วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 19:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จากที่เหลิมบิเบือดพระธรรมว่า

สวรรค์ ปาฏิหาริย์เป็นเรื่องหลอกลวง

จึงขอยกเอาตอนที่พระพุทธเจ้าขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดุสิต

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=32449&st=0&sk=t&sd=a&start=30
อ้างคำพูด:
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ )

บางคนที่ฝึกมาถึงขั้นสุดยอดของ วรยุทธ ก็เข้าไปถึงดินแดนพระนิพพาน ติดต่อพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้

-----------------------------------------

ถ้าเป็นสายวิชา ธรรมกาย ก็จะยึดเอานิมิต ดวงแก้วใส ๆ ๆ ๆ ๆ

จบที่ นิมิตภาพพระพุทธรูป ใสที่สุด

คุณหลับอยู่ครับ วรยุทธ ทั้งหลายที่สำนักคุณค้นพบใหม่ ถ่ายทอดกันมา ด้วยเคล็ดวิชาอันซับซ้อน

เป็นคนละอย่างกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก อรรถกถา เลยนะครับ

ว่าผมแต่เป็น ฟายยย ลองแปลงร่างเป็นฟายย มาไล่ขวิดผมได้ไหมเนี่ย

http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/006616.htm


Quote Tipitaka:
โปรดพุทธมารดา
http://www.thai.net/tayat/budda14.html

http://www.geocities.com/thaibuddhists/buddhalife7.htm

เสด็จดาวดึงส์

ลำดับนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา ทรงพุทธดำริว่า “พุทธประเพณีแห่งพระพุทธเจ้าในอดีตกาล เมื่อทำยมกปาฏิหาริย์แล้ว เสด็จจำพรรษา ณ ที่ใด” ทรงพิจารณาด้วยอดีตตังสญาณก็เห็นแจ้งประจักษ์ว่า “เสด็จจำพรรษาในดาวดึงสพิภพ แล้วตรัสแสดงอภิธรรมปิฎกทั้ง ๗ ปกรณ์ ถวายในไตรมาส เพื่อกระทำการสนองพระคุณพุทธมารดาอีกประการหนึ่ง ความปรารถนาอันใดที่พระชนนีตั้งไว้แทบบาทมูลพระพุทธวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ขอให้นางได้เป็นมารดาพระบรมครูเห็นปานดังพระพุทธองค์” ความปรารถนาอันนั้นก็สำเร็จสมประสงค์และพระชนนีมีพระคุณแก่ตถาคตเป็นอันมาก ยากที่จะได้ตอบสนองพระคุณพระมารดา ทรงจินตนาการดังนี้แล้วเสด็จลุกจากรัตนบัลลังก์ ขึ้นสู่ดาวดึงสพิภพประทับนั่งเหนือกัมพลศิลาอาสน์ ภายใต้ปาริฉัตตรุกขชาติ อันเป็นธงแห่งดาวดึงส์เทวโลก

แสดงพระอภิธรรมปิฎก

ในกาลนั้น ท้าวสหัสสนัยน์เทวราช เมื่อทอดพระเนตรเห็น จึงประกาศใช้เหล่าทวยเทพได้ทราบทั่วกัน เทพเจ้าทั้งหลายตลอดหมื่นจักรวาลถือทิพยมาลาสักการะมาสโมสรสันนิบาต ถวายนมัสการแล้วประทับนั่งอยู่โดยรอบพระพุทธองค์ เมื่อไม่ทรงเห็นพุทธมารดา จึงตรัสถามท้าวสักกรินทร์เทวราช เทวราชจึงเสด็จไปตามพระสิริมหามายาเทวบุตร ณ ดุสิตพิภพ พระพุทธมารดา ได้สดับทรงประปีติปราโมทย์ เสด็จมายังดาวดึงส์เทวพิภพสู่สำนักพระบรมครู ถวายนมัสการประทับนั่งอยู่เบื้องขวาแห่งพระผู้มีพระภาค พลางดำริว่า อาตมานี้มีบุญยิ่งนัก มีเสียทีที่อาตมาอุ้มท้องมา ได้พระโอรสอันประเสริฐเห็นปานนี้” ส่วนสมเด็จพระชินสีห์มีพระทัยปรารถนาจะสนองคุณพระมารดาจึงดำริว่า “พระคุณแห่งมารดาที่ทำไว้แก่ตถาคตนี้ยิ่งใหญ่นัก สุดที่จะคณานับได้ว่า กว้างหนาและลึกซึ้งปานใด และธรรมอันใดจึงจะสมควรที่จะทดแทนพระคุณได้ พระวินัยปิฎก และพระสุตตันตปิฎกก็ยังน้อยนัก มิเท่าคุณแห่งพระมารดา เห็นควรแต่พระอภิธรรมปิฎกที่จะพอยกขึ้นชั่งเท่ากันได้” ดำริดังนี้แล้ว กวักพระหัตถ์เรียกพระพุทธมารดาว่า “ดูกรชนนี มานี้เถิดตถาคตจะใช้ค่าน้ำนมข้าวป้อนของมารดา อันเลี้ยงตถาคตนี้มาแต่อเนกชาติในอดีตภพ” แล้วกระทำพุทธมารดาเป็นประธาน ตรัสอภิธรรมปิฎก ๗ คัมภีร์ ให้สมควรแก่ปัญญาบารมี มีสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และมหาปัฏฐาน กาลเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงสัตตปกรณาภิธรรมเทศนาจบลง องค์พระสิริมหามายาเทวบุตรพุทธมารดา ก็บรรลุโสดาปัตติผล ประกอบด้วยนัย ๑ พันบริบูรณ์

เสด็จลงจากดาวดึงส์

พระมหาโมคคัลลานะทูลถามการเสด็จลง

กาลเมื่อพระผู้มีพระภาค ทรงกระทำปาฏิหาริย์แล้วขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก ครั้งนั้น มหาชนทั้งหลายที่มาประชุมกันอยู่ในที่นั้นและดูพระพุทธสรีรกายหายไปในเทวโลก ก็เศร้าโศกปริเทวนาการว่า “พระบรมครูขึ้นไปสู่ภูเขาจิตรกูฏหรือไกรลาส หรือคันธมาสประการใด เราทั้งหลายมิได้เห็นพระองค์ในกาลบัดนี้” แล้วเข้าไปถามพระมหาโมคคัลลานะ “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระบรมครูแห่งเราเสด็จไปสถิตอยู่ ณ ที่แห่งใด” พระมหาเถระจึงกล่าวว่า “พวกท่านจงถามท่านพระอนุรุทธะก็จะทราบ” มหาชนก็ไปถามพระอนุรุทธเถระท่านก็บอกว่า “พระพุทธองค์ เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ในดาวดึงส์เทวโลก เพื่อจะตรัสพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์ โปรดพุทธมารดา” ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ก็เมื่อใดเล่าจะกลับมาสู่มนุษยโลก ดูกรท่านทั้งปวง พระบรมครูตรัสเทศนาพระอภิธรรมปิฎถ้วนไตรมาสแล้ว พอถึงวันปวารณาจึงจะกลับมายังมนุษยโลกนี้” ชนทั้งหลายจึงกล่าวแก่พระมหาโมคคัลลานะว่า “ถ้ามิได้เห็นองค์พระสัพพัญญู ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะไม่ไปจากที่นี่” แล้วชวนกันพักแรม ตั้งทับและชมรมพักอาศัยมิได้มีหลังคา

พระมหาโมคคัลลานะขึ้นไปเฝ้า

เมื่อเวลาเหลืออยู่อีก ๗ วันจะออกพรรษา ประชาชนเข้าไปหาพระโมคคัลลานะและกล่าวว่า “พระผู้เป็นเจ้า ควรที่จะรู้วันที่พระสัพพัญญูจะเสด็จลงจากเทวโลกให้แน่นอน และพวกข้าพเจ้ามิได้เห็นพระบรมครูแล้วจะไม่ไปจากที่นี่” พระมหาเถระจึงสำแดงฤทธิ์ขึ้นไปยังชั้นดาวดึงส์กระทำอัญชลีแล้วทูลว่า “พระพุทธองค์จะเสด็จลงจากเทวโลกในกาลเมื่อใด” จึงมีพระดำรัสว่า โมคคัลลานะ แต่นี้ไปอีก ๗ วัน จะถึงวันมหาปวารณา ตถาคตจะลงจากเทวโลก ณ ที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนคร ในวันนั้น ผิวมหาชนใคร่จะได้เห็นตถาคต จงไปที่นั้น เธอจงไปแจ้งแก่มหาชนตามคำตถาคตสั่งนี้” พระมหาเถระก็กลับมาแจ้งแก่ประชาชนทุกประการ

ครั้นถึงวันอัสสยุชปุณณมีเพ็ญเดือน ๑๑ สมเด็จพระบรมศาสดาทรงปวารณาพรรษาแล้ว จึงตรัสบอกแก่สมเด็จอมรินทราธิราชว่า ดูกรท้าวเทวราชตถาคตจะลงไปสู่มนุษยโลกในเวลาวันพรุ่งนี้ ท้าวโกสีย์จึงเนรมิตบันไดทิพย์ทั้ง ๓ คือบันไดทองอยู่เบื้องขวา บันได้เงินอยู่เบื้องซ้าย บันไดแก้วอยู่ท่ามกลางเชิงบันได้ทั้ง ๓ จรดพื้นภูมิภาค ณ ที่ใกล้เมืองสังกัสสนคร หัวบันไดเบื้องบนจรดยอดเขาสิเนรุราช อันเป็นที่ตั้งแห่งดาวดึงสพิภพ บันไดทองเป็นที่ลงแห่งหมู่เทวดา บันไดเงินเป็นที่ลงแห่งหมู่พรหม ส่วนบันไดแก้วนั้นเป็นที่เสด็จลงแห่งพระบรมศาสดา

สมเด็จพระบรมครูเสด็จสถิตเหนือยอดเขาสิเนรุ ทอดพระเนตรเห็นเครื่องสักการบูชาแห่งเทวดาทั้งหลายหมื่นโลกธาตุ ก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ซ้ำอีก และทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์บันดาลเปิดโลก ยังสวรรค์มนุษย์และนรก ทั้งหมื่นโลกธาตุให้แลเห็นกันปรากฏทั่วทั้งสิ้นอันเป็นมหาอัศจรรย์ เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลก็มาประชมพร้อมกัน พระองค์ก็เสด็จลงจากเทวโลก พร้อมด้วยทวยเทพตามส่งเสด็จเป็นจำนวนมาก ครั้งนั้น สรรพสัตว์ทั้งหลายซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ ผู้ใดแม้สักคนหนึ่ง ที่ไม่ปรารถนาพุทธภูมิไม่มี เมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์เสด็จลงจากเทวโลกถึงเชิงบันไดแล้วประทับยืนอยู่ พระธรรมเสนาบดีก็ถวายอัญชลีพระโลกนารถ แล้วประกาศความยินดี

พระพุทธองค์ประทานพระธรรมเทศนา เมื่อแสดงพระสัทธรรมเทศนาจบ ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกแห่งพระสารีบุตรก็บรรลุอรหัตผล ประชาชนก็ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นจำนวนมาก
http://www.geocities.com/thaibuddhists/buddhalife7.htm
-----------------------------------------------------

http://www.wat-thai.com/wtsf/b-shistory ... bdh012.htm
โปรดพุทธมารดา

เมื่อพระพุทธมารดาได้ประสูติพระกุมารสิทธัตถะได้เพียง ๗ วัน ก็ได้ทิวงคต ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต

ในพรรษาที่ ๗ นับแต่พระพุทธองค์ตรัสรู้ พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อจะทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดา

พระพุทธเจ้าได้เสด็จประทับจำพรรษาที่โคนต้นปาริฉัตร บนแท่นแผ่นหินที่ปูลาดด้วยผ้ากัมพลสีแดง เรียกว่า ‘บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์’

พระพุทธมารดาซึ่งอยู่ในเพศเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต ได้เสด็จมาฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้วบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ )

บางคนที่ฝึกมาถึงขั้นสุดยอดของ วรยุทธ ก็เข้าไปถึงดินแดนพระนิพพาน ติดต่อพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้



คุณ mes ครับ นิมิตที่เห็นอาจจะเป็น ภาพทางใจที่ปรุงแต่งขึ้นมาเองก็ได้ครับ

เช่น เห็นเป็นพระพุทธณุปใส ๆ , เห็นเป็นภาพพระพุทธเจ้า, เห็นภาพ นรกภูมิ เป็นต้น

คนนั่งอาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่ของจริง

ไม่เกี่ยวกับว่า ภพภูมิต่าง ๆ มีจริงหรือไม่ หรือ อภิญญาจิตมีจริงหรือไม่

คุณ mes ต้องแยกประเด็นให้ออกนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Jane_peace_position.jpg
Jane_peace_position.jpg [ 134.64 KiB | เปิดดู 8367 ครั้ง ]
ดูนี่

http://video.mthai.com/player.php?id=6M1243832704M0


อีกที่นี่

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=80.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับ คุณกรัชกาย ที่นำภาพการนั่งสมาธิ มาให้ดู

อ้างคำพูด:


ดูแล้วคล้ายกับเหตุการณ์ที่ผมประสบ แต่ไม่สั่นแรงขนาดนี้

อ้างคำพูด:
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ )


ทำไมสมัยนี้ สำนักสมาธิแปลก ๆ มีมากขึ้นก็ไม่รู้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นคุณmes ยกเรื่องราวปาฏิหาริย์ และ ประวัติพระอภิธรรมขึ้นมาแสดง

คุณ mes ครับ ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์ คืออาจารย์ของคุณต่างหากครับ


จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร ของท่านพุทธทาส หน้า ๗๕

ปาฏิหาริย์เกี่ยวกับอภิธรรมปิฏกที่สำคัญก็คือเรื่องว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วแสดงอภิธรรมที่นั่น โปรดเทวดาที่เคยเป็นพระมารดาของท่าน นี่คือพระมหาปาฏิหาริย์ แล้วก็มีปาฏิหาริย์ที่เนื่องกัน เช่นต้องแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อน แล้วขึ้นไปอย่างไร แล้วลงมาอย่างไร แต่เรื่องสำคัญมันว่าขึ้นไปบนเทวโลกแสดงอภิธรรม ซึ่งชาวบ้านหรือนักปราชญ์ในเมืองมนุษย์ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไปแสดงแก่เทวดาให้รู้เรื่องได้ เทวดาซึ่งเอาแต่เล่นแต่กินแต่สบายนั้นน่ะ
เรื่องนี้ขอให้ทนฟังอาตมาเล่านิดหน่อย เรื่องว่า พระพุทธเจ้าขึ้นไปบนเทวโลกนั้นนะ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีในพุทธศาสนาของเรา เพราะว่าในศาสนาอื่นๆหรือแม้ว่าไม่เกี่ยวกับศาสนาเป็นลัทธิอื่นนั้นเขาจะมีว่าศาสดาของเขา หรือบุคคลสำคัญของเขาต้องเคยขึ้นไปบนเทวโลกทั้งนั้น แล้วในฝ่ายพุทธศาสนาถ้าพูดว่าเราไม่มีมันก็แย่ เพราะฉะนั้นมันต้องมีกับเขาบ้างให้จนได้

ทีนี้มันจะมีได้โดยฝีมือของใคร นี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องมี เพื่อสร้างสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเราจะต้องพูดว่า พระพุทธเจ้าท่านมาเหยียบรอยพระบาทไว้ที่สระบุรี นั้น ถ้าไม่พูดว่าพระพุทธเจ้ามาเหยียบไว้แล้ว ไม่มีใครสนใจหรอก ทีนี้เราจะต้องมีอะไรที่ทำให้สนใจให้เป็นสถาบันเสียก่อน พอมันเป็นสถาบันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชนแล้ว มันใช้ได้แล้ว มันจะจริงหรือไม่จริงก็ช่างมันเถอะ เพราะเขาต้องการสถาบันอันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชน ที่ประเทศอินเดียครั้งกระโน้นก็เหมือนกัน ต้องการสถาบันอันนี้ให้เชื่อว่าพระพุทธเจ้าของเราเก่งไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง

!
!
!
เดี๋ยวนี้อย่าไปเข้าใจว่า คำสอนทั้งหมดในคัมภีร์อภิธรรมนั้นมันเป็นอภิธรรมแท้ของพระพุทธเจ้า เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างใต้ดิน นี้เลิกกันเสียที ขอร้องซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าสวรรค์ข้างบน นรกข้างใต้นี้เลิกกันเสียที มันโง่เกินไป เพราะว่ามันไม่มีข้างบนข้างล่าง โลกกลมๆนี้ มันมีจุดดูดอยู่ที่ตรงกลางแล้วมันดูดเข้าหาจุดๆนี้เพราะฉะนั้นข้างนอกออกไปมันเป็นข้างบน ข้างฝ่ายนี้มันเป็นข้างล่างรอบตัว เอาส้มโอสักลูกหนึ่ง ฝังแม่เหล็กที่แรงมากๆไว้ตรงศูนย์กลางส้มโอ แล้วก็เอาตุ๊กตาที่ทำด้วยเหล็กตัวเล็กๆมากๆ มาติดไว้รอบส้มโอเลย แล้วคุณจะรู้ว่าไม่มีข้างบนข้างล่าง นี่แหละความรู้สึกว่าข้างบนข้างล่างนี้คือความหลอกลวงของ Gravity ของโลก พวกที่บินไปถึงโลกพระจันทร์เขารู้เรื่องนี้ดี แล้วเขาจะหัวเราะพวกอภิธรรมที่มัวสอนอยู่ว่าสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่าง ฉะนั้นเลิกมันได้แล้ว เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างนี้ มันเป็นเรื่องที่เลิกกันได้แล้ว


คุณ mes ลองเฉลยหน่อยสิครับ ว่าปาฏิหาริย์ เหล่านี้ที่อาจจะมีการแต่งเพิ่ม เป็นฝีมือของใคร ?

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 08:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ )

บางคนที่ฝึกมาถึงขั้นสุดยอดของ วรยุทธ ก็เข้าไปถึงดินแดนพระนิพพาน ติดต่อพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้



คุณ mes ครับ นิมิตที่เห็นอาจจะเป็น ภาพทางใจที่ปรุงแต่งขึ้นมาเองก็ได้ครับ

เช่น เห็นเป็นพระพุทธณุปใส ๆ , เห็นเป็นภาพพระพุทธเจ้า, เห็นภาพ นรกภูมิ เป็นต้น

คนนั่งอาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่ของจริง

ไม่เกี่ยวกับว่า ภพภูมิต่าง ๆ มีจริงหรือไม่ หรือ อภิญญาจิตมีจริงหรือไม่

คุณ mes ต้องแยกประเด็นให้ออกนะครับ



Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก



มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗
ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี

:b42: :b42: :b42:



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๔๗๑ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๓ - ๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนที35พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนาหลวงปู่มั่น

--------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนา







หลังจากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระสาวกบริวารเป็นจำนวนหมื่นเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับสาวกบริวารจำนวนแสนเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีสาวกเท่านั้นเสด็จมาเยี่ยมอนุโมทนา

จำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์นั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ท่านว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ไม่เหมือนกัน ที่พระสาวกตามเสด็จมาด้วยแต่ละพระองค์นั้น มิได้ตามเสด็จมาทั้งหมดในบรรดาพระสาวกของแต่ละพระองค์ที่มีอยู่ แต่ที่ตามเสด็จมามากน้อยต่างกันนั้น พอแสดงให้เห็นภูมิพระวาสนาบารมีของแต่ละพระองค์นั้นต่างกันเท่านั้น

บรรดาพระสาวกจำนวนมากของแต่ละพระองค์ที่ตามเสด็จมานั้น มีสามเณรติดตามมาด้วยครั้งละไม่น้อยเลย ท่านสงสัยจึงพิจารณาก็ทราบว่า คำว่าพระอรหันต์ในนามธรรมนั้นมิได้หมายเฉพาะพระ แต่สามเณรที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดก็นับเข้าในจำนวนสาวกอรหันต์ด้วย ฉะนั้นที่สามเณรติดตามมาด้วยจึงไม่ขัดกัน



ในพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ที่ประทานอนุโมทนาแก่พระอาจารย์มั่นนั้น ส่วนใหญ่มีว่า



อ้างอิงคำพูด:
เราตถาคตทราบว่าเธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนา ที่คุมขังแหล่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก และมีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์โลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมา ว่าเป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาทางออกด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหาภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่าจะหายได้เมื่อไร



สิ่งตายตัวก็คือโรคพรรค์นี้ ถ้าไม่รับยาคือธรรมจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ตลอดอนันตกาล ธรรมแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุ ก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรม ธรรมก็อยู่แบบธรรม สัตว์โลกก็หมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภพน้อยภพใหญ่แบบสัตว์โลก โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงได้เมื่อใด ไม่มีทางช่วยได้ ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเองโดยยึดธรรมมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม


พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงไร ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอยู่อย่างเดียวกัน คือสอนให้ละชั่วทำดีทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้ เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้วเป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิเลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว นอกจากผู้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่องกิเลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น


ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประเภทต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิม คนที่คล้อยตามมันจึงเป็นผู้ลืมธรรมไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ ทั้งที่สิ่งนั้นให้โทษ ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองเห็นการณ์ไกล ย่อมไม่หดตัวมั่วสุมอยู่เปล่า ๆ เหมือนเต่าถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลกเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผา ไม่มีกาลสถานที่ที่พอจะปลงวางลงได้ จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตาม ๆ กัน โดยไม่นิยมสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน เพราะสิ่งแผดเผาเร่าร้อนอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่น


ที่นี่เธอเห็นพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ?


พระตถาคตแท้คืออะไร คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั้นแล ที่พระตถาคตมาในร่างนี้ มาในร่างแห่งสมมุติต่างหาก เพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้ นี่เป็นเพียงเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมุติต่างหาก






อ้างอิงคำพูด:
ท่านพระอาจารย์กราบทูลว่า
ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย ที่สงสัยก็คือ พระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่านที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่เลย แล้วเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร?



อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าตรัสว่า



ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมุติอยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมุติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมุติซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้วไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่ ตถาคตก็ไม่มีสมมุติอันใดมาแสดงเพื่ออะไรอีก ฉะนั้นการมาในร่างสมมุตินี้จึงเพื่อสมมุติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมุติเสียอย่างเดียวก็หมดปัญหา



พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีตอนาคตก็ทรงถือเอานิมิต คือสมมุติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายให้ทราบ เช่น ทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าทรงเป็นมาอย่างไรเป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายพิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมุติของสิ่งนั้น ๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทางสมมุติ เพราะวิมุตติล้วน ๆ ไม่มีทางแสดงได้ ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ ต้องอาศัยสมมุติเป็นหลักพิจารณา


ดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมุติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นจะพอมีทางทราบได้ว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ และพระอรหันต์องค์นั้น ๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้


เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมุติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแสดงออกโดยทางสมมุติเพื่อความเหมาะสมกัน


ถ้าเป็นวิมุตติล้วน ๆ เช่นจิตที่บริสุทธิ์รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกัน ก็เพียงแต่รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จำต้องนำสมมุติเข้ามาช่วยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้น พอมีทางทราบกันได้ว่าวิมุตติมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวง มีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใด ๆ เป็นต้น พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมุติทั่ว ๆ ไป ผู้ทราบวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้ว จึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติแสดงตัวออกต่อสมมุติในบางคราวที่ควรแก่กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมของวิมุตติ ไม่แสดงอาการ


ที่เธอถามเราตถาคตนั้น ถามด้วยความสงสัย หรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน






อ้างอิงคำพูด:
ท่านกราบทูลว่า


ข้าพระองค์มิได้มีความสงสัยทั้งสมมุติและวิมุตติของพระองค์ทั้งหลาย แต่ที่กราบทูลนั้นก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมุติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ใจอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีใช่ธรรมชาติอื่นใดจากที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมุติในลักษณะเดียวกันกับพระรัตนตรัย





อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าตรัสว่า




การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัย แต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น




บรรดาพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์และแต่ละครั้งนั้น มิได้กล่าวปราศรัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียว ส่วนพระสาวกทั้งหลายเป็นเพียงนั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม น่าเคารพเลื่อมใสมากเท่านั้น แม้สามเณรองค์เล็ก ๆ ที่น่ารักมากกว่าจะน่าเคารพเลื่อมใส ก็นั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม เช่นเดียวกับพระสาวกทั้งหลาย อันเป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสมากและน่ารักมากด้วย ซึ่งยังอยู่ในวัยเล็กมากก็มี อายุราว ๙ ขวบ ๑๐ ขวบ ๑๑
__________________



เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไอ้เหลิมเอ๋ยยยยยย 555555555555555555 เหลิมมันชอบขาดทุน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 09:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร ของท่านพุทธทาส หน้า ๗๕

ปาฏิหาริย์เกี่ยวกับอภิธรรมปิฏกที่สำคัญก็คือเรื่องว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วแสดงอภิธรรมที่นั่น โปรดเทวดาที่เคยเป็นพระมารดาของท่าน นี่คือพระมหาปาฏิหาริย์ แล้วก็มีปาฏิหาริย์ที่เนื่องกัน เช่นต้องแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อน แล้วขึ้นไปอย่างไร แล้วลงมาอย่างไร แต่เรื่องสำคัญมันว่าขึ้นไปบนเทวโลกแสดงอภิธรรม ซึ่งชาวบ้านหรือนักปราชญ์ในเมืองมนุษย์ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไปแสดงแก่เทวดาให้รู้เรื่องได้ เทวดาซึ่งเอาแต่เล่นแต่กินแต่สบายนั้นน่ะ
เรื่องนี้ขอให้ทนฟังอาตมาเล่านิดหน่อย เรื่องว่า พระพุทธเจ้าขึ้นไปบนเทวโลกนั้นนะ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีในพุทธศาสนาของเรา เพราะว่าในศาสนาอื่นๆหรือแม้ว่าไม่เกี่ยวกับศาสนาเป็นลัทธิอื่นนั้นเขาจะมีว่าศาสดาของเขา หรือบุคคลสำคัญของเขาต้องเคยขึ้นไปบนเทวโลกทั้งนั้น แล้วในฝ่ายพุทธศาสนาถ้าพูดว่าเราไม่มีมันก็แย่ เพราะฉะนั้นมันต้องมีกับเขาบ้างให้จนได้

ทีนี้มันจะมีได้โดยฝีมือของใคร นี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องมี เพื่อสร้างสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเราจะต้องพูดว่า พระพุทธเจ้าท่านมาเหยียบรอยพระบาทไว้ที่สระบุรี นั้น ถ้าไม่พูดว่าพระพุทธเจ้ามาเหยียบไว้แล้ว ไม่มีใครสนใจหรอก ทีนี้เราจะต้องมีอะไรที่ทำให้สนใจให้เป็นสถาบันเสียก่อน พอมันเป็นสถาบันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชนแล้ว มันใช้ได้แล้ว มันจะจริงหรือไม่จริงก็ช่างมันเถอะ เพราะเขาต้องการสถาบันอันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชน ที่ประเทศอินเดียครั้งกระโน้นก็เหมือนกัน ต้องการสถาบันอันนี้ให้เชื่อว่าพระพุทธเจ้าของเราเก่งไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง

!
!
!
เดี๋ยวนี้อย่าไปเข้าใจว่า คำสอนทั้งหมดในคัมภีร์อภิธรรมนั้นมันเป็นอภิธรรมแท้ของพระพุทธเจ้า เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างใต้ดิน นี้เลิกกันเสียที ขอร้องซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าสวรรค์ข้างบน นรกข้างใต้นี้เลิกกันเสียที มันโง่เกินไป เพราะว่ามันไม่มีข้างบนข้างล่าง โลกกลมๆนี้ มันมีจุดดูดอยู่ที่ตรงกลางแล้วมันดูดเข้าหาจุดๆนี้เพราะฉะนั้นข้างนอกออกไปมันเป็นข้างบน ข้างฝ่ายนี้มันเป็นข้างล่างรอบตัว เอาส้มโอสักลูกหนึ่ง ฝังแม่เหล็กที่แรงมากๆไว้ตรงศูนย์กลางส้มโอ แล้วก็เอาตุ๊กตาที่ทำด้วยเหล็กตัวเล็กๆมากๆ มาติดไว้รอบส้มโอเลย แล้วคุณจะรู้ว่าไม่มีข้างบนข้างล่าง นี่แหละความรู้สึกว่าข้างบนข้างล่างนี้คือความหลอกลวงของ Gravity ของโลก พวกที่บินไปถึงโลกพระจันทร์เขารู้เรื่องนี้ดี แล้วเขาจะหัวเราะพวกอภิธรรมที่มัวสอนอยู่ว่าสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่าง ฉะนั้นเลิกมันได้แล้ว เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างนี้ มันเป็นเรื่องที่เลิกกันได้แล้ว

คุณ mes ลองเฉลยหน่อยสิครับ ว่าปาฏิหาริย์ เหล่านี้ที่อาจจะมีการแต่งเพิ่ม เป็นฝีมือของใคร ?


คำตอบของผมคือ


อ้างอิงคำพูด:
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ )

บางคนที่ฝึกมาถึงขั้นสุดยอดของ วรยุทธ ก็เข้าไปถึงดินแดนพระนิพพาน ติดต่อพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้

-----------------------------------------

ถ้าเป็นสายวิชา ธรรมกาย ก็จะยึดเอานิมิต ดวงแก้วใส ๆ ๆ ๆ ๆ

จบที่ นิมิตภาพพระพุทธรูป ใสที่สุด

คุณหลับอยู่ครับ วรยุทธ ทั้งหลายที่สำนักคุณค้นพบใหม่ ถ่ายทอดกันมา ด้วยเคล็ดวิชาอันซับซ้อน

เป็นคนละอย่างกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก อรรถกถา เลยนะครับ

ว่าผมแต่เป็น ฟายยย ลองแปลงร่างเป็นฟายย มาไล่ขวิดผมได้ไหมเนี่ย

และอีกคำตอบของผม

เฉลิมศักดิ์ เขียน:
คุณ mes ครับ นิมิตที่เห็นอาจจะเป็น ภาพทางใจที่ปรุงแต่งขึ้นมาเองก็ได้ครับ

เช่น เห็นเป็นพระพุทธณุปใส ๆ , เห็นเป็นภาพพระพุทธเจ้า, เห็นภาพ นรกภูมิ เป็นต้น

คนนั่งอาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่ของจริง

ไม่เกี่ยวกับว่า ภพภูมิต่าง ๆ มีจริงหรือไม่ หรือ อภิญญาจิตมีจริงหรือไม่

คุณ mes ต้องแยกประเด็นให้ออกนะครับ

คุณ mes ครับ นิมิตที่เห็นอาจจะเป็น ภาพทางใจที่ปรุงแต่งขึ้นมาเองก็ได้ครับ

เช่น เห็นเป็นพระพุทธณุปใส ๆ , เห็นเป็นภาพพระพุทธเจ้า, เห็นภาพ นรกภูมิ เป็นต้น

คนนั่งอาจจะเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นอาจจะไม่ใช่ของจริง

ไม่เกี่ยวกับว่า ภพภูมิต่าง ๆ มีจริงหรือไม่ หรือ อภิญญาจิตมีจริงหรือไม่

คุณ mes ต้องแยกประเด็นให้ออกนะครับ

เห็นไหมเหลิมเองก็สับสน

พูดกลับไปกลับมา

ประเด็นคือ เหลิมต้องไม่อิจฉา

ท่านพุทธทาสสอนว่า

อย่ายึดตัวกูของกู

อย่างนี้อภิธรรมช่วยไม่ได้

วิชชาวิปัสสนาของแนบก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้เพราะฌานเป็นแค่นั่งหลับตาเฉยยๆ55555555

ต้องใช้หลักโพธิปักขิยยะธรรมของท่านพุทธทาสเท่านั้นจึงช่วยได้

ย้ำ

ต้องใช้หลักโพธิปักขิยยะธรรมของท่านพุทธทาสเท่านั้นจึงช่วยได้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:

ดูแล้วคล้ายกับเหตุการณ์ที่ผมประสบ แต่ไม่สั่นแรงขนาดนี้

ทำไมสมัยนี้ สำนักสมาธิแปลก ๆ มีมากขึ้นก็ไม่รู้


เรื่องเหล่านี้จะต้องรู้เข้าใจเข้าถึงอย่างถูกทาง

สั่นๆอย่างตัวอย่างนี้ สั่นเพราะถูกชี้นำจากผู้สอน ถูกผู้สอนจูงใจให้สั่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y5079944/Y5079944.html

อภิธรรม คืออะไร? โดยพุทธทาสภิกขุ
ท่านพุทธทาสเทศน์ไว้เมื่อ เสาร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๑๔ (เชื่อว่าบางคนในที่นี้ ยังไม่เกิด ก็น่าจะมีอยู่)แล้วตีพิมพ์ใน ธรรมโฆษณ์ ของพุทธทาส ชื่อ สันทัสเสตัพพะ แถบแดงหมายเลข ๑๑
ขอให้ ยุวพุทธหาอ่านเองนะครับ เพื่อ พิจารณาว่า ตามสติในสมาธิปัญญาสัมปชัญญะ ของผู้ที่ประกาศตนเป็นทาสของพระพุทธเจ้ารูปนี้ กล่าวถึง อภิธรรม คืออะไร?

เล่าให้ฟังพอหอมปากหอมคอ เท่าที่จำได้..นักอภิธรรม สำนักวัดหนึ่งแถวๆ สะพานดำ วัดแถวๆ ท่านพระจันทร์ สำนักบ้านนั้น นี้ "เต้นกันใหญ่" ฯลฯ แต่แล้ว ท่านพุทธทาสก็ยังปรกติอยู่ได้ ..พอสวนโมกข์ครบ ๕๐ ปี ท่านพุทธทาสก็ แสดงธรรมวันพิเศษ ตอบปัญหา ที่ท่านถูกสาดโคลน ฯลฯ

กระทู้นี้ จะเสนอปัญหาที่ท่านตอบเกี่ยวกับอภิธรรม นิพพาน เดีียรถีย์
เพื่อประดับสติปัญญา แบบรู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม และเพื่อ ไม่เพลินหลงกระแส
ท่านใดสนใจ เชิญติดตาม ครับ
เรื่องที่ ๑ คือเรื่อง

ปัญหาที่ ๕ อธิบายตื่นๆ เป็นเดียรถีย์

ถาม เขากล่าวหาว่าท่านอาจารย์ว่า อธิบายอย่างตื้นๆ ไม่เป็นพุทธศาสนา แต่เป็นของเดียร์ถีร์ เช่นอธิบายว่านรกเป็นความทุกข์ ทางตา หู จมูกลิ้น กาย ใจ สวรรค์เป็นความสุข ทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ

ตอบ ใจความของคำถามหรือข้อสงสัยนั้นเขาว่า อธิบายนก -สวรรค์ทางอายตนะ
นั้นเป็นของตื้นๆ ไม่เป็นพุทธศาสนา แต่เป็นของเดียรถีร์ อย่างนี้คนนั้นมันโง่
เขาไม่ได้ระบุลงไปว่า "เดียรถีย์อื่น"
คำว่าเดียรถีร์นั้น แปลว่า เจ้าลัทธิ ลัทธิไหนก็ได้ แม้นพุทธศาสนาก้เป็นเดียรถีร์หนึ่ง ...ในพระบาลีไตรปิฎก ไปดูเถอะ ทุกแห่ง จะพบว่า อัญยเดียรถีร์ คือ เดียรถีร์อื่น อื่น นั้นคือ นอกจากพุทธศาสนา ทีนี้คนเขาไม่รู้ จึงใช้คำพูดไม่เป็น ใช้ว่าเป็นของเดียรถีร์ เขาไม่รู้ว่า เดียรถีร์ นั้นแปลว่า ลัทธิ เท่านั้นแหละ ต้องเป็นเจ้าลัทธิด้วย จึงจะเรียกว่า เดียรถีร์ ถ้าเป็นลูกน้องก้เรียกว่า สาวกเดียรถีร์....

คำว่าเดียรถีร์ ถ้าเป็นบาลี มันก็เป็น ติตถิยะ คำนี้มาจากคำว่า ติตถะ ที่แปลว่า ท่าจอดเรือ ธรรมดาว่า ท่าจอดเรือนั้นมันหมายความว่ามีเรือไปจอดมาก ...

ติตถิยะ นี้ แปลว่า เสมือนดังท่าจอดเรือ คำว่าเดียรถีร์ คำเดียวกันนั้น ก็แปลว่า เสมือนท่าจอดเรือ ....แต่ท่าจอดเรืออื่นนั่นนะ คือมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ต้องเรียกให้ถูกต้องตามพระบาลีว่า เดียรถีร์อื่น...

คำว่าเดียรถีร์เฉยๆ หมายกลางๆ เดียรถีร์นี้ ก็คือพระพุทธเจ้า เดียรถีร์อื่น ก็คือมิจฉาทิฏฐิทั้งหลายทั้งปวง อาตมาเป็นสาวกของเดียรถีร์นี้คือพระพุทธเจ้าขอยืนยันอย่างนี้เสมอไป..

หมายเหตุ
ใครจะแสดงความคิดเห็นอะไร? อย่าได้เสนอแบบ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ นะครับ แปลว่า ถ้าไม่เห็นด้วย ก็แสดงความเห็นว่าไม่เห็นด้วยเพราะ ฯลฯ ไม่ใช่..จาบจ้วง..สาวกของเดียรถีร์นี้คือพระพุทธเจ้าขอยืนยันอย่างนี้เสมอไป..

จากคุณ : F=9b - [ 25 ม.ค. 50 21:54:47 ]



ขอโทษครับ ที่ทำให้รอนาน มีเหตุจำเป็นจริงๆ ครับ

เรื่องแรก เรื่องเดียรถีร์ ..พอไหวไหมครับ
เรื่องที่สองคือ

ปัญหาที่ ๗ โลกียธรรมไม่ใช่พุทธศาสน์

ถาม เขากล่าวหาท่านอาจารย์ว่า ไปกล่าวเรื่องโลกียธรรมไม่ใช่คำสอนของพระพุทะเจ้า นี่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรครัย?

ตอบ (ย่นความนะครับ)
...ข้อนี้ต้องอ้างหลักฐานประจักา์ยานที่มีอยู่ทั่วๆ ไปที่ได้พิมพ์เป็นเล่มหนังสือหลายร้อยเล่มแล้ว ไปเปิดด๔เถอะว่าได้พูดอย่างนี้ที่ไหน

เรื่องโลกียธรรมนั้น ถ้ามีแง่พูดก็พูดว่ามันเป็นของคนด้อยปัญญาก่อนพุทธกาล พูดกันอยู่ก่อนพุทธกาล....ทีนี้พอพระพุทธเจ้าท่านบังเกิดขึ้น ท่านจะทำอย่างไรเล่า ในเมื่อเขาเชื่อกันอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านก็ต้องพูดให้ดีที่สุด ที่จะให้ได้ประโยชน์แก่คนเหล่านั้น

จะยกตัวอย่างให้ฟัง พอพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมา คนเขาเชื่อเรื่องนรก สวรรค์อย่างนั้นอยู่แล้ว เชื่อตายตัวเด็ดขาดอย่างนั้นอยู่แล้วตามแบบโลกียธรรมนั่นแหละ ท่านจะทำอย่างไร ท่านจะไปยกเลิกหมดนั้น มันจะได้หรือ? มันก้ไปหาเรื่องทะเลาะกัน ท่านก็มีวิธีที่ฉลาดกว่า คือผสมรอยเข้าไปเลยว่า เมื่อแกต้องการสวรรค์อย่างนั้น แกต้องทำอย่างนี้ๆ เมื่อแกไม่ต้องการจะตกนรกอย่างนั้น แกต้องทำอย่างนี้ๆ
ที่สำคัญที่สุดก็คือ เรื่อง ตัวตน หรือไม่ใช่ตัวตน ...


หมายเหตุ
เรื่องนรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า ...พอจับความได้นะครับว่า ทำไม พุทธบริษัทบางคณะ จึงเน้นย้ำพร่ำสอนกันอย่าง ฯลฯ

ใครจะแสดงความคิดเห็นอะไร? อย่าได้เสนอแบบ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ นะครับ แปลว่า ถ้าไม่เห็นด้วย ก็แสดงความเห็นว่าไม่เห็นด้วยเพราะ ฯลฯ ไม่ใช่..จาบจ้วง..สาวกของเดียรถีร์นี้คือพระพุทธเจ้าขอยืนยันอย่างนี้เสมอไป..

จากคุณ : F=9b - [ 25 ม.ค. 50 22:09:43 ]



จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร ของท่านพุทธทาส หน้า ๑๕

- " ฉะนั้น เราจึงถือว่าอภิธรรมอภิวินัยนี้ เป็นส่วนเกินแม้ไม่รู้ พูดไม่ได้ ก็ยังบรรลุมรรคผลนิพพานได้ถึงพระอรหันต์ นี่จึงถือว่าเป็นส่วนเกิน ไม่จำเป็นแก่ผู้ที่จะปฏิบัติเพื่อดับทุกข์โดยตรง
- หน้า ๒๐ " เนื้อหาของเรื่องอภิธรรมนั้นมันมีแต่ส่วนที่สูงทั้งนั้น ส่วนที่สูงส่วนที่ยาก ส่วนที่ประกอบไปด้วย Logic อย่างสูง ซึ่งคนธรรมดาพูดไม่ได้ พูดไม่เป็น มันจึงเป็นเรื่องของนักปราชญ์ ไม่ใช่เรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของคนฉลาดและมีเวลาเหลือ แม้จะเป็นเรื่องของนักปราชญ์สมัครเล่นก็ยังดี

------ " ทีนี้เรามาเปรียบเทียบกันอย่างนี้ ให้โกยอภิธรรมทิ้งให้หมด อภิธรรมที่รู้กันอยู่นั่นแหละ อภิธรรมปิฏก อภิธัมมัตถสังคหะ อภิธรรมอะไรก็ตามที่ระบุไปที่อภิธรรมเฟ้อนี้โกยทิ้งไปเสียให้หมด เราก็ไม่ขาดอะไร เพราะเรามีสุตตันตะเหลือไว้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อพระนิพพานได้โดยเร็ว ไม่ลังเลไม่เฉื่อยชาเสียอีก อ้าว ทีนี้กลับกันตรงกันข้าม ลองโกยสุตตันตปิฏกทิ้งให้หมดเหลือแต่อภิธรรมปิฏกแล้ว เจ๊งเลย ขอใช้คำหยาบ ๆ อย่างนี้ มนุษย์จะเจ๊ง โลกนี้จะเจ๊ง ถ้าเอาสุตตันตปิฏกทั้งหมดไปทิ้ง แล้วเหลือแต่อภิธรรมปิฏก นี้มนุษย์จะเจ๊ง จะเดินไม่ถูกไปตามทางอัฏฐังคิกมรรคไปสู่นิพพานได้ แต่ถ้าเอาอภิธรรมปิฏกโกยทิ้งไปทั้งกระบิเลย เหลือแต่สุตตันตปิฏก เราก็ยังเดินไปสู่นิพพานได้ แล้วจะง่ายเข้า เพราะไม่มัวไปพะว้าพะวงกับอภิธรรมปิฏกนั่นเอง นี่พูดอย่างนี้ไม่กลัวโกรธแล้วเห็นไหม ไม่ใช่พูดเพราะเกลียดหรือเพราะโกรธหรือเพราะกระทบกระเทียบกระแนะกระแหน พูดเพื่อว่าพุทธบริษัทไทยในยุคปรมาณูนี้ ขอให้มีอภิธรรมชนิดปรมาณูที่มันเจาะแทงกิเลสได้จริง
" (หน้า ๑๐๒)

จากหนังสือ "อภิธรรมคืออะไร" หน้า ๑๐๕
ในยุคหนึ่ง สมัยหนึ่งนี้ อภิธรรมปิฏกนี้เป็นกัญชา ติดกันจนตาปรือ คุยเรื่องอื่นไม่เป็น คุยแต่เรื่องกัญชานี้ทั้งนั้น แต่นั่นมันพ้นสมัยแล้ว เดี๋ยวนี้มันเป็นอภิธรรมปรมาณู ไม่ใช่อภิธรรมกัญชา ; เลิกอภิธรรมกัญชาเสียบ้าง. อภิธรรมนี้จัดไว้เป็นอุตริมนุสสธรรม คือเกินหรือยิ่งเหมือนกัน ; แต่ว่ามันเกินหรือยิ่งในฝ่ายปริยัติ ไม่ได้เกินหรือยิ่งในฝ่ายปฏิบัติ. อภิธรรมเป็นของยิ่งของเกินเป็นอุตริมนุสสธรรมสูงสุด แต่มันเป็นไปในทางฝ่ายปริยัติไม่ใช่ฝ่ายปฏิบัติ

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 26 ม.ค. 50 04:58:49 ]

จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร ของท่านพุทธทาส หน้า ๗๕

ปาฏิหาริย์เกี่ยวกับอภิธรรมปิฏกที่สำคัญก็คือเรื่องว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วแสดงอภิธรรมที่นั่น โปรดเทวดาที่เคยเป็นพระมารดาของท่าน นี่คือพระมหาปาฏิหาริย์ แล้วก็มีปาฏิหาริย์ที่เนื่องกัน เช่นต้องแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อน แล้วขึ้นไปอย่างไร แล้วลงมาอย่างไร แต่เรื่องสำคัญมันว่าขึ้นไปบนเทวโลกแสดงอภิธรรม ซึ่งชาวบ้านหรือนักปราชญ์ในเมืองมนุษย์ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไปแสดงแก่เทวดาให้รู้เรื่องได้ เทวดาซึ่งเอาแต่เล่นแต่กินแต่สบายนั้นน่ะ

เรื่องนี้ขอให้ทนฟังอาตมาเล่านิดหน่อย เรื่องว่า พระพุทธเจ้าขึ้นไปบนเทวโลกนั้นนะ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีในพุทธศาสนาของเรา เพราะว่าในศาสนาอื่นๆหรือแม้ว่าไม่เกี่ยวกับศาสนาเป็นลัทธิอื่นนั้นเขาจะมีว่าศาสดาของเขา หรือบุคคลสำคัญของเขาต้องเคยขึ้นไปบนเทวโลกทั้งนั้น แล้วในฝ่ายพุทธศาสนาถ้าพูดว่าเราไม่มีมันก็แย่ เพราะฉะนั้นมันต้องมีกับเขาบ้างให้จนได้

ทีนี้มันจะมีได้โดยฝีมือของใคร นี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องมี เพื่อสร้างสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเราจะต้องพูดว่า พระพุทธเจ้าท่านมาเหยียบรอยพระบาทไว้ที่สระบุรี นั้น ถ้าไม่พูดว่าพระพุทธเจ้ามาเหยียบไว้แล้ว ไม่มีใครสนใจหรอก ทีนี้เราจะต้องมีอะไรที่ทำให้สนใจให้เป็นสถาบันเสียก่อน พอมันเป็นสถาบันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชนแล้ว มันใช้ได้แล้ว มันจะจริงหรือไม่จริงก็ช่างมันเถอะ เพราะเขาต้องการสถาบันอันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชน ที่ประเทศอินเดียครั้งกระโน้นก็เหมือนกัน ต้องการสถาบันอันนี้ให้เชื่อว่าพระพุทธเจ้าของเราเก่งไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง

ทุกคนจะต้องระลึกถึงข้อที่ว่า เราสวดกันอยู่ทุกวันว่า “ สัตถา เทวะมะนุสสานัง” ถ้าเรื่องมันไม่จริงเราก็โกหกทุกวัน เราพูดว่า “ สัตถา เทวะมะนุสสานัง”, “อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง” ท่านเป็นครูทั้งของเทวดาและมนุษย์ ไม่ขึ้นไปบนเทวโลกแล้วจะเป็นครูของเทวดาได้อย่างไร เราก็สวดอยู่ทุกวัน ฉะนั้นเรื่องมันต้องเป็นไปได้ ต้องเข้ารูปกันได้ ฉะนั้นมันก็เป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในสมัยนั้น จะเป็นพระมหาเถระที่เป็นประธานสงฆ์ทั้งหมดในเวลานั้นก็ดี หรือจะเป็นพระมหาจักรพรรดิที่รับผิดชอบ เป็นองค์อุปถัมภ์ของพุทธศาสนาในเวลานั้นก็ดี จะต้องช่วยกันรับผิดชอบให้มันเกิดสถาบันอันนี้ให้แน่นแฟ้นลงไปในจิตใจของคนทั้งปวง ว่าพระพุทธเจ้ามีอะไรครบพร้อมหมดทุกอย่าง ทุกเรื่อง แม้กระทั่งขึ้นไปบนสวรรค์

ทีนี้ดูหินสลักที่จำลองมาไว้ที่นี่ หินสลักสมัยสาญจีนี้มัน พศ. ๔๐๐ – ๕๐๐ เท่านั้นเอง เมื่อ พศ. ๔๐๐ – ๕๐๐ มีความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าขึ้นสวรรค์เสร็จแล้ว ไปดูเถอะ เขาสลักบันไดขึ้นสวรรค์ลงสวรรค์ของพระพุทธเจ้าในหินสลักนั้น ฉะนั้นแสดงว่าประชาชนเชื่อกันหมดแล้ว โดยอำนาจของพระราชามหาจักรพรรดิให้สลักเหล่านี้ ประชาชนต้องเชื่อ ในยุคที่มันพ้องกันกันไม่เชื่ออยู่สักครึ่งอายุคน พอตายหมด ยุคหลังมันเชื่อหมดว่าพระพุทธเจ้าขึ้นไปบนดาวดึงส์ นี่ พศ. ๔- ๕๐๐ นี้เป็นอันว่าประชาชนเชื่อแน่นแฟ้นแล้ว มีหินสลักเหล่านี้เป็นพยาน แล้วหนังสือคัมภีร์เรื่องพุทธประวัตินั้นเขียนทีหลังหินสลัก คัมภีร์ลลิตวิตตะหรือว่าพระพุทธจริตะอะไรก็ตาม เรื่องพุทธประวัติมันเขียนทีหลัง เมื่อประมาณ พศ. ๙๐๐ - ๑๐๐๐ เพราะฉะนั้นหนังสือที่เขาเขียนตามหินสลัก หินสลักเขาสลักในสมัยที่ไม่ได้ใช้หนังสือ ทีนี้หินสลักนี้ พศ. ๔-๕๐๐ ถ้าก่อนหินสลัก พศ. ๔ – ๕๐๐ นี้ขึ้นไปอีก มันก็ถึงสมัยพระเจ้าอโศกเท่านั้น
หน้า ๗๙ “ พศ. ๔-๕๐๐ มีการสลักภาพหราไปหมด พศ. ๙๐๐- ๑๐๐๐ ก็เขียนหนังสือ เป็นคัมภีร์พุทธประวัติ อย่างปฐมสมโพธิ ที่เราเรียกในเมืองไทยว่า ปฐมสมโพธิ ในอินเดียก็มีคือคัมภีร์ลลิตวิตตะระ คัมภีร์พุทธจริตะ มันก็มีเรื่องดางดึงส์ ฉะนั้นเรื่องขึ้นดาวดึงส์ต้องมี จริงไม่จริงก็ตามใจ มันต้องให้ฝังอยู่ในจิตใจของประชาชน ว่าพระพุทธเจ้าเป็นสัตถาเทวมนุสสานัง สอนทั้งในเทวโลก มนุษย์โลก นี้เราเห็นใจยอมรับว่าจะต้องมี แต่ที่จะให้เราถือว่าเป็นความจริงนั้นมันไม่ได้ นี้เราไม่งมงายเราถือตามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าดีจริง คำสอนของพระพุทธเจ้าดีจริง โดยไม่ต้องขึ้นไปบนเทวโลกหรอก ยิ่งไม่ขึ้นไปบนเทวโลกเสียอีกพระพุทธเจ้าจะเก่งกว่า สำหรับเรามันเป็นอย่างนี้ แต่สำหรับประชาชนทั่วไป ซึ่งมีแต่ความเชื่อนั้น มันต้องเป็นอย่างโน้น เดี๋ยวนี้เราจะอยู่ในลักษณะที่มันถูกต้องหรือพอดี เราจึงกล้าวิจารณ์เรื่องปาฏิหาริย์ไปบนเทวโลก ว่ามันไม่สมเหตุผลอยู่ในตัวมันเอง

ในเรื่องราวนี้มันจะมองกันในแง่วิจารณ์อย่างอิสระ ข้อแรกจะมองตามความ วิตถารที่ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าขึ้นไปบนดาวดึงส์เพื่อเทศน์แก่พวกเทวดานั้น จะขอเล่าเพื่อคนบางคนที่ยังไม่รู้เรื่อง คนที่รู้เรื่องแล้วทนเอาหน่อย พระพุทธเจ้าต้องขึ้นไปจำพรรษาบนดาวดึงส์ ๓ เดือน เพื่อจะเทศน์โปรดบุคคลที่เคยเป็นพุทธมารดา เป็นประธานในเทวดาทั้งหลาย ทีนี้ท่านทำอย่างไร ท่านเป็นคนอย่างเราๆท่านต้องฉันข้าว แล้วจะอยู่บนนั้น ๓ เดือนได้อย่างไร เช้าขึ้นท่านต้องบิณฑบาต ในเมืองมนุษย์ข้อความเล่าว่า กลับไม่ลงมาสู่บ้านที่ท่านเคยอยู่คือชมพูทวีปนี้ แต่ก็ไปบิณฑบาตเสียที่อุตตรกุรุทวีปคือจะเป็นหลังภูเขาหิมาลัยไปทางประเทศรัสเซียโน้น ไปบิณฑบาตทางโน้น แล้วก็มาฉันที่ตีนเขาหิมาลัย ที่สระอโนดาดเพื่อให้พระสารีบุตรไปเฝ้าที่นั่นทุกวัน แล้วก็แสดงแก่พระสารีบุตรว่าวันนี้ได้เทศน์อะไรที่บนดาวดึงส์ พระสารีบุตรก็จำเอามา แล้วก็มาบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ รูปช่วยจำเอาไว้ ทุกวันทำอย่างนี้ แต่พระพุทธเจ้าท่านต้องลงมาบิณฑบาตในเมืองมนุษย์ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในเมืองมนุษย์ เพราะมันทำบนเทวโลกไม่ได้ ทำอย่างนี้จนครบ ๓ เดือน หรือพรรษาหนึ่ง

ทีนี้ถามว่า เมื่อท่านลงมาบิณฑบาตและฉันอาหารนี้พวกเทวดาไม่คอยแย่หรือ ? ก็มีเรื่องว่าท่านเนรมิตพระพุทธเจ้าอีกองค์หนึ่ง ให้แสดงธรรมแทนอยู่เหมือนที่ท่านแสดง พวกเทวดามันก็ไม่รู้ -- มันโง่ ทีนี้ ๓ เดือนในประเทศไทย ๑ พรรษา ๓ เดือนในประเทศไทย มันเท่ากับ ๒- ๓ ชั่วโมงในเทวโลก มันก็ยิ่งไม่รู้ซิ คุณเคยรู้เรื่องเปรียบเทียบเวลาเกี่ยวกับอย่างนี้หรือเปล่า : ๑ วัน ในเทวโลกเท่ากับกี่ร้อยปีในเมืองมนุษย์ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ๓ เดือน พรรษาหนึ่งอย่างมนุษย์นี้เท่ากับ ๒-๓ ชม. ในเมืองเทวดา แล้วเวลาระหว่างนั้นพระพุทธเจ้าต้องลงมาบิณฑบาตที่นี่ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะที่นี่ตั้ง ๙๐ ครั้ง ๒-๓ ชม. ในเมืองเทวดานั่น เอาละเป็นอันว่าท่านทำได้อย่างนั้น นี้เราก็สงสัยว่าทำไมต้องไปบิณฑบาตฝ่ายอุตตกุรุซ่อนตัวอย่างนี้ทำไม มาบิณฑบาตกับพวกเราตามเคยไม่ได้หรือ นี้มันส่อพิรุธอย่างนี้ แล้วเมื่อพระพุทธเจ้าลงมาบิณฑบาตฉันอยู่ทางนี้ พระพุทธนิมิตทางโน้นพูดว่าอะไร รู้ได้อย่างไร หรือท่านยังบันดาลให้ท่านพูดอยู่ แล้วท่านฉันข้าวไปพลางอย่างนั้นหรือ มันเป็นเรื่องที่ชวนให้วิจารณ์อย่างนี้เรื่อยไป

ทีนี้เรื่องทั่วไปในพระไตรปิฏกมีว่า เทวดาก็ลงมาในเมืองมนุษย์เฝ้าพระพุทธเจ้าหรืออะไรบ่อยๆ ทำไมพระพุทธเจ้าไม่เรียกเทวดาลงมาประชุมกันที่เมืองมนุษย์ล่ะ เรียกเทวดาทั้งหลายลงมาประชุมกันเสียที่เมืองมนุษย์ มันคงทำไม่ได้อีกแหละ ๒-๓ ชม. ของพวกโน้นมันเท่ากับ ๓ เดือนของพวกนี้ มันทำไม่ได้อย่างนี้
ทีนี้ถ้าว่าเราดูเรื่องที่พูด โผล่ขึ้นมาก็กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา อัพยากตาธัมมานี้ เทวดาฟังไม่รู้เรื่องแน่ โผล่ขึ้นมาถึงก็พูดอย่างนี้ เทวดาฟังไม่รู้เรื่องแน่ แล้วยิ่งแจกขันธ์แจกธาตุแจกอายตนะซับซ้อนลึกซึ้งออกไป ก็ยิ่งฟังไม่รู้เรื่อง เพราะไม่ได้พูดถึงเรื่องบุคคลอย่างบุคคลาธิษฐานที่มีความทุกข์ ต้องการจะดับทุกข์อย่างนี้ ท่านไม่เคยพูด ก็เป็นอันว่าเรื่องที่แสดงแก่พุทธมารดานั้นมันไม่อยู่ในวิสัยที่ท่านจะฟังถูก ให้คุณไปเปิดดูอย่างที่ขอร้องเมื่อตะกี้ว่าอุตส่าห์ไปซื้ออภิธรรมปิฏกมาอ่านดู คุณจะรู้สึกตัวเองว่าเทวดาฟังไม่ถูก นี่มันมีข้อที่วิจารณ์อย่างนี้

ทีนี้ดูสำนวนที่มันอยู่ในบาลีอภิธรรมปิฎกนั้น มันเป็นสำนวนอีกชนิดหนึ่งไม่เหมือนกับสำนวนในสุตตันตปิฏก แล้วมันส่อว่าเป็นสำนวนรุ่นหลัง สำนวนทีหลังซึ่งเลวลงมาและอีกทีหนึ่งก็เป็นสำนวนสอนเด็กในโรงเรียน ตามวิธีหนังสือที่ทำมันให้ชัดเจนรัดกุมตายตัว เหมือนกับหนังสือสำนวนสอนเด็กในโรงเรียนอย่างนั้น คือสำนวนที่ใช้สอนในโรงเรียน ว่าอย่างนั้นก็ได้ แม้ไม่ใช่เด็ก แม้ไม่ใช่เด็ก แต่เป็นสำนวนสอนในโรงเรียน อภิธรรมปิฏกเป็นอย่างนี้ ส่วนสุตตันตปิฏกนั้นเป็นสำนวนพูดกับชาวบ้าน พูดกับมนุษย์ตามปกติเลย แล้วแต่เรื่องอะไรมันจะเกิดขึ้น ไม่ใช่สำนวนในโรงเรียน อภิธรรมปิฏกสำนวนในโรงเรียนสอนตรรกวิทยา จิตวิทยา , ส่วนสุตตันตปิฏก นี้เป็นสำนวนพูดกันธรรมดาในเรื่องความดับทุกข์ นี้มันเป็นข้อที่ชี้ให้เห็นว่าทำไมพระอาจารย์ผู้เขียนอรรถกถาสมันตปาสาทิกานี้อาจารย์ผู้นี้เคร่งครัดอย่างยิ่ง conservative อย่างยิ่ง คือพระพุทธโฆษาจารย์ เขียนว่า อภิธรรมปิฏกนี้มันรวมอยู่ในขุททกนิกาย ลองคิดดู

ทีนี้ดูอีกแง่หนึ่งว่าสุตตันตปิฏกทุกเรื่องที่เกิดขึ้นจะระบุสถานที่ที่เกิดเรื่อง แล้วพระพุทธเจ้าตรัส แล้วตรัสแก่ใคร บอกเป็นเรื่องๆ ไปเลย ส่วนในพระอภิธรรมปิฏกไม่บอก ไม่มีบอกว่าตรัสแก่ใครที่ไหน ไม่มีบอกว่าตรัสแก่พุทธมารดาในสวรรค์ ที่ว่าตรัสแก่พุทธมารดาในสวรรค์นั้น มันคนทีหลังว่า ไม่มีอยู่ในตัวพระไตรปิฏกเอง ไม่มีอยู่ในอรรถกถาของอภิธรรมโดยตรงเอง มีแต่ในหนังสือที่คนชั้นหลังแต่ง ชั้นหลังว่า นี่พวกเรามันโง่ว่าพระพุทธเจ้าว่าหรือว่าในอภิธรรมปิฏกมันว่า มันเป็นอย่างนี้ ขออภัยพูดหยาบคายหน่อย ในอภิธรรมปิฏกมันไม่มีบอกว่าพระพุทธเจ้าตรัสที่นั้นที่นี่ มันโผล่ขึ้นมาก็เป็น กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมาเลย แล้วเป็นสำนวนสอนในโรงเรียน ไม่ใช่สำนวนพูดกับคน

ทีนี้ที่น่าคิด : สุตตันตปิฏกมีหลักฐานเรื่องที่พูด ; เรื่องคนฟังอะไรเสร็จหมด แล้วก็ไม่ขู่ใครๆว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก ในตัวสุตตันตปิฏกเองก็ไม่ได้ขู่ว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก. พระอรรถกถาจารย์ของสุตตันตปิฏกทั้งหลายก็ไม่ขู่ใครว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก แต่อภิธรรมปิฏกนี้ประหลาดมีการขู่โดยใครก็ตามใจ กระทั่งเดี๋ยวนี้ว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก ทำไมของดีวิเศษจะต้องมาขู่กันอย่างนี้ นี่ก็ช่วยเอาไปคิดดูด้วย เมื่ออภิธรรมปิฏกมีปาฏิหาริย์ถึงอย่างนี้แล้ว ว่าพระพุทธเจ้าไปเทศน์บนดาวดึงส์ก็เชื่อแล้ว ทำไมจะต้องเอามาขู่ว่า ถ้าไม่เชื่อจะต้องตกนรกอีกล่ะ มันขัดขวางกันอย่างยิ่ง

ทีนี้ที่ประหลาดต่อไปอีกก็คือว่า มันพูดแต่เรื่องตัวหนังสือขยายาความ พูดเป็นอักษรศาสตร์ การขยายความ ทางตรรกวิทยา ทางจิตวิทยา, ไม่พูดเรื่องการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เลย. เรื่องสมถะ เรื่องวิปัสสนา มีนิดเดียว หรือเรียกได้ว่าไม่มีในอภิธรรมปิฏก. ในอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉท นั้น มีอยู่สักครึ่งปริเฉทเท่านั้นที่จะพูดถึงตัวการปฏิบัติ, แล้วก็เอ่ยถึงสักแต่ว่าชื่อ แล้วก็ไม่แปลกออกไปจากสุตตันตปิฏกที่ตรงไหนเลย. แต่ไปพูดเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เรื่องเหตุ เรื่องอะไรต่าง ๆ ไม่รู้กี่ปริเฉทต่อกี่ปริเฉท มากมายหลายหมื่นหลายแสนคำพูด ; นี้มันน่าสงสัย

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 26 ม.ค. 50 05:00:49 ]


http://84000.org/tipitaka/picture/f00.html

ภาพที่ ๖๓
แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา

ภายหลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้น จนพวกเดียรถีย์ที่มาท้าแข่งพ่ายแพ้ไปแล้ว พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธดำริถึงจารีตธรรมเนียมของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนว่า เมื่อทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว เสด็จทรงจำพรรษา ณ ที่ใด ก็ทรงทราบได้ด้วยพุทธญาณว่าทรงจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ปฐมสมโพธิลำดับการเสด็จจำพรรษาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า ในพรรษาที่ ๗ (นับแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ตามนิยายท้องเรื่องทั้งจากปฐมสมโพธิ และข้อเขียนโดยนักเขียนทางศาสนาพุทธอื่นๆ ยุคหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ที่เรียกกันว่า 'อรรถกถา' กล่าวตรงกันว่า เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เพราะทรงต้องการจะแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา คือ พระนางสิริมหามายา ซึ่งเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จบังเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต

พระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่โคนต้นปาริฉัตร ต้นไม้สวรรค์ มีผู้แปลกันว่า ได้แก่ ต้นทองหลาง ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ ภายใต้ต้นไม้สวรรค์นี้มีแท่นแผ่นหิน ปูลาดด้วยผ้ากัมพลสีแดง เรียกว่า 'บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์'

พระอินทร์จอมเทพได้ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงจำพรรษาที่นี้ ก็ทรงป่าวประกาศหมู่เทพยดาในสรวงสวรรค์ให้มาร่วมชุมนุม เพื่อฟังธรรมพระพุทธเจ้า ปฐมสมโพธิว่า เสียงป่าวประกาศของพระอินทร์นั้น ดังปกแผ่ทั่วไปในสกลเทพยธานีทั้งหมื่นโยชน์ เทพเจ้าทั้งปวงได้สดับก็บังเกิดโสมนัสพิศวง ต่างองค์ร้องเรียกซึ่งกันและกันต่อๆ กันไปจนตลอดถึงหมื่นจักรวาล

แม้พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา ซึ่งทรงอยู่ในเพศเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิตก็ได้เสด็จมาฟังธรรมพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา พุทธมารดาได้สดับแล้วทรงบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด ส่วนเทพนอกนั้นอีกจำนวนมาก ได้บรรลุมรรคผลตามสมควรอุปนิสัยแห่งตน

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 26 ม.ค. 50 05:13:13 ]


ความคิดเห็นที่ 7

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... 394&Z=8445

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก


โกนาคมนพุทธวงศ์ที่ ๒๓
ว่าด้วยพระประวัติพระโกนาคมนพุทธเจ้า


พระมุนีสัมพุทธชินเจ้าทรงแผลงฤทธิ์
ต่างๆ เสด็จไปยังดาวดึงส์เทวโลก ประทับเหนือบัณฑุกัมพลศิลา-
อาสน์ ทรงจำพรรษาอยู่ ณ ดาวดึงส์นั้น ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗
คัมภีร์ ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ทวยเทพหมื่นโกฏิ แม้
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงมีการประชุมพระภิกษุขีณาสพผู้
ปราศจากมลทิน ผู้มีจิตสงบระงับ คงที่ ครั้งเดียว ในกาลนั้น
พระภิกษุขีณาสพผู้ล่วงโอฆะทั้งหลายและทำลายมัจจุราชแล้ว มา
ประชุมกันสามหมื่น สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์พระนามว่าบรรพต
ถึงพร้อมด้วยมิตรและอำมาตย์ มีพลนิกายและพาหนะมากมาย เรา
ไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้าได้ฟังธรรมอันยอดเยี่ยมแล้ว นิมนต์พระสงฆ์
พร้อมด้วยพระชินเจ้า ได้ถวายทานตามปรารถนา เราได้ถวายผ้า
ปัตตุณณะ ผ้าเมืองจีน ผ้าไหม ผ้ากัมพล และรองเท้าทอง แก่
พระศาสดาและพระสาวก แม้พระมุนีพระองค์นั้น ก็ประทับนั่ง
ท่ามกลางสงฆ์ตรัสพยากรณ์เราว่า ในภัทรกัปนี้ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธ
เจ้าในโลก .... ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉะนั้น เราได้ฟังพระพุทธพยากรณ์
แม้นั้นแล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง เราได้อธิษฐานวัตรในการ
บำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการให้ยิ่งขึ้นไป เราผู้อุดมกว่านรชน เมื่อ
แสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ จึงให้ทาน ละราชสมบัติอันใหญ่หลวง
บวชในพระสำนักพระชินเจ้า

-------------------------------------------------------
อจินไตย แปลว่า คิดเอาเองไม่ได้ , ไม่สามารถคลายข้อสงสัยได้ด้วยการคิด ท่านจึงบอกว่าไม่ควรคิดมาก ใครคิดมากอาจเป็นบ้าได้ มี ๔ อย่าง คือ
๑. ฌานวิสัย วิสัยของผู้ได้ฌาน
๒. กรรมวิสัย เรื่องของกรรมซึ่งซับซ้อน ผู้ที่ได้กรรมวิปากญาณแล้ว จึงจะสามารถแยกแยะได้ว่า ผลนี้มาจากกรรมใด
๓. พุทธวิสัย วิสัยสามารถของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลพิเศษในโลก
๔. โลกจินตา ความคิดเรื่องโลก
-----------------------------------------------

การแสดงพระอภิธรรม โปรดพระพุทธมารดา นั้นเป็น พุทธวิสัย ครับ

ท่านเจ้าของกระทู้ ไม่ควรไปคิดมากแบบท่านพุทธทาสครับ คิดยังไงก็ไม่ออกครับ
แก้ไขเมื่อ 26 ม.ค. 50 05:24:18

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 26 ม.ค. 50 05:20:54 ]

ในอดีตเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ผมเคยหลงใหลคิดเอาเองง่าย ๆ ตามประสาของผู้ที่ยังด้อยการศึกษาในพระสัทธรรม โดยหลงใหลคิดว่า ท่านผู้หนึ่ง คือท่านพุทธทาส เป็นพระสงฆ์ผู้มีความรู้ดี รู้ยิ่งกว่าท่านผู้ใดอย่างน้อยท่านคงจะได้เป็นโสดาบันบุคคล และมีความมั่นใจเช่นนี้อย่างจริงจังเสียด้วย สมัยเป็นนักศึกษาเคยร่วมกิจกรรมกับชมรมพุทธ ที่สวนโมกข์สมัยท่านมีชีวิตอยู่

แต่ครั้นมาศึกษาพระอภิธรรมเบื้องต้น จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ จึงได้มองเห็นท่านผู้ที่เราเคยยกย่องอย่างจริงจังมาแล้วในอดีตนั้นกลายเป็นเดียรถีย์ คือ ผู้ข้ามไม่ถูกท่าไป เพราะท่านคิดเอาเอง พูดเอาเอง ตัดสินตีความธรรมะเอาเองตามใจชอบ ราวกับว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒

ทั้งนี้ก็เพราะพระอภิธรรมปิฏก พระอภิธัมมัตถสังคหะ นั้น มีกฏเกณฑ์มีข้อบังคับและมีตัวเลขควบคุมเอาไว้ทั้งหมด ไม่ว่าธรรมข้อไหน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกรงว่า พระพุทธศาสนาจะล้มละลายลงไปโดยเร็ว พระองค์จึงได้ให้ตัวเลขควบคุมเอาไว้ พระองค์ท่านทราบเป็นอย่างดีว่า จะมีผู้พูดแสดงพระธรรมออกไปตามชอบใจ พระธรรมของพระองค์นั้นไม่มีผู้ใดคิดค้นขึ้นมาเองได้ มีเหตุผลข้อเท็จจริงในเรื่องของชีวิตจิตใจและความพ้นทุกข์ที่ลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจอย่างสุดที่พรรณาได้ ถ้าแสดงธรรมะเอาตามชอบใจแล้ว นอกจากจะไม่ถูกต้องสมบูรณ์ อาจผิดไปอย่างตรงกันข้ามเป็นฟ้ากับดินได้โดยง่าย ในวันข้างหน้าจากเดียรถีย์คือผู้ข้ามไม่ถูกท่า ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อผมได้ศึกษาพื้นฐานทางด้านพระอภิธรรมมีความเข้าใจบ้างเพียงเล็กน้อย หนังสือต่าง ๆ ของท่านพุทธทาสที่ผมได้รวบรวมสะสมไว้ทั้งหมดเป็นจำนวนมาก ผมไม่กล้าที่นำไปแจกเป็นธรรมทาน เกรงว่าจะเกิดความเข้าใจผิดในสภาวธรรมขึ้นได้กับเพื่อนผู้ร่วมทุกข์ทั้งหลาย แล้วความเสียหายก็จะติดตามตัวไปอีก และความเสียหายนี้ก็มิใช่เล็กน้อย ด้วยเป็นเรื่องของชีวิตจิตใจ

เพราะประมาทอะไร ก็ไม่ร้ายเท่ากับประมาทในเรื่องของชีวิตจิตใจ เรารักชีวิตของเรามากเท่าใด เราก็จะต้องเลือกหนทางเดินให้แก่ชีวิตของเราให้ดีที่สุดมากเท่านั้น

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 26 ม.ค. 50 05:25:29 ]


ความคิดเห็นที่ 9

http://www.pantip.com/cafe/religious/to ... 73698.html

ไม่น่าเลยคนสมัยนี้...เกิดเป็นผีเสื้อยังจะดีซะกว่าเกิดเป็นชาวพุทธที่คิดทำลายพระอภิธรรมอีกนะ....น่าสังเวช สมเพชยิ่งนักนี่หรือผู้ที่อ้างตนว่าจะรักษาพุทธวจนะจากพระโอษฐ์ ไม่ไหวๆ

จากคุณ : XLmen
----------------------------------------------------------

สาเหตุหนึ่งที่ท่านอาจารย์ของคุณเซนเถรวาทคือท่านพุทธทาส คิดทำลายพระอภิธรรมว่ากันว่า มีนักศึกษาพระอภิธรรม ได้สอบถามถึงองค์ธรรมต่าง ๆ ที่ท่านแสดง แต่ไม่สามารถตอบได้ และสอบถามปัญหาที่ยาก ๆ แถมขัดแย้งท่านอีก ท่านเลยฝังใจกับพระอภิธรรม แต่นั้นมาว่า ศึกษาแล้วทำให้คนมีความเห็นผิด มี ego ตัวกูของกู สูงมาก

คุณ XLmen ครับ เกิดเป็นผีเสื้อแล้วมีความตั้งใจฟังพระสวดพระอภิธรรม (เหมือนค้างคาว 500 ตัวที่เกิดมาเป็นศิษย์พระสารีบุตร) ยังดีกว่าเกิดมาคนแล้วทำลายชินจักรครับ

เสียชาติเกิดจริง ๆ (ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา)

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 26 ม.ค. 50 05:30:31 ]

ว่ากันว่า มีนักศึกษาพระอภิธรรม ได้สอบถามถึงองค์ธรรมต่าง ๆ
ที่ท่านแสดง แต่ไม่สามารถตอบได้ และสอบถามปัญหาที่ยาก ๆ
แถมขัดแย้งท่านอีก ท่านเลยฝังใจกับพระอภิธรรม แต่นั้นมาว่า
ศึกษาแล้วทำให้คนมีความเห็นผิด มี ego ตัวกูของกู สูงมาก


-----------------------------------------------


มีหลักฐานไหม ?


หรือแค่เป็นเรื่อง ที่ว่ากันว่า เท่านั้น ............ !!!!!!!!




ผมไม่ชอบเลย กับการนินทาร้าย พระที่มรณภาพไปแล้ว
ไม่ว่าจะหลวงพ่อสด หรือหลวงพ่อพุทธทาส หรือจะเป็นท่านไหนๆ
ผมไม่นิยมยินดีด้วยเลย ...........



ถ้าคิดว่าท่านอธิบายผิด คุณๆทั้งหลายก็ควรจะชี้มาให้ชัดว่าผิดอย่างไร ?
และถ้าจะยกคัมภีร์มาอ้างอิง ก็ขอให้อ้างอิงจากพระสูตรพระวินัย
ตามหลักมหาปเทศ4ด้วย อย่าไปอ้างคัมภีร์เล็กๆน้อยๆที่ไม่มีลำดับความสำคัญ


โดยส่วนตัว ผมเห็นว่า อภิธรรมปิฎกสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นพุทธพจน์หรือไม่
ก็ด้วยการเทียบกับพระวินัยและพระสูตร ถ้าสอบแล้วเข้ากันได้ลงกันได้
ก็ย่อมเชื่อได้ว่าเป็นพุทธพจน์ ถ้าลงกันไม่ได้ก็อาจเป็นสาวกพจน์ ตรงนี้ก็ตรวจสอบ
ต่อไปว่า ผิดธรรมวินัยหรือไม่ ด้วยโคตมีสูตร ถ้าเข้ากันได้ ปัญหาก็ควรจะจบ




ที่จริงมันก็ไม่ใช่กงการอะไรของผมหรอก แต่ก็ควรจะระวังนรกอย่างที่เชื่อๆ
กันเอาใว้บ้าง

อ้างกันว่า การเสด็จเทวโลกเป็นพุทธวิสัย แล้วกรณีของ
พระมาลัยเทวเถระ เป็นพุทธวิสัยด้วยหรือไม่ ??????

จะวิพากษ์วิจารณ์พระเถระผู้ใหญ่ซึ่งท่านเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็ขอเตือนว่า
ให้ระมัดระวังสำรวมเอาใว้บ้าง คุณๆทั้งหลายก็ไม่รู้ภูมิธรรมของท่านผู้นั้น
ได้แต่คาดเดาเอาจากสติปัญญาของตนเองทั้งนั้น ตรงนี้ขอให้ระมัดระวังให้มาก

มิเช่นนั้น เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า นิพานก็ไม่ได้ .......
แต่จะมีนรกเป็นของแถมติดปลายนวมไปด้วยน่ะสิ


หุหุหุ




ฤทธี

จากคุณ : Ritti Janson - [ 26 ม.ค. 50 08:05:03 ]



คุณatheist ที่มาปูเสื่อรอ คุ้มที่รอไหมครับ
กระทู้นี้ ตอนนี้ มี อภิธรรมนิยม เข้ามาแจมแล้ว
นักอภิธรรมรุ่นนี้ กระดูกคนละเบอร์กับนักอภิธรรมสมัยโน้นที่ อะไรอะไรกับท่านพุทธทาส
นักอภิธรรมบางคนถึงกับเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ โดยบังเอิญ หรือว่า เพราะวิบากแห่งกรรม ผมก็ทราบไม่ได้ เอาเป็นว่า อตัมมยตา นะครับ


ทีนี้มาดู
ปัญหาที่ ๗๔ ติเตียนเนื้องอกของพระพุทธศาสนา

ถาม เขากล่าวหาท่านอาจารย์ว่า ติเตียนอภิธรรมปิฎก (นักอภิธัมมัตถสังคหะ โดยมาก ไม่ศึกษาอภิธรรมปิฎก ก็มีอยู่มากนะครับคุณatheist ยกตัวอย่าง ในพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชนหน้า ๖๖๐ ..โดยเฉพาะเรื่องเจตสิก ๕๒ นั้น ก็คือธรรมประกอบกับจิต ๕๒ ประการนั้นเอง ในพระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๓๔ นี้จิตบางดวงมีธรรมประกอบถึง ๖๐ บางดวงก็มีไม่ถึง ควรจะได้สอบสวนเทียบเคียงดูว่า....)กลับมาที่ปัญหา

ปัญหาที่ ๗๔ ติเตียนเนื้องอกของพระพุทธศาสนา

ถาม เขากล่าวหาท่านอาจารย์ว่า ติเตียนอภิธรรมปิฎก และส่วนอื่นของพระไตรปิฎกว่าเป็นเนื้องอกออกมาภายหลัง และไม่ใช่คพตรัสของพระพุทะเจ้า นี้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรครับ?

ตอบ (ย่นความนะครับ)
เขาหาว่าติเตียนอภิธรรมปิฎก และส่วนอื่นของพระไตรปิฎก ว่าเป็นเนื้องอกเมื่อภายหลัง ข้อนี้จริงที่สุด คือว่า พระไตรปิฎกนี้มันมีส่วนที่เพิ่มเติมภายหลังอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน คนกล่าวหานี้ไม่รู้ประวัติศาสตร์ ไม่เคยเรียนประวัติศาสตร์ ว่าพระไตรปิฎกเกิดมาอย่างไร เป็นมาอย่างไร ตกในกำมือของคนบางคนแล้วมันก้มีโอกาสที่จะปรับปรุงแก้ไขอย่างไร

อาตมากล้าพูดอย่างนี้ว่า พระไตรปิฎกมีส่วนที่เติมเข้าไปใหม่ หรือว่าเปลี่ยนแปลงใหม่ ตามครั้งตามคราว ตามผู้มีอำนาจในสมัยนั้น ที่มีสิทธิ์มีอำนาจที่จะแตะต้องพระไตรปิฎก มันก็มีของที่ใหม่นั้นเจืออยู่ ปนอยู่ แต่ข้อนี้ไม่เป็นไร เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดแล้วในกาลามสูตรว่า มา ปิฎกสมฺปทาเนน -อย่ายึดถือเอาเพราะว่าเรื่องนี้มีกล่าวอยู่ใน (พระไตร)ปิฎก แม้มีกล่าวอยู่ในพระไตรปิฎก แต่ถ้ามันไม่ถูกต้องตามเหตุผลของยถาภูตสัมมัปปัญญาแล้ว ปัดทิ้งได้เลย

เมื่อพระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพานอยู่หยกๆ แล้วท่านก็เป็นห่วง ท่านตรัสมหาปเทสไว้เป็นเครื่องสอบสวนว่า ถ้ามีผู้กล่าวอย่างนี้ๆ ก้อย่าเพิ่งเชือ อย่าเพิ่งค้าน จงเอาไปทดสอบในหลักทั่วไปของวินะยและของสุตตะ... (หมายเหตุ ..อภิธรรม ๗ คัมภีร์ พระพุทธเจ้าไม่ตรัสถึง แปลว่าอะไร คิดเองนะครับ...)

ทีนี้เรามีสิทธิที่จะถือว่า พระไตรปิฎกก็มีส่วนที่เพิ่มเติม โดยเฉพาะอภิธรรมปิฎกแล้วเป็นของใหม่ เป็นของที่ร้อยกรองทีหลัง เดี๋ยวนี้พวกฝรั่งรู้กันทั่วไปหมดแล้ว ว่าข้อความในพระอภิธรรมปิฎกนั้น เป็นของเรียงใหม่ เรียบเรียงใหม่อย่างไร
ทีนี้ พวกเราก้เหมือนกัน ถ้าสนใจก็ไปเปิดพระไตรปิฎกทุกหน้าๆ จนตลอดแล้ว จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาเอง ว่านี้มันของใหม่ แล้วข้อความในพระอภิธรรมปิฎกบางเรื่องนี้ กล่าวถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียตอนใต้ เมื่อ พ.ศ. ล่วงมาแล้วตั้ง ๕-๖ ร้อยแล้วก็ยังมี อย่างนี้จะถือว่าพระพุทธเจ้าตรัสหรือมีมาแต่คร้งแรกได้อย่างไร นี่ มันมีอยู่อย่างนี้

(ยังมีต่อ)
หมายเหตุ
เรื่องอภิธรรม คืออะไร ตามสติในสมาธิปัญญาสัมปชัญญะของท่านพุทธทาสภิกขุ ...พอจับความไดเอง้นะครับ

ส่วนใครจะแสดงความคิดเห็นอะไร? อย่าได้เสนอแบบ ยืมจมูกคนอื่นหายใจ นะครับ แปลว่า ถ้าไม่เห็นด้วย ก็แสดงความเห็นว่าไม่เห็นด้วยเพราะ ฯลฯ ไม่ใช่..จาบจ้วง..สาวกของเดียรถีร์นี้คือพระพุทธเจ้ารูปนี้

ที่สำคัญ ..ท่านพุทธทาส เป็นผู้ ..เปิดพระไตรปิฎกทุกหน้าๆ จนตลอดแล้ว รูปหนึ่งไม่มีสอง ก้ว่าได้ นะครับ

จากคุณ : F=9b - [ 26 ม.ค. 50 09:35:35 ]

ปัญหาที่ ๗๔ (ต่อ) แบบย่นความนะครับ (คือลอก ตามที่ท่านกล่าว ที่ตีพิมพ์นั่นแหละ ฯ)


ในพระอภิธรรมปิฎกนี้ เป็นของงอกออกมาทีหลัง ในสุตตันตปิฎก ก็มีของงอกออกมาทีหลัง เติมเข้าไปด้วยเหมือนกัน สูตรบางสูตร ท่านกล่าวไว้ชัดมาก เขียนเรื่องทีหลังของการปรินิพพาน ก็มีอยู่อย่างนี้ ดังนั้น จึงขอยืนยันว่า ในพระอภิธรรมปิฎก หรือ บางส่วนของพระไตรปิฎกมันก็มีของเติมขึ้นในภายหลัง แต่เรื่องอย่างนี้ไม่ค่อยอยากจะพูด เพราะพูดแล้วมันทำลายกำลังใจของพวกที่ยึดมั่นถือมั่นพระปิฎก เดี๋ยวเขาก็จะพาลหาเรื่องเอาว่าพระไตรปิฎกทั้งหมเป็นของเหลวไหลไปหมด ไม่ถือแต่ว่าบางส่วน

ที่ว่าบางส่วนนั้น ก็คือว่าข้อความนั้นจะไม่ลงกันได้กับสูตร จะไม่ลงกันได้กับวินัย มันคัดค้านกันกับหลักส่วนใหญ่ ไม่เป็นไปตามหลักที่ได้วางไว้อย่างไร
เอ้า ขอให้ถือเป็นหลักอย่างนี้ ที่เกี่ยวกับพระไตรปิฎก ไม่ต้องเที่ยวติเตียนให้เสียเวลา เอ้า มีอะไร ต่อไป...




หมายเหตุ
(๑) ขอให้พิจารณา (คคห 12)...อาตมากล้าพูดอย่างนี้ว่า พระไตรปิฎกมีส่วนที่เติมเข้าไปใหม่ หรือว่าเปลี่ยนแปลงใหม่ ตามครั้งตามคราว ตามผู้มีอำนาจในสมัยนั้น ที่มีสิทธิ์มีอำนาจที่จะแตะต้องพระไตรปิฎก..ดีดี

กรณีอดีตนายกฯ หรือใครก็ตาม ที่อะไรๆ กับ พระพุทธศาสนา ไม่โดยตรงกับพระไตรปิฎกก็โดยอ้อม "ก็เนื่องกับ ...หลักส่วนใหญ่ ไม่เป็นไปตามหลักที่ได้วางไว้อย่างไร" ..โดยอ้างนั่น อ้างนี่.ฯลฯ

(๒) ขอให้ พิจารณาคำว่า ..มันคัดค้านกันกับหลักส่วนใหญ่ ไม่เป็นไปตามหลักที่ได้วางไว้อย่างไร ...ดีดี ไม่ว่า พุทธบริษััทไหนเป็นผู้กล่าวฯ

ยกตัวอย่างเช่น
..คัดค้านไม่โดยตรงก็โดยอ้อมกับพระลิขิตของพระประมุขสงฆ์ทั้ง ๒ คณะ ในกรณีเรื่องนั้น เรื่องนี้ ดังที่เป็นข่าวและตามข้อเท็จจริงฯลฯ

ไม่ได้แตกประเด็นนะครับ
ดังนั้น ถ้าใคร จะแสดงความคิดเห็น เนื่องกับ หมายเหตุข้างบนนี้ แปลว่า อะไรดี ..เช่นแปลว่า ไม่รู้ ไม่เข้าใจ อตัมมยตา เพราะ ...

จากคุณ : F=9b - [ 26 ม.ค. 50 09:58:53 ]

ว่ากันว่า มีนักศึกษาพระอภิธรรม ได้สอบถามถึงองค์ธรรมต่าง ๆ
ที่ท่านแสดง แต่ไม่สามารถตอบได้ และสอบถามปัญหาที่ยาก ๆ
แถมขัดแย้งท่านอีก ท่านเลยฝังใจกับพระอภิธรรม แต่นั้นมาว่า
ศึกษาแล้วทำให้คนมีความเห็นผิด มี ego ตัวกูของกู สูงมาก
-----------------------------------------------
มีหลักฐานไหม ?

มาดูหลักฐานกันสักหน่อย

ปัญหาที่ ๑๐ ไม่รู้จำนวนจิตของอภิธรรม

ถาม คือเกี่ยวกับโกิยธรรมและโลกุตตรธรรม ตามแบบของอภิธรรม ที่กล่าวถึงจำนวนจิต เจตสิกครับ?

ตอบ ...นี่ ค่อยยังชั่วหน่อย ปัญหามันชัดหน่อย ไม่มีความรู้ ความเข้าใจในตัวธรรมะที่กล่าวตามแบบอภิธรรม มีหลักจำนวนจิต จำนวนเจตสิก....เราก็ถือว่าอภิธรรม มิได้อยู่ในรูปของพระพุทธวจนะ เอาพระพุทะวจนะไปอธิบายเอาตามความพอใจ ตามความเห็นของตัวเอง เรียกว่าคัมภีร์พระอภิธรรม เราถือว่า คัมภีร์พระอภิธรรมชนิดนี้โดยเฉพาะ (เช่นอภิธรรมรังหนู ฯลฯ ..แล้วจะเสนอต่อไปครับว่า มีอะไรบ้างที่ ฯลฯ)
เอาไปทิ้งทะเลเสียให้หมดก็ได้ (ก็ได้นะครับฉ โลกนี้ก็ไม่ขาดอะไรไป เหลืออยู่แต่วินัยกับสุตตันตะก็พอ ฉะนั้น เราจึงอธิบายหลักความทุกข์และหลักความดับทุกข์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามหลักของปฏิจจสมุปบาท หรือ อิทัปปัจจยตา...

คัมภีร์อภิธรรมเอาเรื่องปฏิจจสมุปบาทไปอธิบายใหม่ ก็ยิ่งไม่มีความกระจ่าง และยังน้อย น้อยกว่าที่มีอธิบายอยู่แล้วในสุตตันตปิฎก...

หมายเหตุ
ท่านตอบแบบนี้ อย่ารีบสรุปว่าท่าน ท่องจำจำนวนจิตปรมัตถ์ ๘๙/ ๑๒๑ ไม่ได้ นะครับ...

จากคุณ : F=9b - [ 26 ม.ค. 50 12:21:37 ]

ปัญหาที่ ๙๓ ว่าไม่รู้เรื่องจิต

ถาม เขากล่าวหาท่านอาจารย์ว่า ไม่รู้ว่าจิตคืออะไร เกิดขึ้นอย่างไร มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิด นี้จะว่าอย่างไรครับ

ตอบ เราก็รู้ว่าจิตคืออะไร เท่าที่ควรรู้ เราไม่อาจรู้หมดไปทุกสิ่งทุกอย่าง เรารู้แต่เพียงเท่าที่เราจะบังคับจิตใจได้ ควบคุมจิตใจได้ อบรมจิตใจให้เจริญได้ เท่านี้มันก็พอแล้ว

...เพราะพระพุทธเจ้าท่านไม่ประสงค์จะสอนว่าจิตคืออะไร ท่านประสงค์จะสอนว่าดับทุกข์อย่างไร อย่างที่ท่านตรัสว่า เราพูดบัญญัติแต่เรื่องทุกข์กับความดับทุกข์เท่านั้น...

หมายเหตุ ท่านตอบแบบนี้ อย่ารีบสรุปว่าท่าน ท่องจำจำนวนจิตปรมัตถ์ ๘๙/ ๑๒๑ ไม่ได้ นะครับ...



ปัญหาที่ ๙๖ ไม่มีปัญญาพอที่จะเรียนอภิธรรม

ถาม เขากล่าวหาว่า ท่านอาจารย์ไม่รู้อภิธรรมเลย เพราะเกินปัญยาที่จะศึกษาไหว นี้จะว่าอย่างไรครับ?

ตอบ เราสนใจเรื่องอภิธรรม มาตั้งแต่ก่อนบวช คือตั้ง ๖๐-๗๐ ปีมาแล้ว
นั่นคือเราสนใจอภิธรรมมาก่อนแต่ผู้ตั้งคำถามนี้เกิด เข้าใจว่าผู้ตั้งคำถามนี้อายุยังไม่เกิน ๕๐ ปี เราสนใจอภิธรรมมาแล้วตั้งแต่ก่อนบวช คือตั้ง ๖๐ กว่าปีมาแล้ว จนรู้ว่าอภิธรรมไหนแต่งใหม่ ไหนเท่าของเดิม ฉะนั้น ไม่ตอบปัญหานี้

จากคุณ : F=9b - [ 26 ม.ค. 50 12:49:01 ]

ปัญหาที่ ๒๔ นักอภิธรรมอ้างผู้อื่น ด่าผู้อื่น

ถาม ทีนี้ผมสงสัยว่า ทำไมคนที่อ้างตนว่าเป็นนักอภิธรรม แล้วชอบไปอ้างคำของคนอื่น เพื่อด่าคนอื่นเล่าครับ?

ตอบ นั่นคุณสงสัย เป็นเรื่องของคุณ ผมไม่ต้องตอบดอก คนที่เป็นนักอภิธรรมนี้ ปรากฎว่ายังมีที่ด่าเก่ง โกรธเก่ง โกรธง่าย โกรธเร็ว หาเรื่องหาเลสได้มาก และบางทีทำอะไรรุ่นแรงเกี่ยวกับเรื่องผัวเมีย เรื่องกามารมณ์ด้วย นี่ไม่ต้องตอบ ไม่ต้องตอบเพราะมันจะเป็นเรื่องด่าคนอื่นไปอีก

จากคุณ : F=9b - [ 26 ม.ค. 50 16:25:49 ]

ปัญหาที่ ๙๖ ไม่มีปัญญาพอที่จะเรียนอภิธรรม

ถาม เขากล่าวหาว่า ท่านอาจารย์ไม่รู้อภิธรรมเลย เพราะเกินปัญยาที่จะศึกษาไหว นี้จะว่าอย่างไรครับ?

ตอบ เราสนใจเรื่องอภิธรรม มาตั้งแต่ก่อนบวช คือตั้ง ๖๐-๗๐ ปีมาแล้ว
นั่นคือเราสนใจอภิธรรมมาก่อนแต่ผู้ตั้งคำถามนี้เกิด เข้าใจว่าผู้ตั้งคำถามนี้อายุยังไม่เกิน ๕๐ ปี เราสนใจอภิธรรมมาแล้วตั้งแต่ก่อนบวช คือตั้ง ๖๐ กว่าปีมาแล้ว จนรู้ว่าอภิธรรมไหนแต่งใหม่ ไหนเท่าของเดิม ฉะนั้น ไม่ตอบปัญหานี้
---------------------------------------------------
อ้างลอยๆ ไม่ได้เสียแล้วนะครับว่า
หลักฐานที่บ่งชี้ว่าพระอภิธรรม นี้มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วมีหลักฐานปรากฎในพระไตรปิฎกดังนี้ครับ...

ท่านพุทธทาส ท่าน แยกแยอะไว้นะครับว่า..เราสนใจอภิธรรมมาแล้วตั้งแต่ก่อนบวช คือตั้ง ๖๐ กว่าปีมาแล้ว จนรู้ว่าอภิธรรมไหนแต่งใหม่ ไหนเท่าของเดิม

ดังนั้น จะอะไรๆ กับท่านพุทธทาส กรณีอภิธรรมคืออะไร ..อย่ามั่ว อย่าตีขลุม...

---------------------------------------------------

ทำไมต้องแตกประเด็นครับคุณCk (Clarke)?
อดรนทนอะไรไม่ได้หรือครับ?

พิจารณากันสักหน่อยนะครับ
คุณCk (Clarke) มีประสบการณ์ในด้าน อะไรๆ (ปริยัติ ปฏิบัติ) เทียบกับ ท่านพุทธทาสได้ไหมครับ จึงได้แสดงความคิดเห็น ดังที่เสนอว่า..ท่านพุทธทาสคิดค้นธรรมะเอาจากจินตนาการแค่นั้น ไม่มีความสามารถทางฌานและปัญญาขั้นสูงที่จะหยั่งถึงพระอภิธรรมได้ เห็นได้จากคำเทศนาต่างๆที่บันทึกไว้ จึงกล่าวว่าพระอภิธรรมไม่ใช่พระพุทธวจนะ ....

เช่น คุณCk (Clarke) เปิดพระไตรปิฎก ๔๕ เล่มเหมือน และเท่าเทียมกับท่านพุทธทาส ไหมครับ

ปิดพระไตรปิฎก ๔๕ เล่มเหมือน และเท่าเทียมกับท่านพุทธทาส ...อ้างหลักฐาน คือท่านพุทธทาสแปลพระบาลี เป็นไทยเช่น ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ อริยสัจจากพระโอษฐ์ ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ "ชนิดที่ สาวกรูปอื่นๆ ไม่ว่า ยุคไหนสมัยไหน ทำเช่นท่านพุทธทาส รวมทั้งพระอรรถกถาจารย์ที่ชื่อพระพุทธโฆษษจารย์ด้วย"

รวมความได้ว่า
ในด้านปริยัติ กำหนดที่แปลพระพุทธวจนะ พระสูตรที่ตรัสเนื่องกับธรรมะนั้นๆ ตามที่ผมอ้าง "คำว่าจากพระโอษฐ์"
คุณCk (Clarke)สามารถเท่าท่านพุทธทาสไหมครับ ..ถ้าไม่สามารถ "ทำไมคุณCk (Clarke)จึงอาจหาญกล่าวว่า ..น่าจะเข้าใจเสียทีว่า ท่านพุทธทาสคิดค้นธรรมะเอาจากจินตนาการแค่นั้น ไม่มีความสามารถทางฌานและปัญญาขั้นสูงที่จะหยั่งถึงพระอภิธรรมได้ เห็นได้จากคำเทศนาต่างๆที่บันทึกไว้ จึงกล่าวว่าพระอภิธรรมไม่ใช่พระพุทธวจนะ"

ในด้ายปฏิบัติ ....สมาธิภาวนา ก็แล้วกัน อ้าง..ตามหลักฐานที่ท่านเขียนด้วยลายมือท่านเอง (ไม่ต้องให้ใครอื่น กล่าวแทนให้ฯ)
คุณCk (Clarke) สามารถเท่าท่านพุทธทาสไหมครับ
ผมจะยกหลักฐานจากลายมือท่านเอง
เช่น.. เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๗
ท่านตั้งหัวเรื่องว่า เรื่องจุ๋มจิ๋มเกี่ยวกับสมาธิ
...หลังจากที่ได้หัดเพ่งอาโลกสัญญาพอชพนาญบ้างแล้ว ความสามารถพิเศษก็คือ ....ให้เดินไปด้วยแสงสว่างอันเกิดขึ้นจริงๆ หากเกิดการลังเลแล้ว จะเสียหมด การกะประมาณทำให้ลังเลเสมอ...

สภาวะแบบนี้ คุณCk (Clarke) มีประสบการณ์ไหมครับ

อีกตัวอย่างไหมครับ
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๗
ท่านเสนอเรื่อง สมาธินิมิตตืที่แปลกๆ ขันๆ

ทีนี้ ต้องถามคุณCk (Clarke) ว่า ใครครับคือผู้ที่คุณCk (Clarke) เห็นว่า "มีความสามารถทางฌานและปัญญาขั้นสูงที่จะหยั่งถึงพระอภิธรรมได้"

คุณCk (Clarke) ระบุนามนะครับ..พร้อมทั้ง หลักฐานด้านปริยัติ เช่น แปลพระพุทธวจนะฯลฯ + หลักฐานด้านปฏิบัติคือสมาธิ เพื่อเทียบกับท่านพุทธทาส ..."ผมกำหนดตามหลักฐาน" เท่าที่ปรากฎ ...ไม่ใช่ เชื่อว่าตามที่ คุณคุณCk (Clarke) เชื่อเอาเอง หรือ ตามที่ผมเชื่อเอาเอง ....นะครับ ระบุนาม + หลักฐาน เพื่อ ยืนยัน มติของคุณCk (Clarke)ว่า .."มีความสามารถทางฌานและปัญญาขั้นสูงที่จะหยั่งถึงพระอภิธรรมได้"

ใช้ตรรกลอยๆ ไม่ได้เสียแล้วมั๊งครับคุณCk (Clarke)

หมายเหตุ
ผมสนทนากับคุณCk (Clarke)เท่านั้น หวังว่าจะไม่มีผู้อื่นจะไม่ แจมนะครับ

เคยไปอยู่สวนโมกข์ เกือบ ๑๐ วัน ..ก็เห็นท่านพุทธทาสว่า "ก็งั้นๆ" แหละ ..มันก็เรื่องของคุณCk (Clarke) มิใช่หรือครับ เอามาอ้างอิง เสนอ เพื่อ "รองรับอะไรไม่ทราบครับ"

จากคุณ : F=9b - [ 26 ม.ค. 50 20:29:29 ]

อภิธรรมคืออะไร

ท่านพุทธทาสเสนอไว้ว่า...คำอีกคำหนึ่งที่ประหลาดคือคำว่า "มาติกา" คนโดยมากนี้เข้าใจว่า คำว่า มาติกานี้หมายถึงอภิธรรม อย่างนั้นหลับหูหลับตาเต็มที่ คำว่ามาติกาแปลว่าหัวข้อ หัวข้อของสุตตันตะ็ก็ได้ ของวินัยก้ได้ ของอะไรก็ได้ หัวข้อของสุตตันตะนั่นแหละคือมาติกา ที่เอามาทำอภิธรรม หัวข้อสำคัญของสุตตันตะ มาติกาของสุตตันตะนี้คือตัวอภิธรรม ตัวที่เอามาขยายออกเป็นอภิธรรม ...

...อภิธรรมที่ยังไม่ได้อธิบายอะไรนั้นเรียกว่า "มาติกา" อภิธรรมที่อธิบายไปมากนั้นคือ อภิธรรมปิฎก"...


เห็นหลักฐานหรือไม่ว่า ท่านพุทธทาส เสนอว่าอะไร
มีนักอภิธรรมไหน เคยชี้เช่นนี้บ้าง?

อย่าลืม ท่านพุทธทาสกล่าวว่า .....เราสนใจอภิธรรมมาแล้วตั้งแต่ก่อนบวช คือตั้ง ๖๐ กว่าปีมาแล้ว จนรู้ว่าอภิธรรมไหนแต่งใหม่ ไหนเท่าของเดิม

จากคุณ : F=9b - [ 26 ม.ค. 50 22:18:09 ]

จากหนังสือ "อภิธรรมคืออะไร" หน้า ๑๐๕ โดยท่านพุทธทาส
ในยุคหนึ่ง สมัยหนึ่งนี้ อภิธรรมปิฏกนี้เป็นกัญชา ติดกันจนตาปรือ คุยเรื่องอื่นไม่เป็น คุยแต่เรื่องกัญชานี้ทั้งนั้น แต่นั่นมันพ้นสมัยแล้ว เดี๋ยวนี้มันเป็นอภิธรรมปรมาณู ไม่ใช่อภิธรรมกัญชา ; เลิกอภิธรรมกัญชาเสียบ้าง. อภิธรรมนี้จัดไว้เป็นอุตริมนุสสธรรม คือเกินหรือยิ่งเหมือนกัน ; แต่ว่ามันเกินหรือยิ่งในฝ่ายปริยัติ ไม่ได้เกินหรือยิ่งในฝ่ายปฏิบัติ. อภิธรรมเป็นของยิ่งของเกินเป็นอุตริมนุสสธรรมสูงสุด แต่มันเป็นไปในทางฝ่ายปริยัติไม่ใช่ฝ่ายปฏิบัติ
-------------------------------------------------
ท่านพุทธทาสเทศน์ไว้เมื่อ เสาร์ที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๑๔ (เชื่อว่าบางคนในที่นี้ ยังไม่เกิด ก็น่าจะมีอยู่)แล้วตีพิมพ์ใน ธรรมโฆษณ์ ของพุทธทาส ชื่อ สันทัสเสตัพพะ แถบแดงหมายเลข ๑๑
ขอให้ ยุวพุทธหาอ่านเองนะครับ เพื่อ พิจารณาว่า ตามสติในสมาธิปัญญาสัมปชัญญะ ของผู้ที่ประกาศตนเป็นทาสของพระพุทธเจ้ารูปนี้ กล่าวถึง อภิธรรม คืออะไร?

เล่าให้ฟังพอหอมปากหอมคอ เท่าที่จำได้..นักอภิธรรม สำนักวัดหนึ่งแถวๆ สะพานดำ วัดแถวๆ ท่านพระจันทร์ สำนักบ้านนั้น นี้ "เต้นกันใหญ่" ฯลฯ แต่แล้ว ท่านพุทธทาสก็ยังปรกติอยู่ได้ ..พอสวนโมกข์ครบ ๕๐ ปี ท่านพุทธทาสก็ แสดงธรรมวันพิเศษ ตอบปัญหา ที่ท่านถูกสาดโคลน ฯลฯ
------------------------------------------------------------


เห็นความเห็นของท่านพุทธทาส ที่เปรียบพระอภิธรรมปิฏก อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นกัญชายาเสพติด

ในช่วงนั้น (2514 ) สหายที่นิยมลัทธิทางการเมืองฝ่ายซ้ายที่ไม่เอาศาสนา ต่างนำคำสอนของท่านมาเผยแพร่ เพราะเข้ากับลัทธิของตนได้ดี

สมัยนั้นผมก็ซ้ายหน่อย ๆ ชอบเข้าป่าท้ายหมู่บ้าน(หลังจากไปหาหน่อไม้) ไปเล่นกีตาร์ร้องเพลงพี่หงาคาราวาน เช่น เพลงคนกับควาย เปิบข้าว ค่ำลง จิตรภูมิศักดิ์ เซิ้งอิสาน ฯลฯ ร้องเพลงแล้วก็อยากปฏิทินครับ ( ไม่อยากปฏิวัติอะครับ)

ดีที่ไม่ถึงขั้นเข้ามาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพ

(ก็ถือว่าเป็นช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์แล้วกันครับ นำมาเล่าสู่กันฟังคลายเครียดจากกระทู้ท่านโชติ)

ไม่งั้นคงไม่ได้มาเป็นนักศึกษาพระอภิธรรม (ชั้นอนุบาล : ที่ท่านพุทธทาสเรียกว่า อภิธรรมเม็ดมะขาม เพราะสมัยก่อนใช้เม็ดมะขามนับแทนจิตประเภทต่าง ๆ 89 ดวง : หลวงพ่อบอกสมัยโบราณใช้เบี้ยหอยก็มี)

แต่้เดี๋ยวนี้พัฒนา ใช้เครื่องหมายคณิตศาสตร์ก็ได้ครับ

ท่านอาจารย์บอกว่า เครื่องหมายคณิตศาสตร์ประกาศปัญญา

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 27 ม.ค. 50 05:34:45 ]


ความคิดเห็นที่ 32

คุณโชติ.... น่าจะเข้าใจเสียทีว่า ท่านพุทธทาสคิดค้นธรรมะเอาจากจินตนาการแค่นั้น ไม่มีความสามารถทางฌานและปัญญาขั้นสูงที่จะหยั่งถึงพระอภิธรรมได้ เห็นได้จากคำเทศนาต่างๆที่บันทึกไว้ จึงกล่าวว่าพระอภิธรรมไม่ใช่พระพุทธวจนะ .... ทำไมคุณโชติยังเชื่อท่านพุทธทาสหัวปักหัวปำ คิดว่าท่านพุทธทาสคนเดียวที่เข้าใจธรรมะถูกต้อง และบรรดาคณาจารย์พระเถระต่างๆที่ผ่านมาในอดีตกว่า ๒๕๐๐ ปีนั้น ผิด กระนั้นหรือ ?? แน่ใจหรือ ??

จากคุณ : Ck (Clarke)
---------------------------------------------------

คุณ CK เข้าใจถูกแล้วครับ ท่านจินตนาการว่า ภาษาธรรมของพระพุทธเจ้าถูกบิดเบือนมาหลายพันปีแล้ว โดยเฉพาะ อรรถกถา พระโบรณาจารย์รุ่นหลัง ๆ อย่าง พระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งเชื่อว่าท่านเป็นพระอรหันต์ผู้มีปฏิสัมภิทา

แต่ท่านพุทธทาสฟันธงเลยครับ ไม่ใช่พระอรหันต์แน่นอน เพราะอธิบายภาษาธรรมผิด จะด้วยความไม่รู้ หรือ มีเจตนาร้ายต่อพระพุทธศาสนา ก็ได้ เพราะก่อนที่พระพุทธโฆษาจารย์จะมาบวช ท่านเป็นพราหมณ์มาก่อน มีเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์


จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท (ชุดลอยปทุม) หน้า ๕๙

อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร.

เอาละทีนี้จะพูดต่อไปถึงความรู้ที่มันจะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นว่า ทำไมจึงอธิบายผิด ? และ อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?
เดี๋ยวนี้ในเมืองไทยก็ดี ในประเทศพม่าก็ดี ในประเทศลังกาก็ดี สอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียวกันแทบทั้งนั้น คือสอนตามข้อความที่มีอธิบายอยู่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เรื่องมี ๓ ชาติ คร่อม ๓ ชาตินี้ พวกฝรั่งชั้นเก่งที่สุดก็ถือเอาตามนี้. อธิบายเอาตามนี้เป็นคุ้งเป็นแควไปเลย. แปลว่าทุก ๆ ประเทศที่เป็นพุทธบริษัทเขากำลังสอนปฏิจจสมุปบาทชนิดที่คร่อม ๓ ชาติ, สายเดียวคร่อม ๓ ชาติ. กันอยู่ทั้งนั้น. นี่เมื่อพูดอะไรแปลกออกไปมันก็จะต้องถูกด่าจากคนทั้งโลกก็ว่าได้. ผมกำลังพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่าไม่มีทางที่จะคร่อม ๓ ชาติ. ดังนั้นต้องติดตามว่ามันอธิบายผิดได้อย่างไร ? อธิบายผิดกันมาตั้งแต่เมื่อไร ?

อธิบายกันผิดมาตั้งแต่เมื่อไรอันนี้รู้ได้ยาก. แต่ข้อที่ว่าอธิบายผิดรู้ได้ง่าย เพราะมันผิดจากพระบาลีเดิม และเพราะผิดความมุ่งหมายของปฏิจจสมุปบาท ที่ทรงสอนเพื่อให้ทำลายอัตตา ฉะนั้นจึงถือว่าอธิบายผิด. สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวร. ท่านทรงมีความเห็นว่าเรื่องนี้อธิบายผิดกันมาตั้งพันปีแล้ว. ท่านก็ไม่ทรงศรัทธาในการที่จะอธิบายปฏิจจสมุปบาทคร่อม ๓ ชาติ. แล้วท่านก็อธิบายไปในทำนองว่ามันคร่อมอยู่เพียงชาติเดียว. แต่แล้วก็ไม่แน่พระทัยที่จะอธิบายรายละเอียดก็เลยทิ้งไว้ลุ่น ๆ . แต่ข้อที่ท่านทรงยืนยันความเข้าใจของท่านก็คือ มันคงอธิบายผิดกันมาตั้งพันปีแล้ว. ข้อนี้ผมก็เห็นด้วยพระองค์ท่าน. แต่ผมก็อาจจะเลยไปถึงเกินกว่าพันปี อธิบายกันผิดมา เกินกว่าพันปี เพราะหนังสือวิสุทธิมรรคนี้มีอายุตั้ง ๑,๕๐๐ ปีแล้ว.

ในหนังสือวิสุทธิมรรคนั้นอธิบายปฏิจจสมุปบาทเป็น ๓ ชาติทั้งนั้น คร่อม ๓ ชาติทั้งนั้น แล้วในการแต่งวิสุทธิมรรคนั้น. พระพุทธโฆษาจารย์ก็ยังเขียนไว้ว่า อธิบายตามที่เขามีกันอยู่ก่อนแล้วด้วย ประเดี๋ยวจะเอามาอ่านให้ฟังสำหรับคำพูดของพระพุทธโฆษาจารย์ เรื่องมันมีหลักฐานว่าท่านอธิบายตามที่มีอธิบายกันอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นสมัยของท่านมันก็ตั้ง ๑,๕๐๐ ปีแล้ว และถ้าต่อไปจากนั้นอีกมันก็เกือบ ๒,๐๐๐ ปี ผมมีความเห็นว่าอาจจะอธิบายผิดกันมาตั้งแต่หลังสังคายนาครั้งที่ ๓ คือ พ.ศ. ประมาณ ๓๐๐ ก็ได้. ดังนั้นก็แปลว่าผิดกันมาตั้ง ๒,๒๐๐ ปี มันจะต้องอธิบายผิดกันมาตั้ง ๒,๒๐๐ ปีมาแล้ว ไม่ใช่ ๑,๐๐๐ ปีอย่างสมเด็จพระสังฆราชเจ้าท่านว่า ประเดี๋ยวจะชี้ให้ดู.

ถ้าจะพูดว่าเมื่อไรให้แน่นอนนั้น ต้องค้นหาหลักฐานทางโบราณคดี. มันลำบากมากไปอีก. แต่เมื่อเราพูดกันอย่างนี้ที่ไม่มีทางจะผิดได้ มันก็ต้องพิจารณาถึงข้อที่ว่า ทำไมมันจึงเกิดการอธิบายแหวกแนวของพระพุทธเจ้าไปได้ ในเมื่อพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้เป็นหลัก ๆ อย่างนี้ ไม่มีทางจะคร่อม ๓ ชาติ. ทำไมมันจึงไปคร่อม ๓ ชาติ และให้มีอัตตาขึ้นมาได้.

ข้อนี้ผมตั้งข้อสันนิษฐานว่ามันมีได้โดยที่ไม่รู้. เกิดไม่รู้. เกิดเข้าใจไม่ได้ แล้วก็เดาหรือสันนิษฐานกันโดยไม่เจตนานี้อย่างหนึ่ง เพราะว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งที่สุดในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ตรัส และใคร ๆ ก็ยอมรับว่ามันเป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุด. ทีนี้พอมาถึงสักประมาณ ๓ – ๔๐๐ ปี เกิดเข้าใจไม่ได้ ก็เริ่มเกิดความคิดแตกแยก. ทีนี้ต่อมาอีกมันก็แตกแยกหนักเข้า ๆ จนกระทั่งกลายเป็นตรงกันข้ามไป. อย่างนี้เรียกว่าไม่มีใครเจตนาอธิบายให้ผิด มันเป็นเพราะความไม่รู้.

ทีนี้มาเดากันดูอีกทางหนึ่งดีกว่าว่า จะมีทางเป็นไปได้ไหมว่าอาจเกิดมีหนอนบ่อนไส้ขึ้นในพระพุทธศาสนา. มีคนขบถทรยศเป็นหนอนบ่อนไส้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา แกล้งอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นหลักของพระพุทธศาสนาให้ผิดเสีย คือให้เป็นสัสสตทิฏฐิในฮินดู หรือกลายเป็นศาสนาพราหมณ์. ปฏิจจสมุปบาทของพระพุทธเจ้าไม่มีทางที่จะมีอัตตา, ชีโว, อาตมันหรืออะไรทำนองนั้น. ไม่มีทางที่จะเป็นอย่างนั้น เพราะว่าเป็นของพุทธ. แล้วถ้ามีใครมาอธิบายปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนาให้มันเกิดคร่อม ๓ ชาติอย่างนี้มันก็เกิดเป็นอัตตาขึ้นมา เขาก็กลืนพุทธศาสนาสำเร็จ. ถ้ามีเจตนาเลวร้ายกันถึงขนาดนี้ ก็แปลว่าต้องมีคนแกล้งอธิบายขึ้นมาให้มีช่องให้เกิดอัตตาขึ้นมาในพุทธศาสนา แล้วศาสนาพราหมณ์ก็กลืนศาสนาพุทธวูบเดียวหมดโดยกระทันหัน. นี้เป็นเรื่องสันนิษฐานในแง่เลวร้ายอย่างนี้ก็มีได้


เรื่องส่วนตัวพระพุทธโฆษาจารย์

ทีนี้จะวิจารณ์เรื่องส่วนตัวของพระพุทธโฆษาจารย์กันบ้าง ไม่ใช่จ้วงจาบ ไม่ใช่นินทา ไม่ใช่ใส่ร้าย แต่เอามาเป็นเหตุผลสำหรับการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทของท่าน(บางส่วนที่คร่อมภพชาติ ซึ่งท่านพุทธทาสถือว่าผิดจากหลักบาลี ) ซึ่งมันมีแง่ให้เราตั้งข้อสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์ ท่านจบไตรเพทอย่างพราหมณ์คนหนึ่ง มีวิญญาณอย่างพราหมณ์ แล้วจึงมาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แล้วได้รับการสมมุติกันในหมู่คนบางพวกว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เมื่อ พศ. ร่วมพันปี นักโบราณคดีถือว่าท่านเกิดที่อินเดียใต้ มิใช่ชาวมคธ บางพวกดึงท่านมาเป็นมอญก็มี ไม่เหมือนในอรรถกถา ที่ถือว่าท่านเป็นชาวมัธยมประเทศ ท่านเป็นพราหมณ์โดยเลือดเนื้อมาเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วถ้าเกิดไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพุทธให้กลายเป็นพราหมณ์อย่างนี้ มันยิ่งสมเหตุสมผล คือท่านเผลอไปก็ได้ ถ้าท่านเผลอท่านก็ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นแน่นอน ข้อนี้จะว่าอย่างไรก็ต้องพูดอย่างที่เรียกว่า ขอฝากไว้ให้ท่านผู้มีสติปัญญาพิจารณาดูเถิด

ทีนี้ของประหลาดๆในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์นั้นยังมีอีกบางเรื่องดังที่ผมพูดเมื่อตะกี้นี้ เรื่องปฏิจจสมุปบาทคร่อม ๓ ชาตินี้ก็เรื่องหนึ่งแล้ว เราพูดกันเข้าใจแล้ว ทีนี้ก็เรื่องที่ท่านอธิบายอะไรๆในพระพุทธศาสนากลับกลายไปเป็นพราหมณ์อย่างนี้มันมีอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเช่นเรื่องโลก ,หรือโลกวิทู

เมื่อท่านอธิบายโลกวิทู ซึ่งเป็นพระพุทธคุณบทนี้ ท่านอธิบายโลกแบบโลกอย่างพราหมณ์ไปหมด ตามที่เขาพูดกันอยู่ ท่านไม่อธิบายโลกอย่างที่พระพุทธเจ้าอธิบายโลกอย่างพระพุทธเจ้าอธิบายนั้น ท่านอธิบายโลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ตถาคตได้บัญญัติไว้ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งที่ยังเป็น ๆ ที่มีสัญญาและใจ

ข้อนี้หมายความว่าในร่างกายที่ยาววาหนึ่งเท่านั้น มีทั้งโลก มีทั้งเหตุให้เกิดโลก มีทั้งความดับสนิทแห่งโลกและทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลก คือพรหมจรรย์ทั้งหมดมีอยู่ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง และเป็นร่างกายที่ยังเป็น ๆ อยู่ ตายแล้วไม่มี ในร่างกายที่มีชีวิตมีความรู้สึกปกตินี้ในนั้นมันมีครบ พระพุทธเจ้าท่านเป็น “โลกวิทู” เพราะท่านรู้โลกอันนี้ เพราะว่าโลกอันนี้คืออริยสัจจ์ทั้งสี่ โลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิทของโลก, ทางให้ถึงความดับสนิทของโลก มันคือเรื่องอริยสัจจ์


จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 27 ม.ค. 50 05:56:19 ]


ท่านพุทธทาสท่านไม่ได้เรียนพระอภิธรรมจึงไม่ทราบว่า พระอภิธรรมเต็มไปด้วยตัวเลข และมีองค์ปรมัตถควบคุมข้อธรรมอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะพูดในเรื่องอะไรอาจารย์ผู้บรรยายก็บรรยายพระอภิธรรม แล้วก็อธิบายพระสูตรประกอบไปด้วย ผู้บรรยายจะคิดหรือพูดเอาตามชอบใจไม่ได้เลยเป็นอันขาด เหมือนผู้พิพากษาตัดสินคดีโดยไม่มีมาตรากำหนดเอาไว้จะได้หรือ ถ้าไม่มีพระอภิธรรมซึ่งไม่มีตัวเลขควบคุมเอาไว้แล้ว ใคร ๆ ก็จะพูดและตีความพระธรรมเอาได้ตามชอบใจ แล้วพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอยู่ไปยาวนานได้อย่างไร ถ้าปล่อยให้จิตว่าง ตัวกู ของกู กระจายออกไปมากเท่าใด แล้วไม่มีผู้ใดกล้าคัดค้าน แก่นของพระพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนก็จะสึกกร่อนลงไปเรื่อย ๆ แล้วในที่สุดก็ล้มละลายลงไปได้ง่ายภายในเวลาไม่ช้า

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 27 ม.ค. 50 06:32:20 ]

จะวิพากษ์วิจารณ์พระเถระผู้ใหญ่ซึ่งท่านเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็ขอเตือนว่า
ให้ระมัดระวังสำรวมเอาใว้บ้าง คุณๆทั้งหลายก็ไม่รู้ภูมิธรรมของท่านผู้นั้น
ได้แต่คาดเดาเอาจากสติปัญญาของตนเองทั้งนั้น ตรงนี้ขอให้ระมัดระวังให้มาก

มิเช่นนั้น เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า นิพานก็ไม่ได้ .......
แต่จะมีนรกเป็นของแถมติดปลายนวมไปด้วยน่ะสิ


หุหุหุ




ฤทธี

จากคุณ : Ritti Janson
------------------------------------------------

คุณฤทธิ์ ครับ แล้วที่ท่านวิพากษ์วิจารณ์พระพุทธเจ้า อรรถกถา พระมหาเถระ อย่างพระพุทธโฆษาจารย์ ละครับ ท่านพุทธทาสนิพพานตามแบบอย่างพระอรหันต์ได้ไหมครับ ?

แต่นิพพานในความหมายของท่านเองไม่เกี่ยวนะครับ ที่แบบว่าเย็น ๆ เชื่อง ๆ ( สัตว์เดรัจฉานก็นิพพานได้)

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 27 ม.ค. 50 09:56:01 ]


แต่ท่านพุทธทาสวิจารณ์ พระพุทธโฆษาจารย์ (วิสุทธิมรรค) และ พระอนุรุทธาจารย์ (อภิธัมมัตถสังคหะ) ว่าไม่เข้าใจภาษาธรรม สอนปฏิจจสมุปบาทผิด ๆ เหมือนกันครับ

คงไม่มีใครเข้าใจผิดว่า วิสุทธิมรรคเป็นอภิธรรม หรอกครับ แต่จะเข้าใจผิดว่า ทั้งวิสุทธิมรรค และ พระอภิธรรมปิฏก พระอภิธัมมัตถสังคหะ อธิบายภาษาธรรมให้เป็นภาษาคน ทำให้คนเป็นมิจฉาทิฏฐิ ตามที่ท่านพุทธทาสพยายามจะสื่อออกมา

อนึ่ง นรกในความหมายของท่านพุทธทาสคือ อาการที่เร่าร้อนใจ ไม่เกี่ยวกับการตายเข้าโลง ผมไม่กลัวหรอกครับ เพราะตอนนี้ผมก็ปกติดี ไม่เร่าร้อนอะไร
แก้ไขเมื่อ 27 ม.ค. 50 10:54:14

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 27 ม.ค. 50 10:53:43 ]


อืม...ว่ากันไปนะ...ขอรับ


คนที่ชื่มชอบคำสอนของท่านพุทธทาส ชื่นชอบและศรัทธาไปเสียทุกเรื่อง ก็คงเหมือนกับศานุศิษย์ของสำนักอื่นๆ เมื่อชื่นชอบอาจารย์ของตนอย่างยิ่ง ย่อมมองเห็นแต่ข้อดี และก็ว่าทุกอย่างถูกต้องเหมาะสมในคำสอนของอาจารย์ทั้งสิ้น ดูไปแล้วก็เข้าหลักที่ว่า ว่าเขาว่าเรา มันก็ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเองนั่นแหละ...นะขอรับ



สำหรับกระผม เคยอ่านงานเขียนของท่านพุทธทาสมามากพอสมควร แต่ไม่ถึงกับเห็นด้วยทั้งหมด ท่านมีวิวัฒนการทางความคิดได้ดีทีเดียว แต่ไม่ถึงเนื้อปฏิบัติ บางเรื่องท่านกล่าวได้ลึกซึ้ง สมดังความเป็นปราชญ์ของท่าน เช่น เรื่องปฏิจจสมุปบาทธรรม(แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด)ท่านมองแง่เดียว แต่ก็ไม่ผิดถ้าจะมองในแง่เดียวแบบท่าน(ปัจจุบันขณะ) หรือจะเป็นเรื่องจิตว่าง เรื่องตถตา เรื่องนิพพาน ก็กล่าวไว้น่าฟัง...



มีข้อน่าคิด ตามวิธีคิดของท่านพุทธทาส ใครเชื่อคำสอนของท่าน ชนิดแฟนพันธ์แท้แล้วล่ะก็ ส่วนใหญ่(ไม่ใช่ทั้งหมด) ก็จะมีความเชื่อข้างเดียวแบบท่านคือ นรก-สวรรค์ที่เป็นภพภูมิไม่มี(หรือจะมีหรือไม่ไม่สำคัญ) ขอย้ำว่า นรก-สวรรค์ไม่ได้อยู่ใต้ดินหรือบนฟ้า แล้วเขาพระสุเมรุก็ไม่ใช่เขาหิมาลัยตามที่ท่านพุทธทาสเข้าใจ เรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เช่น ถอดกายไปภพภูมิต่างๆ ญาณวิสัยอื่นๆ ซึ่งมันอาจขัดแย้งต่อวิธีคิดแบบอนัตตาของท่าน เรื่องเวียนว่ายตายเกิดแบบคติ 5 กำเนิด 4 ที่มีแบบข้ามภพข้ามชาติก็ต้องไม่ควรเชื่อเพราะมันขัดกับความคิดแง่เดียวในเรื่องอนัตตาและปฏิจจสมุปบาทแบบของท่าน ยังมีหลายเรื่องที่ท่านพุทธทาสผู้ท่องเที่ยวไปในพระสุตันตะแล้วใช้สมองอันชาญฉลาดคิดวิเคราะห์บางเรื่องบางประเด็นมาสร้างแนวคิดแบบใหม่ให้คนยุควิทยาศาสตร์นิยมชื่นชอบ...มันก็เลยเข้ากับกระแสในยุคนั้น ที่มักมีพวกฉีกแนว ซึ่งไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกไปเสียทุกเรื่องนั่นเอง...



คนเชื่อพุทธทาสที่เป็นแบบเจ้าของกระทู้นี้ก็น่าเห็นใจเขา ถามเขาเถิด เขาไม่เชื่อว่า มีนรก-สวรรค์ในอีกภพภูมิหนึ่งแน่นอน เขาไม่เชื่ออิทธิฤทธิ์บางอย่างที่มันไปพ้องกับการมีตัวตนเช่น กายทิพย์ อย่างแน่นอน เขาไม่เชื่อว่าบุญ-บาปให้ผลได้ทั้งในชาติต่อๆ ไปแน่นอน เขาเชื่อแต่ว่า ชาตินี้ชาติเดียว บรรลุธรรมก็เอาชาตินี้ ตายไปแล้วก็ไม่ต้องไปคิดมัน(เพราะลึกๆ แล้วเขาเชื่อว่าพระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่องหลังตาย) ความเชื่อแบบนี้คล้ายๆ จะเป็นพวกอุเฉททิฏฐิ...?



อีกเรื่องการที่อ้างว่าพระพุทธเจ้าต้องอออวยไปกับความเชื่อเก่าๆ ของพราหมณ์นั้น ไม่จริง บางอย่าง เช่น นรก - สวรรค์ ของพุทธกับพราหมณ์ก็อธิบายต่างๆ เราแค่เชื่อตรงกันว่ามีนรก-สวรรค์หลังตาย แต่รายละเอีนดเหตุผลมันต่างๆ ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอย่างไรเราต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน นั่นหมายความว่า พระพุทธเจ้าพิสูจน์แล้วว่าความเชื่อเช่นนี้ มีจริง แต่จริงอย่างถูกต้องเป็นอย่างไร พระองค์ก็ใช้พระญาณตรวจสอบแล้วจึงนำมาสอนพวกเราอีกที แม้พระสาวกก็ปฏิบัติไปรู้เห็นได้ แต่ท่านที่ทำไม่ได้แล้วยังไปบิดเบือนโยนบาปว่า นรก-สวรรค์เป็นความเชื่อของพราหมณ์ของพุทธไม่มีนั้น ท่านจะไปสวรรค์หลังตายได้อย่างไร เพราะยังไงๆ ท่านก็ไม่สามารถนิพพานได้ในชาตินี้แน่นอน(เจ้าของกระทู้)



ท่านพุทธทาสไม่ใช่พระอรหันต์ ไม่ใช่แม้กระทั่งพระโสดาบัน ดังนั้นฐานะของท่านจึงเป็นปราชญ์แห่งยุค มุ่งปฏิบัติในวิถีคิดแบบอย่างท่านว่า จะพยายามทำจิตให้ว่างมากที่สุดก่อนที่จะมรณภาพ...ก็เพื่อ...เมื่อจิตว่างก่อนตายจะได้ไปนิพพานกันเลย นิพพานมันชาตินี้เดี๋ยวนี้ ก่อนตายนี่แหละ หลักการดี แต่ปฏิบัติการไม่ถึงที่นั่นเอง ใครจะใช้วิธีนี้ถ้าท่านไม่ปฏิเสธ นรก-สวรรค์ ภพภูมิต่างๆ ในโลกของโอปปาติกะ อย่างน้อยท่านทำจิตว่างก่อนตาย ใจโล่งโปร่งสบายไปสวรรค์ได้แน่นอน แต่ถ้ามีความคิดสองจิตสองใจว่า นรก-สวรรค์ไม่น่าจะมี พอดับสิ้นชีวิตด้วยจิตว่าง แต่สุดท้ายมันจะไม่ว่าง กรรมนิมิตมันจะปรากฏทันที เพราะมีมิจฉาทิฏฐิว่าภพเบื้องหน้าแต่ตายไม่น่าจะมี อันนี้ทุคคติภูมิเป็นที่ไปแน่นอน...



ขอออกนอกประเด็น นะ...ขอรับ เพราะเรื่องพระอภิธรรมไม่ใช่ประเด็นที่น่าจะเอามานั่งทะเลาะกัน เราต้องเข้าใจด้วยว่า ปัญหาเหล่านี้มีการทะเลาะทุ่มเถียงกันมาตั้งแต่หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไม่กี่ร้อยปีมาแล้ว อันเนื่องมาจากสาวกผู้อ้างว่าจะรักษาพระสัทธรรมทั้งหลาย เอาหัวคิดลูบคลำพระญาณตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แล้วเข้าใจไปตามทิฏฐิของตน จนเกิดแตกแยกความคิด ทิฏฐิ แล้วแยกนิกายกันไปเลยก็มี ปัญหาเหล่านี้ อันได้แก่ เรื่อง นิพพาน เรื่องโลกหลังความตาย เรื่องนรก-สวรรค์ และรวมถึงเรื่องพระอภิธรรมด้วย ไม่ใช่เรื่องราวที่เราจะมานั่งต่อความยาวสาวความยืดในปัญหาที่คนรุ่นก่อนๆ หลายพันปีเขาก็เอามาตั้งประเด็นทะเลาะกันมาแล้ว ด้วยเหตุแห่งสมองมันมีไว้ให้คิด พอคิดมากเข้าๆ มันก็เลอะ...

จากคุณ : ปราชญ์ขยะ - [ 27 ม.ค. 50 11:20:45 ]



สาธุครับคุณ ปราชญ์ ฯ


พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์

543 อนาคตของคนจิตเศร้าหมองและผ่องใส
http://84000.org/true/543.html

----------------------------------------------------------------
021 มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/021.html
-------------------------------------------------------
073 คนเกิดเป็นสัตว์ได้
http://www.84000.org/true/073.html
------------------------------------------------------
074 คนพาลเกิดเป็นมนุษย์ได้ยาก
http://www.84000.org/true/074.html
------------------------------------------------------
072 นรกมีจริงหรือ
http://84000.org/true/072.html
---------------------------------------------------
495 ตรัสว่าคนตายแล้วเกิดจริง
http://www.84000.org/true/495.html
----------------------------------------------------
526 พระพุทธองค์ทรงรับรองการตายแล้วเกิด
http://www.84000.org/true/526.html
-----------------------------------------------------
061 เหตุให้เชื่อชาติหน้า
http://www.84000.org/true/061.html
--------------------------------------------------------
037 โลกหน้ามีจริงหรือไม่
http://www.84000.org/true/037.html
-----------------------------------------------------------
166 เหตุให้เกิดในภพ
http://www.84000.org/true/166.html
------------------------------------------------------------
046 พุทธทำนาย
http://www.84000.org/true/046.html
-------------------------------------------------------------

แต่ท่านพุทธทาสก็เลี่ยงพระบาลีว่า พระพุทธเจ้าคงจะเอออวยกับศาสนาพราหมณ์ในสมัยนั้น ในเรื่องหลักกรรม การเวียนว่ายตายเกิด นรก สวรรค์ เพราะพิสูจน์ให้คนโง่เห็นไม่ได้

ท่านพุทธทาสพยายามชี้ว่า พระพุทธองค์ตรัส ๒ ภาษา คือ ภาษาธรรม กับ ภาษาคน


http://www.pantip.com/~buddhadasa/dhama ... ada83.html
เริ่มข้อความอ้างอิง “ทีนี้ อาตมา อยากจะชี้แจงต่อ ถึงข้อที่ว่า ทำไม คำว่า เทวดา หรือ คำว่า สวรรค์นี้ มามีอยู่ในพระพุทธภาษิต และอยู่ในพระไตรปิฎก โดยตรง. ทั้งนี้ ก็เพราะว่า ในประเทศอินเดีย สมัยนั้น มีความเชื่อเรื่องเทวดา เรื่อง นรก เรื่องสวรรค์ นี้อยู่โดยสมบูรณ์แล้ว มีรายละเอียดชัดเจน เหมือนที่กล่าวนี้ ทุกอย่างมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนพระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้น พอพระพุทธเจ้า มีขึ้นในโลก เรื่องเหล่านี้ มันมีอยู่แล้ว จะไปเสียเวลาหักล้าง ก็ไม่ไหว พิสูจน์ให้คนโง่ เห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า ท่านจึงพลอยตรัส เอออวย ไปตามคำที่พูดๆ กันอยู่ แต่แล้ว ก็ทรงแสดง สิ่งที่ดีกว่า ให้เขาเลิกละ ความสนใจ หรือ ติดแน่น ในสิ่งนั้นเสีย ให้เลิกละ ความติดแน่น ในนรก ในสวรรค์ ในเทวโลก พรหมโลก เหล่านั้นเสีย

จากคุณ : เฉลิมศักดิ์1 - [ 27 ม.ค. 50 12:53:31 ]

หลักฐานใน มหาปรินิพพานสูตร พระพุทธเจ้าทรงไม่ตรัส คำว่า อภิธรรม ตรัสแต่ ธรรมวินัย ...เป็นหลักฐานจากพระโอษฐ์ไหม?

ถาม ว่า ..หลักฐานใน มหาปรินิพพานสูตร พระพุทธเจ้าทรงไม่ตรัส คำว่า อภิธรรม ตรัสแต่ ธรรมวินัย ...เป็นหลักฐานจากพระโอษฐ์ไหม?


ตอบ... ว่า "เป็น หรือ ไม่เป็น" นะครับ
(ถ้าตอบไม่ตรงคำถาม แปลว่า อะไร?)

อภิธรรม คืออะไรก็ตาาม = ไม่มีเครดิต หรือ หาเครดิทไม่ได้
เพราะ ขนาดพระพุทธศาสดากำลังจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ..ยังตรัส เพียง "ธรรม วินัย" ไม่ ตรัส "อภิธรรม"

...ลองพิจารณา จากพระโอษฐ์ ดูซิ ว่า ตามที่ เสนอกันว่า อภิธรรม คืออย่างนั้นอย่างนี้ นั่นนะ ตามหลักฐาน ..ออกมาจากปากของใคร?

ว่ากันตามหลักฐาน ชั้นที่ ๑ คือ จากพระโอษฐ์ คือ มหาปรินิพพานสูตร
ว่ากันตามหลักฐาน ชั้นที่ ๑ คือ จากพระโอษฐ์ คือ มหาปรินิพพานสูตร
ว่ากันตามหลักฐาน ชั้นที่ ๑ คือ จากพระโอษฐ์ คือ มหาปรินิพพานสูตร

จากคุณ : F=9b - [ 27 ม.ค. 50 21:22:20 ]

**********************************
อ้างอิงจาก คคห ที่ 44
--->>> คำว่าสวรรค์อยู่ในอกนั้นเป็นคำที่ค้านได้ เพราะคนที่ชอบล่าสัตว์ (โดยทำตามกฎหมาย) แล้วเอาตัวสัตว์ก็ดี หัวสัตว์ที่ยิงได้ก็ดี มาติดไว้ชมเชยในห้องของตน ด้วยความภาคภูมิก็มีมาก เรียกว่า ทำชั่ว(กายทุจริต) แต่ใจมีความสุข คนที่สามารถโกงผู้อื่นภายในขอบเขตของกฎหมาย ก็รู้อยู่ว่าตนนั้นไม่มีทางจะตกเป็นจำเลยในคดีอาญา คนเหล่านี้ก็โกงต่อไป ได้โดยมีความสุข มนุษย์กินคนในถิ่นที่ไม่มีตำรวจ ฆ่าคนต้มซุบกิน เขาก็มีความสุข ทั้งนั้น แม้ทำชั่วก็ขึ้นสวรรค์ เพราะมีสวรรค์อยู่ในอกแล้ว(คือมีความสุข)


ในทางตกนรกก็เช่นกัน คนที่ทำดีแต่ไม่ได้ดีทันตาเห็น (เพราะยังไม่ถึงวาระที่ความดีนั้นสนองผล) ก็เกิดความทุกข์ว่าทำดีแต่ไม่ได้ผลตอบแทน กลายเป็นทำดีแล้วตกนรก(นรกในใจ)
**********************************



ผมเห็นว่า ความเข้าใจอย่างที่ได้อธิบายมาข้างต้น อาจจะยังไม่ตรงเสียทีเดียวครับกับความหมายของคำว่า “สวรรค์ในอก นรกในใจ”

ผมเข้าใจว่า ท่านสอนให้เห็นถึงตัวแท้หรือต้นตอของ ภพ หรือ ภูมิ ต่างหากครับ ว่าที่แท้อยู่ในจิตหรือมาจากจิตนี้เอง

ส่วนภพหรือภูมิ ที่เป็นสถานที่หรือเป็นดินแดน เป็นเพียงแต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการสะสมและก่อตัวของ ภพ-ภูมิในจิตก่อนครับ

สิ่งที่กล่าวถึงในอ้างอิงนั้น เป็นการยกเอาเรื่องของเวทนา มาเป็นเครื่องวัด ซึ่งก็พอจะวัดได้เลาๆ เท่านั้นครับ จะเอามาเป็นตัวชี้ขาดเสียทีเดียว ไม่ได้หรอกครับ เพราะในภพ-ภูมิที่จัดเป็นอบาย ไม่ใช่มีทุกขเวทนาอย่างเดียว แต่ก็มีสุขเวทนาอยู่ด้วย แต่โดยทั่วไปทุกขเวทนาจะมากกว่าสุขเวทนา , ในระดับมนุษย์ทั่วๆไป ถือว่าทุกขเวทนากับสุขเวทนา พอๆกัน , ในระดับเทวดา ถือว่าสุขเวทนามีมากกว่าทุกขเวทนา และในระดับพรหม มีแต่สุขเวทนาโดยไม่มีทุกขเวทนาเลย

ดังนั้น เรื่องการนำเอาเวทนามาใช้ในการวัด อาจพอวัดได้เพียงหยาบๆ เท่านั้นครับ

ผมจำได้ว่าภพ-ภูมิในจิต เกิดขึ้นได้อย่างนี้ครับ

กล่าวคือ โลภะ จะทำให้จิต เกิดเป็นภพ-ภูมิ ที่เรียกว่า เปรต
โทสะ จะทำให้จิต เกิดเป็นภพ-ภูมิ ที่เรียกว่า นรก
โมหะ จะทำให้จิต เกิดเป็นภพ-ภูมิ ที่เรียกว่า สัตว์เดรัจฉาน
ความกลัว จะทำให้จิต เกิดเป็นภพ-ภูมิ ที่เรียกว่า อสุรกาย (อสุร = ไม่กล้าหาญ)
ศีล 5 จะทำให้จิต เกิดเป็นภพ-ภูมิ ที่เรียกว่า มนุษย์
หิริ-โอตตัปปะ จะทำให้จิต เกิดเป็นภพ-ภูมิ ที่เรียกว่า เทวดา
สมาธิในระดับรูปฌาน จะทำให้จิต เกิดเป็นภพ-ภูมิ ที่เรียกว่า รูปพรหม
สมาธิในระดับอรูปฌาน จะทำให้จิต เกิดเป็นภพ-ภูมิ ที่เรียกว่า อรูปพรหม

จากคุณ : สุทธิธรรม - [ 29 ม.ค. 50 10:19:49 ]


นี่เป็นต้นฉบับเดิม

เนื้อความเดิม

ฉายซ้ำแล้วซ้ำอีก

หลายเวป

หลายๆครั้งจนน่าเบื่อหน่าย ไม่มีเรื่องใหม่ประเทืองปัญญา

จนกลายเป็นการยัดเยียดความเชือใส่สมองผู้อืน่

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
จากหนังสือ อภิธรรมคืออะไร ของท่านพุทธทาส หน้า ๗๕

ปาฏิหาริย์เกี่ยวกับอภิธรรมปิฏกที่สำคัญก็คือเรื่องว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วแสดงอภิธรรมที่นั่น โปรดเทวดาที่เคยเป็นพระมารดาของท่าน นี่คือพระมหาปาฏิหาริย์ แล้วก็มีปาฏิหาริย์ที่เนื่องกัน เช่นต้องแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อน แล้วขึ้นไปอย่างไร แล้วลงมาอย่างไร แต่เรื่องสำคัญมันว่าขึ้นไปบนเทวโลกแสดงอภิธรรม ซึ่งชาวบ้านหรือนักปราชญ์ในเมืองมนุษย์ฟังไม่รู้เรื่อง แต่ไปแสดงแก่เทวดาให้รู้เรื่องได้ เทวดาซึ่งเอาแต่เล่นแต่กินแต่สบายนั้นน่ะ
เรื่องนี้ขอให้ทนฟังอาตมาเล่านิดหน่อย เรื่องว่า พระพุทธเจ้าขึ้นไปบนเทวโลกนั้นนะ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมีในพุทธศาสนาของเรา เพราะว่าในศาสนาอื่นๆหรือแม้ว่าไม่เกี่ยวกับศาสนาเป็นลัทธิอื่นนั้นเขาจะมีว่าศาสดาของเขา หรือบุคคลสำคัญของเขาต้องเคยขึ้นไปบนเทวโลกทั้งนั้น แล้วในฝ่ายพุทธศาสนาถ้าพูดว่าเราไม่มีมันก็แย่ เพราะฉะนั้นมันต้องมีกับเขาบ้างให้จนได้

ทีนี้มันจะมีได้โดยฝีมือของใคร นี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องมี เพื่อสร้างสถาบันที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่นเราจะต้องพูดว่า พระพุทธเจ้าท่านมาเหยียบรอยพระบาทไว้ที่สระบุรี นั้น ถ้าไม่พูดว่าพระพุทธเจ้ามาเหยียบไว้แล้ว ไม่มีใครสนใจหรอก ทีนี้เราจะต้องมีอะไรที่ทำให้สนใจให้เป็นสถาบันเสียก่อน พอมันเป็นสถาบันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชนแล้ว มันใช้ได้แล้ว มันจะจริงหรือไม่จริงก็ช่างมันเถอะ เพราะเขาต้องการสถาบันอันแน่นแฟ้นในจิตใจของประชาชน ที่ประเทศอินเดียครั้งกระโน้นก็เหมือนกัน ต้องการสถาบันอันนี้ให้เชื่อว่าพระพุทธเจ้าของเราเก่งไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง

!
!
!
เดี๋ยวนี้อย่าไปเข้าใจว่า คำสอนทั้งหมดในคัมภีร์อภิธรรมนั้นมันเป็นอภิธรรมแท้ของพระพุทธเจ้า เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างใต้ดิน นี้เลิกกันเสียที ขอร้องซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าสวรรค์ข้างบน นรกข้างใต้นี้เลิกกันเสียที มันโง่เกินไป เพราะว่ามันไม่มีข้างบนข้างล่าง โลกกลมๆนี้ มันมีจุดดูดอยู่ที่ตรงกลางแล้วมันดูดเข้าหาจุดๆนี้เพราะฉะนั้นข้างนอกออกไปมันเป็นข้างบน ข้างฝ่ายนี้มันเป็นข้างล่างรอบตัว เอาส้มโอสักลูกหนึ่ง ฝังแม่เหล็กที่แรงมากๆไว้ตรงศูนย์กลางส้มโอ แล้วก็เอาตุ๊กตาที่ทำด้วยเหล็กตัวเล็กๆมากๆ มาติดไว้รอบส้มโอเลย แล้วคุณจะรู้ว่าไม่มีข้างบนข้างล่าง นี่แหละความรู้สึกว่าข้างบนข้างล่างนี้คือความหลอกลวงของ Gravity ของโลก พวกที่บินไปถึงโลกพระจันทร์เขารู้เรื่องนี้ดี แล้วเขาจะหัวเราะพวกอภิธรรมที่มัวสอนอยู่ว่าสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่าง ฉะนั้นเลิกมันได้แล้ว เรื่องสวรรค์ข้างบนนรกข้างล่างนี้ มันเป็นเรื่องที่เลิกกันได้แล้ว

คุณ mes ลองเฉลยหน่อยสิครับ ว่าปาฏิหาริย์ เหล่านี้ที่อาจจะมีการแต่งเพิ่ม เป็นฝีมือของใคร ?


เหลิมเอย

ไม่ใช่หน้าที่ผมจะเฉลย

ที่ท่านพุทธทาสกล่าวมาก็ถูกต้อง

เพียงแต่แค่เหลิมไม่ชอบ

อะไรที่เหลิมไม่ชอบเหลิมก็ว่าผิดตามสันดานเหลิมอยู่แล้ว

ไม่แปลก

ดังตัวอย่างตั้งแต่โบราณกาลที่ยกมาให้อ่านกัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/shortbook/patihan.html

ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์
เรื่องของฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ นับว่าเป็นเรื่องหนึ่ง ที่ยังมัวอยู่มาก
ในบรรดา เรื่องที่ยังมัวอยู่ หลายเรื่อง ด้วยกัน และดูเหมือน จะเป็นเพราะ
ความที่มันเป็น เรื่องมัว นี่เอง ที่เป็นเหตุ ให้มีผู้สนใจ ในเรื่องนี้ อยู่เรื่อยๆ
มาเป็นลำดับอย่างไม่ขาดสาย และมากกว่า ที่ถ้ามันจะเป็น เรื่องที่กระจ่าง
เสียว่า มันเป็นเรื่อง อะไรกันแน่

หมายความว่า ถ้าเราทราบดีว่า ฤทธิ์ คืออะไร
และเป็นเรื่อง เหมาะสำหรับใคร โดยเฉพาะแล้ว
เชื่อว่า จะทำให้มีผู้สนใจเรื่องนี้ น้อยเข้า เป็นอันมาก

ท่านผู้ที่แสดงฤทธิ์ได้ ไม่เคยปรากฏว่า ได้รับผล อัน"เด็ดขาดแท้จริง" อย่างไร
จากฤทธิ์นั้น ทั้งทางวัตถุ และความสุขในส่วนใจ

ฤทธิ์ เป็นเรื่องจริง สำหรับผู้ที่ไม่ทราบว่า ฤทธิ์ คืออะไร
และ ตนเป็นผู้ที่ ตกอยู่ใน ภูมิแห่งใจที่ต่ำ
จนผู้มีฤทธิ์ จะออกอำนาจฤทธิ์ บังคับ เมื่อไรก็ได้

แต่สำหรับผู้มีฤทธิ์ หรือ ผู้ที่รู้เรื่องฤทธิ์ดี หรือมีกำลังใจ เข็มแข็ง เท่ากับผู้มีฤทธิ์
จะเห็นว่า ฤทธิ์นั้น เป็นเพียงเรื่อง "เล่นตลก" ชนิดหนึ่ง เท่านั้น
แต่เป็นเรื่องที่ แยบคายมาก ลึกซึ้งมาก

พระพุทธองค์ ทรงสะอิดสะเอียน ในเมื่อจะต้องมีการแสดงฤทธิ์
เว้นแต่ จะเป็น การจำเป็น จริงๆ ทรงห้าม พระสาวก ไม่ให้แสดงฤทธิ์
พระองค์เอง ก็ตรัสไว้ใน เกวัฎฎสูตร๑ ว่า พระองค์เอง ก็ไม่พอพระทัย
ที่จะทรมานใคร ด้วยอิทธิปาฎิหาริย์ และ อาเทศนาปาฎิหาริย์
เพราะมันพ้องกันกับ วิชากลางบ้าน ซึ่งพวกนักเลงโต ในสมัยนั้น เล่นกันอยู่
เรียกว่า วิชาคันธารี และมนต์มณิกา

พระองค์ พอพระทัยที่สุด ที่จะใช้ อนุสาสนีปาฎิหาริย์
คือ การพูดสั่งสอนกัน ด้วยเหตุผล ที่ผู้ฟังจะตรองเห็นตามได้เอง
อันเป็น การทรมาน ที่ได้ผลเด็ดขาด ดีกว่าฤทธิ์ ซึ่งเป็นของชั่วขณะ
อันจะต้องหาวิธีทำให้ มั่นคง ด้วยการสั่งสอน ที่มีเหตุผล อีกต่อหนึ่ง ในภายหลัง

แต่ถึงแม้ว่า ฤทธิ์จะเป็น เรื่องหลอกลวงตา
อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นเรื่อง ที่น่าสนใจอยู่บ้าง
เพราะมันเป็นสิ่งที่ท่านผู้มีฤทธิ์ เคยใช้ต่อต้าน
หรือ ทำลายอุปสรรคของท่านสำเร็จมาแล้ว เป็นอันมากเหมือนกัน

เมื่อเราปวดท้อง เพราะอาหารเน่าบูดในท้อง ยาขนานแรก ที่เราต้องกิน
ก็คือ ยาร้อน เพื่อระงับความปวด ให้หายไปเสียขณะหนึ่งก่อน
แล้วจึง กินยาระบาย ถ่ายของบูดเน่าเหล่านั้นออก
อันเป็นการแก้ให้หายเด็ดขาด ในภายหลัง

ทั้งที่ ยาแก้ปวดท้อง เป็นเพียงแก้ปวดชั่วคราว ไม่ได้แก้ สมุฎฐานของโรค
มันก็เป็น ยาที่มีประโยชน์ อยู่เหมือนกัน ในเมื่อเรารู้จักใช้
เปรียบกันได้กับ เรื่องฤทธิ์ อันท่านใช้ทรมานใคร ในเบื้องต้น
แล้วทำให้มั่นคงด้วยปัญญา หรือ เหตุผลในภายหลัง ฉันใดก็ฉันนั้น

แต่ถ้าไม่มีการทำให้มั่นคงด้วยเหตุผลที่เป็นปัจจัตตะ หรือสันทิฎฐิโก ในภายหลัง
ผลที่ได้มักไม่สมใจ เช่นเดียวกับ กินเพียง ยาระงับ ความเจ็บปวด อย่างเดียว
แต่หาได้ ถ่ายโทษร้าย นั้นออกเสียไม่ มันก็กลับเจ็บอีก
หรือ กลายเป็นโทษร้ายอย่างอื่นไป
ควรใช้กำลังฤทธิ์ในเบื้องต้น ใช้ปัญญาหรือเหตุผล ในภายหลัง
ย่อมได้ผลแนบแนียนและไพศาลกว่า ที่จะได้เพียงอย่างเดียว แต่อย่างเดียว

คนบางพวก เลื่อมใสในศาสนาด้วยอำนาจปาฏิหาริย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง
จูงให้เข้า ปฏิบัติศาสนา จนได้รับ ผลของศาสนานั้นแล้ว แม้จะมารู้ภายหลังว่า
เรื่องฤทธิ์ เป็นเรื่องหลอก เขาก็ละทิ้ง เฉพาะเรื่องของฤทธิ์ แต่หาได้ ทิ้งศาสนา
หรือความสุข ที่เขาประจักษ์ กับเขาเอง ในภายหลังนั้นไม่

แต่มีปรากฏอยู่บ้างเหมือนกัน ที่คนบางคนเลื่อมใสฤทธิ์ อย่างเดียว
เข้ามาเป็นสาวกของพระพุทธองค์แล้ว หาได้ทำให้ตน เข้าถึง
หัวใจแห่งพุทธธรรมด้วยปัญญาไม่ ต้องหันหลังกลับไปสู่มิจฉาทิฎฐิตามเดิม
เช่น สุนักขัตตะลิจฉวีบุตร เป็นต้น แต่ก็มีมากหลาย ที่ถูกทรงชนะมาด้วยฤทธิ์
แล้วได้รับการอบรมสั่งสอนต่อ ได้บรรลุพระอรหัตตผลไป เช่น
ท่านพระองคุลิมาล เป็นต้น

จึงเป็นอันว่า เรื่องฤทธิ์ ก็เป็นเรื่องที่น่ารู้สนใจอยู่ไม่น้อย
แม้จะไม่เป็นการสนใจเพื่อฝึกฝนตนให้เป็นผู้มีฤทธิ์

แต่ก็เป็นการสนใจ เพื่อจะรู้สิ่งที่ควรรู้ ในฐานะที่ตน เป็นนักศึกษา
หาความแจ่มแจ้งในวิชาทั่วๆไป

ต่อไปนี้ จะได้วินิจฉัยในเรื่องฤทธิ์นี้ เป็นเพียง แนวความคิดเห็น
ที่ขยายออกมา สำหรับจะได้ช่วยกัน คิดค้นหาความจริง
ให้พบใกล้ชิดเข้าไปหาจุดของความจริง แห่งเรื่องนี้ ยิ่งขึ้นเท่านั้น

ในบาลีพระไตรปิฎก เราพบเรื่องของฤทธิ์ ชั้นที่เป็นวิชชา หรืออภิญญา หนึ่งๆ
แสดงไว้แต่ลักษณะ หรือ อาการว่า สามารถทำได้ เช่นนั้นๆ เท่านั้น หามีบทเรียน
หรือวิธีฝึก กล่าวไว้ด้วยไม่ อันท่านผู้อ่านจะอ่านพบได้จากพระบาลีมหาอัสสปุรสูตร
หรือ สามัญญผลสูตร แล้ว, ในบาลี คล้ายๆ กับ ท่านแสดงว่า
เมื่อได้พยายามฝึกจิต ของตนให้ผ่องใส จนถึงขนาดที่เหมาะสม แก่การใช้มันแล้ว
ฤทธิ์นั้นก็เป็นอันว่า อยู่ในกำมือ ต่อมาในชั้น อรรถกถา และคัมภีร์พิเศษ เช่น
คัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยเฉพาะได้อธิบายถึงวิธีฝึกฝนเพื่อการแสดงฤทธิ์ ไว้โดยตรง
และดูคล้ายกับว่า ท่านประสงค์ให้เป็น บุรพภาคของการบรรลุมรรคผล เสียทีเดียว

ข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เรื่องฤทธิ์นี้เป็นเรื่องของพุทธศาสนาโดยตรงหรือเป็นส่วนหนึ่ง
ของพุทธศาสนา ในบาลีมัชฌิมนิกาย มีพุทธภาษิตว่า
พระตถาคต สอนแต่เรื่องความทุกข์ กับ ความพ้นทุกข์ เท่านั้น ๒
ทั้งเรื่อง ของฤทธิ์ ก็ไม่เข้า หลักโคตมีสูตรแปดหลักแต่หลักใดหลักหนึ่ง
การที่เรื่องของฤทธิ์ เข้ามาเกี่ยวข้องกับ พุทธศาสนาได้ ก็เป็น การเทียบเคียง
โดยส่วนเปรียบว่า ผู้ที่ฝึกจิตของตน ให้อยู่ในอำนาจ อาจที่จะ บรรลุมรรคผล ได้
ในทันตาเห็น นี้แล้ว จิตชนิดนั้น ก็ย่อมสามารถ ที่จะ แสดงฤทธิ์ เช่นนั้นๆ ได้
ตามต้องการ เมื่อต้องการ, และ อีกประการหนึ่ง ฤทธิ์ เป็นเครื่องมือ อย่างดี ที่จะ
ทรมานบุคคล ประเภทที่ไม่ใช่นักศึกษา หรือนักเหตุผล ให้มาเข้ารีตถือศาสนาได้,
ในยุคพุทธกาล ยังเป็น ยุคแห่งจิตศาสตร์ ไม่นิยมพิสูจน์ค้นคว้า กันในทางวัตถุ
เช่น วิทยาศาสตร์แผนปัจจุบัน มหาชนหนักไปในทางนั้น บรรดาศาสดา จึงจำเป็น
ที่จะต้องมี ความรู้ ความสามารถ ในเรื่อง ฤทธิ์นี้เป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งด้วย
เราอาจกล่าวได้ว่า ฤทธิ์ เป็นของคู่กันกับ ลัทธิคำสอน มาตั้งแต่ ดึกดำบรรพ์
ก่อนพุทธกาล ซึ่งศาสดานั้น ใช้เป็นเครื่องมือ เผยแพร่ ศาสนาของตน
แม้พระพุทธองค์ ซึ่งปรากฏว่า เป็นผู้ที่ทรง เกลียดฤทธิ์ ก็ยังต้องทรงใช้บ้าง
ในบางคราวเมื่อจำเป็น ดังที่ปรากฏอยู่ในบาลี หลายแห่ง

ครั้ง ก่อนพุทธกาล นานไกล
ในยุคพระเวท พระเวทยุคแรกๆ ก็มีแต่คำสั่งสอนในการปฏิบัติและบูชาเท่านั้น

ครั้นตกมายุคหลัง เกิดพระเวทที่สี่ (อรรถวนเวท) ซึ่งเต็มไปด้วยเวทมนต์
อันเป็นไปในการให้ประหัตประหารล้างผลาญกัน หรือต่อสู้ต้านทาน
เวทมนต์ของศัตรู ขึ้นด้วยอำนาจความนิยมของมหาชน หรือ อาจกล่าวได้
อีกอย่างว่า ตามอำนาจสัญชาตญาณของปุถุชนนั่นเอง นับได้ว่ายุคนี้เป็น
มูลราก ของสิ่งที่เรียกกันว่า "ฤทธิ์" และนิยมสืบกันมา ด้วยเหตุที่ว่า
มหาชนชอบซื้อ "สินค้า" ที่เป็นไปทำนองฤทธิ์ มากกว่าเหตุผลทางปรัชญา
ถ้าศาสนาใด ด้อยในเรื่องนี้ ก็จะมีสาวกน้อยที่สุด จะได้แต่ คนฉลาดเท่านั้น
ที่จะเข้ามาเป็นสาวก ถ้าเกิดการแข่งขัน ในระหว่างศาสนา ก็เห็นจะเป็น
ฤทธิ์ อย่างเดียวเท่านั้น ที่จะนำความมีชัยมาสู่ตนได้ ในเมื่อให้
มหาชนทั้งหมด เป็นกรรมการตัดสิน คือ ให้พวกเขา หันเข้ามาเลื่อมใส

และเพราะเหตุนี้เอง ในบาลี จึงมีกล่าวประปรายถึง ฤทธิ์
ส่วนในอรรถกถา ได้กล่าวอย่าง ละเอียดพิสดาร
พระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าว วิธีฝึกฤทธิ์ ไว้ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค
ซึ่งเป็นหนังสือที่แต่งขึ้น เพื่อเอาชนะน้ำใจ ชาวเกาะลังกา
นับตั้งแต่ พระสังฆราช แห่งเกาะนั้น ลงมา อันนับว่า เป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สุด
ของท่านผู้นี้ และได้กล่าวไว้ใน อรรถกถาขุททกนิกาย ว่า พระศาสดาของเรา
ทรงแสดงฤทธิ์ หรือ ปาฎิหาริย์ แข่งกับ ศาสดานิครนถเดียรถีย์
อันเรียกว่า ยมกปาฎิหาริย์ และเล่าเรื่องพระศาสดาทรงแสดงปาฎิหาริย์ย่อยๆ
อย่างอื่นอีก เป็นอันมาก นี่ชี้ให้เห็นชัดทีเดียวว่า จะอย่างไรก็ตาม ได้มีการต่อสู้
และแข่งขัน ในระหว่างเพื่อนศาสดา ด้วยใช้ฤทธิ์เป็นเครื่องพิสูจน์
ตามความนิยมของมหาชน เป็นแน่แท้ในยุคนั้น,
แต่นักต่อสู้นั้นๆ จะเป็น องค์พระศาสดาเอง ดังที่ท่านผู้นี้กล่าว
หรือ ว่าเป็นพวกสาวกในยุคหลังๆ หรือ ยุคของท่านผู้กล่าวเอง
หรือ ราว พ.ศ. ๙๐๐ ก็อาจเป็นได้ ทั้งสองทาง

อาจมีผู้แย้งว่าถ้าเป็นยุคหลัง ทำไมเรื่องนี้จึงไปอยู่ในบาลีเดิมเล่า?
พึงเข้าใจว่า บาลีพระไตรปิฎกของเรานี้ ปรากฏว่ามีอยู่คราวหนึ่ง
ซึ่งถูกถ่ายจากภาษาสิงหลกลับสู่ภาษาบาลีแล้วเผาต้นฉบับเดิมเสีย
และผู้ที่ทำดังนี้ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็นเอกอัครแห่ง
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายนั่นเอง,

ท่านผู้นี้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด จึงนำให้นักศึกษาหลายๆ คน
เชื่อว่า ถ้าเรื่องของพราหมณ์หลายเรื่อง (เช่น เรื่องนรก สวรรค์
เรื่องพระราหู จับพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในสังยุตตนิกาย เป็นต้น)
ได้เข้ามาปนอยู่ในพระไตรปิฎก ถึงกับบรรจุเข้าในพระพุทธโอษฐ์
ก็มีนั้น ต้องเป็นฝีมือของท่านผู้นี้ หรือบุคคลประเภทเดียวกับ
ท่านผุ้นี้ แต่ที่ท่านบรรจุเข้า ก็ด้วยความหวังดี ให้คนละบาป
บำเพ็ญบุญ เพราะสมกับความเชื่อถือของคนในครั้งนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่า พระศาสดามิได้ทรงสอนเรื่องฤทธิ์ หรือ
เรื่องฤทธิ์มิได้เข้าเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลแล้ว
มันก็น่าจะได้เข้าเกี่ยวข้องในครั้งนี้ เป็นแน่.
ท่านผู้ที่ดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ได้ทำไปด้วยความหวังดี
เพื่อให้ พุทธศาสนาอันเป็นที่รักของท่าน ต้านทานอิทธิพล
ของศาสนาอื่น ซึ่งกำลังท่วมทับเข้ามานั่นเอง มิฉะนั้น น่ากลัวว่า
พุทธศาสนาจะเหลืออยู่ในโลกน้อยกว่าที่เป็นอยู่ ในบัดนี้มาก

เมื่อเหตุผลมีอยู่ดังนี้ ข้อปัญหาต่อไป จึงมีอยู่ว่าเราจะปรับปรุงความคิดเห็นและ
ความเชื่อถือในเรื่องฤทธิ์นี้อย่างไร ข้าพเจ้าเห็นว่า ฤทธิ์ เป็นเพียงเครื่องประดับ
หรือเครื่องมืออย่างหนึ่ง ซึ่งพุทธศาสนาเคยใช้ประดับ หรือใช้ต้านทานศัตรูมาแล้ว
แต่หาใช่เป็น เนื้อแท้ของพุทธวจนะ ซึ่งกล่าวเฉพาะความดับทุกข์โดยตรงไม่

เพราะฉะนั้น เมื่อเราในบัดนี้ จะเข้าเกี่ยวข้อง กับฤทธิ์อย่างดีที่สุดที่จะทำได้
ก็เท่ากับที่เป็นมาแล้วนั่นเอง เราไม่อาจถือเอามัน เป็นสรณะอันแท้จริงอย่างไรได้
เพราะเหตุผล ดังที่ ข้าพเจ้าจะได้แสดงต่อไป ตามความรู้ ความเห็น ฝากท่านผู้รู้
ช่วยกัน พิจารณาหาความจริง สืบไป

คำว่า ฤทธิ์ แปลว่าเครื่องมือให้สำเร็จตามต้องการ แต่ความหมายจำกัดแต่เพียงว่า
เฉพาะปัจจุบันทันด่วน หรือชั่วขณะเท่านั้น เมื่อ หมดอำนาจบังคับของฤทธิ์ แล้ว
สิ่งทั้งปวง ก็กลับคืนเข้าสู่สภาพเดิม ผู้มีกำลังจิตสูงย่อมแสดงฤทธิ์ ได้สูง
จนผู้ที่มีฤทธิ์ด้วยกัน ต้องยอมแพ้ เพราะมีอำนาจใจต่ำกว่า

จิตเป็นธรรมชาติ อันหนึ่ง ซึ่งเมื่อได้มีการฝึกให้ถูกวิธีของมันแล้ว
ย่อมมีอำนาจมากพอ ที่จะครอบงำสิ่งทั้งหลายที่มีจิตใจด้วยกันได้หมด
ช้างป่าดุร้าย และน่าอันตรายมาก ถ้าเราไม่ได้ค้นพบวิธีฝึกมันแล้ว
ก็ไม่อาจได้รับประโยชน์ อะไรจากมันเลย คนเราที่รู้จักคิดว่า ช้างนี้
คงฝึกได้อย่างใจ และค้นพบวิธีฝึกบางอย่างในขั้นต้น ก็นับว่าเป็นผู้ที่
ทำสิ่งที่ยากมาก แต่ผู้ที่ค้นพบเรื่องของจิต และวิธีฝึกมัน โดยประการต่างๆ นั้น
นับว่า ได้ทำสิ่งที่ยาก มากกว่า นั้นขึ้นไปอีก

ในยุคดึกดำบรรพ์ เมื่อได้มีการสนใจ ในเรื่องจิตกันขึ้น นักจิตศาสตร์ ได้พยายาม
ทดลองโดยอาการต่างๆ แยกกันไป คนละสาย สองสาย จนในที่สุด ก็ได้ลุถึง
คุณสมบัติอันสูงสุดที่จิต ที่เขาฝึกถึงที่สุด ในแง่นั้นๆแล้ว สามารถจะ อำนวย
ประโยชน์ ให้ได้ อันจำแนกได้ โดยประเภทหยาบๆ คือ

(๑) เข้าถึงธรรมชาติ ที่เรียกว่า ทิพย์ แล้วหา ความเพลิดเพลิน จากสิ่งที่เรียกว่า
วิสัยทิพย์ นั้นๆ
(๒) มีอำนาจบังคับทางจิต สำหรับบังคับจิต ของเพื่อนสัตว์ ด้วยกัน
เพื่อเอาผล เช่นนั้น เช่นนี้ ตามความปรารถนา
(๓) สามารถรู้เรื่อง เกี่ยวกับ สากลจักรวาล พอที่จะให้ตน หมดความอยากรู ้
อยากค้นคว้า อีกต่อไป เพราะตนพอใจ ในความรู้นั้นๆ เสียแล้ว
(๔) สามารถปลงวาง สลัดออกเสีย ซึ่งความทุกข์ ทางใจ อันได้แก่ ลัทธิศาสนา
ที่เกี่ยวกับความดับทุกข์ ในจิต ทั้งมวล นับตั้งแต่ สุขใน ฌาน สมาธิ มรรค
ผล นิพพาน เป็นลำดับๆ

พวกใด ดำเนินสายแห่งการค้นคว้าของเขา เข้าไปในดงรกแห่งฤทธิ์วิธี
ย่อมได้ผลใน สองประเภท ข้างต้น (ข้อ ๑-๒)

พวกที่ดำเนินไป เพื่อฟันฝ่า รกชัฎ แห่งตัณหา อันเป็นก้อนหินหนักแห่งชีวิต
ก็ได้ ผลประเภทหลัง (ข้อ ๓-๔)

พวกแรก คือ พวกฤทธิ์ พวกหลัง คือ ศีลธรรม และ ปรัชญาในทางจิต
ทั้งสองประเภทนี้ เป็นที่นิยม ของมหาชน อย่างคู่เคียง กันมา

ในยุคที่ความนิยม ในทางจิตศาสตร์ ยังปกคลุม ดินแดน อันเป็นที่เกิดขึ้น
แห่งวิชานี้ คือ ชมพูทวีป หรือ อินเดียโบราณ มหาชนในถิ่นนั้น ต่างได้รับผล
สมประสงค์กันทั้ง ฝ่ายฤทธิ์ และฝ่ายความพ้นทุกข์ ของจิต แต่ในที่นี้
จะได้กล่าวเฉพาะ เรื่องฤทธิ์อย่างเดียว
งดเรื่องของความพ้นทุกข์ ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งเสีย

ผู้ที่ฝึกใจตามวิธีที่ค้นคว้า และ สั่งสอนสืบๆ กันมา หลายชั่วอายุคน ได้ถึงขีดสุด
อย่างถูกต้องแล้ว สามารถบังคับใจตนเอง ให้เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ อันเกี่ยวกับ รูป
เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ความรู้สึกในใจ อันเกิดขึ้นจากรูป เสียง เป็นต้น นั้นๆ
แล้วฝึกวิธีที่จะส่งกระแสจิตนั้นๆ ไปครอบงำจิตผู้อื่น ให้ผู้อื่นรู้สึกเช่นนั้นบ้าง
ในทางรูป เสียง กลิ่น ฯลฯ ทุกประการ ผู้ที่มีกำลังจิตอ่อนกว่าทุกๆ คน แม้จะมี
จำนวนมากมายเท่าใด ก็จะรู้สึกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่นเดียวกันหมด เพราะ
ใจของเขา ถูกอำนาจจิตของผู้ที่ส่งมา ครอบงำเขาไว้ ครอบงำเหมือนกันหมด
ทุกๆ คน จึงได้เห็นหรือ ได้ยิน ได้ดมตรงกันหมด เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม
บ้านเมืองที่งดงาม ฯลฯ ตามแต่ที่ผู้ออกฤทธิ์ ได้สร้างมโนคติขึ้นในใจของเขา
แล้วส่งมาครอบงำอำนาจครอบงำ อันนี้ เป็นไปแนบเนียน สนิทสนม ผู้ที่ถูกงำ
ไม่มีโอกาสรู้สึกตัวในเวลานั้น ว่าถูกครอบงำทางจิต และ สิ่งที่รู้สึกนั้น
ไม่ใช่ของจริง เมื่อเรานอนหลับ และ กำลังฝันอยู่ เราไม่อาจรู้ตัวว่า เราฝัน
เรากลัวจริง โกรธจริง กำหนัดจริง ฉันใด ในขณะที่ เราถูกงำ ด้วยอำนาจฤทธิ์
ก็รู้สึกว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ ทุกอย่างฉันนั้น

ผู้ออกฤทธิ์บางคน สามารถออกอำนาจบังคับ เฉพาะคน ยกเว้นให้บางคน คนใน
หมู่นั้น แม้นั่งอยู่พร้อมกันในที่เดียวกัน จึงเห็นต่างๆกัน ดังเราจะได้ยิน ในตอนที่
เกี่ยวกับ พระศาสดาทรมานคนบางคน ที่เข้าไปเผ้าพระองค์ ในที่ประชุมใหญ่
และพระองค์ ทรงบันดาล ด้วย อิทธาภิสังขาร เฉพาะผู้นั้น ให้เห็น หรือ ได้ยิน
อย่างนี้ อย่างนั้น เพื่อทำลาย ทิฎฐิ หรือ มานะ บางอย่าง ของเขาเสีย

เมื่อผู้ที่ทำการต่อสู้กัน ต่างก็มีฤทธิ์ด้วยกัน นั่นย่อมแล้วแต่ อำนาจจิต ของใคร
จะสูงกว่า หรือ มีกำลังแรงกว่า เมื่อผู้มีฤทธิ์ ฝ่ายหนึ่ง ได้บันดาล ให้ทุกๆ คน
ในที่นั้น เห็นภาพ อันน่ากลัว มาคุกคาม อยู่ตรงหน้า เช่นนั้นๆ แล้ว ถ้าหาก
อีกฝ่ายหนึ่ง มีอำนาจจิต สูงกว่า ก็อาจรวบรวม กำลังจิตของตน เพิกถอนภาพ
อันเกิดจากอำนาจฤทธิ์ของฝ่ายแรก กวาดให้เกลี้ยงไปเสียจากสนามแห่งวิญญาณ
แล้วบันดาล ภาพอันน่ากลัว ซึ่งเป็น ฝ่ายของตน ขึ้น คุกคาม บ้าง แม้ว่า ในขณะที่
คนนั้นๆ ถูกอำนาจฤทธิ์ ครอบงำอยู่ และเขาไม่อาจทราบว่า นั่นเป็น กำลังฤทธิ์ ดุจ
ตกอยู่ในขณะแห่งความฝัน ก็ดี เขายังได้รับการศึกษา และความเชื่อมาก่อนแล้ว
ว่า มีวิธีที่จะต่อสู้ต้านทาน ซึ่งเป็นการเพิกถอนฤทธิ์ ของฝ่ายหนึ่ง เช่นนั้นๆ ด้วย
จึงโต้ตอบ กันไปมา จนกว่า ฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง จะสิ้นฤทธิ์

ในรายที่ไม่ได ้ทำการต่อสู้ ประหัตประหาร กันโดยตรง แต่ต่อสู้ เพื่อแข่งขัน
ชิงเกียรติยศ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเรียกเอาความเลื่อมใส ของมหาชน มาสู่
พวกของตัวนั้น ก็ทำนองเดียวกัน คือ มีการต้านทาน เพื่อมิให้ อีกฝ่ายหนึ่ง
แสดงฤทธิ์ ของเขาได้สมหมาย ซึ่งถ้าหาก การต้านทาน นั้นสำเร็จ
ฝ่ายโน้นก็แพ้แต่ต้นมือ ถ้าต้านทานไม่สำเร็จ ก็ต้องหาอุบายกวาดล้างอำนาจฤทธิ์
ในเมื่อฝ่ายหนึ่ง ได้ส่งมาแล้ว ซึ่งถ้ายังทำไม่ได้อีก ตนก็ตกเป็นฝ่ายแพ้ฤทธิ์ของผู้
ที่มี ดวงใจบริสุทธิ์ เป็นอริยบุคคล ย่อมมีกำลังสูง และหนักแน่น ยั่งยืนกว่า ของ
ฝ่ายที่ยังเต็มไปด้วยกิเลส เป็นธรรมดา เพราะเหตุว่า จิตของผู้มีกิเลส ถูกกิเลส
ตัดทอน เสียตอนหนึ่งแล้ว ยังอาจที่จะ ง่อนแง่น คลอนแคลน ได้ ในเมื่อ
อิฎฐารมณ์ หรือ อนิฎฐารมณ์ มากระทบ ในขณะที่ ต่อสู้กันนั้น
อีกประการหนึ่ง ผู้ไม่มีกิเลส ย่อมไม่ทำเพราะเห็นแก่ตัว จึงมีกำลัง
ปีติปราโมทย์ ความเชื่อ และ อื่นๆ ซึ่งเป็นดุจเสบียงอาหาร ของฤทธิ์ มากกว่า
ย่อมได้เปรียบ ในข้อนี้

ในรายที่ไม่มีการต่อสู้กัน เป็นเพียงการทรมาน ผู้ที่มีกำลังใจอ่อนกว่า
แต่มีมานะ หรือ ความกระด้าง เพราะเหตุบางอย่าง ย่อมเป็นการง่ายกว่า
ชนิดที่ต่อสู้กัน คนธรรมดา สตรี เด็กๆ เพียงแต่อำนาจสะกดจิตชั้นต่ำๆ
ซึ่งยังมีเหลือออกมา ถึงสมัยปัจจุบันนี้บ้าง ก็อาจที่จะเป็น อำนาจงำ ให้
ตกอยู่ใต้อำนาจของผู้แสดง นั้นได้เสียแล้ว แม้ว่าสมัยนี้ จะเป็นสมัยที่
ไม่ค่อยมีใครเชื่อในเรื่องนี้ และทั้งผู้ฝึก ก็มิได้เป็น "นัก" ในเรื่องนี้
อย่างเอาจริงเอาจัง ก็ในสมัยโบราณ คนทุกคนเชื่อในเรื่องฤทธิ์ และผู้ฝึก
ก็ฝึก อย่างเอาจริงเอาจัง เรื่องของฤทธิ์ จึงเป็นเรื่องที่แนบเนียน และเป็น
เรื่องจริงได้อย่างเต็มที่ ในสมัยนั้น ความที่ทุกคนเชื่อก็ดี ความที่ผู้ฝึกเอง
ก็เชื่อและตั้งใจฝึกเป็นอย่างดี ก็ดี ล้วนแต่เป็น สิ่งส่งเสริมในเรื่องฤทธิ์
ให้เป็นเรื่องจริง เรื่องจัง ยิ่งขึ้นไปอีก เราอาจกล่าวได้ว่า ในยุคโบราณยุคหนึ่ง
ความเชื่อในเรื่องนี้ มีเต็มร้อยเปอร์เซนต์ อิทธิพลในเรื่องฤทธิ์ จึงมีได้ เต็มร้อย
เปอร์เซ็นต์ เพราะมันถูกฝา ถูกตัว แก่กัน ครั้นมาบัดนี้ ทั้งความเชื่อ และ
การฝึกฝน มีเหลือน้อย ไม่ถึง ห้าเปอร์เซนต์ เลยกลายเป็น เรื่องเหลวไหล เสีย
เก้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์ บางที มีแต่ตัว ไม่มีฝา บางทีมีฝา แต่ไม่มีตัว ต่างฝ่าย
ต่างก็ขี้เกียจเก็บ เลยทิ้งให้ ค่อยหายสาปสูญไป ความยั่วยวน อันเกิดจากฝีมือ
ของนักวิทยาศาสตร์ แผนปัจจุบัน กำลังมีอิทธิพล มากขึ้นๆ ในอันที่จะให้จิต
ของคนเราตกต่ำ อ่อนแอต่อการที่จะบังคับตัวเองให้ว่างโปร่ง เพื่อเป็นบาทฐาน
ของฤทธิ์ ได้ เมื่อว่างผู้แสดงฤทธิ์ ได้ นานเข้า ความเชื่อในเรื่องนี้ ก็สาปสูญไป
ทั้งของผู้ที่จะฝึกและของผู้ที่จะดู

บัดนี้ จะย้อนกลับไปหาเรื่องของการฝึก เพื่อให้เข้าใจในเรื่องนี้ดีขึ้น
(มิใข่เพื่อรื้อฟื้นขึ้นฝึกกัน) ผู้ที่จะฝึกในเรื่องฤทธิ์ ต้องเป็นผู้ที่มีใจ เป็นสมาธิง่าย
กว่าคนธรรมดา เพราะเรื่องนี้ มิใช่เป็นสาธารณะ สำหรับคนทั่วไป แม้ผู้ที่เชื่อ
และตั้งใจฝึกจริงๆ ถึงฝึกสมาธิได้แล้ว ท่านยังกล่าวว่า ร้อยคนพันคน จึงจะมี
สักคนหนึ่งที่จะเขยิบตัวเองขึ้นไป จนถึงกับแสดงฤทธิ์ได้ การปฏิบัติเพื่อรู้อริยสัจ
หลุดพ้นไปจากทุกข์ได้เสียอีก ที่เป็นสาธารณะกว่า! คนบางประเภทหลุดพ้นจาก
ทุกข์ได้ ด้วยเหตุผล ที่แวดล้อมเหมาะสม จูงความคิด ให้ตกไป ในแนวแห่ง
ความเบื่อหน่ายและปล่อยวางได้โดยไม่ต้องเกี่ยวกับการฝึกสมาธิเลย จึงกล่าวย้ำ
เพื่อกันสงสัย ได้อีกครั้งหนึ่ง สำหรับคนธรรมดา เราๆ การฝึกเพื่อพระนิพพาน
เป็นของง่ายกว่า ที่จะฝึกในเรื่องฤทธิ์ ให้ได้ถึงที่สุด ยิ่งถ้าจะฝึกเพื่อทั้งฤทธิ์ และ
พระนิพพาน ทั้งสองอย่างด้วยแล้ว ก็ยิ่งยาก มากขึ้นไปอีก ในหมู่พระอรหันต์ ก็
ยังมีแบ่งกันว่า ประเภทสุกขวิปัสสก และประเภทอภิญญา
คือแสดงฤทธิ์ไม่ได้ และแสดงได้

ผู้ฝึกสมาธิ เพื่อมรรคผลนิพพานนั้น เมื่อใจเป็นสมาธิแล้ว ก็น้อมไปสู่ การคิดค้น
หาความจริงของชีวิต หรือ ความทนทุกข์ของสัตว์ ว่ามีอยู่อย่างไร เกิดขึ้นอย่างไร
จะดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ส่วนผู้ที่ฝึก เพื่อฤทธิ์นั้น แทนที่จะน้อมไปเพื่อคิดค้น
หาความจริง เขาก็น้อมสมาธินั้นไปเพื่อการสร้างมโนคติต่างๆ ให้ชำนาญ ซึ่งเป็น
บทเรียนที่ยากมาก เมื่อเขาสร้างภาพแห่งมโนคติได้ด้วยการบังคับจิตหรือวิญญาณ
ของเขาได้เด็ดขาดและคล่องแคล่ว แล้วก็หัดรวมกำลังส่งไป ครอบงำสิ่งที่อยู่ใกล้
จะขยายวงกว้างออกไปทุกที เพื่อให้ ภาพแห่งมโนคติ นั้นครอบงำใจของผู้อื่น ตาม
ที่เขาต้องการความยากที่สุด ตกอยู่ที่ตนจักต้องดำเนินการ เปลี่ยนแปลงภาพ นั้นๆ
ให้เป็นไปตามเรื่องที่ต้องการ ดุจการฉายภาพยนต์ ลงในผืนจอแห่งวิญญาณ ของ
ผู้อื่น จึงเป็นการยากกว่า การที่เจริญสมาธิ เพื่อสงบนิ่ง อยู่เฉยๆ หรือคิดเรื่องใด
เรื่องหนึ่ง แต่เรื่องเดียว โดยเฉพาะ แต่อย่างไรก็ดี ความลำบาก นั้นๆ มิได้เป็นสิ่ง
ที่อยู่นอกวิสัย เพราะเมื่อจิตได้ถูกฝึกจนถึงขีด ที่เรียกว่า "กัมมนีโย" นิ่มนวล ควร
แก่การใช้งานทุกๆ อย่างแล้ว ก็ย่อมใช้ได้ สมประสงค์

ฤทธิ์ตามที่กล่าวไว้ ใน นิทเทสแห่งอภิญญา ของฝ่ายพุทธศาสนานั้น ดูคล้ายกับ
ยืมของใครมาใส่ไว้ เพื่อแสดงความสามารถของจิต อันสูงสุดประเภทนี้ ให้ครบ
ถ้วน นอกจากไม่เป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ โดยตรงแล้ว ยังไม่ค่อยตรงกับอาการที่
พระพุทธองค์ทรงแสดงอยู่บ้าง ในบางคราวในบาลีไม่ได้แสดงวิธีฝึก ไม่ได้แสดง
วี่แววว่า ควรฝึกหรือจำเป็น และไม่ค่อยปรากฏว่า พระมหาสาวกองค์ใด ได้รับ
ประโยชน์ หรือใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงนำความเข้าใจให้เกิดขึ้น
ว่า ถ้าหากว่าเรื่องอภิญญาเหล่านี้ มิใช่เป็นเรื่องที่กล่าวเพื่อแสดงคุณสมบัติของจิต
ที่ฝึกแล้วถึงที่สุด ให้ครบถ้วนเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องจำเป็น ของพระสาวกเลย เมื่อเป็น
เช่นนี้ การฝึกก็เป็นอันว่าต้องต่างกันด้วยไม่มากก็น้อย จากวิธีที่เขาฝึกกัน ในสาย
ของฤทธิ์โดยตรง เพราะเรื่องโน้น เป็นเรื่องของผู้ขวนขวาย เพื่อเสียสละ มิใช่เรื่อง
ของ ผู้ขวนขวาย เพื่อรับเอา ในพระบาลี กล่าวแต่เพียงว่า เมื่อจิตเป็น จตุตถฌาน
คล่องแคล่วดีแล้ว ก็น้อมไปเพื่ออภิญญา ช่นนั้นๆ สำเร็จได้ด้วยอำนาจ จตุตถฌาน
นั่นเอง เมื่อการน้อมนั้นๆ สำเร็จก็จะสามารถทำได้ เช่นนั้นๆ ดูเหมือนว่า ถ้าน้อมไป
เพื่ออภิญญานั้นๆ ไม่สำเร็จ ก็น้อมเลยไป เป็นลำดับๆ ข้ามไปหา การคิดค้น เรื่อง
อริยสัจ เลยทีเดียว คล้ายกับว่า มีไว้เผื่อเลือก หรือ สำหรับคน ที่มีอุปนิสัยบางคน
ในบาลีบางแห่ง ไม่มีกล่าวถึงอภิญญาเลย เมื่อกล่าวถึง จตุตถฌานแล้ว ก็กล่าวถึง
วิชชาสาม คือ ระลึกถึงความเป็นมา แล้วของตนในอดีต ความวิ่งวนของหมู่สัตว์
ในสังสารวัฎ และเหตุผล เรื่อง อริยสัจ เป็นที่สุด พระบาลี ชนิดหลังนี้ มีมากกว่า
ที่กล่าวถึง อภิญญา และที่กล่าวถึง จตุตถฌาน แล้ว กล่าวอริยสัจเสียเลย
ก็มีมากกว่ามาก

ในอรรถกถาซึ่งเป็น คำอธิบายของพระบาลี ก็มิได้กล่าววิธีฝึกฤทธิ์นั้นๆ มักแก้
ในทางศัพท์ ทางข้อธรรมะแท้ๆ หรือ มิฉะนั้น ก็ทางนิยายเลยไป แต่ได้ท้าให้ค้นดู
เอาจาก คัมภีร์วิสุทธิมรรค เพราะ ผู้ร้อยกรอง อรรถกถา กับผู้แต่งวิสุทธิมรรค
เป็นคนเดียวกัน หรือ วิสุทธิมรรคมีอยู่แล้ว ก่อนการแต่งอรรถกถานั้นๆ

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีเรื่องของการฝึกฤทธิ์อย่างพิสดาร จนกล่าวได้ว่า
ไม่มีคัมภีร์ใด มีพิสดารเท่า ในวงของ คัมภีร์ฝ่ายพุทธศาสนา ด้วยกัน
เพราะความพิสดารนั่นเอง จำเป็นที่ข้าพเจ้า จะต้องขอร้อง ให้ท่านพลิกดู
ในหนังสือชื่อนั้น ด้วยตนเอง ด้วยว่า เหลือที่จะ นำมาบรรยาย ให้พิสดาร
ในที่นี้ได้ เมื่อกล่าวแต่ หลักย่อๆ ก็คือ ขั้นแรก ท่านสอน ให้หาความชำนาญ
จริงๆ ในการเพ่งสีต่างๆ และวัตถุ เช่น ดิน น้ำ ไฟ ลม จนติดตาติดใจ เพื่อ
สะดวกในการ สร้างภาพแห่งมโนคติ ในขั้นต่อไป อันเรียกว่า เพ่งกสิณ ซึ่ง
เป็น สิ่งมีมา ก่อนพุทธกาล มิใช่สมบัติ ของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ
ผู้เพ่งต่อฤทธิ์ ต้องหนักไปใน การฝึกกสิณ เท่ากับ
ผู้เพ่งต่อพระนิพพาน หนักไปใน การฝึกแห่ง อานาปานสติ และกายคตาสติ เป็นต้น
ดิน น้ำ ไฟ ลม คือ ส่วนผสมของสิ่งต่างๆ ในโลก หรือ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็ว่า
โลก เท่าที่ปรากฏแก่ ความรู้สึก ของคนทั่วไป ก็คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่นเอง
เมื่อสิ่งเหล่านี้ ติดตา และติดใจ จนคล่องแคล่ว พระโยคีนั้น ก็อาจสร้าง
มโนคติภาพ อันเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ได้ทั่วไป ทุกอย่าง
กสิณ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ศึกษา ในฝ่ายฤทธิ์
สีขาว สีเขียว และสีต่างๆ ก็ทำนองเดียวกัน
เป็นสีของสิ่งทั้งหลาย บรรดามี ในโลกนี้

การฝึก อุทธุมาตกอสุภ คือ การเพ่งจำซากศพที่ตายได้สี่ห้าวัน กำลังขึ้นพองเขียว
จนติดตา และขยายสัดส่วน ให้ใหญ่เล็ก ทำนองย่อ และ ขยายสเกล อยู่ไปมา
ตลอดจน ให้ลุกเดินเคลื่อนไหวได้ ต่างๆ จนติดตาติดใจ ชำนาญ ทุกประเภท
เช่นนี้ ช่วยให้ประสาทของผู้นั้น เข้มแข็งต่อความกลัว จนมีใจไม่หวั่นไหวได้จริง
ในที่ทั้งปวง ทั้งช่วยส่งเสริมในการสร้างมโนคติ ในเรื่องกลิ่น เป็นต้น ได้เป็นพิเศษ
รวมความว่า ในขั้นแรกต้องฝึกการอดทน การบังคับใจของตนเองให้อยู่ในมือจริงๆ
การชำนาญ สร้างภาพ ด้วยใจ อย่างเดียว ตลอดถึง ความกล้าหาญ ความบึกบึน
หนักแน่น ของประสาท ทั้งสิ้น

เมื่อชำนาญใน ขั้นนี้แล้ว จึงฝึก การส่งภาพ ทางใจ หรือ ที่เรียกว่า อธิษฐานจิต
เพื่อความเป็น เช่นนี้ เช่นนั้น ครอบงำผู้อื่น ถ้าหาก มีความชำนาญ และกล้าแข็งพอ
อาจที่จะบันดาลให้ คนทั้งชมพูทวีปรู้สึก หรือเห็น เป็นอันเดียวกันหมดว่า
ภูเขาหิมาลัย ซึ่งเคยอยู่ ทางทิศเหนือนั้น บัดนี้ได้ ขยับเลื่อนลงมาอยู่ ทางทิศใต้
หรือ กลางมหาสมุทรอินเดีย เสียแล้ว เป็นต้นได้ แต่เพราะ ความที่อำนาจใจ นั้นๆ
ไม่พอ จึง เท่าที่ เคยปรากฏ กันมาแล้ว มีเพียง ในวงคน หมู่หนึ่ง หรือ ชั่วขณะหนึ่ง
เท่านั้น สมตามที่ชื่อของมัน คือคำว่า ฤทธิ์ ซึ่งแปลว่า เครื่องมือช่วย แก้อุปสรรค
ให้สำเร็จ กะทันหัน ทันอกทันใจ คราวหนึ่ง เท่านั้น เพราะว่า แม้หาก พระโยคี
องค์ใด เคลื่อน ภูเขาหิมาลัย ได้ด้วย อำนาจฤทธิ์ เมื่อท่านคลายฤทธิ์ หรือตายเสีย
ภูเขาหิมาลัย ก็จะ วิ่งกลับสู่ที่เดิม เท่านั้นเอง นักโทษ ที่มีฤทธิ์ อาจบันดาล ให้เขา
เห็นตนเหาะลอยอยู่ในอากาศได้ แต่ย่อมไม่อาจที่จะทำลาย เครื่องจองจำ นั้นได้
ถ้าหากมัน เป็นเครื่องมือ ที่แน่นหนา แข็งแรงพอ แต่นักโทษผู้นั้น มีทางที่จะใช้
ฤทธิ์นั้น ให้เป็นประโยชน์ แก่ตน หรือ มีโอกาส ให้อุบาย อันใด อันหนึ่ง หรือ
เขาสั่งปล่อย เพราะ กลัวอภินิหาร ของตน

เมื่อตนคล่องแคล่วใน การอธิษฐานจิต แผ่มโนคติภาพ ไปครอบงำ สัตว์อื่น
ได้เช่นนี้ ก็เป็นผู้มีฤทธิ์ แต่จะมากหรือน้อย ย่อมแล้วแต่ ความสามารถ ของตน

เมื่อมาถึงตรงนี้ ก่อนแต่จะจบ ควรย้อนกลับไป พิจารณาถึง เรื่องฤทธิ์นี้ กันมาใหม่
ตั้งแต่ต้นอีกสักเล็กน้อย แต่พิจารณากันในแง่แห่งประวัติศาสตร์ของวิชาประเภทนี้
วิชาเรื่องนี้ฟักตัวมันเองขึ้นมาได้ด้วย ความอยากรู้และอยากเข้าถึงอำนาจบางอย่าง
ซึ่งอยู่เหนือคนธรรมดา มันเป็น ความอยาก ที่เกิดขึ้น โดยบังเอิญของ คนบางพวก
ที่อุตริ เชื่อว่า จิตนี้ แปลกประหลาดมาก น่าจะมี คุณสมบัติพิเศษ บางอย่าง ซึ่งเมื่อ
ผู้ใดอุตส่าห์ฝึกฝนจนรู้เท่าถึงแล้วอาจเอาชนะคนที่รู้ไม่ถึงได้เป็นอันมาก ความคิดนี้
เป็นเหตุให้ยอมพลีเวลาตลอดทั้งชีวิต เพื่อการค้นคว้าทดลอง อันเรียกว่า
บำเพ็ญตบะ ในยุคที่คนเราถือพระเป็นเจ้า ย่อมหวังความช่วยเหลือของพระเป็นเจ้า
อย่างเต็มที่ ด้วยอำนาจสมาธิที่มีต่อ สิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็น พระเป็นเจ้านั่นเอง
ที่ได้เป็น บาทฐาน ให้เขาพบวี่แวว ของฤทธิ์ ในครั้งแรก สักเล็กน้อย และเป็นเงื่อน
ให้ คนชั้นหลังดำเนินตามหลายสิบชั่วอายุคนเข้า คนที่ตั้งใจจริงเหล่านั้น ก็ได้พบ
แปลกขึ้นเป็นอันมาก จนปะติดปะต่อ เข้าเป็นหลักเป็นเกณฑ์ สำหรับสั่งสอนกัน
เมื่อวิชานี้ถูกแพร่ข่าวรู้มาถึง คนในบ้าน ในเมือง ก็จูงใจ พวกชายหนุ่ม นักรบ หรือ
กษัตริย์ ให้ออกไป ขอศึกษาจาก พวกโยคีนั้น ถึงในป่า มีเรื่องเหลือ เป็นนิยาย
อยู่ตามที่หนังตะลุง มักเล่นกัน โดยมาก คนป่าหรือยักษ์บางตน ก็มีความรู้ ความ
สามารถในเรื่องนี้เท่าหรือมากกว่าคนบ้านหรือมนุษย์ ถึงกับรบกันและผลัดกันแพ้
ผลัดกันชนะ พวกเทวดาหรือ พวกที่เอาแต่ เล่นสนุก ไม่ปรากฏว่า มีฤทธิ์ เพราะ
สมาธิ ไม่ค่อยดี กระมัง ในตอนแรกๆ ผู้มีฤทธิ์นั้น ค้นคว้า กันเพียง ขั้นที่สำเร็จ
สมความต้องการ ไม่ได้ค้นถึง เหตุผล ของฤทธิ์ ไม่เป็น นักปรัชญา หรือ ทฤษฎี
ในเรื่องนี้ แต่เป็นเพียงนักปฏิบัติการ ตามที่สั่งสอน สืบๆ กันมา ขณะเมื่อ
ในอินเดีย กำลังรุ่งเรือง ด้วยวิชา ประเภทนี้ ทางฝ่ายยุโรป ไม่มีความรู้ ในเรื่อง
นี้เลย เมื่อทางอินเดียเสื่อมลง ทางยุโรป ได้รับเพียง กระเส็น กระสาย เล็กน้อย
ไม่พอที่จะรุ่งเรืองด้วย จิตวิทยา ประเภทนี้ อย่างอินเดียได้ มีแต่ฤทธิ์ ของซาตาน
หรือมารเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่มีพิษสงอะไรนัก และเป็นเรื่องทางศาสนามากกว่า

เมื่อวิชานี้ได้เสื่อมลงในอินเดียแล้วในทางปฏิบัติการ แต่ในทางนิยายยังมีเหลืออยู่
ไม่สาบสูญ และยิ่งกว่านั้น ที่แน่นอนที่สุด คือ ได้ถูกคนชั้นหลัง ต่อเติมเสริมความ
ให้วิจิตรยิ่งขึ้นไป จนคนชั้นหลัง ในบัดนี้ปอกเปลือกตั้งหลายชั้นแล้ว ก็ยังไม่ถึง
เยื่อในได้เลย ความเดาทำให้ขยายความจริง ให้เชื่อง จนฤทธิ์ ซึ่งเป็นเพียงวิชา
สำหรับใช้แก้ อุปสรรค กะทันหัน เล่นตลก กับคนที่รู้ไม่ถึง กลับกลาย เป็นเรื่อง
จริงแท้ๆ ไป ดุจเดียวกับเรื่องทางวัตถุอื่นๆ คนในชั้นหลังเป็นอันมาก เชื่อว่าอะไร
ทุกๆ อย่างจริงตามนั้น ทั้งที่ตนตอบไม่ได้ว่า ถ้าจริงเช่นนั้น ทำไมเวลาปรกติ
ผู้มีฤทธิ์ ยังต้องเดิน ไปไหน มาไหน ไม่เหาะ เหมือนคราวที่ แสดงฤทธิ์ แข่งขัน
ทำไมต้องทำนา ทำสวน หรือ ออกบิณฑบาต ขอทาน ไม่บันดาล เอาด้วยฤทธิ์
เป็นต้น ฤทธิ์ที่เคยเป็นเพียงการลองดีกันด้วยกำลังจิต ก็กลายเป็นเรื่องทางวัตถุ
หนักขึ้น จนคนบางคนในชั้นหลัง หวังจะมีฤทธิ์ เพื่อให้หาเหยื่อ ให้แก่ตน ตาม
กิเลสของตน ผลที่ได้รับในที่สุด ก็คือ การวิกลจริต!

สรุปความสั้นๆ ที่สุดในเรื่องฤทธิ์ ที่ได้กล่าวมา อย่างยืดยาว นี้ ก็คือว่า
ฤทธิ์ เป็นเพียง คุณสมบัติพิเศษ ส่วนหนึ่งของจิตเท่านั้น เรื่องของจิต
อันนี้เป็น พวกนามธรรม จะให้สำเร็จผล เป็นวัตถุไม่ได้ เช่นเดียวกับวัตถุ
ในความฝัน มันจะเป็น วัตถุอยู่ ก็ชั่วเวลา ที่เราไม่ตื่น จากฝันเท่านั้น ของ
ที่นฤมิตขึ้น ด้วยอำนาจฤทธิ์ สำเร็จประโยชน์ ชั่วเวลา ที่คนเหล่านั้น ยัง
ตกอยู่ใต้ อำนาจจิต ที่เป็นตัวออกฤทธิ์ เพราะว่า สิ่งทั้งหลาย ที่เราเรียกกัน
ว่า โลกนี้ก็ตาม ถ้ามีอะไร มาดลบันดาล ให้จิตของเรา ทุกคน วิปริต เป็น
อย่างอื่นไป โลกนี้ก็จะปรากฏ แก่เรา อย่างอื่น ไปทันที ดุจกัน สิ่งทั้งหลาย
สำเร็จ อยู่ที่ใจ รูป เสียง กลิ่น รส ทั้งหมด มีคุณสมบัติขึ้นมาได้ ก็เพราะเรา
มีสิ่งที่เรียกกันว่า ใจ ถ้าไม่มีใจ โลกนี้ก็พลอยไม่มีไปด้วย รวมความสั้นๆ ได้
ว่า สิ่งทั้งหลายสำเร็จจากใจ ใจสร้างขึ้น ใจเป็นประธาน หรือ หัวหน้าแต่
ผู้เดียว เพราะฉะนั้น ถ้ามีอะไรก็ตาม มาดลบันดาล ให้ใจ เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น
ไป สิ่งทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยใจ ก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย ถ้าอำนาจ ดลบันดาล
นั้นเป็นของ ชั่วขณะ สิ่งนั้นก็ แปรปรวน ชั่วขณะ ด้วย

ในโลกนี้ ไม่มีอะไร เที่ยงอยู่แล้ว เราจะสร้างฤทธิ์เพื่อเอาชนะสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้น
น่าจะไม่ได้รับผลที่น่าชื่นใจ เพราะฉะนั้น พระอริยบุคคล ทั้งหลาย แทนที่จะ
ใช้เวลา ไปค้นคว้า ในเรื่องฤทธิ์ ท่านจึงใช้ชีวิต ที่เป็นของ น้อยนิด เดียวนี้
ค้นคว้า หาสิ่งที่เที่ยง และเป็นสุข คือ พระนิพพาน แม้ว่า เรื่องฤทธิ์ และพระ
นิพพาน ต่างก็ เป็นวิทยาส่วนจิต ด้วยกันก็จริง แต่แตกต่างกัน ลิบลับ
ด้วยเหตุผล ดังกล่าวมาแล้ว

เมื่อพระผู้มี พระภาคเจ้า อุบัติขึ้น ในอินเดีย พระองค์ทรงบัญญัติ
บาทฐาน ของฤทธิ์ ว่า มีอยู่ สี่ อย่าง คือ ความพอใจ ความเพียร
ความฝักใฝ่ และ ความคิดค้น เรียกว่า อิทธิบาท เมื่อทำได้ ผลที่ได้รับ
คือ มรรคผลนิพพาน เพราะคำว่า ฤทธิ์ ของพระองค์ จำกัดความเฉพาะ
เครื่องมือให้สำเร็จ หรือ ลุถึง นิพพาน เท่านั้น ฤทธิ์ ซึ่งเคยได้ผล เป็นของ
ตบตา และชั่วคราว ก็ได้เปลี่ยน มาเป็น สิ่งซึ่งให้ผล อันมีค่าสูงสุด และ
แน่นอน ด้วยประการฉะนี้

พุทธทาสภิกขุ

๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๐

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2010, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ผมเพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า

สิ่งที่เหลิมชอบก็บอกว่าถูก

สิ่งที่เหลิมไม่ชอบก็บอกว่าผิด

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว




มโนมยิทธิญาณ
[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
@๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ-
@ เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ
@๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

อิทธิวิธญาณ
[๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุ
อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏ
ก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง
แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อ
ผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงา
ชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ
ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณ
ชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดี
ยิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๗๔๒ - ๑๙๑๙. หน้าที่ ๗๒ - ๗๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91
---------------------------


จากทิฏฐิของท่านพุทธทาส อาจารย์ใหญ่คุณ mes


http://www.buddhadasa.com/shortbook/patihan.html

ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์

อาจมีผู้แย้งว่าถ้าเป็นยุคหลัง ทำไมเรื่องนี้จึงไปอยู่ในบาลีเดิมเล่า?
พึงเข้าใจว่า บาลีพระไตรปิฎกของเรานี้ ปรากฏว่ามีอยู่คราวหนึ่ง
ซึ่งถูกถ่ายจากภาษาสิงหลกลับสู่ภาษาบาลีแล้วเผาต้นฉบับเดิมเสีย
และผู้ที่ทำดังนี้ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็นเอกอัครแห่ง
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายนั่นเอง,

ท่านผู้นี้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด จึงนำให้นักศึกษาหลายๆ คน
เชื่อว่า ถ้าเรื่องของพราหมณ์หลายเรื่อง (เช่น เรื่องนรก สวรรค์
เรื่องพระราหู จับพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในสังยุตตนิกาย เป็นต้น)
ได้เข้ามาปนอยู่ในพระไตรปิฎก ถึงกับบรรจุเข้าในพระพุทธโอษฐ์
ก็มีนั้น ต้องเป็นฝีมือของท่านผู้นี้ หรือบุคคลประเภทเดียวกับ
ท่านผุ้นี้ แต่ที่ท่านบรรจุเข้า ก็ด้วยความหวังดี ให้คนละบาป
บำเพ็ญบุญ เพราะสมกับความเชื่อถือของคนในครั้งนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่า พระศาสดามิได้ทรงสอนเรื่องฤทธิ์ หรือ
เรื่องฤทธิ์มิได้เข้าเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลแล้ว
มันก็น่าจะได้เข้าเกี่ยวข้องในครั้งนี้ เป็นแน่.



เห็นการกล่าวตู่ พระสงฆ์(พระพุทธโฆษาจารย์) ของท่านพุทธทาสไหมครับ

ในเรื่อง นรก สวรรค์ มีในพระไตรปิฏกมากมาย ก็กล่าวตู่พระพุทธองค์ว่า เอออวย สวมรอยกับศาสนาพราหมณ์

มาในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ก็เช่นกัน หรือไม่ก็เป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ที่ปลอมปนเข้ามา

คุณ mes เขียน
กระทู้นี้ผมเพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า

สิ่งที่เหลิมชอบก็บอกว่าถูก

สิ่งที่เหลิมไม่ชอบก็บอกว่าผิด


ท่านพุทธทาสไม่ชอบ พระอภิธรรม จึงกล่าวหาว่าแต่งเติมมาภายหลัง เป็นยาเสพติดแบบกัญชา ฯลฯ

ท่านพุทธทาสไม่ชอบ เรื่อง นรก สวรรค์ อิทธิปาฏิหาริย์ จึงเลี่ยงพระบาลี กล่าวตู่พระสงฆ์

ไม่ชอบนิกายเถรวาท จึงแสวงหานิกายอื่นมาเสริม ( ฮวงโป, เซน, เว่ยหลาง ฯลฯ)

คุณ mes ครับ ในเรื่อง ปาฏิหาริย์ ผมเชื่อว่ามีจริง แต่ วิชามโนมยิทธิ+ธรรมกาย ของอาจารย์รุ่นหลัง ๆ ที่มีวิธีปฏิบัติแบบแปลก ๆ ไม่ตรงกับพระไตรปิฏก อรรถกถา ผมยังไม่เชื่อครับ แม้ผู้ไปฝึกมาจะอ้างว่า เห็นจริง ๆ เห็นแดนพระนิพพานด้วย

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


[ปริยัติ ๓ อย่าง]
จริงอยู่ ปริยัติ ๓ คือ อลคัททูปมาปริยัติ ๑ นิสสรณัตถปริยัติ ๑
ภัณฑาคาริยปริยัติ* ๑ ในปริยัติ ๓ อย่างนั้น ปริยัติใด อันบุคคลเรียนไม่ดี
คือเรียนเพราะเหตุมีการโต้แย้งเป็นต้น, ปริยัตินี้ ชื่อว่า ปริยัติเปรียบด้วยงูพิษ
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษ
ผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เที่ยวเสาะแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่
พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือหรือที่แขน หรือที่
อวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตายหรือความทุกข์ปางตาย
ซึ่งมีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะ
งูพิษเขาจับไม่ดี แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ! โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัย
นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ
คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ พวกเขาครั้นเรียน
# * วินยฏฺ€กถา หน้า ๒๔ เป็น ภัณฑาคาริกปริยัติ.
ธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่พิจารณาอรรถแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรม
เหล่านั้นย่อมไม่ควรต่อการเพ่งพินิจแก่พวกเขา ผู้ไม่พิจารณาอรรถด้วยปัญญา
พวกเขาเรียนธรรมมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีหลักการบ่นเพ้อว่าอย่างนี้
เป็นอานิสงส์ และย่อมไม่ได้รับประโยชน์แห่งธรรมที่พวกกุลบุตรต้องประสงค์
เล่าเรียน ธรรมเหล่านั้นที่เขาเรียนไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์
สิ้นกาลนาน แก่โมฆบุรุษเหล่านั้น ข้อนั้นเพราะอะไรเป็นเหตุ? ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดี.(๑)
อนึ่ง ปริยัติอันบุคคลเรียนดีแล้ว คือจำนงอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณ
มีสีลขันธ์เป็นต้นนั่นแล เรียนแล้ว ไม่เรียนเพราะเหตุมีความโต้แย้งเป็นต้น,
ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติมีประโยชน์ที่จะออกจากวัฏฏะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
หมายตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนานแก่กุลบุตรเหล่านั้น ข้อนั้น
เพราะอะไรเป็นเหตุ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะธรรมทั้งหลายอัน
กุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว(๒) ดังนี้.
ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว มีกิเลสอันละแล้ว มีมรรค
อันอบรมแล้ว มีธรรมอันไม่กำเริบแทงตลอดแล้ว มีนิโรธอันกระทำให้แจ้ง
แล้ว ย่อมเรียนซึ่งปริยัติใด เพื่อต้องการแก่อันดำรงซึ่งประเพณี เพื่อต้องการ
แก่อันตามรักษาซึ่งวงศ์ ปริยัตินี้ ชื่อว่าปริยัติของท่านผู้ประดุจขุนคลัง.
[ภิกษุผู้ปฏิบัติดีใน ๓ ปิฎกได้ผลดีต่างกัน]
อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติดีในพระวินัย อาศัยสีลสมบัติ ย่อมได้บรรลุวิชชา
๓ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภทวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแลไว้ในพระวินัยนั้น. ผู้
# ๑-๒. ม. มู. ๑๒/๒๖๘-๒๖๙.
ปฏิบัติดีในพระสูตร อาศัยสมาธิสมบัติ ย่อมได้บรรลุอภิญญา ๖ ก็เพราะตรัส
จำแนกประเภทอภิญญา ๖ เหล่านั้นไว้ในพระสูตรนั้น. ผู้ปฏิบัติดีในพระอภิธรรม
อาศัยปัญญาสมบัติ ย่อมได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ก็เพราะตรัสจำแนกประเภท
ปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ไว้ในพระอภิธรรมนั้นนั่นเอง. ผู้ปฏิบัติดีในปิฎกเหล่านี้
ย่อมบรรลุสมบัติต่างกัน คือ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ นี้ตามลำดับ
ด้วยประการฉะนี้.
[ผู้ปฏิบัติไม่ดีใน ๓ ปิฎกได้ผลเสียต่างกัน]
ก็ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระวินัย ย่อมมีความสำคัญว่าหาโทษมิได้ ใน
ผัสสะทั้งหลายมีสัมผัสซึ่งรูปเป็นอุปาทินกะเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสห้ามแล้ว โดยความเป็นอาการเสมอกับด้วยสัมผัสซึ่งวัตถุมีเครื่องลาด
และผ้าห่มเป็นต้น ซึ่งมีสัมผัสเป็นสุข ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.
แม้ข้อนี้ต้องด้วยคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงซึ่งธรรมอันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยประการที่ว่า เป็นธรรมอันทำอันตรายได้อย่างไร
ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถ เพื่อกระทำอันตรายแก่บุคคลผู้เสพได้(๑) ดังนี้. ภิกษุ
นั้นย่อมถึงความเป็นผู้ทุศีล เพราะความปฏิบัติไม่ดีนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระสูตร ไม่รู้อยู่ซึ่งอธิบายในพระบาลีมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีอยู่ หาได้อยู่ ดังนี้ ย่อมถือเอาผิด
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสว่า บุคคลมีธรรมอันตนถือผิดแล้ว ย่อม
กล่าวตู่เราทั้งหลายด้วย ย่อมขุดตนเองด้วย ย่อมได้ประสบบาปมิใช่บุญมาก
ด้วย(๒) ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมถึงความเป็นผู้มีทิฏฐิผิด เพราะการถือนั้น.
# ๑. วิ. มหา. ๒/๔๓๔. ๒. ม. ม. ๑๒/๒๖๖.
ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในพระอภิธรรม แล่นเกินไปซึ่งการวิจารณ์ธรรม
ย่อมคิดแม้ซึ่งเรื่องที่ไม่ควรคิด ย่อมถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต เพราะคิดซึ่งเรื่อง
ที่ไม่ควรคิดนั้น. ข้อนี้ต้องด้วยพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!
บุคคลคิดอยู่ซึ่งเรื่องที่ไม่คิดเหล่าใด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า
แห่งความลำบากใจ เรื่องที่ไม่ควรคิดเหล่านี้ ๔ ประการ อันบุคคลไม่ควรคิด*
ดังนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติไม่ดีในปิฎก ๓ เหล่านี้ ย่อมถึงความวิบัติต่างด้วยความเป็น
ผู้ทุศีล ความเป็นผู้มีทิฏฐิผิดและความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ ตามลำดับ ด้วยประการ
ฉะนี้.

----------------------------------------

จากอรรถกถา พระวินัยปิฏก มหาวิภังค์ ปฐมภาค นี้

ผมเห็นการวิจารณ์ธรรมมากเกินไปของท่านพุทธทาส ที่ท่านปฏิบัติไม่ดีต่อพระอภิธรรม

เต็มไปด้วยความฟุ้งซ่าน

บั้นปลายชีวิตของท่าน ดูเหมือนท่านจะซึมลงไปนะครับ

คุณ mes ครับ ระวังจะฟุ้งซ่าน วิจารณ์ธรรม ต่าง ๆ เหมือนอาจารย์ของคุณนะครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2010, 06:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
มโนมยิทธิญาณ
[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
แต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
@๑. ญาณทัสสนะ เป็นชื่อของญาณชั้นสูง คือมรรคญาณ ผลญาณ สัพพัญญุตญาณ ปัจจ-
@ เวกขณญาณ และวิปัสสนาญาณ ฯ
@๒. ได้แก่ธาตุ ๔ คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ฯ
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

อิทธิวิธญาณ
[๑๓๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุ
อิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏ
ก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลง
แม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อ
ผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงา
ชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือ
ของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณ
ชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว
ก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้
ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไป
ในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้
ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดี
ยิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๑๗๔๒ - ๑๙๑๙. หน้าที่ ๗๒ - ๗๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=91
---------------------------

จากทิฏฐิของท่านพุทธทาส อาจารย์ใหญ่คุณ mes


http://www.buddhadasa.com/shortbook/patihan.html

ฤทธิ์-ปาฎิหาริย์

อาจมีผู้แย้งว่าถ้าเป็นยุคหลัง ทำไมเรื่องนี้จึงไปอยู่ในบาลีเดิมเล่า?
พึงเข้าใจว่า บาลีพระไตรปิฎกของเรานี้ ปรากฏว่ามีอยู่คราวหนึ่ง
ซึ่งถูกถ่ายจากภาษาสิงหลกลับสู่ภาษาบาลีแล้วเผาต้นฉบับเดิมเสีย
และผู้ที่ทำดังนี้ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็นเอกอัครแห่ง
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายนั่นเอง,

ท่านผู้นี้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด จึงนำให้นักศึกษาหลายๆ คน
เชื่อว่า ถ้าเรื่องของพราหมณ์หลายเรื่อง (เช่น เรื่องนรก สวรรค์
เรื่องพระราหู จับพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในสังยุตตนิกาย เป็นต้น)
ได้เข้ามาปนอยู่ในพระไตรปิฎก ถึงกับบรรจุเข้าในพระพุทธโอษฐ์
ก็มีนั้น ต้องเป็นฝีมือของท่านผู้นี้ หรือบุคคลประเภทเดียวกับ
ท่านผุ้นี้ แต่ที่ท่านบรรจุเข้า ก็ด้วยความหวังดี ให้คนละบาป
บำเพ็ญบุญ เพราะสมกับความเชื่อถือของคนในครั้งนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้าหากว่า พระศาสดามิได้ทรงสอนเรื่องฤทธิ์ หรือ
เรื่องฤทธิ์มิได้เข้าเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลแล้ว
มันก็น่าจะได้เข้าเกี่ยวข้องในครั้งนี้ เป็นแน่.


เห็นการกล่าวตู่ พระสงฆ์(พระพุทธโฆษาจารย์) ของท่านพุทธทาสไหมครับ

ในเรื่อง นรก สวรรค์ มีในพระไตรปิฏกมากมาย ก็กล่าวตู่พระพุทธองค์ว่า เอออวย สวมรอยกับศาสนาพราหมณ์

มาในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ก็เช่นกัน หรือไม่ก็เป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ที่ปลอมปนเข้ามา



อ้างคำพูด:
บาลีพระไตรปิฎกของเรานี้ ปรากฏว่ามีอยู่คราวหนึ่ง
ซึ่งถูกถ่ายจากภาษาสิงหลกลับสู่ภาษาบาลีแล้วเผาต้นฉบับเดิมเสีย
และผู้ที่ทำดังนี้ก็คือ ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้เป็นเอกอัครแห่ง
พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายนั่นเอง,

ท่านผู้นี้เป็นพราหมณ์โดยกำเนิด จึงนำให้นักศึกษาหลายๆ คน
เชื่อว่า ถ้าเรื่องของพราหมณ์หลายเรื่อง (เช่น เรื่องนรก สวรรค์
เรื่องพระราหู จับพระอาทิตย์ พระจันทร์ ในสังยุตตนิกาย เป็นต้น)
ได้เข้ามาปนอยู่ในพระไตรปิฎก ถึงกับบรรจุเข้าในพระพุทธโอษฐ์
ก็มีนั้น ต้องเป็นฝีมือของท่านผู้นี้ หรือบุคคลประเภทเดียวกับ
ท่านผุ้นี้ แต่ที่ท่านบรรจุเข้า ก็ด้วยความหวังดี ให้คนละบาป
บำเพ็ญบุญ เพราะสมกับความเชื่อถือของคนในครั้งนั้น


ที่ผมยกมาให้เห็นเป็นการแสดงข้อเท็จจริงทางวิชาการของท่านพุทธทาส

มิได้ เป็นตามที่เหลิมกล่าวหาแน่นอนว่า เห็นการกล่าวตู่ พระสงฆ์(พระพุทธโฆษาจารย์) ของท่านพุทธทาสไหมครับ

อ้างคำพูด:
ในเรื่อง นรก สวรรค์ มีในพระไตรปิฏกมากมาย ก็กล่าวตู่พระพุทธองค์ว่า เอออวย สวมรอยกับศาสนาพราหมณ์

มาในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ก็เช่นกัน หรือไม่ก็เป็นพระพุทธโฆษาจารย์ ที่ปลอมปนเข้ามา

[/quote]

นี่ก็เป็นการแสดงข้อเท็จจริงของท่านพุทธทาส

แต่เนื้อหาบทความเหลิมไม่ได้ยกมาผมจะงดไว้ก่อน

ผมขอกล่าวหาว่าเฉลิมศักดิ์

จงใจทำผิดกฎกรุณางดเว้นเรื่องการเมือง, การกล่าวโจมตีสำนักปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ วิธีปฏิบัติ เป็นเหตุสร้างความแตกแยก และหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ไม่เหมาะสมในลานสนทนาธรรมครั้งแล้วครั้งเล่า

เป็นการจงใจเข้ามาป่วนเวปลานธรรมจักร์

จึงสมควรมีการลงโทษเพื่อไม่ให้เป็นมาตรฐานการกระทำผิดของบุคคลอื่นๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 19 มิ.ย. 2010, 06:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 50 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร