วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 06:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

การนั่งสมาธิเป็นศาสตร์เก่าแก่เกือบจะพอๆ กับประวัติศาสตร์มนุษยชาติ และส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับศาสตร์ของโลกตะวันออก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ความเชื่อของพ่อมดหมอผี

ไม่มีใครรู้แน่ว่า การนั่งสมาธิเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ แต่คาดว่า น่าจะมีขึ้นตั้งแต่เมื่อหลายพันปีที่แล้ว และอาจเป็นพิธีกรรมที่จำกัดเฉพาะพ่อมดหมอผี หรือคนที่เชื่อว่ามีอำนาจติดต่อกับโลกวิญญาณที่คนทั่วไปมองไม่เห็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒๐๐๐-๓๐๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล-ศาสนาพราหมณ์

การนั่งสมาธิมีกล่าวถึงในคัมภีร์พระเวทของศาสตร์พราหมณ์ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาฮินดูนับตั้งแต่นั้นมา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Buddha.jpg
Buddha.jpg [ 254.89 KiB | เปิดดู 7362 ครั้ง ]
๕๘๘ ปี ก่อนคริสตกาล-ศาสนาพุทธ


หลังจากนั่งสมาธิใต้ต้นโพธิ์ เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงบรรลุนิพพานเข้าถึงสัจธรรมของศาสนาพุทธ ทำให้การนั่งสมาธิกลายเป็นส่วนสำคัญของศาสนาพุทธทุกนิกาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ส.ค. 2010, 14:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คริสต์ศตวรรษที่ ๒ -ศาสนาคริสต์

บาทหลวงชาวคริสต์ที่เรียกตัวเองว่า เดสเสิร์ท ฟาเธอร์ หรือคุณพ่อแห่งท้องทะเลทราย ปลีกวิเวกจากสังคมเมือง และใช้การทำสมาธิในรูปของการสวดภาวนา เป็นหนทางเข้าใกล้พระเจ้า นับจากนั้นเป็นต้นมา การทำสมาธิ ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาคริสต์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คริสต์ศตวรรษที่ ๒ -ศาสนายิว

นิกายบาลิสติค อันเป็นนิกายลึกลับของศาสนายิว ให้ความสำคัญกับการทำสมาธิ เพื่อติดต่อสื่อสารกับพระเจ้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คริสต์ศตวรรษที่ ๒ -ศาสนาอิสลาม

ในช่วงเวลาเดียวกัน ชาวมุสลิมนิกายซูฟี ทำให้การทำสมาธิ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค.ศ.๑๙๖๗ หรือ พ.ศ. ๒๕๑๐ โยคะตามแบบมหาริชชี

มหาริชชี หรือมหาฤาษี ทำให้การนั่งสมาธิกลายเป็นแฟชั่นของโลกตะวันตก เมื่อสมาชิกวง เดอะ
บีทเทิลส์ กลายเป็นสานุศิษย์ของท่าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 7381 ครั้ง ]
การนั่งสมาธิกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในซีกโลกตะวันตก ขณะที่ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันว่า การทำสมาธิ ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย หากยังทำให้ความเครียดในใจลดลงด้วย

ทุกวันนี้ในอเมริกา มีคนวัยผู้ใหญ่มากกว่า ๑๐ ล้านคน ที่นั่งสมาธิเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งสมาธิในแบบพุทธ ฮินดู เต๋า หรือการสวดภาวนาในแบบคริสต์ ซึ่งตัวเลขดังกล่าว เพิ่มขึ้นจากเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้วถึงเท่าตัว ขณะเดียวกันชั้นเรียนการนั่งสมาธิ ก็เต็มไปด้วยนักเรียนที่มาจากทุกชนชั้นอาชีพ ไม่เฉพาะแต่คนที่ฝักใฝ่ในทางธรรมเท่านั้น หากยังรวมไปถึงนักกฎหมาย และคนทำงานออฟฟิศทั่วไปด้วย

ในปัจจุบัน การนั่งสมาธิ ไม่ได้เป็นเรื่องยากลำบาก ถึงขั้นต้องบุกป่าฝ่าดงเพื่อฝากตัวเป็นสาวกท่านมหาฤาษีเหมือนในสมัยก่อน ว่ากันจริงๆแล้ว การนั่งสมาธิกลายเป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงแล้วด้วยซ้ำ ตามโรงเรียน โรงพยาบาล สำนักงานกฎหมาย หน่วยงานราชการ สำนักงานบริษัท และแม้แต่ในเรือนจำ

การนั่งสมาธิ กลายเป็นหัวข้อวิชาในหลักสูตรโรงเรียนนายร้อยเวสต์พอยต์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของข้อแนะนำของฟิลแจ็คสัน โค้ชทีมแอลเอ.เลเกอร์ส ส่วนที่มหาวิทยาลัยมหาริชชี (หรือมหาฤาษี) ในเมืองแฟร์ฟิลด์ รัฐไอโอวา นักเรียน นักศึกษาของที่นี่ จะนั่งสมาธิร่วมกันทุกวันๆๆ ละ ๒ ครั้ง ขณะที่ศูนย์ชัมบาลา เมาน์เทน ในโคโลราโด ซึ่งดูเหมือนสถานกาสิโนในสไตล์ทิเบต มีคนมาใช้บริการเพิ่มขึ้นจาก ๑,๓๔๒ คน ในปี ๒๕๔๑ เป็น ๑๕,๐๐๐ คน ในปีนี้

ดารา นักการเมือง และผู้มีชื่อเสียงจำนวนมากในอเมริกาหันมานั่งสมาธิอย่างจริงจัง อาทิ โกลดี้ ฮอว์น ดาราสาวใหญ่ที่ยังสวยไม่สร่าง, ชาไนยา ทเวน นักร้องคันทรีสาวสวย, ฮีทเธอร์ แกรมห์ ดาราสาวหุ่นเซกซี่, ริชาร์ด เกียร์ นักแสดงมากฝีมือ และ อัล กอร์ อดีตรองประธานาธิบดี ซึ่งเกือบๆ จะได้เป็นประธานาธิบดี ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา

ขณะที่การนั่งสมาธิกลายเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้น รูปแบบและวิธีการของมัน ก็ถูกทำให้เรียบง่าย และตัดส่วนที่เป็นเรื่องลี้ลับออกไปด้วย ทุกวันนี้ การนั่งสมาธิไม่จำเป็นต้องมีการจุดธูปเทียน หรือพิธีกรรมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ แต่ยังคงส่วนที่เป็นแก่นสำคัญอยู่ คือ ความเชื่อที่ว่า การนั่งเงียบๆ เป็นเวลา ๑๐-๔๐ นาที โดยให้ใจจดจ่ออยู่กับรูปภาพ ถ้อยคำหรือแม้แต่ลมหายใจ จะทำให้คุณเกิดสมาธิที่อยู่กับภาวะปัจจุบัน โดยไม่วอกแวกไปกับอดีตที่ผ่านไปแล้วหรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง รวมทั้งทำให้คุณสามารถเข้าสู่สัจธรรมได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ส.ค. 2010, 14:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความนิยมในการนั่งสมาธิที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นแค่กระแสในทางวัฒนธรรมเท่านั้น หากยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ด้วยเนื่องจากแพทย์หลายคนแนะนำว่า การนั่งสมาธิช่วยป้องกัน หรืออย่างน้อยก็ยับยั้งความเจ็บปวดจากโรคเรื้อรัง อย่างเช่น โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอดส์) และโรคมะเร็ง นอกจากนี้ การนั่งสมาธิ ยังเป็นสิ่งที่แพทย์แนะนำให้ทำ เพื่อแก้อาการทางจิต อาทิ ภาวะซึมเศร้า (depression) ภาวะไฮเปอร์แอคทีฟ (hyperactivity) และอาการสมาธิสั้น(attention deficit disorder)

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องการนั่งสมาธิ มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงทศวรรษ ๒๕๐๐-๒๕๑๐ ซึ่งได้ผลลัพธ์ยืนยันว่า การนั่งสมาธิทำให้จิตใจ "อยู่กับปัจจุบัน" อย่างแท้จริง

ในอินเดีย นักวิจัยชื่อ พี.เค.อนันต์ พบว่า บรรดาโยคีที่อยู่ในภาวะ "สมาธิ" จะไม่มีปฏิกิริยาใดๆ แม้ว่าจะถูกวัตถุร้อนแนบเข้าที่ต้นแขน ขณะที่ในญี่ปุ่น ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชื่อ ที.ฮิราอิ แสดงให้เห็นว่า ผู้นั่งสมาธิแบบ "เซน" จะอยู่ในภวังค์ จนไม่ได้ยินเสียงนาฬิกาปลุกที่ดังติดต่อกันนานถึงชั่วโมง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปี ๒๕๑๐ ดร.เฮอร์เบิร์ท เบนสัน ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ จากฮาร์วาร์ด ใช้เครื่องมือแพทย์ ตรวจวัดการทำงานของร่างกาย ผู้นั่งสมาธิ ๓๖ คน พบว่าเมื่อคนเราอยู่ในภาวะสมาธิ ร่างกายจะใช้ออกซิเจนน้อยลง ๑๗% ขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง จากภาวะปกตินาทีละ ๓ ครั้ง ขณะที่คลื่นสมอง "เธต้า" อันเป็นคลื่นสมองที่เกิดขึ้น ในภาวะหลับสนิท จะเพิ่มสูงขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




norththailand.jpg
norththailand.jpg [ 86.26 KiB | เปิดดู 7375 ครั้ง ]
เบนสัน สรุปว่า การนั่งสมาธิช่วยให้คนเรามีจิตใจที่สงบขึ้น และมีความสุขมากขึ้น

"สิ่งที่ผมทำ" เบนสัน ระบุ "เป็นการอธิบายในทางวิทยาศาสตร์ ต่อเทคนิคที่คนเราได้เรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้ ตั้งแต่เมื่อหลายพันปีที่แล้ว"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การศึกษาเรื่องการนั่งสมาธิ เริ่มเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ เมื่อเดือน มี.ค ๒๕๔๓ เมื่อองค์ทะไล ลามะ ผู้นำจิตวิญญาณแห่งธิเบต ได้พบปะพูดคุยกับนักจิตวิทยา และนักวิทยาศาสตร์ด้านระบบประสาท ที่ธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ซึ่งพระองค์เสนอให้มีการศึกษาเรื่อง ภาวะสมาธิ โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ในการตรวจวัดคลื่นสมอง ซึ่งจะมีการหารือผลของการศึกษานี้ ในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

สิ่งหนึ่งที่วงการวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้ ก็คือการปฏิบัติสมาธิในระยะหนึ่ง จะทำให้ระบบประสาทในสมอง ปรับตัวให้เข้ากับกิจกรรมในสมองส่วนตัว ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การคิดโดยใช้เหตุผล การตระหนักรู้ และการควบคุมอารมณ์มากขึ้น

"การศึกษาวิจัยในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ทำให้เราพบว่า การนั่งสมาธิ เป็นยารักษาอาการเครียดได้ชะงัดนัก" แดเนียล โกลแมน ผู้เขียนหนังสือ Destructive Emotions ซึ่งรวบรวมบทสนทนาระหว่างองค์ทะไล ลามะ กับคณะนักประสาทวิทยากล่าว "แต่ที่น่าตื่นเต้นกว่านั้น ก็คือ นั่งสมาธิ ยังช่วยปรับสภาพจิตใจและสมองได้อีกด้วย"

ทั้งนี้ ผลการวิจัย ซึ่งรวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน พบว่า การนั่งสมาธิทำให้สมองกลับมาอยู่ในสภาพ "สด-ใหม่" รวมถึงขจัดอาการ "ปัญหาจราจรติดขัด" ในเส้นเลือด หรืออาการเส้นเลือดอุดตัน และที่สำคัญ ต้นทุนในการนั่งสมาธิ ซึ่งใช้เพียงแค่เบาะรองนั่งใบเดียว ก็ถูกกว่าการผ่าตัดใหญ่หลายเท่าตัว

"การนั่งสมาธิเป็นเหมือนการเติมน้ำมันให้กับสมอง" โรเบิร์ท เธอร์แมน ผู้อำนวยการสถาบันทิเบต เฮาส์ กล่าว "การนั่งสมาธิในแบบเอเซีย อาจเป็นวิธีที่เป็นธรรมชาติที่สุด"

"อีกอย่างที่ผมอยากจะเสนอ ก็คือเราควรแยกออกจากกัน ระหว่างการนั่งสมาธิกับการนับถือศาสนาพุทธ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ไม่ว่าคุณจะนับถือศาสนาหรือความเชื่อแบบใด คุณก็สามารถนั่งสมาธิในแบบพุทธได้" เธอร์แมน กล่าว

http://www.skyd.org/html/life-social/samadhi.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"นั่งสมาธิ" บางทีเราพูดสั้นๆอย่างนั้นฐานะคนรู้เข้าใจกัน แต่ก็มีผู้ไม่รู้กลับยึดการนั่งอย่างนั้นเป็นสมาธิไปเสีย ดังนั้นพึงทำความเข้าใจคำพูด "นั่งสมาธิ" เสียด้วยก่อน


หลักท่านพูดถึงท่านั่งไว้ดังนี้

ท่านั่ง หลักการอยู่ที่ว่า อิริยาบถใดก็ตามที่ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะผ่อนคลายสบายที่สุด
แม้ปฏิบัติอยู่นานๆ ก็ไม่เมื่อยล้า และทั้งช่วยให้การหายใจคล่องสะดวก ก็ใช้อิริยาบถนั้น

การณ์ปรากฏว่า อิริยาบถที่ท่านผู้สำเร็จนับจำนวนไม่ถ้วน ได้พิสูจน์กันมาตลอดกาลนานนักหนาว่า ได้ผลดีที่สุดตามหลักการนั้นก็คือ อิริยาบถนั่งในท่าที่เรียกกันว่าขัดสมาธิ (ขัดสะหมาด) หรือ ที่เรียกกันว่า นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง คือให้ร่างกายท่อนบนตั้งตรง กระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อ มีหลายจดกัน ท่านว่า การนั่งอย่างนี้ หนังเนื้อและเอ็นไม่ขด ลมหายใจก็เดินสะดวก เป็นท่านั่งที่มั่นคง เมื่อเข้าที่ดีแล้ว จะมีดุลยภาพอย่างยิ่ง กายจะเบาไม่รู้สึกเป็นภาระ นั่งอยู่ได้แสนนานโดยไม่มีทุกขเวทนารบกวน ช่วยให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น กรรมฐานไม่ตก แต่เดินหน้าได้เรื่อย

มีหลักการสำทับอีกว่า ถ้ายังนั่งไม่สบาย มีอาการเกร็งหรือเครียดพึงทราบว่า ปฏิบัติไม่ถูกต้อง พึงแก้ไขเสียให้เรียบร้อย ก่อนปฏิบัติต่อไป ส่วนตาจะหลับหรือลืมก็ได้ สุดแต่สบาย และใจไม่ซ่าน ถ้าลืมตาก็อาจทอดลงหรือมองที่ปลายจมูกให้เป็นที่สบาย * เมื่อนั่งเข้าที่สบายดีพร้อมแล้ว ก่อนจะเริ่มปฏิบัติ ปราชญ์บางท่านแนะนำว่า ควรหายใจยาวลึกๆ และช้าๆ เต็มปอดสักสองสามครั้ง พร้อมกับตั้งความรู้สึกให้ตัวโล่งและสมองโปร่งสบายเสียก่อน แล้วจึงหายใจ โดยกำหนด (นับ) ตามวิธี (ท่านอธิบายกรรมฐานนับเลข)

:b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b48: :b48: :b48: :b48:

* อานาปานสติเป็นกรรมฐานอย่างเดียว ในบรรดาข้อปฏิบัติเป็นอันมาก ในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่มีคำแนะนำกำหนดเกี่ยวกับอิริยาบถว่า ให้พึงนั่งอย่างนี้
ส่วนกรรมฐานอย่างอื่น ย่อมเป็นไปตามอิริยาบถต่างๆ ที่เข้าเรื่องกัน หากจะมีการนั่ง ก็ย่อมเป็นไป เพราะความเหมาะสมกันโดยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อกรรมฐานใดนั่งปฏิบัติได้ดี และในเมื่อการนั่งอย่างนี้ เป็นท่านั่งที่ดีที่สุด ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่พึงนั่งอย่างนี้
ยกตัวอย่าง เช่น การเพ่งกสิณ และการพิจารณาธรรมารมณ์ต่าง ๆ นานๆ เป็นต้น เหมือนคนจะเขียนหนังสือ ท่านั่งย่อมเหมาะดีกว่ายืน หรือนอน เป็นต้น
พึงเข้าใจความหมายของการนั่งอย่างนี้ มิใช่มองเห็นการนั่งเป็นสมาธิไป

viewtopic.php?f=2&t=24320&p=128682#p128682

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 13 ส.ค. 2010, 15:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 09:31
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนากับข้อมูลสุดๆ จริงๆ การนั่งสมาธิที่ดีควรกำหนดลมหายใจและเพ่งดูตัวเองให้เห็นตัวเอง
และจิตความรู้สึกนึกคิดของตัวเองจนจิตรวมตัวเป็นหนึ่งจะรู้สึกเบาสบาย เมื่อมีนิวรณ์ 5 เกิด ต้องอดทนต่อนิวรณ์ จนนิวรณ์ดับ ก็จะเกิดเป็นมหากุศล ฝึกฝนไปเรื่อยๆ จะเข้าสู่ขั้นญาน และฌาน แต่ควรปรึกษาครูบาอาจารย์หากมีข้อสงสัยในสมาธิ
:b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร