วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 19:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ซื่อ ๆ รู้จิตซื่อ ๆ

อาการของจิตมันเป็นอย่างไรก็รู้มันตรง ๆ
อย่าไปอยากให้มันเป็นอย่างไร ให้รู้มันซื่อ ๆ
อันนี้เป็นทางเดินของมรรค
รู้ซื่อ ๆ นี้แหละคือ " ปัจจุบัน "

จิตมันเป็นอย่างไร ก็รู้มันขณะนั้น
นี้เป็นทางเดินของพระอรหันต์ทั้งหลาย

เราอย่าไปอยาก
พอจิตมันไม่ดีก็อยากให้จิตมันดี
พอจิตมันเป็นอย่างนั้น อยากให้มันเป็นอย่างโน้น
อันนี้ท่านว่ามันเป็นกิเลสตัณหา
ซึ่งเป็นทางตรงข้ามกับพระนิพพาน
ไม่ใช่ทางปฏิบัติของสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าและของพระอรหันต์สาวก


หลวงปู่ทา จารุธัมโม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นนะครับ

กายคตาสติ เป็นกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญมาก(โดยเฉพาะอานาปานสติ)

เพราะเมื่อเจริญอานาปานสติแล้ว กายย่อมไม่ลำบาก เพราะ ลมหายใจเป็นของติดตัวทุกคน ไม่ต้องหาอุปกรณ์ ไม่ต้องมีคำบริกรรม จักษุย่อมไม่ลำบาก เพราะไม่ต้องเพ่งกสิน สามารถใช้เป็นอารมณ์แห่งสมถภาวนาได้จนถึงอรูปฌาน และใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐาน(วิปัสสนาภาวนา)ได้ครบทั้ง 4 ฐาน (หากเจริญถูก)

แต่มิได้หมายความว่าการเจริญสติปัฏฐานหมวดอื่นต้องผ่าน กายคตาสติก่อนเท่านั้นและมิได้เรียงลำดับว่าต้องเจริญหมวดกายาฯ ก่อนแล้วเรียงไปเป็นเวทนาฯ จิตฯ ธัมมฯ เป็นลำดับไป แต่ผู้ปฏิบัติสามารถเลือกได้ตามจริตนิสัย ดังที่พระโบราณาจารย์ท่านกล่าวว่าเปรียบเหมือนนคร(นิพพาน)ที่มีทางเข้า 4 ทิศ ไม่ว่าจะเข้าจากทางใดย่อมถึงพระนครได้เหมือนกัน หรือผู้ปฏิบัติสามารถที่จะเจริญไปทั้ง 4 ฐาน แล้วแต่ว่าอารมณ์ไหนปรากฎชัดเจนไม่ว่ารูป(กาย) หรือนาม(เวทนา จิต ธัมม) ก็ระลึกรู้ไปด้วยสติ และ อสัมโมหสัมปชัญญะ (สัมปชัญญะ สัมมาทิฏฐิ ญาณ เหล่านี้ล้วนเป็นชื่อของปัญญา(ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น(ดูจึงเห็น)))

สติ เกิดร่่วมกับกุศลจิต
กุศลจิตเกิดร่วมกับเวทนา 2 อย่าง คือ โสมนัส(สุขใจ) หรืออุเบกขา(จัดว่าเป็นสุขก็ได้เพราะไม่ทุกข์)
ความสุขเป็นเหตุใกล้แห่งสมาธิ
สมาธิเป็นเหตุใกล้แห่งปัญญา

หากปราศจากสัมมาสติ ก็ไม่มีสัมมาสมาธิ ปราศจากสัมมาสมาธิ ก็ย่อมไม่มีปัญญา

อินทริยสังวรสีล เรียกได้ว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งของสติปัฏฐานครับ

ผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue
และงดโต้เถียงครับ เพราะไม่ค่อยเบิกบานใจในการโต้เถียงเท่าไหร่ tongue tongue


แก้ไขล่าสุดโดย ภัทรพงศ์ เมื่อ 03 ก.ย. 2010, 14:30, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 20:04
โพสต์: 25

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเข้าใจของผมว่า "ดูจิต" คือ "พิจารณาจิตในจิต" ในสติปัฏฐานสี่แน่นอน :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 20:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ประหลาดนะ

เวลามาค้านดูจิต ก็พูดไปเป็นวรรคเป็นเวร
ว่าผิดอย่างนั้นอย่างนี้

แต่พอตัวเองมาพูดถึงวิธีการปฏิบัติ
ก็กลับมาพูดเรื่องดูจิตหน้าตาเฉยเลย

เฮ้อ

เฮ้อ....คุณชาติสยาม....เห็นถ้าคุณจะเปลี่ยนยากจริงๆนะครับ
คุณได้อ่านหัวกระทู้หรือเปล่าครับ....หรือแกล้งไม่อ่านซะงั้นหนะ

หัวกระทู้จั่วไว้ชัดๆนะ คุณชาติสมาย ว่า
ดูจิตที่ถูกต้องนั้นต้องผ่านการปฏิบัติให้รู้จัก กายในกาย กายคตาสติ หรือ สัมมาสมาธิก่อนใช้มั้ยครับ???

ที่ผมคัดค้านการดูจิตแบบที่แพร่หลายกันอยู่นั้น ผมคัดค้านอัตโนมัติอาจารย์บางท่านต่างหากครับ
ที่ขาดภูมิธรรมที่ถูกต้องแท้จริง มีสอนการดูจิตแบบคิดเองเออเอง จากความคิดที่ตกผลึกของตนเองเท่านั้น
และยังชอบแอบอ้างพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติ มารับรองการสอนและภูมิธรรมของตนเองว่าถูกต้องใช่มั้ยครับ???

การดูจิตที่มีในปัจจุบันนั้น เป็นการสอนที่ขัดแย้งกับพระพุทธพจน์และพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติ
ที่กล่าวไว้ดีแล้วอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ผ่านธรรมข้อหนึ่ง คือกายคตาสติใช่มั้ยครับ???

การดูจิตแบบนั้น เป็นการสอนดูจิตที่ติดกับดัก คือ อาการของจิตโดยไม่รู้ตัว และหลงผิดคิดว่าเป็นจิต

ส่วนการดูจิต ที่ผมตั้งกระทู้ขึ้นมานั้น เป็นการดูจิตแบบเดินตามรอยพระพุทธบาทของจอมศาสดา
และพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติ ที่ต้องผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาจนรู้จักจิตที่แท้จริงเสียก่อนครับ

เชื่อผมเถอะ ลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างจริงจังได้แล้ว
เพราะชีวิตเป็นของน้อย อย่าปล่อยให้โอกาสดีๆผ่านไป ด้วยความประมาทนะ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
คำว่า ดูจิต หลวงปู่ หลวงตา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านก็เทศน์ธรรมดาๆ นี่แหละ ทำไมไม่มีใครสงสัย พอคนอื่นนำมากล่าวบ้าง กลับ มีคนสงสัย

หลวงปู่ฯหลวงตาฯ มักกล่าวว่า ให้หมั่นดูจิตตัวเองนะ พิจารณาจิตตัวเองนะ ดูบ่อย
พิจารณาบ่อยๆ ท่านเทศน์อย่างนี้เป็นประจำ

เป็นไปได้ไหมว่า เพราะหลวงปู่หลวงตา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านประพฤติปฏิบัติธรรมจนเข้าใจแจ่มแจ้งเห็นจริงแล้ว ดูจิต ของท่านจึงหมายถึง พิจารณาจิตในจิต ตามสติปัฏฐานสี่และคำเทศนาสั่งสอนก็ไม่หนีจากคำสั่งสอนของพระศาสดาเลย

พอคนอื่นเอาอ้างเอามากล่าวบ้าง กลับเป็นปัญหา น่าตรงกลับพุทธพจธ์ ที่ว่า

"ธรรมของตถาคต แม้เป็นของจริง แต่เมื่อสถิตในโมฆะบุรุษ ธรรมนั้นก็กลายเป็นของปลอม"

อย่างนี้หรือเปล่านะ..

ถ้าบอกว่า ดูจิต หมายถึง จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ พิจารณาจิตในจิต ของสติปัฏฐานสูตร ก็คงจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป

แหะ..แหะ ความเห็นของโมฆบุรุษนะขอรับ โปรดพิจารณาตามสมควร.. :b12: :b8:


คุณวิริยะครับ

การดูจิต แบบของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ สายปฏิบัติภาวนานั้น
ล้วนเป็นการดูจิตที่ต้องผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาให้รู้จักจิตที่แท้จริงเสียก่อน
จนกระทั่งเห็น กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ตามรอยพระบรมศาสดา

แต่ก็มีอัตตโนมัติอาจารย์บางท่าน ที่ชอบเอาคำสอนเหล่านั้นมาแอบอ้าง ตามความคิดเห็นที่ตกผลึกของตนเอง
ซึ่งผิดไปจาก พระพุทธพจน์และคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติแบบผ่านเป็นผ่านตายมาแล้ว

"ธรรมของตถาคต แม้เป็นของจริง แต่เมื่อสถิตในโมฆะบุรุษ ธรรมนั้นก็กลายเป็นของปลอม"
จึงตรงกับพระพุทธพจน์ที่คุณนำมาลงไว้ แต่ก็ยังยังมีผู้หลงงมงายไม่เลิก อีกมากมายที่ยังมืดบอดมองไม่เห็นครับ...

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาสติปัฏฐานสูตร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

^
^
พระสูตรค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วนะครับ
ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เป็นทางเดียวเท่านั้น
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ
มีประตู๔บานเชื่อมถึงกันหมด
แต่ต้องเริ่มต้นที่อานาปานสติที่อยู่ในหมวดกายในกายเท่านั้น

เพราะพระพุทธพจน์รับรองไว้ว่า
อานาปานสติเจริญให้เกิดขึ้น กระทำให้มาก จะยังให้สติปัฏฐาน๔บริบูรณ์
ไม่เคยรับรองว่าเจริญธรรมในหมวดอื่นแล้ว จะทำให้สติปัฏฐาน๔บริบูรณ์ได้
แต่ถ้าทำอานาปานสติจนสติปัฏฐาน๔บริบูรณ์แล้ว
จะพิจารณาที่หมวดไหนก็ได้ทั้งนั้นกระเทือนถึงกันหมด แต่ต้องเริ่มต้นให้ถูกครับ

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ย. 2010, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


91One เขียน:
ผมเข้าใจของผมว่า "ดูจิต" คือ "พิจารณาจิตในจิต" ในสติปัฏฐานสี่แน่นอน :b12:

คุณ91Oneครับ
การจะดูจิตได้ถูกต้องนั้น คุณต้องรู้จักจิตที่แท้จริงเสียก่อนใช่มั้ยครับ???
คุณรู้จักจิตที่แท้จริงแล้วหรือครับ???

คุณช่วยบอกหน่อยได้มั้ยครับว่า จิตในจิตนั้น(ดูจิต)
จิตตัวแรกคืออะไรครับ???
จิตตัวหลังคืออะไรครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตความเห็นสุดท้ายนะครับ

กายคตาสติ เป็นกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญมากจริงๆ(โดยเฉพาะอานาปานสติ)

เพราะ เมื่อเจริญอานาปานสติแล้ว กายย่อมไม่ลำบาก เพราะ ลมหายใจเป็นของติดตัวทุกคน ไม่ต้องหาอุปกรณ์ ไม่ต้องมีคำบริกรรม จักษุย่อมไม่ลำบาก เพราะไม่ต้องเพ่งกสิน สามารถใช้เป็นอารมณ์แห่งสมถภาวนาได้จนถึงอรูปฌาน และใช้เป็นอารมณ์แห่งสติปัฏฐาน(วิปัสสนาภาวนา)ได้ครบทั้ง 4 ฐาน (หากเจริญถูก) และสามารถเป็นวิหารธรรมอันยอดเยี่่ยมของพระอริยเจ้า

หากท่านมุ่งประสงค์ให้เจริญเป็นลำดับไปเท่านั้น ท่านก็แสดงไว้ชัดเจนแล้วหละครับ อานิสงค์ของสติปัฏฐานหมวดอื่นก็นี่ไงครับ

อ้างคำพูด:
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก
เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ
เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑


พระอรรถกถาจารย์ท่านก็ยังกล่าวว่า เปรียบเหมือนนคร(นิพพาน)ที่มีทางเข้า 4 ทิศ ไม่ว่าจะเข้าจากทางใดย่อมถึงพระนครได้เหมือนกัน

การศึกษาพระไตรปิฎกโดยไม่อาศัยอรรถกถา แต่ตีความเอาเอง คิดเอง กลับเป็นตัวท่านเองครับที่เชิดชูอัตโนมติ เหนืออรรถกถา (ดังที่ท่านเคยมีความเห็นว่าจิตไม่เกิดดับ) เพราะทุกคนก็ล้วนคิดว่าตัวเองเข้าใจถูก จึงต้องมีอรรถกถาเพื่อช่วยไม่ให้คิดเอาเอง (แต่ไม่สำคัญเท่าพระไตรปิฎก)

ท่านกล่าวว่าอานาปานสติบริบูรณ์ย่อมยังสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ แต่ไม่ได้ความว่า สติปัฏฐานจะบริบูรณ์ได้เพราะอานาปานสติอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระสูตรนี้ท่านมุ่งชื่นชมอานาปานสติ เพราะมีคุณมากดังกล่าวมาแล้วในตอนต้น

ครูบาอาจารย์สายวัดป่าหลายองค์ท่านก็มิได้เจริญอานาปานสติ แต่ท่านก็เป็นหลักให้เรากราบไหว้อย่างสนิทใจ เช่น หลวงปู่ชอบ ท่านก็บริกรรมพุทโธโดยไม่สนลมหายใจ หรือหลวงปู่เจี๊ยะ ท่านก็ให้บริกรรรมพุทโธรัวๆ เป็นต้น

ซึ่งจริงๆแล้วการบริกรรม พุทโธ สัมมาอรหัง ฯลฯ ก็เป็นอุบายของพระอาจารย์ชั้นหลัง
(พุทธานุสสติ นั้น เป็นการน้อมนึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค แล้วเกิดปีติ โสมนัส จนจิตสงบลงได้
ลำพังการบริกรรมชื่อของพระพุทธเจ้าเฉยๆยังไม่ใช่พุทธานุสสติหรอกครับ) แต่ไม่ได้ว่าผิดนะครับ ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นผมยกไว้เหนือเกล้าครับ เพราะผมเป็นคนอุดรบ้านอยู่ตรงกลางระหว่างทางไปวัดป่าบ้านตาด กับทางไปวัดถ้ำสหายนั้นแหละครับ(หากจะไปกราบหลวงตา หรือหลวงปู่จันทร์เรียนแล้วหรือไกลออกไปหน่อยครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นแถบหนองวัวซอไม่มีที่พักแวะพักบ้านผมได้ครับ)

พร่ำเพ้อไปมากแล้วหากผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue tongue tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 20:04
โพสต์: 25

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมภูต เขียน:
คุณ91Oneครับ
การจะดูจิตได้ถูกต้องนั้น คุณต้องรู้จักจิตที่แท้จริงเสียก่อนใช่มั้ยครับ???
คุณรู้จักจิตที่แท้จริงแล้วหรือครับ???

คุณช่วยบอกหน่อยได้มั้ยครับว่า จิตในจิตนั้น(ดูจิต)
จิตตัวแรกคืออะไรครับ???
จิตตัวหลังคืออะไรครับ???

:b39:

ผมความรู้น้อย ปัญญากระจิดริด หากคุณธรรมภูติจะกรุณา
ท่านอื่นๆ คงจะได้ประโยชน์นะครับ :b12: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 16:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ข้อความดั่งเดิมของคุณภัทรพงศ์

พระอรรถกถาจารย์ท่านก็ยังกล่าวว่า เปรียบเหมือนนคร(นิพพาน)ที่มีทางเข้า 4 ทิศ ไม่ว่าจะเข้าจากทางใดย่อมถึงพระนครได้เหมือนกันtongue tongue

คุณภัทรพงศ์ครับ

ตกลงใครกันแน่ครับที่ตีความไปเอง มีทางเข้า๔ทิศ ก็บอกชัดเจนอยู่แล้วว่ามีอยู่๔หนทาง
แต่พระพุทธพจน์พระองค์กล่าวไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า"ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก"

คำว่า"หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก" ก็ชัดๆอยู่แล้วทางนี้เป็นที่ไปอันอก(ทางเดียว)เท่านั้น
ไม่ได้ตรัสไว้ตรงไหนเลยว่านะครับว่า "หนทางนี้เป็นที่ไป๔ทิศ ๔ ทาง๔" เลย
ก็เล่นตีความกันเอาเองแบบนี้ พระพุทธพจน์จะไปเหลืออะไรครับ
อย่าเอาอาจาริยวาทที่ขานนาคเข้ามาเพื่อสืบทอดพระศาสนา
มาขัดแย้งกับองค์พระศาสดาของตนเองเลย

ที่ผมยกมาล้วนเป็นพระพุทธพจน์ที่มีอยู่ในพระธรรมและพระวินัยนะครับ
แม้แต่ท่านอรรถกถาจารย์(อาจาริยวาท)เอง ท่านก็กล่าวไว้ชัดเจน ในสุตตะ๓ว่า
V
V
ก็ปิฏก ๓ที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ ชื่อว่าสุตตะ ในปกิณณกะมีสุตตะเป็นต้น.
ข้อที่เข้ากันได้กับกัปปิยะ ชื่อว่าสุตตานุโลม. อรรถกถา ชื่อว่าอาจริยวาท.
ปฏิภาณของตน ตามความคาดหมายตามความรู้ ชื่อว่าอัตตโนมัติ.

ในปกิณณกะเหล่านั้น สุตตะ
ใครๆ คัดค้านไม่ได้ เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย.
ส่วนข้อที่เข้ากับได้กับกัปปิยะ ควรถือเอาเฉพาะข้อที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
แม้อาจริยวาทเล่า ก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.
ส่วนอัตตโนมัติเพลากว่าเขาทั้งหมด. แม้อัตตโนมัตินั้นก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น นอกนั้นไม่ควรถือเอา.


:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมภูต เมื่อ 04 ก.ย. 2010, 20:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรพงศ์ เขียน:

การศึกษาพระไตรปิฎกโดยไม่อาศัยอรรถกถา แต่ตีความเอาเอง คิดเอง กลับเป็นตัวท่านเองครับที่เชิดชูอัตโนมติ เหนืออรรถกถา (ดังที่ท่านเคยมีความเห็นว่าจิตไม่เกิดดับ) เพราะทุกคนก็ล้วนคิดว่าตัวเองเข้าใจถูก จึงต้องมีอรรถกถาเพื่อช่วยไม่ให้คิดเอาเอง (แต่ไม่สำคัญเท่าพระไตรปิฎก)
tongue tongue tongue


การศึกษาพระไตรปิฎก ควรทำตามพระพุทธพจน์ที่ว่า
"ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว บัญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย
ธรรมและวินัยนั้น จักเป็นศาสดาแทนเรา ปกครองท่านแทน เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"

ถ้ามีภิกษุมากล่าวอ้างว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน
ครั้นแล้วให้พึงเรียนบทพยัญชนะให้ดี
แล้วนำไปสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

ถ้าหากลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระสูตรไม่ได้
พึงถึงความตกลงในช้อนี้ว่า นี่ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคย์แน่นอน
และภิกษุนี้จำผิดมาแล้ว พวกเธอพงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

^
^
ตกลงชัดเจนนะครับว่าใครที่ตีความกันเอาเอง
"หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก" ไม่ใช่ "หนทางนี้เป็นที่ไปอันมี๔ทิศ ๔ทาง"ครับ
ที่ผมเชิดชูท่านพระอาจารย์ทั้งหลายในสายปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา(อัตโนมัติอาจารย์)
ก็เพราะธรรมของท่านล้วนลงกันได้กับพระธรรมและพระวินัย ตามรอยพระบรมครูจอมศาสดาครับ

ของแบบนี้ทำไม ต้องคิดเองให้เสียเวลาหละครับ
พึงเรียนบทพยัญชนะให้ดี แล้วสมาทานนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
เมื่อลงกันได้กับพระสูตรแลพระวินัย อย่างนี้ควรเชื่อมั้ยครับ???

มีพระพุทธพจน์ที่ไหนครับที่บอกว่าจิตเกิดดับ???
มีแต่กล่าวไว้ ในสติปัฏฐาน๔ชัดๆนะครับว่า
อารมณ์(กิเลส)เกิดขึ้นที่จิตก็รู้ กิเลส(อารมณ์)เหล่านั้นดับไปจากจิตก็รู้ใช่มั้ยครับ???

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรพงศ์ เขียน:

ท่านกล่าวว่าอานาปานสติบริบูรณ์ย่อมยังสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ แต่ไม่ได้ความว่า สติปัฏฐานจะบริบูรณ์ได้เพราะอานาปานสติอย่างเดียวเท่านั้น แต่พระสูตรนี้ท่านมุ่งชื่นชมอานาปานสติ เพราะมีคุณมากดังกล่าวมาแล้วในตอนต้นtongue tongue tongue


คุณภัทรพงศ์ครับ
แล้วมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ตรงไหนบ้างครับว่า
มีอย่างอื่นอีกที่ทำให้สติปัฏฐาน๔บริบูรณ์
นอกจากอานาปานสติ อย่าคิดเองเออเองสิครับ
หรือแม้แต่พระพุทธพจน์คุณก็ไม่เชื่อ เพราะไม่ตรงกับจริตของคุณ

ท่านกล่าวว่าอานาปานสติบริบูรณ์ย่อมยังสติปัฏฐานให้บริบูรณ์
เพราะอานาปานสติเป็นพื้นฐานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทุกหมวดครับ
เมื่อมีพื้นฐานที่บริบูรณ์ จะปฏิบัติหมวดใดก็ย่อมบริบูรณ์ตามไปด้วยใช่มั้ยครับ???
จึงทรงสรรเสริญอานาปานสติว่าย่อมยังสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ได้.....

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2009, 20:09
โพสต์: 202

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภัทรพงศ์ เขียน:

ครูบาอาจารย์สายวัดป่าหลายองค์ท่านก็มิได้เจริญอานาปานสติ แต่ท่านก็เป็นหลักให้เรากราบไหว้อย่างสนิทใจ เช่น หลวงปู่ชอบ ท่านก็บริกรรมพุทโธโดยไม่สนลมหายใจ หรือหลวงปู่เจี๊ยะ ท่านก็ให้บริกรรรมพุทโธรัวๆ เป็นต้น

ซึ่งจริงๆแล้วการบริกรรม พุทโธ สัมมาอรหัง ฯลฯ ก็เป็นอุบายของพระอาจารย์ชั้นหลัง
(พุทธานุสสติ นั้น เป็นการน้อมนึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาค แล้วเกิดปีติ โสมนัส จนจิตสงบลงได้
ลำพังการบริกรรมชื่อของพระพุทธเจ้าเฉยๆยังไม่ใช่พุทธานุสสติหรอกครับ) แต่ไม่ได้ว่าผิดนะครับ ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นผมยกไว้เหนือเกล้าครับ เพราะผมเป็นคนอุดรบ้านอยู่ตรงกลางระหว่างทางไปวัดป่าบ้านตาด กับทางไปวัดถ้ำสหายนั้นแหละครับ(หากจะไปกราบหลวงตา หรือหลวงปู่จันทร์เรียนแล้วหรือไกลออกไปหน่อยครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นแถบหนองวัวซอไม่มีที่พักแวะพักบ้านผมได้ครับ)

พร่ำเพ้อไปมากแล้วหากผิดพลาดประการใดได้โปรดอดโทษและอโหสิกรรมด้วยครับ tongue tongue tongue


คุณภัทรพงศ์ครับ

คุณอย่าตีความเอาเองสิครับ ว่าพ่อแม่ครูบาอารย์สายปฏิบัตินั้นไม่เอาอานาปานสติ.
การบริกรรม"พุทโธ"นั้น ก็เป็นการปฏิบัติกายในกาย หรือกายคตาสติครับ
ย่อมต้องมีอานาปานสติเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทั้งนั้นครับ
ไม่ว่าจะเอาคำบริกรรมอย่างเดียว หรือพิจารณาอิริยาบท หรืออสุภกรรมฐาน ล้วนเกี่ยวข้องกับอานาปานสติทั้งสิ้นครับ

เมื่อภาวนาไปเรื่อยๆหรือพิจารณาในหมวดกายในกายไปจนกระทั่งจิตละเอียด ลมหายใจก็ละเอียดตามไปด้วยครับ
ท่านที่ลงมือปฏิบัติไม่ว่า จะภาวนาก็ดี ดูอิริยาบทก็ดี หรืออสุภกรรมฐานก็ดี
ย่อมต้องรู้ดีว่า ในขณะที่ปฏิบัติอยู่นั้น ลมหายใจยังหยาบอยู่ หรือลมหายใจละเอียดดีแล้วครับ

อย่ามาอ้างไว้ว่ายกขึ้นเหนือเกล้าเลยครับ แค่เรื่องคำภาวนาคุณยังไม่เชื่อเลยว่าเป็นพุทธานุสสติ
แบบนี้หรือครับ ที่บอกว่ายกไว้เหนือเกล้า คุณเคยลองนำคำภาวนาเหล่านั้นสมาทานนำมาปฏิบัติดูหรือยังครับ

คำบริกรรมเหล่านั้น ล้วนเกิดจากการตรัสรู้ดีตรัสรู้ชอบของพระพุทธองค์ทั้งสิ้นใช่มั้ยครับ???
แต่ท่านพระอาจารย์ชั้นหลังนำมาเป็นอุบาย เพื่อให้ระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณได้ง่ายขึ้นใช่มั้ยครับ???
มีผู้ปฏิบัติคนไหนบ้างครับ ที่ไม่รู้ว่าคำบริกรรมเหล่านั้นเป็นการระลึกถึงคุณความดีของพระองค์....

:b39:

.....................................................
ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล
เชิญพบปะพูดคุยกับธรรมภูต


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร