วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 17:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 202 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2011, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b44: ดูเวทนาทางจิตก็จะเห็นอุเบกขาเสียเป็นส่วนมาก มันก็เห็นสภาวะเกิดดับนี้บ่อยมากเช่นกัน แต่เมื่อจิตสุข ทุกข์ มักจะปรุงแต่งไปเรื่อย ก็ไม่ค่อยเห็น
:b48: :b48:

tongue สวัสดีค่ะคุณ กษมมาตา

ติดเพ่งเหรือเปล่าคะ(คุณชอบนั่งสมาธิด้วยใช่ไหม)...ถ้าเห็นจิตเป็นอุเบกขาบ่อยๆ ..อาจเป็นไปได้ว่าจิตไปจมแช่อยู่ หรือลักษณะข่มจิตให้นิ่ง...อย่างนี้ วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดค่ะ ...ถ้าเป็นบ่อยให้พิจารณากายค่ะ ...เปลี่ยนไปพิจารณาอริยาบทการเคลื่อนไหวของกายให้มากขึ้น.....คนที่มีจิตมีสมาธิมากอาจจะจับอาการเคลื่อนไหวทางจิตได้ยากกว่าคนที่มีจิตใจที่ฟุ้งซ่าน...ลองดูนะคะ

ขอเจริญในธรรม :b8:

ธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติธรรม :b8:

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2011, 09:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 23:27
โพสต์: 5


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูให้เห็นการเกิดดับในจิตที่เป็นสุขและทุกข์ด้วยสิครับแล้วตอนที่สภาวะรู้ดับใช่เหมือนตอนคุณนั่งสมาธิแล้วจิตสงบรึเปล่าครับถ้าไม่ใช่หรือว่าใช่ก็แล้วแต่ก็ควร พิจารณาต้นเหตุของการเกิดเวทนาทั้งที่เป็นสุข ทุกข์และอุเบกขาแล้วก็วิธีดับของการเกิดสุข ทุกข์และอุเบกขาให้เป็นไตรลักษณ์ทีละขั้นตอนน่ะครับ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2011, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b39: ก็ดูทั้งความเกิดดับของสุขและทุกข์นั่นแหละค่ะ แต่สังเกตว่ามันน้อยกว่าอุเบกขา อุเบกขามันมากกว่าในทุกๆวัน อาจเป็นเพราะสิ่งกระทบแล้วเข้ามาถึงจิตจนทำให้เกิดเวทนาสุข ทุกข์ นี่มันน้อย สังขารมันปรุงแต่งน้อยลง เพราะรู้ทันการปรุงแต่งของสังขารมากขึ้น จิตฟุ้งซ่านไปในอดีต -อนาคตมันน้อยลง มันมาอยู่กับปัจจุบันมากกว่าเมื่อก่อน เพราะทำทั้งสมาธิ และเจริญสติควบคู่กับไปทั้งวัน แต่ไม่ใช่ว่าเพ่ง รู้แบบสบายๆๆ เผลอไป รู้ตัวก็ดึงจิตกลับมาใหม่ก็แค่นั้น เพราะคิดว่าเผลอไปมันก็เรื่องธรรมดาเพราะเราไม่ใช่พระอริยเจ้า ส่วนสมาธิทำเฉพาะก่อนนอน เพราะจะนอนทำสมาธิแล้วหลับไปแทบทุกวัน
นิสัยที่เป็นทุนเดิมมาแต่กำเนิดก็คือเป็นคนใจเย็นไม่ค่อยโกรธใครง่ายๆ เรียบง่าย รักสันโดษ ประกอบกับการมาเรียนรู้ธรรมก็ปล่อยวางมากขึ้น ไม่ค่อยใส่ใจสิ่งแวดล้อมภายนอกมากนัก
:b48: :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2011, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: :b44:
ดิฉันเรียนรู้อะไรจากสภาวะนี้ เมื่อเห็นสภาวะดับ-เกิดบ่อยๆ
สภาวะดับ ทำให้รู้สึกว่าไม่มีตัวเราอยู่บนโลกใบนี้ มีเพียงก้อนธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก้อนหนึ่งเท่านั้น
สภาวะเกิด ทำให้รู้สึกว่ามีตัวเรา เพราะยึดก้อนธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อันนี้ว่าเป็นตัวเรา
เดี๋ยวมีตัวเรา เพราะมีสภาวะเกิด
เดี๋ยวไม่มีตัวเรา เพราะสภาวะดับ
เป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ไป
ตัวตนที่แท้จริงไม่มีเลย ไม่มีจริงๆ
มีเพราะยึด
ไม่ยึดก็ไม่มี

:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 00:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: ถ้าสภาวะรู้นี้คือวิญญาณ หรือ จิต
มันก็เป็นของเกิดดับ เป็นเพียงสภาวะที่หาตัวตนมิได้เลย เราเลยสมมุติเรียกมันว่า "นาม"
ส่วนร่างกายอันมีธาตุสี่นี้ เราสมมุติเรียกมันว่า "รูป" เพราะมองเห็นด้วยตา

"ธรรมชาติของมันเป็นเช่นนั้นเอง"

:b42: :b42: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2011, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: ธรรมชาติของรูป-นาม มันเป็นเช่นนี้เอง
ถ้าเราหลงคิดหลงยึดว่ารูปคือร่างกายนี้เป็นเรา มันก็คือความโง่-อวิชชา
ถ้าเราหลงคิดหลงยึดว่าสภาวะเกิด-ดับนี้เป็นเรา มันก็เป็นอวิชชา
เมื่ออวิชชาเกิดทุกอย่างก็ตามมา

"มันเป็นเช่นนี้แหละ"

:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2011, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สภาวะรู้มันก็ดับวูบไป ภายในเสี้ยววินาที มันก็กลับมาสู่สภาวะรู้เหมือนเดิม


มันก็คือขาดสติ หรือหลับ มิใช่เห็นวิญญาณเกิดดับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2011, 00:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: ท่านที่กำลังเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำ ดิฉันคิดว่าน่าจะศึกษา เรื่องปฏิจจสมุปบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนไว้ให้เข้าใจ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับการปฏิบัติของตนเองดู ว่าที่ตนเองปฏิบัติมาผิดพลาดในขั้นตอนไหนบ้างหรือไม่ เพราะตัวดิฉันเองก็เคยได้รับข้อมูลที่ผิดมาแล้ว จึงทำให้รู้สึกท้อแท้ในการปฏิบัติ แต่พอมาศึกษาเรื่องปฏิจจสมุทปบาทแล้ว ก็มีความรู้สึกว่ามีความก้าวหน้าในการปฏิบัติมากขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้ยอมรับด้วยใจที่เต็มร้อยแล้วว่า ขันธ์ทั้ง 5 นี้ มิใช่เรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา (สิ่งนี้เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน ) ซึ่งเมื่อก่อนพยายามเชื่อ เมื่อได้ยินว่าขันธ์ทั้ง 5 มิใช่เรา แต่ในใจยังเคลือบแคลงสงสัยอยู่ตลอดเวลา
:b42: :b42: :b42:
“เพราะมีอวิชชา เป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย
เพราะมีสังขาร เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ เป็นปัจจัย จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ภพ
เพราะมี ภพ เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย จึงมี ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสะ”
:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2011, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จนตอนนี้ยอมรับด้วยใจที่เต็มร้อยแล้วว่า ขันธ์ทั้ง 5 นี้ มิใช่เรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา


ถึงยอมรับแล้วว่าขันธ์ทั้ง 5 มิใช่ของเรา
แต่พอมีอะไรที่ไม่พึงประสงค์มากระทบขันธ์
มันก็กลับกลายเป็นขันธ์ของเราอีก

ไม่ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง
อ่านหนังสือหรือพระไตรปิฏก แล้วเอามาตีความ
แล้วจะทำให้บรรลุธรรม หรือคิดว่าบรรลุแล้วเข้าใจแล้ว
ล้านคนจะมีซักคนไหมหนอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2011, 16:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 21:56
โพสต์: 56

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อายะ เขียน:
อ้างคำพูด:
จนตอนนี้ยอมรับด้วยใจที่เต็มร้อยแล้วว่า ขันธ์ทั้ง 5 นี้ มิใช่เรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา


ถึงยอมรับแล้วว่าขันธ์ทั้ง 5 มิใช่ของเรา
แต่พอมีอะไรที่ไม่พึงประสงค์มากระทบขันธ์
มันก็กลับกลายเป็นขันธ์ของเราอีก

ไม่ลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง
อ่านหนังสือหรือพระไตรปิฏก แล้วเอามาตีความ
แล้วจะทำให้บรรลุธรรม หรือคิดว่าบรรลุแล้วเข้าใจแล้ว
ล้านคนจะมีซักคนไหมหนอ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2011, 01:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b44: :b44:
แต่พอมาศึกษาเรื่องปฏิจจสมุทปบาทแล้ว ก็มีความรู้สึกว่ามีความก้าวหน้าในการปฏิบัติมากขึ้นเรื่อยๆ จนตอนนี้ยอมรับด้วยใจที่เต็มร้อยแล้วว่า ขันธ์ทั้ง 5 นี้ มิใช่เรา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา (สิ่งนี้เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน )
:

:b8: :b8: :b8:

พอจะเล่าให้ฟังได้มั้ยครับ..ว่า...มีอะไรบ่งชี้บ้างมั้ยว่าใจยอมรับเต็ม 100 ..ว่าขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา

เวลามีใครมาด่า..ตำนิแรง ๆ ..ขโมยของที่เราชอบ..โกรธอยู่มั้ย??


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.พ. 2011, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: ขอเล่าเกี่ยวกับการปฏิบัติของตัวดิฉันนะคะ :b44:
ดิฉันเคยอ่านหนังสือ ฟังธรรมของหลวงพ่อจรัญ มีอยู่ตอนหนึ่งที่ท่านพูดว่า เวลานอนให้รู้ว่าหลับไปตอนไหนหายใจเข้าหรือหายใจออก (ดิฉันก็นึกอยู่ในใจว่าจะทำได้ยังไง) แต่ก็ลองฝึกดู วันที่หนึ่ง วันที่สอง หลับไปไม่รู้ตัว
วันที่สาม ตั้งใจมากขึ้น ก็รู้ว่าลมหายใจเฮือกสุดท้ายก่อนหลับ เข้า หรือ ออก และรู้สภาวะช่วงที่จิตเข้าสู่สภาวะหลับ คือสูดลมหายใจเข้าแล้วรู้สึกซาบซ่าอยู่ภายในร่างกายประมาณไม่ถึงครึ่งลำตัวแล้วสติก็ดับปิ๊งไปเลยหลับทันที และหลังจากนั้น วันที่สี่ ที่ห้า ก็ฝึกเหมือนเดิม ก็รู้เหมือนวันที่สาม ก็ดีใจ แล้วก็พูดขึ้นมาลอยๆ บอกว่า
“หลวงพ่อหนูทำได้แล้ว” (หลังจากนั้นก็ลองดูสภาวะการตื่นดูบ้าง ก็รู้ได้ และตื่นขึ้นมาในเวลาเดียวกันคือเวลา 05.33 น.ติดต่อกันทั้งสามวันที่ตั้งใจฝึก ปกติตั้งนาฬิกาปลุก 06.00 น.)
:b44: ช่วงเปิดภาคเรียนเดือนพฤษภาคม ปี 2544 ที่โรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด หนังสือเล่มหนึ่งที่ครูหลายคนชอบอ่านคือเรื่อง “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” ซึ่งต้องต่อคิวกันนานพอสมควร ดิฉันก็หนึ่งในนั้น ได้อ่านหนังสือตอนเกือบกลางเดือนกรกฎาคม เมื่ออ่านมาถึงท้ายเล่มผู้เขียนได้เขียนแนะนำการฝึกสมาธิ (ทำให้นึกถึงสมัยเรียนมัธยมศึกษา ที่เคยฝึกสมาธิมาบ้างในคาบชุมนุมพุทธศาสน์ซึ่งก็เคยตัวโยก ตัวเหวี่ยง ตัวหมุน คันทั้งตัว มาแล้วในสมัยนั้น แต่ครูไม่ได้ให้นั่งนาน ทำให้รู้แค่นั้น กลับไปที่บ้านก็ลองนั่งดูวันละ 5 -10 นาที ก็เป็นเช่นเดิม แล้วก็เลิกไป ไม่นั่งสมาธิอีก)
ในวันรุ่งขึ้นเป็นวันเสาร์ฝนตกตั้งแต่กลางคืนและตกมาเรื่อยๆ ไม่หยุด ก็ทำให้ดิฉันคิดว่าเป็นโอกาสดีคงไม่มีใครมารบกวน หลังจากทำงานบ้านเสร็จจึงนั่งสมาธิ แล้วก็ได้สัมผัส “ฌาน” ครั้งแรก ดังที่เล่าไว้ในอีกกระทู้
หลังจากนั้นก็ทำให้ชีวิต เปลี่ยนไปคือจากที่สนใจธรรมมะแค่ผิวเผิน ก็เริ่มสนใจในเรื่องของการฝึกสมาธิมากขึ้น
สวดมนต์ก่อนนอนยาวขึ้น คือเริ่มสวดบทอิติปิโส ฯเท่าอายุบวกหนึ่งทุกคืนก่อนนอนตามที่หลวงพ่อจรัญแนะนำ(ทุกวันนี้ก็ยังไม่เคยได้ไปกราบหลวงพ่อเลย) วันไหนลืมว่าได้กี่จบแล้ว ก็เริ่มนับหนึ่งใหม่ เพราะถือว่าขาดสติ
ไม่ว่าจะเข้านอนเวลาใดดึกขนาดไหน ตีสองตีสาม ก็ต้องสวดเป็นเช่นนี้เรื่อยมาติดต่อกันหลายปี ผลของการสวดมนต์ทำให้หลับง่ายกว่าปกติ จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน คือประเภทหัวถึงหมอนก็หลับได้ภายใน 1-3 นาที

:b44: ช่วงหลังหลายคนพูดถึงการดูจิต ดิฉันก็ลองดูบ้าง
ดูเวทนาทางกาย ดิฉันก็อายุมากแล้ว เวลาเดินมากๆ ยืนนานๆ มันก็ปวดขา ก็เอาใจไปดูอาการปวด
ว่ามันปวดยังไง มันปวดตรงไหนกันแน่ ดูๆ ไป จากปวดมาก มันก็จางคลายปวดน้อยลง พอได้นั่งพัก นอนพักสักครู่อาการปวดมันก็ดับไป มันก็เป็นเช่นนี้ทุกวัน จนทุกวันไม่ทุกข์กับมัน มันปวดก็ช่างมัน เพราะจะไปตัดขาทิ้งก็ใช่ที่ ถ้าปวดฟันก็เป็นอีกเรื่องไปถอนทิ้งมันก็หาย
ดูจิต ดูความโกรธ ความไม่พอใจ ความอิจฉาริษยา ความอยากมีอยากเป็น แล้วแต่ว่าอะไรมันเกิดขึ้นในจิตขณะนั้น ดูแล้วก็เห็นความจางคลาย ความดับของมัน

:b44: ก็ปฏิบัติอยู่เช่นนี้เรื่อยมา จนมีโอกาสได้ไปเรียนรู้วิปัสสนาที่ ยุวพุทธิกสมาคมฯ ได้ฝึกเดินจงกรมเป็นครั้งแรก ได้เรียนรู้เรื่องอริยสัจสี่ รูปนาม ขันธ์ห้า ผัสสะ ฯลฯ ก็ทำให้เข้าใจกระบวนการที่ทำให้เกิดเวทนา ตัณหามากขึ้น พระอาจารย์ได้สอนโดยสรุปแบบสั้นๆ ว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเกิดเพราะผัสสะที่มี อวิชชา (ผัสสะโง่) โง่เพราะมีตัวกูของกูอยู่ในนั้น(ยึดรูป-นามว่าเป็นเรา) หลังจากนั้นก็นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันเรื่อยมา จนรู้สึกว่าตนเองมีก้าวหน้าในทางธรรมขึ้นมาในระดับหนึ่ง
:b44: จนอยู่มาวันหนึ่งมาอ่านเจอคำว่า “ปฏิจจสมุปบาท” ที่กัลยาณมิตรบางท่านพูดถึง ดิฉันไม่เข้าใจความหมายของคำคำนี้เลย จึงไปค้นหาดู จึงได้รู้ว่าที่พระอาจารย์นำมาสอนนั้น มันเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องปฏิจจสมุปบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้นี้เอง ก็ทำให้ตนเองมีความมั่นใจว่าการปฏิบัติของเรานี้มาถูกทางแล้ว
จึงสนใจที่จะทำความเข้าใจในเรื่องปฏิจจสมุปบาทตลอดทั้งสาย จึงได้รู้ว่าหลายอย่างเรารู้เราเข้าใจแล้วจากการลงมือปฏิบัติที่ผ่านมา เพียงแต่เราไม่รู้ว่าในภาษาบาลีบัญญัติไว้อย่างไร ก็นำพิจารณาไตรตรองอยู่เรื่อยๆ การคิดพิจารณาไตร่ตรองตามสายปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียวนั้นย่อมไม่เข้าใจอย่างกระจ่างแจ่มแจ้งถ้าไม่มีการปฏิบัติ

สิ่งที่ดิฉันเข้าไปรู้ไปเห็นก็คือ สภาวะที่ขันธ์ทั้งห้าดับ-เกิด (เหมือนกับการที่คุณเปิดไฟไว้แล้วจู่ๆมันก็ดับไปและเปิดขึ้นมาใหม่) แม้ในหนึ่งเสียววินาทีเมื่อเห็นสภาวะนี้บ่อยๆ ก็ทำให้รู้ธรรมชาติที่แท้ของมนุษย์ว่า

ก้อนธาตุ(รูป) อันประกอบธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ นี้ ก้อนธาตุอันนี้มีอวัยวะคือตา หู จมูก ลิ้น กาย(สฬายตนะ)
แต่ไม่มีผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพราะมันไม่ทำงาน (เพราะอะไร? ก็เพราะวิญญาณดับ รูปนามดับ
สฬายตนะดับ ผัสสะดับ ทุกอย่างดับหมดไม่มีเหลือ ดับไปพร้อมๆกัน)

แต่เมื่อวิญญาณเกิดขึ้นมาใหม่เข้าไปยึดครองก้อนธาตุ(รูป) มันก็ปรุงแต่งว่าก้อนธาตุนี้(รูปร่างกาย) เป็นเรา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เริ่มทำงาน ตาก็เห็นสิ่งต่างๆ หูก็ได้ยินเสียง จมูกก็ได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายรู้สัมผัส เพราะวิญญาณอีกนั่นแหละเข้าไปรู้ผัสสะก็เกิดวิญญาณทางตา(จักขุวิญญาณ) วิญญาณทางหู(โสตวิญญาณ) วิญญาณทางจมูก (ฆานวิญญาณ) วิญญาณทางลิ้น(ชิวหาวิญญาณ ) วิญญาณทางกาย(กายวิญญาณ)
จริงๆ แล้ว ถ้ามีการสังเกตอย่างละเอียดพอ ก็จะสังเกตเห็นว่า วิญญาณดับได้ทุกที่ ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย (เป็นการดับจริงๆนะ)
จักขุวิญญาณดับ คือตาจะมองไม่เห็นสิ่งต่างๆ แม้ว่ากำลังจ้องมองสิ่งนั้นอยู่ (เพราะองค์ประกอบไม่ครบ คือมีตา + มีสิ่งต่างๆ + แต่ไม่มีผัสสะเพราะวิญญาณดับ )
โสตวิญญาณดับ คือหูก็ไม่ได้ยินเสียง แม้กำลังฟังสิ่งนั้นอยู่ (เพราะองค์ประกอบไม่ครบ คือมีหู + มีเสียงดังอยู่+แต่ไม่มีผัสสะเพราะวิญญาณดับ )
เมื่อวิญญาณดับก็เห็นรูปนาม(ขันธ์ห้า) ทุกอย่างดับ เห็นอาการดับ-อาการเกิดบ่อยๆๆ ก็จะเข้าใจธรรมชาติของรูปนามอย่างแจ่มแจ้งขึ้น จนยอมรับด้วยใจเต็มร้อยอย่างไม่เคลือบแคลงสงสัยอีกต่อไปว่าขันธ์ทั้งห้าไม่ใช่เรา

:b44: จะเห็นได้อย่างไร ก็ต้องฝึกปฏิบัติไปเรื่อยๆๆ ฝึกเรื่องของผัสสะ นี่แหละ ฝึกสมถะด้วย เพราะจิตที่สงบย่อมเห็นสิ่งต่างๆ ชัดเจน เหมือนน้ำใสที่สงบนิ่งย่อมมองสิ่งที่อยู่ในน้ำง่ายกว่าน้ำที่ขุ่นและมีคลื่น

:b44:ธรรมมะของพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่มนุษย์พิสูจน์ได้ด้วยตนเอง คนอื่นพิสูจน์แทนไม่ได้ จึงไม่แปลกอะไรที่จะมีบางคนเชื่อ และไม่เชื่อที่เล่ามา เพราะเมื่อก่อนดิฉันก็เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งเหมือนกัน

:b44: :b44: อย่าคิดว่าธรรมมะของพระพุทธเจ้าสูงส่งเกินไปจนเอื้อมไม่ถึง ต้องเก็บไว้บูชาอย่างเดียว จงกราบพระพุทธเจ้าในฐานะพระบรมครู
กราบพระธรรมคำสอนน้อมนำมาใส่ไว้ในใจทุกๆลมหายใจ
กราบพระสงฆ์(พระโสดาบัน พระสกิฑาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์) คงยังมีอยู่แน่ๆ เพียงแต่เรายังไม่มีญาณหยั่งรู้ได้ ในฐานะเป็นผู้พิสูจน์( เป็นตัวอย่าง)แก่เราให้เราเห็นว่า ธรรมมะของพระพุทธเจ้าเป็น “อะกาลิโก”

:b44: :b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2011, 01:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
แต่เมื่อวิญญาณเกิดขึ้นมาใหม่เข้าไปยึดครองก้อนธาตุ(รูป) มันก็ปรุงแต่งว่าก้อนธาตุนี้(รูปร่างกาย) เป็นเรา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เริ่มทำงาน ตาก็เห็นสิ่งต่างๆ หูก็ได้ยินเสียง จมูกก็ได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายรู้สัมผัส เพราะวิญญาณอีกนั่นแหละเข้าไปรู้ผัสสะก็เกิดวิญญาณทางตา(จักขุวิญญาณ) วิญญาณทางหู(โสตวิญญาณ) วิญญาณทางจมูก (ฆานวิญญาณ) วิญญาณทางลิ้น(ชิวหาวิญญาณ ) วิญญาณทางกาย(กายวิญญาณ)
จริงๆ แล้ว ถ้ามีการสังเกตอย่างละเอียดพอ ก็จะสังเกตเห็นว่า วิญญาณดับได้ทุกที่ ที่ตา ที่หู ที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย (เป็นการดับจริงๆนะ)
จักขุวิญญาณ ดับ คือตาจะมองไม่เห็นสิ่งต่างๆ แม้ว่ากำลังจ้องมองสิ่งนั้นอยู่ (เพราะองค์ประกอบไม่ครบ คือมีตา + มีสิ่งต่างๆ + แต่ไม่มีผัสสะเพราะวิญญาณดับ )
โสตวิญญาณดับ คือหูก็ไม่ได้ยินเสียง แม้กำลังฟังสิ่งนั้นอยู่ (เพราะองค์ประกอบไม่ครบ คือมีหู + มีเสียงดังอยู่+แต่ไม่มีผัสสะเพราะวิญญาณดับ )

เมื่อวิญญาณดับก็เห็นรูปนาม(ขันธ์ห้า) ทุกอย่างดับ เห็นอาการดับ-อาการเกิดบ่อยๆๆ ก็จะเข้าใจธรรมชาติของรูปนามอย่างแจ่มแจ้งขึ้น จนยอมรับด้วยใจเต็มร้อยอย่างไม่เคลือบแคลงสงสัยอีกต่อไปว่าขันธ์ทั้งห้าไม่ ใช่เรา


ผมอยากให้คุณ กษมาตา ลองดูพุทธพจนืตรงนี้ให้ดีๆนะครับ

พระพุทธองค์ตรัสว่า

Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล
ท่านพึงศึกษา อย่างนี้ว่า

เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
เมื่อทราบจักเป็น สักว่าทราบ
เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล

ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล
เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น
เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ
เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี
ในกาลใด ท่านไม่มี ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า
ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 25&item=49




ท่านตรัสว่า "เมื่อเห็น...สักว่าเห็น"
มีคำว่า... "เมื่อเห็น"
ไม่ใช่ว่า "ตาจะมองไม่เห็นสิ่งต่างๆ แม้ว่ากำลังจ้องมองสิ่งนั้นอยู่ "


ปฏิจสมุปบาทนั้น เราไปไล่เรียงตามทฤษฎีนั้น มันพูดลำบาก
แต่เอาความจริงของจริงมาไล่เรียงกัน มันพูดกันง่ายขึ้น

เช่น

"ตาเห็นของสวยงาม"

ถ้าเอาวิธีคิดแบบคุณกษมาตา มาพยามอธิบายประโยคนี้
ก้จะได้ว่า "เมื่อตาไม่เห็น.... ความสวยงามย่อมไม่เกิด"
เลยสรุปว่า กิเลสไม่เกิด
หรือพอกำลังมองๆอยู่ หลับตาลงเสีย(องค์ประกอบไม่ครบ) ก็ว่ากิเลสดับ วิญญานดับ
ซึ่งมันแปลกๆ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "เมื่อเห็น.../ เมื่อได้ยิน..."
ท่านไม่ได้บอกว่า "เมื่อไม่เห็น..."

หมายความว่าอะไร
หมายความว่า ตาต้องได้ยิน หูต้องได้ยิน
แต่ได้ยินแล้วใจมันเป็นยังไง ตรงนั้นต่างหาก

ไม่ใช้ว่า พอองค์ประกอบไม่ครบ จักขุวิญญานย่อมไม่เกิด กิเลสก็ไม่เกิด
ถ้าเป้นอย่างนั้น คนหูหนวกตาบอดจะเป้นพระอรหันต์ก่อนเพื่อน

พระพุทธเจ้าของเรา เดินไม่ตกถนน พูดสั่งสอนผุ้คน ฟังเสียงภาษาเข้าใจ
เรพาะท่านได้ยินชัดเจนดี ตาเห็นปกติดี
ไม่ใช่ว่า "ตาจะมองไม่เห็นสิ่งต่างๆ แม้ว่ากำลังจ้องมองสิ่งนั้นอยู่ "
อย่างนี้มันคนตาบอดชัดๆ ไม่ได้ต่างกันเลย

การปฏิบัติของคุณกษมาตา อาจจะไม่มีปัญหาอะไร

แต่การพยามคิดว่าที่ปฏิบัติอยู่เป็นอย่างไรๆ มีที่มาที่ไปสมัพันธ์อย่างไรนั้น
อย่าไปเสียเวลาคิดเลยครับ มันจะพลาด เพราะคนที่จะรู้เหตุรู้ผล ที่มาที่ไปของอะไรต่อมิอะไรนั้น มันต้องมีปัญญาบารมีพอสมควร ถึงจะไปรู้ต้นรู้ปลายได้ ถึงจะวินิจฉัยแยกแยะธรรมได้เด็ดขาด

ปัญหาของคนดี คืออยากดี อยากมีของวิเศษณ์ อยากได้ญานวิเศษณ์ อยากเชื่อว่าเราวิเศษณ์แล้ว เราบรรลุธรรมสำคัญข้อนั้นข้อนี้ ซึ่งมันไม่ผิดที่เราอยากดี แต่มันไม่มีประโยชน์อะไร และยังมีโทษมาก

อย่าอยากบรรลุเลยครับ อยากเจริญสติก็พอแล้ว
อย่าอยากเข้าใจธรรมเลย เข้าใจทำก็พอแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2011, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: "สักแต่รู้ สักแต่ดู สักแต่เห็น สักแต่ได้ยิน เข้าใจอยู่ค่ะคุณชาติสยาม" เพราะเมื่อสังเกตการปรุงแต่งของสังขารบ่อยๆ เข้า จากหลงปรุงแต่งไปนานครั้งละหลายนาที มันก็ลดลงเรื่อยๆ จนถึงน้อยมาก และไม่มีเลย มันก็เลยสักแต่รู้ สักแต่ดู สักแต่เห็น สักแต่ได้ยิน

:b44: ดิฉันคิดว่าตัวดิฉันเองนี่เรียนรู้ธรรมน้อยมากๆๆ แม้จะไปซื้อหนังสือมาอ่านหลายสิบเล่ม แต่เนื้อหาที่ผู้เขียนหลายท่านเขียนก็แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง ทั้งๆที่ชื่อเรื่องเหมือน เลยไม่แน่ใจว่าจะปฏิบัติตามอันไหนดี นี่แหละเหตุที่ต้องคิดไตร่ตรอง ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ยอมเชื่อใครง่ายๆ หรือศรัทธาในทันทีที่ได้ฟัง ถ้าพิสูจน์ด้วยตนเองไม่ได้ก็ยังคลางแคลงสงสัยอยู่ดี จะมีปัญญาได้ก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่กับการปฏิบัติ เวลาสอนนักเรียนก็สอนให้เขาคิด เมื่อสงสัยให้ถาม มันเลยเอาใช้กับการสอนธรรมให้ตัวเอง เพราะฉนั้นถ้าสงสัยในธรรมก็ต้องศึกษา ต้องธรรมมะวิจัยค่ะ
:b44: จริงๆ แล้วดิฉันไม่ได้ตั้งความหวังว่าจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้หรอกค่ะ แค่ไหนก็แค่นั้น และก็ไม่อยากโอ้อวดอะไร เพียงแต่อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็แค่นั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2011, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
จริงๆ แล้วดิฉันไม่ได้ตั้งความหวังว่าจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในชาตินี้หรอกค่ะ แค่ไหนก็แค่นั้น และก็ไม่อยากโอ้อวดอะไร เพียงแต่อยากแลกเปลี่ยนประสบการณ์ก็แค่นั้น

ผมขอแลกเปลียนประสบการณ์หน่อยครับ ผมอ่านกระทู้ของคุณแล้ว มีความรู้สึกปลื้มใจ(เป็นความจริง)
สิ่งนี้ทำให้ผมอยากเป็นกัลยาณมิตร อยากจะชี้แนะในการปฏิบัติของคุณบางประการครับ

สิ่งที่คุณบรรยายมา ผมอยากให้คุณฉุกคิดสักนิดครับว่า การเข้าใจธรรมกับการรู้ธรรม
มันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง การเข้าใจไม่จำเป็นต้องศึกษามากมายอะไรนัก เพียงแค่
มีความเข้าใจกายใจของตัวเอง นั้นมันก็พอเป็นเข็มทิศนำทางให้เราแล้ว

ส่วนเรื่องรู้ธรรม มันเป็นเรื่องของคนที่ศึกษามาจากตำราหรือฟังอาจารย์สอนมา
คนพวกนี้จึงสามารถบอกรายละเอียดในธรรมได้ ถ้าเราลองสังเกตุดูการอธิบายธรรมของ
เขาเหล่านั้น จะอธิบายความอะไรที่มีปัญหา เหมือนจะยกพระไตรปิฎกทั้งฉบับมาบรรยาย
เนื้อหาหนึ่งหน้ากระดาษ แทบจะมีหลักธรรม84000พระธรรมขันธ์
ตรงข้ามครับผู้ที่เข้าใจธรรม หลักธรรม1ข้อสามารถบรรยายได้หนึ่งหน้ากระดาษครับ

ฉะนั้นความภูมิใจ ควรเกิดจากการเข้าใจธรรมแม้เพียงหลักธรรมเดียวมันยังน่าภูมิใจกว่า
แต่ถ้าเราหลงภูมิใจว่า รู้ธรรมมากมาย ผมว่า เราไปรู้เรื่อง หรือไปจำชื่อตัวลครในเรื่อง สามก๊ก
ยังดีเสียกว่า มันยังเอาไปอวดหรือไปข่มคนเจ้าเลห์ได้ครับ :b1:
กษมมาตา เขียน:
:b44: :b44: "สักแต่รู้ สักแต่ดู สักแต่เห็น สักแต่ได้ยิน เข้าใจอยู่ค่ะคุณชาติสยาม" เพราะเมื่อสังเกตการปรุงแต่งของสังขารบ่อยๆ เข้า จากหลงปรุงแต่งไปนานครั้งละหลายนาที มันก็ลดลงเรื่อยๆ จนถึงน้อยมาก และไม่มีเลย มันก็เลยสักแต่รู้ สักแต่ดู สักแต่เห็น สักแต่ได้ยิน

เรื่องนี้ผมว่าคุณยังไม่เข้าใจหรอกครับ ผมเห็นคุณพูดไว้ว่า นั้นดับนี่ดับ
ยกเอาเรื่องปฏิจสมุทรบาท มาอธิบายโดยขาดความเข้าใจเรื่อง อิทัปปัจจยตา
คุณรู้หรือว่า มันมีเหตุมันย่อมเกิดผลตามมา การดับมันต้องดับที่เหตุ
แต่ในปฏิจสมุทรบาท มันเกิดเหตุและผลอาศัยกันเกิดมาเป็นสาย การดับมันต้องดับที่ต้นเหตุ
ที่คุณบอกนั้นดับนี่ดับ สิ่งที่คุณบอกมันไม่ใช่ต้นเหตุในสายปฏิจฯ เมื่อต้นเหตุยังอยู่ผล
มันจะดับไปได้อย่างไร
คำว่าสักแต่รู้ สักแต่ดูหรือเห็น ความหมายก็คือ มีไว้อธิบายถึงการดับต้นเหตุหรืออวิชาได้บางตัว
ตัวอย่างเช่น อวิชาในส่วนของมรรคมีองค์แปด สังเกตุดูการปฏิบัติจะต้องให้ครบองค์แปด
ถ้ามรรคไม่สมบูรณ์สายปฏิจจฯก็จะเกิดการทำงานอีก ส่วนใหญ่การขาดความสมบูรณ์ของมรรค
ก็ในเรื่องความเพียร สติและสมาธิก็ไม่สมบุรณ์ ถ้ามรรคกลับมาสมบูรณ์ในช่วงไหนของสายปฏิจจฯ
แสดงว่าสายของปฏิจจฯ เริ่มทำงานแล้วมีเหตุแล้ว แต่มรรคก็สมบูรณ์ครบองค์ด้วย
ช่วงนี้แหล่ะ ท่านให้ดูเหตุและผล แบบสักแต่ดูครับ

กษมมาตา เขียน:
:b44: ดิฉันคิดว่าตัวดิฉันเองนี่เรียนรู้ธรรมน้อยมากๆๆ แม้จะไปซื้อหนังสือมาอ่านหลายสิบเล่ม แต่เนื้อหาที่ผู้เขียนหลายท่านเขียนก็แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง ทั้งๆที่ชื่อเรื่องเหมือน เลยไม่แน่ใจว่าจะปฏิบัติตามอันไหนดี นี่แหละเหตุที่ต้องคิดไตร่ตรอง ดิฉันก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ยอมเชื่อใครง่ายๆ หรือศรัทธาในทันทีที่ได้ฟัง ถ้าพิสูจน์ด้วยตนเองไม่ได้ก็ยังคลางแคลงสงสัยอยู่ดี จะมีปัญญาได้ก็ต้องอาศัยการคิดควบคู่กับการปฏิบัติ เวลาสอนนักเรียนก็สอนให้เขาคิด เมื่อสงสัยให้ถาม มันเลยเอาใช้กับการสอนธรรมให้ตัวเอง เพราะฉนั้นถ้าสงสัยในธรรมก็ต้องศึกษา ต้องธรรมมะวิจัยค่ะ

ผมต้องขอโทษที่จะบอกว่า คุณเรียนรู้ธรรมมามากครับ แต่ความเข้าใจในธรรมน้อยมาก
เอาแค่ หลักธรรมในข้อ ธัมมวิจยะหรือธรรมมะวิจัยที่คุณบอก คุณก็ไม่เข้าใจเสียแล้ว
ความหมาย ของธัมมวิจยะ คือ บุคคลที่มีความเข้าใจในธรรมทั้งหลายเป็นอย่างดี
เมื่อมีปัญหาในธรรมข้อใด ก็สามารถนำธรรมในหมวดอื่นมาแก้ปัญหาธรรมที่กำลังติดขัดได้
ธัมมวิจยะเป็นผลที่ได้มา เป็นคุณสมบัติของผู้ที่เข้าใจในธรรมเป็นอย่างดีแล้ว

มันไม่ใช่อย่างที่คุณบอกว่า สิ่งที่คุณบอกมันเป็นเรื่องของคนที่ไม่เข้าใจธรรม
เมื่อไม่เข้าใจธรรมย่อมต้องไม่มีหรือไม่สามารถใช้ธัมมวิจยะได้ครับ
การจะมีคุณสมบัติของธัมมวิจยะ จะต้องผ่านการปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจในหลักธรรมต่างๆเสียก่อน
ไม่ใช่ว่าใครๆจะมี ใครๆจะใช้หลักธรรมข้อนี้ได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 202 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร