วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 22:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ควรศึกษาหนังสือของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?

จากการที่ได้เคย สนทนากับผู้ที่ศึกษา งานของท่านพุทธทาสมาก ๆ

มักมีแนวความคิดดังนี้

1. ไม่เชื่อถือในพระไตรปิฏก (เถรวาท ) โดยเริ่มตั้งแต่ พระอภิธรรม พระสูตรที่เกี่ยวข้องกับหลักกรรมการเวียนว่ายตายเกิด ( เทวดา เปรต อสุรกาย)
(พร้อมที่จะฉีกพระไตรปิฏกทิ้ง ตามอุดมการณ์ของท่าน)
-- ไม่ต้องพูดถึง อรรถกถา คัมภีร์อื่น ๆ ของเถรวาท เช่น วิสุทธิมรรค, พระอภิธัมมัตถสังคหะ, มิลินทปัญหา ฯลฯ

2. ปฏิเสธการพูดถึงเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด ( เห็นว่าเป็นเรื่องสัสสตทิฏฐิทั้งหมด)

3. ยึดถือ ความเห็นของท่านพุทธทาส ยิ่งกว่า พระศาสดา ( พระไตรปิฏก ) โดยอ้าง การตีความของท่านพุทธทาส ที่อ้างว่าเป็นภาษาธรรม (ธรรมาธิษฐาน) ซึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา บางส่วนเป็นภาษาคน (บุคคลาธิษฐาน) บางส่วนถูกดัดแปลงเพิ่มเติมเข้ามาจากศาสนาพราหมณ์

ฯลฯ

ถ้าไม่ควรศึกษาทำไมมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงให้พระนกศึกษาศึกษา

ทั่วโลกทำไมศึกษา

มีแต่สำนักแอบอ้างลัทธิอภิธรรมที่โจนตี

ชื่อบุญมีไม่เห็นมีสถาบันไหนเอาไปศึกษา

อิจฉาหรือเปล่า

หรือโกรธที่ท่านพุทธทาสรู้ทันแอบเขียนสวรรค์นรกยัดไส้แอบอ้างว่าเป็นพระไตรปิฎก


สำนักลวงโลกหรือเปล่า

เที่ยวสวรรค์ทัวร์นรก

เอ้า เฮ!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คืออย่างนี้คุณกรัชกาย

ผมติดอยู่นิดเดียว

สำนักนี้ยึดเอาลัทธิมิฉทิฐิของแนบมาแล้วพยายามโจมตีการทำสมาธิ

ผมเห็นว่าไม่ถูก

ของมูลผมยังมีอีกมาก

ในเมื่อผมถอยแล้วเหลิมเล่นไม่เลิก

ก็เอา ลองดู

ข่มกันมากไป

ผมก็จะไม่เลิก

เอากับมันทุกทาง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เงิน ผลประโยชน์แบ่งลงตัวหรือยังเหลิม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับสมาธิวิปัสสนาอะไรเนี่ย หากเรากลับไปที่จุดเริ่มต้น ที่ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จะไม่สับสน สมาธิ=สมถะ ปัญญา = วิปัสสนา ศีลเพื่อสมาธิ สมาธิเพื่อปัญญา ปัญญาเพื่อวิมุตติ
(แต่ส่วนสมาธิ เมื่อพูดเอาขั้นฝึกอบรมจิตแล้วยึดหยุ่นได้และเกี่ยวกับกรรมฐานที่ใช้ฝึกด้วย)

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?board=19.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ส.ค. 2010, 18:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อลงฝึกหัดอบรมจิตถูกต้องแล้ว ตัวธรรมซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหรือเป็นบาทฐานของกันและกัน จะเกิดทำนองนี้


“กุศลศีลมีความไม่มีวิปฏิสารเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ความไม่มีวิปฏิสารมีปราโมทย์เป็นอรรถเป็น

อานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุข

เป็นอรรถเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็น

อานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นอรรถเป็น

อานิสงส์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมหลั่ง

ไหลสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการไปจากภาวะอันมิใช่ฝั่งสู่

ภาวะที่เป็นฝั่งโดยประการดังนี้แล”

(องฺ.เอกาทสก.24/209/337)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขอรับแผนปรองดองแห่งชาติคุณกรัชกาย

รอเหลิมประกาศว่าจะรับรองหรือไม่

ถ้ารับ

ผมจะขอแปรญัตติทีละมราตรา


แต่ในการประชุมครั้งนี้เป็นห่วงปลักขิกที่เหลิมห้อยเป็นอาวุช

นี่ก็สามสี่อันเข้าไปแล้ว

ถ้าเพิ่มลิงคิ์ไม่ชอบmes เข้าไปหรือ ไม่ชอบใครเข้าอีกจะห้อยอย่างไหงนี่

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เมื่อลงฝึกหัดอบรมจิตถูกต้องแล้ว ตัวธรรมซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหรือเป็นบาทฐานของกันและกัน จะเกิดทำนองนี้


“กุศลศีลมีความไม่มีวิปฏิสารเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ความไม่มีวิปฏิสารมีปราโมทย์เป็นอรรถเป็น

อานิสงส์ ปราโมทย์มีปีติเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุข

เป็นอรรถเป็นอานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็น

อานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ นิพพิทามีวิราคะเป็นอรรถเป็น

อานิสงส์ วิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอรรถเป็นอานิสงส์ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ย่อมหลั่ง

ไหลสู่ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายย่อมยังธรรมทั้งหลายให้บริบูรณ์ เพื่อการไปจากภาวะอันมิใช่ฝั่งสู่

ภาวะที่เป็นฝั่งโดยประการดังนี้แล”

(องฺ.เอกาทสก.24/209/337)


มราตรานี้เหลิมรับไหม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้ลานกรรมแฮ้ง

เหลิมจะเข้ามาเช้าละ2กระทู้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัดนำมาให้ดูความเป็นเหตุเป็นผล ของตัวธรรมซึ่งเป็นเหตุปัจจัยกันเป็นฐานกันและกัน เหมือนขั้นบันไดฉะนั้น

-คุณสมบัติฝ่ายหมดของอริยะขั้นต้น

-ละกิเลสเครื่องผูกใจได้ 3 อย่าง คือ

สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวของตน ติดสมมุติเหนียวแน่น ซึ่งทำให้เห็นแก่ตัวอย่างหยาบและเกิดความกระทบกระทั่งมีทุกข์ได้แรงๆ

วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่แน่ใจต่างๆ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขาเป็นต้น ซึ่งทำให้จิตไม่น้อมดิ่งไปในทางที่จะระดมความเพียรมุ่งหน้าปฏิบัติเร่งรุดไปในมรรคา

สีลัพพตปรามาส ความถือเขวเกี่ยวกับศีลพรต คือการถือปฏิบัติศีลและวัตร หรือกฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย ข้อปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมต่างๆไม่บริสุทธิ์ตามหลักการตามความมุ่งหมาย ที่มุ่งเพื่อความดีงาม เช่น ความสงบเรียบร้อย และความเป็นบาทฐานของสมาธิ เป็นต้น แต่ประพฤติปฏิบัติด้วยตัณหาและทิฏฐิ เช่น หวังผลประโยชน์ตอบแทน หวังจะเป็นนั่นเป็นนี่ ตลอดจนประพฤติด้วยงมงายสักว่าทำตามๆกันมา

-ละมัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ความใจคับแคบ หวงแหน คอยกีดกันผู้อื่น 5 อย่าง
ฯลฯ

-ละอคติ คือ ทางความประพฤติที่ผิด หรือความลำเอียงได้ทั้ง 4 อย่าง

1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบกัน
2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน
3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา
4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

-ละราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ขั้นหยาบหรือรุนแรงที่จะทำให้ถึงอบาย ไม่ทำกรรมชั่ว
ขั้นร้ายแรงที่จะเป็นเหตุให้ไปอบาย (สํ.ข.17/469/278 ฯลฯ)

-ระงับภัยเวร โทมนัสและทุกข์ทางใจต่างๆ ที่จะพึงเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามหลักศีล 5 เป็นผู้พ้นจากอบายสิ้นเชิง ความทุกข์ส่วนใหญ่หมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่บ้างเป็นเพียงเศษ
น้อยนิดที่นับเป็นส่วนไม่ได้ (สํ.ม.19/1575/489 ฯลฯ)


ว่าโดยสาระก็เป็นอย่างเดียวกันกล่าวคือ

จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็เพราะมีปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร เมื่อเกิดปัญญา

เข้าใจชัดขึ้นอย่างนี้ วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป ศรัทธาที่อาศัยปัญญาก็แน่น

แฟ้น พร้อมนั้นก็จะรักษาศีลได้ถูกต้องตามหลักการตามความมุ่งหมาย กลายเป็นอริยกันตศีล คือ ศีล

ที่อริยชนชื่นชมยอมรับ สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป เมื่อจาคะเจริญขึ้น มัจฉริยะก็หมดไป เมื่อ

ราคะ โทสะโมหะเบาบางลง ก็ไม่ตกไปในอำนาจของอคติ และราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ก็เพราะ

ปัญญาที่มองเห็นความจริงของโลก และ ชีวิต ทำให้คลายความยึดติด เมื่อสิ้นยึดติด ถือมั่นน้อยลง

ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย และรู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น

<= ต้องการให้เห็นความที่ธรรมะเป็นปัจจัยกันและกันนั่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ส.ค. 2010, 22:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 11 ส.ค. 2010, 21:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของตัวธรรม ขอเน้นอีกที

อ้างคำพูด:
จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็เพราะมีปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร เมื่อเกิดปัญญาเข้าใจชัดขึ้นอย่างนี้ วิจิกิจฉา คือ ความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป ศรัทธาที่อาศัยปัญญาก็แน่นแฟ้น พร้อมนั้นก็จะรักษาศีลได้ถูกต้องตามหลักการตามความมุ่งหมาย กลายเป็นอริยกันตศีล คือ ศีล ที่อริยชนชื่นชมยอมรับ สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป เมื่อจาคะเจริญขึ้น มัจฉริยะก็หมดไป เมื่อราคะ โทสะโมหะเบาบางลง ก็ไม่ตกไปในอำนาจของอคติ และราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ก็เพราะปัญญาที่มองเห็นความจริงของโลก และ ชีวิต ทำให้คลายความยึดติด เมื่อสิ้นยึดติด ถือมั่นน้อยลง ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย และรู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ส.ค. 2010, 22:03, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณสำหรับคำเตือนสติของท่านกรัชกายครับ

ผมจะขอน้อมรับมาปฏิบัติ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จากพุทธธรรมท่านปอ. ประยุกต์โต

อกุศลที่เกื้อนำกุศล

การอยากให้มีสติ สมาธิเป็นตัญหาก่อเกิดชาติก็จริง

แต่สมาธิเป็นองค์ธรรมที่พาให้หลุดพ้น

ถึงขนาดว่าถ้าขาดสมาธิก็คงไม่หลุดพ้นจากทุกข์ได้

คือไม่สำเร็จอรหันต์

ตามกระทู้ที่ยกมาบอกว่าเมื่อเกิดตัญหาก่อเกิดชาติทำให้ทุกข์และเมื่อไม่ได้สมาธิยิ่งทุกข์นักผู้ที่อยากได้สมาธิเพียงเพื่อต้องการความสงบ เจตนาของผู้สั่งสอนคือต้องการให้ผู้ปฏิบัติธรรมใช้ขนิกสมาธิวิปัสสนาเท่านั้นตามวิปัสสนาจารย์ของมูลนิธิอภิธรรมคือแนบ นีรานนท์ สั่งสอน

ซึ่งขณิกสมาธิไม่เพียงพอต่อการถึงวิมุติ

มีแต่สมาธิขั้นอัปปนาสมาธิเท่านั้นที่เรียกว่าฌาณหรือเจโตวิมุติ

คือเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันสิ้นอาสวะจึงเป็นนิพพาน

มีแต่สมาธิจึงข่มกิเลสให้สิ้นอาสวะได้หมดสิ้น

ยังมีเรื่อง เวทนา สัญญา สังขาร ที่ต้องอาศัยกำลังสมาธิ

การสอนวิธีปฏิบัติธรรมอย่างไม่รอบคอบไม่รู้จริงเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

ผมจึงต้องออกมาตั้งข้อสังเกตุ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาต้องอาศัยสมถะไม่มากก็น้อยคืออาจเจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติก่อนแล้วจึงก้าว

ต่อไปสู่วิปัสสนา คือ เอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนาก็ได้

อาจเริ่มเจริญวิปัสสนาไปก่อนแล้วจึงเจริญสมถะตามหลังก็ได้ หรือ อาจเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาควบคู่

กันไปก็ได้

แม้แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่าเจริญแต่วิปัสสนาอย่างเดียวล้วน ไม่อาศัยสมถะเลย ก็หมายถึงไม่อาศัย

สมถะในความหมายโดยนิปริยาย หรือ ความหมายจำเพาะที่เคร่งครัด คือ ไม่ได้ทำสมถะ

จนได้ฌานสมาบัติก่อนเจริญวิปัสสนา แต่ตามความเป็นจริงก็อาศัยอาศัยสมถะในความหมายกว้างๆ

คือ อาศัยสมาธิ
นั่นเอง สมาธิของผู้เจริญวิปัสสนาแบบนี้ อาจเริ่มต้นด้วยขณิกสมาธิก็ได้

แต่เมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นจะแน่วแน่สนิทถึงระดับปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ หรือ รูปฌานที่ ๑)

viewtopic.php?f=2&t=19596

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 12 ส.ค. 2010, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ธรรมของปฏิจจสมุปบาท จาก พระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://abhidhamonline.org/aphi/p8/006.htm

อวิชชา นี้องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก คือความไม่รู้นั่นเอง ไม่รู้ในที่นี้หมาย เฉพาะไม่รู้ธรรม ๘ ประการ อันได้แก่ ไม่รู้อริยสัจ ๔, ไม่รู้อดีต ๑, ไม่รู้อนาคต ๑, ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคต ๑ และไม่รู้ปฏิจจสมุปปาทธรรม ๑

เพราะความไม่รู้ คือ โมหะ หรืออวิชชานี่เอง เป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่อุปการะ ช่วยเหลือให้เกิดสังขาร ให้เกิดมีการปรุงแต่งขึ้น ดังนั้นจึงกล่าวว่า อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเป็นปัจจยุบบันน สังขารอันเป็นปัจจยุบบันนของอวิชชานี้จัดได้เป็นสังขาร ๓ คือ อบุญญาภิสังขาร บุญญาภิสังขาร และ อาเนญชาภิสังขาร

๑. อบุญญาภิสังขาร จงใจปรุงแต่งให้เป็นบาป องค์ธรรมได้แก่ เจตนาใน อกุสลจิต ๑๒ เมื่อเจตนาปรุงแต่งให้เกิดบาปเช่นนี้ ก็เป็นทางที่จะนำไปให้ปฏิสนธิ ในอบายภูมิ เจตนาทำบาปอันจะส่งผลให้ปฏิสนธิในอบายภูมินี้ เห็นได้ชัดว่าเป็น ด้วยอำนาจแห่งโมหะ คือ อวิชชาโดยตรงทีเดียว

๒. บุญญาภิสังขาร จงใจปรุงแต่งให้เป็นบุญ องค์ธรรมได้แก่ เจตนาใน มหากุสล ๘ และเจตนาในรูปาวจรกุสลจิต ๕ รวมเป็นเจตนา ๑๓ เมื่อเจตนาปรุง แต่งให้เกิดกุสลกรรมเช่นนี้ ก็เป็นทางที่จะให้ได้ปฏิสนธิเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็น รูปพรหม ตามควรแก่กรรมนั้น ๆ เจตนาทำกุสลอย่างนี้ก็นับว่าดีมากอยู่ แต่ว่า ยังไม่ถึงดีที่สุด เพราะว่ายังไม่พ้นทุกข์ จะต้องกลับมาวนเวียนในสังสารวัฏฏอีก กุสลที่ประเสริฐสุด คือ โลกุตตรกุสลอันจะทำให้พ้นทุกข์ได้เด็ดขาด ไม่ต้องกลับมา วนเวียนในสังสารวัฏฏอีกเลยก็มี แต่ไม่มีเจตนาปรุงแต่งให้กุสลอันประเสริฐสุดนั้น เกิดขึ้น จึงได้ชื่อว่า ยังมีอวิชชาอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เพราะไม่รู้ว่ากุสลอันยิ่งกว่า นั้นก็มี จึงเจตนาทำเพียงมหากุสลกรรมและรูปาวจรกุสลกรรมเท่านั้น

๓. อาเนญชาภิสังขาร จงใจปรุงแต่งให้เป็นบุญชนิดที่ไม่หวั่นไหว คือตั้ง อยู่ในอุเบกขาพรหมวิหารได้นานเหลือเกิน องค์ธรรมได้แก่ เจตนาในอรูปาวจร กุสลจิต ๔ เมื่อเจตนาปรุงแต่งให้เกิดกุสลกรรมถึงปานนี้ ก็ส่งผลให้ไปปฏิสนธิเป็น อรูปพรหม เสวยบรมสุขอยู่นานช้า ถึงกระนั้น ก็ได้ชื่อว่า ยังไม่พ้นไปจากอวิชชา ตามนัยที่กล่าวแล้วในข้อ ๒ นั้น

--------------------------------------------------------

จากสมเด็จพระสังฆราช
http://watkoh.com/kratoo/forum_posts.asp?TID=3282

ข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อชาติภพ

แต่อันที่จริงนั้น เมื่อยังมีชาติมีภพ ก็ชื่อว่ายังมีทุกข์ ยังมีกิเลส ยังไม่สิ้นทุกข์ยังไม่สิ้นกิเลส ดังที่มีความต้องการเกิดอีก แม้ในชาติภพที่เข้าใจว่ายั่งยืน และเมื่อไปเกิดในชาติภพนั้นแล้วก็ยั่งยืน มีผู้ที่เกิดอยู่ยั่งยืน และเต็มไปด้วยความสุขต่างๆ ดังฤษีทั้งหลายดาบสทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติแม้ใกล้พุทธศาสนาเข้ามามาก ดังเช่นท่านอาฬารดาบสกาลามโคตร อุทกดาบสรามบุตร ปฏิบัตินับว่าสมบูรณ์อยู่มาก ในศีลในสมาธิ คือได้ถึงสมาบัติ ๗ สมาบัติ ๘ หรือว่า รูปฌาน อรูปฌาน แต่ว่าก็ติดอยู่แค่นั้น เพราะว่าต้องการที่จะไปเกิดในพรหมโลกเป็นพรหม ซึ่งเข้าใจว่าดำรงอยู่ยั่งยืนตลอดไปในพรหมโลกนั้น

แต่พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์เสด็จออกทรงผนวช ได้เสด็จเข้าไปทรงศึกษาในสำนักของท่านดาบสทั้งสองนั้น ก็ทรงเห็นว่ายังเป็นข้อปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อชาติภพ เพราะฉะนั้น จึงยังมีกิเลสคือความต้องการจะไปเกิดอีก อันเป็นตัณหา และเมื่อไปเกิดอีก ความเกิดนั้นก็ยังเป็นทุกข์ เพราะเมื่อมีเกิดก็จะต้องมีแก่มีตาย เมื่อไปเกิดเป็นเทพก็จะต้องมีจุติ คือเคลื่อนออกจากความเป็นเทพในที่สุด จึงยังไม่พ้นทุกข์ ไม่พ้นความเวียนว่ายตายเกิด อันเรียกว่าวัฏฏสงสาร

--------------------------------------------

คุณ mes ครับ การทำสมาธิขั้นสูงสุด อรูปฌาน เป็นสังขารอย่างหนึ่ง เป็น อาเนญชาภิสังขาร

ด้วยสังขารนี้แหละครับ ทำให้เกิดชาติ ใน อรูปพรหม มีปฏิสนธิวิญาณเนื่องด้วย การทำสมาธิขั้น อรูปฌาน

คุณอย่ามัวแต่เชื่ออาจารย์พุทธทาสของคุณนะครับ ที่ปฏิรูปพระสัทธรรมว่า ชาติ การเกิดความรู้สึกตัวกู ของกู เท่านั้น ภพชาติอย่างอื่น ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก อรรถกถา ไม่ถูกต้อง

ต้อง ตัวกู ของกู เท่านั้น ถูกที่สุด

อาจารย์ของคุณ mes คือผู้ที่กล่าวบิดเบือนพระสัทธรรม มากที่สุดในยุคนี้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 77 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร