วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 16:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=169.msg787;boardseen#new

ขออนุญาตท่านDhandham นำออกเผยแพร่




ในฌาน เจริญวิปัสสนา หรือบรรลุมรรคผล ได้หรือไม่



มักมีผู้สงสัยว่า ในฌานจะเจริญวิปัสสนาได้หรือไม่ ? หรือว่าจะใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งใดๆได้หรือไม่ ?

ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ได้ มักอ้างเรื่ององค์ฌานว่า ในปฐมฌานมีวิตกและวิจาร พอจะคิดอะไรได้บ้าง แต่ฌานสูงขึ้นไปมีอย่างมากก็เพียงปีติ สุข และเอกัคคตา จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไร ?

ความจริง องค์ฌานเป็นเพียงองค์ประกอบที่เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ภาวะจิตนั้นเป็นฌานหรือไม่ และ เป็นฌานขั้นใด มิใช่หมายความว่า ในฌานมีองค์ธรรมเพียงเท่านั้น
อันที่จริงนั้น ในฌาน มีองค์ธรรมอื่นๆ อีกมากมาย ดังที่ท่านบรรยายไว้ในพระสูตรและพระอภิธรรม (ชั้นเดิม)...กล่าวถึงฌาน ตั้งแต่ปฐมฌานถึงอากิญจัญญายตนะทุกชั้น ล้วนมีองค์ธรรม เช่น ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นต้น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 01 ส.ค. 2010, 14:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องนี้ก็น่าสนใจเพราะนักนิยมฌาน นำมาถกเถียงกันบ่อยๆ เช่นเดียวกับสมถะกับวิปัสสนาเหมือนกัน พุทธธรรมหน้า 365 กล่าวไว้ชัดเจนพร้อมหลักฐานในคัมภีร์ (จนดูรุงรัง) ดังนั้นในที่นี้จะใส่ที่อ้างอิงเท่าที่เห็นสมควร แต่พึงทราบว่ามีหลักฐานยืนยันทุกแห่ง

อนึ่ง องค์ฌาน ก็ คือเจตสิก ที่ประกอบกับจิต และเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์อย่างเดียวกันกับจิตนั่นเอง และมิใช่มีเพียง วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จนคิดนึกอะไรไม่ได้ อย่างที่บางกลุ่มเข้าใจกัน ยังมีอีกตามสมควรที่เกิดร่วมกันแต่ละขณะนั้นๆ
อนึ่งการออกจากฌานก็เพียงให้จิตตกภวังค์วิบเดียว คือ เปลี่ยนอารมณ์ (ดูที่ท่านกล่าวไว้ข้างหน้า) มิใช่ออกฌานแล้วลุกขึ้นเดินยืน...ทำวิปัสสนาอย่างที่บางกลุ่มเข้าใจอีกเช่นกัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ใน อภิ.สํ.34/139/44-274/108 แสดงองค์ธรรมทั้งหลายในฌานต่างๆทุกระดับ โดยเฉพาะในฌานที่เป็นโลกุตระ มีทั้งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา มีองค์มรรคครบทั้ง ๘ มีสมถะและวิปัสสนาและองค์ธรรมอื่นอีกมาก...
และในวิสุทธิ.ฎีกา 1/254 ขยายความหมายของข้อความอย่างที่พบใน ปฏิสํ.อ.159...ให้เห็นชัดว่า สมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้โดยเป็นธรรมควบคู่กันในฌานจิต
ส่วนที่ว่า เมื่อไม่มีวิตกและวิจาร จะคิดจะพิจารณาอะไรได้อย่างไรนั้น พึงเข้าใจว่าที่ไม่มีวิตกและวิจารก็เพราะจิตตั้งมั่น มีกำลังแน่วแน่ เป็นอย่างมากแล้ว จึงไม่ต้องคอยยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ( = วิตก) ไม่ต้องคอยประคองจิตให้เคล้าอยู่กับอารมณ์ (= วิจาร) ต่อไปอีก จึงยิ่งทำงานพิจารณาได้ดียิ่งขึ้นกว่ามีวิตกวิจาร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาต่อไป



ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ (วิสุทธิ.3/206) แสดงวิธีเจริญวิปัสสนาว่า “บุคคลที่เป็นสมถยานิก ออกจากฌานใดฌานหนึ่งในบรรดารูปฌาน และ อรูปฌานทั้งหลาย เว้นแต่เนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว พึงกำหนดพิจารณาองค์ฌานทั้งหลาย มีวิตก เป็นต้น และธรรมทั้งหลายที่ประกอบร่วมกับองค์ฌานนั้น โดยลักษณะและรสเป็นอาทิ”

คำอธิบายที่ว่า “ออกจากฌานแล้ว...แล้วพึงกำหนด” นั้น มองแง่หนึ่งอาจถือว่าเป็นเพียงแสดงตัวอย่างวิธีปฏิบัติแบบหนึ่ง เพราะในฎีกาที่อธิบายความตอนนี้เอง (วิสุทธิ.ฎีกา 3/398) ได้ไขความไว้ว่า “คำว่าสมถยานิก เป็นชื่อของผู้ดำรงในฌาน หรือในอุปจาระแห่งฌาน บำเพ็ญอยู่ซึ่งวิปัสสนา”

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คห.นี้ความเห็นส่วนตัว

ชาวพุทธบ้านเราถกเถียงกันโดยมากมักถกกันเกี่ยวกับศัพท์ภาษาเดิม (บาลี) ตนเคยเห็นเคยอ่านมางี้ พอท่านเปลี่ยนรูปศัพท์ใหม่ เพื่ออธิบายภาวะหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้ซึ่งขาดพื้นฐานบาลี +ไม่ได้ศึกษาจากสำนักเรียน + อ่านหนังสืออ่านตำราเองเล่มเดียวมุมเดียว + ยังไม่เคยลงมือปฏิบัติเลย…เห็นเข้าก็เกิดอาการมึนงง
ความจริงคำว่า สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี เหมือนกันโดยอรรถ ต่างกันโดยพยัญชนะเท่านั้น สาระของฌานก็ คือ สมาธิ สาระของวิปัสสนา คือ ปัญญา
เมื่อยกไตรสิกขาวางให้เห็น ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นศีล สมถะ วิปัสสนา (หลักฐานชัดก็ในอินทรีย์ ๕ ที่นักศึกษาเห็นชินตา คือสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา...แต่ที่มาอีกแห่งท่านใช้สมถะแทนสมาธิ ใช้วิปัสสนาแทนปัญญาทีเดียว...เป็น สัทธา วิริยะ สติ สมถะ วิปัสสนา) หากเข้าใจเสียอย่างนี้ ไม่วุ่นใจเลย และแล้วก็ลงมือปฏิบัติธรรมหรือทำกรรมฐานจะหายสงสัย (แต่บางทีอาจเถียงกันเรื่องกรรมฐานอีก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศัพท์ที่มีสาระอันเดียวกับปัญญามีหลายศัพท์ เช่น => สัมปชัญญะ วิปัสสนา ปริญญา ญาณ วิชชา ปฏิสัมภิทา อัญญา อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ <= เป็นคุณสมบัติ หรือ เป็นตัวแทนคำว่าปัญญาทั้งหมด

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)



อย่างไรก็ตาม เรื่องที่ว่า การบำเพ็ญวิปัสสนา จะอยู่ในฌาน หรือ ออกจากฌานก่อนแล้วจึงทำก็ได้ หรือว่าอยู่ในฌานทำไม่ได้ จะต้องออกจากฌานเสียก่อนจึงจะทำได้ ดูเหมือนว่า อรรถกถาฎีกาทั้งหลายยังขัดแย้งกันอยู่บ้าง (...ข้อความจากคัมภีร์ที่แย้งกัน...ไม่พิมพ์...) หลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า มติทั่วไปของอรรถกถา ถือว่า ถ้าเข้าฌานแล้วจะต้องออกจากฌานก่อน จึงจะบำเพ็ญวิปัสสนาได้ ข้อที่ขัดแย้งกันเช่นนี้ จะยุติอย่างไร ไม่ปรากฏคำชี้แจงโดยตรงในอรรถกถา หรือฎีกาและยากที่จะเค้นคำอธิบายออกมาได้ แต่ก็พอหาข้อประนอมได้โดยเก็บเหตุผลจากที่ต่างๆ มาเชื่อมต่อกันดังต่อไปนี้
คำบรรยายวิธีบำเพ็ญวิปัสสนาโดยออกจากฌานแล้วพิจารณาสังขาร (เจตสิก) นั้น ได้แบบมาจากคัมภีร์ชั้นรองในพระไตรปิฎกนั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นชัด ในคัมภีร์ ขุ.สุ.25/438/548 มีข้อความสั้นๆตอนหนึ่งว่า “บุคคลรู้จักกรรมที่ปรุงแต่งให้เกิดอากิญจัญญายตนะว่า นันทิเป็นสังโยชน์ ครั้นรู้จักอย่างนี้แล้ว แต่นั้น ย่อมเห็นแจ้ง (= บำเพ็ญวิปัสสนา) ในอากิญจัญญายตนะ” ข้อความตอนท้ายที่ว่า “แต่นั้น ย่อมเห็นแจ้งในอากิญจัญญายตนะนั้น” คัมภีร์จูฬนิทเทส ซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นรองในพระไตรปิฎก (ขุ.จู.30/487/233) อธิบายขยายความออกไปว่า
“หมายความว่า บุคคลนั้นเข้าอากิญจัญญายตนะแล้ว ออกจากอากิญจัญญายตนะนั้นแล้ว เห็นแจ้ง (= ทำวิปัสสนา) ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลาย ซึ่งเกิดในอากิญจัญญายตนะนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์…”

(อีกสองคัมภีร์ ก็มีคำอธิบายทำนองเดียวกัน)




“เห็นแจ้ง” นั่นแหละวิปัสสนาแล้ว เห็นแจ้งในอะไร ก็เห็นแจ้งในนามธรรมคือจิตและเจตสิกนั่น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาต่อ



เท่าที่กล่าวมานี้ พอให้เห็นได้ว่า คำพูดว่า บำเพ็ญวิปัสสนาในฌานก็ดี

ออกจากฌานแล้วบำเพ็ญวิปัสสนาก็ดี ไม่ขัดแย้งกัน

อย่างแรกเป็นการพูดนัยกว้าง จะว่าเป็นการพูดแบบปริยาย หรือสำนวนพระสูตรก็ได้ ตามนัยนี้ คำว่า ฌาน หมายถึงทั้งตัวฌานเองแท้ๆ และภาวะจิตที่เรียบสม่ำเสมอคงด้วยกำลังของฌานนั้น

ที่ว่า บำเพ็ญวิปัสสนาในฌานก็ดี ก็คือเมื่อเข้าฌานแล้วก็ใช้ภาวะจิตที่ตั้งมั่นด้วยกำลังฌานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไป

ส่วนคำพูดว่า ออกจากฌานแล้วบำเพ็ญวิปัสสนา เป็นการพูดนัยจำเพาะ จะว่าเป็นการพูดโดยนิปริยาย หรือ สำนวนพระอภิธรรมก็ได้ (ท่านว่า สุตตันตเทศนาเป็นปริยายกถา อภิธรรมเทศนา เป็นนิปปริยายกถา- สงฺคณี อ.4/52 ฯลฯ)

ตามนัยหลังนี้ คำว่า ฌาน หมายถึงตัวฌานเองแท้ๆเท่านั้น คือ หมายถึงการที่จิตกำหนดแน่วอยู่กับอารมณ์ของสมถะ เช่น นิมิตของลมหายใจ และกสิณเป็นต้นเพียงอย่างเดียว



ส่วนภาวะจิตที่มั่นคงสม่ำเสมอด้วยกำลังฌาน สำนวนอภิธรรมแยกออกมาเป็นอีกตอนหนึ่งต่างหาก เป็นตอนที่ออกจากฌานแล้ว คือ จิตปล่อยอารมณ์ของสมถะหลุดไปหรือขาดตอนไปแล้ว แต่ด้วยกำลังฌานจิตจึงยังคงตั้งมั่นมีสมาธิเป็นอย่างดี

ถึงตอนนี้ผู้ปฏิบัติธรรมอาศัยภาวะจิตนี้แหละบำเพ็ญวิปัสสนา โดยกลับยกเอาฌาน พร้อมทั้งธรรมต่าง ๆ เช่น วิตก วิจาร ปีติ สุข ฉันทะ วิริยะ (ชื่อ เจตสิกทั้งหมด) เป็นต้น ซึ่งยังอยู่ในฌานที่ตนเพิ่งออกมาแล้วนั่นเอง ขึ้นมาทำเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาเสีย

เมื่อไม่ยอกเรียกภาวะจิตนี้ว่าอยู่ในฌาน ก็ต้องหาถ้อยคำมาเรียกให้เหมาะ เพราะถึงแม้จะออกจากฌานแล้ว แต่ภาวะจิตตอนนี้ก็มิใช่กลับไปมีสภาพอย่างเดิมเหมือนเวลาก่อนเข้าฌาน

(มีต่อ)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พิจารณาต่อว่า อรรถกถาจะยุติปัญหานั้นอย่างไร



อรรถกถายุติปัญหานี้ โดยคิดคำขึ้นมาใหม่ เรียกว่า ทำฌานให้เป็นบาท

ส่วนการตัดแยก ระหว่างตัวฌานแท้ๆ กับภาวะจิตที่ตั้งมั่นอยู่ต่อมาด้วยกำลังฌาน อรรถกถาอาศัยหลักเรื่องภวังคจิต * มากำหนดเป็นการออกจากฌาน ให้ขาดตอนจากกัน

รวมความที่สันนิษฐานตามหลักฐานเหล่านี้ สำนวนพูดโดยปริยายว่า “อยู่ในฌานเจริญวิปัสสนา” มีความหมายคลุมเท่ากับที่อรรถกถาแยกพูดโดยนิปริยายว่า “เข้าฌาน ออกจากฌานแล้วพิจารณาสังขาร”... หรือ “ออกฌานที่เป็นบาทแล้ว พิจารณาสังขาร” ... หรือ “ทำฌานให้เป็นบาท เจริญวิปัสสนา” ...หรือ “ได้ฌานแล้ว เจริญวิปัสสนาที่มีฌานเป็นบาท” ...หรือ “ออกจากฌานแล้ว ทำวิปัสสนาด้วยจิตที่ตั้งมั่น”

(* คำว่า ภวังค์ หรือ ภวังคจิต มีในพระไตรปิฎกเฉพาะในคัมภีร์ปัฏฐานแห่งพระอภิธรรมเท่านั้น เช่น อภิ.ป.40/509/163 ฯลฯ...ครั้นถึงรุ่นอรรถกถาจึงใช้กันดื่นขึ้น)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปอีกครั้งว่า ทั้งสำนวนพระสูตร และสำนวนอภิธรรม มีสาระสำคัญอย่างเดียวกัน คือ ทำฌานให้เกิดขึ้นเข้าฌานก็เพื่อใช้กำลังสมาธิของฌานนั้นเตรียมจิตให้อยู่ในสภาพ ซึ่งพร้อมดีที่สุด สำหรับใช้เป็นที่ทำการของปัญญา ที่จะคิดพิจารณาให้เห็นความจริงต่อไป เมื่อเข้าฌาน คือ ฌานเกิดขึ้นแล้ว จิตพร้อมดีแล้ว ก็เดินหน้าต่อไปสู่ขั้นใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่าวิปัสสนา ภาวะนี้เรียกง่ายๆ ก็ว่าเข้าฌานแล้วเจริญวิปัสสนา หรือคล้ายกับพูดว่าอยู่ในฌานเจริญวิปัสสนา แต่ถ้าจะพูดให้กระชับลงไปอีก ก็ต้องว่า อาศัยฌาน เจริญวิปัสสนา

ถึงตอนนี้ฝ่ายอภิธรรมก็มาช่วยอธิบายว่า ฌานเป็นสมถะ ย่อมยึดหน่วงอารมณ์ของมันไว้อย่างหนึ่งอย่างเดียวโดยตลอด เมื่อหันไปใช้ปัญญาพิจารณาสิ่งต่างๆ ก็ย่อมต้องเปลี่ยนออกจากอารมณ์ที่กำหนดเดิม และเมื่อเปลี่ยนอารมณ์อย่างนั้นจิตก็ตกภวังค์ นั่นคือออกจากฌานไปแล้ว

ต่อจากนั้น การพิจารณาเป็นเรื่องของวิปัสสนา นับเป็นคนละขั้นตอน แต่เพราะได้อาศัยฌานนั้นมีความสัมพันธ์กันอยู่ อรรถกถาจึงให้เรียกว่า เอาฌานเป็นบาท หรือเป็นปทัฏฐานของวิปัสสนา

คำอธิบายอย่างนี้ ก็รับกันดีกับข้อความที่มีบ่อยๆ ในพระสูตรทั้งหลายว่า เข้าฌานอยู่แล้ว ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น...แล้วจึงน้อมจิตไปเพื่อวิชชาต่างๆ (เช่น ม.ม.13/505-8/460) ซึ่งหมายความว่า อาศัยฌานเป็นเครื่องทำจิตให้พร้อมก่อนแล้วจึงนำไปใช้งาน

ท่านเรียกจิตเช่นนั้นว่า จิตที่ควรแก่การนำไปใช้ และ จึงเป็นบาท หรือ เป็นปทัฏฐาน เพื่อได้ผลสำเร็จที่สูงยิ่งๆขึ้นไป
พระอรรถกถาจารย์นับแจงตามข้อความในพระสูตร ได้เห็นว่า จิตเช่นนี้ประกอบด้วยคุณสมบัติ 8 อย่าง คือ สมาหิตะ- ตั้งมั่น ปริสุทธะ- บริสุทธิ์ ปริโยทาตะ-ผ่องใส อนังคณะ -โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา วิคตูปกิเลส - ปราศจากสิ่งมัวหมอง มุทุภูตะ - นุ่มนวล กัมมนิยะ – ควรแก่การงาน ฐิตะ อาเนญชัปปัตตะ- อยู่ตัว ไม่วอกแวกหวั่นไหว
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ฌานแล้ว แต่ไม่ใช้ฌานเป็นบาท จะเจริญวิปัสสนาเพียงด้วยอุปจารสมาธิ หรือขณิกสมาธิเท่านั้นก็ย่อมได้ แต่จะมีสภาพเหมือนกับผู้ที่เจริญวิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ได้ฌานมาก่อน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 00:02
โพสต์: 111

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: สภาวะจิตที่ลอยเด่นดวงเปล่งรัศมีอยู่บนท้องฟ้านภากาศนี่ฌานอะไรค่ะ มีแต่ตัวผู้รู้ผู้ดู
ไม่คิดปรุงแต่งอะไร สักแต่ว่ารู้สักว่าเห็น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กษมมาตา เขียน:
:b44: สภาวะจิตที่ลอยเด่นดวงเปล่งรัศมีอยู่บนท้องฟ้านภากาศนี่ฌานอะไรค่ะ มีแต่ตัวผู้รู้ผู้ดู ไม่คิดปรุงแต่งอะไร สักแต่ว่ารู้สักว่าเห็น





ถ้าสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็นจริงๆ จะไม่มีความสงสัยหรือมีคำถามมาถามว่า สิ่งที่ถูกรู้นั้นคืออะไร
การที่มีความสงสัยใดๆ ล้วนเกิดจากอุปทาน เกิดจากการให้ค่าต่อสภาวะที่เกิดขึ้น

ขณะที่จิตเป็นสมาธิ ให้ดูด้วยว่า กลับมารู้ที่กายได้หรือไม่
หากไม่สามารถที่จะกลับมารู้กายได้ เรียกว่าหลงค่ะ คือ ขาดความรู้สึกตัว
เป็นการส่งจิตออกนอกไปตามสิ่งที่เกิดขึ้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 01 ส.ค. 2010, 19:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของเรื่องคือ... มันมีฌาณอยู่ 2 แบบ

แบบหนึ่ง เกิดจากการมอง ความว่าง เป็นหลัก (ไม่อยากใช้คำว่า เพ่ง) ฌาณแบบนี้ จะมีสติไม่เด่นชัด และไม่เกิดความคิด เมื่อไม่เกิดความคิด ก็ย่อมวิปัสสนาใดๆ ไม่ได้

อีกแบบ เกิดจากการจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น อานาปานสติ หรือมโนมยิทธิ (จำลองกายวิญญาณ) ฌาณแบบนี้ สติเด่นชัด มีความคิด เมื่อชำนาญก็ใช้เป็นญาณทัศนะได้

ที่แย้งกันจึงเป็นเพราะว่า ต่างคนต่างก็ไม่ผิด เพราะฝึกได้จริงๆ แต่ในทางพุทธ เขานิยมให้ใช้ฌาณแบบที่ 2 เพื่อวิปัสสนาได้จนถึงขั้นอริยะบุคคล ส่วนแบบแรกออกจะเป็นทางตัน แบบฤาษี
เวลาเขาพูดว่า "ออกจากฌาณ" จริงๆ ก็ไม่ได้ออกหรอก มันก็เป็นฌาณด้วยกันนั่นแหล่ะ แต่ฌาณของเขา หมายถึง แบบแรก...

ที่แย้งกันเรื่อง สมถะ วิปัสสนา จริงๆ ก็คือ การแย้งกันในนิยามของฌาณ เพราะต้องยอมรับว่า ในบ้านเรา ไม่ใช่พุทธเพียวๆ แต่เป็นพุทธสายพราหมณ์ สายฤาษี สายผี สายไสยศาสตร์ มีพุทธแท้จริงๆ ไม่มากหรอก แต่ก็มี... และที่มี ก็เห็นจะไม่ใช่ธรรมดาด้วย อิอิ :b32: :b32: :b32:


อ้อ ปล. แต่ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน เขาก็จัดอยู่ในฌาณ 4 หรืออรูปฌาณ เช่นกัน เพราะเขาเอา เอกัคคตาจิต และอุเบกขา เป็นเกณฑ์


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 01 ส.ค. 2010, 19:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 20:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 เม.ย. 2010, 09:39
โพสต์: 219

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้สิครับ
วิธีการต่างๆอุบายทั้งหลาย ทางใดๆก้อตาม ล้วนมีที่ตั้งอยู่ด้วยกันหมด
เมื่อปฏิบัติวิถีทางใดๆก้อตาม เมื่อรู้แล้ว ก้อรู้ให้ชัด ในทางเดินอันนั้น
ในฐานที่ตั้งอันนั้น
สิ่งที่สำคัญ ขอแต่ อย่าเป็นผู้ติดอยู่ในทาง อันความว่าทั้งหลาย

ขอบคุณครับ

.....................................................
.................................................ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม
........................................................พระปฐมบรมราชโองการว่า
.......................“ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม “

........................ขอพ่อเจ้าอยู่หัว ทรงพระเจริญ มีพระชนย์มายุ ยิ่งยืนนาน พระพุทธเจ้าข้า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:24
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Onion_no ต้องรู้มาก แยกแยะ และคิดละเอียดขนาดนี้เหรอนี่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร