วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 15:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ที่ได้ศึกษาและมีความเข้าใจในพระอภิธรรมอย่างลึกซึ้งย่อมรู้สึกว่า การเกิดเป็นทุกข์ แม้จะเกิดในภพภูมิของมนุษย์ก็ตาม และการเวียนว่ายตายเกิดเป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด เพราะไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่าชีวิตในภพชาติต่อๆไป จะไม่พลาดถลำลงต่ำไปเกิดในทุคติภูมิ นอกจากบุคคลผู้นั้นได้ปฏิบัติตนเข้าถึงพระอริยสัจธรรมนำชีวิตเข้าสู่พระอริยบุคคลแล้ว เพราะว่าบุคคลนับตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไปเท่านั้นที่อบายภูมิจะปิดสนิทสำหรับชีวิตของท่าน และการเวียนว่ายตายเกิดที่จะมีต่อไปในสุคติภูมินั้น ย่อมมีได้ไม่เกิน ๗ ชาติ จึงนับได้ว่าพระโสดาบัน ท่านเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่สร้างหลักประกันภัยในการเวียนว่ายตายเกิดให้กับชีวิตได้แล้ว แต่สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชนทุกคนต้องยอมรับว่าอนาคตชาติในการเวียนว่ายตายเกิดของตนนั้นต้องมีต่อไปเป็นอนันตังไม่มีที่สิ้นสุด เพราะปุถุชนคือบุคคลที่ยังหนาแน่นด้วยกิเลส และ กิเลส นี่เองที่เป็นตัวการ ผลักพาให้เกิดการกระทำกรรม เมื่อมีกรรมย่อมเป็นที่แน่นอนว่า วิบาก คือ รูปขันธ์ และนามขันธ์ ย่อมต้องเกิด ฉะนั้นวัฏฏะทั้งสาม คือ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ และวิปากวัฏ ที่หมุนวน ย่อมทำให้สังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิดไม่อาจสิ้นสุดหยุดลงได้ และทุกภพชาติที่เกิด กำเนิดของสัตว์ย่อมวิจิตร เพราะจิตย่อมวิจิตรในการสั่งสมกรรม และกิเลส

เมื่อกล่าวถึงกิเลส มีพุทธวจนะกล่าวว่า กิเลเสนฺติ อุปตาเปนฺตีติ แปลว่า ธรรมชาติใดย่อมทำให้เร่าร้อนเศร้าหมอง ธรรมชาตินั้นชื่อว่า กิเลส” ซึ่งมีถึง ๑๐ ประการ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉาถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ และอโนตตัปปะ ซึ่งกิเลสนี้หากจำแนกตามอาการแล้ว จะมี ๓ ลำดับ คือ

๑. กิเลสอย่างหยาบ เรียก วีติกมกิเลส เป็นกิเลสที่แสดงออกทางกาย และวาจา

๒. กิเลสอย่างกลาง เรียก ปริยุฏฐานกิเลส เป็นกิเลสอย่างกลางที่คุกรุ่นอยู่ภายในใจ

๓. กิเลสอย่างละเอียด เรียก อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ไม่ฟูขึ้นในใจ

ธรรมดาอนุสัยกิเลสเป็นธรรมชาติที่ละเอียดซ่อนเร้นอยู่เป็นประจำในขันธสันดานของบุคคล (ยกเว้นพระอรหันต์) ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏทางทวารใดเลย ต่อเมื่อมีอารมณ์มากระทบทวารใดทวารหนึ่ง อนุสัย-กิเลสที่นอนนิ่งอยู่นั้นก็จะแปรสภาพเป็น ปริยุฏฐานกิเลส เกิดขึ้นทางใจ เกิดความยินดี ยินร้ายต่ออารมณ์ที่ประสบนั้น และถ้าปริยุฏฐานกิเลสนั้นมีกำลังมากขึ้น ก็จะแปรสภาพเป็น วีติกกมกิเลส เกิดเป็นกิเลสอย่างหยาบ ปรากฏขึ้นเป็นการกระทำ (กรรม) ที่แสดงออกทางกาย และวาจา

ประการสำคัญความเป็นไปแห่งชีวิต คือรูปนามขันธ์ ๕ ของสัตว์ทั้งหลายแต่ละคน ที่ล้วนเกิดแล้วตาย และยังเวียนว่ายตายเกิดกันอีกต่อไป ย่อมแสดงให้เห็นว่าวัฏทุกข์ของสัตว์ทั้งหลายนั้นเจริญรุ่งเรืองมากมายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังพระบาลีที่กล่าวไว้ถึงธรรมอันเป็นต้นเหตุว่า

“อายตํ สํสารทุกขฺขํ สวนฺติ ปสวนฺติ วฑฺเฒนฺตีติ = อาสวา” แปลว่า ธรรมเหล่าใดทำให้วัฏทุกข์ที่ยาวนานนั้นเจริญรุ่งเรืองมากมายไม่มีที่สิ้นสุด ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อาสวะ

อาสวะ ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ และโมหะ ซึ่งธรรม ๓ ประการนี้ติดหมักหมมอยู่ในขันธสันดานของสัตว์ทั้งหลายเป็นเวลาช้านาน จนนับจำนวนภพชาติไม่ได้ และธรรมเหล่านี้เมื่อปรากฏแก่ผู้ใด จิตใจของผู้นั้นจะมึนเมา ขาดสติ ตกอยู่ในอำนาจของโลภะบ้าง ทิฏฐิบ้าง โมหะบ้าง เป็นเหตุให้สามารถกระทำทุจริตกรรมต่างๆ ได้

อาสวะมี ๔ ประการ คือ

๑. กามาสวะ คือธรรมชาติที่เป็นเครื่องหมักดอง หรือไหลไปในกามคุณอารมณ์ องค์ธรรมได้แก่ โลภะเจตสิก ในโลภะมูลจิต ๘

๒. ภวาสวะ คือธรรมชาติที่เป็นเครื่องหมักดอง หรือไหลอยู่ด้วยความยินดีติดใจในอัตภาพแห่งตน องค์ธรรมได้แก่ โลภะเจตสิก ในทิฏฐิวิปปยุติจิต ๔

๓. ทิฏฐาสวะ คือธรรมชาติที่เป็นเครื่องหมักดอง หรือไหลอยู่ในความเห็นผิด องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ในทิฏฐิสัมยุตจิต ๔

๔. อวิชชาสวะ คือธรรมชาติที่เป็นเครื่องหมักดอง หรือไหลอยู่ในความหลง ความโง่ ไม่รู้เหตุผลตามความจริง องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก ในอกุศลจิต ๑๒

ไม่ว่าจะเป็น กิเลส อนุสัย หรืออาสวะ ล้วนเป็นชื่อของหมวดหมู่ที่กล่าวถึงอกุศลมูลทั้งสิ้น และเป็นที่แน่นอนว่า สิ่งเหล่านี้ย่อมมีอยู่ในบุคคลโดยทั่วไป และเป็นเหตุให้เขาเหล่านั้นต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏทุกข์อย่างนับภพนับชาติไม่ถ้วน ล้วนไม่มีโอกาสที่หลุดรอดออกไปจากสังสารวัฏได้ แต่เพราะด้วยพระมหากรุณา-ธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงมุ่งมาดปรารถนาช่วยเหลือเหล่าเวไนย์ให้ไปได้พ้นจากห้วงเหวแห่งความทุกข์ พระองค์จึงทรงอุบัติเพื่อตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงเห็นว่า “พระนิพพาน” เท่านั้น ที่จะทำให้สัตว์ทั้งหลายที่สามารถเข้าถึงได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป และทรงชี้หนทางที่จะไปสู่พระนิพพาน ว่า

“เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยาโสก ปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกข์โทมนสฺสานํอตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺสสจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ”แปลความว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วงจากความโศก ความร่ำไห้ เพื่อความดับสิ้นไปจากทุกข์ และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมวิเศษที่ควรรู้ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทางนั้นคือ สติปัฏฐาน ๔ “

ดังนั้นผู้ใดที่ปรารถนาจะนำชีวิตไปให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด จะต้องปฏิบัติตนตามทางที่พระพุทธองค์ทรงชี้ให้ คือ “สติปัฏฐาน ๔” เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง เพราะเมื่อบุคคลใดแจ้งในพระนิพพาน บุคคลผู้นั้นย่อมกระทำภพชาติที่มีอยู่ให้เป็นภพชาติสุดท้ายได้ คือ เมื่อตายแล้ว ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป

สติปัฏฐาน ๔ คืออะไร

สติ แปลว่า การตามระลึกรู้อารมณ์

ปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้ง (ของการเพ่ง)

สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ฐาน หรือที่ตั้งอันเป็นที่รองรับของการกำหนดสติอย่างประเสริฐ เพราะเป็นการตามระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ (รูป-นาม) ที่เกิดขึ้นตามฐาน ซึ่งมี ๔ ฐานด้วยกัน คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ผู้ใดที่มีการปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักของสติปัฏฐาน ย่อมเป็นเหตุให้เกิดวิปัสสนาปัญญา อันเป็นปัญญาที่เข้าถึงสภาวธรรมของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ในที่สุด ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ สามารถทำลายวิปลาสธรรม ๔ ประการได้ คือ


๑. กายานุปัสสนาสติปัฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณากาย ซึ่งเป็นรูปธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงรูปนั้นเป็นอสุภะ เป็นการทำลาย สุภวิปลาส


๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาเวทนา ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงเแล้ว นามเป็นทุกข์ เป็นการทำลาย สุขวิปลาส


๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาจิต ซึ่งเป็นนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้วนามเป็นอนิจจัง เป็นการทำลาย นิจจวิปลาส


๔. ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติตั้งมั่นในการพิจารณาธรรม ซึ่งเป็นทั้งรูปธรรม และนามธรรม เพื่อให้เห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว รูป และนามนั้น เป็นอนัตตา เป็นการทำลาย อัตตวิปลาส

โดยทั่วไปแล้ว ชีวิตทุกชีวิตย่อมมีวิปลาสธรรมเสมอ วิปลาสธรรม หมายถึง ธรรมที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะตั้งแต่เกิดมาเราไม่เคยรู้เลยว่า ชีวิตคือ ขันธ์ห้า ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันประกอบขึ้นจาก จิต เจตสิก และรูป ที่มีการเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ทั้งนี้เพราะ อาสวะ และอวิชชา ที่เรามีมาเนิ่นนานจนนับภพนับชาติไม่ถ้วน ประกอบกับตัวการสำคัญที่มาคอยปิดบัง ทำให้เราไม่สามารถเข้าถึงสภาวธรรมของความจริงอันได้แก่ “ไตรลักษณ์” ได้ นั่นคือ

๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจัง เพราะสันตติ คือ การเกิดสืบต่อของนามรูปที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ไม่สามารถเห็นความเกิด และความดับของนามรูปได้ เราจึงเข้าใจผิดว่ามีความเที่ยงแท้ถาวร (นิจจัง)

๒. อิริยาบถ ปิดบัง ทุกขัง เพราะการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน ที่มีอยู่เกือบตลอดเวลา จึงทำให้คนเรามองไม่เห็นทุกข์ที่เกิดจากอิริยาบถเก่า ด้วยอำนาจของตัณหาคนเราจึงไขว่คว้าหาความสบายจากอิริยาบถใหม่ เมื่อเปลี่ยนแล้วหลงเข้าใจว่าเป็นสุข การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถจึงปิดบังทุกขเวทนา ทำให้ไม่สามารถเห็นทุกขสัจจะได้

๓. ฆนสัญญา ปิดบัง อนัตตา เพราะ ฆนสัญญา คือ ความเป็นกลุ่มเป็นก้อนที่เกิดจากการประชุมกันของรูปธรรม และนามธรรม จึงทำให้เราหลงผิดคิดว่าชีวิตเป็นตัวตน (อัตตา)

เพราะธรรมที่ปิดบังไตรลักษณ์นี้เอง จึงทำให้เราหลงผิดคิดว่า ชีวิตคือรูปนามนี้ดี มีความสวยงามน่ารัก(สุภวิปลาส) มีความสุขสบาย (สุขวิปลาส ) มีความเที่ยงแท้ ถาวร (นิจจวิปลาส) และเป็นตัวตน คน สัตว์ (อัตตวิปลาส) ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้ว ชีวิตเป็นเพียงแค่ขันธ์ห้า คือรูปธรรมและนามธรรม ที่ประกอบกันขึ้นมาด้วยรูปธาตุ จนเป็นรูปกลาปต่างๆ ในที่สุดก็เกิดเป็นกลุ่มก้อนของอวัยวะที่ล้วนมีแต่อสุภะ และทั้งรูปนามที่เกิดขึ้นนั้นก็คงสภาพเดิมไว้ไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องแตกดับ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง และไม่สามารถบังคับบัญชาได้

องค์ธรรมของวิปลาสมี ๓ คือ ทิฏฐิ (ทำให้เห็นผิด) จิต (ทำให้เข้าใจผิด) สัญญา (ทำให้จำผิด) ประกอบกับวิปลาสธรรมมี ๔ คือ หลงผิดคิดว่าชีวิตนี้ดี มีสุข เที่ยง และเป็นตัวตน จึงรวมเป็นวิปลาสธรรม ๑๒ ประการ ซึ่งวิปลาสเหล่านี้เอง ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้ชีวิตคนเราต้องมีความดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) เมื่อสมหวังก็เกิดความพอใจ เรียกว่า อภิชฌา แต่ถ้าได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี (อนิฏฐารมณ์) ก็จะผิดหวัง ไม่พอใจ เรียกว่า โทมนัส ไม่ว่าจะพอใจ หรือไม่พอใจล้วนเป็นกิเลสทั้งสิ้น บางท่านเรียกความต้องการในอารมณ์ที่น่ายินดี และปัดป้องอารมณ์ที่ไม่น่ายินดีนี้ว่า “ตัณหา” แต่ถ้าผู้ใดสามารถวางใจไว้ได้อย่างแยบคาย หรือที่เรียกว่ามี “โยนิโสมนสิการ” ในสติปัฏฐาน ๔ นั่นคือสามารถกำหนดสติได้เท่าทันในปัจจุบันอารมณ์ ว่ามีรูปอะไร หรือนามอะไรเกิดขึ้น สติและสัมปชัญญะที่เกิดขึ้นในขณะนั้นย่อมป้องกันกิเลส-ตัณหา ทำให้อภิชฌา และโทมนัสเกิดขึ้นไม่ได้ จึงเป็นที่แน่นอนว่าอารมณ์ขณะนั้นย่อมปราศจากกิเลส เมื่อกิเลสไม่มี กรรมย่อมไม่เกิด ขณะนั้นจึงเป็นวิวัฏฏกรรม ซึ่งไม่สามารถทำให้เกิดผลคือวิบาก อันได้แก่รูปนามขันธ์ห้า (ชีวิต) ที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้าได้อย่างแน่นอน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ธรรมของ สติปัฏฐาน ๔ นี้ ได้แก่ สติเจตสิก ที่ประกอบกับจิตที่เป็นติเหตุกชวนจิต ๓๔ ดวง คือ มหากุศลญาณสัมปยุตตกุศลจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตกุศลจิต ๔ มหัคคตกุศลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘

ดังนั้นวิปลาสธรรมทั้งหมดมีเกิดขึ้นมาได้ เพราะเราไม่เท่าทันในความจริงของชีวิตรูป และชีวิตนาม ที่เรียกว่า “อโยนิโสมนสิการ” แต่ขณะใดที่มี “โยนิโสมนสิการ” ขณะนั้นสติปัฏฐานก็เกิดขึ้นด้วย และเป็นที่แน่นอนว่าเวลานั้นวิปลาสธรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ อาจกล่าวได้ว่าโยนิโสมนสิการ เป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะไขประตูชีวิต ให้ผู้ปฏิบัติได้เข้าไปเห็นความจริงว่า “ชีวิตที่ประกอบด้วยรูปนามขันธ์ห้านั้น แท้ที่จริงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

มีพุทธวจนะกล่าวไว้ว่า

ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้ง และขับไล่วิปลาสธรรมให้ออกไปได้ ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา

ธรรมชาติใดก็แล้วแต่ ย่อมเห็นแจ้งในขันธ์ ๕ โดยประการต่างๆ มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ธรรมชาตินั้นเรียกว่า วิปัสสนา


ฉะนั้น การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ก็คือ การปฏิบัติวิปัสสนานั่นเอง

สรุปได้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ หรือการปฏิบัติวิปัสสนา เท่านั้น จึงจะสามารถทำลายวิปลาสธรรมทั้ง ๔ ได้ และเมื่อใดที่วิปลาสธรรมถูกทำลายลง เมื่อนั้นผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึงสภาวธรรมแห่งไตรลักษณ์ หากบุคคลใดได้ประจักษ์แจ้งในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นผู้ที่กำลังดำเนินอยู่ในเส้นทางของการพ้นทุกข์โดยตรง

การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ควรทำอย่างไร

สติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติในหนทางของ “เอกายนมรรค” ซึ่งแปลว่า ทางที่ไปอันเอก ทั้งนี้เพราะ เอกายนมรรคนั้น หมายถึง

- ทางที่ไปของบุคคลผู้เดียว คือต้องไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ จะต้องหลีกเร้นสงัดอยู่แต่ผู้เดียว
- ทางยอดเยี่ยมทางเดียวที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ
- ทางยอดเยี่ยมที่จะดำเนินไปนี้มีอยู่ในพระธรรมวินัยที่เดียวเท่านั้น
- ทางที่ไปสู่ที่แห่งเดียว คือไปสู่พระนิพพานเท่านั้น

ดังนั้นผู้ใดต้องการปฏิบัติสติปัฏฐานจะต้องศึกษาให้รู้จักหนทางเสียก่อนที่จะเดินทาง นั่นคือจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจในปริยัติก่อนลงมือปฏิบัติ โดยแบ่งเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้

๑. ขั้นเตรียม

สิ่งที่ผู้ปฏิบัติจะต้องเรียนรู้ คือ

๑. อารมณ์ของการปฏิบัติ จะต้องเป็นปรมัตถ์อารมณ์ ซึ่งต่างกับการปฏิบัติสมาธิ อารมณ์ปรมัตถ์นี้จะเป็นเสมือนพาหนะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่วิปัสสนาปัญญาได้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจใน เรื่องของ วิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ ซึ่งเมื่อสงเคราะห์ลงแล้ว ก็คือ รูป - นาม นั่นเอง ผู้ปฏิบัติจึงต้องกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ฉะนั้นก่อนปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะที่มีการกระทบอารมณ์ตามทวารต่างๆจะต้องกำหนดอย่างไรจึงจะแก้ไข ความโง่ และความเห็นผิดได้

๒. ปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจในปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างกันของปัจจุบันธรรม และปัจจุบันอารมณ์

- ปัจจุบันธรรม คือ รูป นาม ที่เกิดเป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยไป
- ปัจจุบันอารมณ์ คือ รูป นามที่ปรากฏเฉพาะหน้า

ปัจจุบันที่มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ คือ ปัจจุบันอารมณ์ เพราะ อภิชฌา-โทมนัส จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดได้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงหรือไม่ หากกำหนดได้ทันว่ามีรูปอะไร นามอะไร เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบัน ขณะนั้นอภิชฌา และโทมนัสย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เท่ากับว่าในขณะนั้นสมุทัย อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมถูกละไป (เป็นการทำลายตัณหา) ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องคอยสังเกตให้ได้ทันในปัจจุบันอารมณ์

๓. ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นคือสภาวธรรม ไม่มีบุคคล ตัวตน คน สัตว์ ชาย หญิง มีแต่ความจริงคือรูปธรรม และนามธรรม แม้แต่การปฏิบัติก็มีเพียงตัวกรรมฐาน (ผู้ถูกเพ่ง) ได้แก่ “สติปัฎฐาน ๔” กับ ผู้เจริญกรรมฐาน (ผู้เพ่ง) ที่เรียกว่า “โยคาวจร” ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ

๑) สติมา คือมีสติตั้งมั่นอยู่ที่ฐานทั้ง ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม โดยเท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น

๒) สัมปชาโณ คือมีสัมปชัญญะ รู้ตัวเสมอว่ากำลังกำหนดอะไร ดูอะไร สิ่งที่กำหนดอยู่นั้นเป็นรูปอะไร นามอะไร

๓) อาตาปี คือต้องมีความเพียรประคองจิต ๔ ประการ คือ

เพียรละ บาปเก่าๆ ไม่ให้เกิดขึ้น ในที่นี้หมายถึงการถ่ายถอนทิฏฐานุสัย (ทิฏฐิ) อันเป็นบาปเก่าๆ ที่หลงเข้าใจผิดว่าชีวิตเป็น ฉัน เรา เขา ให้เอาออกไปให้ได้ ด้วยการกำหนดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงว่าเป็นรูป เป็นนาม

เพียรระวัง ไม่ให้ความชั่วใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ ด้วยการระวังป้องกันกิเลสใหม่ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นได้ด้วยการเพียรสำรวมอินทรีย์ คือขณะเห็น ขณะได้ยิน เป็นต้น จะต้องกำหนดได้ถูกต้องว่าเป็นรูปอะไร นามอะไร

เพียรสร้าง วิปัสสนากุศลให้เกิดขึ้น ด้วยการศึกษาทำความเข้าใจ และเพียรฝึกหัดกำหนดรูปนามให้เกิดขึ้นได้เท่าทันในอารมณ์ปัจจุบัน

เพียรรักษา วิปัสสนากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และพอกพูนให้มีมากขึ้น ด้วยการหมั่นระลึกรูปนามที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ให้เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบันอยู่เนืองๆ

เพราะ อารมณ์ปัจจุบัน เป็นปัจจัยแก่ การทำลาย อภิชฌา โทมนัสและ อารมณ์ปัจจุบัน จะเป็นปัจจัยทำให้เกิด วิปัสสนาปัญญา

สรุปได้ว่า การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ นั้น เป็นการทำลาย “ตัณหา” คือ อภิชฌา - โทมนัส และ “ทิฏฐิ”คือความเป็นฉัน เรา เขา ซึ่งทั้งตัณหา และทิฏฐิ นี้คือองค์ธรรมของอุปาทาน อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด ภพ ได้แก่ กรรมภพ และอุปัตติภพ หากผู้ใดปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ได้ถูกต้อง ผู้นั้นย่อมทำลายได้ทั้ง ตัณหา อุปาทาน ภพ ซึ่งเป็นปัจจุบันเหตุ ที่จะทำให้เกิดอนาคตผล คือ ชีวิตในชาติหน้า นับได้ว่า บุคคลผู้นั้นกำลังสร้างอำนาจของการกระทำเพื่อยุติการเกิดของชีวิตได้ การกระทำนั้นก็คือ การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ นั่นเอง

ฉะนั้นผู้ปฏิบัติจะต้องมีความมั่นใจว่า ทางสายเอกนี้ทางเดียวเท่านั้นที่จะทำชีวิตให้ยุติการเกิดได้ และเป็นทางเดียวที่จะทำให้ชีวิตสิ้นสุดจากสังสารวัฏ



๒. ขั้นปฏิบัติ


เมื่อผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจในหลักการของปฏิบัติแล้ว ย่อมสามารถลงมือปฏิบัติได้ทันที การปฏิบัติสติปัฏฐานนี้ บางท่านเรียกว่า การปฏิบัติวิปัสสนา การปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา การปฏิบัติมัคคพรหมจรรย์ การปฏิบัติไตรสิกขา ทั้งหมดนี้คืออย่างเดียวกัน เป็นการปฏิบัติที่ประกอบด้วยองค์ของ ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นธรรมที่ปหาณกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียดให้หมดลงไปได้

ในการปฏิบัตินี้ ผู้ปฏิบัติจะต้องยึดหลักสำคัญ ๓ ประการ คือ

๑) ต้องระวัง นั่นคือผู้ปฏิบัติต้องมีความสำรวมระวังอินทรีย์ ด้วยศีลในองค์มรรค คือ อินทรียสังวรศีล เป็นการสำรวมขณะเห็น ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ขณะรู้รส ขณะสัมผัส และขณะนึกคิด โดยไม่ให้พลาด หรือตกไปจากอารมณ์ของรูป-นาม มิฉะนั้นจะเป็นการเปิดโอกาสให้กิเลสเกิดขึ้นได้ การระวังนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ของวิรตี ๓ คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เกิดร่วมกันเป็นองค์ของศีล ซึ่งศีลที่เกิดขึ้นในอารมณ์ปฏิบัติเช่นนี้ เรียกว่า อธิศีล

อินทรียสังวรศีล มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติ เพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิด อารมณ์ปัจจุบันได้โดยง่าย

๒) ต้องสังเกต นั่นคือ ผู้ปฏิบัติต้องคอยสังเกตอารมณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นที่ฐานใด และเกิดขึ้นที่รูป หรือที่นาม ฉะนั้นการสังเกตนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีสมาธิ คือจิตที่ตั้งมั่น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อจิตในขณะนั้นประกอบด้วย วิริยะ สติ และเอกัคคตา ซึ่งเป็นองค์ของ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ รวมเป็นสมาธิในมรรค ที่เรียกว่า อธิจิต

๓) ต้องรู้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติต้องกำหนดอารมณ์ตามสภาวธรรมของความจริงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นรูปอะไร นามอะไร การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเป็นไปเพราะเหตุอะไร ผู้ปฏิบัติจึงต้องมีเหตุผลประกอบการกระทำให้กับตนเองตลอดเวลา นั่นคือจะต้องรู้ว่าไม่มีอะไรเป็นตัวการให้เกิดการกระทำได้เลย นอกไปจากทุกข์อริยสัจ อันเป็นปัญญาที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และแสดงโปรดให้เวไนย์ใช้เป็นกิจในการกำหนดรู้ก่อนการเปลี่ยนแปลงและแก้ไข ดังนั้นความสามารถในการกำหนดรู้รูป-นามนี้จะเกิดขึ้นได้ จะต้องมีปัญญา และวิตกเจตสิก ซึ่งเป็นองค์ของสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ ร่วมกันเป็น ปัญญาในไตรสิกขา เรียกว่า อธิปัญญา

มาถึงตอนนี้นับได้ว่า ผู้ปฏิบัติได้เริ่มดำเนินตามรอยทางของพระบรมศาสดา ผู้เสด็จไปแล้วด้วยดี เพราะทางที่พระพุทธองค์ทรงดำเนินไปแล้ว และนำกลับมาโปรดแก่สัตวโลกนั้น ก็คือ ทางมัชฌิมาปฏิปทา อันเป็นทางสายกลางระหว่างทางกามสุขนุโยคที่สร้างความยินดีให้ กับอัตตกิลมถานุโยคที่สร้างความทุกข์ยากลำบากให้ นับได้ว่าทางที่พระองค์ทรงชี้ให้เดินตามนั้นเป็นทางที่ไม่ให้เอนเอียงไปในอภิชฌา และ โทมนัส นั่นคือเห็นก็สักแต่ว่าเป็นนามเห็น (เห็นเฉยๆ) ได้ยินก็สักแต่ว่านามได้ยิน (ได้ยินเฉยๆ) เป็นต้น หมายความว่าไม่มีความยินดี ยินร้าย เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบันนั้นๆ

ฉะนั้นทางแห่งความหลุดพ้นจึงไม่ได้อยู่ไกลไปจากผู้เจริญกรรมฐาน แต่อยู่ตรงการกระทบอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันตามทวารต่างๆ นั่นเอง เพียงแต่ขณะนั้นผู้ปฏิบัติจะต้องเท่าทัน สามารถวางใจได้ถูกต้อง และแยบคายตามสภาวธรรม เมื่อใดที่อินทรีย์มีกำลังมากขึ้น องค์ของศีล สมาธิ และปัญญา จะมารวมกันเป็นหนึ่ง เรียกว่า “เอกสามัคคี” (มรรคสามัคคี) เมื่อนั้นวิปัสสนาปัญญาย่อมจะเกิดขึ้นเป็นบันไดพาผู้ปฏิบัติก้าวเข้าไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ตามความต้องการ

๓. ผลการปฏิบัติ

ทุกคนต้องไม่ลืมหลักของความจริงที่ว่า ผลย่อมต้องมาจากเหตุ บุคคลใดสร้างเหตุอะไรไว้ ผลย่อมต้องมีเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุนั้นๆ อย่างแน่นอน การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความหลุดพ้นก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน นั่นคือบุคคลใดที่มีความต้องการเดินทางไปในเส้นทางสายเอกนี้ จะต้องสร้างเหตุไว้ ๒ ประการ คือ

๑. เหตุอดีต ได้เคยสร้างสมอบรมปัญญาไว้มาก หมายความว่า กรรมภพที่เขาได้กระทำมาบ่อยๆ ในอดีตชาตินั้นต้องเป็นมหากุศลญาณสัมปยุต และมีอำนาจเพียงพอทำให้เกิดอุปัตติภพ เป็นมหาวิปากญาณสัมปยุต ซึ่งทำให้บุคคลผู้นั้นเกิดเป็นคนไตรเหตุที่เรียกว่า “ติเหตุกบุคคล” หมายถึงบุคคลที่มีสิทธิ์กระทำ มรรค ผล นิพพาน ให้แจ้งได้

๒. เหตุปัจจุบัน มีการตั้งตนไว้ชอบ หมายความว่าได้มีโอกาสคบหากัลยาณมิตร ได้ใกล้ชิดกับพระธรรม โดยเฉพาะมีการศึกษาเพื่อหาหนทางของการพ้นทุกข์ จนมีความเข้าใจในหลักการ และวิธีการ โยนิโสมนสิการ จนสามารถนำไปปฏิบัติวิปัสสนาได้

เมื่อใดที่บุคคลผู้มีคุณสมบัติของเหตุดังกล่าวได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามหลักของสติปัฏฐาน เหตุที่กระทำมาจะเป็นตัวอุดหนุนให้อินทรีย์มีกำลังแก่กล้า ด้วยปัญญาที่ปรีชามากขึ้นย่อมเป็นปัจจัยส่งเสริมให้บุคคลผู้นั้นประจักษ์ความจริงของรูปนามได้โดยง่าย ญาณปัญญาจากนามรูปปริเฉทญาณ ปัจจยปริคห-ญาณ สัมมสสนญาณ ที่เกิดขึ้นตามลำดับ ทำให้ประจักษ์ความจริงของไตรลักษณ์ได้ และเมื่อใดที่โยคาวจรอาศัย “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” เป็นพาหนะพาสู่ “วิปัสสนาญาณ ๙“ (นับตั้งแต่อุทยัพพยญาณ จนถึงอนุโลมญาณ)ได้สำเร็จ นับว่าเขาสามารถก้าวเข้าถึงธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ คือ อริยสัจ ๔ ได้เมื่อนั้น เพราะ อนุโลมญาณนั้นก็คือ ญาณที่อนุโลมให้เห็นอริยสัจ ๔ หมายถึง

ทุกข์ ซึ่งเป็นของที่มีอยู่แท้จริง และพระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดให้เป็นกิจรู้ นับได้ว่าโยคาวจรผู้นั้น ได้กำหนดรู้แล้ว

สมุทัย ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ และพระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดให้เป็นกิจละ นับได้ว่าโยคาวจรผู้นั้น ได้ละแล้ว

นิโรธ ซึ่งเป็นธรรมที่ดับทุกข์ และพระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดให้เป็นกิจที่ควรกระทำให้แจ้ง นับได้ว่าโยคาวจรผู้นั้น ได้ทำให้แจ้งแล้ว

มรรค ซึ่งเป็นหนทางที่ดับทุกข์ และพระพุทธองค์ได้ทรงกำหนดให้เป็นกิจที่ควรดำเนินตาม นับได้ว่าโยคาวจรผู้นั้น ได้ดำเนินตามแล้ว

เมื่อบุคคลใดเข้าถึงอริยสัจ เมื่อนั้นสัจญาณ กิจญาณ กตญาณ ได้บังเกิดขึ้นแล้วกับบุคคลนั้น ปริวัฏ ๓ อาการ ๑๒ ในอนุโลมญาณ จะเป็นปัจจัยให้ผู้นั้นก้าวเข้าสู่ โคตรภูญาณ อันเป็นญาณที่ประจักษ์แจ้งในพระนิพพาน สามารถปหาณกิเลส พร้อมกับตัดโคตรปุถุชน เข้าสู่อริยชนได้ (ตามลำดับ) จิตที่ดำเนินอยู่ในกามวิถี ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นโลกุตตรอัปนาวิถีทันที

มัคคจิตที่เกิดขึ้นในวิถีนั้นจะเป็นตัวปหาณกิเลสให้เป็นสมุทเฉทได้ทันที ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามกำลัง และอำนาจของมัคคจิตที่จะต้องเกิดขึ้นตามลำดับ คือ๑. โสดาปัตติมรรค เมื่อเกิดขึ้นจะปหาณกิเลสเบื้องต่ำให้หมดลงไปคือ อกุศลมูล ที่ถูกทำลาย มี ๕ ดวง คือ โลภะมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตสัมปยุต ๔ ดวง และ โมหะมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉา ๑ ดวงอาสวะ ที่ถูกทำลาย คือ ทิฏฐาสวะสังโยชน์ ที่ถูกทำลายคือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาท๒. สกทาคามิมรรค เมื่อเกิดขึ้นทำให้กิเลสที่ยังเหลืออยู่เบาบางลง แต่ยังไม่หมดลงไปได้๓. อนาคามิมรรค เมื่อเกิดขึ้นจะปหาณกิเลสเบื้องกลางให้หมดลงไปคือ อกุศลมูล ที่ถูกทำลาย มี ๒ ดวง คือ โทสะมูลจิต ๒ ดวง อาสวะ ที่ถูกทำลาย คือ กามาสวะสังโยชน์ ที่ถูกทำลายคือ ปฏิฆะ และกามราคะ๔. อรหัตตมรรค เมื่อเกิดขึ้นจะปหาณกิเลสเบื้องสูงห้หมดลงไปคือ อกุศลมูล ที่ถูกทำลาย มี ๕ ดวง คือ โลภะมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตที่เหลือ ๔ ดวง และ โมหะมูลจิตที่เป็นอุทธัจจะ ๑ ดวงอาสวะ ที่ถูกทำลาย คือ ภวาสวะ และอวิชชาสวะสังโยชน์ ที่ถูกทำลายคือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชาเมื่อใดที่บุคคลนั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ขณะนั้นอกุศลมูลทั้ง ๑๒ อาสวะทั้ง ๔ รวมแล้วคือกิเลส ตัณหาต่างๆ ได้ถูกกำจัดไปอย่างหมดสิ้น เป็น ผู้ลอยบาปลอยบุญ หมายความว่า กรรมทั้งที่เป็นบุญ และบาปจะไม่เกิดกับท่านอีกต่อไป ต้นตอของวัฏฏะ คือ อวิชชา ตัณหา ถูกทำลายสิ้น เมื่อกิเลสไม่มี กรรมย่อมไม่เกิด แต่เมื่อยังต้องมีชีวิตอยู่ในชาตินั้นซึ่งเป็นภพชาติสุดท้าย ท่านจึงต้องเสวยวิบาก อันเป็นผลของกรรมเก่าที่ได้กระทำในอดีตชาติที่ผ่านๆ มา แต่เหตุปัจจุบัน คือ ตัณหา อุปาทาน กรรมภพ ที่จะต้องทำให้เกิดอนาคตผลนั้นไม่มีแล้ว ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านกระทำจึงล้วนเป็นกิริยาทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อเป็นกริยาก็จะไม่มีผลอันเป็นวิบากได้อีกต่อไป ครั้นถึงเวลาที่ท่านต้องดับขันธ์ปรินิพพาน อำนาจที่จะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นอีกจึงไม่มี เพราะถูกถอนรากถอนโคนหมดสิ้นแล้วทั้งตัณหา และอวิชชา ฉะนั้นทันทีที่จุติจิตของพระอรหันต์ดับลง ก็จะไม่มีจิตดวงต่อไปเกิดขึ้นได้อีก นี่คือ... จุดจบแห่งสังสารวัฏ เป็นกาลอวสานของชีวิต ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของการมีชีวิตอย่างแท้จริง เพราะเป็นการจบสิ้นแล้วซึ่งการเกิดขึ้นของ จิต เจตสิก และกรรมชรูป ที่เคยมีมานับภพนับชาติไม่ถ้วน และเป็นชีวิตของผู้ที่หลุดพ้นแล้วซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง พระอรหันต์ จึงเป็นบุคคลประเภทเดียวที่พบสันติสุข และได้รับอมตสุขอย่างถาวรตลอดนิรันดร์กาล
-------------------------------------------------------
ศึกษาเพิ่มเติมที่
http://www.abhidhamonline.org/

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 06:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผู้ที่ได้ศึกษาและมีความเข้าใจในพระอภิธรรมอย่างลึกซึ้งย่อมรู้สึกว่า การเกิดเป็นทุกข์


สาธุ.. :b8:

ผู้รู้..ย่อมไม่รอช้า..ที่รอช้าเพราะยังไม่รู้

รู้ทุกข์จริง..ย่อมต้องเร่งรีบควนขวายออกจากทุกข์

ที่ยังขี้เกียจ..เนินช้า..เพราะยังไม่รู้ทุกข์จริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระอรหันต์ที่ไม่ได้ปริยัติธรรมพระอภิธรรมมีมากว่าปริยัติพระอภิธรรม

การบรรลุอรหันต์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเรียนอภิธรรมหรือไม่

สมัยพุทธกาลไม่มีอภิธรรม

มีแต่พวกที่เรียนอภิธรรมมาแล้วชอบอวดต้วอวดอ้าง


เดินตามอริยะมรรคที่มีองค์แปดตามคำสั่งสอนของพระตถาคต

แล้วจะบรรลุอรหันต์เอง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นับเป็นบุญแล้วที่ได้อ่านพระอภิธรรมจากเหลิม

มือวางอันดันหนึ่งพระอภิธรรมของโลกมาบรรยายเอง


เก่งๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

smiley smiley smiley

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างเหลิมนี่ถึงจะเรียกว่าผู้รู้แจ้งเห็นจริงได้

ขอคาราวะ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย เว็บมาสเตอร์ เมื่อ 18 มิ.ย. 2010, 20:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
เดินตามอริยะมรรคที่มีองค์แปดตามคำสั่งสอนของพระตถาคต

แล้วจะบรรลุอรหันต์เอง



เหลิมปฏิเสธ ฌาณนะคุณmes อย่าลืม ขัด ต่อ มรรค8มรรค4 และไตรสิกขา และฌาณมีก่อนสติปัฏฐานมีหลัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า ชีวิตจะยุติการเกิดได้อย่างไร ?

ตอบ...ด้วยการดับอวิชชา อวิชชา คือ ความไม่รู้สภาวธรรม (ชีวิต) ตามเป็นจริงหรือตามที่มันเป็น

เขียนให้เห็นภาพ

อวิชชาดับ =>สังขารดับ ฯลฯ อุปาทานดับ => ภพดับ => ชาติดับ (การเกิดดับ คือ ไม่เกิดอีก)=> ชรา

มรณะดับ (ความแก่ ความตายดั บ = เมื่อไม่เกิดก็ไม่แก่ไม่ตาย)ฯลฯ ทุกข์โทมนัสดับ ฯลฯ = ทุกข์นิโรธ


ชาติ แปลว่าการเกิด

ชรามรณะ ความแก่และความตาย

ทุกข์ก็ดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




16.jpg
16.jpg [ 59.58 KiB | เปิดดู 7164 ครั้ง ]
พระพุทธเจ้ารู้อะไร ?

viewtopic.php?f=7&t=32347

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สังสารวัฏ หรือ การเวียนว่ายตายเกิดแบบที่เป็นไปในปัจจุบันภายในชาตินี้ พึงศึกษาพระสูตรตอนหนึ่งดังนี้

"ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ใน ธรรมสี่ประการ เมื่อไม่มีความ

สำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ย่อมเรียกได้ว่า เป็นมุนีผู้สงบ
" ข้อความที่กล่าวไว้ดังนี้นั้น

เราได้กล่าวโดยอาศัยเหตุผลอะไร ?(ชี้แจงว่า) ความสำคัญตนย่อมมีว่าเราเป็นบ้าง เราไม่เป็นบ้าง

เราจักเป็นบ้าง เราจักไม่เป็นบ้าง เราจักเป็นผู้มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้ไม่มีรูปบ้าง เราจักเป็นผู้มีสัญญาบ้าง

เราจักเป็นผู้ไม่มีสัญญาบ้าง เราจักเป็นเนวสัญญานาสัญญีบ้าง
ดูกรภิกษุ ความสำตัญตน เป็นโรคร้าย

เป็นฝีร้าย เป็นศรร้าย เพราะก้าวล่วงความสำคัญตน (ว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้)ทั้งหมดได้ จึงจะเรียก

ว่า เป็นมุนีผู้สงบ


ดูกรภิกษุ มุนีผู้สงบ ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่ ย่อมไม่ตาย ไม่วุ่นใจ ย่อมไม่ใฝ่ทะยาน สิ่งอันเป็นเหตุ

ที่เขาจะเกิดย่อมไม่มี เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักวุ่นใจ

ได้อย่างไร เมื่อไม่วุ่นใจ จักใฝ่ทะยานได้อย่างไร
"ความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมม ย่อมไม่เป็นไป

แก่บุคคลผู้ดำรงอยู่ใน ธรรมสี่ประการ เมื่อไม่มีความสำคัญตนที่เป็นกิเลสหมักหมมเป็นไป ก็เรียกได้ว่าเป็นมุนี

ผู้สงบ" ข้อความที่เรากล่าวไว้ดังนี้ เราได้กล่าวโดยอาศัย เหตุผลดังว่ามานี้

ดูกรภิกษุ เธอจงทรงจำการจำแนกธาตุ 6 โดยย่อ แห่งเราดังนี้


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 142#msg142

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านกรัชกานนี้เองที่ทำให้เหลิมไม่กล้าเข้ามาเวปนี้

ตอนนี้ก็ได้แต่เดินด้อมมองอยู่ริมรั้ว

ไม่กล้าปากเก่งเหมือนวันก่อนๆ

ไม่รู้ไปทำความเก่งกล้าหล่นไว้ที่ไหน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาธรรมเพิ่มเติมจากท่านพุทธทาสได้ที่

http://www.buddhadasa.com/FAQ/FAQ_5.html

เหลิมต้องเปิดใจให้กว้าง

การยึดแต่ปริยัติ กับอภิธรรมทำให้เกิดมานะที่ผิด

ท่านพุทธทาสกล่าวว่า

ที่ท่านปริยัตินั้นเดินผิดไปก้าวหนึ่ง

พระพุทธศาสนาเป็นศษสนาแห่งการปฏิบัติ

มิใช่ศาสนาแห่งปรัชญาเก็งหาความจริงอย่างที่เหลิมเป็นอยู่

เหลิมเริ่มต้นศึกษาธรรมของท่านพุทธทาสจาก

อานาปานสติจากท่านพุทธทาสก่อน

มีอะไรไม่เข้าใจผมจะช่วยแนะนำให้

ด้วยความเมตตา

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิมเคยไปกราบท่านพุทธทาสที่สวนโมกข์หรือยัง

บรรยากาศที่นั้นร่มรื่นสมกับเคยเป็นที่จำพรรษาของพระอริยะสงฆ์

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระนิพพานอยู่ที่ใจ การปฏิบัติธรรมเพื่อที่จะให้มีความรู้ชัดเจนแจ่มแจ้งในพระนิพพานนั้น ไม่ใช่เรื่องอยากเย็นแสนเข็นแต่ประการใดธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงแสดงไว้ล้วนเป็นนิยานิกะธรรมพร้อมที่จะนำพาจิตใจของสัตว์โลกทั้งหลาย ที่หลงจมอยู่ในวังวนของวัฏฏะจักรให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอันไม่มีที่สิ้นสุด เพราะฉะนั้น ธรรมะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้จึงมีมากมายเพื่อให้เหมาะสมกับจริตนิสัยของสัตว์โลกทั้งหลาย และที่สำคัญการปฏิบัติธรรมก็เพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงนับตั้งแต่ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บเป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความประสพสิ่งที่ไม่น่ารักไม่น่าชอบใจเป็นทุกข์ ความเศร้าโสกเสียใจพิไรรำพัน ความคับแค้นใจเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ในสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์๕เป็นทุกข์ การปฏิบัติธรรมนั้นก็เพื่ออบรมจิตใจให้ได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของรูปนามกายใจ ว่าสิ่งใดเป็นเราเป็นของๆเรากันแน่ สิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือรูปร่างกายของเราท่านทั้งหลายที่พากันยึดมั่นถือมั่นมาไม่รู้ว่ากี่กัปป์กี่กัลป์เป็นอเนกชาติเรียกว่านับภพนับชาติไม่ได้ ให้ใช้สติปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของรูปกายว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตนให้รู้เห็นด้วยใจของตนเอง ขณะที่จิตมีสติก็มีสมาธิอยู่แล้วในตัวในมหาสติปัฏฐานสูตรที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า เอกายะโน อะยัง มัคโค ทางสายเอกเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อข้ามพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน คือการมีสติพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม การที่มีสติพิจารณากายก็เพื่อให้จิตใจได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของกายว่ากายก็สักแต่ว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา กายนี้ประกอบขึ้นด้วยธาตุ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ขันธ์๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อายะตะนะ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้สักอย่างเดียวสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลางและแตกสลายในที่สุดนี้ ได้เป็นมาแล้วจนนับประมาณไม่ได้และก็จะเป็นอย่างนี้ต่อไปจนนับประมาณไม่ได้อีกเหมือนกัน เพราะจิตใจที่มืดมนไปด้วยอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน จึงเป็นเหตุนำพาให้สัตว์โลกทั้งหลายหลงเวียนว่ายตายเกิดต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุดยุติลงได้ เพราะฉะนั้นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเปรียบเหมือนแสงสว่างที่จะส่องเข้ามาให้เห็นสัจจะธรรมความเป็นจริงของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่ารูปร่างกายที่จิตใจเราอาศัยอยู่นี้ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่ใช่ตัวตน ร่างกายนี้จะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายในที่สุดเพื่อให้จิตใจยอมรับความจริงของธรรม เมื่อจิตใจรู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรมที่สติปัญญาอบรมอยู่เสมอดังที่ได้กล่าวไว้ในสติปัฏฐาน๔ มีสติพิจารณากายในกายมีความเพียรทำให้มากเจริญมากเพื่อทำลายความยินดียินร้ายที่เกิดขึ้นภายในจิตใจเสียให้พินาศพูดง่ายๆก็คือการถอดถอนอุปปาทานความยึดมั่นที่มันฝังจมอยู่ภายในจิตใจนั่นเอง พยายามเจริญสติรู้ให้ได้ทุกอิริยาบถไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย เหลียวซ้าย แลขวา เหยียดแขน คู้แขน ทำ พูด คิด จะทำกิจการงานใดๆก็แล้วแต่พยายามเจริญสติรู้อยู่เสมอจึงเรียกว่าเป็นผู้มีความเพียรชอบจากสติธรรมดาที่เราระลึกรู้อยู่บ่อยๆจากนั้นสติจะกลายมาเป็นสัมปะชัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อมคือรู้ที่จิตที่ใจนั่นเองเพราะสติที่ระลึกรู้การเคลื่อนไหวของกาย ก็คืออาการของจิตนั่นเองหรือเรียกให้ตรงตัวจริงๆก็คือจิตนั่นเองจิตจะรู้และเข้าใจตามความเป็นจริงว่ากายก็สักแต่ว่ากายไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาจิตจะรู้เห็นตามความเป็นจริงและจะคลายความยึดมั่นถือมั่นอุปปาทานในกายว่าเป็นเราเป็นของๆเราจิตเริ่มละเอียดไปเรื่อยๆเมื่อจิตปล่อยวางกายได้แล้วให้ใช้สติปัญญามาพิจารณานามขันธ์ คือ เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงว่าเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญาณ, ล้วนแต่เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด ในเมื่อจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงของเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ, สักแต่ว่าเกิดในเบื้องต้นเปลี่ยนแปลงในท่ามกลางและแตกสลายในที่สุดไม่มีอะไรเป็นเราสักอย่างจิตย่อมคลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,ว่าเป็นเราเป็นของๆเรา เราเป็นสุขเราเป็นทุกข์เราจำได้เราจำไม่ได้ จิตก็จะรู้เป็นปรกติ ไม่เข้าไปสำคัณมั่นหมายในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงว่าเป็นเราเป็นของๆเราเมื่อจิตรู้ชัดเจนในเวทนาขันธ์นามขันธ์อื่นเช่นสัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอันว่าเข้าใจไปในตัว ในเมื่อจิตใจได้รู้เห็นตามความเป็นจริงของสภาวะธรรม เรื่องปล่อยวางไม่ต้องบอกจิตจะปล่อยเองวางเองคือปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง จิตขั้นนี้จะมีความละเอียดมากมีความสว่างไสวผ่องใสว่างเปล่าไปหมดตามความละเอียดของจิต การพิจารรูปนามจิตเข้าใจชัดเจนแล้วว่าอะไรคือรูป และรูปร่างกายนั้นประกอบขึ้นด้วยธาตุ๔ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง และแตกสลายในที่สุด ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ส่วนนามธรรมคือเวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ,จิตก็เข้าใจรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา เกิดขึ้นในเบื้องต้นเปลี่ยนแปลงในท่านกลางและแตกสลายในที่สุด หาสาระแก่นสารอะไรไม่ได้สักอย่างเดียวหลังจากเจริญสติปัญญาพิจารณากาย เวทนาจนเข้าใจชัดเจนแล้ว จิตจะมีความระเอียดมากจนจิตอาจจะเข้าใจเอาเองว่าหมดงานแล้วหรือเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว ความจริงยังไม่หมดงานต่อไปคือ ใช้สติปัญญาที่ละเอียดพิจารณาตัวจิตนั่นเองว่าทำไมจิตขั้นนี้ยังมีภาระให้ต้องดูแลรักษาอยู่อีกการระวังรักษาจิตมันก็เป็นภาระนั่นเอง สติปัญญาขั้นนี้ในทางปริยัติท่านเรียกว่า มหาสติ มหาปัญญา มาพิจารณาตัวจิตก็คือจิตดวงรู้ๆนั้นเองว่า นั่นจิตเป็นเราจริงไม๊ ? ทำไมถึงแสดงความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ให้เห็นอยู่อีกถึงแม้ว่าจิตจะมีความละเอียดมาก แต่ก็ไม่พ้นวิสัยของสติปัญญาขั้นนี้เพราะสติปัญญาที่ไม่เคยไว้วางใจกับกิเลสทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกิเลสขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียดสุด เมื่อใช้สติปัญญามาพิจารณาว่าทำไมจิตขั้นนี้ยังมีความเศร้าหมองผ่องใสให้รู้อยู่อีกและจิตขั้นนี้ยังเป็นภาระให้ต้องดูแลรักษาอยู่อีก รูปขันธ์,นามขันธ์ จิตปล่อยวางได้หมด ยังเหลือแต่ตัวจิตเองยังไม่ปล่อยตัวเองยังมีอุปปาทานยึดมั่นถือมั่นว่าจิตเรา จิตของเราอยู่อีก ต้องใช้สติปัญญามาพิจารณาว่าถ้าจะทิ้งจิตก็ยังคงเหลือสติปัญญาให้ต้องดูแลรักษา ถ้าจะทิ้งสติปัญญาก็ยังคงเหลือจิตให้ต้องดูแลรักษา เลยตัดสิ้นใจทิ้งทั้งจิตและสติปัญญาพร้อมกันทีเดียว คือการที่ไม่เข้าไปสำคัญมั่นหมายว่าจิตเป็นเราเป็นของๆเรา จิต,สติ,ปัญญาไม่ทำหน้าที่ใดๆ รู้เป็นปรกติที่เป็นกลาง คือไม่ไปใส่ใจในจิตและสติปัญญาเป็นการปล่อยวางทั้งจิต,ปล่อยวางทั้งสติปัญญาพร้อมกันทีเดียวโดยไม่มีอะไรเหลือไว้ให้ยึดมั่นถือมั่นเลย การตัดสินใจครั้งนี้เหมือนกระโดดลงไปสู่หุบเหวแห่งความว่างเปล่า โดยไม่มีอะไรให้เกาะให้ยึดมั่นถือมั่นเลยปรากฏว่าธรรมชาติแท้คือ รู้ ที่บริสุทธิ์ล้วนๆ เป็นอิสระอย่างเต็มที่ปรากฏขึ้นที่ใจอย่างไม่เคยมีมาก่อนเป็นความรู้ที่ไม่ต้องดูแลรักษา พุทธะแท้ ธรรมะแท้ สังฆะแท้ รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันที่ใจที่บริสุทธิ์พุทโธนี้นี่เองสมดังพุทธภาษิตที่ว่าโยธัมมังปัสสะติ โสมังปัสสะติ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราตถาคต พุทธะแท้ก็คือจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเอง พระนิพพานก็คือธรรมชาติที่ดับเพลิงกิเลสและกองทุกข์ออกไปจากจิตใจนั่นเองคำว่าขีณา ชาติ ความเกิดได้สิ้นสุดลงแล้วในปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมนี้นี่เอง วุสิตังพฺรัหมะจะริยังพรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กะตังกะระณียัง กิจในการที่จะชำระสะสางกิเลสประเภทต่างๆได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยไม่มีอุปปาทานหลงเหลืออยู่ภายในจิตใจที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั้นแม้แต่ธุลีเดียว ที่เรียกว่านิพพานเที่ยงนั้นก็เพราะพ้นจากกฎ อะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา หมดความกังวนในอดีตและอนาคตได้โดยประการทั้งปวง คำว่า นัตถิทุกขัง อะชาตัสสะ ทุกข์ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด เพราะกิเลสที่จะนำพาจิตใจให้ไปเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพน้อยภพใหญ่อันได้แก่ กามภพ,รูปภพ,อรูปภพ,ได้สูญสลายพังทลายออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีหลงเหลือแม้แต่ธุลีเดียว ปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมก็เป็นอิสระตลอดกาลไม่มีกาลเวลาใดๆในสมมุติมาเปลี่ยนแปลงได้ตลอดอนันตกาล ได้ความว่าพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งสุขเพราะพ้นจากกฎ อะนิจจัง, ทุกขัง, อะนัตตา, ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถปฏิบัติรู้ได้เห็นได้ด้วยกันทุกคนไม่เลือกชาติชั้นวรรณะใดไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรือฆราวาสปฏิบัติกันได้ทุกคน เพราะกิเลสตัวที่สร้างความทุกข์ให้กับสัตว์โลกทั้งหลายมีด้วยกันทุกคน และกิเลสก็สร้างความทุกข์ให้กับสัตว์โลกทั้งหลายได้ทุกกาลทุกเวลาทุกสถานที่ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติกันได้ทุกกาลทุกเวลาทุกสถานที่เหมือนกัน กิเลสอยู่ที่ใจสร้างความทุกข์ให้กับสัตว์โลกทั้งหลายที่จิตที่ใจ การปฏิบัติธรรมจึงปฏิบัติกันลงที่จิตที่ใจ สติปัญญาก็อยู่ที่จิตที่ใจ การปฏิบัติธรรมก็คือการอบรมจิตใจด้วยจิตตะภาวนา ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้ พุทธบริษัทได้ประพฤติปฏิบัติตามท่านกล่าวไว้ในโพธิปักขิยะธรรม๓๗ ประการ อันได้แก่ สติปัฏฐาน๔ สัมมัปประทาน๔ อิทธิบาท๔ อินทรีย์๕ พละ๕ โพชฌงค์๗ อริยะมรรคมีองค์๘ ตามแต่จริตนิสัยของผู้ที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติจะเลือกนำมาประพฤติปฏิบัติเอาเอง ข้อสำคัญให้มีความตั้งใจจริง มีความเพียรจริง มีสติปัญญาหมั่นใคร่ครวญเอาจริงเอาจังกับการปฎิบัติและมีเหตุมีผล จะพบพระนิพพานจริงๆอยู่ที่จิตที่ใจของนักปฎิบัติธรรมด้วยกันทุกคน เพราะพระนิพพานมีอยู่แล้วภายในจิตในใจของคนทุกคน เพียงแต่ถูกกิเลสมีอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ปกคุ้มหุ้มห่อเอาไว้เท่านั้นเองไม่ให้เราทราบไม่ให้เรารู้ได้เห็นได้ เมื่อเปิดสิ่งที่ปกคุ้มหุ้มห่อออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นแล้วเราจะไปถามหาพระนิพพานที่ไหนอีก? เมื่อเพลิงกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลาย มีอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทา,ได้ดับลงไปจากจิตจากใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือมีแต่ความรู้ล้วนๆหรือจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆ หมดความหิวความกระหายหมดความดิ้นรนกระวนกระวายทางจิตใจโดยสิ้นเชิง คำว่าดับไม่มีเชื้อเหลือนั้นหมายถึงอวิชชา,ตัณหา,อุปปาทาน,ต่างหากที่ดับไปจากจิตใจไม่ใช่จิตดับหรือความรู้ดับไปด้วยตามที่นักปฏิบัติธรรมบางพวกพากันเข้าใจผิดว่าดับจิตอวิชชา คือจิตต้องดับไปด้วยแม้แต่ความรู้ก็ดับไปด้วยเพราะการปฏิบัติธรรมแบบไม่มีปัญญารู้เห็นจิตของตนเองจึงพากันเข้าใจผิดอยู่กับการสุ่มเดาไปเรื่อย ปฏิบัติธรรมแบบสุ่มเดาก็เลยบรรลุธรรมแบบสุ่มเดาและก็สอนธรรมกันแบบสุ่มเดา นิพพานก็เลยกลายเป็นนิพพานแบบสุ่มเดาหรือนิพพานของหมูที่ขึ้นเขียงดีๆนี่เองและไม่ยอมลงจากเขียงง่ายๆเพราะเสียดายกิเลสมากกว่าธรรม เป็นหมูขึ้นเขียงสบายดี ถ้าจิตดับแล้วเอาอะไรมาบริสุทธิ์เอาอะไรมาหลุดพ้น จิตที่หลุดพ้นแล้วจากสมมุติโดยประการทั้งปวงคือจิตที่บริสุทธิ์หรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเอง สิ่งที่เกิด-ดับ คือสมมุติทั้งมวลสิ่งที่พ้นจากการเกิดและดับคือจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนิพพานคือรู้ล้วนๆหรือจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเอง อันนี้ต่างหากที่ไม่เกิดไม่ดับอีกต่อไปตลอดอนันตกาล อันนี้ต่างหากที่เรียกว่าดับไม่มีเชื้อเหลือ เพราะเชื้อที่จะนำพาจิตใจให้ไปเกิดในภพน้อยภพใหญ่ได้ดับลงไปจากจิตใจโดยเด็ดขาดพ้นจากสมมุติโดยประการทั้งปวง สิ่งที่เป็นสมมุติทั้งหลายไม่อาจแตะต้องจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั้นได้แม้แต่ธุลีเดียว I don't come back to am born again , through the time ฉันไม่กลับมาเกิดอีกตลอดอนันตกาล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ย. 2010, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระนิพพานอยู่ที่ใจ พระนิพพานอยู่ที่ใจ เห็นไหมเล่า ? ไม่มีว่างไม่มีเปล่า อยู่ทั้งนั้น
จะมีอะไรเป็นเรา ที่ไหนกัน ? ทุกสิ่งนั้นดับไป เหลือใจเอย
ชีวิตนี้ น้อยๆและสั้นๆ อย่าพากันปล่อยใจ เลยท่านเอ๋ย
มีสติรู้อยู่ที่ใจ ให้คุ้นเคย ต้องได้เชยชม พระนิพพานอยู่ที่ใจ
เป็นการอยู่กับผู้รู้ ละกิเลส จะมีเพศชั้นวรรณะ กันที่ไหน ?
ทุกขณะที่รู้ อยู่กับใจ จงหมั่นใช้ปัญญา รู้ของจริง
รู้ของจริงทิ้งของเท็จ ได้เด็ดเดี่ยว ไม่เกาะเกี่ยวแม้ความว่าง สว่างยิ่ง
รู้อะไรก็ไม่สู้ รู้ใจจริง ยิ่งรู้ยิ่งหลุดพ้น ไม่ต้องเบิกบาน
ความร้อนร้นหม่นไหม้ ไกลใจหมด พระนิพพานปรากฏ ก็ไม่ยึดเป็นแก่นสาร
มีสติรู้ให้ได้ ทุกอาการ จะพบพระนิพพานจริงๆ ที่ใจเอย !
พระนิพพาน
พระนิพพาน พ้นจากความมีและไม่มีให้คนเห็น
พระนิพพาน พ้นจากความเป็นและไม่เป็นเช่นสังขาร
พระนิพพาน พ้นจากความหมายและไม่หมายให้วิจารณ์
พระนิพพาน ไม่เกิด-ไม่ดับ คือจิตหรือรู้ล้วนๆที่บริสุทธิ์เอย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร