วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 20:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 14:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม
[๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะทราบการอาราธนาของสหัมบดีพรหม และเพราะอาศัย
ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เราจึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลี
ในดวงตาน้อยก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มี
อาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวก
มีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลก มีอธิบายเป็นคำเปรียบว่า ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอ
บุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำยังจม
อยู่ภายในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำ ตั้งอยู่เสมอกับน้ำ
บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ น้ำกำซาบเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เราขณะ
ที่ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ ฉันนั้น คือ บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย
บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมี
อาการดี บางพวกมีอาการชั่ว บางพวกพอจะสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวก
มีปรกติเห็นโทษและภัยในปรโลก. เราจึงได้กล่าวคาถาตอบสหัมบดีพรหมว่า
เราได้เปิดประตูอมฤตธรรมรับชนผู้ชอบสดับ ซึ่งยื่นศรัทธาภาชนะออกรับ
ดูกรพรหมเรานึกถึงความลำบาก จึงไม่ได้แสดงธรรมที่ประณีตซึ่งเราชำนาญดี
ในหมู่มนุษย์.
เมื่อสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาส เพื่อแสดงธรรมแล้ว
จึงอภิวาทเรา กระทำประทักษิณ อันตรธานไปในที่นั้น.
ทรงรำพึงถึงปฐมเทศนา
[๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจึงคิดดังนี้ว่า เราจะพึงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่ใคร
หนอ ใครจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้แล เป็น
บัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยมานาน ถ้าไฉน เราพึงแสดงธรรมเป็น
ครั้งแรกแก่เธอ เธอจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว. ครั้งนั้น เทวดาตนหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วทูล
ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตร ตายไปแล้วได้ ๗ วัน. อนึ่ง เราก็
เกิดญาณทัสสนะว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร ตายไปแล้วได้ ๗ วัน. เราจึงคิดดังนี้ว่า
อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้เสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่เสียแล้วหนอ เพราะถ้าเธอพึงได้
สดับธรรมนี้ไซร้ ก็จะพึงทราบชัดได้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า เราจะพึงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก
แก่ใครหนอ ใครจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า อุททกดาบส รามบุตรนี้แลเป็น
บัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยมานาน ถ้าไฉน เราพึงแสดงธรรมเป็น
ครั้งแรกแก่เธอ เธอจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว. ครั้งนั้น เทวดาตนหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอุททกดาบส รามบุตร ได้ตายไปเสียแล้วเมื่อเย็นวานนี้. อนึ่ง เราก็เกิด
ญาณทัสสนะว่า อุททกดาบส รามบุตร ได้ตายไปเสียแล้วเมื่อเย็นวานนี้. เราจึงคิดดังนี้ว่า
อุททกดาบส รามบุตร เป็นผู้เสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่เสียแล้วหนอ เพราะถ้าเธอพึงได้สดับธรรม
นี้ไซร้ ก็พึงทราบชัดได้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า เราจะพึงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่ใครหนอ
ใครจักทราบชัดธรรมนี้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้อุปัฏฐากเรา ผู้กำลังบำเพ็ญ
เพียรอยู่ เป็นผู้มีอุปการะแก่เรามากนัก ถ้าไฉน เราพึงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่พวกเธอ. เรา
จึงคิดดังนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ. เราก็รู้ได้ว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ในป่าอิสิป-
*ตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ด้วยทิพยจักษุที่บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ครั้นเราอยู่
ที่ตำบลอุรุเวลาพอสมควรแล้ว จึงได้ออกจาริกไปเมืองพาราณสี.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๕๔๙๘ - ๕๗๖๒. หน้าที่ ๒๒๓ - ๒๓๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=312



นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตกลงพระทัยตามถ้อยคำที่เทวดาทูลเท่านั้น ทรงตรวจดูด้วยพระองค์เอง ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ก็ทรงทราบว่า อาฬารดาบสกาลามบุตรทำกาละ (มรณภาพ) ได้ ๗ วัน นับแต่วันนี้ บังเกิดในอากิญจัญญายตนภพแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงข้อนั้น จึงตรัสว่า ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ ดังนี้.
บทว่า มหาชานิโย คือ ชื่อว่ามหาชานิยะ เพราะมีความเสื่อมใหญ่ เหตุเป็นผู้เสื่อมจากมรรคผล ที่พึงบรรลุระหว่าง ๗ วัน. อาฬารดาบส กาสามโคตรนั้นก็ไม่มีโสตประสาทที่จะฟังธรรมแม้ที่พระองค์เสด็จไปแสดงโปรด เพราะท่านบังเกิดในอขณะ (อสมัย เวลาที่ยังไม่ควรจะตรัสรู้) แม้บทที่จะชักมาเป็นฐานแห่งพระธรรมเทศนานี้ก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้ จึงทรงแสดงว่า มหาชานิโย ชาโต เกิดเสื่อมใหญ่ ดังนี้.
บทว่า อภิโทสกาลกโต คือ กระทำกาละเสียแล้วเมื่อเที่ยงคืน.
บทว่า ญาณญฺจ ปน เม ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณก็เกิดขึ้นแล้วแม้แก่เรา.
นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงตกลงพระทัยตามคำของเทวดา ทรงตรวจดูด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ก็ทรงเห็นว่า อุททกดาบส รามบุตร กระทำกาละเสียเมื่อเที่ยงคืนวานนี้ บังเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตนภพ. เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้.
คำที่เหลือก็เหมือนนัยแรกนั่นแหละ.
บทว่า พหุการา แปลว่า มีอุปการะมาก.
บทว่า ปธานปหิตตฺตํ อุปฏฺฐหึสุ ความว่า เหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์บำรุงเราผู้ตั้งความมุ่งมาดเพื่อทำความเพียร ด้วยการปัดกวาดบริเวณที่อยู่ ด้วยถือบาตรจีวรติดตามไป และด้วยการให้น้ำบ้วนปากไม้สีฟันเป็นต้น.

----------------------------------------------

คุณ mes ครับ ในพระไตรปิฏก เถรวาท มีตัวอย่างมากมายของผู้ที่ ทำสมาธิได้ฌาน แล้วไปเกิดบน พรหมโลก (ชาติ) เนวสัญญญานาสัญญายตนภพ

อาจารย์ใหญ่พุทธทาสของคุณ เคยคัดลอกลงในหนังสือไหมครับ ? ถ้ามีช่วยคัดลอกมาลงด้วยนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากคัมภีร์ วิสุทะมรรค โดยพระพุทธโฆษาจารย์
(ที่ท่านพุทธทาสใส่ร้ายท่านว่า เป็นพราหมณ์ที่แฝงตัวมาทำลายพระพุทธศาสนา )

http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7 ... 3%E0%B9%96

๓ ฝ่ายท่านเหล่าใดยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว เข้าฌานมีอภิญญาเป็นบาท ออกจากสมาบัติแล้ว มุ่งหมายอภิญญาทั้งหลายมีนัยดังกล่าวแล้วว่า แม้คนเดียวแปลงเป็นสหายหลายคนได้ ดังนี้ บำเพ็ญให้เกิดอยู่ สมาธิภาวนาอันแน่นแฟ้นเป็นของท่านเหล่านั้น ในเมื่อเหตุให้เกิดมีอยู่ จัดว่ามีอภิญญาเป็นอานิสงส์ เพราะเป็นปทัฏฐานแห่งอภิญญา เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ภิกษุนั้นย่อมน้อมนำจิตเพื่อทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมอันควรทำให้แจ้งด้วยอภิญญาใดๆ ย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ เที่ยวในเมื่อเหตุให้เกิดอยู่มี

๔. ปุถุชนเหล่าใดมีฌานไม่เสื่อม ปรารถนาความเข้าถึงพรหมโลกโดยหมายใจว่าจักเกิดในพรหมโลก หรือไม่ปรารถนาก็ตาม ไม่เสื่อมจากสมาธิ สมาธิภาวนาอันแน่นแฟ้นของปุถุชนเหล่านั้น มีภพวิเศษเป็นอานิสงส์ เพราะนำมาซึ่งภพวิเศษ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ว่า ถามว่า ผู้ที่เจริญปฐมฌานยังเป็นกามาวจร ย่อมเกิดในที่ไหนแก้ว่า ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาพวกพรหมปาริสัชชา ดังนี้เป็นต้น อนึ่ง แม้สมาธิภาวนาเฉียดๆ ยังนำมาซึ่งสุคติภพวิเศษคือกามาพจรสวรรค์ ๖ ชั้นทีเดียว




อานิสงส์ คือผลได้ต่าง ๆ ของสมาธิภาวนา หรือการฝึกสมาธิไว้เหมือนกันดังที่_แสดงไว้ในวิสุทธิมัคค์ มี 5 ประการ_ คือ *_1. เป็นวิธีการพักผ่อนอย่างสุขสบายในปัจจุบัน(ทิฏฐธรรมสุขวิหาร)_* ข้อนี้เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนา (คือระดับฌาน)สำหรับพระอรหันต์ ซึ่งเป็นผู้ทำกิจเพื่อความหลุดพ้นเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ต้องใช้ฌานเพื่อบรรลุภูมิธรรมใด ๆ ต่อไปอีก อ้างพุทธพจน์ว่า "ฌานเหล่านี้เรียกว่าเป็นทิฏฐธรรมสุขวิหาร ในวินัย(ระบอบหรือแบบแผน) ของพระอริยะ" *_2. เป็นบาทหรือเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา_* ข้อนี้เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนาก็ได้ หรือขั้นอุปจาระก็พอได้ แต่ไม่โปร่งนัก ประโยชน์ข้อนี้ใช้สำหรับพระเสขะและปุถุชน อ้างพุทธพจน์ว่า "ภิกษุทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริง" *_3. เป็นบาทหรือเป็นปทัฏฐานแห่งอภิญญา_* ข้อนี้เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนาสำหรับผู้ได้สมาบัติ 8 แล้ว เมื่อต้องการอภิญญาก็อาจทำให้เกิดขึ้นได้ อ้างพุทธพจน์ว่า "จิตนุ่มนวลควรแก่งาน... จะน้อมจิตไปเพื่อประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมที่พึงประจักษ์แจ้งด้วยอภิญญาอย่างใด ๆ ก็ถึงความเป็นพยานในธรรมนั้น ๆ ได้ในเมื่อเหตุมีอยู่" *_4. ทำให้ได้ภพวิเศษ_* คือ เกิดในภพที่ดีที่สูง ข้อนี้ เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนา สำหรับปุถุชนผู้ได้ฌานแล้ว และฌานมิได้เสื่อมไปเสีย ทำให้ได้เกิดในพรหมโลก อ้างพุทธพจน์ว่า "เจริญปฐมฌานขั้นปริตตกุศลแล้ว เกิดที่ไหน? ย่อมเข้าร่วมพวกเทพพรหมปาริสัชชา" อย่างไรก็ดี แม้สมาธิขั้นอุปจารก็สามารถให้ภพวิเศษ คือ กามาวจรสวรรค์ 6 ได้ *_5. ทำให้เข้านิโรธสมาบัติได้_* ข้อนี้เป็นอานิสงส์ของสมาธิขั้นอัปปนา สำหรับ (พระอรหันต์หรือพระอนาคามี) ผู้ได้สมาบัติ 8 แล้ว ทำให้เสวยความสุขอยู่ได้โดยไม่มีจิตตลอดเวลา 7 วัน อ้างญาณในนิโรธสมาบัติ ในปฏิสัมภิทามัคค์

*ที่มา หนังสือ พุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า 837.*


คุณ mes ครับ ท่านเจ้าคุณท่านยังรวบรวม อานิสงส์ของสมาธิ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา

มีอานิสงส์ข้อหนึ่งคือ ทำให้เกิดในพรหมโลก

ฉะนั้น จึงไม่แปลก ผู้ที่ทำสมาธิ หากไม่รู้วิธีเจริญวิปัสสนา ก็ย่อมเกิดภพชาติอีกต่อไป

คุณ mes ครับ แนวคำสอนของพระวิปัสสนาจารย์ ผู้ทรงพระไตรปิฏก แตกต่างจาก วิชาธรรมกายนะครับ

เพราะวิชานั้น ยึดถือ ภาพนิมิต จากสมาธิว่าเป็นพระนิพพาน

แต่ก็ทำยากกว่าสายท่านพุทธทาสนะครับ เพียงนึกคิดว่า ไม่มีตัวกู ของกู ก็ถึงนิพพานที่นี้เดี๋ยวนี้แล้ว

ยิ่งถ้าทิฏฐิฝังลึกเป็น อุจเฉทททิฏฐิ ปฏิเสธเรื่องภพชาติ หลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด นั้นถึงจุดสุดยอดของท่านพุทธทาส แล้วครับ

สังเกตดูศิษย์เอกของท่านแต่ละคนได้เลยครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 15:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากพระไตรปิฏก

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 19&Z=14654

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นมหาพรหมา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑ กัปป์
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒ กัปป์
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณาภา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔ กัปป์
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสระ
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร

-----------------------------------------------------

ความแตกต่างระหว่างสมถะ กับวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16060

๑. โดยปรารภผล
สมถะ เพ่ง เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง

๒. โดยอารมณ์
สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นส่วนมากเพราะต้องการความมั่นคง
วิปัสสนา ต้องมีรูปนาม เป็นอารมณ์ เพราะต้องเป็นอารมณ์ที่มีการเกิด – ดับ ตรงตามธรรมชาติที่เป็นความจริง

๓. โดยสภาวธรรม
สมถะ มีสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิก ที่ให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์
วิปัสสนา มีปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๔. โดยการละกิเลส
สมถะ ละกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส
วิปัสสนา ละกิเลสอย่างละเอียด อนุสัยกิเลส

๔. โดยอาการที่ละกิเลส
สมถะ ละด้วยการข่มไว้ เป็น วิกขัมภนปหาน
วิปัสสนา ละด้วยการขัดเกลาเป็นขณะ ๆ เป็น ตทังคปหาน

๕. โดยอานิสงส์
สมถะ ให้อยู่เป็นสุขด้วยการข่มกิเลส และให้ไปเกิดในพรหมโลก
วิปัสสนา เพื่อละวิปลาสธรรม และเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด

-----------------------------------------


คุณ mes เขียน
อย่าคิดว่าที่อ้างอิงเป็นพระไตรปิฎก

แต่เป็นการเขียนพระไตรปิฎกของพระศรีโชติญาณ(แสวง)แห่งสำนักอภิธรรมครับ

เขารีไซเคินพระไตรปิฎกขึ้นใช้เอง


ดูทิฏฐิของลูกศิษย์อาจารย์พุทธทาส ช่างเหมือนกันแท้ ๆ ชอบกล่าวหาผู้อื่น ๆ ที่มีสัมมาทิฏฐิ แต่ไม่ตรงกับทิฏฐิของตนเอง ก็ใส่ร้ายคนอื่นได้อย่างไม่ละอายใจ

เหมือนที่ท่านพุทธทาส ใส่ร้ายพระอรหันต์สืบทอดพระไตรปิฏก อรรถกถา พระพุทธโฆษาจารย์ ฯลฯ

จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ชุดลอยปทุม

เรื่องส่วนตัวพระพุทธโฆษาจารย์
ทีนี้จะวิจารณ์เรื่องส่วนตัวของพระพุทธโฆษาจารย์กันบ้าง ไม่ใช่จ้วงจาบ ไม่ใช่นินทา ไม่ใช่ใส่ร้าย แต่เอามาเป็นเหตุผลสำหรับการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทของท่าน(บางส่วนที่คร่อมภพชาติ ซึ่งท่านพุทธทาสถือว่าผิดจากหลักบาลี ) ซึ่งมันมีแง่ให้เราตั้งข้อสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์ ท่านจบไตรเพทอย่างพราหมณ์คนหนึ่ง มีวิญญาณอย่างพราหมณ์ แล้วจึงมาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แล้วได้รับการสมมุติกันในหมู่คนบางพวกว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เมื่อ พศ. ร่วมพันปี นักโบราณคดีถือว่าท่านเกิดที่อินเดียใต้ มิใช่ชาวมคธ บางพวกดึงท่านมาเป็นมอญก็มี ไม่เหมือนในอรรถกถา ที่ถือว่าท่านเป็นชาวมัธยมประเทศ ท่านเป็นพราหมณ์โดยเลือดเนื้อมาเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วถ้าเกิดไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพุทธให้กลายเป็นพราหมณ์อย่างนี้ มันยิ่งสมเหตุสมผล คือท่านเผลอไปก็ได้ ถ้าท่านเผลอท่านก็ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นแน่นอน ข้อนี้จะว่าอย่างไรก็ต้องพูดอย่างที่เรียกว่า ขอฝากไว้ให้ท่านผู้มีสติปัญญาพิจารณาดูเถิด


เหตุท่านพุทธทาสใส่ร้าย พระสงฆ์ และพระธรรม เนื่องจาก อธิบายภพชาติ หมายถึง การเกิดขึ้นของรูปขันธ์ นามขันธ์ ในภพชาติต่าง ๆ ไม่ใช่แบบ ตัวกู ของกู ที่ท่านเห็นว่าถูกต้องที่สุด

เช่นเดียวกันกับที่ลูกศิษย์เอกของท่านทำอยู่ขณะนี้ครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 15:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมาย ตัวเรา ของเรา หรือ... ศึกษาที่นี่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 44#msg1244

อ้างอิงศัพท์แสงทางบาลีมากยากหน่อยนะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=256.msg1244#msg1244


ที่พูดถึงกันบ่อยๆ อีกศัพท์และความหมายหนึ่ง คือ “ตัวเรา ของเรา หรือ ตัวกู ของกู” ตำราทางศาสนาว่ายังไง จะคัด (พุทธธรรมหน้า 143 มีอ้างอิงทุกที่ แต่จะนำลงเท่าที่เห็นจำเป็น) มาให้พิจารณา


ตัวเรา ของเรา ตัวกู ของกู

ความยึดถือว่า เรา ว่าของเรา หรือที่ปราชญ์บางท่านนิยมใช้ถ้อยคำให้หนักแน่นกินใจว่า ตัวกู ของกูนั้น เป็นความรู้สึกที่ฝังแน่นในจิตของมนุษย์ มีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อการดำเนินชีวิตของบุคคลแต่ละคน ต่อความสุขความทุกข์ของเขา ต่อความความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และต่อการเกิดปัญหาแทบทุกอย่างทางสังคม

ในทางธรรม ถือเรื่องนี้เป็นจุดรวมแห่งสนใจระดับแกนกลางเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไข และปฏิบัติให้ถูกต้อง จึงมีคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมาย ถ้อยคำที่ใช้เรียกความรู้สึกยึดถือนี้ ก็มีเป็นถ้อยคำเฉพาะหลายแบบ มีทั้งที่เป็นคำศัพท์ ทั้งที่เป็นข้อความ หรือเป็นประโยคใช้เรียกกันเป็นชุดๆ ในที่นี้จะยกมากล่าวไว้โดยสังเขปพอเป็นแนวทางศึกษา

เบื้องแรก ขอนำถ้อยคำและข้อความเหล่านั้น มาเรียงให้ดูเป็นชุดๆดังนี้



ชุดที่ 1 : เอตํ มม, เอโสตมสฺมิ, เอโส เม อตฺตา-ติ

---------( นี่ ของเรา, เราเป็นนี่, นี่ เป็นตัวตน ของเรา)

ชุดที่ 2 : อหนฺติ วา มมนฺติ วา อสฺมีติ วา

---------( การถือว่าเรา ว่าของเรา หรือว่า เราเป็น)

ชุดที่ 3 : อหังการ มมังการ มานานุสัย

---------( การถือว่าเรา การถือว่าของเรา อนุสัยคือมานะ)

ชุดที่ 4 : มมายิตะ หรือ มมัตตะ และอัสมิมานะ

---------( การยึดถือว่าเรา ว่าของเรา และมานะว่าเราเป็น)

ชุดที่ 5 : อัตตา อัตตนิยะ (+ อสฺมีติ)

---------( ตน และสิ่งที่เนื่องด้วยตน)

ชุดที่ 6 : ตัณหา มานะ ทิฏฐิ

ดูที่อธิบายทีละชุดๆไป



ชุดที่ 1 พบบ่อยที่สุด โดยมากมาในคำสอนให้พิจารณาแยกสัตว์บุคคลออกเป็นขันธ์ 5 หรือเป็นส่วนประกอบอย่างอื่น เช่น อายตนะ ผัสสะ เป็นต้น หรือพิจารณาไตรลักษณ์ จนเข้าใจสภาพที่ไม่อาจยึดถือได้ว่า นี่ของเรา เราเป็นนี่ นี่เป็นตัวตนของเรา (ความตรงข้าม คือ เนตํ มม, เนโสหมสฺมิ, น เอโส เม อตฺตา –ติ) ตัวอย่างที่มาหลาย เป็นต้นว่า วินย. 4/21/26 ฯลฯ



ชุดที่ 2 เป็นรูปย่อของชุดที่ 1 นั่นเอง กล่าวคือ อหนฺติ (ถือว่า เรา) = เอโส เม อตฺตา, มมนฺติ (ถือว่า ของเรา) = เอตํ มม, อสฺมีติ (ถือว่าเราเป็นนั่นเป็นนี่ หรือ ยังมีเรามีเขา) = เอโสหมสฺมิ ชุดนี้มีที่มาไม่มากนัก เช่น ม.มู.12/342-5/350-6 ฯลฯ


ชุดที่ 3 เป็นคำศัพท์ ซึ่งถือได้ว่า เป็นสรุปใจความของชุดที่ 1 เทียบได้ดังนี้ อหังการ = เอโส เม อตฺตา, มมังการ = เอตํ มม, มานานุสัย = เอโสหมสฺมิ ชุดนี้มักมาในข้อความว่า “ไม่มี (หรือ ปราศจาก หรือถอนได้แล้วซึ่ง...) อหังการ มมังการ มานะ หรือ (มานานุสัย) ในกายพร้อมทั้งวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงภายนอก”


ชุดที่ 4 มมายิตะ โดยมากใช้ในความหมายว่า “ความยึดถือว่าเป็นของเรา” หรือ “สิ่งที่ถูกยึดถือว่าเป็นของเรา” คือ ตรงกับ เอตํ มม (เช่น สํ.นิ.16230/114 ฯลฯ) แต่บางแห่งท่านอธิบายว่าหมายถึงทั้งความยึดถือว่า เรา และว่าของเรา ( = เอตํ มม, เอโส เม อตฺตา หรือ = ตัณหาและทิฏฐิ)

ส่วน มมัตตะ หรือ มมัตตา มีความหมายเท่ากับมมายิตะนั่นเอง แต่นิยมใช้ในคาถาคู่กับมมายิตะหรือไม่ก็แทนมมายิตะ เช่น ขุ.สุ.25/413/492; ฯลฯ หรือใช้อธิบาย มมายิตะ

ส่วน อัสมิมานะ แปลว่า มานะว่าเราเป็น คือ ถือตัวในลักษณะที่ยังมีเรา เป็นเรา หรือ เราเป็นนั่นเป็นนี่ ซึ่งตามปกติเรียกว่ามานะ แต่ในอภิธรรมจัดเป็นมานะอย่างหนึ่งในมานะ 7 (อภิ.วิ.35/1010/518...) เพราะอัสมิมานะเป็นมานะอย่างละเอียด ซึ่งแม้แต่พระอนาคามีก็ยังละไม่ได้...พระอรหันต์จึงละได้ ท่านจำแนกประเภทไว้เพื่อแยกอัสมิมานะนี้จากมานะอย่างอื่นๆ ที่หยาบๆ เช่น การดูถูกดูหมิ่นถือสูงถือต่ำ ซึ่งพระอริยบุคคลชั้นต้นๆ สามารถละได้

อัสมิมานะ นี้มักตรัสไว้ โดยฐานเป็นเป้าหมายที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะพึงกำจัดเสีย (เช่น ที.ปา.11/370/289 ฯลฯ)

โดยสาระอัสมิมานะ ก็ตรงกับ เอโสหมสฺมิ และเรียกง่ายๆ เพียงว่า มานะ (ขั้นละเอียดสุด)



ชุดที่ 5 อัตตา (ตัวตน) อัตตนิยะ หรือเรียกเข้าสำเนียงไทยให้คล้องจองกับอัตตา ว่าอัตตนิยา หรืออัตตนียา (สิ่งที่เนื่องด้วยตน) ชุดนี้ไม่ใช่ตัวความยึดถือ แต่เป็นสิ่งที่ยึดถือ หรือภาพที่ปรากฏขึ้นมาเพราะการยึดถือ

ถ้าจะจัดเทียบอย่างคร่าวๆกับชุดที่ 1 อัตตา ก็เข้าได้กับ เอโส เม อตฺตา และ เอโสหมสฺมิ

ส่วน อัตตนิยะ ก็เข้ากับ เอตํ มม แต่ถ้ากล่าวอย่างเคร่งครัด อัตตา หมายถึงความเห็นหรือการยึดถือว่ามี อัตตา หรือ เป็นอัตตา เท่านั้น (คือ เป็นเรื่องของทิฏฐิ) จึงหมายถึง เอโส เม อตฺตา อย่างเดียว ไม่กินความถึง เอโสหมสฺมิ โดยนัยนี้ ถ้าให้ครบ จึงต้องเติม อสฺมีติ เข้ามาอีกคำหนึ่ง

ตามแนวนี้ อาจแปล อัตตาว่า ตัวกู และ อัตตนิยะว่า ของกู แต่จะเห็นได้ว่า “ตัวกู” มีความหมายไม่เจาะจงหรือตายตัวนัก ยังอาจดิ้นได้ระหว่างความยึดถือ 2 อย่างในชุดที่ 1 และเป็นเรื่องที่จะพูดกันต่อไปอีก

อัตตา และ อัตตนิยะ มีบาลีแสดงไว้บางแห่ง เช่น องฺ.จตุกฺก.21/177/223; ฯลฯ


ชุดที่ 6 ตัณหา มานะ ทิฏฐิ เป็นอกุศลธรรมที่ท่านมักกล่าวไว้ด้วยกัน บางทีเรียกชื่อเฉพาะชุดว่า ปปัญจะ หรือ ปปัญจะธรรม (ธรรมเครื่องเนิ่นช้า, ตัวผันพิสดาร, ตัวที่ทำให้ฟ่ามเฟ้อ) 3 อย่าง เช่น ขุ.ม.29/505/337; ฯลฯ เป็นตัวการที่ทำให้เกิดสัญญาประเภทซับซ้อนหลากหลายที่เรียกว่า ปปัญจสัญญา

เมื่อจะเทียบความรู้สึกยึดถือทั้งหลายในชุดก่อนๆ ว่าตรงกับกิเลสข้อใดๆ หรือเมื่อต้องการเรียกชื่อง่ายๆ จะเรียกด้วยชื่อของกิเลสตัวใด ลำดับชื่อกิเลสชุดท้ายนี้ ตรงกันกับลำดับในชุดที่ 1
และจะสรุปเทียบไว้ให้ดูทั้งหมดดังนี้



1. ตัณหา = เอตํ มม = มมนฺติ = มมังการ = มมายิตะ = ยึดอัตตนิยะ

2. มานะ = เอโสหมสฺมิ = อสฺมีติ = มานานุสัย = อัสมิมานะ = (อสฺมีติ)

3. ทิฏฐิ = เอโส เม อตฺตา = อหนฺติ = อหังการ = มมายิตะ = ยึดอัตตา


ในด้านคำแปลภาษาไทย ถ้าได้เต็มจำนวน 3 ครบชุด คำว่า เรา ของเรา หรือตัวกู ของกู นับว่ายังไม่ครบ คงจะต้องเพิ่มเป็น ตัวเรา (ทิฏฐิ หรือ อหังการ) ของเรา (ตัณหา หรือ มมังการ) และนี่เรานะ (มานะ) หรือภาษาที่หนักแน่นว่า ตัวกู ของกู นี่กูนะ



อย่างไรก็ตาม คำแปลสำหรับมานะยังไม่สู้กระชับ และถ้าว่าครบด้วยสำนวนอย่างนี้ ในภาษาไทยพูดหรือฟังไม่ติดปากไม่ติดใจ นอกจากนั้น ความหมายของคำก็ยังดิ้นหรือยึดหยุ่นได้ ทางออกคือ อาจใช้เพียง 2 คำว่า ตัวเรา ของเรา หรือ ตัวกู ของกู แล้วแปลความหมายคำว่า ตัวเรา หรือ ตัวกู ให้กินความหมายได้ทั้งทิฏฐิและมานะ กล่าวคือ ถ้าเป็นความเห็นความเข้าใจยึดถือว่ามีตัวเรา มีตัวกู ก็เป็นทิฏฐิ

ถ้าเป็นความรู้สึกเกี่ยวกับฐานะของตัวเราหรือตัวกูที่สำหรับเทียบ สำหรับวัด หรือถือภูมิๆไว้ ก็เป็นมานะ

ส่วน “ของเรา ของกู” ก็เป็นตัณหาชัดอยู่ เป็นอันครบชุด

บรรดาอกุศลธรรม หรือเรียกกันง่ายๆว่า กิเลส 3 อย่างนี้ ทิฏฐิ หรือ อหังการ (เอโส เม อตฺตา) พระโสดาบันละได้ (ตามหลักที่ว่าละสังโยชน์ได้ 3 นั้น ทิฏฐิ = สักกายทิฏฐิ และสีลัพพตปรามาส)

ส่วนตัณหาและมานะ พระอรหันต์เท่านั้นจึงละได้ (ตามหลักของการละสังโยชน์ ตัณหา = กามราคะ รูปราคะ และอรูปราคะ พระอนาคามีละกามราคะได้ แต่ยังละรูปราคะ และอรูปราคะไม่ได้ พระอรหันต์เท่านั้นละได้หมด

ส่วนมานะเป็นสังโยชน์เบื้องสูงที่พระอรหันต์เละได้ ชัดเจนอยู่แล้ว


ถ้าตกลงความหมายของ ตัวเรา ของเรา หรือ ตัวกู ของกู อย่างที่กล่าวมานี้ ก็ได้ความสรุปว่า ความยึดถือตัวเรา หรือ ตัวกู ในแง่ที่เป็นทิฏฐิ ละได้ตั้งแต่เป็นโสดาบัน

ส่วนความรู้สึกถือตัวเรา หรือ ตัวกู ในแง่ที่เป็นมานะ และความผูกพันในของกู จะหมดไปต่อเมื่อบรรลุอรหัตผล

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมทั่วโลกยกย่องท่านพุทธทาส

ทำไมท่านประยุกต์โตยกย่องท่านพุทธทาส

ทำไมเหลิมกากเดนสำนักอภิธรรมนอกศาสนาจึงด่าท่านพุทธทาส

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 17:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มมีข้องกังขาว่า

ทำไมเวปนี้จึงเปิดให้ด่าพระได้เสรี


อ้างคำพูด:
http://www.antiwimutti.net/forum/index.php/topic,445.0.html


แอบไปดูลานธรรมจักรมา หน้าเก่าลานธรรมไปที่นั่นหลายอยู่
แล้วก็ไปกล่าวปรามาสท่านพุทธทาสอีกแล้ว ไม่รู้กล่าวว่าหลวงปู่มั่นอีกหรือเปล่า
เขาเคยกล่าวว่า นิพพานในแบบพระอาจารย์มั่น และท่านพุทธทาสเป็นอัตตโนมติท่านเอง
ตรงนี้ไม่ต้องวิจารณ์ต่อนะคะ แค่้ต้องการยกให้เห็นว่า ก่อนเกิดเรื่อง ลพ ปราโมทย์
ลานธรรมเคยปล่อยให้มีการโพสต์อย่างนี้ได้ โดยโทษเบามาก
ต่างกับเรื่องป่าละอู ฯลฯ อย่างชัดเจน...แล้วก็มาบอกว่า
"จะสนับสนุนให้คุยธรรมะ โดยไม่พาดพิงตัวบุคคล.."

เราเอง(ความรู้สึกส่วนตัวนะ) รู้สึกว่า รู้ตัวเมื่อสายไปหรือเปล่า
ก่อนหน้านี้ปล่อยให้มีการโพสต์กันขนาดนั้น แต่เนื่องจากไม่ใช่อาจารย์ตัว
จึงไม่ได้เดือดร้อน แล้วพอเป็นอาจารย์ตัว ก็อย่างที่ทราบๆ กันอยู่

สำหรับเรา ถ้าเค้าจะเปลี่ยนจริงๆ คงขอให้เค้าทำให้เห็นจริงๆ เสียก่อน
ถึงจะพอเชื่อได้ เพราะที่ผ่านมามันช่างมีอะไรมากมาย จนเราไม่รู้สึกว่า
เจตนาดีๆ ที่ลานธรรมบอก มันเป็นอย่างที่เขาว่าจริง เพราะการกระทำมันตรงกันข้าม

นอกจากนี้ ถึงแม้ช่วงหลังที่ลานธรรมเปิดให้คุยธรรมะได้กว้างขึ้น ต่างจากจุดประสงค์เดิม
ที่ตั้งขึ้นเพื่อพูดคุยในกลุ่มเดียวกัน แม้จะกล่าวว่า คุยแนวไหนก็ได้ (ที่ถูกต้อง)
แต่ถ้าติดตามไป จะพบว่า เขาก็จะวกกลับไปที่แนว ลพ ปราโมทย์
ถ้าใครพูดถึงแนวอื่นขึ้นมา โดยเฉพาะพูดเรื่องการทำสมถะ ทำสมาธิ
ก็จะมีคนมาเขียนทำนองว่า กลับไปดูกายดูใจ เดี๋ยวสติมาเอง
ทำสมถะจะเนิ่นช้า, ทำแบบอื่นจะเพ่ง, จะไปกำหนด, ไปจงใจดู ฯลฯ
สุดท้ายถ้าจะคุยกับพวกเขาก็ต้องคุยแบบที่พวกเขาคุย มีอะไรๆ เกิดขึ้นก็ให้ไปส่งการบ้าน
ไปให้หลวงพ่อดูให้ ฯลฯ จนหลังๆ เรารู้สึกว่า แบบนี้มันเปิดกว้างยังไงหว่า ??

ก็บ่นไปตามประสาคนเคยเล่นเวปโน้นน่ะ เผื่อบางคนไม่่ค่อยได้เล่นหรือได้เข้าไป
จะพอได้ฟังเค้าความเดิมบ้าง (ก็ไม่เดิมมาก เป็นช่วงสองสามปีที่ผ่านมา)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด ของ อ. วศิน อินทสระ
-----------------------------------------------------------------------------------------
เรื่องหลักกรรมและสังสารวัฏเป็นซีกหนึ่งของพระพุทธศาสนา คือเป็นเป็นซีกโลกียะ เมื่อนำเอาหลักอริยสัจมาพิจารณาเรื่องตาย - เกิด ก็เป็นเรื่องของอริยสัจ ๒ ข้อต้น คือ ทุกข์กับสมุทัย กล่าวคือตัณหาอันเป็นเหตุให้คนและสัตว์ยังต้องเกิดต่อไป เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องทุกข์ต่อไป
ในราตรีที่ตรัสรู้นั้น พระพุทธเจ้าทรงได้ญาณ ๓ ,ญาณ ๒ ข้อต้นก็เป็นพระญาณอันเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย และของพระองค์เอง ส่วนญาณที่ ๓ ( อาสวักขยญาณ) เป็นพระญาณอันเป็นไปเพื่อความสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด

ถ้าการเวียนว่ายตายเกิดไม่มี คนเราเกิดมาเพียงชาติเดียวแล้ว การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าจะมีความหมายอะไร นิโรธและมรรคจะเป็นธรรมอันประเสริฐได้อย่างไร แต่เพราะมีกรรมมีการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง อริยสัจ ๔ จึงเป็นพระญาณอันล้ำลึกของพระบรมศาสดา

บางคนกล่าวว่าที่ว่าความเกิดเป็นทุกข์นั้นหมายถึง ความเกิดขึ้นของกิเลสตัณหาในใจ ความเกิดของขึ้นของอหังการ มมังการ(ความยึดมั่นว่า ตัวกุ ของกุ) ไม่ใช่การเกิดจากท้องแม่ ความเห็นนี้มีส่วนถูกเหมือนกันแต่แคบไป เพราะการเกิดจากท้องแม่ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน อย่างที่เห็นๆกันอยู่แล้ว อนึ่ง ถ้าถือว่าความเกิดที่ตรัสในนิเทศแห่งอริยสัจ หมายถึงความเกิดของอหังการ มมังการแล้ว ความแก่และความตายก็ควรจะหมายถึงความแก่และความตายของอหังการ มมังการด้วยเหมือนกัน ความตายของอหังการ มมังการเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ด้วยหรือ ? ควรจะเป็นสุขอย่างยิ่งดังพระพุทธพจน์ว่า " อสฺมิมานสฺส วินโย เอตํ เว ปรมํ สุขํ - การถอนอัสสมิมานะเสียได้ เป็นความสุขอย่างยิ่ง"
อีกอย่างหนึ่งในนิเทศแห่ง "ชาติ" ในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็ระบุชัดหมายถึงการเกิดจากท้องแม่ มีพระพุทธพจน์ดังนี้

" ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ..... ที่ว่าความเกิดนั้น เป็นไฉน ? หมายถึงความเกิดขึ้น การหยั่งลง การบังเกิดขึ้นใหม่ของสัตว์ทั้งหลาย ในพวกสัตว์นั้นๆ คือการปรากฏขึ้นแห่งขันธ์ การมีอายตนะ(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) "
พระพุทธภาษิตนี้ บ่งชัดทีเดียวว่า หมายถึงการเกิดเป็นตัวตนจากท้องมารดา นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานอื่นอีกมาก อันแสดงว่าความเกิดที่พระพุทธเจ้าตรัสนั้น หมายถึงการเกิดเป็นตัวตน เป็นบุคคล มีขันธ์และอายตนะ

การเวียนว่ายตายเกิดจะสิ้นสุดลง ก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นได้พัฒนาจิตถึงที่สุดแล้ว(ตามแนวทางในมหาสติปัฏฐาน) ละกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง สิ้นกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดอีก เรื่องกิเลส กรรมและการเวียนว่ายตายเกิด จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและอย่างจำเป็น คือแยกกันไม่ได้


------------------------------------------------------------------

ทิฏฐิของท่านพุทธทาส อาจารย์ใหญ่ของคุณ mes ที่แสดงในที่ต่าง ๆ ล้วนอ้างว่า

ชาติ คือ ความเกิดความรู้สึกตัวเรา ของเรา ตัวกู ของกูเท่านั้น

แม้ใน พระไตรปิฏก อรรถกถา จะว่าอย่างไรท่านไม่สน กลับกล่าวหาว่า มีผู้ไม่ประสงค์ดี อย่างพระพุทธโฆษาจารย์ ดัดแปลงให้เข้ากับทิฏฐิของศาสนาพราหมณ์

จากหลักธรรมของอาจารย์วศิน จะเห็นว่า หากชาติคือ ความรู้สึกตัวเรา ของเรา อหังการ มมังการ จริง

หาก มรณะ ก็คือการดับ ความรู้สึกตัวเรา ของเรา อหังการ มมังการ ก็ไม่น่าจะเป็น ทุกข์

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 20:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมเปิดให้ด่าพระอย่างเสรี..นะหรือ??
:b32: :b32: :b32:

นั้นนะซิ.. :b12:

อาจ..เข้ากระแสธรรม..
ไม่ใช่..ตัวกู..ของกู..

มั้งครับ :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน

เริ่มมีข้องกังขาว่า

ทำไมเวปนี้จึงเปิดให้ด่าพระได้เสรี


ในเมื่ออาจารย์ของคุณ และตัวคุณ mes เอง ยังวิจารณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างเสรี

คุณ mes ก็น่าจะทำใจได้นะครับ

-----------------------------------------------------------
นี่คือหลักการ ของอาจารย์พุทธทาส ของคุณ mes

จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร โดยท่านพุทธทาส

ทีนี้ถ้าว่าเกินไปกว่านั้น ก็ใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ขอให้ระวังให้ดี มันจะเผลอถึงกับใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ แสวงหาเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ โดยใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือ อย่างนี้แล้วหมดเลย. มันผิดความประสงค์ มันผิดอะไรหมด ขอให้ระวังในส่วนนี้ด้วย ว่าประโยชน์มันจะเลยขอบเขตไปถึงอย่างนี้. ถ้ามันถึงอย่างนี้แล้วนักอภิธรรมนั้นจะตกอยู่ในธรรมดำ มีจิตใจประกอบไปด้วยกิเลส หวงแหน หรือว่าขายเป็นสินค้า หรือว่าใครไปแตะต้องเข้านิดเดียวก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ. อาตมาพูดประโยคเดียวว่าอภิธรรมมิได้อยู่ในรูปของพุทธวจนะ นี้ถูกด่าตั้งกระบุงโดยพวกที่หวงอภิธรรม. นี่คือมันหลงยึดมั่นถือมั่นเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์มากเกินไปแล้ว.

ทีนี้เลยไปกว่านั้น ก็ว่าเดี๋ยวนี้ถูกเขาใช้อภิธรรมเป็นเครดิตของสำนักวิปัสสนา. สำนักวิปัสสนาไหนต้องยกอภิธรรมขึ้นป้ายเป็นเครดิต เอามาเรียนกันก่อน เป็นนักอภิธรรมกันก่อน. ครั้งพุทธกาลไม่เคย และไม่เกี่ยวกันกับนักวิปัสสนา. อภิธรรมเป็นข้าศึกกันกับวิปัสสนา; เดี๋ยวนี้เอาอภิธรรมมาเป็นป้าย เป็นยี่ห้อ เป็นเครื่องมือ โฆษณาชวนเชื่อของวิปัสสนา.

ทีนี้จะพูดเรื่อยๆ ไปตามที่เห็นว่าสมควรจะพูด ทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์ขนาดนี้ ?จะชอบไหม ว่าทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์กันอย่างอิสระเช่นนี้? ในข้อนี้จะขอพูดไว้ทีเดียวหมดเลย สำหรับใช้ได้ทุกๆคราวทุกๆเรื่องว่า ทำไมเราจึงกล้าวิจารณ์กันขนาดนี้
ข้อหนึ่ง ก็เพราะว่าพระไตรปิฏกทีแรกจำกันมาด้วยปาก ฟังด้วยหู บอกกันด้วยปากเรื่อยมาเป็นเวลาตั้ง ๔๐๐- ๕๐๐ ปี จึงได้เขียนเป็นตัวหนังสือ มันอาจจะมีผิดเพี้ยนหลงลืมโดยไม่เจตนาในชั่ว ๔๐๐ - ๕๐๐ ปีนี้ ฉะนั้นเราจึงต้องกล้าวิจารณ์
อีกข้อหนึ่งแม้เป็นตัวหนังสือแล้ว มันก็ตั้ง ๒๐๐๐ ปีมาแล้ว ที่เขียนเป็นตัวหนังสือแล้วเมื่อ พศ. ๕๐๐ มาถึงเดี๋ยวนี้มัน ๒๐๐๐ ปีแล้ว ฉะนั้นมันอาจจะมีอะไรสูญหาย หรือเพิ่มเข้ามาชดเชยหรือว่าเพิ่มเติมเข้าไปโดยเจตนาบ้าง ไม่เจตนาบ้าง อย่างนี้มันอาจจะมี แม้แต่คัดลอกผิดมันก็มี ฉะนั้นเราจึงกล้าวิจารณ์
ทีนี้การกล้าวิจารณ์นี้ไม่ใช่เราอวดดี พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้โดยกาลามสูตร อย่าเชื่อแม้แต่เพราะเหตุว่าสมณะองค์นี้เป็นครูของข้าพเจ้า แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง อย่าเชื่อเพราะมันมีในพระไตรปิฏก, อย่าเชื่อเพราะมันน่าเชื่อ,อย่าเชื่อเพราะมันมีเหตุผลทางตรรก ทาง Logic ทางปรัชญา เป็นต้น ให้เชื่อเมื่อมันปรากฏแก่ใจแล้วว่ามันเป็นเช่นนั้นจริง พระพุทธเจ้าทรงเปิดให้อย่างอิสระถึงที่สุดอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเราจึงกล้าวิจารณ์ แม้แต่วิจารณ์พระพุทธเจ้าเอง นี่พูดอย่างนี้บาปหรือไม่บาปก็ไปคิดเอาเองเถอะ บางคนคิดว่าพูดจาบจ้วงพระพุทธเจ้า แต่ว่าพระพุทธเจ้าท่านสั่งว่าอย่างนั้น


คุณ mes ครับ นี้ผมยังไม่ได้วิจารณ์ คุณและอาจารย์ของคุณ เหมือนที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวตู่ ต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เลยนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 20:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12:

คุณเฉลิมครับ...

หากมีพระองค์ใดสอนว่า..พบผู้รู้..ฆ่าผู้รู้..พบพระพุทธเจ้า..ฆ่าพระพุทธเจ้า..

อย่างนี้..คุณเฉลิม..จะคิดยังงัยกับพระองค์นี้ละครับ??
:b12: :b12: :b12:

แล้วเดียว..จะมีคำถามต่อ..ครับ :b13: :b13:

และ..

ขอบคุณเป็นอย่างสูง..ที่นำคำของท่านพุทธทาส..ตรง ๆ มาแสดง

สาธุ.. :b8: ..สาธุท่านพุทธทาส..ครับ

ทำให้นึกถึง..ตอนที่พระสารีบุตรกล่าวว่า..ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า..พระพุทธเจ้ายังชมพระสารีบุตรเลยนะครับ.. :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 12 ส.ค. 2010, 20:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต


๕. จัณฑาลสูตร
[๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคล
ไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนในที่นอก
ศาสนานั้น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล
เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็น
อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม
ไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนา ๑ ทำการสนับสนุนใน
ศาสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็น
อุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ฯ
จบสูตรที่ ๕
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๗๙๘ - ๔๘๑๑. หน้าที่ ๒๐๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=175

อรรถกถาจัณฑาลสูตรที่ ๕
พึงทราบวินิจฉัยในจัณฑาลสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปาสกปฏิกิฏฺโฐ ได้แก่ เป็นอุบาสกชั้นต่ำ.
บทว่า โกตุหลมงฺคลโก คือ เป็นผู้ประกอบด้วยอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้ลิ้ม เป็นมงคล ได้แก่ตื่นข่าว เพราะเป็นไปได้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้จักมีได้ด้วยเหตุนี้ดังนี้.
บทว่า มงฺคลํ ปจฺเจติ โน กมฺมํ ได้แก่ มองดูแต่เรื่องมงคล ไม่มองดูเรื่องกรรม.
บทว่า อิโต จ พหิทฺธา ได้แก่ ภายนอกจากศาสนานี้.
บทว่า ปุพฺพการํ กโรติ ได้แก่ กระทำกุศลกิจมีทานเป็นต้นก่อน.

จบอรรถกถาจัณฑาลสูตรที่ ๕


---------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
คุณ กบ เขียน
คุณเฉลิมครับ...

หากมีพระองค์ใดสอนว่า..พบผู้รู้..ฆ่าผู้รู้..พบพระพุทธเจ้า..ฆ่าพระพุทธเจ้า..

อย่างนี้..คุณเฉลิม..จะคิดยังงัยกับพระองค์นี้ละครับ??


พิจารณาดูก่อนครับ หากพระท่านนั้น นำลัทธิอื่นมาสอน เช่น สอนในแนวนิกายเซน แล้วให้คิดเอาเอง

ผมไม่ขอศึกษาดีกว่าครับ ลัทธินอกศาสนาแบบนั้น

ผมขอศึกษา พระไตรปิฏก อรรถกถา ในเถรวาท ดีกว่าครับ มีหลักธรรมอีกมากมาย ในเถรวาทที่ศึกษาแล้ว เกิดศรัทธา คือ ความเชื่อที่ประกอบไปด้วยปัญญา ๔ ประการ เช่น คาถาธรรมบท ที่พระพุทธโฆจารย์ท่านได้รวบรวมไว้ ถึงที่มาของ พระพุทธพจน์ต่าง ๆ

คาถาธรรมบท
http://84000.org/tipitaka/attha/index25b.php

สัทธา ความเชื่อ;
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สัทธา#find5

ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา



ซื้อหนังสือ ธรรมบท ทางแห่งความดี ของ อาจารย์วศิน มาเก็บไว้ที่บ้านทั้ง ๔ เล่มเลยครับ
----------------------------------------------

เสียดายท่านพุทธทาส ไม่ได้คัดลอกคาถาธรรมบท มาเผยแพร่ แต่ท่านกลับไปฝักใฝ่ในนิกายนอกศาสนาอื่น ๆ เช่น เซน, เวยหล่าง, ฮวงโป ฯลฯ

คุณ mes ศิษย์เอกของท่าน อ่านจัณฑาลสูตรแล้ว ถึงกับรับพระธรรมบทนี้ไม่ได้

อาจจะคิดเหมือนอาจารย์ก็ได้ พระสูตรนี้อาจถูกผู้ไม่ประสงค์ดีปลอมปนเข้ามา

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


มีผู้ไม่เข้าใจในความหมายของสมาธิ กับวิปัสสนา มากเพราะการพิจารณาตามน้อย
พระพูดยังไงก็รีบด่วนสรุปว่าใช่หรือไม่ไช่

เราส่วนมากในที่นี้มีการพิจารณาธรรมมากกว่าย่อมเป็นผู้รู้มากจำแนกธรรมมากกว่าย่อมเป็นผู้บอกกล่าวให้คนอื่นเข้าใจมากกว่า

การบรรลุธรรมของพระสงฆ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวย่อมไม่สามารถบอกได้แล้วไม่ใช่กิจของเราที่จะไปวิเคราะห์หาเหตุให้กรรมติดตัวไปปล่าวๆหากล่วงวาจาไป

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
จากพระไตรปิฏก

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 19&Z=14654

ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญปฐมฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นมหาพรหมา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๑ กัปป์
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างสามัญ ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นปริตตาภา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๒ กัปป์
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างกลาง ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอัปปมาณาภา
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร
มีประมาณ ๔ กัปป์
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดที่ไหน
ผู้เจริญทุติยฌานได้อย่างประณีต ไปเกิดเป็นพวกเทวดาชั้นอาภัสสระ
อายุของเทวดาเหล่านั้น มีประมาณเท่าไร

-----------------------------------------------------

ความแตกต่างระหว่างสมถะ กับวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16060

๑. โดยปรารภผล
สมถะ เพ่ง เพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
วิปัสสนา เพ่ง เพื่อรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง

๒. โดยอารมณ์
สมถะ มีนิมิตบัญญัติเป็นอารมณ์กรรมฐานเป็นส่วนมากเพราะต้องการความมั่นคง
วิปัสสนา ต้องมีรูปนาม เป็นอารมณ์ เพราะต้องเป็นอารมณ์ที่มีการเกิด – ดับ ตรงตามธรรมชาติที่เป็นความจริง

๓. โดยสภาวธรรม
สมถะ มีสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิก ที่ให้จิตตั้งมั่นในอารมณ์
วิปัสสนา มีปัญญา รู้รูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

๔. โดยการละกิเลส
สมถะ ละกิเลสอย่างกลาง ปริยุฏฐานกิเลส
วิปัสสนา ละกิเลสอย่างละเอียด อนุสัยกิเลส

๔. โดยอาการที่ละกิเลส
สมถะ ละด้วยการข่มไว้ เป็น วิกขัมภนปหาน
วิปัสสนา ละด้วยการขัดเกลาเป็นขณะ ๆ เป็น ตทังคปหาน

๕. โดยอานิสงส์
สมถะ ให้อยู่เป็นสุขด้วยการข่มกิเลส และให้ไปเกิดในพรหมโลก
วิปัสสนา เพื่อละวิปลาสธรรม และเข้าถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงความไม่เกิดเป็นที่สุด

-----------------------------------------


คุณ mes เขียน
อย่าคิดว่าที่อ้างอิงเป็นพระไตรปิฎก

แต่เป็นการเขียนพระไตรปิฎกของพระศรีโชติญาณ(แสวง)แห่งสำนักอภิธรรมครับ

เขารีไซเคินพระไตรปิฎกขึ้นใช้เอง


ดูทิฏฐิของลูกศิษย์อาจารย์พุทธทาส ช่างเหมือนกันแท้ ๆ ชอบกล่าวหาผู้อื่น ๆ ที่มีสัมมาทิฏฐิ แต่ไม่ตรงกับทิฏฐิของตนเอง ก็ใส่ร้ายคนอื่นได้อย่างไม่ละอายใจ

เหมือนที่ท่านพุทธทาส ใส่ร้ายพระอรหันต์สืบทอดพระไตรปิฏก อรรถกถา พระพุทธโฆษาจารย์ ฯลฯ

จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ชุดลอยปทุม

เรื่องส่วนตัวพระพุทธโฆษาจารย์
ทีนี้จะวิจารณ์เรื่องส่วนตัวของพระพุทธโฆษาจารย์กันบ้าง ไม่ใช่จ้วงจาบ ไม่ใช่นินทา ไม่ใช่ใส่ร้าย แต่เอามาเป็นเหตุผลสำหรับการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทของท่าน(บางส่วนที่คร่อมภพชาติ ซึ่งท่านพุทธทาสถือว่าผิดจากหลักบาลี ) ซึ่งมันมีแง่ให้เราตั้งข้อสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์ ท่านจบไตรเพทอย่างพราหมณ์คนหนึ่ง มีวิญญาณอย่างพราหมณ์ แล้วจึงมาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แล้วได้รับการสมมุติกันในหมู่คนบางพวกว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เมื่อ พศ. ร่วมพันปี นักโบราณคดีถือว่าท่านเกิดที่อินเดียใต้ มิใช่ชาวมคธ บางพวกดึงท่านมาเป็นมอญก็มี ไม่เหมือนในอรรถกถา ที่ถือว่าท่านเป็นชาวมัธยมประเทศ ท่านเป็นพราหมณ์โดยเลือดเนื้อมาเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วถ้าเกิดไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพุทธให้กลายเป็นพราหมณ์อย่างนี้ มันยิ่งสมเหตุสมผล คือท่านเผลอไปก็ได้ ถ้าท่านเผลอท่านก็ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นแน่นอน ข้อนี้จะว่าอย่างไรก็ต้องพูดอย่างที่เรียกว่า ขอฝากไว้ให้ท่านผู้มีสติปัญญาพิจารณาดูเถิด


เหตุท่านพุทธทาสใส่ร้าย พระสงฆ์ และพระธรรม เนื่องจาก อธิบายภพชาติ หมายถึง การเกิดขึ้นของรูปขันธ์ นามขันธ์ ในภพชาติต่าง ๆ ไม่ใช่แบบ ตัวกู ของกู ที่ท่านเห็นว่าถูกต้องที่สุด

เช่นเดียวกันกับที่ลูกศิษย์เอกของท่านทำอยู่ขณะนี้ครับ



ดูลายเซ็นเหลิม

กับที่เหลิมอ้างว่าฌาณเป็นเรื่องเสียเวลา

เป็นการนั่งหลับตาเฉยๆ

แม้แต่ในพุทธกาลเจโตก็มีน้อย


ผมหยุดแล้ว

สนทนากับคนไม่มีหลักการ ไม่อยู่กับร่องกับรอย

เสียเวลา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออโหสิกรรม

กับท่านผู้อ่านที่ผมทำให้ท่านเกิดร้อนใจไปด้วยครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร