วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 11:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 820


 ข้อมูลส่วนตัว


คำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิ

โดย หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร

ต่อไปนี้จะขอแนะนำเนื่องในการเจริญมโนมยิทธิ คำว่า มโนมยิทธิ นี่เป็นกรรมฐานอย่างหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ เพราะกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มี ๔๐ แบบ แล้วก็ ๔๐ แบบ ถ้าแบ่งเป็นหมวดก็ ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ สุขวิปัสสโก
หมวดที่ ๒ เตวิชโช
หมวดที่ ๓ ฉฬภิญโญ
หมวดที่ ๔ ปฏิสัมภิทัปปัตโต
หมวดที่ ๑ ที่เรียกว่า สุขวิปัสสโก ท่านแปลว่า บรรลุมรรคผลได้อย่างแบบง่าย ๆ แต่ความจริงแล้วไม่ง่าย ยากมากแบบสุขวิปัสสโกนี่เวลาเจริญสมาธิตามที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำอยู่ ตามปกติ เป็นการทำจิตให้เป็นสมาธิเข้าถึงฌานสมาบัติ แล้วก็ตัดกิเลส ไม่สามารถจะเห็นผี เห็นนรก เห็นเทวดา เห็นสวรรค์ได้ คือไม่มีทิพจักขุญาณ
สำหรับ เตวิชโช นั้น มีความสามารถพิเศษอยู่ ๒ อย่าง คือว่ามีทิพจักขุญาณด้วย สามารถระลึกชาติด้วย และก็
ฉฬภิญโญ (อภิญญาหก) แสดงฤทธิ์ได้ มีหูเป็นทิพย์ มีตาเป็นทิพย์
ปฏิสัมภิทัปปัตโต มีความสามารถคลุมวิชชาสามและอภิญญาหก มีความฉลาดกว่า
หมวดที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ไม่เหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัติคล้ายคลึงกัน เอาในกรรมฐานทั้ง ๔๐ มาแยกปฏิบัติเป็นหมวดหมู่
ทีนี้สำหรับการปฏิบัติ ถ้าจะถามว่าอย่างไหนเข้าถึงมรรคผลง่ายกว่ากัน ก็ต้องเป็นไปตามอัธยาศํยของบรรดาท่านพุทธบริษัท
สำหรับ สุขวิปัสสโก พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับผู้ที่ต้องการเรียบ ๆ ไม่ต้องการฤทธิ์เดช ทำแบบสบาย ๆ จิตใจไม่ชอบจุกจิก
สำหรับ เตวิชโช นั้น พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้สำหรับคนที่อยากรู้อยากเห็น ถ้ามีสิ่งปิดบังลี้ลับอยู่ ทนไม่ไหว ต้องหาให้พบ ค้นให้เห็น
สำหรับ ฉฬภิญโญ นั้น สำหรับคนที่ต้องการมีฤทธิ์เดชพระพุทธเจ้าก็ทรงสอนไว้
สำหรับ ปฏิสัมภิทาญาณ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโต ท่านมีทั้งฤทธิ์ด้วย มีทั้งความเป็นทิพย์ของจิตด้วยมีความฉลาดด้วย สอนไว้เพื่อคนที่ต้องการรอบรู้ทุกอย่าง
ฉะนั้นการที่พระพุทธเจ้าทรงสอน จึงเป็นไปตามอัธยาศัยของคน
สำหรับวันนี้จะนำเอาคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าส่วนหนึ่งที่เรียกว่า มโนมยิทธิ มาแนะนำแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท
มโนมยิทธิ นี่คล้ายคลึงกับ เตวิชโช แต่ว่ามีกำลังสูงกว่า เป็นกรรมฐานเพื่อนเตรียมตัวที่จะปฏิบัติเพื่อ อภิญญาหก ต่อไปข้างหน้า
สำหรับ เตวิชโช ก็ได้แก่ วิชชาสาม ก็มีทิพจักขุญาณ ซึ่งต่างกับ มโนมยิทธิ คือว่าท่านที่ได้ทิพจักขุญาณแล้วนั่งอยู่ตรงนี้ สามารถจะเห็นเทวดาหรือพรหมได้ สามารถจะคุยได้ แต่ไปหาไม่ได้ สามารถจะเห็นสัตว์นรก เห็นเปรต เห็นอสุรกายได้ แต่ว่าไม่สามารถจะไปหากันได้ เห็นอย่างเดียว
สำหรับมโนมยิทธิ ใช้กำลังของจิตเคลื่อนออกจากกายไปสวรรค์ก็ได้ ไปพรหมโลกก็ได้ ไปนิพพานก็ได้ ซึ่งมีกำลังสูงกว่า ทั้งนี้เพราะว่าถือเป็นส่วนหนึ่งของอภิญญาสมาบัติ
สำหรับประโยชน์ที่จะฝึกพระกรรมฐาน นอกจากที่บรรดาท่านพุทธบริษัทจะเข้าใจว่าการเจริญกรรมฐานนี้ต้องการสวรรค์ ต้องการพรหมโลก ต้องการนิพพานอย่างเดียว ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น มีประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม
ถ้าทุกท่านได้มโนมยิทธิแล้วก็ไปฝึกฝนให้คล่อง เมื่อฝึกฝนคล่องแล้ว นอกจากจะยกจิตขึ้นไปสู่ภพต่าง ๆ ก็ยังมีคุณสมบัติ ๘ ประการ คือ
ทิพจักขุญาณ สามารถจะเห็นสิ่งของที่อยู่ในที่ลี้ลับได้ เห็นผีได้ เห็นเทวดาได้ เห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ ของที่เราเก็บไว้ในที่ลี้ลับหาไม่พบเราก็สามารถเอาจิตเข้าไปกำหนดรู้ได้ หรือว่าใครจะแอบแฝงอยู่ที่ไหนเราก็ทราบได้ ถ้าเราต้องการจะรู้ รวมความว่าไม่มีอะไรเป็นความลับสำหรับพวกที่มีทิพจักขุญาณ
และถ้าหากว่าจะใช้ทิพจักขุญาณนี้ประกอบอาชีพ ถ้าทิพจักขุญาณมีความเข้มข้นขึ้น เข้าถึงฌาน ๔ และก็ได้ อดีตังสญาณ อนาคตังสญาณ มันจะได้ไปเอง ถ้าเราจะประกอบอาชีพเราก็สามารถจะรู้ได ้ว่า อาชีพที่เราประกอบข้างหน้ามันขาดทุนหรือกำไรจะทำอะไรก็ได้
ถ้าเป็นนักเรียนนักศึกษา ถ้ามีกำลังจิตเข้มข้นจริง ๆ สามารถจะเดาข้อสอบ (ไม่ต้องเดาละดูเลย ดูข้อสอบเลย ก่อนที่ครูจะเขียนน่ะ) อนาคตังสญาณ จะสามารถรู้ข้อสอบที่ครูจะออกมาได้ ถ้าหากว่าจิตยังคล่องไม่ถึง มีความเข้มข้นไม่ถึงเวลาจะสอบถ้าตอบไม่ได้ตัดสินใจใช้กำลังสมาธิช่วยสัก ๒ นาที คิดว่าถ้าจะตอบยังไงถึงจะถูก ขอให้ตัดสินใจไปตามนั้น มันตัดสินใจเองแล้วก็ถูกต้อง
อย่างนี้นักเรียนนักศึกษาในกรุงเทพฯ ใช้มาหลายพันคนแล้ว เวลาเข้ามาหาวิทยาลัยเธอตอบไม่ได้เธอก็เดาอย่างนี้ แต่ไม่ใช่เดานะ เดาเฉย ๆ ไม่ได้นะ ต้องใช้กำลังใจที่เขาเรียกว่าทำจิตเข้าไปถึงนิพพานก่อนและก็นั่งอยู่ที่นั่น ขอพระพุทธเจ้าว่าจะตอบอย่างไร ตัดสินใจไปตามนั้น อย่าถามท่านไม่ได้นะ ถามท่านไม่บอกแต่ว่าจะรู็ด้วยกำลังของจิตที่เป็นทิพย์
แบบนี้เขาใช้กันเยอะแล้ว ถ้าจะถามว่าได้หรือ นี่มันสายไปแล้ว เขาทำได้มากแล้ว อันนี้เป็นประโยชน์ในทางโลก ใช้ได้มากกว่านี้
เมื่อกี้พูดถึงทิพจักขุญาณ และก็ญาณที่ ๒ ที่จะได้จากมโนมยิทธิก็คือ จุตูปปาตญาณ
จุตูปปาตญาณ ที่เขาบอกว่าจะรู้เห็นคนหรือสัตว์ หรือ ว่าได้ยินชื่อคนหรือสัตว์ เราสามารถรู้ได้ทันทีว่าคนพวกนี้ก่อนเกิดมาจากไหน ถ้ารู้็ว่าใครเขาตายเขาแจ้งว่าคนนั้นตาย สัตว์ตัวนี้ตายเราก็จะทราบได้ว่าผู้ตายผู้นี้เวลานี้ไปอยู่ที่ไหน อันนี้เขาเรียกว่า จุตูปปาตญาณ
แล้วก็ต่อมาเป็น ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ การระลึกชาติ สามารถจะทบทวนชาติต่าง ๆ ที่เราเกิดมาได้ทั้งหมดว่า เราเคยเกิดมาแล้วกี่ชาติ แต่กี่ชาตินี่นับไม่ไหวนะ ว่าเคยเกิดมาแล้วกี่แสนชาติดีกว่า เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้าง เราสามารถจะรู้
แล้วก็ต่อไป เจโตปริยญาณ เจโตปริยญาณ เขาแปลว่าสามารถรู้อารมณ์จิตของบุคคลอื่น หมายความว่าคนที่นั่งอยู่ที่นี่ก็ดี ถ้ายังไม่มาก็ดี เราจะรู้ว่าเขาคิดอะไร เราสามารถจะรู้ได้ทันที
และต่อไป อตีตังสญาณ สามารถรู้เหตุการณ์ในอดีตของคนและสัตว์และสถานที่ได้ ว่าก่อนนั้นเขาทำอะไรมาหรือมีสภาพเป็นอย่างไร
อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอนาคต
ปัจจุปันนังสญาณ ญาณนี้สำคัญมาก รู้กฏของกรรมที่ทำให้คนมีความสุขหรือความทุกข์ เราก็ดี บุคคลอื่นก็ดี ซึ่งกำลังมีความสุขอยู่เพราะผลความดีอะไรให้ผล ที่มีความทุกข์อยู่เพราะความชั่วอะไรให้ผลทำมาแล้วในอดีต ถ้าหากว่ารู้ญาณนี้ได้ความหนักใจความกลุ้มใจไม่มี
รวมความว่า มโนมยิทธิ นอกจากจะยกจิตไปสู่ภพต่าง ๆ แล้ว ยังมีคุณสมบัติอีก ๘ ประการ และก็พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อุทุมพริกสูตร เฉพาะอย่างยิ่งท่านกล่าวถึง วิชชาสาม ท่านบอกว่า
ท่านผู้ใดสามารถกระทำจิตไปสู่ภพต่าง ๆ คือว่าไปสวรรค์ก็ได ้ไปนรกก็ได ้ไปพรหมก็ได้ ไปนรกเปรตอสุรกายได้ ชื่อว่าถึงแก่นของพระศาสนา
เมื่อบุคคลปฏิบัติกิจเข้าถึงแก่นของพระศาสนาแบบนี้ ถ้าปฏิบัติด้านวิปัสนาญาณ ท่านบอกว่า
ถ้ามีบารมีแก่กล้า จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ วัน
ถ้ามีบารมีอย่างกลาง จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ เดือน
ถ้ามีบารมีอย่างอ่อน จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ ปี
คำว่า บารมี ก็หมายถึง กำลังใจ กำลังใจที่เราจะเอาจริงหรือไม่เอาจริง ถ้าเราใช้กำลังส่วนนี้ไปช่วยวิปัสสนาญาณ หรือนำวิปัสสนาญาณมาใช้ ก็จะเป็น พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์
และก็เป็นที่น่าเสียดายที่มีกำลังพอแต่ไปใช้กำลังอย่างอื่นอยู่ ถ้ามุ่งต้องการความเป็นพระอริยเจ้าจริง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าต้องการพระโสดาบันละก็ อย่างช้าก็ไม่เกิน ๑ เดือน ช้ามากเกินไป แต่ว่าคนขี้เกียจก็เร็วมากเกินไป ใช่ไหม ถ้าขี้เกียจ ๑ เดือนนี่ เร็วมากเกินไป ถ้าขยัน ๑ เดือน ช้าเกินไป เร็วมากเกินไป
พระพุทธเจ้าไม่ได้หมายถึงว่าเป็นพระโสดาบัน ท่านพูดถึงอรหันต์เลย ถ้ามีความเข้มข้นในการปฏิบัติที่เรียกว่ามีบารมีแก่กล้า จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ วัน
ถ้ามีกำลังใจอย่างกลางที่เรียกว่า อุปบารมี คือกำลังใจอย่างกลาง จะเป็นอรหันต์ภายใน ๗ เดือน
ถ้าขี้เกียจมากหน่อย แต่ว่าทำไม่เลิก ทำบ้างไม่ทำบ้าง วันหนึ่งก็ไม่เว้นละ ทำมากทำน้อย นอนน้อยทำมาก สลับกันไปอย่างนี้ไม่เกิน ๗ ปี
แต่ว่าก็มีเยอะเหมือนกัน ที่ได้ไปแล้วไม่ใช้ให้เป็นประโยชน์ ใช้เฉพาะกิจส่วนนี้ก็ยังดีกว่า เพราะหายสงสัย
ที่พระพุทธเจ้าสอนวิชานี้ไว้เป็นวิชาขั้นต้นของ อภิญญา ก็เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงเทศน์บอกว่า
คนเราตายไปแล้วมีสภาพไม่สูญ ถ้าสร้างผลของความชั่ว ผลของความชั่วจะให้ผล คือไปนรก จากนรกก็ต้องมาเป็นเปรต จากเปรตแล้วก็มาอสุรกาย จากอสุรกายมาเป็นสัตว์เดียรัจฉาน
สัตว์เดียรัจฉานนี่เป็นนานหน่อย ต้องเสวยบารมีมากฆ่าสัตว์กี่ตัว สัตว์ประเภทใดบ้าง ต้องเกิดเป็นสัตว์ประเภทนั้นเท่าชีวิตที่เราฆ่า ฆ่ายุงไปเท่าไร เอาแค่ยุงอย่างเดียวก็พอมั๊ง
หลังจากเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานแล้วก็มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมชั่วที่เราทำไว้จะให้ผลเพียงเศษ เช่น
ทำปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หรือทรมานสัตว์ เป็นปัจจัยให้คนมีอายุสั้น เพราะทำเขาไว้มาก หรือว่าป่วยไข้ไม่สบาย มีร่างกายทุกพพลภาพ สุดแท้แต่กฎของกรรม
กรรมของอทินนาทาน ลักขโมยยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่น เป็นเหตุให้ทรัพย์เสียหายจากไฟไหม้บ้าง ลมพัดบ้าง น้ำท่วมบ้าง ถูกโจรลักขโมยบ้าง
กรรมของกาเมสุมิจฉาจารที่เราละเมิด เป็นเหตุให้คนในปกครองว่ายากสอนยาก คนที่มีลูกดื้อ ๆ จำให้ดีนะ เคยทำกรรมนี้มาแล้วจะให้พระช่วยได้อย่างไร และ
กรรมของมุสาวาท เราพูดจริงแต่ไม่มีใครเขาอยากฟัง
เศษกรรมของการดื่่มสุราเมรัย ทำให้เป็นโรคเส้นประสาท หรือโรคบ้า
ทีนี้ถ้าอาการทั้ง ๕ อย่างนี้เกิดขึ้น อย่าไปโทษใคร ถ้าเราได้ ยถากรรมมุตาญาณ เราจะทราบ ว่ากรรมประเภทนี้ทำให้เราลำบากเราทำไว้ตั้งแต่เมื่อไหร่ และก่อนที่จะได้รับเศษของกรรมเราได้รับโทษของกรรมใหญ่ที่ไหนบ้าง ลงนรกมากี่ขุม ท่องเที่ยวนรกแสนสบาย มีความสุขมีที่อยู่ที่อาศัย พญายมเอาอกเอาใจ ไม่ต้องการให้พ้นจากนรกนี่ดีมีวาสนาบารมีสูง
ออกจานรกขุมใหญ่ ออกจากนรกบริวาร ผ่านยมโลกียนรกอีก ๑๐ ขุม ออกจากยมโลกียนรกอีก ๑๐ ขุม ผ่านเปรตอีก ๑๒ ลำดับ จากเปรตมาผ่านอสุรกาย จากอสุรกายมาเป็นสัตว์เดียรัจฉาน กว่าจะเกิดมาเป็นคนที่มีความสมบูรณ์มาก พระพุทธเจ้าตรัสแล้วหลายสิบองค์ อันนี้เป็นกฎของความชั่วที่เราพึงจะรู้ได้ด้วยกำลัง มโนมยิทธิ ที่ญาติโยมพุทธบริษัทปฏิบัติกัน
ด้านของความดีที่เราจะพึงทราบจาก ปุพเพนิวาสานุสติญาณ เราจะทราบว่าเราเคยเป็นเทวดามาแล้วกี่ครั้ง เคยเกิดเป็นคนมาแล้วเท่าไหร แล้วเคยเกิดมาเป็นมนุษย์มาแล้วเท่าไหร่ ความเป็นมนุษย์ชาติไหนมีความสุขมาก ชาติไหนมีความทุกข์มาก ชาติไหนมีฐานะอย่างไร อย่างนี้เราทราบได้
ทีนี้ถ้าอยากจะทราบว่าบุญที่เราทำมาตั้งแต่ต้นจนถึงวันนี้ บุญประเภทนี้จะให้ผลเราขนาดไหน สมมุติว่าถ้าเราตายขณะนี้เราจะเป็นเทวดาหรือจะไปเป็นพรหมหรือจะไปนิพพาน เราพิสูจน์ได้เลย บุญทำวันนี้พิสูจน์วันนี้ได้ว่าบุญวันนี้จะส่งผลไปถึงไหน
ถ้าจะถามว่าถ้าปุบปับตายจะมีวิมานอยู่ไหม ถ้าเคยทำบุญก่อสร้างเกี่ยวกับการสร้างวัดสร้างศาลา สร้างสาธารณประโยชน์ แม้แต่เขาสร้างโบสถ์ ๑ หลัง เราทำบุญไป ๑ บาท และทำด้วยความเต็มใจ วิมานก็ปรากฏแล้ว คือว่าทำในทันทีวิมานจะปรากฏทันที
ที่กล้าพูดอย่างนี้ เพราะว่าทุกท่านหรือหลาย ๆ ท่านกำลังเจริญมโนมยิทธิ และก็หลายท่านที่ได้แล้วสามารถพิสูจน์ได้ทันที ก็มาตัดสินใจทำบุญไว้ตั้งแต่เมื่อไหรก็ตามเถอะไม่สนใจ วันนี้หรือก่อนวันนี้ทำบุญเนื่องในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์ วิมานจะปรากฏก่อน เราสามารถจะไปดูวิมานได้ทันทีว่าวิมานเราอยู่ที่ไหน
ทีนี้วิมานนี่อยู่ตามกำลังของบารมีหรือตามกำลังของบุญที่ทำ ถ้ากำลังบุญของท่านถึงขั้น กามาวจรสวรรค์ วิมาน ก็จะตั้่้งอยู่ที่สวรรค์ กำลังบุญของท่านถึงขั้นของพรหม วิมานจะตั้งอยู่ที่พรหม กำลังบุญความดีของท่านถึงขั้นนิพพาน วิมานก็อยู่ที่นิพพาน คอยอยู่แล้ว ตายเมื่อไรถึงเมื่อนั้น อันนี้พูดถึงผลที่จะพึงได้
ต่อไปก็ขออธิบายถึงวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน ที่บอกไว้แล้ว ๔ หมวด คือ สุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต อันนี้ใช้แนวสมาธิเหมือนกันแต่ใช้กำลังไม่เท่ากัน อันนี้ต้องระวังให้มากนะ กำลังขึ้นต้นไม่เท่ากัน ถ้าใช้กำลังขึ้นต้นผิดไม่มีผล
สำหรับ สุขวิปัสสโก นี่ท่านเริ่มเจริญสมาธิเล็กน้อยควบคู่กับวิปัสสนาญาณ
แต่ว่าเรื่องศีลมีความสำคัญมาก ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์สมาธิไม่มีผล อย่างวันนี้ท่านฝึกมโนมยิทธิ หากว่าศีลของท่านไม่บริสุทธิ์มาก่อน หรือว่าท่านไม่แน่ใจในความบริสุทธิ์ของศีล เวลาสมาทานศีลก็ขอให้ตั้งใจสมาทานด้วยความเคารพจริง ๆ ว่าเราจะเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ถ้าหากว่าท่านไม่มั่นใจในศีล พอไปถึงพระจุฬามณี เขาไม่เปิดประตูให้เข้า อย่างนี้ครูผู้ฝึกเขาจับได้แน่
ศีลดีพอสมควร แต่ไม่มั่นใจ คือศีลบกพร่อง ทางจุฬามณีเขาไม่เปิดประตูให้เข้าเด็ดขาด ทำยังไงเขาก็ไม่ยอมให้เข้า ถ้าเราไม่สามารถจะผ่านจุฬามณีได้ก็ไปที่อื่นไม่ได้เหมือนกัน
ถ้าหากว่าท่านผู้ใดไม่มั่นใจในศีลของท่านว่าที่ผ่านมาแล้วศีลจะดีพอควรไหม เวลาสมาทานศีลก็จงคิดว่าเวลานี้เราเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ว่านับตั้งแต่เวลาสมาทานไปจนกว่าจะไปจากที่นี้ ศีล ๕ เราไม่มีโอกาสจะขาด ใช่ไหม เราฆ่าใครเขาได้เล่า ลักขโมยใครเขานี้ไม่แน่นะ อย่าไปล้วงกระเป๋าเขานะ บอกว่าผมไม่ลัก แต่ผมล้วงกระเป๋าเขาอย่างเดียว
เป็นอันว่าทุกคนต้องถือว่าศีลบริสุทธิ์ นี่เป็นพื้นฐานใหญ่
แล้วเวลาทรงสมาธิ สำหรับสุขวิปัสสโก ก็ใช้สมาธิเล็กน้อยเริ่มต้นควบกับวิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิจริง เขาเริ่มต้นด้วยฌาน ๔ แต่ว่าการเริ่มต้นด้วยฌาน ๔ นี่ลำบาก จึงลดลงเหลือกำลังอุปจารสมาธิเ่ท่าวิชชาสาม
ฉะนั้นเวลาเริ่มต้นขอทุกท่านใช้กำลัง สมาธิแค่อุปจารสมาธิ ถ้าถึงฌานสมาบัติ กำลังสูงเกินไปเลยความเป็นทิพย์ ถ้าต่ำไปก็ไม่ถึงความเป็นทิพย์
เหมือนกับกำแพงที่มีช่องน้อย ๆ อยู่ช่องหนึ่ง ถ้าเรามองตาสูงกว่าช่องเราก็มองไม่เห็น ต่ำกว่าช่องเราก็มองไม่เห็น เราต้องมองให้พอดี ๆ จึงเห็น
สำหรับ ทิพจักขุญาณ ก็เหมือนกัน จิตเกิดเป็นทิพย์ ตอนจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิเท่านั้น ถ้าจิตเลยไปถึงฌานความเป็นทิพย์ก็ดับ ถ้าต่ำกว่าฌานความเป็นทิพย์ก็ดับ
ถ้าจะถามว่า อุปจารสมาธิทำอารมรณ์ขนาดไหน ก็ขอตอบแบบตรงไปตรงมาว่าใช้อารมณ์แบบปกติธรรมดา เวลาภาวนาอยู่ การภาวนานี่ต้องคู่กับลมหายใจเข้าออก เพราะว่าลมหายใจเข้าออกทำให้จิตเป็นสมาธิ ทำให้จิตมีกำลัง สมาธิ เขาแปลว่า ตั้งใจ
สำหรับคำภาวนาใช้ภาวนาว่า นะ มะ พะ ธะ คำภาวนา นะ มะ พะ ธะ ทำให้กำลังจิตเป็นทิพย์ แต่ว่าคำภาวนาทำให้จิตเป็นทิพย์มีหลายสิบแบบ ไม่เฉพาะแต่ นะ มะ พะ ธะ อย่างเดียว
แต่ว่าที่เลือก นะ มะ พะ ธะ มาใช้ก็เพราะว่าแบบอื่น ถ้าเราสามารถจะรู้ได้ เห็นได้ ไปได้ ไปท่องเที่ยวในภพต่าง ๆ ได้ แต่คนข้าง ๆ ถามไม่ได้ ต้องจบกิจเรื่องนั้นแล้วกลับมาจึงจะคุยกับคนข้าง ๆ ได้
สำหรับ นะ มะ พะ ธะ นี่ ขณะที่เราไปพบอะไรที่ข้างบน หรือที่ไหนก็ตาม นรกก็ตาม สวรรค์ก็ตาม พรหมโลกก็ตาม คนข้าง ๆ จะถามได้ทันทีแล้วจะตอบได้เลย ทางโน้นตอบมา ฝ่ายนี้ก็พูด พูดรู้เรื่องกันได้ตลอด
แบบนี้ควานหามา ๒๓ ปี กว่าจะพบ และแบบอื่น ๆ เป็นของไม่ยาก แต่ว่าเป็นเรื่องสงสัยของคน ผู้ถามอยู่ข้าง ๆ ต้องการจะรู้ว่าพ่อฉันตายแม่ฉันตายไปอยู่ที่ไหน หลับตาปี๋อยู่นาน ลืมตามาก็บอก ทีนี้คนข้าง ๆ อาจจะสงสัย หมอนี่อาจจะโกหกก็ได้
สำหรับ มโนมยิทธิแบบนี้ ปัจจุบันใช้ นะ มะ พะ ธะ คนข้าง ๆ จะถามได้ทันที และก็เราผู้ไม่รู้ ถ้าไปพบคนตาย จะต้องถามก่อนที่ท่านจะตายรูปร่างลักษณะอย่างไร แสดงให้ดูก่อน ร่างกายจะตายอาการแบบไหน ชี้ให้ชัดว่าคนที่ถามเขารู้เวลานั้นเอาเฉพาะอาการที่รู้ เราก็จะบอกได้ตามปกติว่ามันชัดเจนดี เขามีโอกาสซัก ซักได้ทั้งที่ยังไม่ถอนจากฌานแบบนี้มีประโยชน์มาก
ฉะนั้นเวลาปฏิบัติของบรรดาท่านพุทธ บริษัททำอารมณ์ตามแบบปกติ ไม่ต้องทำจิตให้มันเครียดเป็นฌานอย่าลืมนะ ถ้าเป็นฌานไม่มีผล คือใช้คำภาวนาว่า นะ มะ พะ ธะ
ถ้าจะควบคู่กับลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้าก็นึกว่า นะ มะ เวลาหายใจออกก็นึกว่า พะ ธะ เอาแบบสบาย ๆ นะ อย่าให้เหนื่อย อย่าไปเร่งรัดลมหายใจ อย่าบังคับลมหายใจ อย่าให้เร็วเกินไป อย่าให้ช้าเกินไป ปล่อยลมหายใจไปตามปกติ แค่นึกตามเวลาหายใจเข้านึกว่า นะ มะ เวลาหายใจออกนึกว่า พะ ธะ เอาแค่นี้นะ
แล้วเลาที่ยังไม่มีใครเข้าไปแนะนำ จงอย่าไปนึกอย่ากรู้ อยากเห็นอะไรเป็นอันขาด เพราะว่าถ้านึกอยากรู้อยากเห็นตอนนั้นจิตซ่านไม่เป็นสมาธิ
และก็มีปัญหาอันหนึ่งที่บรรดาท่านพุทธบริษัทยังสงสัย เวลาที่ผู้แนะนำเขาปล่อยให้นั่งภาวนาประมาณ ๑๕ นาที ตอนนี้เราก็รู้ลมหายใจเข้าออกด้วย รู้คำภาวนาด้วย จิตก็อดซ่านไม่ได้เป็นของธรรมดา ภาวนาไปรู้ลมหายใจเข้าออกไปสัก ๒-๓ นาทีก็เผลอไปคิดเรื่องอื่นเข้ามาแทน ถ้านึกขึ้นมาได้ก็กลับดึงเข้ามาใหม่
ถ้าอาการจิตเป็นอย่างนี้ละก็ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทอย่าเพิ่งคิดว่าเราชั่ว ถือว่าที่เราทำไปนั้นไม่ชั่วแล้วก็ไม่ผิด มันเป็นเรื่องธรรมดาของจิตมันชอบคิดเรื่องอื่น แต่วาถ้าไปคิดเรื่องอื่นแทนที่ ถ้าเรารู้ตัวก็ดึงกลับมาใหม่ ถ้าจิตอยู่ในขั้นอุปจารสมาธิ มันเป็นแบบนี้แหละ เพราะยังไม่ได้ฌานสมาบัติ ถ้าจิตจะทรงตัวจริงต้องเป็น ฌานสมาบัติ
ทีนี้พอได้เวลาก็จะมีผู้เข้าไปแนะนำโดยตรง วิธีนี้ถ้าปล่อยให้ปฏิบัติธรรมดานะ พระเคยทำมาแล้ว ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง บางองค์ ๔๐ ปีไม่ได้ ตายไปเลย ตายไปเยอะ ไม่ใช่เรื่องเล็กนะ เป็นเรื่องใหญ่มากเดิมทีเดียวต้องขึ้นต้นด้วยฌาน ๔ ทีนี้กว่าจะได้ฌาน ๔ เขี้ยวเหี้ยน กินหญ้าต่อไปไม่ได้แล้ว
ต่อมาท่านเจ้าของมาแนะนำบอกว่า ปฏิบัติอย่างนี้ (แบบเก่า) มันไม่มีผล เพราะว่ากำลังของคนไม่พอ ท่านก็แนะนำบอกว่า ให้ขึ้นต้นด้วยอุปจารสมาธิ ใช้กำลังของวิชชาสามแทน การใช้กำลังของวิชชาสามแทนนี้ก็อ่อนไปหน่อย การเคลื่อนไหวตัวรู้สึกตัวน้อย ๆ เป็นที่น่าสงสัย
ถ้าหากว่าใช้กำล้ังเดิม คือกำลังของฌาน ๔ เวลามันออกมันรู้ตัวเหมือนอกจากกระบอกไม้ มันพุ่งตรงออกจากโพรงไม้หรืออกจากถ้าำ มันรู้ตัวเลย ก็จะปรากฏชัดเป็นแสงสว่างในอากาศ แสงสว่างเป็นลำบ้าง เป็นแสงทั่วไปในอากาศบ้าง จะปรากฏเห็นกายข้างในมันพุ่งตรงออก ไปไหนก็มีรู้สึกเหมือนเราไปเอง
แต่ว่ากำลังแบบนี้เวลานี้ท่านพุทธบริษัทยังรับไม่ได้กว่าจะรับได้ก็ใช้เวลา เป็นเดือนหรืออาจจะเป็นปี ที่สอนมาแล้วระยะต้น เมื่อปี ๒๕๐๘ ได้มาประมาณ ๘๐ คน หลังจากนั้นมาอีก ๑๐ ปี ไม่มีใครได้เลย เพราะกำลังไม่พอ ต่อมาท่านเจ้าของจึงแนะนำบอกว่า ให้ลดกำลังลงเหลือกำลังของวิชชาสาม
ทีนี้กำลังของวิชชาสามมีสภาพคล้ายความฝัน เป็นที่น่าสงสัย กำลังของวิชชาสามก็คือใช้กำลังของอุปจารสมาธิแทนฌานสมาบัติ
ทีนี้มาจุดหนึ่งที่บรรดาท่านพุทธบริษัทยังสงสัย คือ คำว่า ทิพจักขุญาณ
คำว่า ทิพจักขุญาณ นี่ไม่ใช่แปลว่า ลูกตาเนื้อเป็นทิพย์ ญาณ เขาแปลว่า รู้ ทิพจักขุญาณ เขาแปลว่า มีความรู้ทางใจคล้ายตาทิพย์ อย่า ลืมนะว่าความรู้สึกทางใจคล้ายตาทิพย์ เพราะว่าเรายังไม่ได้ใช้ฌาน ๔ ถ้าใช้ฌาน ๔ ตัวนี้ไม่ต้องอธิบายเพราะมันออกไม่รู้ตัว เมื่อใช้กำลังของวิชชาสามกำลังลังอ่อนลง ไม่สามารถจะมีความเข้มแข็งแบบนั้นได้ ต้องใช้ความสังเกตเป็นเกณฑ์
ถ้าหากว่าศีลดี สมาธิดีพอสมควร ไม่มากนักการตัดสินใจด้านพระนิพพานน้อยเกินไป อย่างนี้ทิพจักขุญาณจะเกิดอย่างอ่อน เกิดความรู้สึกของใจ ความรู้สึกทางใจนี่มันจะมีความรู็สึกอันดับแรกว่าเป็นอะไรต้องตอบทันที ตัวแรกเป็นตัวแท้แล้วก็แน่นอน
และเวลาที่ท่านทั้งหลายจะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ถ้าทำใจให้สบายคิดว่างานที่เราทำจะมีผลดีหรือผลชั่ว อารมณ์แรกมันบอกปั๊บต้องเชื่ออารมณ์นั้นทันที
ทีนี้ถ้าหากว่าถ้าอารมณ์มันอ่อน เมื่อเวลามีผู้เข้าไปแนะนำ หลังจากภาวนาไปแล้วประมาณ ๑๕ นาที เขาจะให้สัญญาณบอกว่าพักได้ แล้วต้องสังเกตนะ ถ้าท่านผู้ใดมีคนไปนั่งข้างหน้า เขาจะแนะนำ ขอให้ท่านผู้นั้นเลิกภาวนาเสียเลย อย่าภาวนา แล้วก็เลิกรู้ลมหายใจเข้าออก ปล่อยใจสบาย ๆ เพราะตอนนั้นไปภาวนาไม่ได้ ขวางกัน ให้ฟังคำแนะนำของผู้แนะนำ
ถ้าผู้แนะนำเขาแนะนำว่ายังไงให้ตัดสินใจไปตามนั้น ถ้าเห็นว่ากำลังใจเริ่มเป็นทิพย์พอสมควร เขาจะถามว่า
“มีความรู้สึกว่ามีผู้ใดอยู่ข้างหน้าบ้าง...?”
ไม่ใช่หมายถึงตัวเขา ถ้าสมาธิอ่อน ความรู้สึกมันว่ามีก็ตอบว่ามี อย่ายั้งตัวนะ ถ้ายั้งตัวแน่หรือไม่แน่ ตรงนี้ตัวกิเลสคือนิวรณ์ ตัวสงสัยจะขวางทันที คือผิดหมด ถ้าเราเกิดความรู้สึกครั้งแรกว่ามีก็ต้องตอบว่ามี
ถ้าเขาถามว่า “ผู้ที่มาอยู่ข้างหน้าเป็นผู้หญิงหรือผู้็ชาย”
ความรู้สึกมันว่าผู้หญิงหรือผู้ชายก็ตอบทันที อย่ายั้งตัว ถ้ายั้ง ถอยหลังไม่ได้ ผิด
ถ้าเขาถามว่าแต่งตัวสีอะไร ก็ตอบตามความรู้สึกถ้าคนข้าง ๆ เขาสีแดง ของเราเขียวก็ตอบเขียวอย่าตามเขานะ เพราะความเป็นทิพย์ของเทวดา พรหม หรือพระอรหันต์ ย่อมสามารถจะทำให้คนเห็นสีต่างกันในขณะเดียวกัน
ถ้าเป็นอย่างนี้สัก ๒-๓ วาระ ครูเขารับรองว่าถูกต้อง กำลังใจจะดีขึ้น ตอนนี้อารมณ์จิตจะเป็นฌานเอง คำว่าเป็นฌานอย่าไปบังคับมันนะ มันจะเป็นของมันเอง เมื่ออารมณ์จิตเริ่มเป็นฌาน ความสว่างไสวจะปรากฏขึ้นบ้างตามพอสมควร
ตอนนี้ภาพที่เรามองไม่เห็นจะมีความรู้สึกว่ามีเห็นเป็นผู้หญิงผู้ชายนั่น แหละ มันไม่ปรากฏภาพมาก่อน แต่ความรู้สึกจะเกิดขึ้นกับใจ เมื่อจิตเริ่มเป็นฌานภาพจึงปรากฏขึ้นกับใจ
หลังจากนั้นไปครูเขาจะแนะนำในการตัดขันธ์ ๕ การตัดขันธ์ ๕ มีความสำคัญมาก คือเอาจิตมุ่งพระนิพพานโดยเฉพาะ คิดว่าถ้าตายชาตินี้ เมื่อตายเมื่อไหรขอไปนิพพานจุดเดียว ตัดสินใจแน่นอนละก็ไปถึงนิพพานแน่
หลังจากนั้นเขาจะพาไปพระจุฬามณี ซึ่งตั้อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้าขั้นถึงจุฬามณีพึงทราบได้เลยว่าขณะนั้นจิตเป็นฌาน ๔ ภาพจะเกิดความสว่างไสวมาก เขาจะพาไปนมัสการพระ ให้เห็นเทวดาหรือพรหม
หลังจากผ่านพระจุฬามณีแล้วเขาจะพาตรงไปพระนิพพาน ที่เราว่านิพพานสูญนั้นน่ะ เราจะได้ทราบว่านิพพานไม่สูญ ถ้านิพพานสูญก็ไม่มีพระอรหันต์องค์ไหนไปนิพพาน
นี่พูดถึงว่าสำหรับจิตที่มีกำลังอ่อน แต่ว่ามีมากท่านด้วยกันที่มีความเข้มแข็งทางจิต จิตสะอาดจริง พอเริ่มได้รับคำแนะนำจากครูไม่กี่คำจิตจะสว่างจ้า เห็นภาพชัดเจนแจ่มใสมาก เหมือนกับเห็นคนในเวลากลางวัน เครื่องแต่งกายละเอียดละออเพียงใดก็ตาม ก็สามารถจะเห็นได้
ฉะนั้น ผู้จะปฏิบัติมโนมยิทธิ ขอให้ตั้งใจ ถ้าสมาทานศีล ขอให้สมาทานศีลด้วยความเคารพ คิดว่าเวลานี้เป็นผู้มีศีล แล้วก็ภาวนา อย่าลืมใช้คำว่าภาวนาว่า นะ มะ พะ ธะ ควบคู่กับลมหายใจ เวลาหายใจเข้านึกว่า นะ มะ เวลาหายใจออกนึกว่า พะ ธะ เวลาภาวนาอยู่จงอย่าอยากรู้อยากเห็นอะไรทั้งหมด จนกว่าจะมีครูเข้าไปแนะนำ


การฝึกมโนมยิทธิ

หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร - ครูฝึก
คุณสมพร บุณยเกียรติ(เปี๊ยก) - ผู้รับการฝึก

ฝึกที่บ้านซอยสายลม
เมื่อวันที่ ๑๑ พ.ย. ๒๕๒๑

(หลังจากหลวงพ่อแนะนำวิธีการปฏิบัติและให้ภาวนาสัก ๑๐ นาทีแล้ว จึงเข้ามาสอบถาม)
หลวงพ่อ “เปี๊ยก สว่างไหม...?”
เปี๊ยก “แสงสว่างทั่ว ๆ ไป แต่ไม่เป็นดวงนะคะ”
หลวงพ่อ “ไม่เป็นดวงหรือ ...พิจารณาขันธ์ ๕ ตัดขันธ์ ๕ รูป เป็นสุขหรือเป็นทุกข์...?”
เปี๊ยก “ทุกข์ค่ะ”
หลวงพ่อ “เป็นทุกข์หรือ ทำไมเป็นทุกข์ล่ะ...?”
เปี๊ยก “เพราะหนูได้รับการกระทบกระทั่งทางใจ ทุกข์อันนี้ของหนูมากค่ะ”
หลวงพ่อ “การรับกระทบกระทั่งทางอารมณ์ เพราะเรามีรูปเป็นสำคัญใช่ไหม.. ทุกข์นะ การที่เราเป็นทุกข์ก็เพราะอาศํยมีรูปเป็นสำคัญนะ ถ้าเราไม่มีรูป มันก็ไม่ทุกข์ แล้วทุกคนเวลานี้ได้โปรดทราบว่า เวลานี้ทั้งพระก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี กำลังควบคุมทุกท่านอยู่ ลองพิจารณาดูซิว่า เวลานี้มีแสงสีอะไรพิเศษเกิดขึ้นบ้างไหม...? มีไหม...?”
เปี๊ยก “มีแสงเป็นลำขวาง”
หลวงพ่อ “เป็นลำขวาง ๆ เป็นแสง สีอะไร...?”
เปี๊ยก “บอกไม่ถูก คล้ายเป็นสีเหลือง”
หลวงพ่อ “สีเหลืองต้องนึกว่านั่นพระพุทธเจ้านะ ตั้งใจนมัสการท่าน นึกว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่ในลักษณะไหน...?”
เปี๊ยก “ท่านเสด็จประทับอยู่ข้างหน้าค่ะ”
หลวงพ่อ “ข้างหน้าหรือ ... ต้องเชื่อจิตนะ นี่เป็นมโนมิยิทธิ คำว่ามโนมยิทธิหมายความว่าจิตเป็นทิพย์และมีฤทธิ์ทางใจ พระองค์ยืนอยู่หรือนั่งอยู่...?”
เปี๊ยก “ยืนค่ะ”
หลวงพ่อ “ยืนหรือ ทรงเครื่องสีอะไร...? เป็นเสีเหลืองธรรมดาหรือว่าเครื่องประดับของเทวดา ทรงเครื่องแบบไหน...?”
เปี๊ยก “บอกไม่ถูกค่ะ”
หลวงพ่อ “อารมณ์จิตบอกว่าอย่างไร”
เปี๊ยก “บอกว่าเป็นพระค่ะ”
หลวงพ่อ “เป็นรูปพระสีเหลืองใช่ไหม... อันนี้ถูก พระที่ยืนอยู่ที่เห็นเวลานี้เป็นประจำอยู่ก็คือ พระพุทธเจ้าที่ทรงพระนามว่า “กุกุกสันโธ” ท่านมาในลักษณะของรูปพระธรรมดา ท่านยืนอยู่นะ”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “ขอนมัสการท่าน ขอท่านโปรดกรุณานำเราไปสู่พระจุฬามณี จิตพุ่งไปคิวด่าเวลานี้เราเข้าสู่เขตพระจุฬามณี จิตน้อมไปตามนั้นไหม..?”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “คิดว่าเข้าไปนะ เข้าไปดูว่าข้างหน้าที่เราจะเห็นข้างหน้า ตรงเข้าไปที่ประทับสูงแล้วก็จะมีแสงปรากฏนั่นคือเป็นที่ประทับของสมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าที่อยู่ข้างหน้า”
ต่อนี้ไปตัดขันธ์ ๕ ขอว่าพระรูปพระโฉมขององค์็สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระรูปพระโฉมเป็น อย่างไร ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้มีโอกาสได้นมัสการ ได้เป็นรูปชัด
ตอนนี้ตัดขันธ์ ๕ ขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ร่างกายเป็นทุกข์ ที่เราต้องกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ขัดขวางอยู่ตลอดเวลา ก็เพราะอาศัยขันธ์ ๕ เป็นสำคัญ ถ้าเราไม่มีขันธ์ ๕ เสียอย่างเดียว เราก็จหาคนด่าไม่ได้ หาคนว่าไม่ได้ หาคนกลั่นแกล้งไม่ได้ ที่เรายังมีคนด่าเราได้ มีคนว่าเราได้ มีคนกลั่นแกล้งเราได้ หรืว่ามีอาการป่วยไข้ไม่สบายได้ ก็เพราะอาศัยที่เรามีร่างกายเป็นสำคัญ
ฉะนั้นนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราจะไม่เห็นว่าร่างกายมีความหมาย ไม่เห็นว่าร่างกายมีความสำคัญ ถือว่าร่างกายเป็นศัตรูใหญ่สำหรับเรานะ จิตคิดอย่างนั้นไหม...?”
เปี๊ยก “คิดค่ะ”
หลวงพ่อ “เวลานี้มีแสงสว่างขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างแต่ยังไม่เห็นเป็นภาพค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้า ไม่เป็นไร สว่างขึ้นกว่าเก่าใช่ไหม จิตคิดดูซิ ว่าพระองค์เสด็จประทับอยู่ตรงไหน มีที่ประทับเฉพาะหรือว่ายืนอยู่”
เปี๊ยก “มีที่ประทับเป็นที่สูง ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “สูง ๆ หรือ จิตบอกว่าเป็นแท่นหรือเป็นเก้าอี้ เอาจิตเวลานี้บอก ตอบตามเรื่องของจิต”
เปี๊ยก “เป็นแท่นค่ะ”
หลวงพ่อ “เป็นแท่นเรอะ ตามความรู้สึกของจิตบอกว่าท่านเสด็จประทับนั่งขัดสมาธิหรือว่าห้อยพระบาท ทั้ง ๒ ข้าง ความจริงท่านยิ้มแล้วนะ น่าจะใสขึ้นแล้วนะ ใสขึ้นหน่อยไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างขึ้นค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่างขึ้นแล้วนะ”
เปี๊ยก “แล้วห้อยพระบาทค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ...ถูกต้อง ถูกต้องตามนั้น กราบท่านลูก”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “จำไว้นะ ถ้าทำจิตแบบนี้ไม่ช้าก็เห็นภาพ ปลงขันธ์ ๕ อีกสักครั้งหนึ่งซิ ตั้งใจปลงขันธ์ ๕ ว่า คนที่เกิดมาในโลกทั้งหมด แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงขันธ์ ๕ อยู่ สมเด็จพระบรมครูก็ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ เป็นผู้เลิศกว่ามนุษย์ทั้งหลาย เลิศกว่าเทวดาทั้งหมด เลิศกว่าพรหมทั้งหมด เพราะว่าทรงเป็นครูสอนทั้งคน ทั้งเทวดาและทั้งพรหม แต่ทว่าในที่สุดขันธ์ ๕ ของพระองค์ก็ต้องตกในสภาวะของธรรมด คือ เมื่อมีความเกิดขึ้นแล้วก็แก่ไปทุกวัน
ในสมัยเมื่อองค์สมเด็จพระทรงธรรม์ยังทรงชีวิตอยู่ สมเด็จพระบรมครูก็ยังทรงมีป่วยไข้ไม่สบายเหมือนกับเรา นั่นคือขันธ์ ๕ นะ และในที่สุดขันธ์ ๕ ของพระองค์ก็ดับ คือเข้าสู่พระนิพพาน และเวลานี้เราก็มีสภาพเช่นเดียวกัน คือว่าองค์สมเด็จพระพิชิตมารพระองค์ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ ในที่สุดขันธ์ ๕ ของพระองค์ก็ต้องพัง ร่างกายของเราก็มีสภาพเช่นเดียวกัน นับตั้ยแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ขอยึดถือขันธ์ ๕ ที่เป็นสภาวะที่เป็นปัจจัยของความทุกข์ เราเลิกกันนะ
ความเป็นคนเราก็ไม่เอา
ความเป็นเทวดาเราก็ไม่ต้องการ
เป็นพรหมเราก็ไม่ต้องการ
ขึ้นชื่อว่าวัตถุทั้งหลายที่เป็นทรัพย์สินทั้งหลายในโลกนี้ ทุกคนมักจะมัวเมาในชีวิตของตน คิดว่าร่างกายของตนจะไม่ตาย ร่างกายของตนจะไม่แก่ ในที่สุดร่งกายของตนก็ต้องตายต้องแก่ มีทรัพย์สินมากเทาไหรก็ไม่สามารถจะแบกไปชาติหน้าได้ ตายแล้วต่างคนต่างก็ปล่อยกันไป
ทีนี้ในเมื่อสภาพความจริงของโลกเป็นอย่างนี้ เราก็จะไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด คือร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี วัตถุธาตุทั้งหมดก็ดี สิ่งทั้งหลรายเหล่านี้จะมีประดยชน์อยู่บ้าง เมือ่ชีวิตของเรายังอาศัยร่างกายอยู่ เมื่อตายแล้วมันก็ไม่ตามไป เราขอตัดมันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ไม่ต้องการมันนะ
ขอองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาโปรดประทานพระมหากรุณาธิคุณให้ข้าพระพุทธเจ้า ได้เห็นพระรูปพระโฉมของพระองค์ แม้ไม่ชัดก็ไม่เป็นไร ดูแสงสว่างขึ้นมากไหม...?”
เปี๊ยก “ยังไม่มากค่ะ”
หลวงพ่อ “มากกว่านิดไหม...?”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “ดีขึ้นกว่าเก่านะ เอาละตอนนี้ก็ขอทูลพระโอวาท ต้องเชื่อใจนะ เวลานี้จิตเป็นทิพย์มันถูกต้องทุกอย่างแล้ว ถามว่าข้าพพระพุทธเจ้าจะปฏิบัติอย่างไรด้วยวิธีสั้น ๆ ให้ตรงกับอารมณ์เพื่อความเป็นอรหันต์ในชาตินี้เชื่อจิตที่รับสัมผัส จิตมีความรู้สึกบอกว่ายังไง...? บอกได้ไหม..?”
เปี๊ยก “ยังไม่ได้ค่ะ”
หลวงพ่อ “ยังไม่ได้นะ ก็ตั้งใจนึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วลองนึกซิ ลองพิจารณาดูว่าเวลานี้นอกจากแสงสว่างของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีแสงสว่างพิเศษอะไรบ้างไหม นอกจากแสงนั้น จุดอาจจะไม่เท่ากัน มีไหม... เอายังงี้ก็แล้วกัน ทางซ้ายเปี๊ยกน่ะมีอะไรบ้าง...?”
เปี๊ยก “มีแสงค่ะ”
หลวงพ่อ “มีแสงเหรอ...?”
เปี๊ยก “ใจหนูมันยังสั่นอยู่ค่ะ”
หลวงพ่อ “ใจสั่น กลัวเหรอ รวบรวมกำลังใจ”
เปี๊ยก “แสงมากกว่าเมื่อกี้นี้ค่ะ”
หลวงพ่อ “ทำใจให้สบายลูก คิดว่าเวลานี้เราพบพระพุทธเจ้าเป็นของยาก และแสงข้าง ๆ น่ะไม่ใช่แม่ศรีนะ แม่จัน เห็นแม่จันแม่ของเปี๊ยกเป็นแม่ระดับที่สองรองลงมา”
เปี๊ยก “ท่านแม่ยืนใช่ไหมคะ...?”
หลวงพ่อ “ใช่ ... ยืน”
เปี๊ยก “ทางซ้ายค่ะ”
หลวงพ่อ “ใช่ทางซ้ายมือ ลองนึกดูซิว่าแม่แต่งเครื่องแบบสีอะไร...?”
เปี๊ยก “สีเขียวค่ะ”
หลวงพ่อ “สีเขียวเหรอ บอกแม่ขอให้เห็นชัดกว่านี้ ยกมือไหว้ท่าน ตั้งใจแสดงความเคารพนะ เขาคุมมานานแล้วนี่ ขอให้เห็นเครื่องแต่งกายเอาจุดใดจุดหนึ่ง ส่วนล่างหรือส่วนบนก็ได้ อย่าเพิ่งเห็นทั่วตัว เห็นท่านไหม...?”
เปี๊ยก “เห็นแต่มือค่ะ ท่่านประทับยืนค่ะ”
หลวงพ่อ เห็นยืนใช่ไหม... มัวใช่ไหม ... เอ้าดีใจตัดขันธ์ ๕ บอกแม่ช่วย ขอบารมีพระพุทธเจ้าช่วย ขอบารมีท่านแม่ช่วย ขอให้มีอารมณ์จิตแจ่มใส ขอให้มีโอกาสได้ชัด ๆ ยิ่งกว่านี้ ทำใจให้สบาย อย่าให้ใจมันสั่น ทำอารมณ์ให้เป็นสุข ถือว่าแดนนี้เป็นแดนของความสุข เราถือว่า การขึ้นมาได้แค่นี้ถือว่าเราเป็นผู้ชนะกิเลสแล้ว ถ้าเราเป็นเหยื่อของกิเลสอยู่เราขึ้นมาไม่ได้ นี่เราเป็นผู้ชนะ เห็นแสงสว่างขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “ดีขึ้นแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “เห็นแล้วลองบอกลักษณะรูปร่างของแม่ซิ”
เปี๊ยก “ท่านผอมค่ะ องค์ท่านค่อนข้างสูงค่ะ”
หลวงพ่อ “ค่อนข้างสูง อย่างนี้เขาไม่เรียกผอม ผอมมันก็เป็นเปรต เพรียวใช่ไหม..?”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “อย่าไปเรียกผอมซิ ค่อนข้างสูง พอมองเห็นใช่ไหมนี่ เห็นทั้งองค์ใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “เห็นผ้านุ่งค่ะ ท่านยืนหันหน้าเอียงไปทางหลวงพ่อ...”
หลวงพ่อ “ใช่ ๆ ยืนเฉียงนิด ๆ ดูตรงรองเท้าซิสวมอะไร...มีเครื่องประดับข้อเท้าหรือเปล่า...?”
เปี๊ยก “ข้อเท้ามีกำไลค่ะ”
หลวงพ่อ “กำไลทำด้วยแก้วหรือทอง...?”
เปี๊ยก “ทองค่ะ”
หลวงพ่อ “เป็นทองเหรอ ทองแท้ ๆ หรือผสมอะไรบ้าง...?”
เปี๊ยก “ทองเหลืองมากนะคะ วาว ๆ นิด ๆ แต่ไม่ค่อยใสค่ะ”
หลวงพ่อ “ถามแม่ซิ กำไลเท้าเป็นทองหรือเป็นแก้ว ถามเลยถ้าจิตบอกยังไงก็ตอบมา”
เปี๊ยก “เป็นแก้วแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “เป็นแก้วหรือ ใช่ ถูกต้อง ถามเขาตามนั้นนะ ต้องรักษาอารมณ์ นี่เกร็งเกินไป”
เปี๊ยก “ใจมันสั่นค่ะ”
หลวงพ่อ “ใจสั่นนี่มันเกร็งเกินไป ทีหลังทำใจสบาย ๆ นะ ไอ้แกไฟมันคอยจะดับอยู่เรื่อยนี่”
เปี๊ยก “เมื่อกี้หลวงพ่อมาใจมันสั่นค่ะ”
หลวงพ่อ “ทีหลังทำใจสบาย ๆ ซิ พ่อไม่ได้มาฆ่าใช่ไหม พ่อมาช่วย ต้องนึกอย่างนั้นนะ ขอทุกท่านที่ไม่สามารถจะเห็นเองได้ ก็วาดภาพตามนั้น คิดว่าเราอยู่ในสถานที่นี้ ถ้าบังเอิญคนใดคนหนึ่งคิดว่าตนเองอยู่ในสถานที่ใดก็ขอให้เชื่อ เพราะวันนี้พระและเทวดาพรหมคุมเต็มที่ ดูขึ้นมาตั้งแต่ผ้าของแม่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีอะไรหรือยัง...? บอกว่าอยากจะต้องการเห็นชุดใหญ่ ให้แม่แต่งชุดใหญ่”
เปี๊ยก “สีเริ่มสว่างขึ้นแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ชัดขึ้นไหมลูก..?”
เปี๊ยก “มันออกทอง ๆ แต่ไม่ใช่สีทองเข้มนะคะ”
หลวงพ่อ “ออกทอง ๆ นะ ทองเลื่อม ๆ ใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อดูซิ ลองดูไปตามอย่างที่แป๊วเขาดูซิ ดูขึ้นเรื่อย ๆ ลักษณะผ้านุ่งลักษณะไหน...?”
เปี๊ยก “ผ้าเป็นชุดไทยค่ะ มีเข็มขัดค่ะ”
เปี๊ยก “เข็มขัดท่านเป็นทองวาว ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “เป็นทองวาว ๆ เฉย ๆ หรือว่าเป็นอะไร...? ลองถามแม่เขาดูซิ”
เปี๊ยก “เป็นแก้วผสมค่ะ”
หลวงพ่อ “แพรวพราวนะ”
เปี๊ยก “แต่ยังไม่มากค่ะ เห็นแต่ว่าเริ่มใสขึ้นค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ จิตเริ่มดีขึ้นแล้ว จิตตกใจมากเกินไป แล้วก็ดูเสื้อซิ แขนสั้นหรือแขนยาว...? เอาจิตถาม มโนมยิทธิแปลว่ามีฤทธิ์ทางใจ”
เปี๊ยก “แขนยาวค่ะ”
หลวงพ่อ “แขนยาวเหรอ นอกจากแม่จันแล้ว ข้างหลังมีอะไรไหม..? มีความรู้สึกบอกว่ามีใครยืนอยู่สักคนไหม...?”
เปี๊ยก “มีแสงแต่ว่าไม่ทราบค่ะ”
หลวงพ่อ “มีแสง ถามว่าแม่ศรีใช่ไหม...? แกจะเขกหัวแกแล้วนะน่ะ นี่เขาแม่ใหญ่ ถามแม่จัน แม่ศรีใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ใช่ค่ะ ยืนถัดต่อไปค่ะ”
หลวงพ่อ “ยืนยิ้มอยู่นานแล้วแกจะเขกหัวเอ็งแล้วเมือ่กี้นี้ เขาบอกว่าไม่รู้หรือ สองคนแต่งตัวคล้ายคลึงกันไหม..? ขอบารมีท่านแม่ทั้ง ๒ องค์ ขอให้เห็นให้ชัดกว่านี้ เห็นดีขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างขึ้นเยอะเลยค่ะ”
หลวงพ่อ “ทีหลังคุมอารมณ์สมาธิให้ดีนะ ตั้งใจปลงขันธ์ ๕ อีก ลองปลงซิมีความรู้สึกในร่างกายเป็นอย่างไร...?”
เปี๊ยก “คิดว่าหนูไม่ห่วงใยในอะไรทั้งหมดแล้วต่อไปนี้”
หลวงพ่อ “งั้นเหรอ มาอยู่บนนี้ อารมณ์ใจสบายดีกว่ามนุษย์หรือสบายเท่ามนุษย์”
เปี๊ยก “ใจสบายกว่าค่ะ”
หลวงพ่อ “ดีกว่านะ ถ้าอยู่กับแม่ดีกว่าอยู่มนุษย์ในโลกนะ ตัดสินใจว่าเราเลิกกัน ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ไอ้กฏของกรรมใด ๆ ที่ทำให้เราเป็นทุกข์ เราถือว่านั่นเป็นกฏของอกุศล กรรมที่เราทำมาก่อน เราจะใช้หนี้มัน เราจะไม่เดือดร้อนต่ออารมณ์ใดทั้งหมดที่มากระทบกระทั่งนะ แล้ววางอารมณ์เสีย แล้วก็ตอนนี้สว่างขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “สว่าง มีความรู้สึกว่าท่านแม่ศรียิ้ม หันหน้ามาทางหนู”
หลวงพ่อ “เอ้อ เขายิ้มตลอดเวลา ท่านแม่จันล่ะยิ้มหรือเปล่า...? แม่ศรีแกยิ้มมานานแล้ว แกหลอกเอ็งน่ะ เอ้อถ้างั้นละก็นมัสการพระพุทธเจ้านะ ขอให้ท่านแม่ทั้งสองพาไปหาท่านปู่ ท่านย่าา เดี๋ยวชนปู่ย่าตายนะนี่ เห็นแสงข้างหน้าไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่าง ๒ จุดใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “เป็นทางยาว ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “เข้าไปให้ถึงจุดว่าท่านปู่ ท่านย่าประทับอยู่ตรงไหน ขอให้ปรากฏพระรูปพระโฉมให้ชัด หรือไม่งั้นขอให้แสงสว่างขึ้น ถามแม่เขาก็แล้วกัน ถามซิว่าถึงหรือยัง...?”
เปี๊ยก “ค่ะ ถึงแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ถึงแล้วเหรอ ท่านปู่ท่านย่านั่งตรงไหน ถาม ๒ แม่เลย อย่าไปถามแม่เดียว จิตบอกว่าอย่างไร...?”
เปี๊ยก “จิตบอกว่าท่านปู่นั่งอยู่บนแท่น”
หลวงพ่อ “บนแท่น ท่านนั่งยังไง...?”
เปี๊ยก “นั่งห้อยขาค่ะ”
หลวงพ่อ “ห้อยกี่ข้าง...?”
เปี๊ยก “ห้อยข้างเดียวค่ะ”
หลวงพ่อ “แล้วท่านย่าล่ะ...?”
เปี๊ยก “ท่านย่าอยู่ทางซ้าย”
หลวงพ่อ “ทางซ้ายมือของท่านปู่ใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ใช่ค่ะ”
หลวงพ่อ “ตั้งใจตัดขันธ์ ๕ ใหม่ขอบารมีพระพุทธเจ้าช่วย บารมีท่านปู่ท่านย่าช่วย บารมีท่านแม่ช่วย แล้วก็บุญบารมีใด ๆ ที่เราบำเพ็ญกุศลมาแล้วนับเป็นเวลา ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป ขอบุญบารมีทังหมดจงรวมตัวให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเห็นท่านปู่ท่านย่าท่านแม่ ให้ชัดเจนแจ่มใส ดีขึ้นไหม...? จิตชักบอกว่าคล่องตัวขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “จิตนิ่งกว่าเมื่อกี้นี้ค่ะ”
หลวงพ่อ “จิตนิ่งเหรอ ความรู้สึกท่านปู่แต่งตัวอย่างไร...? ท่านแจ่มใสขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “ท่านแต่งเป็นสีใส ๆ คล้าย ๆ สีทองค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ... ถูก ท่านย่าล่ะ เอาจิตบอก รวบรวมกำลังใจให้เข้มแข็ง”
เปี๊ยก “ท่านย่าก็แต่งสีทองละเอียด ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ...ดีแล้ว ทำใจให้สบาย ๆ นะ นึกถอยหลัง คำว่าถอยหลัง คิดว่ามองดูร่างกายขันธ์ ๕ ข้างล่างเราจะทิ้งมันนะ มันจะตายเมื่อไรก็เชิญตาย เราไม่เสียดาย อยู่บนนี้เราสุขกว่าใช่ไหม...? ในเมื่อเราอยู่บนนี้เราสุขกว่า และถ้าเรามีโอกาสที่จะอยู่ได้ ทำไม เราจำจะต้องไปห่วงร่างกาย แต่ทว่าถ้าร่างกายมันยังไม่ตาย ก็ต้องเลี้ยงดูมันเป็นของธรรมดานะ เรียกว่าเราใช้หนี้ชั่วคราว ระยะไม่กี่ปีเราก็หมดหนี้แล้ว อย่างน้อยที่สุดเราก็มีโอกาสมาอยู่กับแม่ และท่านปู่ ท่านย่า ทีนี้กราบท่านซิ เข้าไปกราบท่าน ทำความเคารพท่าน นี่ไหว้แม่เขาหรือยังนี่....?”
เปี๊ยก “กราบแล้วค่ะ หนูกราบที่เท้าค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ กราบท่านปู่ ท่านย่าหรือยัง...?”
เปี๊ยก “ค่ะ กราบแล้วค่ะ
หลวงพ่อ “กราบท่านปู่ ดูความรู้สึกว่าท่านปู่ยิ้มหรือว่า ท่านเอามือมาทำอะไร? กราบตักท่านซิ เราเป็นหลานนี่”
เปี๊ยก “ท่านยิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “เข้าไปหาท่านย่า ความรู้สึกบอกว่าไง...?”
เปี๊ยก “ความรู้สึกว่าท่านเคยสอนหนูค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ...ว่าไงเหรอ”
เปี๊ยก “ท่าเคยเตือนหนูว่ายังแย่อยู่มาก”
หลวงพ่อ “เออ วันนี้ทำใจซิลูกนะ ทำใจให้เข้มแข็ง คำว่ากลัวอะไรก็เลิกนึกถึงมันนะ นี่เพียงแค่หลวงพ่อเิดินเข้ามา แกก็ลดวูบไปแล้ว นึกถึงว่าหลวงพ่อนะต้องการให้ลูกทุกคนได้ดี ไม่ใช่ว่าจะไปฆ่าลูกนะ ทำใจให้สบาย นึกถึงว่ายิ่งอยู่ใกล้ยิ่งดี เวลานี้ตัดสินใจทำใจให้เป็นสุข เราถือว่าเราอยู่ในแดนที่เป็นสุข และก็ลองถามแม่ซิว่าวิมานของเปี๊ยกเองที่นิพพานน่ะมีไหม ท่านว่าไง....?”
เปี๊ยก “ความรู้สึกบอกไม่มีค่ะ”
หลวงพ่อ “ยังไม่มี นี่แสดงว่าสมาธิมันยังโคลงเคลงมาก นี่เป็นอันว่าเวลานี้ใจมันยังสั่น ยังสั่นอยู่ไหม...?”
เปี๊ยก “สั่นไม่มากเท่าเมื่อกี้นี้องค์ท่านปู่ท่านย่าสว่างมากเลยค่ะ”
หลวงพ่อ “เอองั้นเหรอ ถ้างั้นดูปู่ย่าดีกว่า สว่างขึ้นแล้วเหรอ เห็นตัวท่านไหม...?”
เปี๊ยก “เห็นสว่างทั่วไปหมดเลยค่ะ”
หลวงพ่อ “ใช่ซี หากว่าท่านเปล่งรัศมี ถ้าเราจะสามารถจะเห็นได้ มันสว่างเลยสายตา ที่เราจะมองไปได้ เพราะบารมีท่านมากนะ พอเห็นพระองค์ท่านไหมตอนนี้...?”
เปี๊ยก “เห็นค่ะ ท่านสว่างแล้วก็ยิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “ใช่ ๆ รักษากำลังใจนะ ทรงกำลังใจไว้ตอนนี้ เวลานี้เอากันแค่นี้นะ เอากันแค่ท่านปู่ท่านย่า ท่านแม่ทั้งสองนะ เวลานี้พูดถึงแม่ศรี แล้วก็ท่านปู่พระอินทร์ แล้วก็ชายาของท่านและแม่จัน ถ้าบังเอิญใครคนใดคนหนึ่งจะไปเห็นภาพท่านนอกจากสถานที่นี้นะ ต้องถือว่าใช้ได้ เพราะเทวดานี่ใช้รัศมีกายแทนตัว หรือบางทีท่านนั่งอยู่ที่เดียว ท่านอาจจะสงเคราะห์คราวเดียว คนได้ทั้งโลก”

(จบคำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 820


 ข้อมูลส่วนตัว


หลวงพ่อพระมหาวีระ ถาวโร - ครูฝึก
คุณสมพร บุณยเกียรติ(เปี๊ยก) - ผู้รับการฝึก

ฝึกที่วัดท่าซุง บนศาลานวราช
เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ย. ๒๕๒๑

(หลังจากหลวงพ่อแนะนำวิธีการปฏิบัติและให้ภาวนาสัก ๑๐ นาทีแล้ว จึงเข้ามาสอบถาม)
หลวงพ่อ “เอ้าเปี๊ยกเอ๊ย สว่างไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่างมากไหม...?”
เปี๊ยก “เป็นแสงนวล ๆ เป็นลำยาวค่ะ”
หลวงพ่อ “พุ่งจิตไปตามแสงซิ อธิษฐานว่าแสงนี้ถ้าหากว่าเป็นแสงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้เห็นแสงนี้ด้วย เห็นไหม...?”
เปี๊ยก “เห็นเป็นดวงแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “เห็นเป็นดวงเรอะ ตั้งใจตัดขันธ์ ๕ นะ แล้วก็เห็นว่า
ร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายเกิดจากอำนาจของตัณหา เพราะอาศัยความอยากมี ความต้องการในความสวยสดงดงาม ต้องการเสียงเพราะ ต้องการรูปสวย ต้องการในรสอร่อย ต้องการกลิ่นหอม ต้องการสัมผัส เพราะความโง่ประเภทนี้ที่มีในจิตของเราในกาลก่อน จึงเป็นปัจจัยให้มีร่างกายที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ความสุขที่แท้จริงก็คือพระนิพพาน
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำว่าถ้าเราต้องการพระนิพพานให้ตัดขันธ์ ๕ เห็นว่าร่างกายของเรานี้เป็นของไม่ดี ร่างกายของบุคคลอื่นไม่ดี วัตถุธาตุไม่มีความหมายไม่เป็นเรื่องไม่เป็นสาระ เพราะสิ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยนำความทุกข์มา
ฉะนั้ันนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพระพุทธเจ้า จะขอยอมรับนับถือคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไม่มีจิตผูกพันในร่างกายของตนเอง ในร่างกายของบุคคลอื่น และในวัตถุธาตุทั้งหมด ขณะที่ปรากฏว่าชีวิตยังมีอยู่ก็จะทำทุกสิ่งทุกอย่างตามหน้าที่ เพราะว่าชีวิตินทรีย์นี้สิ้นแล้วเมื่อใด ข้าพเจ้าไม่ต้องการอะไรทั้งหมด นอกจากพระนิพพาน
ฉะนั้นขอบารมีขององค์สมเด็จพระพิชิตมารได้ทรงโปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็น พระรูปพระโฉมของพระองค์เห็นชัดเจน...สว่างขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างค่ะ”
หลวงพ่อ “เห็นไหม...?”
เปี๊ยก “ยังไม่เห็นค่ะ”
หลวงพ่อ “จิตบอก ความรู้สึกของจิตว่ายังไง...?”
เปี๊ยก “รู้สึกว่าพระพุทธองค์อยู่ตรงข้างหน้าค่ะ”
หลวงพ่อ “ข้างหน้าเหรอ เออใช้ได้ เป็นพระพุทธเจ้าองค์ไหน พระกุกุกสันโธ พระโกนาคม พระพุทธกัสสป พระสมณโคดม หรือพระพุทธทีปังกร หรือสมเด็จองค์ปฐม...?”
เปี๊ยก “สมเด็จพระสมณโคดมค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ ....ถูกต้อง จิตบอกว่าภาพของพระองค์เวลานี้ทรงเครื่องอะไร ห่มจีวรหรือเป็นภาพพระนิพพาน...?”
เปี๊ยก “รู้สึกว่าท่านเป็นภาพพระประทับยืนอยู่ค่ะ”
หลวงพ่อ “นมัสการท่านนะ ต้องเืชื่อจิต เวลานี้จิตคิดว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่ที่ไหน...?”
เปี๊ยก “อยู่ที่พระจุฬามณีค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ ไหว้่ท่านแล้วหรือยัง...?”
เปี๊ยก “กราบท่านแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ขอโอวาทของพระองค์ตรัสให้ตรงกับอัธยาศัยของข้าพระพุทธเจ้าที่ต้องการจะเข้า พระนิพพานในชาตินี้ ตั้งจิตรับสัมผัส มีความรู้สึว่าพระองค์ตรัสอย่างไร...?”
เปี๊ยก “ให้ตัดขันธ์ ๕ บ่อย ๆ เป็นประจำค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ...ดี ตอนนี้กราบท่านแล้ว หันหลังมาข้างหน้า”
ท่านนะ เอาจิตคิดรู้นะว่าเวลานี้ในพระจุฬามณีมีพระ มีเทวดา มีพรหมมากไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างค่ะ เทวดา พรหมท่านนั่งเตี้ยกว่าสมเด็จพระพุทธองค์นะคะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ เตี้ยกว่าสิลูก ดีแล้ว สว่างแต่ละจุด นั่นคือพระอริยเจ้านะ แถวหน้าสว่างมากไหม แถวรอง ๆ ล่ะ แถวไหนสว่างมากกว่ากัน...?”
เปี๊ยก “ข้างหน้าสว่างมากกว่าข้างหลังค่ะ”
หลวงพ่อ “เออต้องเห็นข้างหน้าสว่างมากกว่าข้างหลังนะ เพราะข้างหน้าเป็นพระอรหันต์นะ เห็นกี่แถว...?”
เปี๊ยก “ความรู้สึกบอก ๕ แถวค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ...เอาตามความรู้สึ จิตเป็นทิพย์ เป็นของธรรมดาไม่ผิดนะ แล้วก็มองดูตัวเราซิมีแสงสว่างไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างค่ะ”
หลวงพ่อ “ลองเทียบแสงของตัวเราเท่ากับแถวไหน? เท่าแถวที่เท่าไหร่...?”
เปี๊ยก “ถอยมาข้างหลังแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่างมาข้างหลังเหรอ แถวที่เท่าไหร่...?”
เปี๊ยก “ประมาณแถวที่ ๔ ค่ะ”
หลวงพ่อ “เห็นแถวที่ ๔ ต่อไปนี้ตัดตามหลวงพ่อนะ คิดว่าขันธ์ ๕ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรียกกันว่ากาย เอาง่าย ๆ นะ ร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ภายในมีน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เสลด เสมหะ อุจจาระ ปัสสาวะ มันเต็มไปด้วยความสกปรก ความรู้สึกเป็นตามนั้นไหม...?”
เปี๊ยก “เป็นค่ะ”
หลวงพ่อ “เป็นเหรอ เรารังเกียจร่างกายเรานะ รังเกียจไหม...?”
เปี๊ยก “น่าเกลียดและน่ากลัวด้วยค่ะ”
หลวงพ่อ “ทีนี้พูดถึงร่างกายคนอื่นที่เขาอยากจะรัก อยากจะครองคู่ซึ่งกันและกัน เพราะเห็นสวยสดงดงาม ทีนี้ร่างกายคนอื่นเราก็มีความรู้สึกอย่างนั้นไหม...? เกลียดไหม...?”
เปี๊ยก “ปกติก็ไม่รักอยู่แล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ปกติก็ไม่ชอบอยู่แล้วใช่ไหม ทีนี้ก็มุ่งการให้อภัยกับคนที่ทำให้เราไม่ชอบใจ”
เปี๊ยก “อันนี้หนูกำลังจะทำให้ได้ค่ะ”
หลวงพ่อ “กำลังจะทำให้ได้เหรอ ตัดสินใจว่า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะให้อภัยกับคนที่พูดไม่ชอบใจ แสดงอาการไม่ชอบใจให้ปรากฏแก่เรา ถือว่าอาการอย่างนั้นไม่เป็นสาระไม่เป็นแก่นสาร เป็นอาการของอบายภูมิใช่ไหม เป็นเหตุให้เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน พ้นจากนั้นมาก็มาเป็นคน เป็นคนที่ไม่มีความสุข แล้วก็เป็นปัจจัยให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ
นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอบารมีขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมา สัมพุทธเจ้าได้โปรดช่วยบังคับกระแสจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ทรงอยู่ตามสภาพ นี้คือ
เห็นร่างกายของคนทุกคน แม้แต่ร่างกายของตนเอง เต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก ไม่เกิดความกำหนัดยินดีในร่างกายนั้น ๆ ร่างกายของเขาหรือร่างกายของเรา
และให้จิตของข้าพระพุทธเจ้าเต็มไปด้วยความเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร มุทิตา พลอยยินดีในความดีของบุคคลอื่น และไม่อิจฉาริษยาใคร ๆ
ขอให้ใจของข้าพระพุทธเจ้าตั้งอยู่ในอุเบกขาวางเฉย ไม่สะดุ้งสะเทือนในคำนินทาว่าร้ายการเสียดสีต่าง ๆ อารมณ์ใจเป็นไปตามนั้นไหม...?”
เปี๊ยก “เป็นค่ะ”
หลวงพ่อ “เป็นแล้วเหรอ ดูแสงของตัวซิ สว่างขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างขึ้นค่ะ”
หลวงพ่อ “ไปเทียบกับแถวที่ ๓ ซิ เมื่อกี้อยู่แถวที่ ๔ ใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ใช่ค่ะ ขึ้นมาแถวที่ ๓ แล้วค่ะ แต่แถวที่ ๑ สว่างมากค่ะ”
หลวงพ่อ “เออใช่ ๆ เทียบแถวที่ ๓ นะ ตัดขันธ์ ๕ ต่อไปลูก ตัดต่อไปว่าขึ้นชื่อว่าขันธ์ ๕ คือร่างกายของเราก็ดี ร่างกายคนอื่นก็ดี วัตถุธาตุก็ดี เราจะไม่พึงปรารถนาใด ๆ ทั้งหมด ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ข้าพระพุทธเจ้าขอตัดร่างกายทิ้งไปจากจิต แต่ทว่าภารกิจที่จะต้องประคบประหงมร่างกาย ปรนเปรอร่างกาย เลี้ยงดูร่างกายเป็นหน้าที่ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าข้าพระพุทเจ้าสิ้นลมปราณแล้วเมื่อไร ก็จะขอเข้าพระนิพพาน
โดยเฉพาะเวลานี้ข้าพระพุทธเจ้าไม่สงสัยในคำสั่งสอนของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้ามุ่งปฏิบัติตรงเฉพาะพระนิพพาน ศีล ๕ประการหรือศีล ๘ ประการข้าพระพุทธเจ้าจะให้ทรงอยู่ในอารมณ์จิตอยู่ตลอดเวลา ความเห็นว่าร่างกายของบุคคลอื่นสวยต้องการประคับประคองเป็นคู่ครองจะไม่มีใน จิตของข้าพระพุทธเจ้าก็ดี ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี มีสภาพไม่ต่างอะไรกับซากศพที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
และข้าพระพุทธเจ้าจะตัดการรับสัมผัสจากคำครหานินทาก็ดี คำสรรเสริญก็ดีในโลกนี้เสียทั้งหมด โดยจะเชื่อฟังคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ว่าคำนินทาและสรรเสริญไม่ได้ทำให้คนดีหรือคนชั่ว จะดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวปฏิบัติ
ฉะนั้นคำสอนขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ในข้อนี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอรับปฏิบัติตามและตั้งใจนับแตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขึ้นชื่อว่าอารมณ์ใด ๆ ที่กระทบกระทั่งจิตของข้าพระพุทธเจ้าในฝ่ายนินทาก็ีดี ฝ่ายสรรเสริญก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าจะทิ้งเสียโดยทรงอุเบกขา
และข้าพระพุทธเจ้าจะไม่หลงใหลอยู่ในรูปฌานและอรูปฌาน คิดว่าพระนิพพานมีความดีกว่า จะไม่มีมานะการถือตัว ถือตน ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอขเา หรือว่าเราเลวกว่าเขา เพราะว่าร่างกายของทุกคนเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครกเหมือนกันหมด
และต่อไปข้าพระพุทธเจ้าจะเชื่อฟังคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคตว่า การเกาะอยู่ในตัณหาเป็นปัจัยให้เกิดทุกข์ ข้าพระพุทธเจ้าต้องการความสุขที่สุดก็คือพระนิพพาน
ฉะนั้นนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขึ้นชื่อว่าความปรารถนาในมนุษย์โลกก็ดี เทวโลกก็ดี พรหมโลกก็ดีจะไม่มีสำหรับข้าพระพุทธเจ้า ความต้องการหรือการเห็นว่าสวยสดงดงามในโลกทั้ง ๓ ไม่มี
ขอองค์สมเด็จพระมหามุนีได้ทรงโปรดช่วยบังคับกระแสจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ ทำลายสังโยชน์ทัง ๑๐ ประการให้พ้นไปจากกำลังใจของข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป...สว่าง ขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างมากค่ะ”
หลวงพ่อ “ส่ว่างขึ้น เทียบได้ชั้นไหนลูก แถวไหน...?” ขึ้นถึงแถวที่ ๒ หรือยัง...?”
เปี๊ยก “สว่างขึ้นมา แถวที่ ๒ แล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “เข้ามาเทียบแถวที่ ๒ เท่ากันไหม แสงสว่างของลูกกับแถวที่ ๒ เท่ากันไหม...?”
เปี๊ยก “รู้สึกใกล้ ๆ กันแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ใกล้ ๆ กัน ตัดใหม่นะ ตั้งใจไว้เลยโดยเฉพาะ ว่าชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายในการเกิดนะ ร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรก ทรัพย์สินทั้งหลายไม่เป็นสาระไม่เป็นแก่นสาร ทุกคนที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ก็เพราะมัวเมาในร่างกายคิดว่าร่างกายจะไม่แก่ คิดว่าร่างกายจะไม่ป่วย คิดว่าร่างกายจะไม่ตาย แต่ว่าสำหรับข้าพระพุทธเจ้านี้เห็นแล้วตามคำสั่งสอนของอค์สมเด็จพระจอมไตร ว่า ร่างกายไม่ใช่แดนของความสุข มันนำความทุกข์มาให้ทุกขณะ”
ฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หันไปกราบท่านนะ) ว่าข้าพระพุทธเจ้าขอยึดถือคำสั่งสอนของพระองค์ที่มีพระพุทธประสงค์ต้องการจะ รื้อสัตว์ขนสัตว์ให้เข้าถึงพระนิพพาน
เวลานี้ข้าพระพุทธเจ้าตัดได้แล้ว คือขันธ์ ๕ ของข้าพระพุทธเจ้าก็ดี ขันธ์ ๕ คือ ร่างกายของบุคคลอื่นก็ดี นี่มันเต็มไปด้วยความสกปรกและก็มีความไม่เที่ยง เอาจิตไปเกาะมันก็เป็นทุกข์ เวลานี้จิตของข้าพระพุทธเจ้าไม่สนใจร่างกายอันเป็นทะุกข์นั้น ถึงแม้ขณะที่จะอยู่ที่นี่ ร่างกายที่จะอยู่ในภาพมนุษย์มันจะพังไปเวลานี้ ข้าพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สนใจ ไม่เสียดายอาลัยมัน
ฉะนั้นขอองค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าขอได้โปรดแผ่บารมีมา โปรดข้าพระพุทธเจ้า ขอให้ข้าพระพุทธเจ้ามีรัศมีกายสว่างไสวเต็มที่ มากกว่านี้ด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า สว่างขึ้นไหม...?”
เปี๊ยก “สว่างค่ะ”
หลวงพ่อ “ความสว่างเท่าแถวที่ ๒ หรือยัง...?”
เปี๊ยก “ความรู้สึกจะมากกว่านิดหนึ่งค่ะ”
หลวงพ่อ “มากกว่านิดหนึ่งเหรอ เออ... ตัดต่อไปอีกลูก ตัดไป... ขอรวบยอดว่าร่างกายที่เต็มไปด้วยความสกปรก การเวียนว่ายตายเกิดเต็มไปด้วยความทุกข์”
มนุษย์โลก เต็มไปด้วยความวุ่นวาย หาความสุขไม่ได้
เทวโลก คือสวรรค์จัดว่าเป็นแดนที่มีความสุข ก็ยังมีกามารมณ์ คือมีผู้หญิงผู้ชาย
พรหมโลก จัดว่าเป็นแดนที่สบาย ตั้งอยู่้ในอารมณ์สงบคือในฌาน อยู่ด้วยอำนาจของธรรมปิติ
แต่ท่ว่าทั้งสามแดนนี้ไม่เป็นที่ปรารถนาของเรา เพราะไม่เป็นปัจจัยให้เกิดความสุข เทวโลกและพรหมโลกเป็นแดนที่ัพักความทุกข์ชั่วคราว
ฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าไม่ต้องการแดนทั้ง ๓ นี้ ขออำนาจบุญบารมีขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และบุญบารมีที่ข้าพระพุทธเจ้าได้บำเำพ็ญมาแล้วถึง ๑๖ อสงไขย และมีกำไรแสนกัป ขอบุญทั้งสองประการนี้จงประคัุบประคองกระแสจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้มีความใส สะอาดเท่าแถวที่ ๑ จิตตัดได้ตามนั้นไหม..?”
เปี๊ยก “ได้ค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่างขึ้นไหม..?”
เปี๊ยก “สว่างค่ะ”
หลวงพ่อ “เทียบกับแถวที่ ๑ ใกล้กันหรือยัง...?”
เปี๊ยก “รู้สึกว่าน้อยกว่าอีกนิดหนึ่งค่ะ”
หลวงพ่อ “น้อยกว่าอีกนิดหนึ่งหรือ ลองตัดต่อไปอีกซิ ตั้งใจตัด คิดในใจเลยนะว่าร่างกายเลว ๆ โลกเลว ๆ อย่างนั้น เราไม่ต้องการมันอีก แต่ว่าถ้าขันธ์ ๕ ทรงอยู่ เราจะทำทุกสิ่งทุกอย่างตามหน้าที่ให้ครบถ้วนนะ การมีทุกข์เพราะวาจากของบุคคลอื่น คือหมายความว่าจะมีการกระทบกระทั่งจากวาจาของบุคคลอื่นก็ดี การกระทำของบุคคลอื่นก็ดี คือทุกข์ใด ๆ ที่จะกระทบทางกาายด้วยการป่วยไข้ไม่สบายก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าถือว่าเป็นกฎของกรรม ความชั่วของข้าพระพุทธเจ้าในชาติก่อนมันมาสนอง
ฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าจะถือว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเกิดขึ้นแก่ข้าพระ พุทธเจ้า จะถือว่าใช้หนี้กฎของกรรมไปโดยไม่คำนึงจะไปโกรธเคืองใครหรือว่ามีความเ่ร่า ร้อนใจ เมื่อทุกขเวทนาเกิดขึ้น เมือสิ้นลมปราณจากชาตินี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอติดตามองค์สมเด็จพระประทีปแล้วไปอยู่ที่พระนิพพาน...สว่าง ขึ้นไหม..?”
เปี๊ยก “สว่างมากวก่าเมื่อกี้ค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่างมากกว่าเมือ่กี้ แต่ยังไม่เท่าแถวที่ ๑ ใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ใช่ค่ะ”
หลวงพ่อ “เอาล่ะใช้ได้นะ ตอนนี้ก็ลองพิจารณาดูตัวซิ จิตบอกตัวเองแต่งแบบไหน...?”
เปี๊ยก “ตัวเองเป็นผู้หญิงค่ะ”
หลวงพ่อ “มีเครื่องประดับแบบไหน ตามความรู้สึกของจิต...?”
เปี๊ยก “มองดูมัน...”
หลวงพ่อ “ไม่ต้องมองลูก เอาความรู้สึกของจิต”
เปี๊ยก “รู้สึกไม่ได้ห่มสไบ แล้วข้างหลังเหมือนละคอนชาตรีที่เป็นแผ่นปักดูมันหนาค่ะ และพื้นข้างในเป็นสีเขียว แต่มันมองไม่ออกเขียว”
หลวงพ่อ “ไม่เขียวเพราะเครื่องประดับมันเต็มไปหมดใช่ไหม...? เป็นแก้วสีอะไรลูก เป็นแก้วหรือเป็นทองที่ทับสีเขียวน่ะ...?”
เปี๊ยก “เป็นทองแต่มันใส ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “ทองใส ๆ ทองผสมแก้วนะ อย่างนี้เขาเรียกชุดใหญ่นะ ทรงชุดใหญ่ เอ้า...ลอเอาใจจับดูซิว่าเวลานี้ แม่ศรีและแม่จันมาหรือเปล่า...?”
เปี๊ยก “อยู่ข้างซ้ายหรือเปล่าคะ...?”
หลวงพ่อ “เออใช่ ๆ เขายืนคู่กันใช่ไหม จิตบอกอย่างนั้นหรือเปล่า...?”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “จิตบอกว่ายืนคู่กันนะ แม่ ๒ คนนี่รูปร่างคล้ายกันไหม...?”
เปี๊ยก “ไม่คล้ายค่ะ”
หลวงพ่อ “ไม่คล้ายเหรอ แล้วผิดกันตรงไหน...?”
เปี๊ยก “ท่านแม่จันเพรียวค่ะ ท่านแม่ศรีแบบไม่ค่อยสูงมาก แต่ก็สมส่วนค่ะ”
หลวงพ่อ “แม่จันเพรียวกว่าหน่อยใช่ไหม คล้ายสูงกว่านะ เวลานี้แม่เขายิ้มหรือเปล่านะ...?”
เปี๊ยก “ยิ้มค่ะ ท่านแม่ศรียิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “ท่านแม่ศรีเขายิ้มมานานแล้ว แม่ศรีแกเป็นแม่ใหญ่นะ ทุกคนที่มาเกิดเป็นลูกแกทั้งหมด เอ้อ...กราบพระพุทธเจ้าก่อนลูก และกราบพระอริยะก่อนทุกองค์นะ ตั้งใจกราบท่านนะ อันนี้ต้องถือเป็นสรณะ ขอความกรุณาจากท่านแม่ทั้ง ๒ พาไปหาท่านปู่ท่านย่า”
เปี๊ยก “ถึงแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ถึงแล้วใช่ไหม ปั๊บเดียวมันต้องถึงเลย ดูซิว่าพระแท่นที่ท่านปู่ท่านย่ากำลังประทับอยู่ที่นี่เป็นสีอะไรลูก...?”
เปี๊ยก “สว่างค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่างเข้าตามากไหมลูก เห็นลวดลายไหม..?”
เปี๊ยก “ไม่ค่อยเห็น มันออกแสงขาว ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “ออกแสงขาว ๆ ถูกแล้ว มีแสงสว่างจ้านะ ดูขึ้นไปบนแท่นเห็นท่านปู่ ท่านย่าไหม...? เอาจิตรับสัมผัส”
เปี๊ยก “ท่านปู่เห็น แต่ท่านย่าไม่ชัดค่ะ”
หลวงพ่อ “ขอบารมีท่านย่าโปรดสงเคราะห์หลาน หลานมีความพยายามแม้แต่งานการก็อยากจะลาออกเพราะอยากจะได้ดี ขอให้ท่านย่าโปรดหลาน ให้หลานให้เห็นชัด ๆ หน่อย ๆ เพราะว่า หลานตั้งใจมานมัสการท่านปู่ ท่านย่าก็เพราะความกตัญญูรู้คุณในความดีของท่าน”
เปี๊ยก “เห็นท่านย่ายิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “ยิ้มซี ยิ้มมานานแล้ว เออ...เข้าไปกราบท่านปู่ลูกกราบท่านปู่กับท่านย่า เมื่อกี้กราบแม่เขาหรือเปล่า...?”
เปี๊ยก “กราบค่ะ”
หลวงพ่อ “เวลานี้เข้าไปหาท่านย่าซิ ความรู้สึกว่าท่านย่าทำอย่างไร...?”
เปี๊ยก “โอบค่ะ เหมือนกับโอบหนู”
หลวงพ่อ “งั้นเหรอ เอ้อ...เห็นท่านชัดไหมตามรู้สึก...?”
เปี๊ยก “ความรู้สึกเห็นหน้าชัดกว่าเสื้อค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ...นั่นถูกแล้วอย่าไปใช้ตาไม่ได้นะ ที่นี่เขาใช้จิต เพราะที่มานี่มันเป็นจิต อย่านึกว่าเป็นภาพนึกก็ไม่ได้นะ อะไรก็ไม่ได้นะ เพราะว่ามันเป็นทิพย์ เราต้องรู้ด้วยกระแสจิต ท่านย่ากับท่านแม่ใครสาวกว่ากันนี่ มองหน้าซิทั้งสองแม่กับท่านย่าด้วย”
เปี๊ยก “ท่านย่าก็สาวค่ะ”
หลวงพ่อ “สาวเหรอ ท่านย่ากับท่านแม่ใครอ้วนกว่ากัน...?”
เปี๊ยก “ท่านย่าอ้วนกว่านิดหนึ่ง”
หลวงพ่อ “นิดเดียวนะ ดูท่านปู่ซิ ไปกราบท่านปู่ กราบที่ตักเลย เราเป็นหลานนี่”
เปี๊ยก “ท่านปู่ยกมือขึ้นลูบหัวหนูค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ...ใช่”
เปี๊ยก “ท่านปู่ ท่านองค์ใหญ่นะคะ”
หลวงพ่อ “เวลานี้ท่านปู่แต่งเครื่องประดับสีอะไรลูก...?”
เปี๊ยก “เป็นสีทองค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ...เป็นสีทอง ถูก ถ้าบอกท่านปู่มีสีเขียวละก็ผิดแน่ เพราะว่าวันนี้ท่านปู่ไม่ได้ใช้มรกตบนชฎาของท่านนะ ขอท่านปู่ท่านย่าว่า ขอเฝ้าทุกวันได้ไหม...?”
เปี๊ยก “ท่านบอกว่าได้ค่ะ”
หลวงพ่อ “แล้วก็เปี๊ยกอยากไปไหน ไปนิพพานไหม...?”
เปี๊ยก “อยากไปค่ะ หลวงพ่อ”
หลวงพ่อ “อยากไปเหรอ ขอกราบท่านปู่้ กราบท่านย่า และก็กราบท่านแม่ และนึกขอบารมีท่านปู่ ท่านย่า และท่านแม่ทั้งสอง นึกขอบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมกับบุญที่เราได้บำเพ็ญมา แล้วถึง ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป ขอความดีทั้งหมดนี้จงดลบันดาลให้ข้าพระพุทธเจ้าไปสู่แดนพระนิพพานได้โดยง่าย และขอให้ท่านแม่พาไป เอ้า...ไปบ้านหลวงพ่อก่อน ถึงหรือยัง...?”
เปี๊ยก “หน้าประตูสว่างค่ะ”
หลวงพ่อ “เออใช้ได้ พ่อเห็นแล้วแกไปยืนปร๋อที่นั่น สว่างมากใช่ไหม..?”
เปี๊ยก “ค่ะ เหมือนมีใครยืนอยู่คนหนึ่งค่ะ”
หลวงพ่อ “เข้าไปกราบท่านซิ ถามท่านว่าท่านเป็นใคร ขอท่านได้โปรดให้ลูกได้เห็นชัด ๆ หน่อย”
เปี๊ยก “แสงท่านมากนะคะ”
หลวงพ่อ “ท่านแม่หนูหรือเปล่าค่ะ ความรู้สึกบอกว่า ท่านแม่หนูบนพระนิพพานค่ะ
หลวงพ่อ “ถามท่านชื่ออะไรลูก แม่เรามันเยอะ”
เปี๊ยก “ท่านชื่อสิริพรรณวดีค่ะ
หลวงพ่อ “สิริพรรณวดี ถามท่านซิว่าเป็นญาติกับแม่ศรีหรือเปล่า...?”
เปี๊ยก “ท่านบอกว่าเป็นค่ะ”
หลวงพ่อ “ท่าเป็นพี่หรือเป็นน้อง...?”
เปี๊ยก “ท่านบอกว่าเป็นพี่ค่ะ”
หลวงพ่อ “เป็นพี่เหรอ เอ้อ...ดีเจอะแม่อีกแม่แล้วใช่ไหม ...ท่านแต่งตัวสวยไหม...?”
เปี๊ยก “เห็นไม่ชัด แต่ท่านสว่างเหลือเกินค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่างเหลือเกิน บอกให้แม่ลดแสงสักนิดหนึ่ง ให้เห็นเครื่องทรงชัด ๆ หน่อย ไหว้ท่านนะ แม่เป็นผู้ให้กำเนิด เราจะถือว่าใครดีเกินกว่าแม่นั้นไม่ได้ ชัดไหม...?”
เปี๊ยก “ไม่ค่อยชัด ออกขาว ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “ขาวพรึ่บไปทั้งตัวใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ใช่ค่ะ”
หลวงพ่อ “นี่แสดงว่าเห็นเครื่องแต่งกายของนิพพานชัด ท่านยิ้มหรือเปล่า...?”
เปี๊ยก “ยิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “ยิ้มเหรอ แล้วท่านแม่ศรีเห็นไหม...?”
เปี๊ยก “ท่านอยู่ทางขวาหรือเปล่าคะ...?”
หลวงพ่อ “เอ้อ...ใช่แล้ว อย่าสงสัยซี เห็นตรงไหน บอกหลวงพ่อมาตามนั้นนะ อย่าสงสัย คำว่าสงสัยในที่นี้ไม่มีใช่หรือไม่ใช่ไม่มีนะ ถ้าอารมณ์บอกยังไงต้องเชื่อตามนั้นทันทีนะ จำไว้อาการสงสัยน่ะเป็นอาการบ่อนทำลายความดี เห็นแม่ ๓ แม่นี่ใครแต่งตัวสวยกว่ากัน เอาจิตบอกลูก”
เปี๊ยก “สวยทุกองค์ แต่ว่าความสว่างท่านแม่บนพระนิพพานสว่างมากค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่างมากเพราะท่านเข้านิพพานแล้วใช่ไหม ท่านต้องสว่างมาก ถามทั้ง ๒ แม่ซิตัดสินใจเข้านิพพานชาตินี้หรือยัง...?”
เปี๊ยก “ตัดสินใจแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ดู ๒ แม่ซิ แม่ศรีกับแม่จัน เนื้อเป็นเนื้อทองหรือเป็นเนื้อแก้ว หรือเป็นเนื้อใสสะอาด...?”
เปี๊ยก “ใจบอกว่าเป็นแก้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ถ้าท่านแม่ตัดสินใจเข้าพระนิพพาน เนื้อแม่ต้องเป็นแก้วนะ ถ้าหากไม่ตัดสินใจเข้านิพพาน เนื้อแม่ก็เป็นแก้วไม่ได้ ขอให้ท่านแม่ทั้ง ๓ องค์พาเข้าไปในวิมานหลวงพ่อซิ แล้วขอบารมีแม่ทั้ง ๓ องค์ บอกขอให้เห็นทุกอย่างชัด คำว่าเห็นนี่ต้องรู้สึกทางจิตนะ อย่าเอาลูกตาไม่ได้ การรับสัมผัสก็เหมือนกัน อย่านึกว่าเราเอาหูไปด้วย นี่เราไม่ได้เอาไป ไปถึงไหม...?”
เปี๊ยก “เข้าประตูไปแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “มองดูซิสวยไหม...?”
เปี๊ยก “วิมานมีมณฑป ข้างในสว่างมากค่ะ”
หลวงพ่อ “ข้างในเห็นใครไหมลูก ความรู้สึกของจิตเห็นใครไหม...?”
เปี๊ยก “ความรู้สึกบอกว่าสมเด็จพระพุทธองค์อยู่ในนั้นค่ะ”
หลวงพ่อ “เข้าไปกราบท่านลูก เพราะเรามาจากพุทธานุสติกรรมฐาน อาศัยที่พวกเรามาจากพุทธานุสสติกรรมฐาน ฉะนั้นการจะไปที่ไหนจึงไม่คลาดจากพระพุทธเจ้า กราบท่านแล้วเหรอ...?”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “แล้วมองดูเวลานี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเครื่องอะไรลูก เป็นแบบเทวดหรือเป็นแบบพระธรรมดา ไหนบอกพ่อมาซิ...?”
เปี๊ยก “เป็นแบบเทวดาค่ะ ประทับนั่ง”
หลวงพ่อ “แล้วบอกตั้งแต่เท้าขึ้นไปซิมีเท้าสวมรองเท้า หรือเปล่า...?”
เปี๊ยก “ปลายรองเท้างอนค่ะ”
หลวงพ่อ “สีอะไรลูก...?”
เปี๊ยก “ใส ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “ใส ๆ จัดใช่ไหม มีแสงออก แล้วดูพระชงฆ์ของท่าน เนื้อของท่านเป็นอะไร เป็นแก้วหรือเป็นทอง...?”
เปี๊ยก “เนื้อใสเป็นแก้วค่ะ”
หลวงพ่อ “จากนั้นทรงผ้าโจงกระเบนหรือมีกางเกงด้วย”
เปี๊ยก “เหมือนกางเกงที่มีปลายแหลม ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “ดูเรื่อย ๆ ขึ้นไปนะ ค่อย ๆ ดูไปทีละน้อยนะ ดูเครื่องประดับส่วนพระอุระของพระองค์มีเครื่องประดับไหม...?”
เปี๊ยก “มีค่ะ”
หลวงพ่อ “มีอะไรลูก...?”
เปี๊ยก “เป็นแผงและมีสายห้อยก็มีค่ะ”
หลวงพ่อ “เออถูกต้อง ๆ ขึ้นไปดูที่ไหล่ทั้งสองซิ”
เปี๊ยก “ไหล่ทั้งสองมีปลายแหลม ๆ ยกขึ้นไปค่ะ”
หลวงพ่อ “เออใช้ได้ ดูพระพักตร์ของพระองค์สดชื่นไหม...?”
เปี๊ยก “พระพักตร์ของพระองค์แย้มพระโอษฐ์นิด ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “ทรงแย้มพระโอษฐ์นะ กราบท่านอีกครั้งหนึ่งนะ อาศัยบารมีของอค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราจึงขึ้นมาได้นะ กราบทูลว่าต่อแต่นี้ไปข้าพระพุทธเจ้าจะเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระองค์ทุกอย่าง ในสังโยชน์ ๑๐ ประการนี้จะไม่ให้เข้ามาบังคับใจของข้าพระพุทธเจ้าได้ ให้ตัดให้ขาดให้หมด และขอพรสมเด็จพระบรมสุคตท่านนะ ท่านยกมือหรือเปล่า...?”
เปี๊ยก “ตามความรู้สึกท่านยกมือขวา”
หลวงพ่อ “แสดงว่าท่านให้พรนะ แล้วดูวิมานของหลวงพ่อซิ รอบ ๆ นั่งมอง นึกว่ามันมีอะไรบ้าง...?”
เปี๊ยก “มันกว้างนะคะ”
หลวงพ่อ “มันกว้างใหญ่นะ แกเก่งมากแล้วนะ ดูทางขวาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากแม่ทั้ง ๓ แล้วมีใครมายืนยิ้ม ๆ อยู่บ้างไหม...?”
เปี๊ยก “คิดว่าเป็นหลวงพ่อค่ะ”
หลวงพ่อ “ใช้ได้นะ เห็นหลวงพ่อแต่งตัวอย่างไร...?”
เปี๊ยก “แต่งเป็นเทวดาเหมือนยืนอยู่ค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ... แต่งเป็นเทวดาเหรอ ใช้ได้นะ กราบพระพุทธเจ้า แล้วก็กราบแม่ทั้ง ๓ พาไปวิมานของลูกเอง...ถึงหรือยัง...?”
เปี๊ยก “ถึงแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ถึงแล้วใช่ไหม เล็กไปหน่อยหรือไง...?”
เปี๊ยก “ค่ะ วิมานหนูเล็กค่ะ”
หลวงพ่อ “ตัวมันเล็กนี่หว่า”
เปี๊ยก “เห็นแต่ข้างบนพราว ๆ แหลม ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “ค่อย ๆ ดูมันทีละน้อย ๆ ลูก ถ้าเห็นไม่ชัด นึกถึงบารมีพระพุทธเจ้านะ บารมีท่านแม่ทั้งหมด ทั้งท่านปู่ ท่านย่านะ แล้วก็บุญบารมีที่เราสร้างแล้วมาถึง ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นวิมานของข้าพระพุทธเจ้าได้ชัดขึ้น เพื่อความชื่นใจและความมั่นใจในความดี”
เปี๊ยก “เห็นเสาค่ะ แต่ยังไม่วาวค่ะ วิมานใหญ่กว่า เมื่อกี้นี้หน่อยแล้วค่ะ ห้องดูกว้างขึ้นค่ะ”
หลวงพ่อ “เมื่อกี้ใหญ่เท่าศาลพระภูมิได้ไหม...?”
เปี๊ยก “ได้ค่ะ”
หลวงพ่อ “เฮอะ เข้าไปได้ยังไงหว่า นึกถึงบารมีพระพุทธเจ้านะ ว่าเราจะมาได้เพราะอาศัยพระพุทธเจ้าเป็นกำลังใหญ่ ถ้าองค์สมเด็จพระจอมไตรไม่ทรงสอนเรา เราก็หาความดีอย่างนี้ไม่ได้ แม้แต่ศีลเราก็ไม่รู้ ฉะนั้นขอบารมีขององค์สมเด็จพระบรมครูให้ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็นวิมานข้าพระ พุทธเจ้าเองใหญ่เท่าปกติเท่าที่มีอยู่”
เปี๊ยก “ใหญ่ขึ้นอีกค่ะ”
หลวงพ่อ “ใหญ่มากไหม...?”
เปี๊ยก “ใหญ่กว่าเมื่อกี้นี้อีกเท่าหนึ่งค่ะ”
หลวงพ่อ “เข้าไปได้ไหม”
เปี๊ยก “เข้าได้ค่ะ”
หลวงพ่อ “เข้าไปเลยลูก”
เปี๊ยก “ความรู้สึกทำไมมันโล่งคะ”
หลวงพ่อ “เอ้า...โล่งซิ วิมานนี่ ฝนไม่สาดหรอก เป็นแก้วหรือเป็นทอง...?”
เปี๊ยก “ความรู้สึกเป็นแก้วค่ะ”
หลวงพ่อ “แก้วสีอะไรลูก...?”
เปี๊ยก “สีขาวค่ะ”
หลวงพ่อ “แพรวพราวใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ยังไม่ค่อยแพรวมาก”
หลวงพ่อ “เข้าไปดูมีที่นั่งไหม...?”
เปี๊ยก “มีค่ะ”
หลวงพ่อ “เข้าไปนั่งเลย ที่ของเรา แล้วก็เชิญให้ท่านแม่นั่งแท่นสูงกว่า”
เปี๊ยก “ท่านแม่นั่งแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “แล้วลูกนั่งแล้วหรือยัง...?”
เปี๊ยก “นั่งแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “นั่งสบายไหม...?”
เปี๊ยก “สบายค่ะ แต่ว่าใจมันยังไม่ทราบค่ะ มันไม่ค่อยกล้านั่ง”
หลวงพ่อ “ต้องกล้านั่งที่ของเรา เราตัดสินใจแล้วที่นี่ถ้าร่างกายพังเมื่อไร เราจะมาอยู่ที่นี่”
เปี๊ยก “แต่นั่งได้ค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ...ต้องนั่งให้ได้นะ อย่าทำใจแหยง เพราะว่าที่มนุษย์ก็ดี พรหมก็ดี เทวดาก็ดี เราไม่ต้องการแล้ว ถ้าร่างกายพังคราวนี้ เราจะอยู่ที่นี่แน่นอน ในฐานะที่เราเป็นเจ้าของบ้าน ต้องนั่งแบบภาคภูมิใจ สบายไหม...?”
เปี๊ยก “สบายค่ะ”
หลวงพ่อ “มองดูรอบ ๆ ซิมีเครื่องประดับไหม...?”
เปี๊ยก “มีแต่น้อยค่ะ”
หลวงพ่อ “อยากดูไหมล่ะ ตั้งใจอธิษฐานขอบุญบารมีที่ข้าพระพุทธเจ้าทำมาแล้วทั้งหมดสิ้นเวลา ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป บุญบารมีนี้ทำมาแล้ว มีสมบัติอะไรบ้างที่ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงมีในนิพพาน ขอให้ปรากฏทั้งหมดเวลานี้ เดี๋ยวแกไม่มีที่นั่งแน่”
เปี๊ยก “ความรู้สึกมันเยอะขึ้น”
หลวงพ่อ “แล้วที่เราเห็นโล่ง ๆ น่ะไม่ใช่อะไรนะ เขาจัดไว้พอดี ๆ นะ”
เปี๊ยก “รู้สึกวิมานมีสีทอง ๆ แกมถ้วยค่ะ”
หลวงพ่อ “แกลูกหลวงพ่อ หลวงพ่อชอบเล่นทองมาหลายแสนชาติ”
เปี๊ยก “นี้นี้เริ่มเห็นแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “เออมีอะไรบ้าง แล้วเปี๊ยกแต่งนุ่งผ้าอะไรบ้าง...?”
เปี๊ยก “นุ่งผ้าถุงค่ะ”
หลวงพ่อ “ตั้งใจตัดขันธ์ ๕ นะดูภาพของพระนิพพาน และจงพจิารณาดูว่าเวลานี้ที่เราอยู่ที่นิพพานกับที่เราอยู่ที่มนุษย์น่ะ อารมณ์ใจนิพพานสุขหรือมนุษย์สุข...?”
เปี๊ยก “นิพพานสุขค่ะ อารมณ์มันนิ่ง”
หลวงพ่อ “เย็น ๆ ใช่ไหม เย็นสบาย ดูตัวซิสว่างไสวไหม เห็นแม่ชัดไหม..?”
เปี๊ยก “ท่านแม่องค์พระนิพพานเห็นสว่าง แต่อีก ๒ องค์ยังไม่ชัดค่ะ ยังเป็นเงาค่ะ”
หลวงพ่อ “ยังเป็นเงาเหรอ ขอให้ท่านแม่ทำให้หนาหน่อย ขอท่านแม่ได้โปรดกรุณาให้เห็นให้ชัด แม่ทั้งนั้นแหละ”
เปี๊ยก “ท่านแม่ยิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “ยิ้มซี สว่างขึ้นหรือยัง...?”
เปี๊ยก “สว่างขึ้นนิดหนึ่งค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ แล้วก็ถามแม่ซิว่า แม่จะพาไปไหนอีก ถามแม่ใหญ่แดนพระนิพพาน ให้แม่ใหญ่พาไป”
เปี๊ยก “อยากไปดูตุ๊กตาหลวงพ่อค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้าไอ้พวกนี้ชอบเล่นตุ๊กตา ไปดูซิ”
เปี๊ยก “ท่านลุกขึ้นหมด ๓ องค์เลยค่ะ”
หลวงพ่อ “ทัง ๓ องค์นะซิ ไปทั้ง ๓ องค์ เจอะตุ๊กตาหรือยังล่ะ...?”
เปี๊ยก “มันมีสวนด้วยนะคะหลวงพ่อ”
หลวงพ่อ “สวน ดูซิ มีต้นไม้หรือเปล่า ต้นไม้สีอะไรลูก”
เปี๊ยก “มีค่ะ มันมืดค่ะ”
หลวงพ่อ “ขอบารมีท่านแม่ช่วย ขอให้ท่านแม่เห็นสว่างให้ชัด ๆ”
เปี๊ยก “ต้นไม้พุ่มเตี้ย ๆ ก็มี สว่างขึ้นแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ต้นไม้เตี้ยก็มี สูงก็มีใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “หลวงพ่อมีตุ๊กตาหินอ่อนในเมืองมนุษย์ค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อที่นี่เขาไม่มีหิน มีแต่แก้วหรือทอง”
เปี๊ยก “ลักษณะรูปร่างของตุ๊กตาคล้ายตุ๊กตาหินอ่อนค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ ใช่ ๆ แล้วมีอะไรอีก”
เปี๊ยก “เหมือนมีลานกว้างติดกับวิมาน”
หลวงพ่อ “เอ็งชอบเล่นตุ๊กตาหรือไง แม่ถึงพามาดูตุ๊กตา เอ้า เปี๊ยกล่ะเห็นอะไรอีก”
เปี๊ยก “เห็นตุ๊กตาหัวโต ๆ ค่ะ ตัวไม่ค่อยสูงมากตั้งอยู่ในตู้ค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อถามแม่ซิ อยากไปวิมานของแม่ไหม...?”
เปี๊ยก “อยากค่ะ”
หลวงพ่อ “ให้ท่านแม่พาไปเลยลูก ดูทั้ง ๓ วิมานเลยนะ แม่ใหญ่และแม่ศรี แม่จันนะ ขอชมบารมีของท่าน ถึงวิมานใครก่อน...?”
เปี๊ยก “วิมานแม่บนพระนิพพานวาวสว่างขาว ๆ มาก”
หลวงพ่อ “แล้ววิมานแม่ศรีล่ะ”
เปี๊ยก “ท่านแม่ก็ใสแต่ยังไม่สว่างเท่าวิมานเมื่อกี้นี้ค่ะ”
หลวงพ่อ “ก็ท่านยังไม่ขึ้นมานิพพานนี่ วิมานของใครที่อยู่ใกล้วิมานของพ่อที่สุด ๓ แม่นี่”
เปี๊ยก “ท่านแม่ศรีค่ะ”
หลวงพ่อ “อยู่ติดกันมากไหม เอ้อ...จะดูอะไรอีกลูก ตามใจ”
เปี๊ยก “อยากไปกราบท่านพญายมราช”
หลวงพ่อ “งั้นเหรอ ไปเฝ้าสมเด็จพระพุทธกัสสปก่อนนะ อยู่ใกล้ ๆ กับวิมานหลวงพ่อนะ นึกว่าจะไปก็ถึงแล้ว”
เปี๊ยก “เห็นเป็นพระพุทธชินราช”
หลวงพ่อ “ขอบารมีท่าน ขอให้แสดงภาพให้ชัดตามสภาพของพระนิพพาน”
เปี๊ยก “แต่งองค์เป็นเทวดา นั่งอยู่สูงค่ะ”
หลวงพ่อ “สวยมากไหม...?”
เปี๊ยก “สวยค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ...เข้าไปที่นี่ เห็นเตียงหลวงพ่อไหม พ่อเคยมาเฝ้าท่านมีเตียงประจำอยู่ มีหรือเปล่า...?”
เปี๊ยก “เตียงไม่สูงนะคะ”
หลวงพ่อ “อยู่ไม่ถึงกลางแข้งลูก สีอะไร...?”
เปี๊ยก “ออกทอง ๆ วาว ๆ ค่ะ”
หลวงพ่อ “เออใช่ถูกต้อง เตียงนี่ถ้าเวลาพ่อมาเฝ้าท่านนะ พ่อจะต้องมานั่งที่เตียงนี่เพราะเป็นที่ท่านบอกว่า ทำบุญมากับท่านนะ กราบนมัสการขอพร ท่านเป็นปู่”
เปี๊ยก “ท่านยิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “ท่านตรัสว่ายังไงไหม...?”
เปี๊ยก “ความรู้สึกบอกว่าท่านเคยมาสอนหนูแล้วค่ะ การตั้งอารมณ์ก่อนฝึกค่ะ”
หลวงพ่อ “กราบท่านนะ ลาท่านไปเฝ้าสมเด็จพระสมณโคดม ท่านเป็นครูเราจะต้องไปอยู่เสมอนะ เดี๋ยวถึงไปหาพญายมนะ ถึงท่านแล้วหรือยัง...?”
เปี๊ยก “ถึงแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ดูท่านสูง นั่งอยู่สูงไหม”
เปี๊ยก “นั่งสูงค่ะ”
หลวงพ่อ “ชัดไหม...?”
เปี๊ยก “เห็นพระพักตร์ท่านเป็นสีทอง ขวามือของท่านมีพระหันหน้าเข้าหาท่าน แต่ไม่เกศแหลมนะคะเอ้อ...พระสารีบุตรค่ะ”
หลวงพ่อ “เวลาเฝ้าพระพุทธเจ้าเขาต้องถอดชฎาออก”
เปี๊ยก “ท่านอยู่สูงมากนะคะ”
หลวงพ่อ “มีใครอีก...?”
เปี๊ยก “รู้สึกว่าอีกข้างเป็นท่านพระโมคคัลลาน์ค่ะ”
หลวงพ่อ “เออใช่ ๆ กราบท่านทั้ง ๓ องค์นะ แล้วขอพรว่าพระโมคคัลลาน์พระสารีบุตรก็ดี ว่าชาตินี้ข้าพระพุทธเจ้าตัดสินใจแล้วว่าจะไม่ต้องการแดนใดทั้งหมด นอกจากพระนิพพาน ขอสมเด็จพระพิชิตมารและอัครสาวกทั้งสองช่วยประคับประคองจิตใจของข้าพระ พุทธเจ้าให้ควบคุมอยู่ในแนวพระนิพพานตลอดไปจนกว่าจะึถึงเวลาตาย ได้เข้ามานิพพาน รู้สึกว่าท่านแสดงอะไรบ้างไหม...?”
เปี๊ยก “รู้สึกว่าท่านยกพระหัตถ์ขวา”
หลวงพ่อ “เอ้อท่านให้พรนะ แล้วขอพรพระองค์ว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะขอไปเยี่ยมท่านลุง ต้องเป็นท่านลุงนะ ท่านพญายมนี่ขอให้ทรงโปรดไปได้โดยสะดวก กราบท่านนะแล้วก็กราบท่านพระโมคคัลาน์พระสารีบุตร ชวนท่านแม่ทั้ง ๓ องค์ไปด้วยนะ ไปหาท่านปู่ท่านย่าเสียก่อน ต้องไปลาท่าน ถึงหรือยังลูก...?”
ถึงท่านปู่ท่านย่า กราบท่านนะ ขอบารมีท่านปู่ท่านย่า ขอให้ไปเที่ยวในแดนนรกได้แบบสะดวก ๆ นะ ต่อนี้ไปถ้าจะไปไหนขอบารมีท่านช่วยให้ไปได้โดยสะดวก ท่านว่าอย่างไรลูก...?”
เปี๊ยก “เห็นท่านยิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “ท่าย่าก็ยิ้มเหรอ...?”
เปี๊ยก “ค่ะ ท่านย่าก็ยิ้ม เหมือนยกมือขึ้นมาจะจับหัวหนูค่ะ”
หลวงพ่อ “เออ...กราบท่านนะ ลาท่านไปหาท่านลุงพญายามนะ ให้แม่ทั้ง ๓ พาไปด้วยนะ ตั้งใจไป ถึงหรือยัง...?”
เปี๊ยก “เหมือนลงมานะคะ”
หลวงพ่อ “ถึงหรือยังลูก...?”
เปี๊ยก “ถึงแล้วค่ะ”
หลวงพ่อ “ต้องถึงลูก แป๊บเดียวก็ถึง ที่นี่เขานึกแป๊บเดียวมันถึงเลยใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “เห็นมีองค์หนึ่งยืนอยู่”
หลวงพ่อ “เข้าไปไหว้ท่าน ถามท่านว่าท่านคือลุงพุฒใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ท่านยิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “ท่านยิ้มเหรอ ท่านแต่งตัวยังไง...?”
เปี๊ยก “ท่านอ้วนนะคะ”
หลวงพ่อ “ลุงแกปล่อยพุงอีกแล้ว กราบท่านบอกไอ้พุงโต ๆ นี่สมัยเป็นมนุษย์ไม่ต้องการ ต้องการในสมัยที่อยู่ที่นี่ ถ้าภาพเป็นพรหม ท่านทำไงสวยหรือยัง...?”
เปี๊ยก “สวยค่ะ แต่ยังไม่ชัดค่ะ”
หลวงพ่อ “เราต้องเชื่อจิต ถ้าไม่ชัดนะ ขอบารมีท่านลุงว่าหลานได้มีโอกาสมานมัสการท่านลุงเพราะโอกาสน้อยที่จะมาได้ ยาก ขอท่านลุงให้หลานเห็นชัด ๆ หลานอยากจะชมความงามและบารมีของท่านลุง”
เปี๊ยก “หนูงกราบเท้าท่าน ท่านก้มลงมาค่ะ”
หลวงพ่อ “เห็นชัดขึ้นไหม”
เปี๊ยก “ค่ะ รู้สึกชัดขึ้น ท่านยิ้มค่ะ”
หลวงพ่อ “แล้วต้องการอะไรจากท่านลุงอีกไหม...? เดี๋ยวก่อนมีปู่อีกคนหนึ่งที่เป็นนายบัญชี ว่าขอพบท่านด้วยนั่นน่ะควรจะเป็นทวดแล้ว”
เปี๊ยก “ท่านยืนต่อไปอีกค่ะ”
หลวงพ่อ “แต่งตัวคล้ายกันไหม”
เปี๊ยก “คล้าย ๆ กันค่ะ”
หลวงพ่อ “ดูแต่งตัวสีเดียวกันใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “ชมบารมีดูซิ ถามท่านลุง ความจริงลุงพุฒนี่เป็นพี่ชายหลวงพ่อ อีกองค์ท่านเป็นลุงหลวงพ่อ ต้องเป็นปู่นะ อยากจะดูเวลาท่านชำระความ บริเวณห้องโถงที่ชำระความมีอะไรบ้าง ตอนนั้นท่านลุงกับท่านปู่แต่งตัวแบบไหน นั่งแบบไหนขอเห็น ท่านทำให้เห็นหรือยัง...?”
เปี๊ยก “เห็นเป็นที่สูงข้างบน ข้างล่างเตี้ยลงมามีเตียงค่ะ”
หลวงพ่อ “มีเตียงเดียวหรือ ๓ เตียง ห้องโถงสวยไหม...?”
เปี๊ยก “รู้สึกว่าห้องกว้างค่ะ”
หลวงพ่อ “ขอให้ท่านปู่กับท่านลุงแล้วก็ท่านแม่ทั้ง ๓ ขอได้โปรดประทานให้เห็นให้ชัดขอความกรุณาท่านนะ เห็นชัดขึ้นไหม...มีความแพรวพราวสวยเหมือนบนสวรรค์ไหม...?”
เปี๊ยก “ไม่เหมือนค่ะ”
หลวงพ่อ “อับ ๆ กว่าหน่อยใช่ไหม แต่ก็สวยเหมือนกัน”
เปี๊ยก “ค่ะ ใช่”
หลวงพ่อ “แสงน้อยกว่าใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ใช่ค่ะ”
หลวงพ่อ “แสงน้อยกว่าเพราะอันนี้เป็นชั้นของจาตุมหาราช ลูก ต้องแสงน้อยกว่าหน่อยนะ และก็ดูบริเวณที่ท่านปู่กับท่านลุงยืนอยู่เห็นคนที่กำลังมีทุกข์มานั่งหรือหมอบอยู่ไหม...?”
เปี๊ยก “ความรู้สึกมีคนก้มหน้าฟุบอยู่ที่แท่นคนหนึ่ง”
หลวงพ่อ “ถามเขาเป็นอะไรตาย...?”
เปี๊ยก “เขาไม่ตอบค่ะ”
หลวงพ่อ “ถามเขาไม่ตอบ ถ้างั้นก็อุทิศส่วนกุศลเลยนะ ว่าบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วเริ่มต้นมาจนบัดนี้ถึง ๑๖ อสงไขยกับแสนกัป บุญนี้จะพึงมีประโยชน์แก่ข้าพเจ้าเพียงใด ขอท่านจงโมทนาบุญนี้ รับผลความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”
เปี๊ยก “ความรู้สึกเหมือนเขาเงยหน้าลุกขึ้นค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ ดูซิเขาเปลี่ยนแปลงไปไหม...?”
เปี๊ยก “ก็สว่างขึ้นค่ะ”
หลวงพ่อ “สว่างขึ้นดูเขาแต่งตัวเป็นยังไง...?”
เปี๊ยก “แต่งตัวเหมือนเทวดา แต่องค์ไม่ค่อยใหญ่มากค่ะ”
หลวงพ่อ “แต่งตัวเหมือนเทวดา แต่สวยน้อยกว่าเทวดาที่เราเห็นใช่ไหม...?”
เปี๊ยก “ใช่ค่ะ”
หลวงพ่อ “นั่นเพราะอาศัยบารมีเขาน้อยใช่ไหม เขาอาศัยบุญจากเราให้ อันนี้เราควรภูมิใจนะ ว่าบุญที่เรามีอยู่ว่าผีที่ตายแล้วมีโอกาสได้โมทนาบุญ แค่โมทนาบุญเขาก็สามารถเป็นเทวดาได้นะ”
เปี๊ยก “ค่ะ”
หลวงพ่อ “แล้วก็ดีใจ เวลาใกล้จะหมดลาท่านลุง ท่านปู่นะ แล้วก็กราบท่านแม่ทั้ง ๓ กราบท่านปู่ด้วยนะ ลาท่านกลับที่นะ แล้วขอพรท่านปู่ว่า โอกาสหน้าถ้ามาขอให้พาไปเที่ยวดูนรกด้วย ท่านว่าไง...?”
เปี๊ยก “ท่านยิ้มยกมือขึ้นจับหัวหนูค่ะ”
หลวงพ่อ “เอ้อ วันนี้ดีใจไหม เที่ยวได้...?”
เปี๊ยก “ดีใจมาก เพราะเป็นความหวังที่ต้องการไว้ค่ะ”
หลวงพ่อ “วันนี้ถ้าไม่เกงานก็ไม่ได้สินะ เป็นอันว่าเวลาหมดละนะ”

(จบคำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิ)

พระอาจินต์ ธมฺมจิตฺโต - ครูฝึก
คุณปรีชา เศวตประสาธน์ - ผู้รับการฝึก

ครู “อันดับแรกขอให้ทำใจให้สบาย ๆ อย่าเกร็งเกินไป ไม่ต้องกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องภาวนาอีกแล้ว ทำใจให้สบาย ๆ มาก ๆ และขอให้ตัดสินใจให้ดีว่าเราเกิดมาชาตินี้ มีร่างกายอย่างนี้ ขอให้พิจารณาดูซิว่า การเกิดมามีร่างกายอย่างนี้มันมีความสุขหรือมันมีความทุกข์ สุขมากหรือว่าทุกข์มาก ขอให้คิดดูให้ดีสักนิดหนึ่ง เราจะได้รู้ตามความเป็นจริงว่าร่างกายของเรานี้เป็นทุกข์ ร่างกายของบุคคลอื่นก็เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน และเราไม่ปรารถนาที่จะมีร่างกายนี้อีกต่อไป ตัดสินใจอย่างนี้เพื่อช่วยกำลังใจของเราให้มีความปลอด โปร่ง ให้มีความแจ่มใส
และขอให้ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลความดีที่ได้เคยทำมาแล้วตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ ว่าขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านผู้มีพระคุณทั้งหมด อันได้แก่บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ทั้งหลายและสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีความทุกข์ ขอให้ทุก ๆ ท่าน ทุก ๆ พระองค์ จงโมทนาในกุศลเจตนาของขจ้าพเจ้าในวันนี้ด้วย และขอให้ทุก ๆ ท่านได้ช่วยเป็นกำลังใจแก่ข้าพเจ้าในวันนี้ ให้มีกำลังใจแจ่มใส ขอให้รู้สึกเห็นได้ตามความเป็นจริง
ครู “เมื่อตั้งใจแผ่เมตตาไปเช่นนี้แล้ว อารมณ์ใจค่อยสบายดีกว่าเมื่อสักครู่นี้ไหม...?”
ศิษย์ “สบายครับ”
ครู “เมื่อจิตใจสบายดีแล้ว ไม่ห่วงใยสิ่งใดแล้ว ก็ขอให้ตั้งใจนึกถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกวาระหนึ่ง ขอให้พระองค์ท่านได้ทรงโปรดเมตตาปรานีแก่ข้าพระพุทธเจ้า ช่วยโปรดแผ่พระบารมีของพระองค์ ปกคลุมอทิสสมานกายและจิตใจของข้าพระพุทธเจ้า ให้มีอารมณ์ใจแจ่มใสรู้สึกสว่างขึ้นไหมตอนนี้...?”
ศิษย์ “สว่างครับ”
ครู “โปร่งใจขึ้นไหม...?”
ศิษย์ “โปร่งครับ”
ครู “นี่แหละ แสดงถึงว่าด้วยพระบารมีของพระองค์ท่านทรงพระภาคเจ้าเช่นนี้แล้ว ลองใช้ความรู้สึกของใจซิว่า พระองค์นั้นอยู่ใกล้หรืออยู่ไกลหรืออยู่สูง ขอให้ใช้ความรู้สึกของใจในขณะนี้ ใจบอกว่าอย่างไร...?”
ศิษย์ “อยู่ข้างหน้าครับ”
ครู “ถูกต้อง ท่านนั่งหรือท่านยืนล่ะ...?”
ศิษย์ “นั่ง”
ครู “รู้สึกเป็นพระสงฆ์หรือพระพุทธรูป”
ศิษย์ “พระพุทธรูปครับ”
ครู “ดีมากเลยนะ เมื่อเห็นองค์ท่านเช่นนี้ ขอขอบพระคุณพระองค์ท่านที่ทรงโปรดเมตตานำจิตข้าพระพุทธเจ้าให้มีจิตใจแจ่มใส และขอให้พระองค์ท่าน ได้ทรงโปรดเมตตานำไปที่พระจุฬามณีเจดียสถานเลยนะ”
ครู “พอจะเห็นไหม พระจุฬามณีเจียสถาน ถ้ารู้สึกว่าเห็นไกลขอให้น้อมใจเข้าไปใกล้ ๆ นะ ขอให้พระองค์ท่านได้ทรงโปรดเมตตานำไปให้ถึงด้วยนะใกล้หรือยัง...?”
ศิษย์ “ใกล้แล้วครับ”
ครู “ดูซิ ลักษณะของพระจุฬามณีที่เห็นอยู่ข้างหน้านี้เป็นเช่นไร ดูซิตามความรู้สึกของใจบอกว่าอย่างไร...?”
ศิษย์ (อึ้ง)
ครู “มีอะไรล้อมรอบไหม...?”
ศิษย์ “มี”
ครู “รู้สึกว่ามีอะไรล้อมรอบ...?”
ศิษย์ “รู้สึกว่าเป็นกำแพงล้อมรอบครับ”
ครู “ถูกต้อง ยาวไหม...?”
ศิษย์ “ยาวครับ”
ครู “เห็นซุ้มประตูไหม”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “ดูซิซุ้มประตูที่เห็นน่ะ สวยงามไหม...?”
ศิษย์ “สวยครับ”
ครู “เป็นแก้วหรือเป็นทองล่ะ...?”
ศิษย์ “เป็นแก้วครับ”
ครู “เอาละ เข้าไปในซุ้มเลยนะ ขออนุญาตผู้ที่รักษาประตูเข้าไป ขอเข้าไปในเขตภายในพระจุฬามณีเจดียสถาน มีประตูตรงฐานพระจุฬามณีไหม...?”
ศิษย์ “มีครับ”
ครู “ใหญ่ไหม”
ศิษย์ “ใหญ่ครับ”
ครู “สูงไหม...?”
ศิษย์ “สูงครับ”
ครู “เอาละขอเข้าไปเลยนะ อย่าลังเลใจนะ ตัดสินใจว่าลูกขอตั้งใจ ขอเข้าไปกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายในเขตจุฬามณีเจดียสถาน ขอพระองค์ท่านช่วยโปรดสงเคราห์เป็นกำลังใจแก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยนะ พระองค์ประทับที่ใดในเขตของพระจุฬามณีแห่งนี้ ขอได้โปรดเมตตา ปรากฏพระรูปพระโฉมของพระองค์ให้ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยนะ เห็นหรือยังตอนนี้...?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “อยู่สูงไหม...?”
ศิษย์ “สูงครับ”
ครู “สว่างขึ้นไหมเมื่อเข้ามาภายในพระจุฬามณีแห่งนี้...?”
ศิษย์ “สว่างครับ”
ครู “สบายใจขึ้นไหม...?”
ศิษย์ “สบายใจครับ”
ครู “เห็นตัวเราไหมเมื่ออยู่ข้างบนนี้...?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมไหม...?”
ศิษย์ “เปลี่ยนครับ”
ครู “ตัวเล็กหรือตัวใหญ่...?”
ศิษย์ “เล็ก”
ครู “มีเครื่องทรงบ้างไหม...?”
ศิษย์ “มี”
ครู “เป็นแก้วหรือเป็นทอง...?”
ศิษย์ “เป็นแก้ว”
ครู “ดีมากนะ เพราะฉะนั้นขอกราบพระพุทธองค์ซึ่งอยู่ในเขตภายในพระจุฬามณีเจดียสถานแห่งนี้ ขอขอบพระคุณและขอแสดงคารวะทุกท่าน มีใครยืนอยู่ใกล้ ๆ เราไหม...?”
ศิษย์ “หลวงพ่อ”
ครู “ดีมากนะ กราบขอบพระคุณกหลวงพ่อ ที่โปรดเมตตานำลูกขึ้นมาและขอให้หลวงพ่อนำไปกราบทุก ๆ ท่านซึ่งอยู่ในเขตนี้ เห็นเยอะไหม...?”
ศิษย์ “เยอะครับ”
ครู “ไปกราบท่านทุก ๆ พระองค์นะ เราจะได้มีความเคยชิน เมื่อเราได้ขึ้นมาบนนี้แล้วไปกราบท่าน กราบให้ทั่วเลยนะ ท่านนั่งอยู่ตรงไหนเราก็สามารถกราบท่านได้ ไม่ต้องเกรงกลัวท่านนะ ท่านมีความใจดี สว่างไหม แต่ละองค์ ๆ น่ะ...?”
ศิษย์ “สว่างครับ”
ครู “มีผู้หญิงบ้างไหม...?”
ศิษย์ “มีครับ”
ครู “แต่งตัวกันสวย ๆ ไหม...?”
ศิษย์ “สวยครับ”
ครู “ตอนนี้ขอให้เข้าไปในหมู่ที่ท่านนั่งเยอะเลยนะ ไม่ต้องกลัวท่านนะ เข้าไป จะได้กราบท่านมาก ๆ ท่านนั่งตั้งแถวยาวเพียงใดเราพยายามกราบให้หมดเลยนะ จะได้ทั่วถึงทุก ๆ องค์ องค์ไหนสว่างที่สุดพยายามเข้าไปหาองค์นั้นนะ มีไหม...?”
ศิษย์ “มี”
ครู “นั่งมองท่านสักครู่หนึ่งนะ เพื่อเป็นกำลังใจของเราให้ผ่องใส องค์นั้นสว่างมากไหม เป็นแก้วหรือยังตอนนี้...?”
ศิษย์ “เป็นแก้ว”
ครู “ทั้งองค์ไหม”
ศิษย์ “ทั้งองค์”
ครู “ดูไว้นะ อย่าใช้กำลังใจหนักนะ อย่าเกาะร่างกายปล่อยมันเสีย เราขึ้นมาได้แล้วด้วยกำลังใจของเรา อย่าเกาะร่างกายอีก ห่วงไหมร่างกาย...?”
ศิษย์ “ไม่ห่วง”
ครู “ดีมาก กำลังใจดีนะ ต่อไปก็จะขอพาไปดูภายในพระจุฬามณีเจดียสถานอีกจุดหนึ่ง ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าได้มีโอกาสเห็นพระเขี้ยวแก้ว และพระเมาฬีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระ จุฬามณีเจดียสถานนี้ด้วยนะ ขอให้มีโอกาสได้เห็นตามความเป็นจริงพระพุทธเจ้าข้า”
ครู “เห็นไหมครับ...?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “เป็นไง ลักษณะที่เห็นข้างหน้า ดูซิว่ามีสิ่งใดใส่พระเขี้ยวแก้ว”
ศิษย์ “เห็นอยู่ในพาน”
ครู “พระพุทธองค์ประทับอยู่ตรงนั้นด้วยไหม...?”
ศิษย์ “อยู่ครับ”
ครู “กราบท่านเลยนะ กราบใกล้ ๆ พาน กราบใกล้ ๆ พระพุทธองค์นะ เห็นท่านชัดขึ้นไหมตอนนี้...?”
ศิษย์ “ชัดครับ”
ครู “เห็นใบหน้าท่านไหม...?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “ดูไว้นะ พระเมาฬีที่อยู่บนพานมีความสวยสว่างเพียงใด เห็นแล้วชื่นใจเพียงใด เรามีโอกาสจะได้เห็นยากนะ ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และด้วยอานุภาพของพระเมาฬี ได้โปรดแผ่พระบารมีครอบคลุมจิตใจและอทิสสมานกายของลูกด้วย เพื่อช่วยให้แจ่มใสยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะ ลูกไม่ปรารถนาสิ่งใดอีกแล้วนอกจากพระนิพพานเท่านั้น”
ครู “ต่อไปขอไปพระนิพพานเลยนะ ของอค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้โปรดพาไปที่นิพพานตามพระองค์ท่านไปนะ”
ครู “เห็นวิมานสักหลังไหม”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “เข้าไปใกล้ ๆ นะ เข้าไปที่วิมานที่เห็นอยู่ไม่ไกลนัก เข้าไปให้ถึง เข้าไปตรงนั้น ตัดสินใจให้เด็ดขาดนะ ว่าชาตินี้ขอเป็นชาติสุดท้ายสำหรับข้าพระพุทธเจ้าไม่ปรารถนาในการที่จะมี ร่างกายอีกต่อไป ร่างกายอันแสนสกปรก ไม่ต้องการ เข้าไปหาองค์สมเด็จฯ นะ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ เรานี่แล้ว เข้าไปหาท่านนะ น้อมใจเข้าไปทำได้ไหม...?”
ศิษย์ “ได้ครับ”
ครู “กราบท่านหรือยัง”
ศิษย์ “กราบแล้ว ท่านนั่ง”
ครู “นั่งแบบไหน...?”
ศิษย์ “ห้อยพระบาท”
ครู “ถูกต้อง ดีมากนะ เข้าไปแล้วสว่างดีไหม เข้าไปให้ถึงตั้งใจเข้าไปอีกหน่อย อย่าห่วงร่างกายนะ ถ้าความรู้สึกยังห่วงลมหายใจอยู่จงปล่อยมันเสีย มันหนัก เราเอาใจไป เห็นตัวเราเองชัดขึ้นไหม...?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “มีเครื่องทรงไหม...?”
ศิษย์ “มี”
ครู “ดูซิ มีชฎาใส่ไหม...?”
ศิษย์ “มี”
ครู “นั่นแหละตัวเราจริง ๆ นะ ตัวนั้นเขาเรียกอทิสสมานกาย ขอให้ยอมรับความเป็นจริง ว่ากายนั้นเป็นกายจริง ๆ ของเรา ไม่ใช่กายเนื้อ เมื่อกายเนื้อตายไปแล้ว ไม่มีอะไรเหลือ ให้ทรงสภาพเป็นร่างกายอีกต่อไป แต่กายนี้แหละ คือกายจริง ๆ ของเรา ยังทรงอยู่ไม่สูญหายไปไหน กายเราเป็นแก้วอย่างนี้ ตัดความห่วงใยในร่างกายเสียให้หมดนะ ติดสินใจให้แน่นอนว่า เราขอปรารถนาพระนิพพาน ขอบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอได้โปรดเมตตาแผ่พระบารมี ครอบคลุมจิตใจและอทิสสมานกายของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อความผ่องใสด้วยนะ ลูกตั้งใจแน่นอนขอมาพระนิพพานในชาตินี้”
ครู “ต่อไปขออราธนาบารมีของพระองค์ท่าน ขอได้โปรดนำไปที่วิมานของข้าพระพุทธเจ้าบนพระนิพพานแห่งนี้ ขึ้นไปให้ถึงวิมานของเรานะ”
ครู “ขึ้นไหวไหม...?”
ศิษย์ “ไหวครับ”
ครู “สว่างขึ้นไหม...?”
ศิษย์ “สว่างครับ”
ครู “เป็นไง วิมานหลังใหญ่ไหม กว้างขวางไหม...?”
ศิษย์ “ใหญ่ครับ สูงครับ”
ครู “เข้าไปข้างในเลยนะ เข้าไปในวิมานของเราพยายามเข้าไปให้ได้ เมื่อเข้าไปในวิมาน ก็หาที่นั่งของเราเองซึ่งอยู่ในเขตวิมานของเรา ตั้งใจแน่นอนว่าเราขอตัดสินใจมานิพพาน ไม่ขอห่วงใยร่างกายอีก ร่างกายเป็นทุกข์ข้าพเจ้าไม่ขอห่วงใย ร่างกายที่มีภาระอันหนัก ข้าพเจ้าไม่ขอห่วงใย ตายเป็นตาย ตายเมื่อใดขอมาพระนิพพาน กราบองค์สมเด็จท่านอีกครั้งหนึ่งซึ่งท่านอยู่ใกล้ ๆ เราแล้วขณะนี้”
ครู “เห็นท่านชัดขึ้นไหม...?”
ศิษย์ “ชัดครับ”
ครู “สว่างไหมครับ รัศมีกายของพระองค์ท่าน...?”
ศิษย์ “สว่าง”
ครู “และขออารธนาบารมีท่านอีกครั้งหนึ่งนะ ขอฉัพพรรณรังสีของพระองค์ท่านได้แผ่ปกคลุมอทิสสมานกายของข้าพระพุทธเจ้า ให้มีความแจ่มใสยิ่งขึ้น ดูใหม่ซิ ตอนน้ร่างกายเราผ่องใสขึ้นไหม...?”
ศิษย์ “ผ่องใสครับ”
ครู “ดีนะ แสดงว่เรารักพระนิพพานจริง ๆ มีความไม่อาลัยในชีวิตจริง ๆ เรามีความสุขฉันใดขอตั้งใจแ่ผ่เมตตาให้บุคคคลอื่นบ้าง ขอให้ทุก ๆ ท่านที่มีความทุกข์ขอจงมีความสุขเช่นเดียวกับข้าพเจ้า ตลอดจนผู้มีพระคุณก็ขอตั้งใจอุทิศให้ทั้งหมด จะเป็นบิดา มารดา เทวดาและพรหมทั้งหมด ก็ขอตั้งใจให้เช่นเดียวกัน และขอตั้งใจมาพระนิพพานเช่นเดียวกับทุกท่านมาถึงพระนิพพานแล้ว”
ครู “เป็นไง เห็นตัวเองชัดขึ้นไหม..?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “เห็นสว่างขึ้นไหม...?”
ศิษย์ “สว่างครับ”
ครู “ดูให้ทั่วสรรพางค์นะ นั่งให้สบายนะ บนที่นั่งของเรา จะดูด้านไหนก็ได้ นั่งไปก็ดูไปรอบ ๆ วิมานของเรา มีความสวยงามประการใด ทั่วบริเวณทั้งภายนอกและภายใน มีเสา เห็นเสาไหม...?”
ศิษย์ “เห็น”
ครู “เป็นไงสูงไหม...?”
ศิษย์ “สูง”
ครู “มีลวดลายไหม...?”
ศิษย์ “มี”
ครู “เห็นเพดานไหม มีเครื่องประดับบนเพดานไหม..?”
ศิษย์ “เห็น”
ครู “เห็นแท่นที่ประทับขององค์สมเด็จไหม...?”
ศิษย์ “เห็น”
ครู “เป็นไงสวยดีไหม...?”
ศิษย์ “สวย”
ครู “เป็นแก้วหรือเป็นทอง...?”
ศิษย์ “เป็นแก้ว”
ครู “เอาละ ดูไว้นะ ดูให้ทั่ว ๆ เลยนะ ดูตัวเราบ้าง ดูตัวองค์สมเด็จบ้าง จิตใจก็ตั้งใจแน่นอน ว่าพระนิพพานมีความสุขอย่างนี้เราไม่ขอไปที่ไหนอีกแล้ว นอกจากพระนิพพานเท่านั้น ไม่ปรารถนาความเป็นเทวดา ไม่ปรารถนาแห่งการเป็นพรหมอีกต่อไป มนุษย์เราก็ไม่ต้องการอีกแล้ว มีพระนิพพานเท่านั้น พยายามตัดสินใจอีกนิดหนึ่ง พิจารณาดูใหดี ตัดความห่วงใยในร่างกายเสียให้ดี ร่างกายนั้นเป็นเพียงธาตุ ๔ เท่านั้น เกาะกุมคุมรูปเป็นร่างกายอยู่ ไม่ช้าไม่นานร่างกายจะต้องตาย เมื่อตายแล้วก็เน่าเปื่อยไปผุพังไป สลายตัวไป ในทีุ่สุด ไม่ยืนยงคงอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย ให้เป็นรูปร่างที่เราเคยเห็นอีก ไม่มีสิ่งใดเหลือเลย แม้แต่นิดเดียวนะ สลายไปกับกองไฟทั้งหมดทั้งสิ้น
ความจริงเป็นเช่นนี้ เพราะฉะนั้นตัดสินใจให้ดีว่าเราปรารถนาอย่างเดียวคือพระนิพพานนะ เข้าไปกราบขอพรองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตใจของข้าพระพุทธเจ้ามีความรักมีความยึดมั่นในพระรัตนตรัย ถ้าปรารถนาพระนิพพานก็ขอให้จงได้สมปรารถนา”
ครู “เห็นพระองค์ท่านไหม”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “ท่านแย้มพระโอษฐ์สักนิดไหม...?”
ศิษย์ “แย้มครับ”
ครู “ดีมาก อยู่ใกล้ ๆ ท่านมีความสุขดีไหม...?”
ศิษย์ “ดีครับ”
ครู “ดูเครื่องทรงของพระองค์ให้ถ้วนถี่ และชื่นชมพระบารมีของพระองค์ให้ทั่วถึง ท่านนั่งห้อยพระบาทสองข้างหรือข้างเดียว...?”
ศิษย์ “ข้างเดียว”
ครู “ดีมาก ถูกต้องแล้วนะ ข้างขวาหรือข้างซ้าย...?”
ศิษย์ “ห้อยข้างขวา”
ครู “ดูซินิพพานกว้างขวางไหม...?”
ศิษย์ “กว้างขวาง”
ครู “วิมานของเราใหญ่ไหม...?”
ศิษย์ “ใหญ่ครับ”
ครู “นี่แหละวิมานของเรา ซึ่งเราเห็นแล้วจะได้มีความภูมิใจ ต่อไปนี้จะพาไปยังวิมานขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ปัจจุบันอีก ครั้งหนึ่ง ขอพระองค์ท่านได้ทรงโปรดเมตตาปรานีนำไปด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า”
ครู “เห็นหรือยัง...?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “เห็นพระองค์ท่านนั่งสูงกว่าเดิมหรือต่ำกว่าเดิม...?”
ศิษย์ “สูงครับ”
ครู “องค์เล็กหรือองค์ใหญ่...?”
ศิษย์ “องค์ใหญ่”
ครู “สว่างไสวขึ้นไหม...?”
ศิษย์ “สว่าง”
ครู “ดูซิฉัพพรรณรังสีของพระองค์ท่าน ที่เปล่งออกมาล้อม ณ บัดนี้ เพราะว่าเป็นโอกาสที่เห็นยากทีเดียวนะ ฉัพพรรณรังสีของพระองค์ท่านซึ่งเปล่งเป็นประกายใสสว่างขณะนี้ ดูให้ชื่นใจนะตรงไหนมีดวงกลม ๆ มีบ้างไหม...?”
ศิษย์ “มีที่เศียรครับ”
ครู “ดูให้ชื่นใจ ดูไปก็ตั้งใจอธิษฐานไว้เลยนะว่าพระนิพพาน ข้าพระพุทธเจ้ามีความปรารถนาแน่นอน ตอนนี้ก็ไม่ขอห่วงใยอะไรอีกแล้ว ร่างกายเราก็ไม่ขอห่วงใยใคร ๆ ก็ไม่ขอห่วงใย จิตใจสบายดีไหม...?”
ศิษย์ “สบายดีครับ”
ครู “โปร่งดีนะ พระนิพพานมีความโปร่งอย่างนี้นะ ต่อไปจะพาไปที่วิมานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าพระพุทธ กัสสป ขอกราบลาท่านนะ กราบขอบพระคุณท่านที่โปรดเมตตานำมาภายในเขตวิมานของพระองค์ท่าน ขอพรองค์ท่านได้โปรดนำไปยังวิมานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนาม ว่าพระพุทธกัสสปด้วยเถิดพระพุทธเจ้าข้า”
ครู “ไปไหวไหม...?”
ศิษย์ “ไหวครับ”
ครู “วิมานพระองค์ท่่านใหญ่ไหม...?”
ศิษย์ “ใหญ่ครับ”
ครู “ใหญ่นะ เข้าไปกราบท่านนะ ขออราธนาบารมีท่าน ขอได้ช่วยโปรดเมตตาปรากฏพระรูปพระโฉมของพระองค์ท่ีานให้ผ่องใสชัดเจนด้วยนะ เห็นท่านหรือยัง...?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “เป็นไง สวยไหม...?”
ศิษย์ “สวยครับ”
ครู “เก่งมาก กราบพระคุณท่านนะ ขอชมพระบารมีท่านสักครู่หนึ่งให้อิ่มใจ สบายใจ ที่ได้มีโอกาสมากราบพระพุทธองค์ท่าน สว่างไหม รอบ ๆ พระองค์ท่าน”
ศิษย์ “สว่างไสวมาก”
ครู “เข้าไปนั่งตรงข้างหนึ่งข้างใดซิครับ เข้าไปได้ ไม่ต้องกลัวนะ ไปอยู่ข้างหลังท่านก็ได้ มีใครแวดล้อมพระองค์ท่านไหม...?”
ศิษย์ “มี”
ครู “กราบท่านทุกองค์นะ ท่านมีความสุขแล้ว เราถือโอกาสนี้ไปกราบท่านทุก ๆ พระองค์นะ”
ครู “เป็นไงเห็นใครบ้างไหม...?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “ไปกราบท่านอีกนะ ไม่ต้องกลัวท่านนะ เข้าไปหาท่าน เป็นไงสบายใจขึ้นอีกไหม...?”
ศิษย์ “สบายใจครับ”
ครู “ก็เป็นที่มั่นใจแล้วนะว่า เราสามารถมาพระนิพพานได้ เราจึงสบายใจเช่นนี้ มั่นใจไหม...?”
ศิษย์ “มั่นใจครับ”
ครู “เอาละตอนนี้ก็อยู่ใกล้ ๆ พระพุทธองค์อย่างนี้นะ อยู่ใกล้ ๆ ท่าน และทุก ๆ พระองค์ที่แวดล้อมพระองค์ท่านอยู่นะ เห็นตัวเราชัดขึ้นหรือยัง...?”
ศิษย์ “ชัดครับ”
ครู “เห็นด้านหลังของตัวเราไหม...?”
ศิษย์ “เห็นครับ”
ครู “มีเครื่องทรงสวยงามใช่ไหม...?”
ศิษย์ “ครับ”
ครู “เอาละอยู่กับพระองค์ท่านก่อนนะ”

(จบคำแนะนำการฝึกมโนมยิทธิ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2010, 14:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 820


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านที่ฝึกมโน มยิทธิได้แล้วตามที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นก็สามารถทำทิพจักขุญาณให้คล่องตัวขึ้น อีกมาก ถ้ารู้จักใช้ เมื่อเราได้มโนมยิทธิด้วยแล้ว เราสามารถใช้กำลังของมโนมยิทธิขึ้นไปถึงจุดสูงสุด คือ พระนิพพาน จิตเราหรืออทิสสมานกายขณะอยู่ที่นิพพานก็สะอาดที่สุด การรู้ก็ชัดเจนดี

ดังนั้น ในการฝึกญาณ ๘ ครูจึงนำท่านไปนิพพานก่อนในอันดับแรก แล้วใช้สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น วิมานพระพุทธเจ้า วิมานหลวงพ่อ ท่ามกลางสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นประธาน ท่านผู้มีพระคุณทั้งหมดอยู่พร้อมคอยช่วยเหลือเรา ประคับประคองเรา เช่นท่านที่เคยเป็นบิดา มารดา เรามาในกาลก่อน ท่านไม่ทิ้งเราแน่ เพราะขึ้นชื่อว่า พ่อ แม่ ไม่ทิ้งลูก ขอให้เรารู้จักท่านก่อน กราบไหว้ท่านก่อน ตามที่ฝึกได้แล้วตั้งแต่วันแรก

ที่มา http://www.larnbuddhism.com/grammathan/mano/yan8.html


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร