้นอยู่เรื่อยไป จนพบข้อเท็จจริงว่า เวทนานี้ปรุงแต่งจิต แล้วก็ดูอยู่ที่ข้อเท็จจริงนี้ให้ชัดลงไป ไม่ลังเล ไม่สงสัย จึงเลื่อนการปฏิบัติขึ้นไปสู่ขั้นที่ 8.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2011, 18:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42:

ขั้นที่ 8. คือการรำงับกำลังของจิตตสังขารนั้นเสีย

หรือควบคุมไว้ให้ได้ อย่าให้ปรุงแต่งไปในทางเป็นอุปาทานยึดมั่น ว่าตัวเราของเรา.
ที่เราได้ระงับจิตตสังขารกล่าวคือเวทนานี้ก็เพราะว่าเราจะควบคุมจิตนั่นเอง เรารู้จักจัดการกับต้นเหตุของจิต
เราจึงสามารถควบคุมจิตฉะนั้นสิ่งใดเป็นต้นเหตุปรุงแต่งจิต ก็ควบคุมสิ่งนั้น กระทำไม่ให้เวทนาปรุงแต่งจิตได้
ด้วยอาศัยความรู้ที่รู้ว่าเวทนาก็เป็นของเหลวแหลก ฉะนั้นจะไปเอาอะไรกะรสชาติของเวทนา
ความคิดก็ไม่เป็นไปในทางจะปรุงแต่งเป็นตัวเราหรือของเรา.

ตัวอย่างเช่นเห็นของสวย เป็นสุขทางตา สติปัญญาพิจารณาเห็นความสุขทางตานี้เป็นของเด็กเล่น
อย่างมากก็เป็นของเด็กเล่น ที่แท้ก็เป็นเรื่องมายา ก็ไม่ปรุงแต่งสัญญาอย่างนั้น และวิตกอย่างโน้น
ต่อไปอีก นี้เรียกว่ารำงับจิตตสังขาร ด้วยวิธีของปัญญา. หรือแม้แต่จะระงับด้วยวิธีสมถะ
คือกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ การปรุงแต่งจิตนั้นก็มีไม่ได้เหมือนกัน.

แม้ที่สุดแต่กำหนดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่เฉยๆ เวทนาก็ไม่มีทางที่จะปรุงแต่งจิตได้.
แต่มาถึงขั้นนี้ เป็นเรื่องของปัญญาแล้ว เราจึงใช้วิถีทางปัญญามากขึ้น
และใช้การพิจารณาความที่เวทนาเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสุญญตา เป็นมายา
เป็นอะไรทำนองนั้น เวทนาก็ถอยกำลัง ในการที่จะปรุงแต่งสัญญาและวิตก ก็นั่งควบคุมจิต
ในลักษณะนี้อยู่ตลอดเวลา ก็เรียกว่าทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ ๆๆ จนเราพอใจ
และมองเห็นชัด ว่าบัดนี้เราสามารถจะทำจิตให้อยู่ในภาวะที่เวทนาปรุงแต่งไม่สำเร็จ หรือว่า
แล้วแต่เราจะยอมให้เป็นไป ยังไม่ถึงกับหมดกิเลส แต่ว่าอยู่ในอำนาจการควบคุมเต็มที่.
นี่ก็จบไปอีก 4 ขั้น ซึ่งเป็นหมวดที่สอง หมวดเวทนานุปัสสนา.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 11:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42:

อธิบายอานาปานสติ หมวดที่ 3 (ขั้นที่ 9 -12)
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน


ขั้นที่ 9. รู้ จิต จักหายใจออก - เข้า
ขั้นที่ 10. ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก - เข้า
ขั้นที่ 11. ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก - เข้า
ขั้นที่ 12. ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออก - เข้า

ขั้นที่ 9 รู้จักตัวจิตเองว่าเป็นอย่างไร

เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร กี่อย่าง ในขณะใด จิตเป็นอย่างไร จิตมีราคะ ไม่มีราคะ จิตมีโทสะ ไม่มีโทสะ เป็นต้น นี้พวกนี้หรือว่าแม้แต่ในขณะที่ทำลมหายใจออกยาว ออกสั้น ก็รู้ว่าจิตเป็นอย่างไร คอยดูคอยรู้มันทุกขั้น เอามารวมกันแล้ว ก็เรียกว่า จิตอยู่ในลักษณะนั้น ๆ แล้วก็รู้จักกำหนดพิจารณาอย่างละเอียดที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้จิตนั้นละเอียดขึ้นไปอีก ก็เป็นอันว่ารู้จักจิตโดยทั่ว ๆ ไปด้วย รู้จักจิตที่ละเอียด ๆ ยิ่งขึ้นไปทุกที ตามชื่อนั้นๆ ด้วย เรียกว่ารู้จักจิตมีปริยายมากมาย ไม่จำเป็นจะต้องเอามากล่าวไว้ในที่นี้. สรุปความแต่เพียงสั้น ๆ ว่ารู้ลักษณะของจิต ว่ามีกี่ชนิดกี่ลักษณะก่อน เดี๋ยวนี้ก็มีลักษณะของจิตนั้นเอง เป็นอารมณ์ หรือเป็นนิมิต อยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า ทำจนคล่องดี เรียกว่าอยู่ในกำมือ จึงค่อยเลื่อนมาถึงขั้นที่ 10-11-12.

:b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 11:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42:

ขั้นที่ 10 – 11 – 12
สามขั้นนี้ เป็นการแสดงฝีไม้ลายมือเต็มที่


คือ บังคับจิตให้เป็นอย่างไรก็ได้ : บังคับจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่ ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า – ออกเข้า ให้มันบันเทิงอยู่ตลอดเวลา ตามที่เราต้องการ ตามที่เราบังคับ. ในขั้นที่ 11 ให้มันหยุด เห็นชัดอยู่ว่ามันหยุดอยู่ในอารมณ์เดียว อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งทุกระยะที่หายใจออกเข้า-ออกเข้า นั่งดูความที่จิตหยุดตั้งมั่นอยู่. ในขั้นที่ 12 บังคับจิต ให้ปล่อยสิ่งที่เป็นกิเลสที่มากลุ้มรุมจิต หรือที่จิตไปยึดมั่น ปริยุตถานกิเลส เช่น นิวรณ์ เป็นต้น เรียกว่าสิ่งที่มากลุ้มรุมจิต ก็ให้จิตปล่อยสิ่งเหล่านี้ไปได้ หรือว่าสิ่งที่จิตมักจะไปยึดมั่นถือมั่น ด้วยความเป็นตัวเป็นตน เช่นในเบญจขันธ์ เป็นต้น ก็ให้ปล่อยความยึดมั่นถือมั่นให้ได้. นี่เรียกว่าปล่อยทั้ง 2 ทาง แต่ไม่ใช่หมดกิเลสสิ้นเชิงที่ตรงนี้ เพียงแต่ว่ากำลังฝึกจิตได้ในลักษณะนี้ เลยกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรู้ลักษณะจิต และบังคับจิต ให้เป็นไปในลักษณะ 3 อย่างได้ คือ ปราโมทย์ ให้สงบ และให้ปล่อย เมื่อทำครบทั้ง 4 ขั้นนี้ ก็ชื่อว่า ประสบความสำเร็จในหมวดที่สาม คือ จิตตานุปัสสนา.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 11:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบายอานาปานสติ หมวดที่ 4 (ขั้นที่ 13 -16)
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


ขั้นที่ 13. ตามเห็นความไม่เที่ยง จักหายใจออก-เข้า
ขั้นที่ 14. ตามเห็นความจางคลาย จักหายใจออก-เข้า
ขั้นที่ 15. ตามเห็นความดับไม่เหลือ จักหายใจออก-เข้า
ขั้นที่ 16. ตามเห็นความสลัดคืน จักหายใจออก-เข้า

หมวดสุดท้าย คือธัมมานุปัสสนา พิจารณาธรรมต่อเนื่องกับเมื่อบังคับจิตได้ขนาดนี้แล้ว จิตอยู่ในอำนาจแล้ว ปัญหาที่มีแต่ตอนแรก ๆ ที่ว่าเราจะให้จิตมันกำหนดอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งมันไม่ยอม มันคอยหนีไปเสียเรื่อยนั้น มาบัดนี้เราประสบความสำเร็จแล้ว สามารถจะบังคับจิตให้กำหนดที่สิ่งใดก็ได้ ตามที่เราต้องการ. ดังนั้นในหมวดสุดท้ายนี้เราจึงเริ่มขึ้น ด้วยการบังคับให้ตามเห็นแต่ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ.

ขั้นที่ 13 ความเห็นความไม่เที่ยง

คำว่า “ไม่เที่ยง” ในขั้นนี้ รวมเอา “ทุกขัง” “อนัตตา” “สุญญตา” เข้าไปด้วยเสร็จ แต่เอามาประมวลเป็นความ “ไม่เที่ยง” ก็ได้ คือ “ไหลเรื่อย”. “อนิจจัง” มีความหมายว่า “ไหลเรื่อย”, “ทุกขัง” แปลว่า “ทรมานลูกตาของผู้ดู” โดยความหมายรวม ๆ, “อนัตตา” หมายความว่า “ไม่ใช่ตัวตนเลย”, และ “สุญญตา” หมายความว่า “ว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน”, รวมกันเข้าแล้ว ก็หมายความว่า ไม่เที่ยง”. ให้ดูความไม่เที่ยงอยู่ได้ตามต้องการแล้ว ก็เป็นอันกล่าวได้ว่าความสำเร็จนั้นมีหวัง เพราะว่าเดี๋ยวนี้เราสามารถทำจิตให้กำหนดอยู่กับลมหายใจของพุทธศาสนาได้แล้ว หัวใจของพระพุทธศาสนา ก็คือ ข้อที่ว่า “สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสาย” : สิ่งทั้งหลายทั้งปวง อันใคร ๆ ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น” นั่นแหละ เอาไว้ในใจได้ ฉะนั้นจึงเห็นแต่ความไม่น่ายึดมั่นถือมั่น คือ ความไม่เที่ยงนั่นเอง อยู่เป็นประจำทุกครั้งที่หายใจออกเข้า. นี่เป็นขั้นแรกของการเห็นธรรม หรือธัมมานุปัสสนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2011, 11:59 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นที่ 14 เมื่อเห็นความไม่เที่ยง เป็นไปถึงที่สุดทุกครั้งที่หายใจออกเข้าอยู่เรื่อยไป มันก็ไปถึงที่สุดลงที่ “การมองลงไปที่ความจางคลาย” คือจางคลายออกมาจากความยึดถือ แล้วเราก็ละอารมณ์ไม่เที่ยงมาดูที่อารมณ์จางคลาย คือ มาดูความจางคลายของจิต จากความยึดมั่นถือมั่นหรือพูดกลับอีกทีหนึ่งก็ยังถูกว่าเห็นความจางคลายแห่งความยึดมั่นถือมั่นของจิต ที่มันเคยยึดมั่นถือมั่น. ขั้นนี้เรียกว่า “วิราคะ” ในที่นี้เป็นสิ่งที่รู้สึกด้วยใจ ไม่ใช่เห็นด้วยตา หรือไม่ได้ด้วยการคำนึงคำนวณ แต่เป็นการเห็นชัด ว่าจิตของเราเองเดี๋ยวนี้จางคลายออกมาจากการที่เคยยึดถือนั่น-ยึดถือนี่-ยึดถือโน่น ว่าตัวเรา หรือของเรา หรือแม้แต่ว่ากิเลสกลุ้มรุม มากลุ้มรุมเมื่อไรก็สามารถจะทำจิตให้พ้น ให้หลุดออกไปจากความกลุ้มรุมได้ ก็ดูความจางคลายอย่างนี้อยู่. ที่เรียกว่า “วิราคะ” ความจางคลายออกของความรบกวนของกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความยึดมั่นถือมั่น คือเห็นจางคลายอยู่เป็นประจำ ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า ให้สำเร็จเด็ดขาดไปขั้นหนึ่ง ให้เห็นจริง ๆ จะใช้เวลากี่วัน กี่ชั่วโมง ก็สุดแท้ ถ้าว่าจางคลายจริง ถึงที่สุดเมื่อไร เรื่องก็จะเลื่อนไปเห็นความดับทุกข์.

ขั้นที่ 15. เห็นความดับทุกข์ ที่ดับไปจริง ที่จิตปราศจากทุกข์ คือ ทุกข์ดับไปเห็นความดับทุกข์อยู่เป็นประจำ เห็นทุกครั้งที่หายใจออกเข้า.

ขั้นที่ 16. เป็นขั้นสุดท้าย ก็ดูในแง่ที่ว่าบัดนี้เราโดยสมมตินี้ “สลัดคืนสิ่งที่เคยเอามายึดมั่นถือมั่น” กอดรัดยึดถือไว้ ว่าของเรา หรือว่าตัวเราให้ออกไป สลัดออกไป. ถ้าพูดโดยสมมติ ก็ว่าเราสลัดคืน ถ้าพูดโดยไม่สมมติ พูดตามความจริง ก็ว่า จิต จิตสลัดคืนสิ่งที่เคยยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวเรา ของเรา ออกไป กล่าวคือได้แก่ สิ่งที่เรียกว่ายึดมั่นไว้ด้วยอุปาทาน หรือว่า อุปาทานนั้นคือ ความยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้ มันสลัดคืนสิ่งนั้นไป. พูดอย่างเปรียบเทียบโดยอุปมาภาษาคนธรรมดาก็ว่า เดี๋ยวนี้คืน-คืน ไม่เอาแล้ว คืนให้เจ้าของ เมื่อก่อนนี้ไปเอาของธรรมชาติมา มาเป็นตัวกู-ของกู เช่นเอาวิญญาณ เอาจิต เป็นตัวกู และเอาเวทนา สัญญา สังขาร เป็นของกู มาบัดนี้ก็คืนตัวกู-ของกู เหล่านั้น ไปให้แก่ธรรมชาติ. ถ้าพูดตรง ๆ ก็ว่า จิตหลุดออกไปจากความยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวกู-ของกู เพราะฉะนั้นในขั้นที่ 16 นี้ นอกจากจะเรียกว่า “วิมุต” หรืออะไรทำนองคล้าย ๆ กันนั้น ก็ยังได้อีก. นี่เป็นอันว่าถึงขั้นที่สุดของการเห็นธรรมรวม 4 ขั้น ซึ่งเรียกว่า “ธัมมานุปัสสนา”.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 09:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานสติที่สมบูรณ์แล้ว จะทำให้เกิดสติปัฏฐานสี่ในตัว

กล่าวคือ กายานุปัสสนา ปฏิบัติเกี่ยวกับกาย คือลมหายใจ ลมหายใจนี้เป็นเครื่องตบแต่งกายที่เรียกว่า “กายสังขาร” การควบคุมลมหายใจก็คือควบคุมกาย ควบคุมกายก็คือควบคุมลมหายใจ ฉะนั้นเราอาศัยควบคุมกายโดยใช้วิธีผ่านทางลมหายใจ เราจึงควบคุมลมหายใจให้รำงับลง ๆ กายสังขารรำงับลง กายก็รำงับลง จึงมีผลคือเป็นสมาธิ ซึ่งจะได้อัปปนาสมาธิ มีฌานทั้งสี่ก็ได้ หรือไม่เป็นอัปปนาเป็นเพียงอุปจารสมาธิก็ได้ อย่างนี้เรียกได้ว่า “กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เต็มที่ เหลือที่จะเต็ม มันมีผลเสร็จ คือ สมาธิเกิดขึ้นมา.

เมื่อสมาธิเกิดขึ้นแล้ว ก็มาถึงหมวด “เวทนาสุปัสสนาสติปัฏฐาน” ได้เอง เพราะว่าสมาธินั้น มันมีรสเป็น “เวทนา” คือ ปีติและสุข เป็นองค์ของสมาธิอยู่. ทีนี้จะรู้เรื่องของเวทนาเท่านี้มันไม่พอ ต้องรู้ไปถึงว่ามันปรุงจิต และรู้การปรุงของมันด้วย. ถ้าเราถือเอาตามบาลีเป็นหลัก เราจะยังไม่เห็นคำพูดที่ว่าไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา มันมีแต่บอกให้ปฏิบัติเรื่อยไป แล้วมันก็ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา อยู่ในตัวเองเรื่อยไป จนถึงขั้นสุดท้ายหมดอุปาทาน หมดความยึดมั่นถือมั่นว่าสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาจริง ๆ. บาลีในตอนนี้ ก็แสดงผลเป็นทำนองว่า “วิเนยฺยโลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ” ไม่ได้พูดระบุว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา อย่างที่ว่าไว้ ในหลักสูตรนักธรรมของเรา. แต่อย่างไร มันก็เป็นเรื่องเดียวกัน ถ้าอภิชฌาและโทมนัส ถูกนำออกได้ก็หมายว่าอุปาทานถูกนำออกไปได้ อภิชฌาและโทมนัสนั้น เป็นผลของอุปาทานนั่นเอง.

ทีนี้ก็มาถึงการดูจิต รู้จักจิต กระทั่งบังคับจิตได้ รวมหมดก็คือ การกระทำที่เรียกว่า “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน” แล้วก็ถึงหมวดสี่ คือ “ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” เห็นธรรมในลักษณะ 4 ประการ นี่ก็เป็นอันสติปัฏฐานทั้งสี่ได้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วนในอานาปานสติ 16 ขั้นนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 09:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐานสี่ ทำให้เกิดโพชฌงค์เจ็ด ได้อย่างไร

ที่นี้ เมื่อสติปัฏฐานสมบูรณ์แล้ว โพชฌงค์จะสมบูรณ์ได้อย่างไร ผู้ที่เคยเรียนนักธรรมมาแล้ว ก็ตอบได้ทันทีว่า สติอยู่ที่ไหน ธัมมวิจยะอยู่ที่ไหน : ในเรื่อง “สติสัมโพชฌงค์” นี้ มันก็เรียกอยู่แล้วว่า อานาปานสติ ทั้ง 16 ขั้นนั่นแหละเป็น “สติ” มันจึงเป็นสติอยู่แล้ว กำหนดของจริงอยู่แล้ว. ทีนี้ “ธัมมวิจยะ” อยู่ที่ไหน สอดส่องธรรมอันนี้ ก็อยู่ที่ปรากฏชัดตั้งแต่อานาปานสติขั้นที่ 3 ไปจนตลอดเลย ธัมมวิจยะจะเริ่มปรากฏตัวตั้งแต่ขั้นที่ 3 และจะแรงขึ้น ๆ จนตลอด และมาสมบูรณ์ที่สุดก็ตรงที่อนิจจานุปัสสี เป็นต้น.

“วิริยสัมโพชฌงค์” อยู่ที่ไหน เกือบไม่ต้องบอก เพราะว่าถ้ามีการทำมาขนาดครบทั้ง 16 ขั้นอย่างนี้แล้ว ย่อมเห็นได้ว่ามีวิริยะอย่างเต็มที่อยู่ในตัว. ส่วน “ปีติสัมโพชฌงค์” นั้น จะหมายเอาปีติขั้นที่ 5 ของการทำอานาปานสตินั้นก็ได้ แต่ว่าควรจะถือว่าปีตินี้ มีอยู่ทุกขั้นทุกตอน ที่เรารับความสำเร็จในการปฏิบัติผ่านมาได้. ส่วน “ปัสสัทะสัมโพชฌงค์” ความสงบรำงับนั้น เราก็จะเห็นว่าในขั้นแห่งการปฏิบัติอานาปานสตินั้น มีคำว่า “ปัสสัมภยัง” – ปัสสัมภยังตั้งหลายหน หายใจเข้าก็ปัสสัมภยัง หายใจออก ก็ปัสสัมภยัง นั่นก็คือ “ปัสสัทธิ” นั่นเอง.

ส่วนเรื่อง “สมาธิสัมโพชฌงค์” นั้น กล่าวได้ว่ามีตลอดเวลาเช่นเดียวกับศีล ก็ถือว่ามีแล้วตลอดเวลา เพราะว่าการสำรวม หรือบังคับตัวเองให้ประพฤติอย่างนี้อย่างนั้น เรียกว่า “ศีล” มีความสงบรำงับอย่างไรอยู่เรียกว่า “สมาธิ” และปัญญาก็มีอยู่ทุกขั้นที่เป็นการพิจารณา ดังนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ จึงมีอยู่อย่างสมบูรณ์.

ทีนี้ “อุเบกขาสัมโพชฌงค์” หมายความว่า “คุมไว้เฉยอยู่” นี้ก็คือ “การรักษาทุกๆ ขั้นให้ถูกต้องไว้” ให้สิ่งต่างๆ มันเป็นไปตามอัตโนมัติ หรือตามธรรมชาติของมันเอง. อุเบกขาในที่นี้อย่าไปถือว่าเป็นอุเบกขาเวทนา มันผิดกันลิบลับ อุเบกขาในโพชฌงค์นี้ อย่าให้เป็นอุเบกขาเวทนา หรืออทุกขมสุขอะไรทำนองนั้น หรืออย่าเล็งเอาอุเบกขาที่เป็นองค์ฌาน ซึ่งทำให้เกิดขึ้นได้ในอานาปานสติขั้นที่สี่ แต่มันเป็นอุเบกขาชนิดที่เป็นการคุมการปฏิบัติที่เข้ารูปกันดีแล้ว เฉยอยู่ ให้ภาวนางอกงามไปเอง ที่เปรียบเหมือนกะว่าเมื่อรถกับม้าเข้ารูปเข้ารอยกันดีกับถนนแล้วเราก็เพียงแต่ถือบังเหียนเฉย ๆ เท่านั้น ไม่ต้องทำอะไร ม้าก็พาวิ่งไปเอง ถึงปลายทางโดยเรียบร้อย ลักษณะอย่างนั้น เรียกว่า “อุเบกขาในโพชฌงค์” เราไม่ต้องปลุกปล้ำอย่างยากลำบากอะไร เพียงถือเชือกไว้เฉยๆ ม้ากับรถ กับถนน ก็ทำเรื่องราวของมันไปได้ คือ ม้า รถ วิ่งไปได้จนกว่าจะถึงที่ที่จะต้องไปรู้สึก หรือที่ที่ต้องไปสนใจกันอีกทีหนึ่งต่างหาก. ฉะนั้นอุเบกขาในที่นี้ แปลว่า “เข้าไปเพ่งเฉยอยู่ คือ ปล่อยให้เป็นไปตามเรื่องของมัน เพียงแต่ดูเฉย ๆ เท่านั้น มันก็มีอยู่ทุกขั้นทุกตอนที่จะต้องปล่อยให้ความถูกต้องของการปฏิบัติ ได้เป็นไป เหมือนกะเราปลูกต้นไม้ เราดูความที่มันงอกงามเจริญไป เราไปบังคับมันไม่ได้ ฉะนั้นจึงว่าโพชฌงค์เจ็ดสมบูรณ์. ข้อความที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคนั้น กล่าวในทำนองเดียวกันนี้ แยกชัดละเอียดทุกขั้น ซึ่งมากเกินความจำเป็น เรากล่าวถึงเพียงเท่านี้ก็พอ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 09:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


โพชฌงค์เจ็ดทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

แม้ในตอนที่ว่าโพชฌงค์เจ็ดสมบูรณ์ ทำให้วิชชาวิมุตติสมบูรณ์นั้น ก็ยังเป็นไปตามแนวของอุเบกขา. นี้เพราะว่าการปฏิบัติทังหมด เมื่อทำถูกต้องแล้ว มันเป็นโพชฌงค์เจ็ดครบบริบูรณ์ และมีอุเบกขาอยู่จนกระทั่งขั้นสุดท้ายคือ “ปฏินิสสัคคา” ตัวอย่างเช่น เมื่อเห็น “อนิจจัง” ความไม่เที่ยงแล้วคุมไว้เฉยๆ เท่านั้น มันก็งอกงามไปเรื่อยในตัวเอง โอกาสหนึ่งก็จะถึง “วิราคะ” .

หรือว่าถ้าเป็นผู้มีการปฏิบัติดี อุปนิสัยดี มันก็ไปเร็ว ระยะที่ต้องปฏิบัติก็สั้นเข้าตามสมควร. แต่เรื่องที่ว่าอุเบกขา มีความสำคัญอย่างไรนั้น มันมีอยู่ว่าเราบังคับมันไม่ได้ เรามีหน้าที่แต่ทำให้ถูก และรักษาความถูกต้องนั้นเอาไว้. นั่นแหละเรียกว่า “อุเบกขา” ที่รักษาความเห็นที่ว่าไม่เที่ยงไว้ จนกว่ามันเกิดวิราคะ เมื่อเกิดวิราคะแล้ว ก็ต้องมี “นิโรธะ” แน่ เราเฉยๆ มันก็ต้องดับมันเองแน่ แม้เราจะถืออุเบกขาอย่างว่า ความดับมันก็เกิดขึ้นแน่ “ปฏินิสสัคคะ” การสลัดคืน มันก็เกิดขึ้นแน่ ฉะนั้น อุเบกขา จึงมีอยู่ทุกขั้นทุกตอน ไม่ลักษณะใดก็ลักษณะหนึ่ง แม้จะไม่เหมือนกัน มันก็มีความหมายเหมือนกัน คือข้อที่ว่า “ปล่อยให้มันเป็นไปตามกฏเกณฑ์ของธรรม”

ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องทั้งวิชาการ (Technics) และวิธีการ (Technique) การปฏิบัติที่ครบถ้วนนี้ ก็มีถูกต้องทั้งวิชาการและวิธีการ ดังนั้นจึงถือเอาพระสูตร คือ อานาปานสติแห่งมัชฌิมนิกายนี้เป็นหลัก เพราะได้ค้นดูทั่วพระไตรปิฏกแล้ว ไม่เห็นมีที่ไหน ที่จะเป็นการชี้แนว แก่การปฏิบัติที่ครบถ้วนดีเท่าสูตรนี้…

ทีนี้ก็มีเรื่องที่จะต้องดูกันต่อไปอีกเล็กน้อย, เกี่ยวกับ “ความรู้” หรือ “ความรอบรู้” ที่จะต้องมีหรือทำให้เกิดขึ้น, เนื่องจากการปฏิบัติระบอบนี้. ญาณหรือความรู้ “สองหมวดแรก” คือ หมวดที่ 1 และหมวดที่ 2 นั้น, เราพูดถึงพร้อมกันไปได้ เพราะอันหนึ่งเป็นอันตราย, อันหนึ่งเป็นอุปการะ, ตรงกันข้ามเป็นคู่ ๆ กันไป, คือธรรมคู่ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกัน ที่เราก็เคยเรียนกันมาแล้วในวิชานักธรรม เพราะฉะนั้นจึงว่าคู่กันไปเลย. บอกอันตรายทีหนึ่ง, แล้วก็บอกอุปการะทีหนึ่ง เช่น :

- กามฉันทะ เป็นอันตราย, เนกขัมมะ เป็นอุปการะ. กามฉันทะ กับ เนกขัมมะนี้มันตรงกัน ข้าม เนกขัมมะ ก็คือออกจากกาม กามฉันทะก็คือเป็นไปในกาม จมไปในกาม. กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ, เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิ นี้คู่หนึ่ง.
- พยาบาท เป็นอันตราย, อพยาบาทเป็นอุปการะ.
- ถีนมิทธะ เป็นอันตราย, อาโลกสัญญา เป็นอุปการะ. ถีนมิทธะ – มึนชามืดมนไปทีเดียว อาโลกสัญญา สว่างไสวไปทีเดียว.
- อุทธัจจะ เป็นอันตราย, อวิกเขปะ เป็นอุปการะ. อุทธัจจะ- ฟุ้งซ่าน, อวิกเขปะ ไม่ฟุ้งซ่าน นี้ก็คู่หนึ่ง.
- วิจิกิจฉา เป็นอันตราย, ธัมมปวัฏฐานะ เป็นอุปการะ. ธัมมปวัฏฐานะ – กำหนดรู้ธรรมโดยแน่นอน เรียกว่า “ธัมมปวัฏฐานะ”. วิจิกิจฉานั้นง่อนแง่นลังเล ไม่กระจ่างไม่แน่นอน ธัมมปวัฏฐานะ เป็นความแน่วแน่ชัดเจน กระจ่างลงไป นี้คู่หนึ่ง.
- อวิชชา เป็นอันตราย, วิชชา หรือ ญาณะ เป็นอุปการะ นี้คู่หนึ่ง
- อรติ เป็นอันตราย, ปามุชชะ เป็นอุปการะ. ปราโมทย์ตรงกันข้ามกับอรติ, อรติตรงกันข้ามกับปราโมทย์, อรตี เป็นอันตราย ปราโมทย์ เป็นอุปการะ นี้คู่หนึ่ง.
- อกุศลธรรมทั้งปวง เป็นอันตราย, กุศลธรรมทั้งปวง เป็นอุปการะ นี้คู่สุดท้าย.
เป็นต้น (เพียงยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างบางส่วน และส่วนอื่นๆ ให้หาศึกษาเพิ่มเติม) นี้เรียกว่าเป็นสิ่งที่ต้องรู้ และความรู้นั้น ๆ เรียกว่า “ญาณ” ด้วยเหมือนกัน เป็น ญาณ หรือความรู้

ดังนั้น รวมญาณทั้งหมดทั้งสิ้นเข้าด้วยกันจึงเป็น 220 คือ ญาณรู้จักสิ่งเป็นอันตรายต่อสมาธิ 8, รู้จักสิ่งเป็นอุปการะต่อสมาธิ 8, รู้จักเครื่องเศร้าหมองของสมาธิ 18, รู้จักเครื่องผ่องแผ้วของสมาธิ 13, รู้จักทำตนให้มีสติปัฏฐาน 32, รู้ความเป็นไปอันความรู้ตามอำนาจของสมาธิ 24, ความเป็นไปตามอำนาจของวิปัสสนา 72, ความรู้ในนิพพิทา 8, ความรู้ในสิ่งอันอนุโลมต่อนิพพิทา 8, ความรู้ในสิ่งอันเป็นเครื่องระงับเสียซึ่งนิพพิทา 8, ความรู้ในสุขอันเกิดแต่วิมุติ 21, รวมกันเป็น 220.

คัดจากหนังสืออานาปานสติสูตร
โดย พุทธทาสภิกขุ
http://truthoflife.fix.gs/index.php?top ... 82#msg2982

ขอบคุณที่มา
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=1429.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2011, 09:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


แนะนำสื่อธรรมะที่เกี่ยวข้อง

หนังสืออานาปานสติสูตร
โดย พุทธทาสภิกขุ
http://truthoflife.fix.gs/index.php?top ... 82#msg2982

อานาปานสติ ฉบับสมบูรณ์ โดย พุทธทาสภิกขุ
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=1734.0

- ซีดีธรรมะ คู่มือปฏบิบัติอานาปานสติอย่างสมบูรณ์ โดยท่านพระอาจารย์พุทธทาสภิกขุ
เข้าไปที่เว็ป
http://www.manodham.com หรือ
http://www.bekathai.com/manodham/tape5.htm

ซีดีธรรมะ ชุด จากจิตวิทยาสุ่จิตตภาวนา โดย พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยฺตโต)
http://www.dhammathai.org/sounds/dhammapidok.php
ท่านพระอาจารย์ได้บรรยาย กระบวนวิธีปฏิบัติและเทคนิค ลำดับการปฏิบัติในการเจริญอานาปานสติ 16 ขั้น ฯลฯ

- วีดีธรรมะ แนวทางปฏิบัติ บรรยายโดย พระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ
ท่านบรรยายเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มีมากครับ
อานิสงส์ของอานาปานสติ 1-2
นี่แหล่ะคือการศึกษา อานาปานสติ ภาค 1-5
มหาสติปัฏฐานสี่ 1-4
ฯลฯ

และขอบคุณคำแนะนำจาก
-มนูญ ว.-

เจริญในธรรม ครับ

ขอบคุณที่มา
http://truthoflife.fix.gs/index.php?topic=1429.15


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มี.ค. 2012, 15:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 มี.ค. 2012, 17:36
โพสต์: 210


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
กระบี่อยู่ที่ใจ : เมตตาธรรมค้ำจุนโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 28 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร