วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 119 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 18:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาพธรรมที่โยคีประสบจากมนสิการกายกับจิตใจด้วยตนครั้งนี้เป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?board=3.0

เท่ากับฝึกจิตใจให้เกิดปัญญารอบรู้วิธีแก้ปัญหา รู้เห็นทางออก รู้จักวางจิตทำใจให้พอดี มีความเพียร

อดทน แน่วแน่มุ่งมั่น ฯลฯ จากธรรมชาติจริงๆ มิใช่พูดลอยๆตีฝีปากกันไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เอางี้นะ...

เท่าที่อ่านมา บางทีอาจเป็นภาวะที่เขาเรียกว่า ทรงฌาณ อยู่ตลอดเวลา
ไม่แน่ใจว่าดีหรือไม่ดี แต่ส่วนตัวเราคิดว่า มันอาจทำให้ไม่ก้าวหน้าในเชิงวิปัสสนา แต่ถ้าจะไปทางบำเพ็ญตบะ เป็นผู้ทรงอภิญญา มันก็น่าจะดีอยู่...

ลองหาอะไรสนุกๆ ทำ เช่นดูหนังฟังเพลง ลองหาเพลงซึ้งๆ ที่เราชอบตั้งแต่เก่าก่อนมาฟัง และปล่อยให้ซึ้งไปเลย นัยคือ เพื่อให้ออกจากฌาณเสีย เพื่อให้เรากลับสู่ จิตปกติ เวลาเข้าสมาธิอีก จะได้จดจ่อสังขารได้ดีขึ้น

เข้าออกฌาณสมาธิบ่อยๆ จะเป็นการฝึกความชำนาญในการเข้าสมาธิด้วยนะ เขาเรียกว่า วสี

ส่วนเรื่องนิมิตที่ไม่ต้องการ เข้าใจว่า เป็นการสร้างนิมิตเพื่อฝึกในสมัยแรกๆ ใช่ปะ พอเริ่มก้าวหน้า ก็เลยสร้างนิมิตได้ดีกว่าเดิม วิธีแก้ก็ง่ายๆ แต่อาจต้องใช้เวลาสักหลายวัน... คือเมื่ออยู่ในสมาธิ ให้มองไปที่ความว่างแทน (อรูปฌาณ) กำหนดจุดๆ หนึ่งในความมืดแล้วมองไปที่ตรงนั้น ฝึกไปพักหนึ่ง นิมิตจะไม่เกิดอีก...

หรือจะใช้วิธี อานาปานสติ ก็ได้ (ก็แนะนำวิธีนี้นะ) คือจดจ่อที่ลมหายใจ จริงๆ ในเชิงวิปัสสนาเขาก็ใช้อานาปานสตินะ

อ้อ ในขณะที่เรามองความว่างอยู่ ก็อาจเห็นภาพคนมอง เข้าใจคำว่า มอง นะ ก็ไม่ต้องตกใจ เป็นธรรมดา เขาก็มาดูคนฝึกจิตน่ะ :b32: :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 16 ส.ค. 2010, 19:46, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 14:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 23:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ ท่านกรัชกราย
ขอบพระคุณสำรับคำตอบนะคะแล้วจะทยอยอ่านค่ะ เมื่อวานนี้ตอนบ่ายทำงานเยอะรู้สึกว่าร่างกายเพลียจึงเข้าไปพักนอนหลับไปพอรู้สึกตัวตื่นแต่ยังไม่ลืมตา ภาพอสุภะเฉพาะใบหน้าที่ปรากฎให้เห็น ก็กำหนดว่า รู้หนอ เห็นหนอ สิ่งที่รู้ที่เห็นนี้ก็ไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง และเป็นอนัตตา พอพิจารณาเสร็จภาพหายไปความรู้สึกของจิตปรากฎให้รับรู้ทันทีเป็นความรู้สึก เฉย สงบ ตื่นขึ้นมาตอนเช้าจิตก็ยังแสดงความรู้สึกให้รับรู้คู่กับลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา นื่ไม่ได้นั่งสมาธิอีกเลยนะคะ พอมาถึงตอนนี้คงต้องทำใจแล้วใช่ไหมคะว่ามันเป็นธรรมดาของมันเองจะแสดงให้รู้ หรือไม่แสดงความรู้สึกของจิตให้รู้คงต้องมองเป็นพระไตรลักษณ์ด้วยใช่ไหมคะ
ขอบพระคุณนะคะที่คุณกรัชกรายสอนประโยคนี้
"ไม่มีอะไรจิรัง เกิดแล้วสลายไป ตามธรรมดาของมัน แต่จะมีปัญหาก็ตอนที่โยคีไม่รู้ทางออกจากภาวะนั้นแหละครับ เมื่อไม่รู้ทางออกปัญหาจึงวุ่นวายใจกาย"
ขอบพระคุณค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย ต้นไม้แก่ เมื่อ 18 ส.ค. 2010, 14:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 14:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 23:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ คุณmurano
ขอบคุณนะคะ จะลองพยายามปฎิบัติอย่างที่แนะนำนะคะเพราะปัจจุบันไม่ทำอะไรเลย ไม่นั่งสมาธิ ไม่เดินจงกรม ไม่วิปัสสนาอะไรเลยเวลาว่างนอกจากมีนิมิตปรากฎเท่านั้นก็พิจารณาไปตามเหตุที่เกิดน่ะค่ะ ถ้าเรื่องนั่งสมาธิเอาความสงบก็ยังนั่งได้อยู่ค่ะตลอดเวลา แต่เวลาที่ออกพิจารณากายในกายเท่านั้นค่ะนิมิตจึงมาเกี่ยวข้องทุกครั้ง ส่วนตัวของดิฉันเองนิมิตเหล่านี้ไม่มากระทบนะคะเพราะมองมันเป็นไตรลักษณ์อยู่แล้วค่ะ ส่วนที่กระทบกับตัวเองมากคือความรู้สึกของจิตที่แสดงความรู้สึกให้รับรู้นี้มากกว่าค่ะ ขอบคุณนะคะ พร้อมจะลองปฎิบัติอย่างที่แนะนำนะคะ ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะที่มีให้ตลอดมาด้วยค่ะ
ต้นไม้แก่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นไม้แก่ เขียน:
สวัสดีค่ะ ท่านกรัชกราย
ขอบพระคุณสำรับคำตอบนะคะแล้วจะทยอยอ่านค่ะ เมื่อวานนี้ตอนบ่ายทำงานเยอะรู้สึกว่าร่างกายเพลีย

จึงเข้าไปพักนอนหลับไปพอรู้สึกตัวตื่นแต่ยังไม่ลืมตา ภาพอสุภะเฉพาะใบหน้าที่ปรากฎให้เห็น ก็

กำหนดว่า รู้หนอ เห็นหนอ สิ่งที่รู้ที่เห็นนี้ก็ไม่เที่ยงเป็นอนิจจัง ทุกข์ขัง และเป็นอนัตตา พอ

พิจารณาเสร็จภาพหายไป
ความรู้สึกของจิตปรากฎให้รับรู้ทันทีเป็นความรู้สึก เฉย สงบ ตื่นขึ้นมา

ตอนเช้าจิตก็ยังแสดงความรู้สึกให้รับรู้คู่กับลมหายใจเข้าออกตลอดเวลา นื่ไม่ได้นั่งสมาธิอีกเลยนะคะ

พอมาถึงตอนนี้คงต้องทำใจแล้วใช่ไหมคะว่า มันเป็นธรรมดาของมันเองจะแสดงให้รู้ หรือไม่แสดง

ความรู้สึกของจิตให้รู้ คงต้องมองเป็นพระไตรลักษณ์ด้วยใช่ไหมคะ



ต้นไม้แก่ ปฏิบัติถูกต้องแล้วครับวิธีนั้นแหละ เห็นอะไร "เห็นหนอๆ" เป็นอย่างไรกำหนดอย่างนั้น

รู้สึกยังไงกำหนดยังงั้น ตามที่มันเป็นหรือตามเป็นจริงทั้งทางกายทางใจ

ได้ยินเสียง ได้กลิ่นเป็นต้นก็ทำนองเดียวกัน

เมื่อคุณก้าวมาทางนี้แล้ว วิธีนั้นวิธีเดียวที่จะก้าวล่วงแล้วล่วงรู้ภาวะนั้นๆได้ ทางอื่นไม่มีขอยืนยัน

เมื่อกำหนดทำนองนั้นที่ภาวะนั้นๆเกิดขึ้นทุกๆขณะ สภาพธรรมเหล่านั้นก็ถูกละได้แล้วก็หมดไปในที่สุด

จิตจะบริสุทธิ์พร้อมกับเกิดปัญญารอบรู้กองสังขารนี้ตามที่มันเป็นพอสมควรแก่การปฏิบัติของเราว่า

แค่ไหนเพียงไร


คงต้องทำใจแล้วใช่ไหมคะว่า มันเป็นธรรมดาของมันเองจะแสดงให้รู้ หรือไม่แสดงความรู้สึกของจิต

ให้รู้ คงต้องมองเป็นพระไตรลักษณ์ด้วยใช่ไหมคะ



ไม่ต้องทำใจหรอกครับ กำหนดรู้ภาวะนั้นๆตามที่เป็นตามที่มันปรากฏให้เห็นตามอาการของมัน

ชีวิตหรือกายกับใจนี้เป็นไตรลักษณ์ตามธรรมดาสามัญอยู่แล้ว ใครจะรู้หรือไม่รู้ มันก็เป็นอย่างนั้น

ของมันอยู่แล้วทุกเมื่อเชื่อวัน พึงปฏิบัติไปตามแนวดังกล่าวแล้ว

ฉะนั้น เราจึงไม่ต้องตั้งใจมองให้มันเป็นนั่นเป็นนี่ให้วุ่นวายไป แต่ๆให้ตั้งใจกำหนดภาวะที่เกิดขึ้น

ทุกๆขณะ
วิธีนี้แหละจะโยงให้ผู้ปฏิบัติเห็นไตรลักษณ์จากกายใจในที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 18 ส.ค. 2010, 16:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 16:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อ ต้นไม้แก่ ชอบอ่านหนังสือ อ่านบทความนั่นแล้วจะเข้าใจชีวิตว่าประกอบด้วยอะไร แล้วมีธรรมขาติ

เป็นยังไง โดยที่เราไม่ต้องมองให้มันเป็นนั่นเป็นนี่ตามที่เราอยากให้มันเป็น ไม่ต้องครับ มันเป็น

ของมันอยู่แล้ว แต่มนุษย์มองไม่เห็นเพราะขาดมนสิการ



ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ 5 เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ 5 ไม่ว่าจะแฝงอยู่ใน

ขันธ์ 5 หรืออยู่ต่างหากจากขันธ์ 5 ที่จะมาเป็นเจ้าของหรือควบคุมขันธ์ 5 ให้ชีวิตดำเนินไป

ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ 5 ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครบถ้วนเพียงพอ

ชีวิตหรือขันธ์ 5 เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท คือมีอยู่ในรูปกระแสแห่ง

ปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลาย

ตัวไป พร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก

ส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไป

อย่างมีเหตุผลและคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน

ในภาวะเช่นนี้ชีวิตจึงเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์คืออยู่ในภาวะแห่งอนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่

อนัตตา ไม่มีส่วนใดที่มีตัวตนแท้จริงและไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนได้ ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิด

ขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ
และพร้อมที่จะก่อให้เกิดทุกข์ได้เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

ความไม่รู้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ส.ค. 2010, 07:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ส.ค. 2010, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุ กระทู้ดีๆ ต้องมาโมนาค่ะ :b4:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็น ต้นไม้แก่ ชอบอ่านหนังสือ จึงขอแนะนำให้รู้จักชื่อข้อธรรมและความหมายนิดหนึ่ง

แต่เวลาทำกรรมฐานหรือกำลังปฏิบัติธรรมอยู่ ฯลฯ ไม่พึงคิดถึงสิ่งที่อ่านนี้นะครับ คุณสร้างเหตุ

คือการกำหนดรู้สภาวธรรมที่ปรากฏในขณะนั้นแต่ละขณะๆไป ธรรมชาติเหล่านี้เกิดแล้วครับ โดยไม่

ต้องยกมือพะนมร้องขอ…


สัญญา-วิญญาณ-ปัญญา

สัญญา วิญญาณ และปัญญา เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง 3 อย่าง แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คน

ละขันธ์

สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง (สัญญาขันธ์) วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง (วิญญาณขันธ์)

ปัญญาเป็นอีกขันธ์หนึ่ง (สังขารขันธ์)

ปัญญา * แปลกันว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง

หรือรู้ตรงตามความเป็นจริง

ท่านอธิบายขยายความกันออกไปอีก เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้รู้ผิด รู้ควรไม่ควร

รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา

รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้ เข้าใจถ่องแท้ รู้เข้าใจสภาวะ

รู้คิด รู้พิจารณา รู้วินิจฉัย รู้ที่จะจัดแจงจัดการหรือดำเนินการอย่างไรๆ


-แปลอย่างง่ายๆพื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึงเข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้)

เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา

ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไป

และลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจ

เพียงใด ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง

เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้

ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว ก็มีเรื่องให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปอีก

:b48: :b48: :b48: :b48:

* ปัญญา มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ส.ค. 2010, 12:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา ตรงข้ามกับโมหะซึ่งแปลว่า ความหลง ความไม่รู้ ความเข้าใจผิด สัญญาและวิญญาณ

หาตรงข้ามกับโมหะไม่ อาจกลายเป็นเหยื่อของโมหะไปด้วยซ้ำ เพราะเมื่อหลง เข้าใจผิดไป

อย่างใด ก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิดๆอย่างนั้น ปัญญาช่วยแก้ไขให้วิญญาณและสัญญาเดินถูก

ทาง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังเกตการทำงานของข้อธรรมดังกล่าว


สัญญา และ วิญญาณ อาศัยอารมณ์ที่ปรากฏอยู่จึงทำงานได้ สร้างภาพเห็นภาพขึ้นไปจากอารมณ์นั้น

แต่ ปัญญา เป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์ ริเริ่มกระทำต่ออารมณ์ (เพราะอยู่ในหมวดสังขาร) เชื่อมโยง

อารมณ์นั้นกับอารมณ์นี้กับอารมณ์โน้นบ้าง พิเคราะห์ส่วนนั้นกับส่วนนี้กับส่วนโน้นของอารมณ์บ้าง

เอาสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้มาเชื่อมโยงกันหรือพิเคราะห์ออกไปบ้าง มองเห็นเหตุ เห็นผล

เห็นความสัมพันธ์ ตลอดถึงว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หาเรื่องมาให้วิญญาณและสัญญารับรู้

และกำหนดหมายเอาไว้อีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสารีบุตร เคยตอบคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิญญาณ กับ ปัญญาว่า คนมีปัญญา รู้

(= รู้ชัด เข้าใจ) ว่านี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์

ส่วนวิญญาณ รู้ (= รู้แยกต่าง) ว่าเป็นสุข รู้ว่าเป็นทุกข์ รู้ว่าไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ แต่ทั้งปัญญาและ

วิญญาณนั้นก็เป็นองค์ธรรมที่ปนเคล้าหรือระคนกันอยู่ ไม่อาจแยกออกบัญญัติข้อแตกต่างกันได้

กระนั้นก็ตาม ความแตกต่างก็มีอยู่ในแง่ที่ว่า ปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมให้

เจริญขึ้น ให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น

ส่วนวิญญาณเป็นปริญไญยธรรม คือเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ หรือทำความรู้จักให้เข้าใจ รู้เท่าทันสภาวะ

และลักษณะของมันตามความเป็นจริง*

(*ม.มู.12/494/536)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 15:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 23:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ ท่านกรัชกราย
กราบขอบพระคุณอย่างสูงสำหรับข้อมูลปฎิจจสมุปบาท เดิมเคยอ่านผ่าน หลายครั้งแต่คิดว่ามันยังไม่ถึงเวลาอ่านก็เลยยังไม่ค่อยได้ศึกษานะค่ะ และดูว่าเป็นการศึกษาในระดับที่ยากขึ้นด้วย
ขอบพระคุณนะคะที่เขียนบรรยายให้อ่านได้เข้าใจง่ายๆ ด้วยค่ะ ตอนเช้าตื่นนอนขึ้นมาก็ปรากฎนิมิตให้เห็นอีกเช่นเคยเป็นใบหน้าอสุภะสลับกับใบหน้าปกติที่ตาสวยปากสวยคิ้วสวยๆ สลับไปมาก็กำหนดเห็นหนอ และพิจารณาว่าเป็นพระไตรลักษณ์ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใด ภาพนิมิตก็หายไปทั้งๆ ที่หลับตาตาอยู่(ขี้เซาน่ะค่ะ) ไม่ปรากฎภาพอะไรอีกเลยเป็นเวลานานค่ะ การที่พิจารณาไปถึงไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใดก็เพื่อสอนใจตัวเองที่จะไม่วิตกกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะตัวเราที่เรายึดมั่นถือมั่นนี้แท้จริงก็เป็นเพียงธาตุทั้ง ๔ มาประชุมรวมกันเท่านั้นเอง เป็นแต่สิ่งปฎิกูลโสโครกมีเพียงหนังห่อหุ้มไว้เท่านั้น สอนใจตัวเองอยู่น่ะค่ะ เท่าที่คิดได้น่ะค่ะ
วันนี้ทำได้เท่านี้เองค่ะ
กราบขอบพระคุณค่ะ
ต้นไม้แก่

ป.ล. ถึงคุณmurano วันนี้ตั้งใจจะเป็นวันแรกที่จะนั่งสมาธิอีกครั้งจะพยายามกำหนดความว่างตามที่แนะนำเพื่อให้เกิดวสีตามที่แนะนำนะคะ อีกทั้งท่านไวและท่านงมงายก็สอนให้ปฎิบัติ วสี ๕ ให้ชำนาญก่อนด้วย จะพยายามปฎิบัติให้ชำนาญโดยจะเริ่มทำวันนี้น่ะค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วสี คืออะไร ? อะไรเรียก วสี หรือ ครับ :b20: :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2010, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นไม้แก่ เขียน:
สวัสดีค่ะ ท่านกรัชกราย
กราบขอบพระคุณอย่างสูงสำหรับข้อมูลปฎิจจสมุปบาท เดิมเคยอ่านผ่าน หลายครั้งแต่คิดว่ามันยังไม่ถึงเวลาอ่านก็เลยยังไม่ค่อยได้ศึกษานะค่ะ และดูว่าเป็นการศึกษาในระดับที่ยากขึ้นด้วย
ขอบพระคุณนะคะที่เขียนบรรยายให้อ่านได้เข้าใจง่ายๆด้วยค่ะ ตอนเช้าตื่นนอนขึ้นมาก็ปรากฎนิมิตให้เห็นอีกเช่นเคย เป็นใบหน้าอสุภะ สลับกับใบหน้าปกติที่ตาสวยปากสวยคิ้วสวยๆ สลับไปมาก็กำหนดเห็นหนอ และพิจารณาว่าเป็นพระไตรลักษณ์ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใด ภาพนิมิตก็หายไปทั้งๆ ที่หลับตาตาอยู่ (ขี้เซาน่ะค่ะ) ไม่ปรากฎภาพอะไรอีกเลยเป็นเวลานานค่ะ การที่พิจารณาไปถึงไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาแต่อย่างใดก็เพื่อสอนใจตัวเองที่จะไม่วิตกกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะตัวเราที่เรายึดมั่นถือมั่นนี้แท้จริงก็เป็นเพียงธาตุทั้ง ๔ มาประชุมรวมกันเท่านั้นเอง เป็นแต่สิ่งปฎิกูลโสโครกมีเพียงหนังห่อหุ้มไว้เท่านั้น สอนใจตัวเองอยู่น่ะค่ะ เท่าที่คิดได้น่ะค่ะ
วันนี้ทำได้เท่านี้เองค่ะ



คำว่า ชีวิต ก่อนที่กรัชกายจะถามขอโทษนะครับ คืออ่านคำ (พูด) ตอบเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทแล้วฟังเหมือนเข้าใจคลาดๆอยู่ คุณเข้าใจคำว่า "ชีวิต" หรือ ขันธ์ 5 ที่บทความก่อนหน้านั้นไหมครับ ?

นิมิตให้เห็นอีกเช่นเคย เป็นใบหน้าอสุภะสลับกับใบหน้าปกติที่ตาสวยปากสวยคิ้วสวยๆสลับไปมาก็กำหนดเห็นหนอ

นิมิตนี้บ่งบอกถึงจิตใจ ต้นไม้แก่ครับ ขณะนั้นสมาธิขึ้นๆลงๆ เช่นอาการนี้
อ้างคำพูด:
(เป็นใบหน้าอสุภะสลับกับใบหน้าปกติที่ตาสวยปากสวยคิ้วสวยๆสลับไปมา)


สวยงาม บ่งถึงจิตมีสมาธิดีขึ้น ภาพอสุภะ บ่งสมาธิลดลง (ขึ้นๆลงๆ) กำหนด "เห็นหนอ" ไม่กี่ครั้งนิมิตหายไป โดยรวมสมาธิคุณใช้ได้

คุณเดินจงกรมบ้างไหมครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 19 ส.ค. 2010, 16:38, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2010, 16:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 23:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ ท่านกรัชกราย
วันนี้มีความสุขเดินไปไหนไปทำอะไร ทำงานอะไรมีความสุขค่ะ เข้ามาช่วงบ่ายครั้งหนึ่งแล้วค่ะเผอิญมีงานก็เลยเข้ามาตอบเย็นไปนิดนะคะ วสี 5 ขอนำบทธรรมบรรยาย ของพระอาจารย์มั่น (www.๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์) มาค่ะ "...เมื่อได้สำเร็จปฐมฌาณแล้วพึงปฏิบัติในปฐมฌาณนั้นให้ชำนาญคล่อง แคล่วด้วยดีก่อนแล้วจึงเจริญทุติยฌาณสืบต่อขึ้นไป
ก็ปฐมฌาณที่ชำนาญคล่องแคล่วด้วยดี ต้องประกอบด้วยวสีทั้ง 5 คือ
( 1 ) อาวัชชนวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ถ้าปรารถนาจะนึกถึงองค์ฌาณที่ตนได้ ก็นึกได้เร็วพลัน มิได้เนิ่นช้า มิต้องรอนานถึงชวนจิตที่ 4-5 ตกลง ยังภวังค์จิต 2-3 ขณะถึงองค์ฌาณที่ตนได้
(2) สมาปัชชนวสี คือชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะเข้าฌาณอาจเข้าฌาณได้ในลำดับอาวัชชนจิต อันพิจารณาซึ่งอารมณ์คือปฏิภาคนิมิตมิได้เนิ่นช้า
(3) อธิษฐานวสี คือชำนาญในอันดำรงรักษาฌาณจิตไว้มิให้ตกภวังค์ ตั้งฌาณจิตไว้ได้ตามกำหนด ปรารถนาจะตั้งไว้นานเท่าใดก็ตั้งไว้ได้นานเท่านั้น
(4)วุฎฐานวสี คือชำนาญคล่องแคล่วในการออกฌาณ กำหนดไว้ว่าเวลานั้นๆ จะออกก็ออกได้ตามกำหนดไม่คลาดเวลาที่กำหนดไว้
(5) ปัจจเวกขณวสี คือชำนาญคล่องแคล่วในการพิจารณาองค์ฌาณที่ตนได้อย่างรวดเร็ว มิได้เนิ่นช้า ถ้าไม่ชำนาญไนปฐมฌาณแล้วอย่าพึงเจริญทุติยฌาณก่อน ต่อเมื่อชำนิชำนาญคล่องแคล่วในปฐมฌาณด้วยวสีทั้ง 5 ดังกล่าวแล้ว จึงควรเจริญทุติยฌาณสืบต่อขึ้นไป เมื่อชำนาญในทุติยฌาณจึงเจริญตติยฌาณ จตุตถฌาณ และปัญจมฌาณขึ้นไปตามลำดับ..."
ตัวดิฉันเองเข้าใจในวสี 5 ที่ต้องปฎิบัติให้ชำนาญตามลำดับขั้นของฌานที่ปฎิบัติไปเรื่อยๆเป็นลำดับขั้นค่ะแต่ตัวดิฉันมีส่วนบกพร่องอยู่หลายส่วนโดยเฉพาะวุฎฐานวสีน่ะค่ะจึงอยากพยายามปฎิบัติในส่วนนี้ให้เกิดความชำนาญมากขึ้นน่ะค่ะ ถ้าเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างไรคุณกรัชกรายช่วยกรุณาชี้แนะด้วยค่ะ
(มีต่อค่ะ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 119 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร