วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 15:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2010, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

วิธีเจริญสมถะและวิปัสสนา
หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

วัดอรัญญบรรพต
ต.บ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

:b50: :b47: :b50:

นั่งขัดสมาธิเอาขาขวาทับขาซ้าย ตั้งกายให้ตรง อย่าก้มมาก อย่าเงยมากให้พอดี ตั้งสติเฉพาะหน้าทำความรู้ตัวทั่วพร้อม ต่อจากนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เอาเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ โดยอธิษฐานว่าด้วยอำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยนี้ ขอให้จิตของข้าพเจ้าสงบเป็นหนึ่ง และขอให้มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในธรรมของจริงที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วนั้น ต่อจากนั้นก็นึก พุทโธ ธัมโม สังโฆ สามครั้ง แล้วก็ตั้งสติกำหนดดูลมหายใจเข้าหายใจออกเสมอไป

พยายามควบคุมจิตให้รู้อยู่แต่ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ไม่คิดไปทางอื่น แต่คิดว่า เมื่อหายใจเข้าไปแล้วไม่ออกก็ตาย เมื่อหายใจออกไปแล้วไม่กลับเข้าก็ตาย ชีวิตนี้มีอยู่แค่ลมหายใจเข้าออกเท่านั้น เมื่อลมหายใจหยุดเวลาไหน ก็ต้องตายเวลานั้น แต่เราก็รู้ไม่ได้ว่าลมหายใจนี้จะหยุดลงเมื่อใดนั้น จึงต้องระวังจิตไม่ให้คิดไปในทางบาปอกุศล และไม่ให้จิตผูกพันอยู่กับสิ่งใดๆ ในโลก แม้แต่ร่ายกายนี้ก็ไม่ใช่ของเรา สิ่งอื่นจะเป็นของเรามาแต่ไหน กำหนดรู้เรื่องนี้อยู่ในใจเสมอไป จนใจสงบลงเป็นหนึ่ง

ลักษณะของใจที่สงบ

ในขณะที่จิตรวมลงเป็นหนึ่งนั้น จะปรากฏคล้ายกับเคลิ้มหลับไปหน่อยหนึ่ง แล้วก็รู้สึกตัวว่าจิตตั้งมั่นอยู่ในปัจจุบัน พร้อมด้วยสติไม่วิตกวิจารณ์อะไรต่อไป มีสติประคองจิตที่สงบอยู่นั้นให้สงบอยู่ในปัจจุบันเรื่อยไป

ทำความรู้เท่านิมิตหากมันเกิดขึ้น

ในขณะที่ทำความสงบอยู่นั้น เมื่อเผลอสติจิตจะพลิกไป ในขณะนั้นอาจจะเกิดนิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นก็ได้ ต้องระวังให้ดี เมื่อนิมิตเกิดขึ้นจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องไม่ดีก็ตาม ให้กำหนดรู้เท่านิมิตนั้น ตามเป็นจริงว่า นิมิตนี้ก็เป็นแต่สัญญาอารมณ์เท่านั้น ครั้นเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ไม่ควรยึดถือว่าเป็นนั่นเป็นนี่ แล้วกำหนดจิตให้ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใส่ใจกับนิมิตนั้น ถึงเวลาแล้วมันก็จะดับไปเอง บางคนภาวนาไม่เกิดนิมิตอะไรก็มี ทั้งนี้เพราะเป็นไปตามอุปนิสัยของแต่ละบุคคล ข้อสำคัญอยู่ที่การทำใจให้สงบนั้นแหละ เป็นหัวใจของสมถะภาวนา

วิปัสสนาภาวนา

การทำใจให้สงบนับว่าเป็นบทบาทอันสำคัญ ทั้งนี้ เพราะว่าใจที่ไม่สงบย่อมไม่มีปัญญารู้แจ้งซึ่งธรรมของจริงได้ ดังนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงสอนให้เจริญพระกัมมัฏฐานบทใดบทหนึ่งเป็นอารมณ์จนใจสงบลงเป็นหนึ่งก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ เช่น เจริญอานาปานสติดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อทำใจให้สงบได้แล้ว ก็กำหนดพิจารณาขันธ์ห้านี้แหละ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนได้ยาก และเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนเราเขา คำว่าตัวตนก็เป็นแต่สมมุติขึ้นเพื่อติดต่อสังคมกันเท่านั้น ถ้าไม่สมมุติขึ้นก็ติดต่อสังคมกันไม่ได้

ขันธ์ห้านั้นย่นลงเป็นสอง คือ รูป ๑ นาม ๑ ธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันเป็นกายนี้เรียกว่า รูปความที่จิตเสวยอารมณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างกายกับจิตกระทบกัน เรียกว่า เวทนา คือ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรียกว่า สัญญา เจตสิกธรรม คืออารมณ์ที่เกิดกับใจ เป็นส่วนดีเรียกกุศล เป็นส่วนชั่วเรียกอกุศล เป็นส่วนกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่วเรียก อัพยากฤต เรียกว่า สังขาร ความรู้สึกอารมณ์ในเวลาที่รูปมากระทบตา เสียงกระทบหู กลิ่นกระทบจมูก รสกระทบลิ้น เย็นร้อน อ่อนแข็ง กระทบกาย อารมณ์ทั้งห้านั้นกระทบใจ เรียกว่า วิญญาณ

ความกำหนดพิจารณารูปกับนามนี้ กระจายออกไปให้เห็นตามความเป็นจริง แล้วปล่อยวางไม่ถือมั่น ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขา นั่นแหละเรียกว่า วิปัสสนา ให้พึงสันนิษฐานดูว่า รูป ได้แก่สิ่งที่มองเห็นด้วยตาทั้งหมด ทั้งที่มีใจครองก็ดี และไม่มีใจครองก็ดี เรียกว่ารูปทั้งนั้น ส่วนนามธรรมนั้น หมายเอาสิ่งที่รู้ด้วยใจ นามธรรมไม่มีรูปร่าง ดังนั้นจึงรู้ได้แต่ทางใจเท่านั้น เพราะว่าใจหรือจิตก็ไม่มีรูปร่างเหมือนกัน แต่มันก็มีอิทธิพลสามารถทำกายนี้ให้เคลื่อนไหวไปมาได้ และสามารถบังคับกายวาจาให้ทำดีหรือทำชั่วได้ การที่จะรู้จักจิตนี้ได้โดยแจ่มแจ้งก็เพราะกำหนดละอารมณ์ที่เป็นอดีตอนาคตเสีย แล้วเพ่งอยู่ในปัจจุบันนี้จนจิตรวมลงเป็นหนึ่งนั่นแหละ จะรู้ว่าจิตคืออะไร

การเจริญสมถะก็ดี และการเจริญวิปัสสนาก็ดี ก็เพื่อมุ่งชำระจิตดวงนี้ให้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายจึงสมควรเจริญให้มาก กระทำให้มาก จักเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็นคือ อริยสัจธรรมทั้งสี่ ได้แก่ ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันทุกข์นั้นหมายเอาความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และความโศกเศร้าเสียใจ พิไรรำพันต่างๆ ความคับแค้นใจ ความเหี่ยวแห้งใจ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจก็ดี ความได้ร่วมกับบุคคลซึ่งไม่เป็นที่รักที่ชอบใจก็ดี และความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวังก็ดี

ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นทุกข์ทั้งนั้น ส่วนความเกิด แก่ เจ็บ ตายนั้น ทรงสอนให้กำหนดรู้เท่าตามเป็นจริงแล้วอดกลั้นทนทานต่อทุกขเวทนานั้นๆ เสมอไป ส่วนความโศกเศร้าเป็นต้นนั้น ทรงสอนให้กำหนดละ และบุคคลสามารถละได้ ถ้าอบรมปัญญาให้เกิดขึ้น และตัณหาคือความอยากนั้น ทรงสอนให้ละ ในขั้นต้นนี้ทรงสอนให้ละตัณหาคือความอยากกระทำไปในทางบาปอกุศล เช่น ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มสุราเมรัย กัญชายาฝิ่น เฮโรอีน และอื่นๆ ซึ่งเป็นของเสพติดให้โทษ ตัณหาประเภทนี้ควรเพียรพยายามละให้ได้ ถ้าไม่ละแล้วมันจะพาให้ได้รับทุกข์ ทั้งในปัจจุบัน และเบื้องหน้าต่อไปไม่มีสิ้นสุด

ส่วนความอยากประเภทอื่นนั้นค่อยเอาไว้ละทีหลัง ถ้าละตัณหาตอนต้นนั้นไม่ได้ ตัณหาประเภทอื่นๆ ก็ละไม่ได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงสมควรพยายามละตัณหาประเภทต้นนั้นให้ได้ จึงจะพ้นจากทุกข์ในอบายภูมิทั้งสี่ มีนรกเป็นต้นได้

เราเกิดมาในชาตินี้เป็นบุญลาภอันประเสริฐ ที่ได้มาพบพระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐในโลก สมควรที่จะลงมือปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ โดยความไม่ประมาท กิเลสบาปธรรมจะได้น้อยเบาบางจากดวงจิตของตน การที่คนเราจะพ้นทุกข์ไปไม่ได้ ก็เพราะไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นเอง

เพราะฉะนั้น ท่านผู้ใดอยากพ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสาร จงตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยความไม่ประมาทเถิด

:b8: ที่มา : http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8252

:b44: รวมคำสอน “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43689

:b44: ประวัติและปฏิปทา “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20708

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2010, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 14.83 KiB | เปิดดู 3994 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนา..สาธุ..ครับ smiley smiley smiley


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2010, 01:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: สาธ..สาธุ..สาธุ..ครับ..ท่านวรานนท์ :b8:

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิปัสสนาภาวนา

การทำใจให้สงบนับว่าเป็นบทบาทอันสำคัญ
ทั้งนี้ เพราะว่าใจที่ไม่สงบย่อมไม่มีปัญญารู้แจ้งซึ่งธรรมของจริงได้
ดังนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงสอนให้เจริญพระกัมมัฏฐานบทใดบทหนึ่งเป็นอารมณ์
จนใจสงบลงเป็นหนึ่งก่อนแล้ว
จึงเจริญวิปัสสนาต่อ เช่น เจริญอานาปานสติดังกล่าวมาแล้วนั้น
เมื่อทำใจให้สงบได้แล้ว ก็กำหนดพิจารณาขันธ์ห้านี้แหละ
ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนได้ยาก และเป็นอนัตตา
ไม่ใช่ตัวตนเราเขา คำว่าตัวตนก็เป็นแต่สมมุติขึ้นเพื่อติดต่อสังคมกันเท่านั้น
ถ้าไม่สมมุติขึ้นก็ติดต่อสังคมกันไม่ได้

ขันธ์ห้านั้นย่นลงเป็นสอง คือ รูป ๑ นาม ๑ ธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ


การทำสมาธิเพื่อจะมาเป็นบาทของวิปัสสนานั้น ต้องทำให้ได้ถึงขั้นฌาน

การเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่ทำได้เพียง อิริยาบถนั่งเท่านั้น และไม่ใช่เพียงการนึกคิดพิจารณา

แต่ต้อง พิจารณาถึง สภาพธรรม รูป นาม ขันธ์ ๕ ที่เป็น ปัจจุบันอารมณ์ ที่อาศัยของตัณหา ทิฏฐิ อย่างต่อเนื่อง



เนื้อหาสาระที่พระพุทธองค์รับสั่งในหมวดพิจารณารูปอิริยาบถ นั้น มีว่า :
“ – ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ -- ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอีกวิธีหนึ่งยังมีอยู่ คือ ภิกษุ เดินอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ เดินอยู่ “
-- ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ -- ยืนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ ยืนอยู่ “
-- นิสินฺโน วา นิสินฺโนมฺหีติ ปชานาติ -- นั่งอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ นั่งอยู่ “
-- สยาโน วา สยาโนมฺหีติ ปชานาติ -- นอนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ นอนอยู่ “
-- ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา นํ ปชานาติ .
-- ก็หรือว่า กายของเธอตั้งอยู่โดยอาการใด อาการใด ย่อมรู้ชัดซึ่งกายนั้น โดยอาการนั้น อาการนั้น
-- อิติ อชฺฌตฺตํ วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ฯเปฯ เอวมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุกาเย กายานุปสฺสี วิหรติ. -- ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายกายภายในอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความดับไปเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นทั้งความเกิดขึ้นทั้งความดับไปเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ก็หรือว่า สติย่อมเป็นอันปรากฏแก่เธอว่า “ กาย มีอยู่ “ เพียงเพื่อประโยชน์แก่ญาณ ความรู้ที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพียงเพื่อความระลึกได้เฉพาะเท่านั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ย่อมไม่ยึดถือมั่นอะไร ๆ ในโลกด้วย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้ “ ดังนี้


viewtopic.php?f=2&t=29201

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
วิปัสสนาภาวนา

การทำใจให้สงบนับว่าเป็นบทบาทอันสำคัญ
ทั้งนี้ เพราะว่าใจที่ไม่สงบย่อมไม่มีปัญญารู้แจ้งซึ่งธรรมของจริงได้
ดังนั้น พระบรมศาสดาจึงทรงสอนให้เจริญพระกัมมัฏฐานบทใดบทหนึ่งเป็นอารมณ์
จนใจสงบลงเป็นหนึ่งก่อนแล้ว
จึงเจริญวิปัสสนาต่อ เช่น เจริญอานาปานสติดังกล่าวมาแล้วนั้น
เมื่อทำใจให้สงบได้แล้ว ก็กำหนดพิจารณาขันธ์ห้านี้แหละ
ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนได้ยาก และเป็นอนัตตา
ไม่ใช่ตัวตนเราเขา คำว่าตัวตนก็เป็นแต่สมมุติขึ้นเพื่อติดต่อสังคมกันเท่านั้น
ถ้าไม่สมมุติขึ้นก็ติดต่อสังคมกันไม่ได้

ขันธ์ห้านั้นย่นลงเป็นสอง คือ รูป ๑ นาม ๑ ธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ


การทำสมาธิเพื่อจะมาเป็นบาทของวิปัสสนานั้น ต้องทำให้ได้ถึงขั้นฌาน

การเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่ทำได้เพียง อิริยาบถนั่งเท่านั้น และไม่ใช่เพียงการนึกคิดพิจารณา

แต่ต้อง พิจารณาถึง สภาพธรรม รูป นาม ขันธ์ ๕ ที่เป็น ปัจจุบันอารมณ์ ที่อาศัยของตัณหา ทิฏฐิ อย่างต่อเนื่อง



เนื้อหาสาระที่พระพุทธองค์รับสั่งในหมวดพิจารณารูปอิริยาบถ นั้น มีว่า :
“ – ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติ ปชานาติ -- ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอีกวิธีหนึ่งยังมีอยู่ คือ ภิกษุ เดินอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ เดินอยู่ “
-- ฐิโต วา ฐิโตมฺหีติ ปชานาติ -- ยืนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ ยืนอยู่ “
-- นิสินฺโน วา นิสินฺโนมฺหีติ ปชานาติ -- นั่งอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ นั่งอยู่ “
-- สยาโน วา สยาโนมฺหีติ ปชานาติ -- นอนอยู่ก็ดี ก็ย่อมรู้ชัดว่า “ นอนอยู่ “
-- ยถา ยถา วา ปนสฺส กาโย ปณิหิโต โหติ ตถา ตถา นํ ปชานาติ .
-- ก็หรือว่า กายของเธอตั้งอยู่โดยอาการใด อาการใด ย่อมรู้ชัดซึ่งกายนั้น โดยอาการนั้น อาการนั้น
-- อิติ อชฺฌตฺตํ วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ฯเปฯ เอวมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุกาเย กายานุปสฺสี วิหรติ. -- ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายกายภายในอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นความดับไปเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ย่อมเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นทั้งความเกิดขึ้นทั้งความดับไปเป็นธรรมดาในกายอยู่บ้าง ก็หรือว่า สติย่อมเป็นอันปรากฏแก่เธอว่า “ กาย มีอยู่ “ เพียงเพื่อประโยชน์แก่ญาณ ความรู้ที่ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพียงเพื่อความระลึกได้เฉพาะเท่านั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ย่อมไม่ยึดถือมั่นอะไร ๆ ในโลกด้วย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แม้ตามประการที่กล่าวมาแล้วนี้ “ ดังนี้


viewtopic.php?f=2&t=29201


ในเมื่อฌาณคือการนั่งหลับตาเฉยๆ

ปัจจุบันเราทุกคนที่หลับตาก็ได้อัปปนาสมาธิแล้ว

จะต้องฝึกไปใย

ไปเที่ยวสวรรค์ ทัวร์นรกกันเถอะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 06:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมเข้าไปที่เหลิมศาลาโกหกมาทำให้คิดถึงร้านรับซื่อของเก่าอย่างไหงอย่างนั้น

มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง

เมื่อยี่สิบกว่าปีผ่ามาแล้ว

มีสำนักหนึ่งตั้งขึ้นแล้วใช้ชื่อว่าสำนักอภิธรรม

เจ้าสำนักโฆษณาว่าตนเองเป็นผู้บรรลุธรรมสามารถไปสวรรค์นรกได้ตามใจตน

อภิธรรมที่ใช้ตั้งชื่อชักจะไม่ใช่อภิธัมมัตถะเสียแล้วเป็นอภิธรรมชาติ

ปรากฎว่ามีคนแห่กันมาที่สำนักนี้มากมายเหมือนวักธรรมกายปัจจุบันก็คงมีการหลอกให้ทำบุญกันตามธรรมเนียมปฏิบัติ

ปรากฎว่าสำนักนี้ร่ำรวยเงินทองมาก

กิจกรรมที่สำนักนี้จัดเป็นกิจวัตร์คือ

พาเทียวสวรรค์ทัวร์นรก

ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ก็มีท่านคึกฤทธิ์ ท่านสัญญา อาจารย์เสฐียรพงษ์ และแน่นอนท่านพุทธทาสออกมา

เตือนสติชาวพุทธให้ใช้วิจารณญาณ ส้างความโกรธแค้นกับเจ้าสำนักเป็นอย่างยิ่งที่ตัดทางทำมาหากิน

กันดื้อๆอย่างนี้

สมัยที่สำนักนี้รุ่งเรืองสุดขีดถึงกับคิดโอหังแก้พระไตรปิฎกทีเดียว

สือมวลชนสมัยนั้นก็เห็นจะมีหนังสือพิมพิ์ที่ทรงอิทธิพลมาก

ฉบับที่เกาะติดเรื่องนี้อย่างไม่ปล่อยคือเดลินิวล์

จึงมีการท้าพิสุจน์กันเกิดขึ้น

วิธีการคือนักข่าวที่เข้าพิสุจน์จะไปนั่งกัมมฐานที่สำนักอภิธรรมแล้วเจ้าสำนักจะเข้าสมาธิพาไปเที่ยว

สวรรค์ทัวร์นรก

ปรากฎไม่สมารถทำได้ตามที่โอ้อวด

มีการอ้างเหตุผลสารพัด

หนังสือพิมพิ์ในยุคนั้นออกมาแฉพฤติกรรมหลอกลวงของสำนักนี้ทุกฉบร้อนถึงเถระสมาคมต้องออกมาประกาศว่าสำนักนี้ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

ทางตำรวจจะเอาเรื่องหลอกลวงประชาชน

สำนักนี้พยายามใช้มวลชนออกมาเคลื่อนไหว

แต่ในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม

มวลชนที่ศรัทธาหลงไหลน้อยลงทุกวัน

มหาเถระสมาคมออกแถลงการณ์ว่าสำนักอภิธรรมไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา

เป็นสำนักเถื่อน


สำนักนี้จึงหาทางออกด้วยการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ


เหลือสาวกอยู่ไม่กี่คนกับลูกหลานในวงศ์ตระกูล

หนึ่งในนั้นคือ เฉลิมศักดิ์ ศาลาโกหก

เนื่องจากท่านพุทธทาสออกมาแสดงธรรมเปิดเผยถึงธรรมที่แท้ทำให้ผู้ถูกหลอกตาสว่าง

สาวกสำนักนี้จึงแค้น

และตามชำระหนี้แค้นท่านพุทธทาส

เหลิมคือกากเดนของการหลอกลวงจึงมีนิสัยเป็นพวกนักต้มตุ่น

เจอใครก็สาธุแสดงอาการผู้ดีจอมปลอม

เบืองหลังกักขฬะน่าขยักแขยง


เดี๋ยวนี้เปิดเวป

เฉลิมศักดิ์ศาลาโกหก

สำหรับคนโง่งมงาย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเทศนาของหลวงพ่อชา สุภัทโท

วันคืนล่วงไป..ล่วงไป..บัดนี้เราทำอะไรกันอยู่


ความหลง..ทำให้คนทะเลาะกัน ไม่คำนึงถึงศีลธรรม
พุทธศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ยิ่ง รู้แล้ว รู้ปล่อย รู้ละ รู้วาง เป็นความจริงอยู่แน่นอน

ที่เห็นว่าไม่แน่นอนนั้น เพราะ ความเห็นผิด
ธรรมะเกิดเพราะเหตุ ให้น้อมมาดูที่ ตัวเอง อย่าไปดูที่คนอื่น

ขาดศีล..ไม่มีสุข ร้อนเหมือนตกนรกทั้งเป็น

พระพุทธองค์ ท่านตรัสว่า..ทำอะไรไม่เกิดประโยชน์..อย่าทำ



แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 09 ส.ค. 2010, 06:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อเท็จจริงของพระธรรมนั้น

เจโตวิมุติ อย่างเดียว

ปัญญาวิมุติ อย่างเดียว

ไม่สามารถทำให้สิ้นอาสวะได้

ต้องเจโตวิมุติกับปัญญาวิมุติถึงพร้อมกันจึงจะสิ้นอาสวะ

ดังในพระไตรปิฎกจะเขียนไว้ว่า

เจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้




สื่อหมายความว่า

ปัญญาที่เป็นอธิปัญญาแห่งการหลุดพ้นต้องสิ้นกิเลสด้วย

กิเลสจะสิ้นได้ด้วยสมาธิที่เป็นอธิสมาธิคือเอกัคตาเท่านั้นหมายถึงฌาณ


ขณิกสมาธิใช้เริ่มต้นการวิปัสสนาได้(เป็นศัพท์ที่ตั้งขึ้นใหม่)

อุปจารสมาธิในการใช้วิปัสสนาก่อเกิดปัญญา

อัปปนาสมาธิจึงเกิดญาณทัสสนะหลุดพ้นจากอาสวะกิเลส

อัปปนาสมาธิ เจโตวิมุติ

ญาณทัสสนะ ปัญญาวิมุติ


การแยกเจโตวิมุติ ว่าอันหาอาสวะมิได้

หรือ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้

จึงผิดโดยสิ้นเชิง

ที่ถูกคือ เจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้

ทั้งเจโตวิมุติกับปัญญาวิมุติต้องประกอบเข้าด้วยกันจึงเกิดปฏิกิริยาอันหาอาสวะมิได้


ต้องแปลวิมุติว่า ทางแห่งการหลุดพ้น

เจโตวิมุติ จึงยังไม่ใช่นิพพาน

ปัญญาวิมุติ ก็ยังมิใช้นิพพาน

ต้องเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ จึงจะเป็นนิพพาน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร