วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 15:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
ควรฝึกสมาธิควบคู่สติปัฏฐาน ๔ หรือไม่
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=1170
:b44:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 05:53
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


ควรไม่ควรก็คิดดูแล้วกัน :b40:

การฝึกฝนอบรมนั้น ในระหว่างสมถะกับวิปัสสนา
๑ เอาสมถะนำหน้า วิปัสสนาตามหลัง
๒ เอาวิปัสสนานำหน้า เอาสมถะตามหลัง
๓ เอาสมถะและวิปัสสนาไปพร้อมๆกัน
คุณถนัดอย่างไหนก็ฝึกฝนอบรมไปตามจริตนิสัยของตนก็แล้วกัน

ที่น่าสังเกตุก็คือ สมถะกับวิปัสสนา ไม่เคยทอดทิ้งซึ่งกันและกัน
สมถะใช้ปราบนิวรณ์ วิปัสสนาตัดรากเหง้าของตัณหา ทิฏฐิ :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจุบัน อาจจะมีบางท่าน แยกการเจริญสติปัฏฐานว่าเป็นการเจริญวิปัสสนาเท่านั้น.... ส่วน การเจริญสมาธิเป็นอีกส่วนหนึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสติปัฏฐาน ....ซึ่ง ในสมัยพุทธกาลไม่ใช่เช่นนั้น


คำสอนจากพระไตรปิฎก ใน เรื่อง องค์แห่งอริยมรรค ...

ทั้ง สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในสมัยพุทธกาล จัดสงเคราะห์ลงใน สมาธิขันธ์(ขันธ์ แปลว่า กอง) ด้วยกันครับ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 420&Z=9601

เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓

[๕๐๘] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑
ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา) พระผู้มีพระภาค
ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วย
ขันธ์ ๓.
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์
ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์
ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.

เรื่องสมาธิและสังขาร

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ สติปัฏฐาน ๔
เป็นนิมิตของสมาธิ
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิความเสพคุ้น ความเจริญ ความ
ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.



ปล... ท่าน ธรรมทินนาเถรี เป็นภิกษุณีสมัยพุทธกาลผู้เป็นเลิศด้านการแสดงธรรม

"สติปัฏฐาน๔ เป็น นิมิตของสมาธิ" คือ สัมมาสมาธิในองค์มรรค บังเกิดสืบเนือง จากการเจริญสติปัฏฐาน๔ นั่นเอง.






ในยุคสมัย หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย (ไม่นานมานี้เอง ) ท่านก็จัดว่า การเจริญสติปัฏฐานตามรู้อารมณ์จิต(ความคิด) ว่าเป็น การปฏิบัติสมาธิ


โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


การปฏิบัติสมาธิใครจะใช้อารมณ์ใด สัมมาอรหัง ยุบหนอ พองหนอ พุทโธ หรือ จะพิจารณาทำสติตามรู้อารมณ์จิต เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิได้ ต้องไปสู่จุดอันเดียวกันคือปฐมฌาน

สมาธิที่ถูกต้องซึ่งเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ได้ต้องประกอบด้วยองค์ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ซึ่งเป็นสมาธิในฌานที่ ๑ ซึ่งเรียกว่าปฐมฌาน อันนี้คือจุดนัดพบของนักภาวนาใครจะภาวนาแบบไหนอย่างไรก็มาพบกันที่จุดนี้ ถ้าสมาธิที่ถูกต้อง ต้องประกอบด้วยองค์ คือมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
[/quote]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ควรศึกษาเพิ่มเติม ว่า สมาธิ ต่างจาก วิปัสสนาอย่างไร ?

และ จริตของตน เหมาะที่จะ ปฏิบัติแนวไหน ?

อนึ่ง พระศาสนามีอายุล่วงเลยมานานถึง ๒,๕๐๐ กว่าปี นับว่าเป็นเวลานานอยู่ ระยะเวลาอันยาวนานอย่างนี้ น่าจะเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ผู้รู้ทั่วถึงคำสอนอันลึกซึ้งน่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ กลับกลายเป็นว่าพระพุทธศาสนานี้กำลังมลายหายสูญไปจากดินแดนที่เคยแพร่หลายแต่ในอดีตทีละแห่ง เริ่มตั้งแต่ประเทศอันเป็นที่อุบัติคืออินเดียเลยทีเดียว แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะเผยแผ่เข้าไปในประเทศใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีผู้คนยอมรับนับถือกันมาก่อนก็ตาม ความพยายามก็สำเร็จผลเพียงเล็กน้อย กล่าวคือ ผู้คนที่ยอมละจากศาสนาที่นับถืออยู่เดิมของตน หันมานับถือพระพุทธศาสนานั้น มีจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เทียบไม่ได้กับที่เสื่อมสูญไปแล้ว และที่กำลังจะเสื่อมสูญไปตามลำดับ ทั้งบรรดาผู้คนที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกันนี้ ผู้ที่รู้ทั่วถึงคำสอนที่ลึกซึ้งจริง ๆ ก็หาพบยากเข้าทุกที ความเป็นอย่างนี้ น่าจะเป็นเครื่องแสดงว่าผู้เกิดในยุคนี้และยุคต่อ ๆ ไป เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมถอยลงไปเรื่อย ๆ ไม่สามารถรองรับคำสอนที่ลึกซึ้งอุดมด้วยเหตุและผลได้ พระศาสนาจึงค่อย ๆ เสื่อมสูญไปตามลำดับ เพราะขาดแคลนผู้สืบต่อ เพราะฉะนั้น อาศัยเหตุผล ๒ ประการดังกล่าวมานี้ ก็พอจะอนุมานได้ว่า ผู้คนสมัยนี้ ส่วนใหญ่เป็นคนตัณหาจริตปัญญาทึบ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ผู้เกิดในยุคสมัยนี้ หากมีศรัทธาใคร่ปฏิบัติสติปัฏฐาน ควรคำนึงถึงกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นสำคัญ

อีกอย่างหนึ่ง แม้จะไม่มีการวินิจฉัยด้านจริตและปัญญาด้วยเหตุด้วยผลดังกล่าวมานี้ก็ตาม แต่เนื่องจากในยุคสมัยนี้ ขาดแคลนกัลยาณมิตร หรืออาจารย์ผู้ทรงญาณปัญญา ที่สามารถสอบสวนสภาพจิตใจของผู้อื่นอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้จะบอกได้ว่า ผู้นั้นผู้นี้ควรเจริญสติปัฏฐานข้อใด หมวดไหน จึงจะเหมาะสมต่อสภาพจิตใจของเขา เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ควรเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นแหละ เพราะเทียบสติปัฏฐานข้ออื่นแล้ว จะเป็นข้อที่เจริญได้ง่ายกว่า เพราะข้อนี้มีการพิจารณารูปธรรมเป็นหลัก ก็การพิจารณารูปธรรมซึ่งเป็นของหยาบ ทำได้ง่ายกว่าการพิจารณานามธรรม มีเวทนาเป็นต้น ซึ่งเป็นของละเอียด

ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ หมวดนั้น สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น แม้ท่านกล่าวว่า เจริญได้ง่าย เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม ก็พึงทราบว่า ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย กระสับกระส่าย จะสงบได้รวดเร็ว เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ตามลำดับ จนบรรลุฌาน โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกระทำได้ เหตุผลในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้

แม้ใน ๑๓ หมวดที่เหลือ ตกมาถึงยุคสมัยนี้ซึ่งเป็นยุคที่พระพุทธศาสนากำลังเสื่อมไปตามลำดับ ก็ไม่ใช่จะทำได้ง่ายเสียทีเดียว กล่าวคือ สัมปชัญญบรรพซึ่งเป็นหมวดพิจารณาอิริยาบถย่อยนั้น ยังทำได้ยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ชำนาญในการพิจารณาอิริยาบถ ๔ ใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นของหยาบกว่า มาก่อน การใส่ใจความเป็นปฏิกูลในอาการ ๓๒ เล่า ก็เป็นของทำได้ยากในยุคสมัยนี้ที่นิยมวัตถุ ดื่มด่ำในความสวยความงาม เพราะเหตุนั้น เมื่อจะทำใจให้น้อมไปว่าเป็นของปฏิกูล ไม่งามอยู่เนือง ๆ ย่อมเป็นภาระหนัก ส่วนการพิจารณาร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๔ มีธาตุดินเป็นต้น โอกาสที่จะกลายเป็นเพียงความนึกคิดเอาอย่างฉาบฉวย ไม่ได้สัมผัสตัวสภาวะที่เป็นธาตุดินเป็นต้น ด้วยปัญญาจริง ๆ ก็มีได้มาก สำหรับการพิจารณษซากศพ ๙ อย่าง ก็เป็นหมวดที่แทบจะหาโอกาสบำเพ็ญไม่ได้เอาทีเดียว เกี่ยวกับหาซากศพที่จะใช้เจริญกรรมฐานยากหนักหนา เพราะบ้านเมืองเจริญขึ้น ระเบียบกฏเกณฑ์ของบ้านเมืองไม่ยอมให้มีการทิ้งซากศพให้เน่าเปื่อยอยู่ตามที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผย แม้แต่ในป่าช้า ด้วยเหตุว่า เป็นที่อุจาดนัยน์ตาของผู้พบเห็น เป็นที่แพร่เชื้อโรค และเป็นเรื่องล้าหลัง ส่วนหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ เดิน ยืน นั่ง นอน หมวดเดียวที่เหลืออยู่นี้เท่านั้นที่เป็นกรรมฐาน อันเป็นอารมณ์ของการพิจารณาที่หาได้ง่าย เพราะอิริยาบถ ๔ นี้ มีติดตัวอยู่ตลอดเวลา คนเราต้องการทรงกายอยู่ใดอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งแน่นอน ไม่มีว่างเว้นจากอิริยาบถ อนึ่ง ในเวลาที่ทรงกายอยู่ในอิริยาบถใดก็ตามก็ย่อมรู้แน่อยู่แก่ใจที่เดียวว่า เวลานี้กำลังทรงกายอยู่ในอิริยาบถนั้น คือ รู้ดีว่าเวลานี้กำลังเดินอยู่ หรือยืนอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือนอนอยู่ เพราะอาการอย่างนั้นอย่างนั้น แสดงให้ทราบ จึงจัดได้ว่าเป็นของปรากฏชัด เมื่อเป็นเช่นนี้ การกำหนดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จึงน่าจะกระทำได้ง่ายกว่าหมวดอื่น ๆ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละผู้ใคร่เจริญสติปัฏฐานได้โดยสะดวก พึงคำนึงถึงการพิจารณาอิริยาบถ ๔ นี้ ก่อนเถิด และในที่นี้ก็ใคร่ขอแสดงวิธีเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถนี้เป็นนิทัสสนะ


การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
viewtopic.php?f=2&t=29201

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร