วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการศึกษาธรรมมะ เป็นการศึกษาในเรื่องจิตล้วน เพราะจิตถูกปรุงแต่ง จิตเกิดมานานแล้วเวียนว่ายอยู่ในสงสารสาครมานานแล้วหากเราเข้าถึงญาน ถึงฌานแล้วบทบาทชีวิตหรือกรรมในอดีตชาติจะแสดงตัวตนของมันออกมา ภาพในอดีตชาติจะเกิดขึ้นมาให้เห็นเป็นภพเป็นชาติต่างๆ ที่เราได้สร้างไว้ในจิตนี้ถูกบันทึกเอาไว้หมด เราก็จะทราบถึงที่มาที่ไปของจิตนี้และค้นหาหนทางที่จิตนี้จะหลุดพ้น จะมีผู้มาสอนเราทางจิต จะมีเทวดามาช่วยเหลือเมื่อมีทุกข์ขอให้มีจิตเมตราไม่พยาบาท ปองร้าย ชำระจิตให้สงบโดยเริ่มจากสมาธิ และปฎิบัติตามที่ครูบาอาจารย์ ที่เห็นแจ้งในธรรมแนะนำ ย่อมเป็นหนทางของการศึกษาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 16:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ข้าพเจ้าศึกษาจากครูบาอาจารย์ญาติของข้าพเจ้าที่เขานิพพานไปแล้วมาสอนทางสมาธิ


คุณตุ๊กตา ทำให้คำถามกรัชกายตกอันดับกระมั่ง อย่างนั้นเป็นประเด็นให้คุณเฉลิมศักดิ์มองไม่เห็นคำถาม

ของกรัชกาย :b7:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตุ๊กตา เขียน:
ในการศึกษาธรรมมะ เป็นการศึกษาในเรื่องจิตล้วน เพราะจิตถูกปรุงแต่ง จิตเกิดมานานแล้วเวียนว่ายอยู่ในสงสารสาครมานานแล้วหากเราเข้าถึงญาน ถึงฌานแล้วบทบาทชีวิตหรือกรรมในอดีตชาติจะแสดงตัวตนของมันออกมา ภาพในอดีตชาติจะเกิดขึ้นมาให้เห็นเป็นภพเป็นชาติต่างๆ ที่เราได้สร้างไว้ในจิตนี้ถูกบันทึกเอาไว้หมด เราก็จะทราบถึงที่มาที่ไปของจิตนี้และค้นหาหนทางที่จิตนี้จะหลุดพ้น จะมีผู้มาสอนเราทางจิต จะมีเทวดามาช่วยเหลือเมื่อมีทุกข์ขอให้มีจิตเมตราไม่พยาบาท ปองร้าย ชำระจิตให้สงบโดยเริ่มจากสมาธิ และปฎิบัติตามที่ครูบาอาจารย์ ที่เห็นแจ้งในธรรมแนะนำ ย่อมเป็นหนทางของการศึกษาธรรม



สาธุๆๆ น่าสนใจครับ กรัชกายรอให้คุณพูดให้หมดก่อนก็ได้ กรัชกายรอคำตอบสุดท้ายจากคุณเฉลิมศักดิ์ครับ เชิญครับ รู้เห็นอะไรก็ว่ามา เอาให้คุณเฉลิมพูดไม่ออกเลยครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องขอโทษคุณกรัชกาย ที่ทำให้ตกอันดับ เพราะข้าพเจ้าอ่านอภิธรรมแล้วอาจจะตีความไม่ลึกซึ้ง
หรืออาจผิดพลาด และไม่ใช่แนวทางของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าศึกษาแต่กายและจิตเจริญวิปัสนากรรมฐานดูกายดูใจบางทีก็ต้องสู้รบกับกิเลสที่มาในรูปแบบต่างๆ มากมาย เกิดความรู้สึกมากมายในการปฎิบัติมีบททดสอบมากมายในการปฎิบัติ ข้าพเจ้าจึงไม่ละทิ้งการปฎิบัติ และไม่เห็นสมควรซักเท่าไหร่ ถ้าจะกล่าวว่าผลจากการทำสมาธิทำให้เกิดชาติ เพราะดูมันจะบิดเบือนต่อความรู้สึก แต่หากจะกล่าวว่า ผลจากการทำสมาธิตามแนวทางสติปักฐาน 4 ทำให้เกิด บุญ หรืออะไรก็ว่าไปข้าพเจ้าจะดีใจยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณตุ๊กตาเล่าให้ฟังบ้างสิครับ :b20: ทำกรรมฐานจากไหนยังไง แล้วเกี่ยวกับญาติที่เข้านิพพานไปแล้วสอนกรรมฐานทางสมาธิให้ สอนว่ายังไงบ้างครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้าพเจ้าไม่อยากจะอวดอ้างอิทธิฤทธ์ หรือปาฎหาร์แต่อยางไร แต่ในทางพระพุทธศาสนาแล้วมีเรื่องพวกนี้จริง บางคน รลึกชาติได้ แต่ความสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน ก็อีกเรื่องหนึ่ง ง่ายๆท่านทรงเน้นเรื่องจิตเป็นสำคัญ หากกล่าวถึงมงคล 38 ประการ ในช่วงสุดท้ายคือ จิตเกษม,จิตปราศจากธุรี,จิตไม่หวันไหว,จิตไม่มีโศก เป็นมงคงอันสูงสุด เริ่มต้นก็คือ ฝึกจิต ฝึกปฏิบัติ ตั้งตนชอบ สำรวมกาย,วาจาใจ ไม่สร้างกรรมชั่ว กระทำแต่กรรมดี ท่านจะเน้นมาก tongue หมดเวลาแล้วพบกันใหม่โอกาสหน้านะค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป


---------------------------------------
โดยมากชาวพุทธผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม มักจะพูดกันเสมอ ๆ ว่า การที่จะเจริญวิปัสสนาในเบื้องต้น จำเป็นจะต้องทำสมถะเสียก่อนแล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไป ถ้าไม่ทำสมถะเสียก่อนแล้ว จะก้าวขึ้นไปทำวิปัสสนาได้อย่างไร เพราะสมถะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา เท่าที่ผู้วิจัยเคยสังเกตมา ส่วนมากจะเป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น เพื่อจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นโดยยึดพระปริยัติเป็นหลัก ก็ใคร่จะขออธิบายให้เป็นที่เข้าใจกันเสียในที่นี้เลย

อันที่จริง แนวในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำใจให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางไว้แล้ว โดยแยกการปฏิบัติออกเป็น ๒ แนวคือ

แนวที่ ๑ เรียกว่า “ สมถยานิก “ คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ การเจริญวิปัสสนาแบบที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ สมถยานิกะ “ ถ้าสำเร็จมรรค – ผล ท่านก็เรียกผู้สำเร็จแนวที่ว่านี้ว่า “ เจโตวิมุติ “ อาจจะมีชื่อพิเศษเป็น เตวิชโช ฉฬภิญโญ คือผู้ได้วิชชา ๓ หรือผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น

แนวที่ ๒ เรียกว่า “ วิปัสสนายานิกะ “ คือ ผู้เจริญวิปัสสนาปัญญาล้วน ๆ ทีเดียว โดยไม่จำเป็นจะต้องไปทำฌานสมาบัติอะไรให้เกิดขึ้นก่อนก็ได้ พอเริ่มทำก็กำหนดนามรูปกันทีเดียว หมายความว่า พอตนเรียนอารมณ์ พร้อมทั้งวิธีกำหนดจากอาจารย์ผู้สอนจนเข้าใจแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติหลังจากที่ตนได้สถานที่ที่สบาย บุคคลสบาย ละปลิโพธกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ หมดเลย ก็ทำวิปัสสนาได้ทีเดียว พอวิปัสสนาเกิดขึ้นตนเองก็จะต้องประคองพลธรรมทั้ง ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอภาคกัน ในไม่ช้าก็จะสามารถแยกฆนสัญญาออกจากกันได้

เมื่อสามารถทำลายฆนสัญญาให้แตกออกจากกันได้แล้ว นามรูปก็จะปรากฏขึ้น ถ้าผู้ปฏิบัติพยายามทำต่อไปโดยไม่ลดละ ก็จะสามารถบรรลุถึงมรรค – ผล ได้ตามประสงค์ วิธีปฏิบัติแบบหลังที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ ปัญญาวิมุติ “ และจะได้ชื่อพิเศษว่า “ สุขวิปัสสโก “ ที่มักแปลกันว่า “ เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง “ นอกจากนั้น ยังได้พูดถึงความสามารถของพระอริยบุคคลทั้ง ๒ จำพวกนี้ไว้อีกว่า
๑. สมถะยานิกะ ทำลายตัณหาก่อน
๒. วิปัสสนายานิกะ ทำลายอวิชชาก่อน


--------------------------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
เฉลิมศักดิ์ เขียน
ผู้เข้าถึงสมาธิขั้นรูปฌาน อรูปฌาน ก็นำฌานนั้นมาเป็นบาทของการเจริญสติปัฏฐาน


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย เขียน
บาท ได้แก่อะไร หมายถึงอะไรครับ


บาท คือ ราก, ฐาน

ของการเจริญสติปัฏฐาน สำหรับผู้ได้ฌาน ก็ต้องออกจากฌาน และยกองค์ฌานขึ้นสู่ วิปัสสนา ให้เห็นไตรลักษณ์ของ นาม รูป กำหนดรู้ในทุกข์

อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย เขียน
สาธุๆๆ น่าสนใจครับ(คุณตุ๊กตา) กรัชกายรอให้คุณพูดให้หมดก่อนก็ได้ กรัชกายรอคำตอบสุดท้ายจากคุณเฉลิมศักดิ์ครับ เชิญครับ รู้เห็นอะไรก็ว่ามา เอาให้คุณเฉลิมพูดไม่ออกเลยครับ


อ้างคำพูด:
คุณตุ๊กตา เขียน
วิปัสนากรรมฐาน จุดเริ่มต้นเกิดจากสมาธิใช่หรือไม่ การสร้างบุญกุศล มาจากการเจริญสมาธิใช่หรือไม่
ความมีปิติ ฌานหรือญานเริ่มต้นมาจากการนั่งนิ่งๆใช่หรือไม่ เหตุใดการทำสมาธิจึงไม่ดีเหล่า


สมาธิจะดี หรือ ไม่ดี ขึ้นอยู่กับทิฏฐิของผู้ปฏิบัติ หากผู้นั้นมีสัมมาทิฏฐิ รู้จักการนำสมาธิมาเป็นบาทฐานของการปฏิบัติวิปัสสนา นั้นย่อมเป็น สัมมาสมาธิ

แต่ หากขาดสัมมาทิฏฐิในวิปัสสนา เข้าใจผิดว่า ปิติ สุข สงบ จากการนั่งสมาธิว่าคือวิปัสสนา เข้าใจผิดว่า รูปฌาน อรูปฌาน คือ นิพพาน นั้นย่อมเป็น มิจฉาสมาธิ

ซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง ที่คอยดักสัตว์ทั้งหลายให้อยู่ในสังสารวัฏ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ใน พรหมชาลสูตร

ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
๕๙. (๒) สมณะหรือพราหมณ์พวกอื่น กล่าวกะสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น อย่างนี้ว่า
ท่านผู้เจริญ มีอยู่จริง อัตตาที่ท่านกล่าวถึงนั้น ข้าพเจ้ามิได้กล่าวว่าไม่มี ท่านผู้เจริญ แต่อัตตานี้
ใช่จะบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หามิได้. ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะเหตุว่า กามทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะ
กามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และ
ความคับใจ ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ฉะนั้น จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน อันเป็น
ธรรมอย่างยิ่ง พวกหนึ่งย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่
อย่างนี้.
!
!
กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก
ถูกต้องๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
โทมนัส อุปายาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ
คุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น
เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้
ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือ
ชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ๆ
ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้
เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉัน


แต่กรณีคุณตุ๊กตา ที่อาจารย์สอนว่านั่งสมาธิติดต่อพระพุทธเจ้าได้ ผมเกรงว่าจะเป็นเพียงภาพนิมิต ที่จิตปรุงแต่งขึ้น แม้ฌานจากการนั่งสมาธิก็ยังไม่ได้ แต่เข้าใจว่าเข้านิพพานแล้ว ไม่แน่ใจว่าจะจัดอยู่ในทิฏฐิประเภทไหน ในพรหมชาลสูตร (ทิฏฐิ ๖๒)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes (เจ้าของกระทู้) ครับ ที่จริงการทำสมาธิแล้สทำให้เกิดภพชาติ พระพุทธองค์ตรัสไว้มากมาย แม้ในพรหมชาลสูตร

ผู้ที่หลงยึดมั่นใน รูปฌาน อรูปฌาน ก็ยังมี ภพชาติ ต่อไป ถูกข่ายดักไว้ไม่พ้นจากวัฏฏะสงสารได้

แม้แต่ ผู้ที่เข้าใจผิดเรื่องนิพพานที่นี้เดี๋ยวนี้ สอนเสมอว่า หลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ไม่เกี่ยวกับทุกข์ เป็นภาษาคน ไม่มีจริง ตามที่อาจารย์พุทธทาสคุณสอนนั้น

จนผู้ฟังมากมายกลายเป็น อุจเฉทททิฏฐิ เชื่อว่าภพชาติหลังการตายไม่มี

ทิฏฐิเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดภพชาติได้ เช่นกัน

พรหมชาลสูตร

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

อุจเฉททิฏฐิ ๗
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความ
ขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๗ ประการ ก็สมณพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่า ขาดสูญย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความ
พินาศ ความเลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๗ ประการ?
๕๑. (๑) ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ มีวาทะอย่างนี้
มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็น
แดนเกิด เพราะกายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเลิกเกิดฉะนั้น
อัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญอย่างเด็ดขาด พวกหนึ่งย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความ
เลิกเกิด ของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่อย่างนี้.


-------------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
คุณตุ๊กตา เขียน
จุดเริ่มต้นของการศึกษาธรรมมะไม่ต้องไปหาที่อภิธรรมที่ไหนอยู่ที่การปฎิบัติ ครูบาอาจารย์จะนำเราให้เข้าถึงในที่ละขั้นๆ ขอเพียงเราศัทธา มีความเพียรและไม่ดื้อกับครู เราก็จะเห็นความเป็นจริงเมื่อดับนิวร 5 ความเป็นจริงในตัวตนจะเกิดขึ้น แต่ละบุคคลรู้เฉพาะตน จุดมุ่งหมายเดียวกันคือนิพพานคืนความว่างและความสุข ความสุขที่หาไม่ได้ด้วยเงินทอง ก็ไม่สามารถซื้อได้ นี่คือความจริงในการปฎิบัติ



จากหนังสือ พุทธธรรม

สำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ปรารถนาความเกษม
จากโยคะอันยอดเยี่ยม เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอย่างอื่นแม้
สักอย่างหนึ่ง ที่มีประโยชน์มาก เหมือนความมีกัลยาณมิตรเลย ภิกษุผู้
มีกัลยาณมิตร ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้น
ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร...พึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ
๑. จักเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ สมบูรณ์ด้วยอาจาระและ
โคจร ฯลฯ
๒. จักเป็นผู้ (มีโอกาสได้ยินได้ฟัง ได้ร่วมสนทนาอย่างสะดวกสบาย)
ตามความปรารถนา ในเรื่องต่างๆ ที่ขัดเกลาอุปนิสัย ชำระจิตใจให้
ปลอดโปร่ง คือ เรื่องความมักน้อย ฯลฯ เรื่องการบำเพ็ญเพียร
เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ
๓. จักเป็นผู้ตั้งหน้าทำความเพียร เพื่อกำจัดอกุศลธรรม และเพื่อ
บำเพ็ญกุศลธรรมให้เพียบพร้อม จักเป็นผู้แข็งขัน บากบั่นมั่นคง
ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
๔. จักเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาที่เป็นอริยะ หยั่งรู้ถึง
ความเกิดความดับ ชำแรกกิเลส นำไปสู่ความสูญสิ้นแห่งทุกข์”
!
เมื่อกระจายลำดับขั้นในการพัฒนาปัญญาตอนนี้ออกไป จึงตรงกับ
ลำดับอาหารของวิชชาและวิมุตติ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือ
การเสวนาสัตบุรุษ-การสดับเล่าเรียนสัทธรรม-ศรัทธา-โยนิโส-
มนสิการ ฯลฯ
เมื่อสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ก็จะเจริญเข้าสู่จุดหมายด้วยการอุดหนุน
ขององค์ประกอบต่างๆ อย่างพุทธพจน์ที่ว่า
ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฏฐิ อันองค์ประกอบ ๕ อย่างคอยหนุน
(อนุเคราะห์) ย่อมมีเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เป็นผลานิสงส์ องค์
ประกอบ ๕ อย่างนั้น คือ
๑. ศีล (ความประพฤติดีงาม สุจริต)
๒. สุตะ (ความรู้จากการสดับ เล่าเรียน อ่านตำรา การแนะนำสั่งสอน
เพิ่มเติม
๓. สากัจฉา (การสนทนา ถกเถียง อภิปราย แลกเปลี่ยนความคิด
เห็น สอบค้นความรู้)
๔. สมถะ (ความสงบ การทำใจให้สงบ การไม่มีความฟุ้งซ่านวุ่นวาย
ใจ การเจริญสมาธิ)
๕. วิปัสสนา (การใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสิ่งต่างๆ ตามสภาวะของ
มัน คือตามที่มันเป็นจริง)
โดยสรุป สัมมาทิฏฐิ ก็คือความเห็นที่ตรงตามสภาวะ คือ เห็นตามที่
สิ่งทั้งหลายเป็นจริง หรือตามที่มันเป็น



อย่าลืม ตรวจสอบคำสอนของครูบาอาจารย์ด้วยนะครับ อย่าเชื่อเพียงเพราะท่านน่าเชื่อถือ เชื่อเพราะเป็นครูบาอาจารย์ของเรา

viewtopic.php?f=2&t=33773&st=0&sk=t&sd=a&start=47

แม้ พระพุทธเจ้ายังเปิดโอกาสให้พระสารีบุตรสอบสวน ตามพระสูตรที่ผมยกมาแสดงก่อนหน้านี้
(แต่เป็นคนละประเด็นที่คุณกบ ยกย่องท่านพุทธทาสที่วิจารณ์พระพุทธ พระธรรม โดยอิสระด้วยความมีอคติ)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากอรรถกถา พระอภิธรรมปิฏก ฉบับสยามรัฐ

จริงอยู่ ได้ยินว่า ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมเท่านั้น ชื่อว่า พระธรรมกถึก
นอกจากนี้แม้กล่าวธรรม ก็ไม่ใช่เป็นพระธรรมกถึก เพราะเหตุไร เพราะว่า
ภิกษุผู้ไม่ทรงพระอภิธรรมเหล่านั้นเมื่อกล่าวธรรม ย่อมกล่าวลำดับกรรม ลำดับ
วิบาก กำหนดรูปอรูป ลำดับธรรมให้สับสน ส่วนภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมย่อม
ไม่ให้ลำดับธรรมสับสน เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม จะกล่าวธรรม
หรือมิได้กล่าวก็ตาม แต่ในเวลาที่เธอถูกถามปัญหาแล้วก็จักกล่าวแก้ปัญหานั้น
ได้ พระศาสดาทรงหมายถึงคำนี้ว่า ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมนี้เท่านั้น ชื่อว่า
เป็นพระธรรมกถึกอย่างยิ่ง ดังนี้ จึงทรงประทานสาธุการแล้ว ตรัสว่า
โมคคัลลานะกล่าวดีแล้ว ดังนี้.


ผู้คัดค้านพระอภิธรรมชื่อว่า ทำลายชินจักร

บุคคลเมื่อคัดค้านพระอภิธรรม ชื่อว่า ย่อมให้การประหารในชินจักรนี้
ย่อมคัดค้านพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมหมิ่นเวสารัชชญาณของพระศาสดา
ย่อมขัดแย้งบริษัทผู้ต้องการฟัง ย่อมผูกเครื่องกั้นอริยมรรค จักปรากฏในเภทกร
วัตถุ ๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ควรแก่อุกเขปนิยกรรม นิยสกรรม
ตัชชนียกรรม เพราะทำกรรมนั้น จึงควรส่งเธอไปว่า เจ้าจงไป จงเป็นคน
กินเดนเลี้ยงชีพเถิด ดังนี้.

--------------------------------------------
อ้างคำพูด:
คุณตุ๊กตา เขียน
นิพพาน มีจริงสำหรับผู้ปฎิบัติเท่านั้นที่จะรู้ได้ ด้วยความเพียรและความดีจนถึงที่สุดแล้ว โดยอาศัยซึ่งความศัทธา ข้าพเจ้าไม่เคยอ่านอภิธรรม ข้าพเจ้าศึกษาจากครูบาอาจารย์ญาติของข้าพเจ้าที่เขานิพพานไปแล้วมาสอน ทางสมาธิ และเข้าถึงความสุขที่เงินทองก็หาซื้อไม่ได้ มีความสุขที่ได้หายใจเข้าและออก ไม่เห็นจำเป็นต้องพึ่งอภิธรรมเลย ดีชั่วอยู่ที่ใจ การพิจารณาใจ และกาย เข้าถึงวิปัสนาให้เห็นถึงอริยสัท 4 คือความเป็นจริง หรือสมุติฐาน 4 ในทางวิทยาศาสตร์ ศาสตร์ต่างๆ ก็เรียนรู้มาจากประสบการณ์ในการปฎิบัติซ้ำๆ คิดใตร่ตรองจนเห็นความเป็นจริงและแก้ไขพัฒนามาเป็นวิทยาให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาใช่ ไหม


ครูบาอาจารย์ ที่เป็น ธรรมกถึก ท่านควรมีความรู้พระอภิธรรมบ้าง เพื่อจะกล่าวธรรมตามลำดับ ไม่ให้สร้างความสับสนให้ศิษย์ ดังที่ อาจารย์หลาย ๆ สำนักเป็นอยู่

แม้อาจารย์จะสอนว่า นั่งสมาธิเข้านิพพานไปเฝ้าพระพุทธเจ้ามาโดยตรงก็ตาม

หากยึดแต่ ความเห็นส่วนตัวของอาจารย์เป็นใหญ่ ในไม่ช้า พระพุทธศาสนาก็แตกแยกออกเป็น อาจาริยวาทต่าง ๆ เกิดเป็นนิกายใหม่ ๆ ทำให้เราห่างไกลต่อ กัลยาณมิตร ที่ประเสริฐสุด คือ พระพุทธเจ้า

ดังเช่น ศิษย์ท่านพุทธทาสท่านหนึ่ง ก็มีแนวคิดว่า เซนเถรวาทครั้งปฐมสังคายนา เป็นต้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


นำมาฝากทุกท่านครับ จากที่ท่านผู้รู้ทางด้านพระอภิธรรม อีกท่านหนึ่ง ที่ท่านอธิบายไว้เพื่อใช้ประกอบการเรียน พระอภิธรรม เบื้องต้น (หลักสูตรทางอินเตอร์เนต)

http://www.buddhism-online.org/Section07A_04.htm

รูปาวจรกุศลกรรม คนบางคนมีอัธยาศัยชอบความสงบ จึงขวนขวายมุ่งไปในการทำสมาธิ คิดว่าการทำสมาธิ หรือการทำฌานนั้นให้ความสงบสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ประณีตกว่า การทำบุญทำกุศลที่เป็นกามาวจรกุศลกรรม เพราะทำได้โดยทางใจ (มโนกรรม) ไม่ต้องขวนขวายไปทำทางกาย และทางวาจาเหมือนอย่าง กามาวจรกุศลกรรม

การเจริญรูปาวจรกุศลกรรมนั้น จัดเป็นภาวนามัย เป็นการเจริญสมถกรรมฐาน ที่มีกรรมฐาน ๒๖ เป็นอารมณ์ โดยการกำหนดจิต ให้แนบแน่นอยู่กับอารมณ์ ที่เป็นตัวกรรมฐาน เพื่อให้รูปาวจรกุศลคือ ฌาน เกิดขึ้น

อารมณ์ของสมถกรรมฐาน มีทั้งหมด ๔๐ คือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ และอรูปกรรมฐาน ๔ รวมเป็นสมถกรรมฐาน ๔๐ แต่จะเป็นกรรมฐานให้เกิดฌานขึ้นได้นั้นมี ๓๐ เท่านั้น จะได้ศึกษาในรายละเอียดในโอกาสต่อไป



ผลของรูปาวจรกุศลกรรม


ผู้ที่ได้รูปาวจรกุศล ๕ แล้ว รูปาวจรวิบาก ๕ ย่อมปรากฏขึ้นตามลำดับ แล้วจะทำหน้าที่ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ คือนำเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ต่อไป

ผู้ได้ฌานที่ ๑ คือรูปาวจรปฐมฌานกุศลจิต เมื่อขณะตายลงฌานยังไม่เสื่อม รูปาวจรปฐมฌานวิบากจิต จะนำเกิดปฏิสนธิเป็นพรหมได้ ๓ ชั้น คือ ปาริสัชชา ปุโรหิตา และ มหาพรหมมา ตามกำลังของฌานที่ได้คือ มีกำลังอ่อน มีกำลังปานกลาง และมีกำลังแก่กล้า เรียกว่า ปฐมฌานภูมิ ๓


ในปฐมฌานภูมิทั้ง ๓ นี้ มิได้ตั้งอยู่เป็นชั้น ๆ สูงขึ้นไป แต่ตั้งอยู่ในพื้นระดับเดียวกัน ตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ ห่างจากชั้นกามาวจรภูมิคือ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ ประมาณ ๕,๕๐๘,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๖ ก.ม.) ซึ่งมีวิมาน สวนดอกไม้ สระโบกขรณี อันล้วนประกอบด้วยรัตนะทั้ง ๗ อันประณีต มีรัศมีสวยงามยิ่งนัก

พรหมปาริสัชชา มีอายุยืนยาวนาน ๑/๓ มหากัปป์ พรหมปุโรหิตา อายุยืนยาวนาน ๑/๒ มหากัปป์ และ มหาพรหมมา มีอายุยืนยาวนาน ๑ มหากัปป์ (โปรดดูแผนภูมิ ๓๑ ภูมิ อยู่ในชุดก่อน ๆ ประกอบ)

คำว่า มหากัปป์ ท่านให้คำอุปมาไว้ว่า มีพระนครแห่งหนึ่ง มีกำแพงสูง ๑๐๐ โยชน์ ยาวด้านละ ๑๐๐ โยชน์ บรรจุเมล็ดผักกาดเต็มพื้นที่นั้น เมื่อครบ ๑๐๐ ปี หยิบเมล็ดผักกาดออก ๑ เมล็ด อีก ๑๐๐ ปี ก็หยิบออกอีกเมล็ดหนึ่ง ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดหมด เรียกว่า ๑ มหากัปป์ จึงเป็นเวลาที่นานแสนนาน

การเกิดเป็นพรหมเท่ากับเป็นการดองภพดองชาติ ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์และได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพียง ๑ หรือ ๒ ชาติ ก็จะสามารถสำเร็จเป็นพระอรหันต์หมดกิเลสไปได้ ฉะนั้นการเกิดเป็นพรหมก็เหมือนกับการนอนหลับที่ยืนยาวนานนั่นเอง

ผู้ได้ฌานที่ ๒ คือ รูปาวจรทุติยฌานกุศลจิต และ ฌานที่ ๓ คือ รูปาวจรตติยฌานกุศลจิต เมื่อขณะตายลงฌานยังไม่เสื่อม รูปาวจรทุติยฌานวิบากจิต และ รูปาวจรตติยฌานวิบากจิต จะไปนำเกิด ปฏิสนธิเป็นพรหมได้ ๓ ชั้น คือ ปริตตาภา อัปปมานาภา อาภัสรา ตามกำลังของฌานที่ได้คือ ฌานที่มีกำลังอ่อน มีกำลังปานกลาง และมีกำลังแก่กล้า เรียกว่า ทุติยฌานภูมิ ๓ เป็นพรหมที่มีอายุยาวนาน ๒ มหากัปป์ ๔ มหากัปป์ และ ๘ มหากัปป์ ตามลำดับ

ผู้ได้ฌานที่ ๔ คือ รูปาวจรจตุตถฌานกุศลจิต เมื่อขณะตายลงฌานยังไม่เสื่อม รูปาวจรจตุตถฌานวิบากจิต จะนำเกิดปฏิสนธิเป็นพรหมได้ ๓ ชั้น คือ ปริตตสุภา อัปปมานสุภา สุภกิณหา
ด้วยอำนาจของฌานที่มีกำลังอ่อน มีปานกลาง และมีแก่กล้า เรียกว่า ตติยฌานภูมิ ๓ เป็นพรหมที่มีอายุยาวนาน ๑๖ มหากัปป์ ๓๒ มหากัปป์ และ ๖๔ มหากัปป์ ตามลำดับ

ผู้ได้ฌานที่ ๕ คือ รูปาวจรปัญจมฌานกุศลจิต เมื่อขณะตายลงฌานยังไม่เสื่อม รูปาวจรปัญจมฌานวิบากจิต จะนำเกิดปฏิสนธิเป็นพรหมได้ ๗ ชั้น คือ เวหัปผลา อสัญญสัตตา เป็นพรหมทีมีอายุยาวนาน ๕๐๐ มหากัปป์ และ สุทธาวาส ๕ สำหรับผู้ที่สำเร็จเป็น พระอนาคามี แล้ว จึงจะไปเกิดเป็นสุทธาวาสพรหม ๕ คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และ อกนิฏฐา ด้วยอำนาจความแรงกล้าแห่งอินทรีย์ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ตามลำดับ


ทิพยสมบัติของพรหม

ผู้ที่ไปเกิดเป็นพรหมด้วยอำนาจของฌานที่ตนได้ จะเสวยทิพยสมบัติแห่งความเป็นพรหม คือ มีอายุยืนยาวนานเป็นมหากัปป์ มีวิมาน มีสวนดอกไม้ มีสระโบกขรณี และเครื่องทรงอลงกรณ์ต่าง ๆ สวยสดงดงามประณีต และสวยสดงดงามกว่าทิพยสมบัติของเทวดาทั้งหลาย

คนบางคนเมื่อได้เกิดเป็นพรหมเป็นรูปพรหม ๑๖ ชั้น ดังกล่าวแล้ว ก็หาพอใจในฌาน หรือในทิพยสมบัติของตนที่มีอยู่ไม่ ต้องการไขว่คว้าหาความสุข ที่ประณีตยิ่งขึ้น โดยการเจริญ อรูปาวจรกุศลต่อไปอีก

------------------------------------------------------

คุณ mes ครับ ธรรมะบรรยายดังกล่าว อาจจะไม่เคยฟังจากอาจารย์พุทธทาส นะครับ

พิจารณาดูให้ดีครับ ศึกษาเปรียบเทียบจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา อย่างพึ่งไปเชื่อตามอาจารย์พุทธทาสว่า การสอนแบบนี้ทำให้คนเป็นสัสสตทิฏฐิ เป็นธรรมดำ เรียนแล้วจะติดเหมือนกัญชา (จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร ของท่านพุทธทาส)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 08:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สารัตถะ

จาก หนังสือ ตามดู-ไม่ตามไป

โดย พุทธวจนะสถาบัน


http://ia360706.us.archive.org/11/items ... epcool.pdf

อ้างคำพูด:
อินทรียสังวร ๑๑

ตัวแปรหลักที่เป็นกุญแจไขปัญหานี้ คือ สมาธิ

ตราบใดที่จิตยังซัดส่ายไป ๆ มา ๆ ทั้งการอนุปัสสนาก็ดี และการวิปัสสนาก็ดี ต่างก็ทำได้ยาก
พระพุทธเจ้าจึงทรงรับสั่งว่า ให้เราเจริญสมาธิ เพื่อให้ธรรมทั้งหลายปรากฏตามเป็นจริง

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ.
ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง.
ก็ภิกษุย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงอย่างไร ?
ย่อมรู้ชัดซึ่งความเกิดและความดับแห่งรูป
ความเกิดและความดับแห่งเวทนา
ความเกิดและความดับแห่งสัญญา
ความเกิดและความดับแห่งสังขาร
ความเกิดและความดับแห่งวิญญาณ.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๗-๑๘//๒๗.


นอกจากนี้แล้ว พระพุทธองค์ยังทรงแนะนำเป็นกรณีพิเศษ สำหรับกรณีที่จิตตั้งมั่นยาก
เช่น คนที่คิดมาก มีเรื่องให้วิตกกังวลมาก ย้ำคิดย้ำทำ คิดอยู่ตลอดเวลา หยุดคิดไม่ได้
หรือ คนที่เป็น hyperactive มีบุคลิกภาพทางจิตแบบ ADHD ซึ่งมีปัญหาในการอยู่นิ่ง
ทรงแนะนำวิธีแก้ไขอาการเหล่านี้ โดยการเจริญทำให้มาก ซึ่งอานาปานสติสมาธิ

ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกายก็ตาม ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตาม
ย่อมมีไม่ได้ เพราะการเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ
- มหา. สํ. ๑๙/๔๐๐/๑๓๒๕.


เมื่อถึงตรงนี้ แม้จะไม่เอ่ยถึง เราก็คงจะเห็นได้ชัดแล้วว่า ความสงบแห่งจิต (สมถะ) นั้น
จะต้องดำเนินไปควบคู่ และเกื้อหนุนกับระดับความสามารถในการเห็นแจ้ง (วิปัสสนา)
ซึ่งพระพุทธองค์เองได้ตรัสเน้นย้ำในเรื่องนี้ไว้โดยตรงด้วย

ภิกษุทั้งหลาย. ! ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นอย่างไรเล่า?
สมถะ และ วิปัสสนา เหล่านี้เรากล่าวว่า เป็นธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง.
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓๔/๒๕๔.


อินทรียสังวร ๑๓
ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง มีสองอย่าง คือ ทั้งสมถะ และวิปัสสนา
นั่นหมายความว่า ทั้งสมถะ และวิปัสสนา เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยปัญญาอันยิ่งในการได้มา
ดังนั้น ใครก็ตามที่มีความสามารถในการทำจิตให้ตั่งมั้นได้ บุคคลนั้นมีปัญญาอันยิ่ง
ใครก็ตามที่จิตตั้งมั่นแล้วสามารถเห็นแจ้งในธรรมอันเป็นเหตุ บุคคลนั้นมีปัญญาอันยิ่ง
สำหรับบางคนที่อาจจะเข้าใจความหมายได้ดีกว่า จากตัวอย่างอุปมาเปรียบเทียบ
พระพุทธองค์ได้ทรงยกอุปมาเปรียบเทียบไว้ในฌานสูตร ว่าเหมือนกับการฝึกยิงธนู
เมื่อพิจารณาแล้ว จะพบว่า มีตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะต้องปรับให้สมดุลย์
เช่น ความนิ่งของกาย วิธีการจับธนู การเล็ง น้ำหนัก และจังหวะในการปล่อยลูกศร
อุปมานี้ พอจะทำให้เราเห็นภาพได้ดี ในการเจริญสมถะวิปัสสนา ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ว่าการเห็นแจ้งในธรรมอันเป็นเหตุนั้น จะต้องอาศัยความสมดุลย์ต่าง ๆ อย่างไรบ้าง
หากจะพูดให้สั้นกระชับที่สุด การตามดูไม่ตามไปนี้ แท้จริงแล้ว คือ การไม่ตามไป
เพราะเมื่อไม่ตาม (อารมณ์อันมีประมาณต่าง ๆ) ไป มันก็เหลือแค่การตามดูที่ถูกต้อง
หลักการไม่ตามไปนี้ ก็คือ หลักการละนันทิ ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันกับหลักอินทรียสังวร
ภิกษุมิคชาละ ฟังธรรมเรื่องการละนันทิ แล้วหลีกจากหมู่ไปอยู่ผู้เดียวก็บรรลุอรหัตผล
ความเร็วในการละนันทิ ยังถูกใช้เป็นเครื่องวัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติจิตภาวนา
(ดูความเชื่อมโยงได้ในเรื่อง อินทรียสังวร, การไม่ประมาท, อินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ)

หนังสือ ตามดู ไม่ตามไป เล่มนี้ จัดทำขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวพุทธ
โดยการคัดเลือกพุทธวจน ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญสติ เป็นจำนวนกว่า ๖๐ พระสูตร
ซึ่งมีเนื้อหาสอดรับเชื่อมโยงคล้องเกลียวถึงกัน เพื่อให้เราได้ศึกษาให้เข้าใจถึงมรรควิธี
ที่ถูกต้องทุกแง่มุม ในความหลากหลายภายใต้ความเป็นหนึ่ง จากพุทธบัญญัติโดยตรง
ขอให้บุญบารมีที่ได้สร้างมา ของชาวพุทธผู้ที่กำลังถือหนังสือเล่มนี้อยู่ จงเป็นเหตุปัจจัย
ให้ท่านค้นพบคำตอบโดยแจ่มแจ้ง ในข้อสงสัยเรื่องการปฏิบัติที่ท่านอาจจะติดข้องอยู่
และสำหรับบางท่านที่เข้าใจคลาดเคลื่อน ปฏิบัติคลาดเคลื่อนไปบ้าง มาแต่ทีแรก
ก็ขอให้ได้พบ ได้เข้าใจในสิ่งที่ถูก และนำไปใช้ขยับปรับเปลี่ยนให้ตรงทางได้โดยเร็ว
สำหรับท่านที่ไม่เคยรู้อะไรมาก่อนเลย ก็ถือเป็นบุญกุศลที่ได้พบแผนที่ฉบับนี้แต่แรก

------------------------------------------------------------------------------------------

คณะผู้จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ขอนอบน้อมสักการะ
ต่อ ตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
และ ภิกษุสาวกในธรรมวินัยนี้
ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จนถึงยุคปัจจุบัน
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสืบทอดพุทธวจน
คือ ธรรม และวินัย ที่ทรงประกาศไว้ บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีแล้ว
คณะศิษย์พระตถาคต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 08:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย เขียน
บาท ได้แก่อะไร หมายถึงอะไรครับ

บาท คือ ราก, ฐาน ของการเจริญสติปัฏฐาน สำหรับผู้ได้ฌาน ก็ต้องออกจากฌาน และยกองค์ฌานขึ้นสู่ วิปัสสนา ให้เห็นไตรลักษณ์ของ นาม รูป กำหนดรู้ในทุกข์


วิธีการออกจากฌานออกยังไงครับ ครั้นเมื่อออกจากฌานแล้วๆยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา ยกฌานยังไง จึงจะเห็นไตรลักษณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 15 ส.ค. 2010, 08:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย เขียน
วิธีการออกจากฌานออกยังไงครับ ครั้นเมื่อออกจากฌานแล้วๆยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา ยกฌานยังไง จึงจะเห็นไตรลักษณ์


จากพระไตรปิฏก อรรถกถา

21049.สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา จากพระไตรปิฏก อรรถกถ
viewtopic.php?f=2&t=21049


ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป


------------------------------------------------------

จากการบรรยาย ของอาจารย์แนบ มหานีรานนท์

จิตตวิสุทธิ (สมาธิวิสุทธิ)
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm

ผู้ที่จะทำกรรมฐาน จะเป็นสมถะก็ดี หรือ วิปัสสนาก็ดี ข้อสำคัญอยู่ที่อารมณ์ เพราะฉะนั้นก่อนที่เราจะเจริญวิปัสสนา จะต้องศึกษาในเรื่องอารมณ์ ว่าเราจะใช้อารมณ์อะไร จึงจะเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนา และอารมณ์อะไรจึงจะเป็นปัจจัยแก่สมาธิ อันนี้ สำคัญที่สุดที่เราจะต้องศึกษา

สมาธิที่เป็น “ จิตตวิสุทธิ “ นั้นคืออย่างไร..?

ถ้าสมาธิเกิดจากอารมณ์ของสติปัฏฐานแล้ว ก็เป็น จิตตวิสุทธิ แน่นอน เพราะทำลายกิเลส กิเลสจับไม่ได้เลย นี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งสมาธิที่ไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์แล้วก็จะต้องมีความสุข ทำให้เราเกิดความสุขขึ้น เข้าใจว่ามีความสุข และมีความพอใจในความสุข หรือ สงบนั้น

ความพอใจอันนั้นเป็น กิเลส เกิดขึ้นเพราะอาศัย สมาธิ

ผู้ที่ทำสมาธิแล้วจะปฏิเสธว่า ไม่พอใจในความสุข ความสงบนั้น เป็นไปไม่ได้เลย ไม่มีเหตุผลที่จะเป็นไปได้เลย ต้องพอใจ ต้องชอบใจ นี้เป็นธรรมดา ต้องเห็นว่าเป็นความสุข ต้องรู้สึกว่าเป็นสุขจริงๆ เพราะเหตุนั้นกิเลสจึงเข้าอาศัยได้

ด้วยเหตุนี้แหละ สมาธิจึงไม่สามารถจะทำลายอารมณ์ที่เป็น วิปลาส ได้

วิปลาส ได้แก่ เห็นว่า งาม เห็นว่า เที่ยง เห็นว่า เป็นสุข เห็นว่า เป็นตัวเป็นตน เป็นต้น

ฉะนั้นสมาธิที่เกิดขึ้น นอกจากอารมณ์ของสติปัฏฐานแล้ว สมาธิอันนั้นจะต้องมีวิปลาสเข้าอาศัยโดยแน่นอน เพราะอะไร ก็เพราะว่าสำคัญว่างาม สำคัญว่าเที่ยง สำคัญว่าเป็นสุข สำคัญว่าเป็นตัวเป็นตน

เพราะไม่เห็นความเกิดขึ้น และดับไปในที่นั้น

ธรรมชาติของจิตหมุนเร็ว

ปัญญาอย่างเรานี้หยาบ

ไม่สามารถจะเข้าไปเห็นความจริงของธรรมะที่ละเอียดสุขุม ที่เกิดจากสมาธิได้

เมื่อไม่เห็นแล้วก็สำคัญว่าจิตนั้นเที่ยง จิตนี้เป็นอัตตาตัวตน หรือจิตนี้เป็นนิพพาน สำคัญเอาว่าอย่างนี้ก็มี เช่นอย่างว่า ว จิตนี้บริสุทธิ์ไม่มีกิเลสแล้ว นั่นแหละจึงเป็นนิพพาน

ความสำคัญในวิปลาส อันมีสุภวิปลาส นิจจวิปลาส และอัตตวิปลาส เกิดขึ้นจะปฏิเสธไม่ได้เลย มันต้องเกิดขึ้นเองโดยเหตุผลและโดยธรรมดาทีเดียว เมื่อจิตได้รับอารมณ์อย่างนั้นแล้วจะไม่รู้สึกว่าเป็นสุขนั้นเป็นไปไม่ได้

ทีนี้ทำอย่างไรจึงจะสามารถทำลายวิปลาสในสมาธินั้นได้

สำหรับผู้ที่ทำสมาธิได้จนถึงฌานแล้ว บางคนถึงกับร้องว่า “ โอ.. …สุขจริงหนอ… “

เพราะผู้ที่เกิดมานี้ น้อยคนนักที่จะได้เข้าถึงความสุขของสมาธิ โดยมากเราก็อาศัยความสุขอยู่แต่ในกามคุณ ที่ว่าอาศัยความสุขอยู่ในกามคุณนั้นอย่างไร….

หมายความว่า ได้รูปที่ดี ๆ ได้กลิ่นที่ดี ๆ ได้รสที่ดี ๆ ได้ถูกต้องที่ดี ๆ อย่างนี้โดยอาศัยกามคุณทั้ง 5 หรือ อารมณ์ทั้ง 6 นั้นเอง

และความสุขของเราจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าได้รูปไม่ดีได้เสียงไม่ดี เป็นต้น ความสุขก็ไม่มี ความสุขของคนเราโดยธรรมดาต้องเป็นอยู่อย่างนี้ ส่วนความสุขของผู้เข้าสมาธินั้นละเอียดยิ่งกว่าเป็นไปในกามคุณนี้มากมายนัก บางคนจะไม่เคยพบเลยในความสุขที่พ้นจากกามนั้น เพราะอะไร เพราะเป็นความสุขที่ประณีต ความสุขของสมาธินั้น สงบแล้วจากความสุขในกาม สงบจากความปรารถนาดิ้นรนในกาม เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าถึงขั้นนี้แล้วจะถือว่า ความสุขในกามนั้นเป็นของเลว

ความสุขของท่านเหล่านี้ไม่ต้องอาศัยกาม และอาจจะกล่าวได้ว่า ความสุขอันนี้มีตนเป็นที่พึ่งก็ก็ได้ เพราะไม่ต้องอาศัยอารมณ์ภายนอก หรือไม่ต้องอาศัยความสุขจากผู้อื่น

แต่ว่า กิเลสวิปลาส อย่างละเอียดนั้นไม่สามารถจะกำจัดได้ ถ้ากำจัดได้แล้วพระพุทธเจ้าก็ไม่จำเป็นจะต้องทรงแสดงเหตุที่จะให้เกิดปัญญาอีก

ศีล กำจัด กิเลสอย่างหยาบ

สมาธิ กำจัด กิเลสอย่างกลาง

ปัญญา กำจัด กิเลสอย่างละเอียด

ท่านแสดงไว้ 3 ขั้นอย่างนี้ ถ้าหากว่าสมาธิสามารถทำให้หมดจดจากกิเลสได้ โดยไม่ต้องอาศัยปัญญาคือ วิปัสสนาปัญญา แล้ว ท่านฤาษีชีพราหมณ์เมื่อครั้งก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ ซึ่งท่านเหล่านี้ก็มีสมาธิแข็งแกร่งมากที่สุด จนกระทั่งสามารถจะเป็นบาทของอภิญญาได้ ก็ยังไม่ทำให้ท่านเหล่านั้นเกิดปัญญาได้

ถึงแม้สมาธิที่พระพุทธเจ้าจะทรงทำตามลำดับของฌานก็ไม่ยิ่งไปกว่าของเขา ไม่เกินเขา เพราะของเขานั่นน่ะ เป็นที่สุดแล้ว สมาธิในโลกไม่มีอะไรจะยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าที่สุดถึงเช่นนั้นแล้ว ก็ยังไม่ทำให้ท่านเหล่านั้นเกิดปัญญาได้

พระพุทธองค์ยังได้ ตรัสถึงดาบสทั้งสองท่าน ที่ได้ตายแล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นสูงว่า “ ฉิบหายเสียแล้วจากมรรคผล ฯ “ ถ้าหากว่าสมาธิอันนั้น เป็นประโยชน์แก่ปัญญา ทำสมาธิให้มาก ๆ ปัญญาต้องเกิดขึ้นเอง พวกทำสมาธิก็ต้องเกิดปัญญาแล้ว และพระพุทธเจ้าก็คงจะไม่ตรัสว่า “ ฉิบหายเสียแล้วจากมรรคผล ฯ “ เลย

มรรคผลนั้นจะบรรลุได้ ต้องด้วย ปัญญา

ไม่ใช่ด้วย สมาธิ อย่างแน่นอน

การเจริญวิปัสสนาของท่านผู้ที่ได้ฌาน เมื่อทำฌานได้แล้ว จะทำอย่างไรเล่า จึงจะทำลายวิปลาสในสมาธิออกเสียได้ เพราะตามธรรมดาผู้ที่ได้ฌานแล้วนั้น ย่อมเป็นสุข และ ย่อมเพลิดเพลินในสุขนั้น

ก็มีอีกนัยหนึ่ง ซึ่งเป็นนัยของวิปัสสนาที่เกิดจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้บอกทางแนะนำให้ โดยมีพราหมณ์ ถามว่า เมื่อเข้า รูปฌาน หรือ อรูปฌาน แล้ว พระองค์จะทรงแนะนำอะไรกับเขาบ้าง

ก็มีอยู่ทางเดียว อย่างเช่น ปฐมฌาน ก็มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา 5 องค์

สุขนี้นั้นเกิดจากอะไร

เกิดจาก ปีติ ปีติเป็นเหตุ

ปีติ นั้นเกิดจาก สมาธิ

ที่ทำให้เรารู้สึกเป็นสุขนั้น เพราะ “ ปีติ “ เป็นองค์สำคัญ เวลายกขึ้นสู่ “ วิปัสสนา “ ท่านจึงเอา “ ปีติ “ ซึ่งเป็นองค์ของ “ ฌาน “ นั้นแหละขึ้นสู่วิปัสสนา

ปีติ นี้เป็น นามธรรม อาศัยเกิดที่ หทัยวัตถุ ไม่ใช่เกิดจาก ตา หู หรือ โสตวัตถุ ฆานวัตถุ ชิวหาวัตถุ กายวัตถุ ไม่ใช่อย่างนั้น

“ ปีติ “ นี้เกิดจาก “ หทัยวัตถุ “ ซึ่งเป็นรูป

พิจารณาอย่างนี้แล้ว ท่านก็เพ่งปีติ

ตามธรรมดาการทำฌาน ไม่ได้เพ่ง “ นามรูป “ แต่เพ่ง “ กสิณ “ มีเพ่ง น้ำ ดิน ไฟ ลม เป็นต้น

แล้วแต่ตัวกรรมฐานที่จะให้ได้ในฌานนั่น อารมณ์ของปีติ หรือ อารมณ์ของฌานในปีตินั้น มีอารมณ์กรรมฐานที่ตนเพ่งมาก่อนเป็นนิมิต หรือ เป็น ปฏิภาคนิมิต หรือ อุคคหนิมิต จากอารมณ์นั้นแล้วจึงได้เข้าถึงฌานในฌานนั้นก็มีอารมณ์อยู่อย่างนั้น

แต่เวลาที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนานั้น ไม่ได้เพ่งอารมณ์กรรมฐานมีกสิณ เป็นต้น อารมณ์เหล่านั้นเป็น บัญญัติธรรม ไม่มีสภาวะที่จะให้เห็นว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้

เพราะฉะนั้นจะยกขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนาไม่ได้ ท่านก็ยกเอาปีติ เพราะเป็น นามธรรม เป็นนามขันธ์ เป็น สังขารขันธ์ มีสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จึงยกเอาปีติขึ้นเพ่ง

ธรรมชาติของปีตินั้น จะเพ่ง หรือ ไม่เพ่ง ก็มีการ เกิด – ดับ และจิตเป็นสมาธิ ก็มีการเกิด – ดับ เมื่อปีติที่อาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ปีติก็เกิด – ดับอยู่เป็นธรรมดาเช่นเดียวกัน แต่ว่าเกิด – ดับ ติดต่อรวดเร็วมาก จนกระทั่งไม่สามารถจะเข้าไปรู้ว่า เขาไม่เที่ยง หรือ เขาเกิด – ดับได้ และก็ไม่ได้ดูด้วย

----------------------------------------------

คุณกรัชกายครับ คุณเชื่อในหลักฐานจากพระไตรปิฏก อรรถกถา หรือไม่ครับ ?

แล้วแนวทางเจริญวิปัสสนา โดยอาศัยสมถะ คุณทำอย่างไร ?

หวังว่าคุณคงไม่เข้าใจว่า สมถะ กับ วิปัสสนา คือสิ่งเดียวกัน ตามที่คุณตรงประเด็นเข้าใจนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ส.ค. 2010, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ คุณเชื่อในหลักฐานจากพระไตรปิฏก อรรถกถา หรือไม่ครับ ?

แล้วแนวทางเจริญวิปัสสนา โดยอาศัยสมถะ คุณทำอย่างไร ?

หวังว่าคุณคงไม่เข้าใจว่า สมถะ กับ วิปัสสนา คือสิ่งเดียวกัน ตามที่คุณตรงประเด็นเข้าใจนะครับ


หากมีใครถามชื่อหัวข้อธรรม เช่น สมถะ วิปัสสนาจะนำไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มาวางแบให้เห็นเค้าของเดิม แล้วจะเข้าใจกิ่งก้านใบ ฯลฯ ซึ่งแตกแยกย่อยออกจากมัน ดูนะครับ ศีล ก็ ศีล เช่น ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ฯลฯ ว่าไป สมถะ ก็แตกออกไปจากสมาธิ วิปัสสนา ก็แตกออกไปจากปัญญา พูดง่ายๆว่า สมถะก็คือสมาธิ วิปัสสนาก็คือปัญญา

เมื่อพูดถึงภาคปฏิบัติ ต้องฝึกให้จิตสงบ (สมถะ หรือ เป็นสมาธิ) ระดับหนึ่งก่อน เมื่อจิตสงบแล้วก็ย่อมเห็นตามเป็นจริง เห็นตามเป็นจริงหรือตามที่มันเป็นนั่นแหละวิปัสสนาแล้ว หรือปัญญาเกิดแล้ว หรือวิชชาเกิดแล้ว

การจะเชื่ออะไรไม่เชื่ออะไร จะให้แน่ควรลงมือทดลองดูพิจน์ดูก่อนแล้วค่อยเชื่อหรือไม่เชื่อ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. จิตตวิสุทธิ (สมาธิวิสุทธิ )
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm

หมายถึง จิตที่มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ต้องเป็นไปเพื่ออานิสงส์ที่เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์เท่านั้น สมาธินี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ ถ้าทำสมาธิเพื่อจะได้มีความสุข ต้องการให้จิตสงบ ความเข้าใจเช่นนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่ต้องการพ้นทุกข์
(ขุ. ปฏิ. ญาณกถา ๓ /๗๒)

หน้าที่ของสมาธิในสติปัฏฐานนั้น คือ การทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือทำลายความยินดียินร้ายที่อยู่ในจิตใจ ซึ่งศีลไม่สามารถทำลายความรู้สึกนึกคิดได้ ศีลเพียงแต่กันไม่ให้แสดงออกทางกาย ทางวาจาเท่านั้น นิวรณ์ธรรมเกิดขึ้นในระดับจิตใจขณะที่คิดนึกถึงเรื่องราวที่เป็นอดีตหรืออนาคต ถ้าขณะใดจิตตั้งมั่นในอารมณ์ปัจจุบันแล้ว นิวรณ์จะเกิดไม่ได้เลย

สมาธิมีอยู่ ๓ ขั้น คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเป็นได้ทั่วไปในอารมณ์ทั้ง ๖ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ขณะย้ายอารมณ์ไปตามทวารทั้ง ๖ ด้วยเหตุใดก็ตาม ขณิกสมาธิจะติดตามไปด้วยเสมอ ขณิกสมาธิดังกล่าวนี้จึงเป็นปัจจัยหรือเป็นบาทฐานให้แก่วิปัสสนา เพราะการเปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นไปตามเหตุผลนั้นเอง ที่เป็นเหตุให้เห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์และของจิตได้ถ้าหากไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์แล้ว ยากที่จะเข้าใจถึงสภาวะของความเกิด ความดับ ของจิตได้

(วิสุทธิ. อ. ภาค ๒ / ๒๙)

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=10082

๖. สมถะ คือ สมาธิที่เกิดในฌานนั้น สามารถเกิดมีได้ทั้ง อุปจาระ และอัปปนาสมาธิ ส่วนสมถะคือสมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น จะเกิดมีได้เฉพาะ ขณิกสมาธิ ที่เกิดตามสภาวะอารมณ์ชั่วขณะที่อารมณ์นั้นๆ ยังปรากฏอยู่ชั่วขณะหนึ่งๆ เท่านั้น เมื่ออารมณ์นั้นดับไปแล้ว สมาธิที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาปัญญานั้น ก็พลอยดับไปด้วย

๗. การทำสมถะเพื่อให้เกิดฌานสมบัตินั้น สามารถทำได้เพียง ๒ ประตู คือ ประตูตา และประตูใจ เท่านั้น อันนี้หมายความว่า ใช้ตาดูกสิณหรืออสุภะเป็นต้น เพื่อให้ไปติดถึงใจ หรือกำหนดลมด้วยใจแต่เพียงอย่างเดียว ส่วนวิปัสสนานั้นสามารถทำได้ทั้ง ๖ ประตูทีเดียว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย เขียน
เมื่อพูดถึงภาคปฏิบัติ ต้องฝึกให้จิตสงบ (สมถะ หรือ เป็นสมาธิ) ระดับหนึ่งก่อน เมื่อจิตสงบแล้วก็ย่อมเห็นตามเป็นจริง เห็นตามเป็นจริงหรือตามที่มันเป็นนั่นแหละวิปัสสนาแล้ว หรือปัญญาเกิดแล้ว หรือวิชชาเกิดแล้ว


คุณกรัชกายครับ สมาธิมีหลายระดับ แต่ละระดับก็เอื้อต่อ แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา ที่ต่างกัน

ถ้าเป็นแนว สมถะ นำวิปัสสนา ก็ต้องทำสมาธิขั้นอัปปนาสมาธิ ได้ฌานก่อน จึงเจริญวิปัสสนา

ส่วนแบบ วิปัสสนา นำหน้า อาสัยขณิกสมาธิ ความสงบตั้งมั่นใน ปัจจุบันอารมณ์ต่าง ๆ และพิจารณาสภาพสังขารธรรม ตามความเป็นจริง เว้นอภิชฌา โทมนัส แต่ขณิกสมาธิที่เอื้อต่อการเจริญวิปัสสนา ก็ต้องมีฐานจาก ศีลวิสุทธิ

คุณกรัชกายครับ ใช่ว่าการปฏิบัติวิปัสสนาต้องอาศัยอัปปนาสมาธิ เท่านั้น

อาจาริยวาท ของสายสมาธิ ส่วนใหญ่ ที่ขาดคันถะธุระ ท่านรับไม่ได้ ที่ว่า ขณิกสมาธิ สามารถปฏิบัติวิปัสสนาได้ และในรายละเอียดเรื่องการยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา ก็ไม่สามารถอธิบายได้ สอนแต่ว่า ปฏิบัติไป เมื่อจิตสงบแล้วจะรู้เอง ไม่ต้องกระทำคันถะธุระ(ปริยัติศาสนา) ให้มาก เดี๋ยวจะฟุ้งซ่าน เป็นอันตรายแก่สมาธิเปล่า ๆ

ส่วนคุณตรงประเด็น ก็พยายามอ้างพระพุทธพจน์ในส่วนที่ตรัสถึง สมถะยานิกะ เพื่อสนับสนุนอาจาริยวาท เท่านั้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร