วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 13:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2011, 15:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทคัดย่อ

เราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า " สติ ปัญญา " เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้นแท้จริงแล้วเรานำออกใช้น้อยนัก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าแก่ชีวิตและจำเป็นแก่ชีวิต มีคุณค่าอย่างเหลือที่จะประมาณได้ " สติ " เพียงประการเดียวเท่านี้...หากทำให้เกิดและมีขึ้นเมื่อใด ย่อมสามารถเผชิญ "กฎแห่งกรรม" ได้โดยสงบ " สติ " เพียงประการเดียวเท่านี้...สามารถเลิก-ละ " กรรมชั่ว " มีกำลังใจสร้าง " กรรมดี " ได้ไม่รู้จบ

บทความ : หลวงพ่อจรัญ จิตธมฺโม
ที่มา : http://www.aksorn-ngerndee.com/book.php?book=389
ป.ล. ไม่ได้มีเจตนาโฆษณาขายหนังสือธรรมมะนะครับ
เพียงแต่คัดลอกเขามา เลยต้องบอกแหล่งที่มาตามมารยาทน่ะ

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


แก้ไขล่าสุดโดย เสียงธรรม เมื่อ 18 เม.ย. 2011, 08:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ สมาธิ ปัญญา ทั้ง 3 อย่างนี้แยกกันไม่ได้ ครั้นไม่มีสติ ก็ไม่มีสมาธิ
ไม่มีสมาธิ ก็ไม่มีปัญญา สติ - สมาธิ - ปัญญาตั้งมั่น จึงเห็นของจริง

สติ คือความระลึกได้ ความแน่วแน่ระมัดระวัง เราจะพิจารณาอันนี้ ก็พิจารณาจดจ้องเฉพาะอันเดียว เรียกว่าสติ สัมปชัญญะ อยู่ในนั้นแล้ว มีสติสัมปชัญญะพร้อม ถ้าไม่มีสติมันก็ไม่มีสัมปชัญญะ สติกับสัมปชัญญะมันอยู่ด้วยกัน
สมาธิ คือแน่วแน่ในสิ่งเดียว อารมณ์อันเดียว เมื่อมีสมาธิ ปัญญามันก็เกิด การพิจารณานั้นเรียกว่าปัญญา สมาธิมันแน่วแน่ พิจารณาอะไรก็แน่วแน่อยู่ในสิ่งเดียวนั่นแหละปัญญา มันอันเดียวกันนั่นแหละ


คัดลออกจาก: http://www.thewayofdhamma.org/page3_1_2/71.html

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 02:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ความไม่หลงลืมนั้น ต้องอาศัยสติเป็นส่วนประกอบ ความมีใจจดจ่อนั้นความชัดเจนของอายตนะกระทบกันก็เกิดขึ้น

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ความไม่หลงลืมนั้น ต้องอาศัยสติเป็นส่วนประกอบ ความมีใจจดจ่อนั้นความชัดเจนของอายตนะกระทบกันก็เกิดขึ้น


สตินั้นต้องฝึกฝนให้เป็นนิสัยอยู่ตลอดเวลาเรียกว่าการครองสติ
หากเราดำเนินชีวิตด้วยสติในทุกๆลมหายใจเข้าออกจะทำให้เรา
ไม่พลั้งเผลอในการใช้ชีวิต ขอบคุณคุณ student ครับ ว่าแต่
เมื่อไหร่จะเป็น worker ครับ(แซวนิดนึง) อิอิอิ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
ความไม่หลงลืมนั้น ต้องอาศัยสติเป็นส่วนประกอบ ความมีใจจดจ่อนั้นความชัดเจนของอายตนะกระทบกันก็เกิดขึ้น

มันไม่น่าใช่ครับ เราต้องแยกแยะสมมุติบัญญัติให้ดีก่อน เพราะบางครั้งเราอาจ
เอาสมมุติบัญญัติมาผสมปนเปกันจน ทำให้บัญญัตินั้นนผิดความหมายไปเลยครับ

"ความไม่หลงลืม"ที่คุณว่า มันไม่ใช่ สติและไม่มีสติเป็นส่วนประกอบ
"ความไม่หลงลืม" เป็นสัญญา เป็นขันธ์
ส่วนสติหรือความระลึกได้ เป็นมรรค
"ความมีใจจดจ่อ" นั้นก็เป็นสมาธิ

"ความไม่หลงลืม" เป็นสัญญาที่เป็นเหตุแห่งการปรุงแต่ง
"สติ" เป็นมรรคที่อาศัยสัญญา สัญญาที่ว่าไม่ได้เป็นตัวก่อให้เกิดการปรุงแต่ง
แต่เป็นตัว กำหนดรู้อาการของจิต

การกำหนดรู้ที่ว่า เป็นการกำหนดไว้เพื่อตัดหรือละอาการที่เหมือนกัน
ที่เกิดขึ้นณ.ปัจจุบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียงธรรม เขียน:
บทคัดย่อ
เราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า " สติ ปัญญา " เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้นแท้จริงแล้วเรานำออกใช้น้อยนัก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าแก่ชีวิตและจำเป็นแก่ชีวิต มีคุณค่าอย่างเหลือที่จะประมาณได้ " สติ " เพียงประการเดียวเท่านี้...หากทำให้เกิดและมีขึ้นเมื่อใด ย่อมสามารถเผชิญ "กฎแห่งกรรม" ได้โดยสงบ " สติ " เพียงประการเดียวเท่านี้...สามารถเลิก-ละ " กรรมชั่ว " มีกำลังใจสร้าง " กรรมดี " ได้ไม่รู้จบ

การใช้สมมุติบัญญัติ เราต้องแยกแยะให้ผู้ฟังรู้ด้วยครับว่า มันหมายถึงอะไร
เพราะในปัจจุบัน มีการนำบัญญัติใหม่ๆมาใช้ ทำให้บัญญัติเดิมๆมีความหมาย
ผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม อย่างเช่นคำว่า "สติ ปัญญา"

ผมอ่านแล้วมันเกิดความสับสนเป็นอย่างมาก คำพูดที่ว่า
เราใช้ปัญญาอยู่เสมอ แต่ไม่ใช้สติน้อย
ในที่นี้ ผู้กล่าวต้องการให้เข้าใจว่า
"สติ" เป็นอย่างไร "ปัญญา"เป็นอย่างไรครับ
ตามความคิดผม ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการกระทำใดๆด้วยความมีสติครับ
สรุปก็คือ ปัญญาจะมีไม่ได้เมื่อขาดสติครับ มันต้องอาศัยสติเป็นผู้นำทางครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
เสียงธรรม เขียน:
บทคัดย่อ
เราพูดอยู่เสมอถึงคำว่า " สติ ปัญญา " เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้นแท้จริงแล้วเรานำออกใช้น้อยนัก ทั้งที่สตินั้นมีคุณค่าแก่ชีวิตและจำเป็นแก่ชีวิต มีคุณค่าอย่างเหลือที่จะประมาณได้ " สติ " เพียงประการเดียวเท่านี้...หากทำให้เกิดและมีขึ้นเมื่อใด ย่อมสามารถเผชิญ "กฎแห่งกรรม" ได้โดยสงบ " สติ " เพียงประการเดียวเท่านี้...สามารถเลิก-ละ " กรรมชั่ว " มีกำลังใจสร้าง " กรรมดี " ได้ไม่รู้จบ

การใช้สมมุติบัญญัติ เราต้องแยกแยะให้ผู้ฟังรู้ด้วยครับว่า มันหมายถึงอะไร
เพราะในปัจจุบัน มีการนำบัญญัติใหม่ๆมาใช้ ทำให้บัญญัติเดิมๆมีความหมาย
ผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม อย่างเช่นคำว่า "สติ ปัญญา"

ผมอ่านแล้วมันเกิดความสับสนเป็นอย่างมาก คำพูดที่ว่า
เราใช้ปัญญาอยู่เสมอ แต่ไม่ใช้สติน้อย
ในที่นี้ ผู้กล่าวต้องการให้เข้าใจว่า
"สติ" เป็นอย่างไร "ปัญญา"เป็นอย่างไรครับ
ตามความคิดผม ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการกระทำใดๆด้วยความมีสติครับ
สรุปก็คือ ปัญญาจะมีไม่ได้เมื่อขาดสติครับ มันต้องอาศัยสติเป็นผู้นำทางครับ


คำว่า ปัญญา คำนี้อย่าเพิ่งคิดไปไกลครับ หลวงพ่อท่านคงหมายถึงว่า
ทุกคนเป็นผู้มีปัญญาหรือมีความคิดความอ่าน พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกจนโตท่าน
ก็เป็นผู้มีปัญญา ไม่งั้นคงเลี้ยงลูกไม่โต บัณทิตทุกคนเป็นผู้มีปัญญา ไม่งั้น
คงเรียนไม่จบ หากว่ามีใครจะมาเอารัดเอาเปรียบเรา เราก็รู้ว่าเขาเอาเปรียบ
เรารู้ว่าเราควรใช้ชีวิตของเราอย่างไร นี่ก็เรียกว่ามีปัญญา ยกตัวอย่างแค่นี้พอครับ

คำว่า สติ หลวงพ่อท่านคงหมายถึงสติยั้งคิด หรือขาดความรอบคอบน่ะครับ
บางคนทำอะไรโดยขาดการตรึกตรองให้ดีซะก่อน ด่วนได้ ใจเร็ว หรือใจร้อน่ะ
แหล่ะครับ โกรธ โมโห ก็ขาดสติ พอนึกได้ก็มาเสียใจทีหลัง หรือที่เรามักได้ยิน
คำว่า อารมณ์ชั่ววูบ ไงครับ คนที่ทำผิดเพราะอารมณ์ชั่ววูบไม่ใช่ว่าเขาไม่มี
ปัญญา แต่เขาทำด้วยความใจร้อนโดยขาดสติยั้งคิดให้รอบคอบก่อนทำ พอ
ทำแล้วก็มานึกเสียใจทีหลัง อย่างนี้และที่เรียกว่าใช้สติน้อยหรือขาดสติ

หลวงพ่อท่านจึงได้กล่าวว่า ใช้ปัญญามาก แต่ใช้สติน้อย หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า
ใช้ปัญญาโดยขาดสติยั้งคิด ขาดการตรึกตรอง ( ก็ใจร้อนนั่นล่ะ )

คำว่า ปัญญา ไม่ได้บัญญัติใช้เฉพาะกับบุคคลที่ชาญฉลาด มีความฉลาด
เป็นเลิศ หรือเรียกว่าฉลาดเป็นกรดก็ได้ แต่ ปัญญา สามารถใช้ได้กับบุคคล
ที่ รู้จัก บาปบุญคุณโทษ รู้จักผิดชอบชั่วดี ได้รับการอบรม ขัดเกลาแล้วจึงจะ
เรียกว่าเป็นผู้มีปัญญา

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียงธรรม เขียน:
[b][color=#008000]คำว่า ปัญญา คำนี้อย่าเพิ่งคิดไปไกลครับ หลวงพ่อท่านคงหมายถึงว่า
ทุกคนเป็นผู้มีปัญญาหรือมีความคิดความอ่าน พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกจนโตท่าน
ก็เป็นผู้มีปัญญา ไม่งั้นคงเลี้ยงลูกไม่โต บัณทิตทุกคนเป็นผู้มีปัญญา ไม่งั้น
คงเรียนไม่จบ หากว่ามีใครจะมาเอารัดเอาเปรียบเรา เราก็รู้ว่าเขาเอาเปรียบ
เรารู้ว่าเราควรใช้ชีวิตของเราอย่างไร นี่ก็เรียกว่ามีปัญญา ยกตัวอย่างแค่นี้พอครับ

คุณเสียงธรรมครับ ถ้าเป็นเรื่องของทางโลกแล้ว ปัญญาที่ว่า คงหมายถึงความฉลาด
ซึ่งใครจะฉลาด ใครโง่เราก็ต้องดูที่การกระทำหรือคำพูดของเขาใช่ไหมครับ

ดูจากคำพูดที่คุณยกมา ที่ว่า....
"เราใช้ปัญญาอยู่เสมอก็จริง แต่สตินั้นแท้จริงแล้วเรานำออกใช้น้อยนัก "

ดูๆแล้วผมตีความหมายว่า คนเราขาดสติก็มีปัญญาได้ อันนี้ผมแย้งครับ
มันเป็นไปไม่ได้เลยครับว่า คนขาดสติจะเป็นคนฉลาดหรือมีปัญญา
คนขาดสติก็มักทำอะไรไม่ยั้งคิด แบบนี้เขาเรียกคนโง่ครับ
คนฉลาดเขามีสติคอยกำกับว่า สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำครับ
ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็มาจากการอาศัยสมองหรือความจำที่เก็บไว้เป็นบทเรียน

ความจำหรือบทเรียนต่างๆเหล่านี้ วิธีการนำออกมาใช้ของคนฉลาดนั้น
เขาต้องกลั่นกรองเสียก่อน และเครื่องมือที่เขาใช้ในการกลั่นกรอง
เขาเรียกว่า สติครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียงธรรม เขียน:
คำว่า สติ หลวงพ่อท่านคงหมายถึงสติยั้งคิด หรือขาดความรอบคอบน่ะครับ
บางคนทำอะไรโดยขาดการตรึกตรองให้ดีซะก่อน ด่วนได้ ใจเร็ว หรือใจร้อน่ะ
แหล่ะครับ โกรธ โมโห ก็ขาดสติ พอนึกได้ก็มาเสียใจทีหลัง หรือที่เรามักได้ยิน
คำว่า อารมณ์ชั่ววูบ ไงครับ คนที่ทำผิดเพราะอารมณ์ชั่ววูบไม่ใช่ว่าเขาไม่มี
ปัญญา แต่เขาทำด้วยความใจร้อนโดยขาดสติยั้งคิดให้รอบคอบก่อนทำ พอ
ทำแล้วก็มานึกเสียใจทีหลัง อย่างนี้และที่เรียกว่าใช้สติน้อยหรือขาดสติ

หลวงพ่อท่านจึงได้กล่าวว่า ใช้ปัญญามาก แต่ใช้สติน้อย หรือเรียกอีกอย่างนึงว่า
ใช้ปัญญาโดยขาดสติยั้งคิด ขาดการตรึกตรอง ( ก็ใจร้อนนั่นล่ะ )

การกระทำใดที่ขาดความรอบครอบ ไม่ตรึกตรอง.....ฯลฯ
ทุกอย่างที่คุณกล่าวมาล้วนเป็นการกระทำของคนโง่ครับ
ผมจะพูดง่ายๆให้เข้าใจนะครับ คนที่ทำอะไรตรงข้ามกับที่คุณกล่าว
เขาเรียกว่าคนฉลาดครับ คือมีสติคอยยั้บยั้งก่อนที่จะลงมือกระทำ

คนฉลาดกับคนโง่มันแตกต่างกันตรงที่
คนฉลาดทำอะไรที่มีสติบ่อยๆสม่ำเสมอ ถ้าบังเอิญไปทำอะไรที่ขาดสติบ้าง
การกระทำอันนั้นก็เรียกว่าการกระทำที่โง่ครับ แต่ก็ถือว่าเป็นคนฉลาดอยู่เพราะ
การกระทำส่วนใหญ่ของเขาล้วนเป็นการกระทำที่มีสติครับ

แต่คนโง่มักจะทำอะไรที่ขาดสติเป็นส่วนใหญ่
มีสติเป็นส่วนน้อย

ดังนั้นปัญญาหรือความฉลาด เขาดูกันที่มีสติมากหรือบ่อยแค่ไหนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โฮฮับ เขียน
ความไม่หลงลืม" เป็นสัญญา เป็นขันธ์

ขอโทษครับ เป็นอย่างที่คุณโฮฮับชี้แจง

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ดูๆแล้วผมตีความหมายว่า คนเราขาดสติก็มีปัญญาได้ อันนี้ผมแย้งครับ


อันนี้ผมไม่ได้ตีความว่า คนเราขาดสติก็มีปัญญาครับ ผมอธิบายความว่า
คนเราทุกคนมีปัญญา(ความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จัก
การยับยั้งชั่งใจ) แต่เรามักใช้ปัญญาโดยไม่ใช้สติ(ขาดการตรึกตรง หุนหัน
พลันแล่น) เช่น ถ้าเราแค้นใครสักคนและอยากจะทำร้ายเขา เราก็จะมีการ
วางแผน(ใช้ปัญญา) แต่เมื่อทำไปแล้วกลับมานั่งคิดเสียใจทีหลังว่าไม่ควร
ไปทำเขาเลย แสดงว่าตอนทำน่ะไม่ใช้สติในการตรึกตรองให้รอบคอบก่อนทำ
หรือไม่ใช้สติคิดให้รอบคอบถึงผลที่จะตามมาก่อนทำ มุ่งแต่จะทำร้ายเขา
ท่าเดียว หลวงพ่อท่านถึงบอกว่าเราใช้ปัญญามากกว่าสติ

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
มันเป็นไปไม่ได้เลยครับว่า คนขาดสติจะเป็นคนฉลาดหรือมีปัญญา
คนขาดสติก็มักทำอะไรไม่ยั้งคิด แบบนี้เขาเรียกคนโง่ครับ


ผมว่าคุณก็เข้าใจถูกแล้วล่ะครับคุณโฮฮับ ผู้มีปัญญา(ความรู้) ถ้าทำอะไรโดยไม่ใช้สติ (ขาดการตรึกตรอง
ขาดการยั้งคิด)ก็เปรียบเหมือนคนโง่ ทำไปแล้วมานึกเสียใจภายหลัง ทำอะไรลงไปด้วยความพลั้งเผลอ
ผมเข้าใจคุณโฮฮับครับ คุณโฮฮับ คิดว่า สติต้องมาก่อนปัญญา ผมก็เห็นด้วยครับ ดั่งที่เราได้ยินบ่อยๆว่า


สติมา ปัญญาเกิด


คนที่ทำผิดเพราะอารมณ์ชั่ววูบ ไม่ใช่ว่าเขาไม่มีปัญญาหรือไร้สติ แต่ในขณะ
ที่ทำผิดเขาจะใช้สติยั้งคิดน้อยมากและพอได้สติก็มักมานั่งสำนึกผิด ว่าตนเอง
ไม่ควรทำผิดเลย

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2011, 15:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คนฉลาดกับคนโง่มันแตกต่างกันตรงที่
คนฉลาดทำอะไรที่มีสติบ่อยๆสม่ำเสมอ ถ้าบังเอิญไปทำอะไรที่ขาดสติบ้าง
การกระทำอันนั้นก็เรียกว่าการกระทำที่โง่ครับ แต่ก็ถือว่าเป็นคนฉลาดอยู่เพราะ
การกระทำส่วนใหญ่ของเขาล้วนเป็นการกระทำที่มีสติครับ


อันนี้ผมไม่ค้านครับ ผมคิดว่าคุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ แต่ผมอยากให้คุณลองศึกษาประวัติของใครสักคนก็ได้ที่คุณโฮฮับ คิดว่าเขาฉลาดที่สุด ลองศึกษาดูซิว่าตลอดชีวิตของคนๆนั้นเขาเคยทำผิด เคยทำอะไรพลาดบ้างหรือเปล่า ซึ่งผมเชื่อว่าน่าจะเคย เพราะในชีวิตนึงของคนเราไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาด ถึงคนๆนั้นจะมีปัญญาแค่ไหนมีสติแค่ไหน เขาก็เคยทำพลาด การที่ทำพลาดไม่ได้หมายความว่าไม่มีสติปัญญาหรือไม่ใช้สติปัญญา แต่เขาใช้ทั้งสติและปัญญาแต่ก็ยังพลาดได้ ที่ทำพลาดเพราะบางครั้งเขาใช้ปัญญามากกว่าสติ ไม่ได้หมายความว่าไม่ใช้สติ สติน่ะใช้ แต่ใช้น้อยกว่าปัญญา คือปัญญานำหน้าสติ

เช่นเวลาคุณกินก๋วยเตี๋ยวคุณปรุงมั๊ยครับ เวลาคุณปรุงคุณก็จะใส่น้ำตาล(ปัญญา) และใส่น้ำปลา(สติ) แต่คุณกินรสหวานคุณเลยใส่น้ำตาล(ปัญญา)มากกว่าน้ำปลา(สติ) ถามว่าคุณใส่น้ำปลา(สติ)มั๊ย คำตอบก็คือใส่ แต่ใส่น้อยกว่าน้ำตาล(ปัญญา) ก็คล้ายๆกันครับ

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 01:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เสียงธรรม เขียน
เมื่อไหร่จะเป็น worker ครับ(แซวนิดนึง) อิอิอิ

การเรียนรู้สำหรับผมคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ไม่รู้อีกนานเท่าใดจึงจะเป็นworkerครับผม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2011, 04:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียงธรรม เขียน:
อันนี้ผมไม่ได้ตีความว่า คนเราขาดสติก็มีปัญญาครับ ผมอธิบายความว่า
คนเราทุกคนมีปัญญา(ความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จัก
การยับยั้งชั่งใจ) แต่เรามักใช้ปัญญาโดยไม่ใช้สติ(ขาดการตรึกตรง หุนหัน
พลันแล่น) เช่น ถ้าเราแค้นใครสักคนและอยากจะทำร้ายเขา เราก็จะมีการ
วางแผน(ใช้ปัญญา) แต่เมื่อทำไปแล้วกลับมานั่งคิดเสียใจทีหลังว่าไม่ควร
ไปทำเขาเลย แสดงว่าตอนทำน่ะไม่ใช้สติในการตรึกตรองให้รอบคอบก่อนทำ
หรือไม่ใช้สติคิดให้รอบคอบถึงผลที่จะตามมาก่อนทำ มุ่งแต่จะทำร้ายเขา
ท่าเดียว หลวงพ่อท่านถึงบอกว่าเราใช้ปัญญามากกว่าสติ

อ่านข้อความนี้แล้วผมก็ต้องย้อนเอาคำพูดเก่ามาให้พิจารณาใหม่ครับว่า
สมัยนี้ผู้สอนส่วนใหญ่ มักจะสร้างคำศัพย์ใหม่ขึ้นมาเพื่ออธิบายความ
ในสิ่งที่ตัวเองสอน แต่นานวันเข้ากลับมีคนเอาคำเพื่ออธิบายศัพท์ต่างๆ
มาเป็นคำๆใหม่
ซี่งถ้าเราดูให้ดีแล้ว คำสองคำนั้นมันก็มีความหมายเดียวกัน แต่กลับเอาไปใช้ต่างกัน
หรือไม่ก็เอาใช้ในลักษณะต่างกัน แต่แท้จริงแล้วมีความหมายเดียวกันครับ


ผมจะยกเปรียบเทียบเรื่องปัญญาให้ฟังโดยเอาส่วนที่คุณเสียงธรรมยกเป็นตัวอย่างไว้
เรื่องของก๋วยเตี๋ยวนั้นแหล่ะครับ ถ้าเราจะเอาปัญญาไปเปรียบกับก๋วยเตี๋ยว
ปัญญาก็เป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำหนึ่งชาม ซึ่งเป็นมวลรวมใหญ่ มีส่วนประกอบต่างๆที่ทำให้
เป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำ น้ำเปรียบเหมือนความคิด ลูกชิ้นเปรียบเป็นความทรงจำ
ส่วนสติเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว ถ้าเราเอาทั้งสามสิ่งมารวมกัน มันก็จะเป็นก๋วยเตี๋ยวน้ำ
หรือว่าปัญญา ที่นี้เราลองเอาสติหรือเส้นก๋วยเตี๋ยวออก เขาก็ไม่เรียกก๋วยเตี๋ยวน้ำแล้วครับ
เขาเรียกเกาเหลา ที่ยกมาเพื่อจะบอกให้รู้ว่า สติเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญญา

คนรู้อะไรมากกว่าคนอื่น ใช่จะมีปัญญามากกว่า การจะดูให้รู้ว่าผู้ใดมีปัญญามากกว่ากัน
เขาต้องเอาคนที่มีลักษณะเรียนมาเหมือนกัน รู้เท่าๆกัน แล้วมาตัดสินตรงที่การนำความรู้
นั้นออกมาใช้ ซึ่งมันก็คงหนีไม่พ้น การพิจารณา ความคิดทบทวนเนื้อหา สุดท้ายก็ต้องใช้
สติในการไตร่ตรองในสิ่งที่จะนำเสนอหรือกระทำออกมาครับ
การกระทำหรือแสดงออกมานี้แหล่ะจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ใครมีปัญญามากกว่ากันครับ

คุณเสียงธรรมครับ ผมอยากให้ดูเรื่องจริงแล้วช่วยตอบผมหน่อยครับว่า
คุณมีความรู้สึกอย่างไรกับคนที่ชอบโพสพระไตรปิฎกหรือคำสอนของครูบาอาจารย์
คุณว่าใครฉลาดครับ ระหว่างคนที่โพสข้อความหรือครูบาอาจารย์หรือพระพุทธเจ้า

แล้วกับคนที่ไม่ชอบโพสข้อความของคนอื่น แต่เขารู้ว่าจะโพสข้อความได้อย่างไร
หรือรู้ว่าสามารถหาบทความต่างๆได้ที่ไหน

คนลองเอาคนๆนี้ไปเปรียบกับคนที่ชอบโพสข้อความในการสนทนา
แล้วตัดสินว่าใครฉลาดกว่ากันครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร