วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 20:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปิติอย่างไร คือ ความอิ่มเอิบใจอย่างมากมายมหาศาล เหมือนได้ทำกุศลมากมายจนบอกไม่ถูก
สุขอย่างไร คือ สุขทุกรูขุมขน ที่สุขบนโลกหาไม่เจอ ประมาณไม่ได้
อุเบกขาอย่างไร คือ ออกจากฌาน แล้วก็มืสภาวะเหมือนที่เล่าให้ฟัง ครั้งแรกที่เจอเพื่อนร่วมงานมักทักทายกันสวัสดี ยิ้มให้กัน แค่พยายามยิ้มให้เขาตอบก็ยังรู้สึกว่าทำได้ยาก


ผมคิดว่ายังขาดอยู่1 องค์ประกอบของฌานที่สำคัญมาก คือ .."เอกัคคตา" ในฌาน4 จะได้จริงๆ
ต้องไว้แค่2 คืออุเบกขา กับ เอกัคคตา เอกัคคตาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคนที่ได้ฌานไม่
ว่าฌานขั้นไหนก้แล้วแต่..... ว่าด้วยความสงบของจิตหรือเกิดเป็นสมาธิเป็นฐานสำคัญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


taktay เขียน:
walaiporn เขียน:
การที่เอาจิตไปจดจ่อกับสิ่งที่ถูกรู้ หรือสภาวะที่เกิดขึ้น
นั่นคือ การส่งจิตออกนอก ย่อมไม่สามารถกลับมารู้ที่กายได้
เมื่อไม่สามารถกลับมารู้ที่กายได้ ปัญญาที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้ย่อมไม่เกิด
สิ่งที่ผู้ปฏิบัติพูดๆมานั้น ล้วนเป็นเพียงความคิดที่เกิดขึ้นต่อสภาวะนั้นเท่านั้นเอง


รบกวน อ.น้ำ อธิบายตรงนี้หน่อยนะค่ะ
ไม่ค่อยเข้าใจ อย่างไรถึงเรียกว่าจดจ่อกับสิ่งที่ถูกรู้?
และการส่งจิตออกนอกเป็นอย่างไร?

อนุโมทนาค่ะ :b8:




คุณทักทาย cool
ในการอธิบายสภาวะตรงนี้ ต้องขออนุญาติ นำสภาวะที่กล่าวถึงมาอ้างอิงตรงนี้ด้วยค่ะ
หวังว่าคงไม่เป็นไรนะคะ เพราะสิ่งที่ถามมา เกี่ยวข้องกับข้อความในกระทู้นี้อยู่

สิ่งที่คุณทักทายถามมาว่า อย่างไรจึงจะเรียกว่าจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ถูกรู้และการส่งจิตออกนอกคืออะไร
จากข้อความตรงนี้ค่ะ เรื่องเดียวกัน แต่คนละกระทู้



walaiporn เขียน:
กษมมาตา เขียน:
:b44: สภาวะจิตที่ลอยเด่นดวงเปล่งรัศมีอยู่บนท้องฟ้านภากาศนี่ฌานอะไรค่ะ มีแต่ตัวผู้รู้ผู้ดู ไม่คิดปรุงแต่งอะไร สักแต่ว่ารู้สักว่าเห็น





ถ้าสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็นจริงๆ จะไม่มีความสงสัยหรือมีคำถามมาถามว่า สิ่งที่ถูกรู้นั้นคืออะไร
การที่มีความสงสัยใดๆ ล้วนเกิดจากอุปทาน เกิดจากการให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้น

ขณะที่จิตเป็นสมาธิ ให้ดูด้วยว่า กลับมารู้ที่กายได้หรือไม่
หากไม่สามารถที่จะกลับมารู้กายได้ เรียกว่าหลงค่ะ คือ ขาดความรู้สึกตัว
เป็นการส่งจิตออกนอกไปตามสิ่งที่เกิดขึ้น




กษมมาตา เขียน:
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ ฌาน มาโดยบังเอิญหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะนั่งสมาธินานประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งแรกได้ฌานเลย อย่างน้อยน่าจะเป็น ฌาน 4

ที่มั่นใจว่าเป็น ฌาน เพราะผ่านสภาวะต่าง ๆ ครบถ้วน

ปิติอย่างไร คือ ความอิ่มเอิบใจอย่างมากมายมหาศาล เหมือนได้ทำกุศลมากมายจนบอกไม่ถูก
สุขอย่างไร คือ สุขทุกรูขุมขน ที่สุขบนโลกหาไม่เจอ ประมาณไม่ได้
อุเบกขาอย่างไร คือ ออกจากฌาน แล้วก็มืสภาวะเหมือนที่เล่าให้ฟัง ครั้งแรกที่เจอเพื่อนร่วมงานมักทักทายกันสวัสดี ยิ้มให้กัน แค่พยายามยิ้มให้เขาตอบก็ยังรู้สึกว่าทำได้ยาก




สภาวะของฌานมีสองสภาวะ

1.สภาวะฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ จะเป็นฌานที่ขาดความรู้สึกตัว

2.สภาวะของฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ จะเป็นฌานที่มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

ในฌาน ๔ หรือจตุตถฌาน สภาวะจะต้องเป็นแบบนี้

อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและละทุกข์แล้ว เพราะโสมนัสและโทมนัสหายไปแล้วแต่ในเบื้องต้น
อันมีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา และโสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นย่อมดับไปอย่างไม่มีเหลือในจตุตถฌาน

แล้วปีติที่เกิดในอัปปนาสมาธิ หรือในฌานต้นๆ ได้แก่ฌาน 1และฌาน 2 คือ ผรณาปีติเท่านั้น
สภาวะของผรณาปีติ จะมีสภาวะที่แตกต่างจากสภาวะของปีติที่เกิดในสมาธิทั่วๆไป

ดังนั้นจึงได้บอกไปว่า สภาวะที่นำมาเล่าสู่กันฟังนี้ ไม่ใช่ฌาน และไม่ใช่ฌาน ๔
เพราะในอัปปนาสมาธิ จะไม่มีนิมิตอย่างที่บรรยายมา
และในฌาน ๔ จะไม่มีทั้งปีติและสุข เนื่องจากละได้ตั้งแต่สภาวะของฌานต้นๆแล้ว

ลักษณะของสภาวะฌาน ๔ จะเป็นสภาวะปรมัตถ์ คือ มีสติ สัมปชัญญะดี มีจิตที่ตั้งมั่น
กำลังของสมาธิที่แนบแน่น จะรู้อยู่กับรูปนามเท่านั้น

กล่าวในแง่ของรูปธรรมคือ เมื่อกำหนดนั่งลง จิตสามารถเป็นสมาธิได้ทันที่
โดยไม่ต้องไปดูลมหายใจหรือไปรู้ที่อาการของกายแต่อย่างใด

เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะรู้อยู่กับกายได้ดี รู้ลมหายใจ รู้กายเคลื่อนไหวได้ชัดเจน
แม้กระทั่งสถานที่นั่งอยู่นั้น ต่อให้มีเสียงมาจุดประทัดดังหรือมีเสียงอึกทึกครึกโครมอย่างใดก็ตาม
เสียงต่างๆที่ได้ยิน ไม่มีผลกระทบต่อสภาวะที่เป็นอยู่แต่อย่างได้
เสียงที่ได้ยิน ยังคงได้ยิน แต่เสียงจะสักแต่ว่าเสียง

การที่นั่งนานหรือนั่งทน จึงไม่ใช่ตัวแสดงผลของฌานแต่อย่างใด แต่ให้ดูองค์ประกอบหลัก
ของสภาวะที่เกิดขึ้น คือ ดูตั้งแต่เรื่องปีติ หากไม่ใช่ผรณาปีติ นั่นไม่ใช่ ฌาน
จากฌาน 1 ไปสู่ ฌาน 2 ไปสู่ฌาน 3 จนกระทั่งถึงฌาน ๔
สภาวะของฌานแต่ละฌานบ่งบอกถึงกำลังของสติ สัมปชัญญะที่เพิ่มมากขึ้น
และกำลังของสมาธิที่มีเพิ่มมากขึ้น ตามกำลังของแต่ละฌาน

หากคุณทักทายสนใจเรื่องฌาน ไปสนทนาที่กระทู้นี้ต่อได้เลยค่ะ
เพราะจะลงรายละเอียดของสภาวะแต่ละฌานมากกว่านี้ ที่โพสไปทั้งหมดนี่ นำมากล่าวเพียงคร่าวๆค่ะ

viewtopic.php?p=220957&thanks=220957&to_id=12419#p220957

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


จริงๆแล้วทักทายยังมิได้พุ่งประเด็นมาที่เรื่องนี้
เพราะคิดว่าตัวเองยังไปไม่ถึงไหน? อ่านเพื่อประดับความรู้บ้าง

อ่านแล้วถ้าไม่เข้าใจเลยจะไม่มีคำถาม
แต่ครั้งนี้ มีคำถามเล็กๆ ซึ่งหมายความว่า
เริ่มจะเข้าใจบ้างลางๆเลือน
จึงรบกวน อ.น้ำ

อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 23:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
เอาสรุปง่าย ๆ ก็แล้วกันนะ..ว่า..

ไม่เห็นขันธ์ 5 เป็นเรา..ไม่เห็นเราเป็นขันธ์ 5 ..ขันธ์ 5 ไม่มีในเรา..เราไม่มีในขันธ์ 5 ..รูป..เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..นี้ไม่ใช่เรา

อย่างนี้ใช่ไหมครับ?? :b12: :b12:

สาธุกับข้อสรุปของคุณกบฯครับ :b8:

เสริมคุณกบฯเผื่อใครที่แวะมาอ่านอาจจะเข้าใจผิดว่ามีอะไรที่ยังเป็น “เรา” เพียงแต่ขันธ์ 5 ไม่ใช่ “เรา” :b12:

ซึ่งข้อเท็จจริง (ตามพระไตรปิฎก) คือ ไม่เคยมีเราปรากฏตั้งแต่แรก เพียงแต่จิตของปุถุชนที่ยังไม่รู้แจ้ง จะปรุงแต่งความเป็น “เรา” ขึ้นมาจากความไม่รู้ (คืออวิชชา - อวิชชา ปัจจยา สังขารา ในปฏิจสมุปบาทสายเกิด) ซึ่งมีต้นรากมาจากอาสวะ (กิเลส) ที่นอนเนื่องอยู่ในจิต โดยเห็นว่า ขันธ์ 5 คือ “เรา” และอื่นๆซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิที่ตรงข้ามข้อสรุปของคุณกบฯด้านบนครับ

อวิชชาปัจจะยา สังขารา ( เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี )
-> การปรุงแต่ง (สังขารขันธ์) เกิดจากอวิชชา
สังขาระปัจจะยา วิญญานัง ( เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี )
-> ขันธ์อื่นๆเริ่มเกิดจากการปรุงแต่ง วิญญาณเริ่มหยั่งลง ความเป็น "เรา" เริ่ม exist
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง ( เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี )
-> ความเป็น "เรา" เริ่มปรากฏมากขึ้นเรื่อยๆทีละขันธ์
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง ( เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี )
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ( เพราะสฬายตนเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี )
ผัสสะปัจจะยา เวทนา ( เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี )
เวทะนายะปัจจะยา ตัณหา ( เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี )
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง ( เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี )
-> เพราะ "อยาก" จึง "ยึด" ในขันธ์ (อุปปาทานขันธ์) หรือในกิเลส
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ( เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี )
ภะวะปัจจะยา ชาติ ( เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี )
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง ( เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี )
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
( ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม )
-> และอุปปาทานขันธ์ นำมาซึ่งทุกข์
เอวะเม ตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ
( การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้ ฯ )

ซึ่งการทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "อุปาทานขันธ์" นั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนว่า คือทุกขสัจจ์

เพื่อความชัดเจนในพระธรรมยิ่งขึ้นอีก คงต้องอ้างอิงจากพจนานุกรมและพระไตรปิฎกเพิ่มเติมครับ

1) อุปาทานขันธ์ : ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน, ขันธ์ที่ประกอบด้วยอุปาทาน ได้แก่ เบญจขันธ์ คือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณที่ประกอบด้วยอาสวะ (พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต))
2) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์คือรูป. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้ เป็นไปกับด้วยอาสวะ เป็นปัจจัยแก่อุปาทาน. นี้เรียกว่า. อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕. (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค)
3) อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมตามเห็นตนมีรูป ๑ ย่อมตามเห็นรูปในตน ๑ ย่อมตามเห็นตนในรูป ๑ ย่อมตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ... ย่อมตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ... ย่อมตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ... ย่อมตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมตามเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมตามเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมตามเห็นตนในวิญญาณ ๑. การตามเห็นด้วยประการดังนี้แล เป็นอันผู้นั้นยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น เมื่อผู้นั้น ยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็น ในกาลนั้นอินทรีย์ ๕ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ ย่อมหยั่งลง ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนะมีอยู่ ธรรมทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุมีอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว อันความเสวยอารมณ์ ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาย่อมมีความยึดมั่นถือมั่นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้างจักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้าง จักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ย่อมตั้งอยู่ ในเพราะการตามเห็นนั้นทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมละอวิชชาเสียได้ วิชชาย่อมเกิดขึ้น เพราะความคลายไปแห่งอวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในอินทรีย์เหล่านั้นว่า เราเป็นดังนี้บ้าง นี้เป็นเราดังนี้บ้าง เราจักเป็นดังนี้บ้าง จักไม่เป็นดังนี้บ้าง จักมีรูปดังนี้บ้าง จักไม่มีรูปดังนี้บ้าง จักมีสัญญาดังนี้บ้าง จักไม่มีสัญญาดังนี้บ้างจักมีสัญญาก็หามิได้ ไม่มีสัญญาก็หามิได้ดังนี้บ้าง. (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค)

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 06 ส.ค. 2010, 22:16, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 00:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1011

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอวกกลับเข้าหัวข้อกระทู้ "ควรทำอย่างไรดี ไม่เอาฌาน ทำแต่วิปัสสนาดีไหม" ด้วยการอ้างอิงจากพระไตรปิฎกนะครับ

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน? คือสมถะและวิปัสสนา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ควรให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง." (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค)

สมถะ ครอบคลุมตั้งแต่ขณิกะ อุปจาระ จนถึงอัปปนา (ฌาน) ซึ่งในกรณีของพระอรหันต์สุขวิปัสกะ ท่านก็ไม่ได้ฌานแต่เจริญวิปัสสนา + สมถะในขั้นขณิกะ ก็เพียงพอที่จะบรรลุธรรมแล้วครับ เพียงแต่ว่า ถ้าเจริญสมถะจนได้ถึงฌาน ประโยชน์ที่เหนือกว่าการเข้าไม่ถึงฌานในขั้นแรกคือ สามารถดับกิเลสขั้นกลาง (นิวรณ์) ได้ดีกว่าสมาธิที่ยังไม่แนบแน่น ประโยชน์ในขั้นกลางคือ ใช้เป็นเครื่องอยู่และที่พักผ่อนของจิต (แต่ต้องระวังติดสุข) แต่ประโยชน์สูงสุดคือ ใช้เป็นฐานของปัญญาในการดับกิเลสขั้นละเอียด (อนุสัย, สังโยชน์) เนื่องจากสภาวะตั้งแต่ฌานที่ ๒ ถึงฌานที่ ๔ จิตจะตั้งมั่นและรู้ชัด (เอโกธิภาวะ) พร้อมที่จะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญารู้แจ้งในลักษณะสามัญของสังขตธรรมได้ครับ ซึ่งในอาณาปานสติสูตร 16 ขั้น ไล่ตั้งแต่รู้ในกาย ๔ เวทนา ๔ จิต ๔ ธรรม ๔ นั้น เป็นการรู้ชัดของการเกิดดับในสังขตธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการรู้ชัดในฌาน ไล่ตั้งแต่ฌาน ๑ ถึง ๔ ตามลำดับทีละ ๔ ขั้นเลยทีเดียว

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบันดิฉันก็ไม่คิดว่า จะตั้งใจนั่งให้มันเกิดสภาวะนั่นอีก แต่ดิฉันเข้าสมาธิได้รวดเร็วมาก
โดยไม่ต้องบริกรรมภาวนาแล้วใช้จิตพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ไปเลย

แต่มาเข้าเว็บนี้รู้สึกว่ามีหลายคนสนใจเรื่องฌาน ดิฉันเลยคิดว่าหรือเรา จะลองฝึกทำฌานชำนาญ ที่เรียกว่า วสี อะไรนั่น ฌาน น่าจะเป็นศาสตร์หนึ่งที่น่าสนใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ควรทำอย่างไรดี ไม่เอาฌาน ทำแต่วิปัสสนาดีไหม

ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ ฌาน มาโดยบังเอิญหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะนั่งสมาธินานประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งแรกได้ฌานเลย อย่างน้อยน่าจะเป็น ฌาน 4 เพราะออกจากฌานแล้วเกือบสองสัปดาห์อารมณ์นิ่งมาก อยากยิ้มก็ยิ้มได้แค่มุมปาก เพราะใจไม่ยิ้มด้วย ไม่มีอารมณ์โศกเศร้าเสียใจ โกรธ
อะไรเลย (สภาวะจิตที่เหนือสุขเหนือทุกข์เหมือนว่านิพพานซะแล้วอะไรประมาณนั้นกระมัง) ทำให้รู้ว่าอุเบกขาแท้จริงมีสภาวะเป็นเช่นไร


หากเจ้าของกระทู้ได้ฌานจริง ก็ขอให้นำฌานนั้น มาเป็นบาทของการเจริญวิปัสสนาต่อครับ

ซึ่ง ผู้บรรลุมรรคผลนิพพาน โดยอาศัยฌานเป็นบาทนั้น (เจโตวิมุตติ) เมื่อครั้งพุทธกาล มีจำนวนน้อยมาก ๆ ครับ

ดังกระทู้
viewtopic.php?f=2&t=21049

โดยมากชาวพุทธผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม มักจะพูดกันเสมอ ๆ ว่า การที่จะเจริญวิปัสสนาในเบื้องต้น จำเป็นจะต้องทำสมถะเสียก่อนแล้วจึงจะทำวิปัสสนาต่อไป ถ้าไม่ทำสมถะเสียก่อนแล้ว จะก้าวขึ้นไปทำวิปัสสนาได้อย่างไร เพราะสมถะเป็นเบื้องต้นของวิปัสสนา เท่าที่ผู้วิจัยเคยสังเกตมา ส่วนมากจะเป็นแบบนี้แทบทั้งนั้น เพื่อจะทำความเข้าใจให้เกิดขึ้นโดยยึดพระปริยัติเป็นหลัก ก็ใคร่จะขออธิบายให้เป็นที่เข้าใจกันเสียในที่นี้เลย
อันที่จริง แนวในการปฏิบัติธรรม เพื่อทำใจให้หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้ทรงวางไว้แล้ว โดยแยกการปฏิบัติออกเป็น ๒ แนวคือ
แนวที่ ๑ เรียกว่า “ สมถยานิก “ คือ เจริญฌานสมาบัติให้เกิดเสียก่อน แล้วฝึกหัดฌานกีฬาจนเกิดเป็นวสี ๕ คล่องแคล่ว ชำนิชำนาญ จากนั้นจึงค่อยต่อเป็นวิปัสสนา โดยเข้าฌานใดฌานหนึ่งแล้วก็ออกจากฌาน จากนั้นก็ให้ยกเอาองค์ฌานเท่าที่ตนจะเข้านั้น เฉพาะองค์ที่ชัดที่สุดขึ้นพิจารณาโดยความเป็นพระไตรลักษณ์ การเจริญวิปัสสนาแบบที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ สมถยานิกะ “ ถ้าสำเร็จมรรค – ผล ท่านก็เรียกผู้สำเร็จแนวที่ว่านี้ว่า “ เจโตวิมุติ “ อาจจะมีชื่อพิเศษเป็น เตวิชโช ฉฬภิญโญ คือผู้ได้วิชชา ๓ หรือผู้ได้อภิญญา ๖ เป็นต้น
แนวที่ ๒ เรียกว่า “ วิปัสสนายานิกะ “ คือ ผู้เจริญวิปัสสนาปัญญาล้วน ๆ ทีเดียว โดยไม่จำเป็นจะต้องไปทำฌานสมาบัติอะไรให้เกิดขึ้นก่อนก็ได้ พอเริ่มทำก็กำหนดนามรูปกันทีเดียว หมายความว่า พอตนเรียนอารมณ์ พร้อมทั้งวิธีกำหนดจากอาจารย์ผู้สอนจนเข้าใจแล้ว ก็ลงมือปฏิบัติหลังจากที่ตนได้สถานที่ที่สบาย บุคคลสบาย ละปลิโพธกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ หมดเลย ก็ทำวิปัสสนาได้ทีเดียว พอวิปัสสนาเกิดขึ้นตนเองก็จะต้องประคองพลธรรมทั้ง ๕ ประการ มีศรัทธาเป็นต้นให้เสมอภาคกัน ในไม่ช้าก็จะสามารถแยกฆนสัญญาออกจากกันได้

เมื่อสามารถทำลายฆนสัญญาให้แตกออกจากกันได้แล้ว นามรูปก็จะปรากฏขึ้น ถ้าผู้ปฏิบัติพยายามทำต่อไปโดยไม่ลดละ ก็จะสามารถบรรลุถึงมรรค – ผล ได้ตามประสงค์ วิธีปฏิบัติแบบหลังที่ว่านี้ท่านเรียกว่า “ ปัญญาวิมุติ “ และจะได้ชื่อพิเศษว่า “ สุขวิปัสสโก “ ที่มักแปลกันว่า “ เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ง “ นอกจากนั้น ยังได้พูดถึงความสามารถของพระอริยบุคคลทั้ง ๒ จำพวกนี้ไว้อีกว่า
๑. สมถะยานิกะ ทำลายตัณหาก่อน
๒. วิปัสสนายานิกะ ทำลายอวิชชาก่อน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผลของ ฌาน ทำให้ดิฉันมั่นใจว่า
1.กายกับจิตมันแยกกัน ทำให้เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด จากที่ไม่แน่ใจ เพราะบางคนว่าตายแล้วสูญ
2.อภิญญา6 มีจริง เพราะฉะนั้นนิพพาน น่าจะมีจริงเช่นกัน
3.อำนาจแห่งฌานสามารถชำระล้างจิตให้บริสุทธิ์ขึ้นได้ ลบล้างอดีตที่แสนเจ็บปวดทุกข์ทรมาน ความน้อยเนี้อต่ำใจ ที่เคยฝังแน่นในจิตใจออกได้อย่างสิ้นเชิง
4.เชื่อเรื่องภพภูมิ หรือมิติอื่นๆ มีอยู่จริง
5.คำสอนของพระพุทธองค์ล้ำเลิศจริงๆ ทุกคนที่ปฏิบัติตามได้ หมดทุกข์ได้แน่นอน


คุณกษมมาตา ฝึกสมาธิแบบไหนครับ ?

หรือว่าจะฝึกแบบ วิชา มโนมยิทธิ หรือ วิชาธรรมกาย

เอ๊ะ หรือว่า คุณกษมมาตา จะเป็นแบบที่ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่ท่านทำนายไว้ว่า



32516.ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ คนจะมีอภิญญา ได้วิชา มโนมยิทธิ มากขึ้น จริงหรือ ?
viewtopic.php?f=2&t=32516&st=0&sk=t&sd=a

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: สาธุคุณวิสุทธิปาละ กับหลักธรรมจากพระไตรปิฏก

เพิ่มเติมเรื่อง การยึดมั่นในขันธ์ ๕ อันเป็น วิปลาสธรรม ที่พวกเราทั้งหลายมีอยู่

http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

http://chalermsakm.blogspot.com/search? ... -results=2

ดังนั้นวิปลาสธรรมทั้งหมดมีเกิดขึ้นมาได้ เพราะเราไม่เท่าทันในความจริงของชีวิตรูป และชีวิตนาม ที่เรียกว่า “อโยนิโสมนสิการ” แต่ขณะใดที่มี “โยนิโสมนสิการ” ขณะนั้นสติปัฏฐานก็เกิดขึ้นด้วย และเป็นที่แน่นอนว่าเวลานั้นวิปลาสธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ อาจกล่าวได้ว่าโยนิโสมนสิการ เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขประตูชีวิต ให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าไปเห็นความจริงว่า “ชีวิตที่ประกอบด้วยรูปนามขันธ์ห้านั้น แท้ที่จริงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

มีพุทธวจนะกล่าวไว้ว่า

ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้ง และขับไล่วิปลาสธรรมให้ออกไปได้ ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา


ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยประการต่างๆ มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา



ฉะนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง

สรุปได้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือการปฏิบัติวิปัสสนา เท่านั้น จึงจะสามารถทำลายวิปลาสธรรมทั้ง ๔ ได้ และเมื่อใดที่วิปลาสธรรมถูกทำลายลง เมื่อนั้นผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึงสภาวธรรมแห่งไตรลักษณ์ หากบุคคลใดได้ประจักษ์แจ้งในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่กำลังดำเนินอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์โดยตรง


-----------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่ได้ ฌาน มาโดยบังเอิญหรือไม่ ไม่แน่ใจ เพราะนั่งสมาธินานประมาณ 1 ชั่วโมงครั้งแรกได้ฌานเลย อย่างน้อยน่าจะเป็น ฌาน 4 เพราะออกจากฌานแล้วเกือบสองสัปดาห์อารมณ์นิ่งมาก อยากยิ้มก็ยิ้มได้แค่มุมปาก เพราะใจไม่ยิ้มด้วย ไม่มีอารมณ์โศกเศร้าเสียใจ โกรธ
อะไรเลย (สภาวะจิตที่เหนือสุขเหนือทุกข์เหมือนว่านิพพานซะแล้วอะไรประมาณนั้นกระมัง) ทำให้รู้ว่าอุเบกขาแท้จริงมีสภาวะเป็นเช่นไร


สิ่งที่เจ้าของกระทู้รู้สึก อาจจะไม่สามารถลด ละ วิปลาสธรรม ก็ได้นะครับ

วิปัสสนาญาณเท่านั้น ที่ ละ และ ลด ได้

โลกียฌาน, ฌานที่เกิดจากการเพ่งสมมุติบัญญัติต่าง ๆ ยังไม่สามารถลดได้ครับ

หากเข้าใจผิด ผมว่ายิ่งจะ วิปลาส มากขึ้นนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 07:19
โพสต์: 89


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสนุกๆจากหลวงพ่อชา

อาจารย์นกแก้วนกขุนทอง

สมัยนี้มีครูบาอาจารย์สอนธรรมะมาก บางอาจารย์อาจสอนคนอื่นเก่ง
แต่สอนตนเองไม่ได้ เพราะว่าสอนด้วยสัญญา (ความจำได้หมายรู้)
จำขี้ปากคนอื่นเขามาสอนอีกที
หลวงพ่อเคยแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า
"เรื่องธรรมะนี่จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องบอกกัน
ไม่ใช่เอาความรู้ของคนอื่นมา
ถ้าเอาความรู้ของคนอื่นมาก็เรียกว่าจะต้องเอามาภาวนาให้มันเกิดชัดกับเจ้าของ
อีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่ว่าคนอื่นพูดให้ฟังเข้าใจแล้วมันจะหมดกิเลส
ไม่ใช่อย่างนั้น
ได้ความเข้าใจแล้วก็ต้องเอามาขบเคี้ยวมันอีกให้มันแน่นอนเป็นปัจจัตตังจริงๆ
(ปัจจัตตัง - รู้เห็นได้ด้วยตนเอง,รู้อยู่เฉพาะตน)




แก้ไขล่าสุดโดย อานาปานา เมื่อ 08 ส.ค. 2010, 06:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 07:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 05:27
โพสต์: 49

อายุ: 0
ที่อยู่: www.ccagthailand.com

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา)
แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่


:b8: :b8: :b8: :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ธาตุ๔ ขันธ์ ๕ ทวาร ๖


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หากเจ้าของกระทู้ได้ฌานจริง ก็ขอให้นำฌานนั้น มาเป็นบาทของการเจริญวิปัสสนาต่อครับ

ซึ่ง ผู้บรรลุมรรคผลนิพพาน โดยอาศัยฌานเป็นบาทนั้น (เจโตวิมุตติ) เมื่อครั้งพุทธกาล มีจำนวนน้อยมาก ๆ ครับ


เหลิมเปลี่ยนมุกมานำฌาณเป็นบาทแล้ว

เหลิมเคยเอกังวาทว่าฌาณคือการนั่งหลับตาเฉยๆ แล้วจะนำมาเป็นบาทได้อย่างไร

เรื่องเจโตวิมึติในพุทธกาลมีน้อยกว่าปัญญาวิมุติ โกหกมาจนเน่าเขาจับได้หมดแล้ว ยังใช้อีกหรือ

หมดมุกก็ไปไถนาต่อ ได้ผลบุญกว่าโกหกชาวบ้านไปวันๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิม เขียน:
คุณกษมมาตา ฝึกสมาธิแบบไหนครับ ?

หรือว่าจะฝึกแบบ วิชา มโนมยิทธิ หรือ วิชาธรรมกาย

เอ๊ะ หรือว่า คุณกษมมาตา จะเป็นแบบที่ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่ท่านทำนายไว้ว่า



32516.ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ คนจะมีอภิญญา ได้วิชา มโนมยิทธิ มากขึ้น จริงหรือ ?
viewtopic.php?f=2&t=32516&st=0&sk=t&sd=a


ผมเข้าไปที่เหลิมศาลาโกหกมาทำให้คิดถึงร้านรับซื่อของเก่าอย่างไหงอย่างนั้น

มีเรื่องจะเล่าให้ฟัง

เมื่อยี่สิบกว่าปีผ่ามาแล้ว

มีสำนักหนึ่งตั้งขึ้นแล้วใช้ชื่อว่าสำนักอภิธรรม

เจ้าสำนักโฆษณาว่าตนเองเป็นผู้บรรลุธรรมสามารถไปสวรรค์นรกได้ตามใจตน

อภิธรรมที่ใช้ตั้งชื่อชักจะไม่ใช่อภิธัมมัตถะเสียแล้วเป็นอภิธรรมชาติ

ปรากฎว่ามีคนแห่กันมาที่สำนักนี้มากมายเหมือนวักธรรมกายปัจจุบันก็คงมีการหลอกให้ทำบุญกันตามธรรมเนียมปฏิบัติ

ปรากฎว่าสำนักนี้ร่ำรวยเงินทองมาก

กิจกรรมที่สำนักนี้จัดเป็นกิจวัตร์คือ

พาเทียวสวรรค์ทัวร์นรก

ผู้ใหญ่ในสมัยนั้น ก็มีท่านคึกฤทธิ์ ท่านสัญญา อาจารย์เสฐียรพงษ์ และแน่นอนท่านพุทธทาสออกมา

เตือนสติชาวพุทธให้ใช้วิจารณญาณ ส้างความโกรธแค้นกับเจ้าสำนักเป็นอย่างยิ่งที่ตัดทางทำมาหากิน

กันดื้อๆอย่างนี้

สมัยที่สำนักนี้รุ่งเรืองสุดขีดถึงกับคิดโอหังแก้พระไตรปิฎกทีเดียว

สือมวลชนสมัยนั้นก็เห็นจะมีหนังสือพิมพิ์ที่ทรงอิทธิพลมาก

ฉบับที่เกาะติดเรื่องนี้อย่างไม่ปล่อยคือเดลินิวล์

จึงมีการท้าพิสุจน์กันเกิดขึ้น

วิธีการคือนักข่าวที่เข้าพิสุจน์จะไปนั่งกัมมฐานที่สำนักอภิธรรมแล้วเจ้าสำนักจะเข้าสมาธิพาไปเที่ยว

สวรรค์ทัวร์นรก

ปรากฎไม่สมารถทำได้ตามที่โอ้อวด

มีการอ้างเหตุผลสารพัด

หนังสือพิมพิ์ในยุคนั้นออกมาแฉพฤติกรรมหลอกลวงของสำนักนี้ทุกฉบร้อนถึงเถระสมาคมต้องออกมาประกาศว่าสำนักนี้ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

ทางตำรวจจะเอาเรื่องหลอกลวงประชาชน

สำนักนี้พยายามใช้มวลชนออกมาเคลื่อนไหว

แต่ในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม

มวลชนที่ศรัทธาหลงไหลน้อยลงทุกวัน

มหาเถระสมาคมออกแถลงการณ์ว่าสำนักอภิธรรมไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนา

เป็นสำนักเถื่อน


สำนักนี้จึงหาทางออกด้วยการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ


เหลือสาวกอยู่ไม่กี่คนกับลูกหลานในวงศ์ตระกูล

หนึ่งในนั้นคือ เฉลิมศักดิ์ ศาลาโกหก

เนื่องจากท่านพุทธทาสออกมาแสดงธรรมเปิดเผยถึงธรรมที่แท้ทำให้ผู้ถูกหลอกตาสว่าง

สาวกสำนักนี้จึงแค้น

และตามชำระหนี้แค้นท่านพุทธทาส

เหลิมคือกากเดนของการหลอกลวงจึงมีนิสัยเป็นพวกนักต้มตุ่น

เจอใครก็สาธุแสดงอาการผู้ดีจอมปลอม

เบืองหลังกักขฬะน่าขยักแขยง


เดี๋ยวนี้เปิดเวป

เฉลิมศักดิ์ศาลาโกหก

สำหรับคนโง่งมงาย

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 08:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อานาปานา เขียน:
ธรรมสนุกๆจากหลวงพ่อชา

อาจารย์นกแก้วนกขุนทอง

สมัยนี้มีครูบาอาจารย์สอนธรรมะมาก บางอาจารย์อาจสอนคนอื่นเก่ง
แต่สอนตนเองไม่ได้ เพราะว่าสอนด้วยสัญญา (ความจำได้หมายรู้)
จำขี้ปากคนอื่นเขามาสอนอีกที
หลวงพ่อเคยแสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า
"เรื่องธรรมะนี่จริงๆแล้ว ไม่ใช่เรื่องบอกกัน
ไม่ใช่เอาความรู้ของคนอื่นมา
ถ้าเอาความรู้ของคนอื่นมาก็เรียกว่าจะต้องเอามาภาวนาให้มันเกิดชัดกับเจ้าของ

(ปัจจัตตัง - รู้เห็นได้ด้วยตนเอง,รู้อยู่เฉพาะตน)



สาธุ..

อยากเน้น..ให้ทั่นเหลิมดู... :b12: :b12:

chalermsak เขียน:

คุณกษมมาตา ฝึกสมาธิแบบไหนครับ ?
หรือว่าจะฝึกแบบ วิชา มโนมยิทธิ หรือ วิชาธรรมกาย

32516.ตั้งแต่ปี ๒๕๔๓ คนจะมีอภิญญา ได้วิชา มโนมยิทธิ มากขึ้น จริงหรือ ?
viewtopic.php?f=2&t=32516&st=0&sk=t&sd=a


ปลาในหนองน้ำ..จะรู้จัก..ปลาฉลามในทะเล..ได้งั้ยเน่อ..เหลิมศักดิ์

มันมีกรรม..เป็นเผ่าพันธ์
มีกรรม..มันเป็นแดนเกิด..

เกิดตรงไหน..เกิดเป็นอะไร..ก็ทำให้ถูกให้ควรก็แล้วกัน..อย่าทำกรรมให้หนักขึ้นเลย

ลงมือกระทำบ้างนะ...ที่อ่าน ๆ มาจะได้ปรากฎขึ้นจริงกับตนเอง..
...มรรค์ทั้ง 8มีใว้ให้ทำ..ไม่ได้มีใว้ให้ท่อง...

อ้างคำพูด:
หากเข้าใจผิด ผมว่ายิ่งจะ วิปลาส มากขึ้นนะครับ

คนธรรมดามันก็มีวิปลาส..ในตัวมันเองอยู่แล้ว..ต่างกันแค่มากบ้าง..น้อยบ้าง..เท่านั้น
คนไม่วิปลาสคงมีแต่พระอรหันต์..ไม่มีผิด
แต่คนวิปลาสนี้มันไม่รู้ว่ามันผิดตรงไหน..ผิดก็ไม่มีในความเห็นของมันเหมือนกัน..เลยหลงว่าตัวดีแล้ว

มีหนังสือธรรมะอยู่เต็มตู้นั้นหละ..แต่ไม่รู้ว่า..ณ..วินาที..ที่ตัวเอง..คิด..พูด..ทำ..นั้นตัวผิดอะไร

จำนะจำได้แม่น..อวิชชา..ปัจจยา..สังขารา
แต่ไอ้ที่มันเกิดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันกับตัวเอง...กลับไม่รู้
แล้วมันน่าภาคภูมิใจตรงไหน..ที่อุตส่า..จำได้..นี้นะ

จะภูมิใจได้ที่ตรงไหนดีนะ..เหลิมศักดิ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 09:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โอ้..คุณเมสไซอะ.. :b12:

ทำไมเพิ่งจะมาบอก..ละเนี้ย

ถ้ากบฯรู้ก่อน..จะได้ไม่พิมพ์ให้เหมื่อยสมอง.. :b32: :b32:

มีกรรมเป็นแดนเกิด..มีกรรมเป็นผู้ให้ผล..มีกรรมเป็นผู้ติดตาม..

จะได้..ตามสบาย.. :b12: :b12:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 81 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร