วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 17:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2010, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b42: :b42: :b42: พิจารณาขันธ์ ๕ :b42: :b42: :b42:
ปรารภธรรมโดย พระครูเกษมธรรมทัต (อาจารย์สุรศักดิ์ เขมรฺสี)

:b48: :b48: :b48:

นมตฺถุ รตนตฺยสส
ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอความผาสุก ความเจริญในธรรมจงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติทั้งหลาย


....ต่อไปนี้ก็จะได้ ปรารภธรรมะ ตามหลักคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นแนวทางต่อการปฏิบัติ ในการที่จะลดละสละกิเลส ด้วยว่าเราซึ่งเป็นผู้ที่ยังมีกิเลส ยังอยู่ในความทุกข์ ก็จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้กิเลสได้ลดลงไป ความทุกข์ก็จะได้น้อยลงไป ความทุกข์ทั้งหลายนี่ เมื่อสาวลงไปแล้วมันก็มาจากกิเลส ความทุกข์ที่มีอยู่ การอุบัติบังเกิดขึ้นของชีวิตนี้ก็เป็นทุกข์ เมื่อมีเกิดก็มีแก่ ความแก่ชราก็เป็นทุกข์อีก ความเจ็บป่วย ความไม่สบายกายก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากของความรักความเจริญใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์อีก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ที่จะต้องติดตามมา เพราะฉะนั้นความทุกข์ทั้งหลาย เมื่อสาวไปแล้วก็ มาจากกิเลส มาจากตัณหา มาจากอุปาทาน มาจากอวิชชา ความไม่รู้ความจริง ถ้ารู้แจ้งความจริง ก็จะสิ้นกิเลส เมื่อสิ้นกิเลส ก็ตัดเหตุแห่งความทุกข์ ที่มีชีวิตอยู่นี่ ก็เป็นก้อนทุกข์ ทุกข์ทั้งนั้นเลย คนอายุมากก็จะประจักษ์ ร้องว่ามันทุกข์ จะลุก จะนั่ง จะกิน จะถ่าย ให้มึน ให้เมื่อย ให้ เจ็บ ให้ป่วย ในทุกขุมขน งั้นความทุกข์นี่ แม้จะดูแลรักษาสุขภาพไว้อย่างดี มันจะไม่มีโรคไม่มีภัย ก็เป็นเพียงชั่วครู่ชั่วยาม เดี๋ยวมันก็มีโรคเบียดเบียน..(ต่อ..)


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 22 ก.ย. 2010, 11:21, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


......พระพุทธเจ้าตรัสเปรียบเหมือนร่างกายนี้ว่า ร่างกายที่มีหนังหุ้มเหือนดังฟองไข่ เมื่อเราคิดถึงฟองไข่ มัน มันพร้อมที่จะเสื่อมสลาย แตกสลาย อะไรไปทิ่มไปแทงมันก็จะแตก ได้ตรัสกับ คหบดีท่านหนึ่ง ชื่อว่า "กุละปิตา " ซึ่งเป็นคนแก่ เป็นคนป่วย ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยขอฟังธรรมะในขณะที่ตนเองเป็นคนแก่คนป่วย พระองค์ก็ได้ตรัสชี้แจงว่า นี่...สังขารนี้มันเป็นทุกข์ ก้อนทุกข์ แม้จะบริหารไว้อย่างดีก็ตาม มันจะไม่มีโรคก็เป็นเพียงชั่วครู่เทานั้น ร่างกายซึ่งมีหนังหุ้มอยู่ เป็นเหมือนฟองไข่ ย่อมจะต้องแตกดับ พระองค์ก็ทรงตรัสสอน กุละปิตาว่า....ร่างกายนี้กระสับ กระส่าย เพราะความชรา พึงกำหนดรู้ ไม่ให้จิตใจตองกระสับกระส่าย ร่างกายกระสับกระส่ายแต่จงรกษาจิตใจ ทำใจไม่กระสับกระส่ายด้วย
.......เมื่อ กุละปิตา คหบดี ออกจากฟังธรรมเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้มาเข้าพบ กราบท่าน พระ สารีบุตร ให้ช่วยขยายความ ของพระพุทธเจ้า แสดงธรรมย่อๆ ตนเองก็อยากฟังให้ชัดเจน ก็เข้าไปกราบพระ สารีบุตร พระสารีบุตร นี้ ก็เป็นผู้เลิศ ในทางปัญญา เป็นอัครสาวก เบื้องขวา เป็นเสนาฯ..เป็นธรรมะเสนาบดี พระสารีบุตรก็ได้ขยายความให้ฟัง ที่พระองค์ได้ตรัสถึงว่า กายนี้กระสับกระส่ายแต่ตรงจิตใจนี้อย่าให้กระสับกระส่าย ที่ว่ากายและจิตใจ กระสับกระส่ายก็ด้วยเพราะมี สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด ความยึดถือ ยึดมั่นในขันธ์ ๕

......มีความเห็นผิด ยึดถือว่า ขันธ์ ๕ เป็นเรา
......มีความเห็นผิดยึดผิดว่า เรามี ขันธ์ ๕
......มีความเห็นผิดว่า ขันธ์ ๕ อยู่ในเรา
......มีความเห็นผิดยึดผิดว่า เราอยู่ใน ขันธ์ ๕
รวมเรียกว่า "สักกายทิฏฐิ ๒๐ ประการ"

....เพราะขันธ์ มี ๕ เข้าไปยึดผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นเรา ก็เลยเข้าไป ๕ ประการ
ยึดผิดว่า เรามีขันธ์ ๕ ก็เข้าไปอีก ๕ ยึดผิดว่า ขันธ์ ๕ อยู่ในเรา ก็เข้าไปอีก ๕
ยึดผิดว่า เราอยู่ในขันธ์ ๕ ก็เข้าไปอีก ๕
เป็น สักกายทิฏฐิ ๒๐ ประการ.....
(ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: เพราะฉะนั้น " ขันธ์ ๕ " ความจริงแล้วไม่ใช่ตัวตน ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่เรามี ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ได้อยู่ในเรา และก็ไม่มีเรามาอยู่ใน ขันธ์ ๕ ....ชีวิตสังขารนี้ เป็นเพียงขันธ์ ๕
ขันธ์ ๕ มีอยู่จริง แต่ไม่ใช่ตัวตน ...งั้นชีวิตนี้ที่บอกว่า ไม่มีตัวไม่มีตน ไม่ได้หมายความว่า มันไม่ได้มีอะไรเลย ไม่ได้หมายความว่า มันว่างเปล่า เป็น อากาศธาตุ ไม่มี ไม่ใช่อย่างนั้น มันมีอยู่ ก็คือขันธ์ ๕ นี่แหละ แต่ว่าสิ่งที่มีอยู่นี้ มันไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัวตน หมายถึงว่า ความรู้สึกที่เป็นตัวเรานี้ เป็นเรา เป็นความเห็นผิด ยึดผิดอยู่ ที่จริงไม่มีเรา ไม่มีความเป็นตัวเรา และก็ไม่มีของเรา และก็ไม่ได้อยู่ในเรา และก็ไม่มีเรามาอยู่ในขันธ์ ๕ นี้
.
......แต่ปุถุชนจะยึดอยู่ วนเวียนอยู่ในเรื่องนี้ ไม่หลุดพ้นไปได้ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่นี้คือ ขันธ์ ๕
ขันธ์ แปลว่า...เป็นกลุ่มเป็นกอง คือ ธรรมชาติ ที่มีประเภทต่างกัน ขันธ์ที่เป็นภายในก็มี ภายนอกก็มี หยาบก็มี ละเอียดก็มี เป็นต้น...เรียกว่า ขันธ์ คือ ขันธ์ คือ ธรรมชาติที่เป็นกลุ่มเป็นกอง มีประเภทต่างๆ กัน มีอยู่ ๕ ขันธ์ คือ...

รูป ขันธ์ กองรูป รูปขันธ์ มีลักษณะเสื่อมสิ้นสลายไป ตามองค์ธรรมปรมัตถ์แล้วได้แก่ รูป ๒๘
คนๆ หนึ่ง ก็มี ๒๗ รูป ผู้ชายขาด อิตถีภาวะรูป รูปแห่งความเป็นหญิง
หญิงก็ขาด ปุริสภาวะรูป รูปแห่งความเป็นชาย มีอยู่ทั่ว สรีระร่างกาย เป็น รูปขันธ์ ก็ได้แก่ ประสาทตา ก็เป็นรูป ประสาทหู ก็เป็นรูป ประสาท จมูก ประสาท ลิ้น ประสาทกาย เป็น รูป เป็นรูปต่างๆ ไม่ใช่ตัวเรา และก็เราไม่ใช่ ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย และก็ ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย ก็ไม่ได้มาอยู่ในเรา และก็ไม่มีเรามาอยู่ใน ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย แต่มันก็มีอยู่ รูปนี้มีอยู่จริง ประสาทตามีอยู่จริง ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาทลิ้น ประสาทกาย มีอยู่จริง แต่ไม่ใช่ตัวเรา ของเรา มีความเปลี่ยนแปลง เกิด ดับ ย่อย ยับ แต่มันเเกดชดเชยกันอยู่ตลอดเวลา สักแต่ว่าเป็น ธรรมชาติ ที่เกิดขึ้น แล้วก็สลายไป นอกจากนี้ก็ยังมีรูป สี รูปเสียง รูปกลิ่น รูปรส โผฏฐัพพะ ที่มาสัมผัสเกี่ยวข้องกัน ก็ไม่ใช่ตัวเราของเรา สี-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะ ที่มาสัมผัส ตา -หู- จมูก- ลิ้น-กาย ก็ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ได้อยู่ในเรา และก็ไม่มีเรามาอยู่ใน สี-เสียง-กลิ่น-รส โผฏฐัพพะนี้...(ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...สิ่งเหล่านี้ ก็สักแต่ว่าเป็นรูป คือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตามเหตุตามปัจจัย แล้วก็ดับไปตามเหตุตามปัจจัย อยู่ตลอดเวลา การเกิดขึ้น การดับไป เป็นไปอยู่ทุกเสี้ยวของวินาที เกิดแล้วก็ดับไป และก็มีอันใหม่ เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป สืบต่อๆ เป็นอยู่อย่างนี้วันยังค่ำ...คือ รูป
....เพราะฉะนั้น ร่างกายนี้ มันก็จะมีรูป ดิน น้ำ ไฟ ลม ประสาท ตา ประสาทหู ประสาทจมูก ประสาท ลิ้น ประสาทกาย มี สี มีเสียง มีกลิ่น มีรส ประกอบอยู่ กลิ่นก็มี รสก็มี เนื้อหนังลองเอาลิ้นไปสัมผัส มันก็มีรส เสียงก็มี...อวัยวะทั่วไปมีเสียง เสียงแม้ไม่ใช่เสียงพูดมันก็มี สรีระมันก็มีเสียงดัง บางทีในท้องดัง โครก คราก.. ข้อ ที่มันกระดูกเสื่อม มันก็ดัง ขยับที ขยับคอที มันก็ดัง...กระดูกข้อเท้า กระดูกเข่า บางทีก็ดัง ก็มีเสียง มีสีสัน มีกลิ่นมีรส กลิ่นก็มี รสก็มี อาหารมีรสโอชาก็มี ความเป็นหญิง ความเป็นชาย มีอยู่ทั่วสรีระร่างกาย ก็มีรูปหัวใจ หทัยวัตถุ ที่ทรวงอกนี่ ก็มีรูปชีวิต มีรูปโอชา อาหาร แต่ละอย่าง..ๆ ประกอบกันขึ้น ไม่ใช่ตัวเรา และก็ไม่ใช่ของเรา และก็ไม่ได้อยู่ในเรา และก็ไม่มีเรามาอยู่ในสิ่งเหล่านี้
.....แต่ปุถุชนนั้น ไม่มีปัญญา เพราะ อวิชชาบังไว้ เพราะไม่ได้เจริญสติ อวิชชาก็บัง ครอบงำ ก็หลง แล้วก็ยึด ...ยึดเป็นตัวเรา ทำให้รู้สึกว่า ร่างกายนี้เป็นตัวเรา ขาของเรา แขนของเรา ท้องของเรา ตาของเรา หูของเรา จมูกของเรา ลิ้นของเรา รู้สึกเป็นตัวเรา หรือเป็นของๆ เรา หรือมาอยู่ในเรา หรือว่ามีเรามาอยู่ในสิ่งเหล่านี้ เรียกว่า เป็น อุปาทาน ความยึดถือ ยึดมั่นที่ผิด เป็น สักกายทิฏฐิเกิดขึ้น
....ถ้าปล่อยให้ความเห็นผิด ยังเป็นไปอยู่อย่างนี้ ชีวิตนี้ก็ยังต้องเป็นไปอยู่กับกองทุกข์ คือมันก็ยังมี ขันธ์ ๕ นี้ สืบต่อกันอย่างไม่จบสิ้น...ที่เราเรียกว่า คนเกิด คนตาย สัตว์เกิด สัตว์ตาย ก็คือ มันมีขันธ์ ๕ นี้ สืบต่อไปอีก ไม่มีเบื้องต้น เบื้องปลาย หาไม่ได้ หาที่สุดไม่ถูก ถ้ายังหลงยึดอยู่อย่างนี้ กล่าวไม่ได้ว่าจะไปสิ้นสุดกันเมื่อไหร่ พระพุทธเจ้า ยังตรัสอยู่อย่างนั้น, ถ้าเรายังหลงยึดอยู่ พระพุทธองค์ ก็กล่าวไม่ได้ว่า จะไปสิ้นสุดเมื่อไหร่ จะเข้าถึงความดับทุกข์ เมื่อไหร่ แล้วก็ต้อง เอน็จ อนาจ ทุกข์ ยาก ลำบากแสนสาหัส ในการที่ อุบัติบังเกิดขึ้น แต่ละภพแต่ละชาติ...
...นอนในครรภ์ แค่เป็นมนุษย์ ๙ เดือน กว่าจะคลอดออกมา ก็ลำบากลำบน แทบแย่อยู่แล้ว...เราลองพิจารณาดู คุดคู้อยู่ในที่แคบ ๙ เดือน แค่มาเก็บตัวกรรมฐาน เดินไปไหน มาไหนได้ยังอึดอัด อยู่ในนั้นเดินไปไหนก็ไม่ได้ ขยับก็ไม่ได้ เดี๋ยวก็ต้องเจอร้อน...เจอปวด..เจอเจ็บอยู่ แน่น..ตึง ทุกข์ทรมาน..แล้วมันไม่แค่ครั้งเดียว มันผ่านมาไม่รู้เท่าไหร่ ในอดีต แล้วก็ต้องเป็นไปในอนาคตอีก...(ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48: ให้พิจารณาให้เห็นทุกข์ เห็นโทษ ให้เกิด..เพือจะได้เบื่อหน่าย จิตถ้าไม่เบื่อหน่าย มันก็คลายความกำหนัดยินดีไม่ได้ ก็หลุดพ้นไม่ได้ ...นี่ ก็ไม่มีใครช่วยได้..ก็ต้องเสวยทุกข์ด้วยตนเองต่อไป...
...เกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป...วันคลอดจากครรภ์ ก็ทรมานทุรักทุเลออกมา ทั้งเลือดทั้งอะไรปนเป..ช่วยตัวเองก็ไม่ได้ กว่าจะกินเป็น กว่าจะถ่ายเป็น กว่าจะทำอะไรเป็น โตขึ้นมา...โตขึ้นมาแล้วก็ยังมีปัญหาทุกข์ ยาก ลำบากสารพัด มีร่างกายขึ้นมาก็ต้องเสวยทุกข์ แบกภาระ เยียวยาอยู่ บำรุงเขาอยู่ ต้องกินต้องถ่ายอยู่ ต้องอาบน้ำ ต้องล้างหน้า แปรงฟัน ดูแลเขาอยู่นี่...ไม่กินก็ไม่ได้..ต้องกิน กินไปแล้วไม่ถ่ายก็ไม่ได้..ก็ต้องไปถ่าย บางครั้งถ่ายไม่ออกก็ทุกข์มาก..ถ่ายมากไปก็ยังทุกข์ ไม่กินก็หิว กินไปแล้วก็อึดอัดทุกข์ เดี๋ยวปวดท้อง...เดี๋ยวปวดหัว สารพัดอยู่นี่ เพราะมันมีชีวิต มีขันธ์ ๕ ขึ้นมา แล้วก็ยังเสื่อมลงไป เสื่อมลงไป เพราะความชรา ทรมาน โรคภัยเบียดเบียน แล้วก็ยังทุกข์ จรเข้ามา จากความเสียอกเสียใจ เศร้าโศก เพราะต้องพลัดพราก เพราะต้องไม่สมปรารถนา ต้องประสบกับสิ่งไม่ปรารถนา เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ซ้ำๆ ...
....พิจารณาดูถ้ายังปล่อยให้มีความเห็นผิดอยู่ ยังยึดอยู่ ก็ต้องสร้างภพ ..ชาติ นี้เรื่อยไป เรื่องการเกิดแต่ละคราวเป็นทุกข์ร่ำไป...
......มีภิกษุ ถาม พระพุทธเจ้าว่า "มีไหม..? ขันธ์ ..มีขันธ์บางสิ่งบางอย่างที่จะเที่ยง คือขันธ์ที่เป็นเที่ยงแท้..ตั้งอยู่ คงอยู่....ไม่ต้องมาเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้...เช่นไปเกิด ก็ตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น ไม่มีการตาย มีไหม..? มีขันธ์ สักขันธ์หนึ่งที่มัน ยั่งยืน มั่นคง มันไม่เปลี่ยนแปลง อะไรเลย.."
พระพุทธเจ้า ก็ได้เอาเล็บช้อนฝุ่นขึ้นมา แล้วก็บอก...นี่ เห็นไหม ขันธ์ที่จะเที่ยง ที่จะยั่งยืน แม้เพียง เท่าเศษฝุ่นนี้ก็ไม่มี..ไม่มี ไม่มีขันธ์ไหนที่เที่ยงเลย ไม่ว่าขันธ์นั้นจะไปอยู่ในมนุษย์ อยู่ในเทวดา เป็นขันธ์ของพรหม..เกิดเป็นพรหม อายุยืนขนาดไหน ก็ยังไม่เที่ยง ภูเขาก็มีอันต้องเปลี่ยนแปลง เพ็ชรว่าแกร่งขนาดไหน ก็ยังต้องเสื่อมไป ที่อยู่อาศัย โลกนี้ทั้งโลก สักวันก็ต้องมีอันเสื่อมสลายไปในที่สุด..น่าจะพิจารณาให้เกิด..นี่ ถ้าพิจารณาแล้วเกิดความสังเวช กับสังขารที่มันต้องเปลี่ยนแปลงทุกข์ ทรมานอยู่(ต่อ..)


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 22 ก.ย. 2010, 11:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 12:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: ภิกษุ ถามพระพุทธเจ้าว่า ขันธ์ ที่มันจะเที่ยง และมีความสุขที่จะไม่ทุกข์ นี่มีบ้างไหม..? พระพุทธเจ้าได้หยิบ ก้อนโคมัยเล็กๆ ก้อนเล็กๆ คือ อุจจาระโค คือหยิบ..แล้วก็ตรัสว่า ขึ้นชื่อว่า ภพ ชาติ ที่จะไม่ทุกข์นี้ แม้เพียงเท่าก้อนนี้ก็ไม่มี ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ทุกข์ทั้งนั้นแหละ หนีไม่พ้น
เพราะฉะนั้น ทางที่จะหลุดพ้นจากทุกข์นี้ก็ต้อง..หลุดพ้นจากสังสารวัฏทั้งหลาย จากการเวียนว่ายตายเกิด จริงอยู่..เป็นเทวดา เป็นพรหม ก็อาจไม่ทุกข์อย่างมนุษย์ เขาจะไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ร่างกายก็สวยๆ งามๆ ไม่แก่ชราเหมือนมนุษย์...แต่ว่า สภาวะของรูปร่างกายนี้ มันไม่ยั่งยืน มันแตกดับ แตกสลาย อาการที่แตกดับ แตกสลาย ถือว่ายังทุกข์อยู่ และความทุกข์นี้ ไม่ใช่ในแง่ของความปวด ความเจ็บ ความไม่สบายเท่านั้น ทุกข์ในแง่ของสภาพที่ตั้งอยู่ไม่ได้ ทนอยู่ไม่ได้ มันต้องดับไป...อาการที่มันดับไปนี้ เกิดขึ้นแล้วตองดับนี้ อาการแห่งทุกข์ สรีระของเทวดาก็มีการเกิด-ดับ สรีระของหรหมก็มีการเกิด-ดับ ถึงแม้จะไม่มีทุกขเวทนา แต่ว่ามันเป็นทุกข์สภาวะ คือสภาพที่มันไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ คงอยู่ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงๆ
.
....ฉะนั้น ชีวิตนี้ ถ้ายังปล่อยให้ความหลงผิดยึด เป็นไป ก็จะต้องเผชิญกับความทุกข์ อยู่นานานับประการ ไม่จบสิ้น...
...จะต้องมาพิจารณาให้เห็น ความจริงว่ารูป ไม่ใช่ตัวเรา,รูปไม่ใช่ของเรา,รูปไม่ได้มาอยู่ในเรา,เราไม่ได้มาอยู่ในรูป,..ไม่มีเราในรูป ด้วยการที่ต้องเจริญสติ กำหนดรู้ รูปธรรมที่กำลังปรากฏ ก็จะเห็นว่า รูปนี้มีการ เกิด-ดับ และจะพบว่า รูปไม่ใช่ตัวเราจริงๆ รูปไม่ใช่ของเราจริงๆ มันสักแต่ว่าเป็นสิ่งที่เกิด แล้วก็ดับไป เป็นเพียงสิ่งหนึ่ง สิ่งต่างๆ จะว่าเป็นสิ่งก็ได้ รูปนี่...คือมันไม่ใช่สัตว์ บุคคล เหมือนกับ พระ อัญญา โกณทัญญะ ที่ท่านฟัง ธรรมจักรกัปวะจนสูตร ฟังธรรมครั้งแรกที่พระองค์แสดงธรรม ท่านก็ได้เกิดดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นอริยะบุคคลชั้นที่ ๑ พระโสดาบัน ท่านก็อุทานว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็มีความดับไปเป็นธรรมดา" แล้วไม่รู้จะพูดอะไร จะเรียกมันว่าอะไรดี มันก็เป็นสิ่งหนึ่ง รูปมันก็เป็นสิ่งหนึ่ง ความเย็น ร้อน ก็เป็นสิ่งๆ หนึ่ง ตึง ก็เป็นสิ่งๆหนึ่ง ไหว ก็เป็นสิ่งๆหนึ่ง
ตา- หู ก็เป็นแต่ละสิ่ง ๆ สิ่งเหล่านี้ มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตามเหตุ ตามปัจจัย ดับมันก็ต้องดับไป เกิดแล้วมันก็ต้องดับ ดับแล้วก็ดับโดยธรรมดา คือ ธรรมดามันก็เป็นเช่นนั้น คือมันบังคับให้ตั้งอยู่มได้ มันเกิดแล้วก็ต้องดับไป บังคับให้ไม่เกิดก็ไม่ได้ บังคับอย่าให้มันดับไม่ดับก็ไม่ได้ มันเกิดมันก็ต้องเกิด มันดับมันก็ต้องดับ ไปตามเหตุปัจจัยของมัน ไม่ได้ขึ้นอยู่ในอำนาจของใครได้..(ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....นี่ว่ามันเป็นธรรมดาอยู่อย่างนั้น แล้วก็ไม่ใช่ตัวตน รูปทั้งหลายเหล่านี้ สักแต่ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ผู้ที่เจริญสติ หยั่งรู้ไปที่รูปธรรมเหล่านี้ จนเห็นความเกิด-ดับ จึงเกิดปัญญาแจ้งชัดในขณะนั้นว่า มันเป็นเพียงสิ่ง สิ่งต่างๆ ที่เกิด ที่ดับ อยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ตัวตนอะไร จะมีความรู้สึกว่ามันเป็นเพียง สิ่งหนึ่งๆ ที่ดับไป ที่ดับ จะว่าเป็นเราก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นใครก็ไม่ใช่ แต่มันก็มีอยู่ ที่เป็นธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่ง ที่เกิด ที่ดับ......อย่างนี้เขาเรียกว่ามี วิปัสสนาญาน มีญานหยั่งรู้ความจริงที่เกิดขึ้น จะได้เจริญสติ ระลึกรู้ ที่รูปบ่อยๆ รูปที่ ตา-หู -จมูก-ลิ้น กาย - สี-เสียง-กลิ่น-รส-โผฏฐัพพะ ที่มากระทบ สัมผัส จะเห็นความจริงของสิ่งเหล่านี้ได้ นี่...รูปขันธ์ กองรูป
.....ขันธ์ที่ ๒ คือ เวทนาขันธ์ กองเวทนาได้แก่ เวทนาเจตสิก คือ ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ เสวยอารมณ์ที่เป็นความสบายกาย เรียกว่า สุขเวทนา
เสวยอารมณ์แล้วรู้สึกไม่สบายกาย มันปวด มันเมื่อย มันเจ็บ มันไม่สบายกาย เรียกว่า ทุกขเวทนา
เสวยอารมณ์รู้สึก ดีอก ดีใจ เรียกว่า โสมนัสเวทนา
เสวยอารมณ์ด้วยความรู้สึก โทมนัสใจ เศร้าใจ นี่เรียกว่า โทมนัสเวทนา
เสวยอารมณ์แล้วรู้สึก เฉยๆ จะว่าสุขก็ไม่สุข จะว่าทุกข์ก็ไม่ทุกข์ ก็เรียกว่า อุเบกขาเวทนา
.
...ฉะนั้น ตลอดเวลานี่ มันจะมีการเสวยอารมณ์อยู่ ไม่สุขก็ทุกข์ หรือไม่ก็เฉยๆ ที่กายนี้จะมี ๒ อย่าง ไม่สุข ก็ทุกข์ เพียงแต่ทุกข์มาก ทุกข์น้อย พอทุกข์น้อย..ก็เออ..สบายหน่อย เดี๋ยวปวดท้องอยากจะเข้าห้องน้ำ ทุกข์มาก พอไปถ่าย เราก็ว่าสบาย..แต่ที่จริงก็ยังปวดอยู่แต่มันเบาลง มันก็พอจะโล่งใจ แต่ที่จริงก็ยังทุกข์อยู่ หิวข้าวเป็นทุกข์ กินเข้าไป หายหิว เราก็ว่าสบาย แต่ถ้าดูไปจริงๆ ก็ยังอึดอัดอยู่ ยังทุกข์อยู่ มีทุกข์ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป พิจารณาให้เห็นอย่างนี้แล้ว มันจะได้เบื่อหน่าย ความเบื่อหน่าย จะเป็นเหตุให้คลายความกำหนัด ยินดีในรูป ในเวทนา เหล่านี้ แต่ไม่ใช่เบื่อหน่ายแล้วไปฆ่าตัวตาย อันนั้นมัน อ่อนแอ พ่ายแพ้ ไม่มีโอกาสชนะ เพราะมันหนีไม่พ้น ตายไปไหนมันก็ต้องไปทุกข์หนัก ตราบใดที่ยังไม่ทำปัญญาให้รู้แจ้ง มันก็ไม่พ้นทุกข์ มันก็จะมีการเสวยทุกข์ ยิ่งทุกข์หนักเข้าไปอีก และไม่มีทางอื่น นอกจากทาง ต้องกำหนดรู้ไป เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ..(ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ย. 2010, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ถ้ามีชีวิต ต้องมีโอกาสที่จะพัฒนาตนเอง ฝึกหัดตนเอง สะสมกุศล บารมี ให้ใกล้เข้าไปต่อความดับทุกข์ เพราะว่าความเป็นมนุษย์นี่มันมีสติปัญญา รู้เรื่องรู้ราว สมองดี ที่จะ ประพฤติพัฒนาตนเองได้ ตายไปเกิดเป็นสัตว์ เดรัจฉานยิ่งแล้วใหญ่ ไม่รู้เรื่องรู้ราว ไปเป็นสัตว์นรก ก็ไม่มีทางจะปฏิบัติ มันทุกข์ทรมานตลอดเวลา เป็นเปรตก็หิวโหยตลอดเวลา ปฏิบัติอะไรไม่ได้ ไปเป็นเทวดาก็เสวยแต่อารมณ์น่ารัก น่าใคร่ ลืมเนื้อลืมตัวอีก ...
...คนฆ่าตัวตายไม่ได้ไปเทวดา...มันจะไปอบาย ตายด้วยความเศร้าหมอง เพราะฉะนั้น ก็ต่อสู้ ด้วยความรู้เท่ารู้ทัน ต้องสู้..ก็ไม่ใช่ไปต่อสู้ด้วยความกดดันนะ ยิ่งไปกดดันก็ยิ่งเดือดดาล ต้องสู้ด้วยการรู้ละ รู้ปล่อย รู้วาง ฝึกหัดที่จะปล่อยวางต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น เมื่อมีเวทนาก็ต้องกำหนดรู้ มันเจ็บ มันปวด มันสบายไม่สบาย สติเข้าไประลึกรู้ ดูเวทนาที่ปรากฏ ก็จะให้เกิดปัญญาแจ้งชัดว่า เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา คือมันก็มีความเกิด-ดับ ไอ้ที่ว่าปวดเจ็บ ..น..มันก็เกิดดับเหมือนกัน มันไม่ได้ปวดตลอดเวลา มันไม่ใช่เจ็บตลอดเวลา ถ้าเราสักเกตุให้ดี พิจารณาดูที่ว่าปวดเหลือเกิน ...เราสังเกตุดูมันมีการหยุด ปวด แรง-เบา...จี๊ดแล้วก็หยุด จี๊ดแล้วก็หยุด สังเกตุดู มันเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน มันเกิด-ดับ เหมือนกัน เราดูข้ามๆ ก็ว่ามันปวดตลอดเวลา โดยเฉพาะจิตที่ไปรู้ ตรงที่มันปวด ..เช่นปวดหัวเข่านี่.. ถ้าจิตไม่ไปรับตรงหัวเข่ามันก็ไม่รู้สึกปวด..จิตไปคิเรื่องโน้น ไปดูเรื่องนั้น ไปรับที่อื่น มันก็ไม่รู้สึกปวด แต่มันคอยกลับมารู้ตรงที่หัวเข่า อยู่เรื่อยๆ ไปเรื่องอื่นมันก็กลับมา..ไปเรื่องอื่นมันก็กลับมา ถ้าเราไม่สังเกตุก็นึกว่ามันปวดตลอดเวลา ถ้ามันจะปวดตลอดเวลาจิตจะต้องไม่ไปรับอย่างอื่นเลย ไม่ไปรับ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่ไปรับรู้เรื่องราว ไม่มีคิดเรื่องอื่น นั่นแหละ จึงจะเรียกว่าปวดตลอดเวลา แล้วจริงๆ มันได้อย่างนั้นไม๊..?
....แม้บังคับให้มันอยู่ตรงที่ปวด มันก็ยังคิด ..เวลาคิดน่ะ..แสดงว่ามันต้องขาดช่วง เพราะจิตนั้นจะรับได้ทีละอารมณ์ จิตไปรับเสียง ขณะนั้นมันจะไปรับความปวดไม่ได้ มันรับได้ทีละอย่าง เวลาจิตไปรับภาพต่างๆ มันก็รู้สึกลืมปวดไปขณะหนึ่ง จิตไปรับความไหวส่วนอื่น มันก็หมดความรู้สึกปวดไปชั่วขณะหนึ่ง จิตไปคิดเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ก็หมดความรู้สึกปวด ..แต่มันกลับมา กลับไป กลับมา กลับไปอย่างรวดเร็ว ถ้าผู้ปฏิบัติได้พยายามสังเกตุดู มันก็มีการขาดตอนเหมือนกัน ความปวด ความเจ็บ ความสบาย ไม่สบาย เพราะจิตมันไม่ใช่รู้ตลอดเวลา มันมีการรับอย่างอื่น รับอย่างอื่น สลับสับเปลี่ยน (ต่อ..)


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 22 ก.ย. 2010, 13:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: ...สิ่งที่เกิด..ดับ ๆ สิ่งนี้จึงเกิด สิ่งนี้เกิด..ดับ สิ่งนี้จึงเกิด มันจะเห็นความเกิด ดับได้ เห็นความเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เห็นความไม่เที่ยงของเวทนา แล้วก็เห็น อนัตตา ในขณะที่สติระลึก ปัญญาเกิดขึ้น ว่าไอ้เวทนาเหล่านี้ มันก็สักแต่ว่าเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของเรา ไม่ได้อยู่ในเรา ไม่ได้มีเรามาอยู่ในเวทนา แต่ถ้าไม่รู้ ไม่พิจารณา อุปาทาน มันก็มายึดเราทันที มันก็รู้สึกว่า เออ..นี่ คือเรา ปวดนี่คือเรา เจ็บนี่คือเรา ไม่สบายนี่คือเรา มันตัวเรา หรือว่าปวดนี่เจ็บนี่คือเรา หรือว่ามันอยู่ในเรา ความปวด ความเจ็บ ความสบายไม่สบาย มันอยู่ในเรา หรือว่า เรานี้มาอยู่ในเวทนา ...นี่ถ้าไม่มีสติ ปัญญาแล้ว มันจะหลงผิด ยึดถือ ผิดอยู่อย่างนั้นแหละ เรยกว่าเป็น สักกายทิฏฐิ ยึดเวทนา ๕ อย่างเป็นตัวเรา เราเป็น...เป็นเวทนาเป็นของเรา เราอยู่ในเวทนา เวทนาอยู่ในเรา
....แต่ถ้าปัญญาเกิดมันจะพบว่า ..มันก็สักแต่ว่าเป็นสิ่ง..เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวเรา ของเรา เกิดขึ้น บไป ธรรมดาๆ อยู่อย่างนั้น
...ฉะนั้น กำหนด ทุกขเวทนา ต้องระลึกรู้ จิต ไปด้วย จะได้พบเห็นความคนละอย่างกัน ไม่งั้น มันไปรวมตัวเป็นอันเดียวกันหมด ตัวเรา ..จิตไปรวมกับ เวทนา รู้สึกเป็นอันเดียวกัน เป็นเรา ถ้าระลึก เวทนาส่วนหนึ่ง จิตใจที่รู้ๆ ก็อีกอย่างหนึ่ง เช่น..ความปวดมันอยู่ที่เข่า แต่รู้ๆมันอยู่ที่ใจนี่..มันคนละอันกัน อย่างน้อยก็พิจารณาเห็นคนละอัน ๆ กัน คนละธรรมชาติ แล้วมันจะเห็นความเปลี่ยนแปลง เห็นความเกิด ดับ เห็นความไม่ใช่ตัวตนได้...

....ความเป็นจริง..เขาก็เป็นจริงอยู่แล้ว ไม่ได้ไปทำอะไรหรอก ...ปฏิบัตินี่..ความจริง ก็เป็นความจริงที่เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว การปฏิบัติ เป็นเพียงแต่ว่า เข้าไประลึก ศึกษา ให้มันถูก ให้มันตรง มันก็จะเห็นความจริงนั่นเอง ความจริงที่เป็นจริงน่ะ ถึงจะรู้หรือไม่รู้ เขาก็เป็นอย่างนั้น คือ เวทนา เขาก็มีความเกิด- ดับ เปลี่ยนแปลงอย่างนั้น จะรู้หรือไม่รู้เขาก็เป็นอย่างนั้น ปฏิบัติธรรมก็ไม่ได้ไปทำอะไร ให้เป็นอะไร เพียงแต่ว่า เข้าไปรับรู้ ตามความเป็นจริง..
....เพราะฉะนั้น มันจะปวด มันจะเจ็บ ไม่ต้องไปคิดให้มันหาย ให้มันเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ มีแต่ว่าจะฝึกจิตให้ไปรู้อย่างไม่ว่าอะไร เพื่อให้เห็นความจริง ตามความเป็นจริงอย่างนั้น..(ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 12:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b43: ในขันธ์ที่ ๓ ก็คือ สัญญาขันธ์ ความจำได้หมายรู้ องค์ธรรมก็คือ สัญญาเจตสิก ธรรมชาติที่จำอารมณ์ ความจำ ก็เป็นขันธ์ๆ หนึ่ง เป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิต มันจะถูกอุปาทานเข้ามายึด สำคัญมั่นหมายเป็นตัวเรา เวลาจำอะไรๆ ขึ้นมา จำรูปได้ว่า เป็นอะไร ยังไง จำเสียง เห็นว่าเป็นอะไร ยังไง จำกลิ่นว่าเป็นอะไร จำรสว่าเป็นอะไรยังไง จำเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ว่าเป็นอะไรยังไง เป็นเรื่อง เป็นราว ขณะที่ความจำเกิดขึ้นมา อุปาทานมันจะยึดเป็นตัวเรา รู้สึกเป็นเรา เป็นเรา.. เป็นเรา...เป็นของเรา อยู่ในเรา เรามาอยู่ในสัญญา เรียกว่าเป็นสักกายทิฏฐิ เอาสัญญาเป็นเรา เอาสัญญาเป็นของๆ เรา เอาสัญญาอยู่ในเรา เอาเราอยู่ในสัญญา ติดพัวพันอยู่อย่างนี้ ไม่พ้นทุกข์ ...
.....พระองค์ได้ตรัสถึง เปรียบเทียบ สักกายทิฏฐิไว้ เหมือนกับสุนัขที่เขาจับผูกเข้าไว้ เขาจับเอาเชือกผูกสุนัขไว้กับหลัก แม้สุนัขมันดิ้น มันจะเดิน จะยังไง ก็หนีไม่พ้นอยู่รอบๆ หลัก มันจะไปไหน...จะนั่ง จะยืน จะนอน จะดิ้น จะอะไร...มันก็วนๆ อยู่ ไม่พ้นจากรอบๆ หลัก แม้จิตใจของปุถุชน มันก็เหมือนกัน มันก็จะวนๆ อยู่ในเรื่องเหล่านี้ เอาขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ อยู่ในเรา เราอยู่ในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ เป็นของเรา มันหนีไม่พ้นจาก อุปาทานและขันธ์ ไม่พ้นจาก สักกายทิฏฐิ ก็จะไม่พ้นจากความโศก ความร่ำไร รำพัน ไม่พ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ไม่พ้นจากความคับแค้นใจไปได้
.......ถ้ายังหลงอยู่ ยังยึดอยู่ จะไม่หลุดพ้นจากชาติ คือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย จะหลุดพ้นไปไม่ได้ ถ้าไม่ทำลาย สักกายทิฏฐิให้หมดไป สิ้นไป โดยการทำปัญญาให้เกิดขึ้น ทำลาย อวิชชา ตัณหา ปัญญาจะเกิดขึ้น ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติ ต้องเจริญสติระลึกรู้ นี่...สัญญา....นี่..รูป เวทนา สัญญาที่กำลังปรากฏ ต้องระลึกขณะที่กำลังปรากฏ
......ฉะนั้น สัญญา มันสำคัญ มันมีอิทธิพล มันทำให้หลงผิดไปได้เยอะ ที่เราทุกข์อยู่นี่ เพราะสัญญา มันปรุง มันจำ จำผิดไปเรื่องนั้นๆ...เกิดความกลัวอย่างนั้น เห็นความมืดหน่อย ก็จำแต่เรื่องให้น่ากลัวไว้...ก็มาปรุงให้กลัว เพราะไปจำไว้ เป็นเด็ก เขาขู่ไว้บ้าง เขาหลอกไว้บ้าง..ดูหนัง...ดูอะไร เรื่องผี สาง ก็จำเข้าไว้ แล้วก็มาสร้างให้กลัว ถ้าคนที่ไม่มีจำในเรื่องน่ากลัว มันก็ไม่กลัว ถ้ามันไปจำแต่เรื่องดีๆ ไว้นี่ จำ..เออ...ความมืดเป็นสิ่งดี ความสว่าง ความวิเวก เป็นสิ่งดี มันก็กลับเห็นดีไปหมด
....แต่ที่นี้ เราไปจำแต่สิ่งที่ไม่ดี มันก็คอยมาทำให้..ปรุงใจ ให้กลัว บางคนก็กลัวตาย..บางคนก็กลัวอะไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นต้องกำหนดรู้ความจำที่กำลังปรากฏ ให้เห็นว่า ไม่ใช่ตัวตน...(ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 12:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b48: :b43: :b42:
....ขันธ์ที่ ๔ ก็คือ สังขารขันธ์ สังขารขันธ์นี่ ก็เป็นกลุ่มธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิต องค์ธรรมปรมัตถ์แล้วก็ได้แก่ เจตสิก ๕๐ ชนิดด้วยกัน เจตสิกตั้ง ๕๐ ชนิดนี่..ที่ปรุงจิตใจ ทั้งฝ่ายดี...ทั้งฝ่ายชั่ว ที่เป็นอกุศลที่เป็นฝ่ายบาป ก็เช่น โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง มานะ ความถือตน ทิฏฐิ ความเห็นผิด อิจฉาไม่พอใจ สมบัติคุณงามความดีของผู้อื่น เรียกว่า อิจฉา ชาวบ้านว่า ริษยา..มัจริยะ ความตระหนี่ ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ ไม่ละอายต่อบาป ไม่กลัวบาป เหล่านี้เป็นต้น...
.......มันจะมาปรุง ปรุงแต่งจิต จิตก็พลอยเดือดร้อน วุ่นวายไป นี่...สังขาร ต้องกำหนดรู้ ฉะนั้นเมื่อเกิดความฟุ้ง ก็เจริญสติกำหนด รู้ความฟุ้ง....เกิด ราคะ.. เกิดโลภะ ก็กำหนดรู้ ราคะ โทสะ เกิดขึ้นมา ก็กำหนดรู้โทสะ เกิดความถือตัว ถือตน ต้องกำหนดรู้ สิ่งเหล่านี้ ถ้าเกิดขึ้นมาแล้วมันทุกข์ ทั้งนั้น...เพราะมันเป็นอกุศลธรรม มันจำทำให้จิตใจเศร้าหมอง เร่าร้อนเป็นทุกข์ ถ้าไม่ควบคุมให้ดี ถ้ามันแรง..แรง มาก มันจะออกไปทางกาย วาจา เกิดเป็นอกุศลกรรม ทางกาย ทางวาจา แล้วก็ย้อนมาเป็นวิบาก เป็นผลสะท้อนมาที่ตนเอง ให้เสวยทุกข์อีก.....

.....นี่..มันเป็นยังงั้น...นี่..มันมาจากกิเลส มาจากสังขารที่เป็นอกุศล ทำบาปกรรมลงไป เพราะฉะนั้นก็ต้องมากำหนดรู้ เวลามันฟุ้ง เวลามันวุ่นวาย เวลามันเกิดมานะ ทิฏฐิ ราคะ โทสะ นี่..ให้ระลึกรู้ เพื่อจะให้ปัญญาเกิด เห็นว่าสิ่งเหล่านี้..ก็สักแต่ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งๆ หนึ่ง ที่ไม่เที่ยง ที่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ตัวตน คือ มันเกิด-ดับ สิ่งเหล่านี้มีความเกิด-ดับ อยู่ตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว ที่มันเกิดอย่างถี่ๆ ถี่ๆ กัน เวลาโกรธนี่ มันไม่โกรธอันเดียว มันโกรธ ๆ ๆ ๆ ถี่ๆ ซ้อนๆ กัน..
....เพราะฉะนั้นระลึกไปก็จะเห็น ความขาดตอน ความเปลี่ยนแปลง สักกายทิฏฐิ คือความไปยึดเอาว่า นี่คือตัวเรา เวลาโกรธก็รู้สึกเป็นตัวเรา หรือเป็นของเรา หรือว่ามาอยู่ในเรา หรือว่าเรามาอยู่ในสังขารเหล่านี้ เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิด ยึดผิด ถ้าระลึกรู้ก็จะพบว่า มันสักแต่ว่าเป็นธรรมชาติ ฟุ้ง มันก็เป็นเพียงสักแต่ว่าธรรมชาติ เป็นสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงเกิด-ดับ ราคะ โทสะ โมหะ ก็เป็นสิ่งๆ หนึ่ง สิ่งๆหนึ่ง ที่เกิดขึ้น หมดไป สิ้นไป ไม่ใช่ตัวเรา ของเรา แล้วก็มีปัญญาเกิดขึ้น....
...เพราะฉะนั้น แม้มันจะเป็นสังขาร ฝ่ายไม่ดี มันก็ให้ประโยชน์ได้ ถ้ากำหนดรู้ ให้สติ ปัญญาเกิด...อย่างน้อย มันก็ให้เป็นที่ตั้งของสติ โทสะ เกิดขึ้นมาที...มีสติไประลึกรู้..โทสะเป็นที่ตั้งของสติ ให้สติ ปัญญาได้เรียนรู้ ได้ศึกษา ได้พัฒนาตัวเอง...(ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....สังขารที่เป็นฝ่ายดี ก็มี..ฝ่ายกุศล ...เช่น เกิดศรัทธา เกิดเมตตา เกิดกรุณา ความสงสาร เกิด มุฑิตา การพลอยยินดี เกิดสติความระลึกได้ เกิดความละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง มีปัญญาเกิดขึ้น เหล่านี้เป็นต้น ก็เป็นสังขาร มีอยู่จริงในจิตใจ เกิดขึ้นมาแม้จะเป็น กุศลธรรม เป็นสิ่งที่ดี ก็ต้องกำหนดรู้ มิฉะนั้น อุปาทานมันก็ไปยึดเป็นตัวเราอีก แม้สติที่เกิดขึ้น ก็ต้องระลึกรู้...สติเหมือนกัน...พิจารณาสติเหมือนกัน ไม่งั้น มันก็ยึดเป็นตัวเรา..โอ้..เรากำลังมีสติดีเหลือเกิน กำลังปฏิบัติมีสติ..โอ้..เรากำลังมีสมาธิดี แม้ปัญญาเกิดขึ้น มันก็ยังไปยึดเราเป็นตัวเราได้ โอ้..เรามีปัญญารู้เห็น เราเข้าใจ ..แต่ที่จริง ปัญญา ก็เป็นเพียงสภาพธรรม เป็นสิ่งๆ หนึ่ง ที่เกิด..ดับ สติ..ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เกิด-ดับ ทั้งหมด ..เพราะฉะนั้น การปฏิบัติต้องระลึกรู้ทั้งหมด เพื่อให้เห็นว่า สิ่งนี้ ก็เป็นเพียงสิ่งหนึ่ง ที่เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป หมดไป สิ้นไป...
:b48: :b48:
ขันธ์ที่ ๕ ขันธ์สุดท้าย ก็คือ...วิญญานขันธ์
...วิญญานขันธ์ องค์ธรรมปรมัตถ์แล้วก็ได้แก่จิตทั้งหมด จิตเห็น จิตได้ยิน เห็นนั่นก็คือ จิต ได้ยินก็คือ จิต รู้กลิ่นคือ จิต รู้รสก็คือ จิต รู้โผฏฐัพพะทางกาย ก็คือ จิต คิดนึก รับรู้ เรื่องราว ตีความหมายก็คือ จิต ...ต้อง ระลึกรู้..นี่..วิญญานขันธ์ มิฉะนั้นมันก็จะหลงยึดเอาเป็นตัวเรา....ไอ้ที่เห็นที่ได้ยิน ที่...คิดๆ..นึกๆ..นี่ อุปาทานมันจะยึดเป็นตัวเราหมด จะรู้สึกว่าเราเป็นคนเห็น เราเป็นผู้ได้ยิน เรานั่นน่ะ คือ คิด นึก หรือไม่ ก็เอามาเป็นของเรา เห็น...ของเรา....ได้ยิน...ของเรา คิดนึก...ของเรา หรือว่ามันมาอยู่ในเรา หรือว่ามีเรามาอยู่ในวิญญาน เป็นสักกายทิฏฐิ เป็นความเห็นผิด ที่จริง...วิญญาน ก็สักแต่ว่าเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ไช่ตัวตน ..มีความไม่เที่ยง มีความปรวนแปร มีความเกิด-ดับ เห็นก็ ดับ ได้ยินก็ดับ รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส คิดนึก รู้สึก เกิด - ดับ หมด ...
.....ถ้าได้เจริญสติ ระลึกรู้เท่านั้น มันจะพบความจริง ตามความเป็นจริง ว่าเออ..มันเกิด ..มันดับจริงๆ พอเห็นมันเกิด มันดับจริงๆ บ่อยๆ เนืองๆ ก็จะทำให้ถอนความรู้สึกยึดถือว่า นี่คือตัวเราของเรา ก็เกิดปัญญาแจ้งชัดว่า มันไม่เที่ยง มันเป็นสิ่งธรรมชาติ ที่เป็นอย่างนี้..ตามสภาพของมันอย่างนี้ บังคับไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ย. 2010, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42: การรู้เห็น ตามความเป็นจริงนี้ มันจะได้ประโยชน์อะไร..? มันก็จะรู้จักการปล่อยวาง ไถ่ถอนความยึดมั่นถือมั่น จิตที่ปล่อย จิตที่วาง จิตก็จะสร่างจากความทุกข์ เหมือนคนที่แบกของไว้นี่ ...มันหนัก ความหนักมันเป็นความทุกข์ ถ้าวางของเมื่อไหร่มันก็เบา จิตเหมือนกัน จิต จิตใจที่มีความหลง อุปาทาน มันก็จะไปยึด ยึดสิ่งนั้น ยึดสิ่งนั้น ยึดสิ่งนี้ ยึดทุกอย่าง เป็นตัวตน ..มันหนัก ใจมันก็ทุกข์ ถ้าจิตถึงคราวใดที่มันวาง ใจมันวาง ต่อทุกอย่าง มันก็เบา เกิดความเบา ปรอดโปร่ง โล่งใจ ไม่หนักอก หนักใจ ไม่วุ่นวายใจ ไม่ทุกข์ ใจ การที่จิตมันละวาง มันไม่ใช่วางได้ง่ายๆ ถ้ามันไม่รู้แจ้งแทงตลอด ซึ้งในใจจริงๆ แล้วมันก็ไม่วาง แต่ ผู้ปฏิบัติธรรมนี่...ถ้ามันจะไม่วางโดยเด็ดขาด มันก็ยังมีการวางบ้าง..เป็นระยะ ๆ เป็นขณะๆ ....
.....ฉะนั้นผู้ปฏิบัติ จึงจะพบว่า ปฏิบัติไปแล้วมันเบา มันสบาย มันโปร่ง เมื่อเห็นสภาพธรรมต่างๆ จิตมันวาง มันวาง มันเบา..ธรรมทั้งหลาย การปฏิบัติทั้งหลาย มันก็รวมอยู่ที่การปล่อยวาง นี่...มันต้องเข้าถึงการปล่อยวาง เพราะฉะนั้นก็ต้องพยายามฝึกหัดปฏิบัติไป...ก็จะได้เข้าถึงซึ่งความดับทุกข์
.....ตามที่ได้แสดงมา ก็พอสมควรแก่เวลา ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ ขอความสุข ความเจริญในธรรม จงมีแก่ทุกท่านเทอญ.....


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:
ที่มา...เสียงธรรมจาก พระครู เกษมธรรมทัต (พระอาจารย์ สุระศักดิ์ เขมรํสี)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร