วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 17:40
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากทราบวิธีที่จะทำให้จิตมีคุณภาพ ควรแก่งาน สามารถเจริญสติอย่างได้ผล รู้แบบไม่เกร็งไม่เพ่ง สบายๆ ควรทำอย่างไรบ้างคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อันๆ เขียน:
อยากทราบวิธีที่จะทำให้จิตมีคุณภาพ ควรแก่งาน สามารถเจริญสติอย่างได้ผล รู้แบบไม่เกร็งไม่เพ่ง สบายๆ ควรทำอย่างไรบ้างคะ


สวัสดี คุณอันๆ

จิตมีคุณภาพ ควรแก่งาน(คือ)สามารถเจริญอย่างได้ผล
รู้แบบไม่เกร็งไม่เพ่ง สบายๆ

จิตมีคุณภาพอย่างนี้ จะปรากฏได้ต่อ จิตอันเป็นกุศลขึ้นไปเท่านั้น
จิตคุณภาพอย่างนี้ จะต้องละอะไรได้บ้าง?

ก่อนอื่น คุณอันๆ จำเป็นมากที่ต้องเข้าใจว่า อะไรเป็นเหตุปัจจัย อันไม่ทำให้สภาพจิตนั้นเกิดขึ้นได้.

จิตไม่สงบ เพราะฟุ้งซ่านรำคาญใจ แล่นไปในกามบ้าง แล่นไปในโทสะบ้าง แล่นไปในความหลงบ้าง
จิตเฉื่อยชา มีสภาพหนัก เพราะความหดหู่ความท้อถอยความง่วงงุน
จิตไม่คล่องแคล่วว่องไว เพราะขาดศรัทธา เต็มไปด้วยความลังเล ถือเอาธรรมเป็นสรณะไม่ได้
จิตแข็งกระด้าง เพราะทิฏฐิ เพราะมานะ ถือเอาตนเป็นใหญ่ เอาความเห็นตน
จิตมีแต่ความคด คิดเห็นไม่ตรง เพราะเต็มไปด้วย มายา สาไถย หัวดื้อ แข่งดี
การกำจัดสิ่งต่างๆ กิเลสต่างๆ อันปรากฏดังกล่าวได้ จิตจึงจะมีความเหมาะสมในการเจริญสติภาวนาให้เจริญยิ่งขึ้นไป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติปัฏฐาน 4 โดยมีธรรมบท หรือพระธรรมเทศนา เป็นเครื่องอบรมจิต
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

การอาศัยพระธรรมบท หรือพระธรรมเทศนา ย่อมสละทิฏฐิตน มีศรัทธาในพระธรรม ละมานะในตนเพื่อตั้งจิตในอันที่จะรู้ที่จะศึกษาในอริยะสัจจ์ 4 เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ เพื่อละธรรมที่ควรละ เพื่อทำนิโรธให้แจ้ง เพื่อเจริญในธรรมที่ควรเจริญ

อาศัยศรัทธา มีวิตก วิจารในธรรมบท
มีความเพียร ทำความสงัดจากกาม ทำความสงัดจากอกุศลธรรม
ทำความรู้ตัวในธรรมเฉพาะหน้า ว่าเพื่อประโยชน์ มิใช่เพื่อมิใช่ประโยชน์ต่อกุศลธรรม
ทำความระลึกในธรรมเฉพาะหน้า ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน
ทำสมาธิให้เกิดขึ้น ไม่โลเล ไม่ซัดส่ายไปต่อความรู้สึกชอบใจ ไม่ชอบใจ

สัญญา หรือนิมิตอันเป็นที่อาศัย อาจจะใช้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เป็นสมาธินิมิต ตามพระธรรมเทศนา ในอานาปานสติสูตร

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3924&Z=4181&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 29 ก.ค. 2010, 20:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำความสงัดจากกาม คือการละวางไม่ยุ่งไม่เกี่ยว กับความมุ่งหวัง ความอาลัยอาวรณ์ ต่อความพึงพอใจอันเกิดจาก รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ที่มากระทบ ต่อตา หู จมูก ลิ้น ร่างกาย

การทำความสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย คือการละวางไม่ยุ่งไม่เกี่ยว ไม่คิดไม่นึก ต่ออกุศลกรรมบถ 10 ประการ อันเป็นเหตุให้ไปสู่อบาย ทุคติ วินิตบาต นรก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 29 ก.ค. 2010, 20:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทอรหัตมรรค อบรมจิต

จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหิน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่กำหนัด
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่โกรธเคืองในอารมณ์
เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้
ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน ฯ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 29 ก.ค. 2010, 20:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2010, 14:12
โพสต์: 24

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:อยากทราบว่าเวลาทำสมาธิจิตไม่นิ่งเลยควรทำอยางไรดี

ผู้รู้ช่วยสอนด้วยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 17:40
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอขอบคุณ คุณเช่นนั้นมากค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จินตนา กัณหา เขียน:
:b8:อยากทราบว่าเวลาทำสมาธิจิตไม่นิ่งเลยควรทำอยางไรดี

ผู้รู้ช่วยสอนด้วยค่ะ


สวัสดีครับ คุณจินตนา กัณหา
เช่นนั้น ขอโอกาสแสดงความเห็น ตามความรู้เท่าที่กำลังศีกษาอยู่ดังนี้....

การปฏิบัติธรรมในพระศาสนานี้ ไม่ใช่การทำให้จิตนิ่งนะครับ การทำให้จิตนิ่งไม่มีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาครับ

สัมมาสมาธิในพระศาสนานี้ เป็นอย่างนี้ครับ

การสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบ วิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่

เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

การปฏิบัติธรรมเป็นการงานของจิตครับ จิตไม่นิ่งครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณจินตนา กัณหา ลองอ่าน ข้อความดังต่อไปนี้ดูสิครับ

ขณะที่การปฏิบัติธรรมของคุณจินตนาเป็นอย่างไร

Quote Tipitaka:
ดูกรพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้

มีใจรัญจวนด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดกามราคะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะกามราคะ ทำกามราคะไว้ในภายใน

มีใจปั่นป่วนด้วยพยาบาท ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดพยาบาทอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจมุ่งหมายเฉพาะพยาบาท ทำพยาบาทไว้ในภายใน

มีใจกลัดกลุ้มด้วยถีนมิทธะถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดถีนมิทธะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะถีนมิทธะ ทำถีนมิทธะไว้ในภายใน

มีใจกลัดกลุ้มด้วยอุทธัจจกุกกุจจะ ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่และไม่รู้จักสลัดอุทธัจจกุกกุจจะอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็งจดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะอุทธัจจกุกกุจจะ ทำอุทธัจจกุกกุจจะไว้ในภายใน

มีใจกลัดกลุ้มด้วยวิจิกิจฉา ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้จักสลัดวิจิกิจฉาอันเกิดขึ้นแล้ว ตามความเป็นจริง เธอย่อมเพ่งเล็ง จดจ่อ ปักใจ มุ่งหมายเฉพาะวิจิกิจฉา ทำวิจิกิจฉาไว้ในภายใน


ผู้ปฏิบัติธรรมโดยมากไม่พ้นจากอาการ 5 ประการดังกล่าวข้างต้นครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2010, 21:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติปัฏฐาน 4 เช่นการเจริญอานาปานสติก็ตาม ย่อมทำให้จิต เข้าสู่ปฐมฌาน ได้ครับ
การเข้าสู่ปฐมฌาน จิตย่อมเจริญแล้วซึ่งสมถะวิปัสสนา อันระงับนิวรณ์ ทั้ง 5 ไปครับ

จิตนี้จึงเป็นจิตที่สงัดจากกาม จากอกุศธรรมครับ มีความสงบสงัดครับ แต่ไม่นิ่งๆ ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร