วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 15:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก



มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗
ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี


[๑๕๗] ในกาลครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคผู้เป็นประทีปแก้วส่องโลกให้สว่าง
ไสว เป็นนายสารถีฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหา
วันใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้น พระมหาโคตมีภิกษุณีพระมาตุจฉา
ของพระพิชิตมาร อยู่ในสำนักนางภิกษุณีในพระนครอันรื่นรมย์นั้น
พร้อมด้วยพระภิกษุณี ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่พ้นจากกิเลสแล้ว เมื่อ
พระมหาปชาบดีโคตมีนั้นอยู่ในที่สงัด ตรึกนึกคิดอย่างนี้ว่า
การ
ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของคู่พระอัครสาวกก็ดี ของพระ-
ราหุลพระอานนท์และพระนันทะก็ดี เราไม่ได้เห็น เราอันพระโลก-
นาถผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ทรงอนุญาตแล้ว พึงปลงอายุสังขารแล้ว
นิพพานก่อนเถิด พระภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ องค์ ก็ได้ตรึกอย่างนั้น
เหมือนกัน แม้พระเขมาภิกษุณีเป็นต้น ก็ได้ตรึกเช่นนี้เหมือนกัน
ครั้งนั้น เกิดแผ่นดินไหว กลองทิพย์ดังขึ้นเองทวยเทพที่สิงอยู่ใน
สำนักของนางภิกษุณี ถูกความโศกบีบคั้น บ่นเพ้ออยู่อย่างน่าสงสาร
หลั่งน้ำตาแล้วในที่นั้น พระภิกษุณีทุกๆ องค์พร้อมด้วยทวยเทพเหล่า
นั้น เข้าไปหาพระมหาโคตมีภิกษุณี ซบศีรษะแทบเท้าแล้วกล่าวว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า เพราะเรามีปกติอยู่ด้วยการเทียบเคียงในธรรม
เหล่านั้น เราได้อยู่ในที่สงัด พื้นภูมิภาคหวั่นไหวจลาจลกลองทิพย์
ดังขึ้นเอง และเราได้ยินเสียงคร่ำครวญ ข้าแต่พระโคตมี จะต้อง
มีเหตุอะไรเกิดขึ้นแน่ ครั้งนั้น พระมหาโคตมีภิกษุณีท่านได้บอก
ถึงเหตุตามที่ตนได้ตรึกแล้วทุกประการ ลำดับนั้นพระภิกษุณีทุกๆ
องค์ ก็ได้บอกถึงเหตุที่ตนตรึกแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้า
พระแม่เจ้าชอบใจจะปรินิพพานอันเกษมอย่างยิ่งไซร้ ถึงดิฉันทั้ง
หลายก็จักนิพพานทั้งหมด ในกาลก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงพระ-
อนุญาต ดิฉันทั้งหลายได้ออกจากเรือนพร้อมด้วยพระแม่เจ้า เมื่อ
ดิฉันทั้งหลายออกจากภพนี้ไปสู่บุรี
คือนิพพานอันอุดม

ดิฉันทั้งหลาย
ก็จักไปพร้อมกับพระแม่เจ้าเหมือนกัน พระมหาปชาบดีโคตมีได้
กล่าวว่า เมื่อท่านทั้งหลายจะไปนิพพาน ดิฉันจักว่าอะไรได้เล่า แล้ว
ได้ออกจากสำนักนางภิกษุณีไปพร้อมกับพระภิกษุณีทั้งหมดในครั้ง
นั้น พระปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้กล่าวกะทวยเทพทั้งหลายว่า ขอทวย
เทพทั้งหลายที่สิงอยู่ ณ สำนักนางภิกษุณี จงอดโทษแก่ดิฉันเถิด
การเห็นสำนักนางภิกษุณีของดิฉันนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายในที่ใด
ไม่มีความแก่หรือความตาย
ไม่มีการสมาคมด้วยสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก
ไม่มีการพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก
ที่นั้นนักปราชญ์กล่าวว่าเป็นอสังขตสถาน
พระโอรสของพระสุคตเจ้า
ทั้งหลายที่ยังไม่ปราศจากราคะ ได้สดับคำของพระนางนั้น เป็นผู้โศก
กำสรดปริเทวนาการว่า น่าสังเวชหนอ พวกเราเป็นคนมีบุญน้อย
สำนักพระภิกษุณีนี้จะว่างเปล่า เพราะเว้นพระภิกษุณีเหล่านั้น
พระภิกษุณีผู้ชิโนรสจะไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนดวงดาวทั้งหลาย
ไม่ปรากฏในเวลาที่สว่างฉะนั้น พระนางโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพาน
พร้อมกับพระภิกษุณีอีก ๕๐๐ องค์ เหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่
สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น อุบาสิกาทั้งหลายผู้มีศรัทธา
เห็น พระโคตมีภิกษุณีนั้นกำลังเดินไปตามถนน ได้พากันออกจาก
เรือนไปหมอบลงแทบเท้าแล้วกล่าวว่า ดิฉันทั้งหลายเลื่อมใสใน
พระแม่เจ้า พระแม่เจ้าจะละทิ้งดิฉันทั้งหลายไว้ให้เป็นคนอนาถาเสีย
แล้ว พระแม่เจ้ายังไม่ควรที่จะปรินิพพานก่อน ควรที่จะสงสาร
ด้วยอุบาสิกาเหล่านั้นพากันปริเวทนาการ เพื่อจะให้อุบาสิกาเหล่านั้น
ละเสียซึ่งความโศก พระนางจึงได้กล่าวอย่างเพราะพริ้งว่า อย่าร้อง
ไห้ไปเลยลูกทั้งหลาย วันนี้เป็นเวลารื่นเริงของท่านทั้งหลาย ความ
ทุกข์ดิฉันกำหนดรู้แล้ว ตัณหาอันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ดิฉันเว้น
ขาดแล้ว ความดับทุกข์ดิฉันได้ทำให้แจ้งแล้ว อนึ่ง แม้ถึงมรรคดิฉัน
ก็ได้อบรมดีแล้ว.
จบภาณวารที่ ๑.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระศาสดาดิฉันได้บำรุงแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า ดิฉันได้ทำ
เสร็จแล้ว ภาระอันหนักดิฉันได้ปลงลงแล้ว ตัณหาอันนำไปสู่ภพ
ดิฉันได้ถอนเสียแล้ว ดิฉันออกบวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด
ประโยชน์นั้นดิฉันบรรลุแล้วโดยลำดับ สังโยชน์ทุกอย่างหมดไปแล้ว
พระพุทธเจ้าและสัทธรรมของพระองค์ มิได้ย่อหย่อน ยังดำรงอยู่
ตราบใด ตราบนั้นเป็นกาลที่ดิฉันจะนิพพาน ลูกทั้งหลายอย่าได้
เศร้าโศกถึงดิฉันไปเลย พระโกณฑัญญะพระอานนท์และพระนันทะ
เป็นต้น กับทั้งพระราหุลพุทธชิโนรสยังมีชนมชีพอยู่ ขอพระสงฆ์
จงเป็นผู้มีความสุขสำราญ ขอให้เดียรถีย์จงเป็นผู้มีความโง่เขลาอัน
กำจัดเสียได้เถิด ยศ คือ การย่ำยีมารอันวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกาก-
ราชยกขึ้นแล้ว ลูกทั้งหลาย บัดนี้ ถึงเวลาที่ดิฉันจะนิพพานมิใช่หรือ
ความปรารถนาที่ดิฉันได้ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นมานานนักหนา จะสำเร็จแก่
ดิฉันในวันนี้ เวลานี้เป็นเวลาที่จะบันลือกลองนันทเภรี ลูกทั้งหลาย
น้ำตาจะมีประโยชน์อะไรแก่ท่านทั้งหลายเล่า ถ้าท่านทั้งหลายจะมี
ความเอ็นดูหรือมีความกตัญญูในดิฉัน ขอให้ท่านทุกคนจงทำความ
เพียรมั่น เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรมเถิด พระสัมพุทธเจ้า
อันดิฉันทูลอ้อนวอน จึงได้ประทานบรรพชาแก่สตรีทั้งหลาย เพราะ
ฉะนั้น ดิฉันยินดี ฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงเจริญรอยตามซึ่งความ
ยินดีนั้นฉันนั้นเถิด ครั้นพระนางพร่ำสอนอุบาสิกาเหล่านั้นอย่างนี้
แล้ว ห้อมล้อมด้วยภิกษุณีทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ถวาย
บังคมแล้วได้กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็น
มารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของ
หม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข
อันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉัน
เป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้
อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต

ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว หม่อมฉันให้พระองค์
ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนม คือ
พระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่ม
แล้ว ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้
เป็นหนี้หม่อมฉัน หม่อมฉันได้ฟังมาว่าสตรีทั้งหลายผู้ปรารถนา
บุตรบวงสรวงอยู่ ก็ย่อมจะได้บุตรเช่นนั้น สตรีที่เป็นพระมารดา
ของพระนราธิบดีมีพระเจ้ามันธาตุเป็นต้น ชื่อว่าเป็นมารดาผู้ยังบุตร
ให้จมอยู่ในห้วงมหรรณพคือภพ ข้าแต่พระโอรส หม่อมฉันผู้จมดิ่ง
อยู่ในห้วงมหรรณพคือภพอันพระองค์ให้ข้ามไปจากสาครคือภพแล้ว
พระนามว่า พระมเหสีพันปีหลวง สตรีทั้งหลายได้ง่าย พระนามว่า
พระพุทธมารดา นี้ สตรีทั้งหลายได้ยากอย่างยิ่ง ข้าแต่พระมหาวีร-
เจ้า ก็พระนามว่าพระพุทธมารดานั้น หม่อมฉันได้แล้ว ความ
ปรารถนาน้อยใหญ่ของหม่อมฉันทั้งปวงนั้น หม่อมฉันได้บำเพ็ญ
แล้วกับพระองค์ หม่อมฉันปรารถนาเพื่อจะทิ้งร่างนี้นิพพาน ข้าแต่
พระวีรเจ้าผู้ทำที่สุดทุกข์ เป็นผู้นำ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้หม่อม
ฉันเถิด ขอได้ทรงโปรดเหยียดออก ซึ่งพระยุคลบาทอันเกลื่อนกล่น
ไปด้วยลายจักรและธง อันละเอียดอ่อนเหมือนกับดอกบัวเถิด
หม่อมฉันจะถวายบังคมพระยุคลบาทนั้น จะขอทำความรักในบุตร
ข้าแต่พระองค์ผู้นายก หม่อมฉันกระทำสรีระซึ่งเปรียบด้วยกองทอง
ให้ปรากฏเป็นข้าวสุก ได้เห็นพระสรีระของพระองค์แล้ว จึงจะขอ
ไปนิพพาน พระพิชิตมารได้ทรงแสดงพระกายอันประกอบด้วยมหา-
ปุริสลักษณ์ ๓๒ ประการ ประดับด้วยพระรัศมีอันงาม อันเป็น
เหมือนดวงตาของคนพาลเพราะมีค่ามาก กะพระมาตุจฉา ลำดับนั้น
พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี ได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระบาท
อันเป็นลายจักรคล้ายกับดอกบัวบานมีพระรัศมีปานดังพระอาทิตย์
แรกทอแสง แล้วพระนางได้กราบทูลว่า หม่อมฉันขอน้อมมัสการ
พระนราทิจ ผู้เป็นธงขององค์พระอาทิตย์ ขอพระองค์ทรงโปรดเป็น
ที่พึ่งของหม่อมฉันในกาลสุดท้ายเถิด หม่อมฉันจะไม่ได้เห็นพระองค์
อีก ข้าแต่พระองค์ผู้เลิศโลก ธรรมดาสตรีทั้งหลายรู้กันว่ามีแต่จะก่อ
โทษทุกประการ ถ้าโทษอย่างใดอย่างหนึ่งของหม่อมฉันมีอยู่ ก็ขอ
พระองค์ได้โปรดกรุณาอดโทษแก่หม่อมฉันเถิด อนึ่ง หม่อมฉันได้
ทูลขอบ่อยๆ ให้สตรีทั้งหลายได้บวช ข้าแต่พระนราสภ ถ้าโทษ
ในข้อนั้นจะมีแก่หม่อมฉัน ขอได้ทรงโปรดอดโทษนั้นเถิด ข้าแต่
พระวีรเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งการอดโทษ ภิกษุณีทั้งหลายอันหม่อมฉันสั่ง-
สอนแล้ว ตามที่พระองค์ทรงอนุญาต ถ้าในข้อนั้นจะมีการแนะนำ
ได้ยาก ขอได้โปรดทรงอดโทษข้อนั้นเถิด.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรนางโคตมีผู้ประดับไปด้วยคุณโทษ
ที่ท่านจะพึงอดพึงมีอะไร เมื่อท่านบอกว่าลาจะนิพพาน ตถาคตจักไป
ว่ากระไรให้มากไปเล่า.
เมื่อภิกษุสงฆ์ของตถาคตบริสุทธิ์ไม่บกพร่อง ท่านจะออก
ไปเสียจากโลกนี้ได้ก็ควร เพราะเมื่อหมดแสงดาวในเวลา
รุ่งแล้ว รอยในพระจันทร์ก็ย่อมจะมองไม่เห็น ฉะนั้น
พระภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี
พากันทำประทักษิณพระพิชิตมารผู้เลิศ เหมือนหมู่ดาวที่
ติดตามพระจันทร์ทำประทักษิณภูเขาสิเนรุ ฉะนั้น หมอบ
ลงแทบพระบาทแล้ว ยืนจ้องดูพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า
กราบทูลว่า จักษุของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วยการ
เห็นพระองค์ โสตของหม่อมฉันทั้งหลาย ไม่เคยอิ่มด้วย
พระภาษิตของพระองค์ จิตของหม่อมฉันทั้งหลายดวงเดียว
แท้ๆ ก็ไม่อิ่มด้วยรสแห่งธรรมของพระองค์.
ผู้บันลืออยู่ในบริษัท กำจัดเสียซึ่งทิฏฐิและมานะ ชนเหล่าใดเห็น
พระพักตร์ของพระองค์ ชนเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี ข้าแต่
พระองค์ผู้ถึงที่สุดสงคราม ชนเหล่าใดประณมน้อมพระยุคลบาทของ
พระองค์ ซึ่งมีพระองคุลียาว มีพระนขาแดงงดงาม มีส้นพระบาท
ยาว ถึงชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี ข้าแต่พระนโรดม ชน
เหล่าใดได้สดับพระดำรัสของพระองค์อันไพเราะน่าปลื้มใจ เผาเสีย
ซึ่งโทษ เป็นประโยชน์เกื้อกูล ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายอิ่มไปด้วยการบูชาพระบาท
ของพระองค์ข้ามพ้นทางกันดารคือสงสารได้ ด้วยพระสุนทรกถาของ
พระองค์ผู้ทรงศิริ ฉะนั้นหม่อมฉันทั้งหลายจึงชื่อว่าเป็นผู้มีโชคดี.
ลำดับนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้มีวัตรอันงาม ประกาศในหมู่
พระภิกษุสงฆ์แล้ว ไหว้พระราหุลพระอานนท์และพระนันทะ แล้ว
ได้ตรัสดังนี้ว่า ดิฉันเบื่อหน่ายในร่างกายซึ่งเสมอด้วยที่อยู่ของ
อสรพิษ เป็นที่พักของโรค เป็นสถานที่เกิดทุกข์ มีชราและมรณะ
เป็นโคจร อาเกียรณ์ไปด้วยมลทิน คือ ซากศพต่างๆ ต้องพึ่งพาผู้อื่น
ปราศจากเรี่ยวแรง ฉะนั้น ดิฉันจึงปรารถนาจะนิพพานเสีย ขอลูก
ทั้งหลายจงยอมอนุญาตให้เถิด.
พระนันทเถรเจ้าและพระราหุลผู้เจริญ เป็นผู้ปราศจากความโศก
ไม่มีอาสวะ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีปัญญา มีความเพียร ได้คิดตาม
ธรรมดาว่า น่าติโลกที่ปัจจัยปรุงแต่ง ปราศจากแก่นสาร เปรียบด้วย
ต้นกล้วย เช่นเดียวกับกลลวงและพยับแดด ต่ำช้า ไม่มั่นคง พระ-
โคตมีเถรี พระมาตุจฉาของพระพิชิตมาร ซึ่งได้เลี้ยงดูพระพุทธเจ้า
ก็ยังต้องถึงแก่กรรม สังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง ก็ครั้งนั้น ท่าน
พระอานนท์พุทธอนุชา ซึ่งเป็นคนสนิทของพระพิชิตมาร ยังเป็น
พระเสขบุคคลอยู่ ท่านหลั่งน้ำตาร้องไห้คร่ำครวญอย่างน่าสงสาร
ณ ที่นั้นว่า พระโคตมีเถรีเจ้าตรัสอยู่หลัดๆ ก็จะเสด็จไปนิพพาน
เสีย อีกไม่นานเลยแม้พระพุทธเจ้าก็คงจะเสด็จไปนิพพานแน่นอน
เปรียบเหมือนไฟที่หมดเชื้อแล้ว ฉะนั้น พระโคตมีเถรีเจ้าได้ตรัสกะ
ท่านพระอานนท์ผู้ชำนาญพระปริยัติ ปานดังสาครอันลึกล้ำ เอาใจใส่
ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ซึ่งพร่ำรำพันอยู่ดังกล่าวมาว่า ลูกเอ๋ย
เมื่อกาลเป็นที่ร่าเริงปรากฏขึ้นแล้ว พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการ
ตายของดิฉัน ที่สุดแห่งการนิพพานของดิฉันใกล้เข้ามาแล้ว พ่อเอ๋ย
พระศาสดาพ่อได้ทูลให้ทรงยินยอมจึงได้ทรงอนุญาตให้เราบวช
ลูกเอ๋ย พ่ออย่าเสียใจไปเลย ความพยายามของพ่อมีผล ก็บทใดที่
ติตถิกาจารย์ทั้งหลายผู้เก่าแก่ไม่เห็น บทนั้นอันเด็กหญิงซึ่งมีอายุ ๗
ขวบรู้แจ้งประจักษ์แล้ว พ่อจงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ การที่ดิฉัน
ได้เห็นพ่อครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย บุคคลไปในทิศใดแล้วไม่ปรากฏ
ดิฉันก็จะขอลาไปในทิศนั้นนะลูก ในกาลบางคราวพระนายกเจ้าผู้
เลิศโลกกำลังทรงแสดงธรรมอยู่ พระองค์ทรงถามแล้วครั้งนั้น ดิฉัน
เกิดความสงสารกล่าววาจาถวายพระพรว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ขอ
พระองค์จงมีพระชนมชีพอยู่นานๆ ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จง
ดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพื่อความเกื้อกูลและประโยชน์แก่โลก
ทั้งปวงเถิด ขออย่าให้พระองค์ทรงพระชราและปรินิพพานเสียเลย
พระพุทธเจ้าพระองค์ได้ตรัสกะดิฉันผู้กราบทูลเช่นนั้นว่า ดูกรพระ-
นางโคตมี พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอันบุคคลชมเชย เหมือนอย่าง
ที่ท่านชมเชยอยู่มิได้ ดิฉันได้ทูลถามว่าก็แลด้วยประการเป็นดังฤา
พระคถาคตผู้สัพพัญญูจึงชื่อว่าอันบุคคลพึงชมเชยด้วยประการเป็น
ดังฤา พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าอันบุคคลไม่ชมเชย พระองค์อันหม่อมฉัน
ถามถึงเหตุนั้นแล้ว ขอได้ตรัสบอกเหตุนั้นแก่หม่อมฉันเถิด พระ-
องค์ตรัสตอบว่าท่านจงดูพระสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ตั้งใจ
แน่วแน่ มีความบากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นคนพร้อมเพรียงกันนี้ การ
ชมเชยพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่อแต่นั้น ดิฉันไปสู่สำนักนางภิกษุณี
อยู่ผู้เดียว คิดเห็นแจ้งชัดว่า พระนาถะผู้ถึงที่สุดแห่งไตรภพ
ทรงพอพระทัยบริษัทที่สามัคคีกัน มิฉะนั้น ดิฉันจะนิพพานเสีย ดิฉัน
อย่าได้พบความวิบัตินั้นเลย ครั้นดิฉันคิดดังนี้แล้ว ได้ไปเฝ้าพระ-
พุทธเจ้าผู้อุดมกว่าฤาษีทั้งปวง แล้วได้กราบทูลกาลเป็นที่ปรินิพพาน
กะผู้นำชั้นพิเศษ ลำดับนั้น พระองค์ได้ทรงอนุญาตให้ดิฉันดังนี้ว่า
จงรู้กาลเอาเถิดพระนางโคตมี ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ...
พระพุทธศาสนา ดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 09 มิ.ย. 2010, 21:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 21:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรพระโคตมีคนพาลเหล่าใดสงสัยใน
การตรัสรู้ธรรมสตรีทั้งหลาย ท่านจงแสดงอิทธิฤทธิ์เพื่อละเสียซึ่งทิฏฐิ
ของคนพาลเหล่านั้น


ครั้งนั้น พระโคตมีเถรีเจ้า ถวายบังคม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เหาะขึ้นสู่อัมพร แสดงฤทธิ์เป็นอันมาก
ตามพระพุทธานุญาต
คือองค์เดียวเป็นหลายองค์ก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้
ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
ทำภูเขาสิเนรุ ให้เป็นคั่น พลิกมหาปฐพีพร้อมด้วยราก ทำให้เป็นตัวร่มกั้นต่างร่ม
เดินจงกรมในอากาศ
ทำโลกให้รุ่งโรจน์ประหนึ่งว่าเวลาพระอาทิตย์อุทัยเหนือภูเขายุคันธร และทำโลกนั้นให้เป็นเหมือนพวงดอกไม้ตาข่าย เอาพระหัตถ์ข้างหนึ่งกำภูเขามุจลินท์ ภูเขาสิเนรุ ภูเขามันทาระและภูเขาทัททระไว้ทั้งหมด เหมือนดังกำเมล็ดพันธุ์ผักกาดเอา ปลายนิ้วมือ บังพระอาทิตย์พร้อมทั้งพระจันทร์ไว้ ทัดทรงพระจันทร์พระอาทิตย์ไว้ตั้งพันดวง เหมือนทัดทรงพวงมาลัย ฉะนั้น
ทรงน้ำใน สาครทั้ง ๔ ไว้ได้ด้วยฝ่าพระหัตถ์ข้างหนึ่ง
ยังฝนใหญ่อันมีอาการ
ปานดังเมฆบนภูเขายุคันธรให้ตกลง พระนางเจ้านั้นได้นิรมิตให้เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิ พร้อมด้วยบริษัทในนภาดลอากาศ แสดงให้เป็น
ครุฑ คชสารราชสีห์ต่างบันลือสีหนาทนฤโฆษอยู่ องค์เดียวนิรมิต
ให้เป็นคณะพระภิกษุณีนับไม่ถ้วน แล้วก็อันตรธานกลับเป็นองค์
เดียวกราบทูลพระมหามุนีเจ้าว่า
ข้าแต่พระมหาวีรเจ้าผู้มีพระจักษุ
หม่อมฉันผู้เป็นพระมาตุจฉาของพระองค์ เป็นผู้ทำตามคำสอนของ
พระองค์ บรรลุประโยชน์ของตนโดยลำดับแล้ว ขอถวายบังคม
พระยุคลบาทของพระองค์ พระนางเจ้านั้นครั้นแสดงฤทธิ์ต่างๆ แล้ว
ลงจากนภาดลอากาศ ถวายบังคมพระผู้ส่องโลกแล้ว ประทับลง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระนางเจ้าได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหามุนีผู้
นายกของโลก หม่อมฉันมีอายุได้ ๑๒๐ ปี แต่กำเนิดแล้วเพียงเท่านี้
ก็พอแล้ว หม่อมฉันจักขอทูลลานิพพาน.
ครั้งนั้น บริษัททั้งหมดนั้นถึงความพิศวงยิ่งนัก จึงได้พากันประนม-
อัญชลีถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระแม่เจ้าได้ทำอะไรไว้ จึงมี
ฤทธิ์อำนาจเช่นนี้.
พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีเจ้า ได้กล่าวบุรพจรรยาของท่านดังต่อไปนี้
ในกัปที่แสนแต่กัปนี้ พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตระผู้มีจักษุใน
ธรรมทั้งปวง เป็นผู้นำได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ครั้งนั้น ดิฉันเกิดใน
สกุลอำมาตย์ ซึ่งสมบูรณ์ด้วยเครื่องอุปการะทุกสิ่ง เจริญ รุ่งเรือง
ร่ำรวย ในพระนครหังสวดี บางครั้ง ดิฉันพร้อมด้วยบิดา อันหมู่ทาสี
ห้อมล้อม เข้าไปเฝ้าพระนราสภพระองค์นั้น พร้อมด้วยบริวารเป็น
อันมาก ได้เห็นพระพิชิตมารผู้ปานดังท้าววาสวะ ยังฝนคือธรรมให้
ตกอยู่ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ เกลื่อนไปด้วยระเบียบแห่งรัศมี เช่นกับ
พระอาทิตย์ในสรทกาล แล้วยังจิตให้เลื่อมใส และสดับสุภาษิต
ของพระองค์ ได้สดับพระผู้นำนรชนทรงตั้งพระภิกษุณีผู้เป็นพระ-
มาตุจฉาไว้ในตำแหน่งอันเลิศ จึงถวายมหาทานและปัจจัยเป็นอัน
มาก แด่พระผู้เลิศกว่านรชน ผู้คงที่พระองค์นั้น พร้อมทั้งพระสงฆ์
๗ วัน แล้วได้หมอบลงแทบพระบาท มุ่งปรารถนาตำแหน่งนั้น
ลำดับนั้น พระพิชิตมารผู้อุดมกว่าฤาษีได้ตรัสในบริษัทใหญ่ว่า
สตรีใดได้นิมนต์พระผู้นำโลกพร้อมด้วยสงฆ์ให้ฉันตลอด ๗ วัน
เราจักพยากรณ์สตรีนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว ในกัปที่แสนแต่
กัปนี้ พระศาสดาพระนามว่าโคดม ซึ่งทรงสมภพในวงศ์พระเจ้า
โอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก สตรีผู้นี้จักได้เป็นธรรมทายาท
ของพระศาสดาพระองค์นั้น จักเป็นโอรสอันธรรมนิรมิต จักได้
เป็นพระสาวิกาของพระศาสดา มีนามว่าโคตมี จักได้เป็นพระมาตุจฉา
บำรุงเลี้ยงชีวิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น จักได้ความเป็นผู้เลิศ
กว่าภิกษุณีทั้งหลายฝ่ายผู้รู้ราตรีนาน ครั้งนั้น ดิฉันได้สดับพระพุทธ-
พยากรณ์นั้นแล้ว มีใจปราโมทย์ บำรุงพระพิชิตมารด้วยปัจจัย
ทั้งหลายตราบเท่าสิ้นชีวิต ต่อจากนั้น ดิฉันก็ได้ทำกาลกิริยา ดิฉัน
เกิดในพวกเทพเหล่าดาวดึงส์ ผู้ซึ่งให้สำเร็จสิ่งน่าใคร่ได้ทุกประการ
ครอบงำทวยเทพอื่นๆ เสียด้วยองค์ ๑๐ ประการ คือ ด้วยรูป เสียง
กลิ่น รส ผัสสะ อายุ วรรณะ สุขและยศ รุ่งเรืองครอบงำทวยเทพ
อื่นๆ ด้วยความเป็นใหญ่ ดิฉันได้เป็นพระมเหสีผู้น่ารักของท้าว
อมรินทร์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น ก็เมื่อดิฉันยังท่องเที่ยวอยู่ใน
สงสาร เป็นผู้หวั่นไหวเพราะพายุ คือกรรม จึงเกิดในบ้านของทาส
ในอาณาเขตของพระเจ้ากาสี ครั้งนั้น ทาส ๕๐๐ คน อาศัยอยู่ใน
บ้านนั้น ดิฉันได้เป็นภรรยาของหัวหน้าทาสในบ้านนั้น พระปัจเจก-
พุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ได้เข้าไปสู่บ้านบิณฑบาต ดิฉันกับญาติทุกคน
เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นก็มีความยินดี เราพร้อมด้วยสามี
มีจิตเลื่อมใส สร้างกุฎี ๕๐๐ หลัง อุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านั้นตลอดสี่เดือน แล้วถวายไตรจีวร ต่อจากนั้น เราพร้อมกับ
สามีก็ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ในภพสุดท้ายในบัดนี้ ดิฉันเกิดใน
พระนครเทวทหะ พระชนกของดิฉันพระนามว่าอัญชนศากยะ พระ-
ชนนีของดิฉันพระนามว่าสุลักขณา ต่อมาดิฉันได้ไปสู่พระราชวังของ
พระเจ้าสุทโธทนะ ในพระนครกบิลพัสดุ์ สตรีทุกคนเกิดในสกุล
ศากยะแล้ว ไปสู่เรือนของพวกเจ้าศากยะ ก็ดิฉันประเสริฐกว่า
สตรีทุกคน ได้เป็นคนบำรุงเลี้ยงพระพิชิตมาร พระโอรสของดิฉัน
พระองค์นั้น เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์แล้ว ได้เป็นพระพุทธเจ้าผู้นำ
ชั้นพิเศษ ภายหลังดิฉันพร้อมด้วยนางศากิยานี ๕๐๐ จึงได้บวช
แล้วก็ได้ประสพสันติสุขพร้อมด้วยนางศากิยานีผู้มีความเพียร สามี
ของเราที่ได้ทำบุญร่วมกันมาแต่ชาติก่อนในครั้งนั้น เป็นผู้ทำมหาสมัย
อันพระสุคตเจ้าทรงอนุเคราะห์แล้ว ได้บรรลุอรหัต.
พระภิกษุณีทั้งหลาย นอกจากพระมหาปชาบดีเถรีเจ้านั้น ได้พากัน
เหาะขึ้นสู่นภาดลอากาศ เป็นผู้ประกอบด้วยมหิทธิฤทธิ์รุ่งโรจน์
เหมือนดวงดาวทั้งหลาย อันโคจรเป็นกลุ่มกันไป ฉะนั้น พระภิกษุณี
เหล่านั้น เป็นผู้ศึกษาแล้วในบุญกรรม จึงได้แสดงฤทธิ์มิใช่น้อย
เหมือนนายช่างทองที่ได้รับการศึกษาแล้ว แสดงเครื่องประดับที่ทำ
ด้วยทองชนิดต่างๆ ฉะนั้น ในครั้งนั้น พระภิกษุณีเหล่านั้น แสดง
ปฏิหาริย์มากมายหลายอย่าง ยังพระมุนีผู้ประเสริฐกว่าพระอาทิตย์
พร้อมทั้งบริษัทให้ชอบใจ แล้วได้พากันลงจากนภาดลอากาศ ถวาย
บังคมพระศาสดาผู้สูงสุดกว่าฤาษี เมื่อพระศาสดาผู้เป็นยอดของ
นรชนทรงอนุญาตแล้ว จึงได้นั่ง ณ สถานที่อันสมควร แล้วได้
กราบทูลว่า ข้าแต่พระวีรเจ้า โอหนอ พระโคตมีเถรีเจ้าเป็นผู้
อนุเคราะห์หม่อมฉันทุกๆ คน หม่อมฉันทุกคน พระนางได้อบรม
ด้วยบุญ จึงได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ หม่อมฉันทั้งหลายเผา-
กิเลสเสียแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกเหมือน
ช้างพังตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การหม่อมฉันทั้งหลาย
มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด เป็นการมาดีแล้วหนอ
วิชา ๓ หม่อมฉันทั้งหลายบรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายก็ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้ คือ
ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ หม่อมฉันทั้งหลายทำให้
แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายได้ทำเสร็จแล้ว
หม่อมฉันทั้งหลายมีความชำนาญในฤทธิ์และทิพโสตธาตุ ข้าแต่
พระมหามุนี หม่อมฉันทั้งหลายมีความชำนิชำนาญในเจโตปริยญาณ
รู้ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพจักษุได้แล้ว มีอาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้ว
บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันทั้งหลายมีญาณ
ในอรรถ ธรรม นิรุติ และปฏิภาณ ญาณนั้นเกิดที่สำนักของพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระนายกมหามุนี พระองค์เป็นผู้อันหม่อมฉัน
ทั้งหลายได้วิสสาสะแล้ว ได้ทรงโปรดมีจิตเมตตาอนุญาตให้หม่อม-
ฉันทั้งปวงนิพพานเถิด.
พระพิชิตมารได้ตรัสว่า เมื่อท่านทั้งหลายพูดอย่างนี้ว่า จักนิพพาน
ฉันจักไปว่าอะไร ก็บัดนี้ท่านทั้งหลายจงสำคัญกาลเวลาเอาเองเถิด.
ครั้งนั้น พระภิกษุณีเหล่านั้นมีพระโคตมีเถรีเจ้าเป็นต้น ถวายบังคม
พระพิชิตมารแล้วได้พากันลุกจากที่นั่งนั้นไป พระธีรเจ้าผู้นำชั้นเลิศ
ของโลก พร้อมด้วยหมู่ชนเป็นอันมากได้เสด็จไปส่งพระมาตุจฉา
จนถึงซุ้มประตู ครั้งนั้น พระโคตมีเถรีเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุณี
ทั้งหลายทุกๆ องค์ ได้พากันหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระ-
ศาสดาผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของโลก กราบทูลว่า นี้เป็นการถวายบังคม
พระยุคลบาทครั้งสุดท้ายของหม่อมฉัน การได้เห็นพระองค์ผู้เป็น
นาถะของโลกครั้งนี้ ก็เป็นครั้งสุดท้าย หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระ-
พักตร์ของพระองค์ซึ่งมีอาการปานน้ำอมฤตอีก ข้าแต่พระวีรเจ้าผู้เลิศ
ของโลก หม่อมฉันจักไม่ได้ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระองค์
ซึ่งอ่อนละเอียดดีอีก วันนี้หม่อมฉันจะเข้านิพพาน.

พระศาสดาตรัสว่า
จะมีประโยชน์อะไรด้วยรูปนี้แก่ท่านในปัจจุบัน รูปนี้ล้วนปัจจัย
ปรุงแต่ง ไม่น่ายินดี เป็นของเลวทราม

พระมหาปชาบดีเถรีเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุณีเหล่านั้นไปสู่สำนัก
นางภิกษุณีของตนแล้ว นั่งพับเพียบบนอาสนะอันประเสริฐ ครั้ง
นั้น อุบาสิกาทั้งหลายในพระนครนั้น ผู้มีความเคารพรักในพระพุทธ-
ศาสนา ได้สดับพฤติเหตุของพระนางเจ้า ต่างก็เข้าไปหานมัสการ
แทบบาทมูล เอากรค่อนอุระประเทศร้องไห้พิไรร่ำคร่ำครวญควรจะ
กรุณา เต็มไปด้วยความโศกเศร้า ล้มลงที่พื้นพสุธา ดุจเถาวัลย์
รากขาดแล้วล้มลง ฉะนั้น พากันร้องไห้รำพันด้วยวาจาว่า ข้าแต่
พระแม่เจ้าผู้เป็นนาถะให้ที่พึ่งของดิฉันทั้งหลาย พระแม่เจ้าอย่าได้
ละทิ้งดิฉันทั้งหลาย ไปเข้านิพพานเสียเลย ดิฉันทุกคนขอซบเศียร
อ้อนวอน พระมหาปชาบดีเถรีเจ้าลูบศีรษะของอุบาสิกาผู้มีศรัทธา
มีปัญญาซึ่งเป็นหัวหน้าของอุบาสิกาเหล่านั้นอยู่ ได้กล่าวว่า ลูก
ทั้งหลายเอ๋ย การพร่ำเพ้อซึ่งเป็นไปในบ่วงแห่งมารไม่ควรเลย
สังเขตธรรมทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง มีแต่จะพลัดพรากจากกัน หวั่น-
ไหวไปมา ต่อแต่นั้น พระนางก็สละอุบาสิกาเหล่านั้นเสีย เข้าปฐม
ฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน แล้วเข้าอากาสานัญ-
จายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และ
เนวสัญญานาสัญญายตนฌานตามลำดับ แล้วพระโคตมีเถรีเจ้าก็เข้า
ฌานทั้งหลายโดยปฏิโลม แล้วก็เข้าปฐมฌานไปตราบเท่าถึงจตุตถ-
ฌาน ครั้นออกจากจตุตถฌานนั้นแล้วก็ดับไป เหมือนเปลวประทีป
ที่หมดเชื้อดับไป ฉะนั้น ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ สายฟ้าก็ตกลง
จากนภากาศ กลองทิพย์ก็บันลือลั่นขึ้นเอง ทวยเทพพากันคร่ำครวญ
และฝนดอกไม้ก็ตกจากอากาศลงยังพื้นแผ่นดิน แม้ขุนเขาสุเมรุราช
ก็กัมปนาทหวั่นไหว เหมือนคนเต้นรำในท่ามกลางที่เต้นรำ ฉะนั้น
สาครก็ปั่นป่วนตีฟองคะนองระลอกฉะฉาน ทวยเทพ นาค อสูร
และพรหมต่างก็พากันสลดใจ กล่าวขึ้นในทันใดนั้นเองว่า สังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ เหมือนอย่างพระมหาปชาบดีเถรีเจ้านี้ถึง
ความย่อยยับไปแล้ว และพระเถรีทั้งหลายผู้ทำตามคำสอนของพระ
ศาสดา ซึ่งแวดล้อมพระมหาปชาบดีเถรีเจ้านี้ ก็พากันดับไปแล้ว
เหมือนเปลวประทีปหมดเชื้อดับไป ฉะนั้น โอ้ ความประจวบกัน
มีความพลัดพรากเป็นที่สุด โอ้ สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งล้วนแต่ไม่เที่ยง
โอ้ ชีวิตมีความหายสูญเป็นที่สุด ความปริเทวนา ได้มีแล้ว ด้วย
ประการฉะนี้.
ในลำดับนั้น เทวดาและพรหมต่างก็ทำความประพฤติตามโลกธรรม
ตามสมควรแก่กาลแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้สูงสุดกว่าฤาษี
ครั้งนั้นพระศาสดาได้ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ผู้พหูสูตมาสั่งว่า
อานนท์ท่านจงไปประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบถึงการนิพพานของ
พระมารดาเวลานั้น ท่านพระอานนท์เป็นผู้หมดความแช่มชื่น
มีตานองไปด้วยน้ำตา ได้กล่าวด้วยเสียงอันน่าสงสารว่า ขอ
พระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นโอรสของพระสุคตเจ้าซึ่งอยู่ในทิศตะวันออก
ทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนือ จงมาประชุมกัน พระภิกษุณี
ผู้ยังพระสรีระสุดท้ายของพระมุนีให้เจริญด้วยน้ำนม พระมารดาของ
กระผม พระโคตมีภิกษุณีนั้นถึงความสงบ เหมือนดวงดาวในเมื่อ
พระอาทิตย์ อุทัย ฉะนั้น พระนางยังความรู้พร้อมกันว่า เป็น
พระพุทธมารดา ให้ดำรงอยู่แล้วไปสู่นิพพาน ในที่ใดถึงคนมี ๕
ตาก็เห็นไม่ได้ ในที่นั้น พระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นผู้นำทรงเห็นได้
ขอพระโอรสของพระสุคตเจ้าผู้มีความเชื่อในพระสุคต หรือเป็น
ศิษย์ของพระมหามุนีจงทำสักการะแด่พระพุทธมารดาเถิด ภิกษุ
ทั้งหลายถึงอยู่ไกล ได้ฟังคำประกาศนั้นแล้ว ก็มาได้เร็ว บางพวก
มาด้วยพุทธานุภาพ บางพวกที่ฉลาดในฤทธิ์ก็มาด้วยฤทธิ์ต่างช่วยกัน
ยกเอาเตียงนอนที่พระโคตมีเถรีเจ้าหลับ ขึ้นไว้ในเรือนยอดอัน
ประเสริฐ น่ายินดี สำเร็จด้วยทองคำล้วนๆ งดงาม ท้าวโลก
บาลทั้งสี่เอาบ่าเข้ารองรับเรือนยอด ทวยเทพที่เหลือมีท้าวสักกะ
เป็นต้น เข้าช่วยรับเรือนยอด ก็เรือนยอดทั้งหมดมี ๕๐๐ หลัง
แท้จริง เรือนยอดเหล่านั้น วิสสุกรรมเทพบุตรนิรมิต มีสีเหมือน
พระอาทิตย์ในสรทกาล ทวยเทพทั้งหลายได้แบกพระภิกษุณีทุกๆ
องค์ที่นอนอยู่บนเตียงแล้ว นำเอาออกไปตามลำดับพื้นนภากาศถูก
เอาเพดานบังไว้ทั่ว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์พร้อมทั้งดวงดาวซึ่ง
สำเร็จด้วยทองได้ถูกติดเป็นตราไว้ที่เพดานนั้น ธงปฏากได้ถูกยก
ขึ้นไว้เป็นอันมาก จิตกาธารทั้งหลายมีดอกไม้เป็นเครื่องปกคลุม
ดอกบัวที่เกิดในอากาศเอาปลายลง ดอกไม้ผุดขึ้นจากแผ่นดิน พระ-
จันทร์และพระอาทิตย์คนมองดูเห็นได้ และดาวทั้งหลายส่องแสง
ระยับระยิบ อนึ่ง พระอาทิตย์ถึงจะโคจรไปในเวลาเที่ยงก็เป็นเหมือน
พระจันทร์ ไม่ทำใครๆ ให้เร่าร้อน ทวยเทพทั้งหลายพากันบูชาด้วย
ของหอมและดอกไม้ทิพย์อันน่ายินดี และด้วยการขับร้อง ฟ้อนรำ
ดีดสีตีเป่าอันเป็นทิพย์ พวกนาค อสูรและพรหม ต่างก็พากันบูชา
พระพุทธมารดาผู้นิพพานแล้ว กำลังถูกเขานำเอาออกไปตามสติ
กำลัง พระภิกษุณีผู้เป็นโอรสของพระสุคตเจ้า ซึ่งนิพพานแล้ว
ทั้งหมดเชิญไปข้างหน้า พระโคตมีเถรีพุทธมารดาผู้อันเทวดาและ
มนุษย์สักการะเชิญเอาไปข้างหลัง เทวดา มนุษย์พร้อมด้วยนาค
อสูรและพรหม ไปข้างหน้า ข้างหลังพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระ-
สาวกเสด็จไปเพื่อจะบูชาพระมารดาการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
หาได้เป็นเช่นนี้ไม่ การปรินิพพานของพระโคตมีเถรีเจ้า อัศจรรย์
ยิ่งนัก ในเวลาพระพุทธเจ้าเสด็จนิพพานไม่มีพระพุทธเจ้าและภิกษุ
ทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น เหมือนในเวลาพระโคตมีเถรีเจ้า
นิพพาน ซึ่งมีพระพุทธเจ้าและภิกษุทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น
ชนทั้งหลายช่วยกันทำจิตกาธารซึ่งสำเร็จด้วยของหอมล้วน และ
เกลื่อนไปด้วยจุรณแห่งเครื่องหอม แล้วเผาพระภิกษุณีเหล่านั้นบน
จิตกาธารนั้น ส่วนที่เหลือนอกจากอัฐิถูกไฟไหม้สิ้น ก็ในเวลานั้น
ท่านพระอานนท์ได้กล่าววาจาอันให้เกิดความสังเวชว่า พระโคตมี
เถรีเจ้าเข้านิพพานแล้ว พระสรีระของพระนางก็ถูกเผาแล้ว การ
นิพพานของพระพุทธเจ้าน่าสังเกต อีกไม่นานก็คงจักมี ต่อจากนั้น
ท่านพระอานนท์อันพระพุทธเจ้าทรงตักเตือน ท่านได้น้อมพระธาตุ
ของพระโคตมีเถรีเจ้า ซึ่งอยู่ในบาตรของพระนาง เข้ามาถวายแด่
พระโลกนาถ พระผู้มีพระภาคผู้สูงสุดกว่าฤาษี ได้ทรงประคองพระ-
ธาตุเหล่านั้นด้วยฝ่าพระหัตถ์แล้วตรัสว่า เพราะสังขารเป็นสภาพไม่
เที่ยง พระโคตมีผู้เป็นใหญ่กว่าหมู่พระภิกษุณีจึงต้องนิพพาน เช่น
เดียวกับลำตัวของต้นไม้ใหญ่ที่มีแก่นตั้งอยู่ถึงจะใหญ่โตก็ต้องพินาศ
ฉะนั้น ดูเถอะอานนท์ เมื่อพระพุทธมารดาแม้นิพพานแล้วเพียงแต่
สรีระก็ยังไม่เหลือ ไม่น่าเศร้าโศกปริเทวนาการไปเลย คนอื่นๆ ไม่
ไม่ควรเศร้าโศกถึงพระนางผู้ข้ามสาครคือสงสารไปแล้ว ละเว้นเหตุ
อันทำให้เดือดร้อนเสียได้ เป็นผู้เยือกเย็นดับสนิทดีแล้ว พระนาง
เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก และมีปัญญากว้างขวาง ทั้งเป็นผู้รู้ราตรี
นานกว่าภิกษุณีทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จงรู้ไว้อย่างนี้เถิด พระ
โคตมีเถรีเจ้า เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ทิพโสตธาตุ และมีความชำนาญ
ในเจโตปริยญาณรู้ทั่วถึง ปุพเพนิวาสญาณ ชำระทิพจักษุให้หมด
จด อาสวะทั้งสิ้นของพระนางหมดสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก
พระนางมีญาณอันบริสุทธิ์ ในอรรถะ ธรรมะ นิรุติและปฏิภาณ
เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรจะเศร้าโศกถึงพระนาง คติของไฟที่ลุกโพลง
ถูกแผ่นเหล็กทับแล้วดับไปโดยลำดับ ใครๆ ก็รู้ไม่ได้ ฉันใด
บุคคลผู้ที่หลุดพ้นจากกิเลสด้วยดีแล้ว ข้ามพ้นโอฆะคือกามพันธุ์
บรรลุอจลบทแล้ว ก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีคติใครๆ จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น
ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นที่พึ่ง มีสติปัฏฐานเป็นโคจรเถิดท่าน
ทั้งหลายอบรมโพชฌงค์ ๗ ประการแล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
ทราบว่า ท่านพระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีได้ตรัสคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบมหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๔๗๑ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๓ - ๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 7477 ครั้ง ]
Y9296500-37.jpg
Y9296500-37.jpg [ 37.75 KiB | เปิดดู 7468 ครั้ง ]
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 11 มิ.ย. 2010, 11:40, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2010, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นการยก พระไตรปิฏก และเน้นข้อความ ธรรมกาย และ จะสื่อว่า นิพพานเป็นดินแดน ที่สามารถติดต่อพระพุทธเจ้าได้

รู้เลยครับ ว่าคงนับถือ วิชาธรรมกาย และ มโนมยิทธิ

ที่เกิดจากการนั่งสมาธิ แล้วเกิด นิมิต ว่าเป็น วิปัสสนา และ พระนิพพาน


ลองศึกษา พระไตรปิฏก อรรถกถา อื่น ๆ ประกอบ เกี่ยวกับเรื่องพระนิพพาน ที่

นิพพานจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท
http://larndham.org/index.php?showtopic=24144&st=1

สำหรับ เรื่อง แดนพระนิพพาน และ ธรรมกายนี้ ท่านผู้รู้ได้ชี้แจงรายละเอียดไว้ที่

กรณีธรรมกาย
http://b2b2.tripod.com/tmk/




ธรรมกายเดิมแท้ในพุทธกาล
http://b2b2.tripod.com/tmk/tmk29.txt

คำว่า " ธรรมกาย " นั้น มีมาในพระไตรปิฎก รวมทั้งหมดที่มาเป็นคำโดดๆ 3 ครั้ง และมาในคำสมาสคือ
คำว่า " พหุธมฺมกายา " 1 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง
ที่มาเป็นคำโดด 3 ครั้งนั้น มาในรูปเป็น " ธมฺมกาโย " 2 ครั้ง " ธมฺมกายํ " 1 ครั้ง
แต่ในทั้งหมด 4 ครั้งนั้น ครั้งที่สำคัญที่สุด คือที่มาในตัวพระสูตรแท้ๆ ซึ่งเป็นข้อความร้อยแก้ว มีครั้ง
เดียว นอกนั้นมาในคัมภีร์อปทาน (พระไตรปิฎกเล่ม 32-33) เป็นคำร้อยกรองประเภทเล่าประวัติเชิงสรรเสริญคุณ
ของพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า
" ธรรมกาย " ที่มาครั้งแรก และครั้งเดียวอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในพระสูตรนั้น พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็น
พระนามเรียกพระองค์เอง และที่เรียกเป็นพระนามอย่างนี้ ก็เกิดจากการที่ทรงเทียบ ระหว่างหลักการของพระ
พุทธศาสนา กับหลักการของศาสนาพราหมณ์
เรื่องเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสกับวาเสฏฐะ และ ภารัทวาชะ
วาเสฏฐะ และภารัทวาชะเป็นมาณพ คือเป็นพราหมณ์หนุ่ม ได้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าก็เลยมาขอบวช ตอนนั้น
ยังเป็นสามเณรอยู่ วันหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จจงกรมอยู่ วาเสฏฐะ และภารัทวาชะเห็น ก็เลยเข้ามา แล้วก็สนทนา
ปราศรัย
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า เธอสองคนมาบวชอย่างนี้ แล้วพราหมณ์ทั้งหลายเขาไม่ต่อว่าเอาหรือ
วาเสฏฐะ และภารัทวาชะก็กราบทูลว่า เขาด่าอย่างรุนแรง เรียกว่าด่าจนถึงที่สุดเลยทีเดียว พระองค์ก็
ตรัสถามว่า เขาด่าอย่างไรล่ะ ทั้งสองก็กราบทูลว่า พวกพราหมณ์ด่าว่า แกทั้งสองคนนี่ เกิดมาดีแล้วในวรรณะสูง
สุด เป็นพราหมณ์ผู้ประเสริฐ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม พระพรหมเป็นผู้สร้างขึ้น เป็นพรหมนิรมิต เป็นพรหม
ทายาท แล้วเรื่องอะไรล่ะ มาสละวรรรณะที่ประเสริฐนี่เสีย แล้วไปบวชเป็นสมณะ เป็นคนชั้นต่ำ เกิดจากพระบาท
ของพระพรหม เขาด่าว่าอย่างนี้
พระพุทธเจ้าก็เลยปรารภเรื่องนี้ แล้วก็ตรัสว่า ที่พราหมณ์ว่า เขาเกิดจากพระพรหม พรหมเนรมิตขึ้น
เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหมนั้น ใครๆ ก็เห็นกันอยู่ พวกพราหมณ์ที่เกิดกันมานั้น ตอนก่อนจะเกิด นางพราหมณี
ก็มีท้อง ต่อมาก็คลอด พราหมณ์ก็ออกมาจากครรภ์ของนางพราหมณี ก็เห็นๆ อยู่ แล้วบอกว่าเกิดจากปากพระ
พรหม
พระองค์ได้ตรัสต่อไปว่า ที่ว่าในวรรณะ 4 พราหมณ์เป็นวรรณะประเสริฐนั้น ความจริงคนไม่ใช่
ประเสริฐที่กำเนิดหรอก จะเป็นวรรณะไหนก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร ถ้า
ประพฤติดี ทำกรรมดี ก็เป็นผู้ประเสริฐ แม้แต่เกิดในวรรณะสูง เป็นพราหมณ์เป็นต้น แต่ถ้าทำกรรมชั่ว ก็เป็นคน
ต่ำช้าเลวทราม ฉะนั้นการที่จะประเสริฐหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่ชาติกำเนิด แต่อยู่ที่การกระทำ แล้วอะไรเป็นตัววัดการ
กระทำ ก็คือธรรม ธรรมนี่แหละเป็นมาตรฐาน เป็นเกณฑ์วัด ฉะนั้นไม่ใช่พรหมสูงสุด แต่ธรรมสูงสุด นี่คือข้อสรุป
ของพระพุทธเจ้า
นี้ก็คือการแยกให้เห็นความแตกต่าง ที่เป็นจุดยืนของพระพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ์
ทางฝ่ายศาสนาพราหมณ์ถือว่า พรหม เป็นเทพยิ่งใหญ่ เป็นผู้ประเสริฐเลิศสูงสุด เป็นผู้สร้างและจัดสรร
บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งโลกแห่งวัตถุและสังคมมนุษย์
ส่วนในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าให้ทรงถือ ธรรม คือ ความจริงที่มีอยู่โดยธรรมชาติ เป็นใหญ่ เป็น
มาตรฐาน เป็นเกณฑ์วัดทุกอย่าง
ทางฝ่ายศาสนาพราหมณ์ถือว่า พราหมณ์เป็นผู้ประเสริฐ เป็นวรรณะสูงสุด เกิดจากโอษฐ์พระพรหม
เป็นผู้ที่พระพรหมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพรหม
พระพุทธเจ้าตรัสว่า พราหมณ์หรือคนวรรณะไหนก็ตาม ไม่ได้สูงประเสริฐโดยชาติกำเนิด แต่สูง
ประเสริฐด้วยการกระทำความประพฤติของตน ซึ่งจะต้องเอาธรรมเป็นเกณฑ์ตัดสิน ธรรมสูงเลิศประเสริฐสุด แม้
แต่พราหมณ์นั้นก็เกิดตามธรรมดา คือ เกิดจากครรภ์ของนางพราหมณีเท่านั้นเอง ความประเสริฐของพราหมณ์นั้
นอยู่ที่ธรรม ถ้าไม่ประพฤติธรรมก็ต่ำทรามเช่นเดียวกัน ไม่ว่าวรรณะไหน
เพื่อเทียบกับการที่ศาสนาพราหมณ์สอนว่าพราหมณ์เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า
พระภิกษุทั้งหลายก็เกิดจากธรรม คือเกิดจากหลักการแห่งความจริงความถูกต้องดีงาม และธรรมนี้ ก็ออกมาจาก
พระโอษฐ์ของพระองค์ เหล่าสาวกของพระองค์จึงชื่อว่าเกิดจากโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็น "
ธรรมกาย " คือเป็นแหล่งที่รวมไว้และเป็นที่หลั่งไหลออกมาแห่งธรรมนั้น
ในขณะที่ศาสนาพราหมณ์สอนว่า พราหมณ์เป็นพรหมนิรมิต (ผู้ที่พระพรหมเนรมิตขึ้น) เป็นพรหม
ทายาท (ทายาทของพรหม) พระพุทธเจ้าตรัสว่า เหล่าสาวกของพระองค์ เป็นธรรมนิรมิต (ผู้ที่ธรรมสร้างขึ้น) เป็น
ธรรมทายาท (ทายาทของธรรม)
ขอให้ดูข้อความที่มาของ "ธรรมกาย" ในพระไตรปิฎก ที่เทียบคำของฝ่ายพราหมณ์ กับของพระพุทธเจ้า
ดังนี้
" พฺราหฺมณา ภนฺเต เอวมาหํสุ: พฺราหฺมโณ ว เสฏฺโฐ วณฺโณ, หีนา อญฺเญ วณฺณา; พฺราหฺมโณ ว
สุกฺโก วณฺโณ, กณฺหา อญฺเญ วณฺณา; พฺราหฺมณา ว สุชฺฌนฺติ, โน อพฺราหฺมณา; พฺราหฺมณา พฺรหฺมุโน ปุ
ตฺตา โอรสา มุขโต ชาตา พฺรหฺมชา พฺรหฺมนิมฺมิตา พฺรหฺมทายาทา . . .."
" ธมฺโม หิ วาเสฏฺฐา เสฏฺโฐ ชเนตสฺมึ ทิฏฺเฐ เจว อภิสมฺปรายญฺจ . . . ยสฺส โข ปนสฺส วาเสฏ
ฐา ตถาคเต สทฺธา นิวิฏฺฐา มูลชาตา ปติฏฐิตา ทฬฺหา อสํหาริยา . . . ตสฺเสตํ กลฺลํ วาจาย ภควโตมฺหิ ปุ
ตฺโต โอรโส มุขโต ชาโต ธมฺมโช ธมฺมนิมฺมิโต ธมฺมทายาโทติ. ตํ กิสฺส เหตุ? ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา
อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ . . ."
" วาเสฏฐะ และภารัทวาชะ กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายกล่าว
อย่างนี้ว่า: พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะที่ประเสริฐ วรรณะอื่นต่ำทราม พราหมณ์เท่านั้นเป็นวรรณะขาว
วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ วรรณะอื่นไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เป็นบุตร เป็นโอรสของพระพรหม
เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม พราหมณ์เกิดจากพระพรหม เป็นพรหมนิรมิต (ผู้ที่พระพรหมสร้าง) เป็น
พรหมทายาท (ทายาทของพระพรหม) . . ."
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า: ดูกรวาเสฏฐะ และภารัทวาชะ
. . . ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวนั้น วิญญูชนทั้งหลายหา ยอมรับไม่ เพราะเหตุว่า ใน
บรรดาวรรณะทั้งสี่นั้น ผู้ใดก็ตามเป็นอรหันต์ หมดสิ้นอาสวะแล้ว . . . ผู้นั้นเรียกว่าเป็นผู้สูงสุดใน
วรรณะทัั้งหมด ทั้งนี้ก็เพราะธรรม หาใช่เพราะอธรรมไม่, ธรรมนี่แหละประเสริฐสุด ในหมู่มนุษย์ ทั้งใน
ปัจจุบันและเบื้องหน้า; บุคคลผู้ใด มีศรัทธา ฝังราก หยั่งลง ประดิษฐาน มั่นคงในตถาคต . . . ใครๆ ไม่
อาจพรากไปได้, ควรเรียกบุคคลผู้นั้นว่าเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดแต่โอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้
เกิดจากธรรม เป็นธรรมนิรมิต (ผู้ที่ธรรมสร้าง) เป็นธรรมทายาท (ทายาทแห่งธรรม) ข้อนั้นเพราะเหตุ
ไร? เพราะคำว่า " ธรรมกาย " ก็ดี " พรหมกาย " ก็ดี " ธรรมภูต " ก็ดี " พรหมภูต " ก็ดี เป็นชื่อของ
ตถาคต "
(ที.ปา. 11/51/91)
"กาย" แปลว่า กอง ที่รวม ที่ชุมนุมหรือประมวลไว้ เมื่อเป็นที่รวมหรือเป็นที่ชุมนุมประมวลไว้แห่งธรรมก็
จึงเรียกว่า " ธรรมกาย "
เพราะฉะนั้น คำว่า" ธรรมกาย" ก็คือคำที่กล่าวขึ้นมาเพื่อใช้เรียกพระพุทธเจ้า ในฐานะที่ทรงเป็นแหล่งที่
รวมและเป็นที่หลั่งไหลออกมาแห่งธรรม คือพระพุทธเจ้าทรงค้นพบธรรมและทรงคิดพิจารณาจัดลำดับระบบคำ
สอนของพระองค์ แล้วก็ตรัสออกมา เพราะฉะนั้นพระองค์ก็เป็นธรรมกาย ดังที่ท่านอธิบายไว้ว่า
ตถาคโต หิ เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ หทเยน จินฺเตตฺวา วาจาย อภินีหริ. เตนสฺส กาโย ธมฺมมยตฺตา
ธมฺโมว. อิติ ธมฺโม กาโย อสฺสาติ ธมฺมกาโย. (ที.อ.3/50)
แปลว่า: " แท้จริง พระตถาคต ทรงคิดพุทธพจน์ทั้งไตรปิฎก ด้วยพระหทัยแล้ว ทรงนำออกแสดงด้วย
พระวาจา ด้วยเหตุนั้น พระกายของพระองค์ ก็เท่ากับเป็นธรรม เพราะแล้ว ด้วยธรรม ธรรมเป็นพระ
กายของพระตถาคตโดยนัยดังนี้ ฉะนั้น พระองค์จึงเป็นธรรมกาย "
นี้คือความหมายที่แท้จริงของคำว่าธรรมกาย

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ส่วนใหญ่เราเคยเห็นพระนอนตะแคงขวา แต่พระนอนตะแคงซ้ายไม่ค่อยเห็น ที่วัดปาประดู จ.ระยอง

สร้างพระนอนตะแคงซ้าย


มีผู้สันนิษฐานว่า สร้างตามพุทธประวัติตอนพระพุทธเจ้ากระทำยมกปาฎิหาริย์ให้พวกเดียรถีย์ชมโดยมี

พระพุทธนิมิตแสดงอาการอย่างเดียวกับพระพุทธเจ้าเป็นคู่ๆ เมื่อถึงอิริยาบถไสยาสน์จึงผินพระพักตร์เข้าหากัน

เป็นการนอนตะแคงซ้ายและขวาในลักษณะเดียวกัน ผู้สร้างคงเจตนาสร้างให้มีนัยขอบพระพุทธปาฎิหาริย์

ดังกล่าว จึงสร้างเป็นพระนอนตะแคงซ้าย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 มิ.ย. 2010, 10:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากพระไตรปิฏก เล่ม ๙

มโนมยิทธิญาณ
[๑๓๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิด
แต่ใจ คือนิรมิตรกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า
นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง
อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก
ดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษ
จะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อม
โน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
น้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

---------------------------------------------------------

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/058.htm

๑. อิทธิวิธอภิญญา หรือ อิทธิวิธญาณ เป็นความรู้ที่แสดงฤทธิได้ (ฤทธิ=ความสำเร็จ) ซึ่งจำแนกออกได้เป็น ๑๐ คือ

(๑) อธิฏฐานอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากการอธิฏฐาน การตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้า เช่น คนเดียวเนรมิตให้เป็นหลายคน ตัวอย่าง พระจุฬปัณถกเถระเจ้า อธิฏฐานให้เป็นพระหลายรูปจนเต็มไปทั้งวัด

(๒) วิกัพพนอิทธิ ความสำเร็จด้วยการจำแลงกายให้เป็นคนแก่ ให้เป็นเด็ก ให้เป็นเสือ เป็นช้าง เช่น พระโมคคัลลาน์ แปลงกายเข้าไปทางปากไปเดินอยู่ในท้องของ นันโทปนันทพยานาค แม้พยานาคนั้นจะมีฤทธิและมีพิษมากเพียงใด ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้

(๓) มโนมยอิทธิ ความสำเร็จด้วยอำนาจกำลังใจที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ เช่น พระพุทธองค์ทรงบันดาลให้พระสรีระใหญ่โตมาก เป็นการสำแดงให้อสุรินทรยักษ์ผู้ตำหนิพระองค์ว่าทรงมีรูปร่างเล็ก เพราะเป็นมนุษย์นั้นได้เห็น ที่พระพุทธองค์ทรงกระทำได้ดังนี้ ก็เพราะทรงมีอิทธิทางมโนสูงยิ่ง

อิทธิทั้ง ๓ ข้อนี้เป็นอิทธิวิธญาณโดยตรง อันจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอำนาจแห่งอภิญญา ที่มีรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท

(๔) ญาณวิปผารอิทธิ ความสำเร็จที่ป้องกันอันตรายต่าง ๆ ได้ เช่น พวกโจรจับสามเณรสังกิจจะไป เพื่อจะฆ่าทำเครื่องเซ่นสังเวย ขณะที่โจรจะฆ่า สังกิจจะสามเณรได้เข้านิโรธสมาบัติ โจรจึงฆ่าไม่ตาย ทั้งไม่เป็นอันตรายอย่างใด ๆ ด้วย พวกโจรเลยยอมเป็นศิษย์

(๕) สมาธิวิปผารอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ เช่น นันท ยักษ์ตีพระสารีบุตรด้วยกระบองเพ็ชร แต่พระสารีบุตรไม่เป็นอันตราย แม้แต่จะรู้สึกเจ็บก็ไม่มี ส่วนนันทยักษ์เมื่อตีแล้วก็ถูกธรณีสูบไปเลย

(๖) อริยอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากความไม่หวั่นไหวต่อกิเลส เช่น พระอริย บุคคลที่สามารถวางเฉยต่ออิฏฐารมณ์ อารมณ์อันเป็นที่ชอบใจและอนิฏฐารมณ์ อารมณ์อันไม่เป็นที่ชอบใจ

(๗) กัมมชอิทธิ บ้างก็เรียกว่า กัมมวิปากชอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากกรรม เช่น เทวดาวินิปาติกบางพวก และนก ไปมาในอากาศได้โดยไม่ต้องมีฌานมีอภิญญา เป็นความสำเร็จด้วยอำนาจกรรมในปฏิสนธิ

(๘) บุญญวโตอิทธิ บ้างก็เรียกว่า บุญญอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากบุญของเขา เช่นการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น เป็นความสำเร็จด้วยอำนาจกรรมในปวัตติ

(๙) วิชชามยอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นด้วยวิชา มีคาถาอาคมต่าง ๆ ตลอดจนมีเข้าเจ้าทรง

(๑๐) ตัตถตัตถสมาปโยคปัจจยอิทธิ บ้างก็เรียกว่า อิชฌนัฏเฐนอิทธิ ความสำเร็จที่เกิดจากความพากเพียรอย่างจริงจัง เป็นความสำเร็จที่เกิดจากการ กระทำ เช่น พากเพียรเจริญสมถภาวนา ก็สำเร็จถึงฌาน เมื่อถึงฌานแล้วก็ให้สำเร็จไปเกิดเป็นพรหม

ได้กล่าวแล้วว่า อิทธิข้อ (๑) ถึงข้อ (๓) รวม ๓ ข้อ เป็น อิทธิวิธญาณโดยตรง คือ เป็นอิทธิฤทธิที่เกิดขึ้นเพราะอภิญญา เป็นอานิสงส์ของสมาธิ ส่วนอิทธิ ข้อ (๔) ถึงข้อ (๑๐) รวม ๗ ข้อนั้น สำเร็จด้วยการกระทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่ฌาน ไม่ใช่อภิญญา ไม่ใช่อิทธิวิธญาณอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งอภิญญาที่มีรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาท แต่ที่นำมากล่าวไว้ด้วยก็เพื่อจะได้ทราบครบจำนวนของอิทธิ


----------------------------------------------------------------

การอบรมสมาธิเพื่ออภิญญา
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/055.htm


อภิญญา ญาณ วิชา
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm

อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก ต้องมีใจรักอย่างที่เรียกว่า มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยเอาใจจิตใจจ่ออย่างจริงจัง ทั้งต้องประกอบด้วยปัญญารู้ว่าฌานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบาทที่ก้าวขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงตั้งหน้าเจริญภาวนาตามวิธีการจนเกิดฌานจิต ฌานจิตที่เกิดจากการปฏิบัติเช่นที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมดนี้ มีชื่อเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยการประพฤติปฏิบัติ ได้ฌานด้วยการเจริญสมถภาวนา
---------------------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
มโนมยิทธิในพระไตรปิฏก มีด้วยนะว้อย เหลิม มึงกับพวกลานอธรรม พันติ๊ป บางตัวมันฟายยยย


คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนยยิทธิ ที่พวกคุณกำลังฝึก วิทยายุทธกันอย่างเข้มข้นนี้

บางคนอาจจะตัวสั่นงึก ๆ งั่ก ๆ

บางคนอาจจะนอนดิ้นไปมา บางคนก็จะลุกขึ้นมารำ ( องค์ลง )

บางคนก็จะเห็น นิมิตเป็นเมือง นรก สวรรค์ ( เคยไปฝึกมาแล้ว เหมือนถูกดูดตอนถูก คฑากายสิทธิ์ พยายามข่มจิตให้เกิดนิมิต แต่ก็ดีแล้ว ที่ไม่เกิด ไม่งั้น คงเป็นแบบคุณหลับอยู่ :b12: )

บางคนที่ฝึกมาถึงขั้นสุดยอดของ วรยุทธ ก็เข้าไปถึงดินแดนพระนิพพาน ติดต่อพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าได้

-----------------------------------------

ถ้าเป็นสายวิชา ธรรมกาย ก็จะยึดเอานิมิต ดวงแก้วใส ๆ ๆ ๆ ๆ

จบที่ นิมิตภาพพระพุทธรูป ใสที่สุด

คุณหลับอยู่ครับ วรยุทธ ทั้งหลายที่สำนักคุณค้นพบใหม่ ถ่ายทอดกันมา ด้วยเคล็ดวิชาอันซับซ้อน

เป็นคนละอย่างกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฏก อรรถกถา เลยนะครับ

ว่าผมแต่เป็น ฟายยย ลองแปลงร่างเป็นฟายย มาไล่ขวิดผมได้ไหมเนี่ย

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เจอตัวพอดี

ที่กล่าวหาท่านพุทธทาสไว้

เอาหลักฐานไปแสดงที่

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=32501&p=210473

อย่ากล่าวหาลอยๆแล้ววิ่งหนี

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


"ธรรมกาย" ในแนวคิดพระธรรมปิฎก [C] "ธรรมกาย" ในแนวคิดพระธรรมปิฎก ตามทางพุทธกิจ
ศึกษาพระพุทธประวัติ จากพระธรรมเทศนา ณ พุทธสังเวชนียสถาน
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)







--->> รูปกายดับสูญ ธรรมกายไม่สิ้น



ขอเจริญพรโยมคณะผู้เดินทางนมัสการสังเวชนียสถานพุทธสังเวชนียสถานที่คณะนั่งอยู่ในบัดนี้ก็เป็นสถานที่สำคัญสืบเนื่องมาจากสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานซึ่งคณะได้ไปนมัสการเมื่อเย็น และได้สวดมนต์ทำวัตรจนถึงตอนค่ำวานนี้ ในเวลาที่เดินทางมาถึงใหม่ ๆ



ที่ว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่สำคัญสืบเนื่องจากสถานที่ปรินิพพานนั้น ก็เพราะว่าเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระคือ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว หลังจากนั้นบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายพระ และฝ่ายคฤหัสถ์ก็ได้เตรียมการเกี่ยวกับการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ


ฝ่ายพระนั้นในสถานที่ปรินิพพาน ตามประวัติก็ว่าพระอนุรุทธเถระเป็นประธาน และมีพระผู้ใหญ่อื่น เช่น พระอานนทเถระ เป็นต้น ในฝ่ายคฤหัสถ์นั้นก็ได้แก่กษัตริย์มัลละทั้งหลายผู้เป็นเจ้าเมืองเจ้าแคว้นดินแดนแห่งนี้ ท่านเหล่านั้นจึงจะต้องทำความเข้าใจกันให้ถูกต้อง


ก็เป็นอันว่าสถานที่นี้ก็เป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่เราจะต้องเกิดความสังเวชดังที่กล่าวมาแล้ว และเมื่อสังเวชถูกต้องย่างนี้ก็จะไปสอดคล้องกับหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นปัจฉิมวาจาที่ว่า ให้ไม่ประมาท หรือให้ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาท หมายความว่าพุทธศาสนิกชนเมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า ระลึกถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับพระองค์แล้ว ก็จะต้องเกิดความสำนึกที่จะเร่งขวนขวายทำความดี เร่งขวนขวายปฏิบัติธรรม ไม่ปล่อยปละละเลยทอดทิ้ง ไม่ทำกาลเวลาให้ล่วงไปเสียเปล่าพยายามทำเวลาที่ผ่านไปให้มีประโยชน์มากที่สุด เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามในทางธรรม


สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระนี้ก็เป็นเครื่องหมายให้เห็นชัดว่า พระรูปกายของพระพุทธเจ้านั้นได้สิ้นสุดลงแล้วรูปกายของพระองค์ที่ประกอบด้วยพุทธลักษณะต่าง ๆ ในที่สุดได้ถูกเพลิงแผดเผาสูญสิ้นไป เหลือแต่เพียงพระสารีริกธาตุ คือ พระอัฐิ หรือกระดูกเท่านั้น ที่ถวายพระเพลิงก็เป็นเครื่องหมายของการจบสิ้นของพระรูปกายของพระพุทธเจ้า



อาตมภาพได้เคยกล่าวแล้วว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงมีพระกาย ๒ อย่างตามคติของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ก็คือมี “รูปกาย” กับ “ธรรมกาย” รูปกายของพระพุทธเจ้เสื่อมสิ้นไปตามกาลเวลา ตามธรรมดาของสังขารที่เป็นของปรุงแต่งแต่ว่าธรรมกายของพระองค์ไม่เสื่อมสิ้นไปด้วย ธรรมกายนั้นมีอยู่ และเราทั้งหลายสามารถเฝ้า สามารถเห็นได้เสมอ คือ เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานไปแล้ว เราก็ไม่สามารถจะเฝ้าพระองค์ในด้านรูปกายต่อไป แต่เราสามารถที่จะเฝ้าพระองค์ในด้านธรรมกาย ตลอดจนกระทั่งว่าสามารถทำธรรมกายให้เกิดขึ้นปรากฏประจักษ์แก่จิตใจของเรา








มีพุทธพจน์ครั้งหนึ่งตรัสแก่พระภิกษุรูปหนึ่งที่มีความรักในพระองค์มาก เฝ้าติดตามพระองค์เพื่อจะดูพระรูปพระโฉมชมพุทธลีลาได้แก่พระภิกษุที่ชื่อว่า “วักกลิ” พระวักกลินี้หลังจากบวชมาแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จไปไหนก็จะตามไปเสมอ ต้องการที่จะเฝ้าดูความสง่างามของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งถึงตอนหนึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสว่า


“วักกลิ เธอจะดูไปทำไมร่างกายที่เปื่อยเน่าได้นี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา”


พระพุทธเจ้าตรัสดังนี้ ซึ่งครั้งแรกก็ทำให้พระวักกลิเสียใจมากจะไปกระโดดภูเขาตาย พระพุทธเจ้าก็ต้องเสด็จไปโปรด แล้วในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์


พุทธพจน์ตอนนี้ พระอรรถกถาจารย์ท่านได้อธิบายให้เห็นความต่างกันระหว่างรูปกายกับธรรมกาย คือที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าจะตามดูไปทำไมร่างกายที่เปื่อยเน่าได้นี้ คำว่ากายตอนนี้หมายถึงส่วนรูปกาย รูปกายของพระพุทธเจ้าก็เป็นสังขารของปรุงแต่งเป็นไปตามหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เสื่อมสลายสิ้นไป ส่วนอีกตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม คำว่า “เห็นเรา” อันนี้คือพระพุทธเจ้าตรัสถึงธรรมกาย


ธรรมกายนั้นอย่างที่อาตมภาพเคยเล่าให้ฟังแล้วว่าเมื่อพระนางมหาปชาบดีโคตมีได้ทูลตอนหนึ่งว่า


“ดิฉันเป็นมารดาของพระองค์ พระองค์ก็เป็นบิดาของหม่อมฉันกล่าวคือ พระรูปกายของพระองค์นั้นหม่อมฉันได้เลี้ยงดูให้เติบโตมา ส่วนธรรมกายของหม่อมฉันพระองค์ก็ได้ทำให้เจริญเติบโตขึ้นมา” ก็หมายความว่าต่างฝ่ายต่างได้เลี้ยงดู หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเจริญเติบโต รูปกายของพระพุทธเจ้านั้นพระนางปชาบดีโคตมีเป็นผู้เลี้ยงให้เติบโตแต่ว่าธรรมกายของพระนางมหาปชาบดีโคตรมีนั้นพระพุทธเจ้าเป็นผู้ทำให้เจริญเติบโตขึ้นมา



ธรรมกายนั้น ได้แก่ โลกุตตรธรรมซึ่งจะเข้าถึงได้ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฎฐาน ๔ เป็นต้น ตลอดจนกระทั่งอริยธรรมมีองค์ ๘ ประการ และความรู้ในอริยสัจ ๔ ประการ เป็นธรรมกาย



โพธิ์ปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เมื่อปฏิบัติได้ถูกต้องก็ย่อมนำไปสู่ความเข้าใจอริยสัจ และการตรัสรู้ บุคคลที่เป็นชาวพุทธย่อมคำนึงรูปกายของพระพุทธเจ้า กวีหลายท่านพากันพรรณนาพุทธลักษณ์ เช่น เรื่องมหาปุริสลักษณะ ๓๒ และเรื่องฉัพพรรณรังสี เป็นต้น ปรากฏอยู่ในวรรณคดีต่าง ๆ หลายเรื่อง แต่เมื่อเกิดมาภายหลัง เราก็ย่อมไม่สามารถเฝ้าพระพุทธเจ้าในด้านรูปกายได้ แม้กระนั้นก็ตาม เราก็สามารถเฝ้าธรรมกายของพระองค์ ทำให้ธรรมกายปรากฏประจักษ์แก่ตัวเรา แก่ใจของทุก ๆ คนได้



รูปกายเป็นสิ่งที่มองเห็นด้วยสายตาธรรมดา หรือตาเนื้อเราอาจจะต้องเดินทางไปไกล ๆ โดยพาหนะตามถนนหนทางที่เป็นวัตถุ เป็นรูปธรรม เพื่อดูรูปกาย แม้ที่เราเดินทางมานี้ก็เพื่อดูสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพระรูปกายของพระพุทธองค์ มาดูสถานที่ที่พระรูปกายของพระองค์เคยเสด็จมาเกี่ยวข้อง มาประทับ หรือมาถูกพระเพลิงเผาผลาญในคราวถวายพระเพลิงพุทธสรีระ



แต่ว่าธรรมกายนั้น เราจะเดินทางไปด้วยยานพาหนะที่เป็นรูปธรรมไม่ได้ แม้กระนั้น ท่านก็ได้แสดงหนทางหรือมรรคาอันเป็นนามธรรมที่จะนำให้เดินทางเข้าสู่การเห็นธรรมกายได้ อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” การเห็นในที่นี้ หมายถึงการเห็นด้วยดวงตาปัญญา และทางเดินที่จะไปเฝ้าพระธรรมกายนั้น ก็คือทางเดินที่เรียกวา มรรคมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ ได้แก่การปฏิบัติ กล่าวคือการเจริญธรรมะให้เกิดขึ้นในตัวเรา ในใจของเรา พระพุทธเจ้าได้ตรัสทางอันนั้นไว้แล้ว เป็นข้อปฏิบัติที่จะให้ถึงการเห็นซึ่งธรรมกาย



แม้แต่การที่ได้มายังสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเคยเกี่ยวข้องเคยปรากฏรูปกายของพระองค์นั้น เมื่อได้ทำใจให้ถูกต้องมีโยนิโสมนสิการแล้ว ก็ย่อมเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่การที่จะปฏิบัติเพื่อการเห็นธรรมกายได้



เพราะว่าเมื่อได้เดินทางมายังสถานที่นี้แล้ว บังเกิดความสังเวชตามหลักที่ถูกต้องที่ว่า การกระตุ้นจิตสำนึกให้ได้เกิดความคิด มีความไม่ประมาทก็ดี หรือเป็นเครื่องเจริญศรัทธาในคำสอนของพระองค์แล้ว มีฉันทะ มีวิริยะ ในการที่จะบำเพ็ญปฏิบัติก็ดี เกิดมีปีติมีความเอิบอิ่มปลาบปลื้มใจว่าได้มาเฝ้า ณ สถานที่พระองค์เคยประทับ แล้วมีจิตใจผ่องใสเบิกบาน เกิดความสุขสงบในใจจนถึงเกิดเป็นสมาธิก็ดี อันนั้นล้วนเป็นเครื่องเกื้อหนุนให้เราสามารถเดินทางไปเฝ้าไปเห็นธรรมกายประจักษ์แจ้งในในของตนได้ทั้งนั้น



เพราะฉะนั้น เมื่อเราได้มายังสถานที่นี้ด้วยกุศลเจตนาแล้ว และเราก็เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อปรารถนาจะบำเพ็ญข้อปฏิบัติให้ถูกต้องตามโอวาทของพระองค์ ก็ควรจะได้พยายามดำเนินตามวิถีทางที่จะได้ประจักษ์แจ้งในธรรมกายด้วย อย่างน้อยเมื่อเกิดศรัทธาขึ้น หรือมีปีติหรือใจสงบผ่องใส ก็เป็นอันว่าได้เริ่มทำธรรมกายให้งอกงามขึ้นในตนแล้ว



อย่างที่อาตมภาพได้กล่าวแล้วว่าศรัทธานั้นก็เป็นธรรมข้อหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นธรรมะข้อแรกในอินทรีย์ ๕ ซึ่งประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ถ้าเราได้ศรัทธาที่ถูกต้องแล้วก็เป็นอันว่าได้อินทรีย์ ๕ ข้อที่ ๑ ก็เป็นองค์ธรรมข้อหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นจุดเริ่มต้นในการก่อเกิดธรรมกาย



ทีนี้ ถ้าหากว่าเราเจริญธรรมะข้ออื่น ๆ เช่นว่ามีศรัทธาแล้วเกิดฉันทะก็ดี หรือเกิดสังเวชขึ้นมาแล้ว เกิดฉันทะในธรรมะ มีความใส่ใจพอใจในธรรมะของพระพุทธเจ้าก็ดี เมื่อเกิดฉันทะความพอใจแล้ว ก็เกิดวิริยะคือความเพียรพยายามที่จะปฏิบัติธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ฉันทะวิริยะนี้ก็เป็นองค์ธรรมในอิทธิบาท ๔ ประการ ก็เป็นหมวดธรรม ๑ หมวดในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น หรือมาถึงแล้วเกิดมีปีติ หรือใจสงบผ่องใส ก็เป็นจุดเริ่มในการเจริญธรรมกายได้เช่นเดียวกัน


เพราะฉะนั้น ในการมา ณ สถานที่นี้ในวันนี้ ถ้าในใจของโยมได้ประสบกับองค์ธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดดังที่ได้กล่าวมานี้ ก็พูดได้ว่าโยมได้เข้ามาถึงในเขตที่เฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วทั้งทางรูปกายและทางธรรมกายคือ ทางรูปกายก็ได้เข้ามาถึงที่พระวรกายของพระองค์เคยประทับ ทางนามกายก็ได้ประสบองค์ธรรมที่เป็นส่วนแห่งพระธรรมกาย คุ้มค่าในการที่ได้เดินทางมา



อาตมาภาพขอทวนอีกทีว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้นแบ่งเป็นธรรม ๗ หมวด หรือจัดเป็น ๗ หมวด ได้แก่


สติปัฏฐาน ๔ มีอะไรบ้าง มี กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


สัมมัปปธาน ๔ คือ ๑. สังวรปาน ความเพียรในการหลีกเลี่ยง ระมัดระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิด ๒. ปหานปธาน ความเพียรพยายามในการละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วทำให้หมดสิ้นไป ๓. ภาวนาปธาน ความเพียรพยายามในการเจริญหรือทำให้เกิดมี หมายความว่าเพียรปฏิบัติธรรม หรือกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมีให้เกิดมีขึ้น ๔. อนุรักขนาปธาน ความเพียรพยายามในการรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ตั้งมั่น และเจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์


ต่อไปก็มี อิทธิบาท ๔ ได้แก่ ฉันทะ ความพอใจความรัก ความปรารถนาในธรรม วิริยะ ความเพียรพยายามความแกล้วกล้าในการที่จะปฏิบัติธรรมนั้น ไม่ย่นระย่อไม่ทอดธุระ จิตตะ ความใส่ใจ ความฝักใฝ่เอาใจใส่ในการปฏิบัติในปฏิทาที่ถูกต้อง และวิมังสา ความพิจารณาไตร่ตรองตรวจสอบเพื่อจะได้ใช้ปัญญา ดำรงรักษาข้อปฏิบัติให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องตลอดสาย และก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป


ลำดับต่อไปจากนี้โดยรวบรัดก็มี อินทรีย์ ๕ พละ ๕ อินทรีย์ ๕ ก็คือองค์ธรรมที่เป็นเจ้าการในการที่จะกำจัดหรือข่มธรรมะที่เป็นกุศลฝ่ายตรงข้าม และพละก็เป็นธรรมที่จะเป็นกำลังคุ้มกันต้านทานไม่ให้อกุศลธรรมเข้ามาครอบงำตัวเราได้ ก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา นี้เป็นอินทรีย์ ๕ และพละ ๕


ต่อไปก็ โพชฌมค์ ๗ ได้แก่ สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา


และองค์ธรรมหมวดสุดท้ายได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการ มีสัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะความดำริชอบ สัมมาอาชีวะการเลี้ยงชีพชอบ สัมมาวายามะการเพียรพยายามชอบ สัมมาสติระลึกชอบ สัมมาสมาธิตั้งจิตมั่นชอบ


นี้แหละคือองค์ธรรมที่เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ท่านแสดงว่าเป็นเครื่องเข้าถึงธรรมกาย เมื่อเราได้เจริญองค์ธรรมข้อไหนก็ตามเป็นจุดตั้งต้น ก็จะเป็นเครื่องช่วยในการที่จะทำธรรมกายให้เจริญงอกงามขึ้นในตัวเราจนกระทั่งเมื่อใดธรรมกายได้งอกงามโดยสมบูรณ์แล้วก็คือการตรัสรู้ธรรม หรือเข้าถึงธรรมะถือเป็นความหมายโดยการเปรียบเทียบว่า ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในทางธรรมกาย หรือได้ประจักษ์แจ้งในธรรมกายของพระพุทธองค์นั่งเอง



บัดนี้ คณะก็ได้เดินทางมายังสถานที่สำคัญปรารถนาแล้ว ก็หวังว่าโยมทุกท่านคงจะได้เจริญศรัทธา ได้เจริญปีติปราโมทย์และความสุขสงบใจ ได้เจริญฉันทะ วิริยะเป็นต้น อันเป็นส่วนเบื้องแรก


ส่วนบุพภาคในการที่จะก้าวหน้าไปในธรรมกาย ขอให้การที่ได้ข้ามาเกี่ยวข้องกับสถานที่อันเป็นที่เคยปรากฏแห่งพระรูปกายของพระพุทธเจ้านั้น จงเป็นเครื่องอุดหนุนส่งเสริมเกื้อกูลให้ญาติโยมทุกท่านได้เจริญก้าวหน้าไปในแนวทางมรรคาที่จะยังธรรมกายให้เจริญงอกงามขึ้นไปจนไพบูลย์ในจิตของตน ๆ และขอให้ความเจริญงอกงามในธรรมกายนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของทุกท่าน นำมาซึ่งผลอันพึงปรารถนามีจตุรพิธพรชัยเป็นต้น ตลอดกาลนานเทอญ







หนังสือ : ตามทางพุทธกิจ (ปกแข็ง)

ผู้แต่ง : พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

จำนวน : 234 หน้า

ขนาดรูปเล่ม : 15 x 220 x 18 มม.

น้ำหนัก : 370 กรัม

เนื้อในพิมพ์ : ขาวดำ

เดือน/ปี ที่พิมพ์ : --/2000


หุหุหุ สัจจะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2010, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิม

ทำไมไม่กล้าฟันธงว่า

สวรรค์ เทวดามีจริงหรือไม่

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณหลับอยู่ ทำตนเยี่ยงสำนักจานบินไม่มีผิด

เห็นคำว่า ธรรมกาย ที่ไหน รีบนำมาอ้างอิง ใช้ประโยชน์กับ วิชาธรรมกาย ของสำนักตนเองทันทีเลย โดยไม่ศึกษาความหมายจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ให้ดี

นิพพานจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท
http://larndham.org/index.php?showtopic=24144&st=1

สำหรับ เรื่อง แดนพระนิพพาน และ ธรรมกายนี้ ท่านผู้รู้ได้ชี้แจงรายละเอียดไว้ที่

กรณีธรรมกาย
http://b2b2.tripod.com/tmk/


ธรรมกาย เรื่องสูงที่ไม่ใหญ่.....79
ธรรมกายแบบไหน ก็มีความหมายชัดเจนของแบบนั้น.....79
ธรรมกายเดิมแท้ในพุทธกาล.....83
บำรุงเลี้ยงบริหารร่างกายไว้ รูปกายก็เจริญงอกงาม หมั่นบำเพ็ญศีลสมาธิปัญญา ธรรมกายก็เจริญขึ้นมาเติบโตได้เอง.....89
จะมองดูรูปกาย ก็อาศัยเพียงตาเนื้อ แต่ต้องมีตาปัญญา จึงจะมองเห็นธรรมกาย……93
จะเอาธรรมกายของพระพุทธเจ้า หรือธรรมกายแบบไหน ก็มีเสรีภาพเลือกได้ แต่ขอให้บอกไปตามตรง……97

อายตนนิพพาน คือดับอายตนะ.....99
"อัตตา" ไม่มีโดยปรมัตถ์ เป็นเรื่องที่ชัดเจนไปแล้ว.....00
"อายตนนิพพาน" ไม่มีโดยบาลีนิยม ก็ชัดเจนเช่นกัน.....103
อายตนนิพพาน ไม่มี แต่แปลให้ดีก็ได้ความหมาย นิพพานายตนะ ถึงจะใช้เป็นศัพท์ได้ แต่ไม่ให้ความหมายที่ดี.....107
ใจหมดโลภโกรธหลง สว่างโล่งสดใส เมื่อไร ก็ได้เห็นนิพพานของพระพุทธเจ้า เมื่อนั้นทันที….109
เรื่องเบ็ดเตล็ด.....112



ธรรมกายเดิมแท้ในพุทธกาล
http://b2b2.tripod.com/tmk/tmk29.txt

---------------------------------------------

ไม่แปลกเลย ที่คุณหลับอยู่จะคลั่งไคล้ ในวิชานี้จนพร้อมจะยอมทำทุกอย่าง แม้กระทั่งกล่าวถ้อยคำที่หยาบคาย

นี่ถ้าหากได้ ฌานจริง จิตใจขุ่นมัวขนาดนี้ ฌานคงเสื่อมถอยไปหมดแล้ว

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเอกผุดขึ้นตั้งมั่นในภายใน
(องค์ประกอบในสภาวะปฐมฌาณถึงขั้นสูงสุด จนพุทธอุทานคาถาพราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่)
ส่วนใหญ่ยังไม่รู้กันเลย
จะมาตีความคำว่า ธรรมกาย


ขำว่ะ :b32: :b32: :b32: :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 15 มิ.ย. 2010, 10:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านเองครับ ตรองให้ดีๆ คำอธิบายที่มันยกมา ไม่ใช่คำพระอริยะที่พระพุทธเจ้ารับรองครับว่าบรรลุแล้ว เป็นบุคคลที่ไปเทียบกับพระอรหันต์แท้ๆในพระสูตรไม่ได้ :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
เห็นการยก พระไตรปิฏก และเน้นข้อความ ธรรมกาย และ จะสื่อว่า นิพพานเป็นดินแดน ที่สามารถติดต่อพระพุทธเจ้าได้

รู้เลยครับ ว่าคงนับถือ วิชาธรรมกาย และ มโนมยิทธิ

ที่เกิดจากการนั่งสมาธิ แล้วเกิด นิมิต ว่าเป็น วิปัสสนา และ พระนิพพาน


[/color]


นิพพานไม่สูญ
ประสบการณ์โลกทิพย์ ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ต่อ)

พระอาจารย์มั่นยืนยันว่านิพพานไม่สูญ ! นิพพานปรม สูญญแปลว่า นิพพานเป็นธรรมะว่างอย่างยิ่ง เป็นแดนว่างหรือปลดจากอุปสรรขัดขวาง หรือขัดข้องทั้งสิ่งทั้งปวง

เป็นแดนของวิสุทธิเทพคือผู้เป็นพระอรหันต์ ที่ละลายกายทิพย์หมดสิ้นแล้วเหลืออยู่แต่จิตสุขใสเป็นดวงประกายพรึกพระอรหันต์สถิตย์อยู่ในแดนพระนิพพานนั้น

ถ้าท่านต้องการจะทำอะไร ทำอย่างไรจะให้อะไรเป็นอะไร ท่านก็สามารถนฤมิตด้วยสำเร็จทุกอย่างไม่มีอะไรขัดข้อง ปลอดจากอุปสรรคทั้งปวง

ท่านสามารถแบ่งภาคได้ร้อยแปดพันประการไม่จำกัดขอบเขต ไม่จำกัดกาลเวลาคำว่า นิพพานปรม สูญญที่แปลกันไปว่า นิพพานเป็นแดนสูญสิ้นไม่มีอะไรเหลือเลยนั้น

พระอาจารย์มั่นบอกว่า ไม่เป็นความจริง นิพพานไม่ใช่สูญ ! ปรม สูญญที่แปลกันไปว่าคือ สูญโญ อันหมายถึงสภาวะไม่มีอะไรเลยอย่างเด็ดขาดนั้น


เป็นการแปลหรือตีความที่ผิด การแปลความความแบบนี้ก็เพื่อจะยืนยันความคิดนึกเดาเอาตามมติของตนเองว่า นิพพานคือภาวะดับสูญอย่างเด็ดขาด

ซึ่งมีค่าเท่ากับที่ลัทธิศูนยวาทว่าไว้ว่าไม่มีอะไร ๆ ก็หายสาปสูญไปหมด เรียกไม่รู้ กู่ไม่กลับ กู่ไม่กลับนั่นเอง นิพพานไม่ใช่แดนสูญอย่างที่เข้าใจกันเลย !

นิพพานเป็นแดนทิพย์คล้ายพรหมโลก แต่สวยงามวิจิตรพิสดารยิ่งกว่าพรหมโลก ผู้สำเร็จพระอรหันต์เข้าสู่แดนพระนิพพานนั้น มีร่างทิพย์ที่ละเอียดที่นฤมิต

ไม่ใช่กายทิพย์ธรรมดาเหมือนโอปปาติกะทั้งหลาย กายทิพย์ หรือ ธรรมกาย ของพระอรหันต์ในแดนนิพพานเป็นกายทิพย์ที่นฤมิตขึ้นด้วยธรรม

ไม่ได้เกิดขึ้นเองเป็นเองโดยธรรมชาติของโลกวิญาณร่างธรรมกายของพระอรหันต์เป็นทิพย์ละเอียดใสสะอาดใสเป็นประกายคล้ายแก้วประกายพรึก

มีรัศมีสว่างไสวมากกว่าพระพรหมอย่างเทียบกันไม่ได้เลย มีความสุขที่สุดอย่างไม่มีอะไรเปรียบเทียบเพราะความรู้สึกอื่นไม่มี มีแต่จิตสงเคราะห์ !

พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ที่เข้าสู่แดนพระนิพพานไปนมนานกาเลแล้วนั้น ไม่ได้สูญพันธุ์ไปหมดเหมือนไดโนเสาเต่าพันปี ดังที่เข้าใจ

พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายยังอยู่ ทรงอยู่ในสภาพของจิดคล้ายดาวประกายพรึกแต่เป็นดวงจิดที่รอบรู้สัพพัญุตญาณคือความเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอด

หมดสิ้นในเรื่องของสกลจักรวาล รู้ทุกสิ่งทุกอย่างถูกต้องแม่นยำไม่มีผิดพลาดโลกเราเป็นวัตถุถุก้อนหนึ่งล่องลอยโคจรไปในอวกาศอันกว้างใหญ่ไพศาลหาขอบเขต

ไม่ได้ เปรียบไปก็คล้ายเป็นยานอวกาศลำกระจ้อยร่อยเหลือเกินเมื่อเปรียบเทียบกับความกว้างใหญ่ไพศาลของจักรวาลเวลานับแสนนับล้านปี

ของโลกเราที่หมุนไปอาจจะเป็นเสี้ยววินาทีเดียวของเวลาสากลจักรวาลก็ได้ ดังนั้นเวลา 2525 ปี นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่หระนิพพานไป

อาจจะเป็นเวลาเพียงเศษหนึ่งส่วนล้านวินาทีของเวลาในแดนพระนิพพานก็ได้พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกยังอยู่ในแดนพระนิพพาน ไม่ได้หายลับดับสูญไปไหน !

ท่านพระอาจารย์ทั่น ภูริ ทัตตเถระ เล่าไว้อย่างน่าสนใจว่า หลังจากท่านบรรลุธรรมชั้นสูงสุดแล้วในคืนวันต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วย

พระสาวกอรหันต์สาวกจำนวนมากได้เสด็จมาทางนิมิตรสมาธิ แสดงอนุโมทนาวิมุติกับท่าน คือแสดงความยินดีที่ท่านพระอาจารย์มั่นบรรลุอรหันตผล

ลวงตาหรือกายทิพย์

เรื่องนี้มีท่านผู้อ่านวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า เป็นไปไม่ได้ ที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลาย จะยังมี “ร่างทิพย์” เหลืออยู่และเสด็จมาโปรดได้

เพราะพระพุทธเจ้าเข้าสู่พระปรินิพานดับสูญสิ้นเชื้อพันธ์ไปกว่าสองพันปีแล้ว ให้อะไรเหลืออยู่อีกเลย พระพุทธองค์จะเสด็จมาได้อย่างไร แม้ว่าจะเสด็จมา

ในรูปกายทิพย์ก็ตามเถิดก็เป็นไปไม่ได้เช่นกัน นักวิจารณ์ที่เป็นจอมปราชญ์ทางปริยัติก็กล่าวหาว่า ท่านพระอาจารย์มั่นน่าจะได้เห็นภาพลวงตา

ซึ่งเกิดจากเข้าสมาธิลึกๆเสียมากกว่า อาการเห็นภาพลวงตาแบบนี้คัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่าเป็นความวิปลาสอย่างหนึ่ง คือความรู้เห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

ความฝันแปรกลับกลายอันเป็นลักษณะมายาหลอนจิต คำกล่าวหาว่า พระอาจารย์มั่นวิปลาสไปขณะเข้าสมาธิลึกๆนี้ เป็นคำกล่าวหาที่อ้างอิงบิดเบือนไม่รู้จริงถึงเรื่องสมาธิ

ตามหลักพระพุทธศาสนาหรืออาจจะรู้จริงเรื่องหลักสมาธิเหมือนกันแต่ไม่เคยลงมือปฏิบัติ หากรู้ได้ด้วยการสักแต่ว่าอ่านจากตำราแบบความรู้ท่วมหัว

แต่ไม่เอาตัวเข้าปฏิบัติ การรู้ด้วยวิธีนี้ เป็นการรู้ด้วยความคาดหมายหรือคาดคะเนเอา ตามนิสัยของมนุษย์ที่ชอบค้นชอบเดาเอาตามสันดาน เป็นความเห็นตามสัญญา

หรือความจำได้หมายรู้จากตำราไม่ใช่รู้จากการลงมือปฏิบัติด้านสมาธิจิตวิปัสสนากรรมฐานเพราะการรู้ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพราะการรู้ด้วยการปฏิบัติ

วิปัสสนานี้เป็นการหยั่งรู้ด้วยปัญญาล้วนๆ ฉะนั้นความเห็นตามสัญญากับความเห็นตามปัญญาผลย่อมจะต่างกันราวฟ้ากับดิน พระอาจารย์มั่นเห็นอะไรต่ออะไร

ได้ด้วยปัญญาของท่านไม่ใช่เห็นตามสัญญาความจำได้หมายรู้ การที่หาญไปวิพากษ์วิจารณ์ท่านพระอาจารย์มั่นเช่นนี้ เป็นการเอาระดับความนึกคิดของตนซึ่ง

เป็นปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลส ไปวัดอารมณ์และสติปัญญาของพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นพระอริยเจ้าผู้ทรงภูมิธรรมขั้นสูง เปรียบไปแล้วก็เหมือนเราเป็นแค่นักเรียนอนุบาลหาญ

กล้าไปวิพากษ์วิจารณ์ภูมิรู้ในด้านการปฏิบัติของศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญในห้องทดลองวิทยาศาสตร์แน่นอน...การวิพากษ์วิจารณ์นั้นย่อมจะไร้เดียงสาผิดพลาด

อย่างน่าสงสาร ตามความเป็นจริงนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านมีญาณพิเศษตาทิพย์ หูทิพย์ รู้แจ้งเห็นจริงทุกสิ่งอย่างทั้งภายในและภายนอก

โดยไม่จำเป็นต้องเข้าสมาธิลึกๆ เลย เพียงแต่ท่านเข้าสมาธิอย่างอ่อนๆ ระดับอุปจาระสมาธิก็สามารถรู้เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ได้กว้างขวางโดยไม่จำกัดขอบเขต

ในบางครั้งบางคราวท่านไม่จำเป็นต้องเข้าสมาธิเลยก็เกิดญาณพิเศษสามารถรับรู้เหตุการณ์ต่างๆ ได้ด้วยตาทิพย์หูทิพย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำน่าอัศจรรย์

ญาณพิเศษนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจปัญญาอัตโนมัติหมุนทับรับรู้กับเหตุการณ์ณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ต้องมีการบังคับบัญชาใดๆ เปรียบไปแล้วก็เหมือนเครื่องเรด้าร์ขนาดใหญ่

สามารถรับรู้เหตุการณ์ณ์ทั้งใกล้และไกลได้ถูกต้องแม่นยำนั่นเอง เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันตสาวกจำนวนมาก เสด็จมาแสดงความยินดีกับพระอาจารย์มั่น

ที่ท่านบรรลุอรหัตตผลนี้ ท่านได้เล่าให้สานุศิษย์ทั้งหลายฟังว่า

โอวาทตถาคต

พระพุทธองค์เสด็จมาในสมาธินิมิต แล้วประทานพระโอวาทอนุโมทนาแก่ท่านพระอาจารย์มั่นมีใจความว่า" เราตถาคตทราบว่า เธอพ้นจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขัง

แห่งเรือนจำของวัฏฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนา ที่คุมขังแห่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก มีเครื่องยั่วยวนให้เผลอตัวและคิดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง

จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์ในโลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมาว่า เป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด

พอจะคิดเสาะแสวงหาทางออกด้วยวิธีต่างๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น

ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหา ภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่า จะหายได้เมื่อไร

สิ่งตายตัวก็คือโรคพรรค์นี้ถ้าไม่รับยาคือธรรมะจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ตลอดอนันตกาล "

พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทต่อไปว่า ธรรมะแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรมะ

" ธรรมะก็อยู่แบบธรรมะสัตว์โลกกูหมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภาพน้อยภาพใหญ่แบบสัตว์โลก โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงเมื่อใด

ไม่มีทางช่วยได้ ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเอง โดยยึดธรรมะมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม " พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงใด

ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอย่างเดียวกันคือ สอนให้ละชั่ว ทำดี ทั้งนั้น

ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้ว

เป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิเลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว นอกจากผุ้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่องกิเลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรม

เป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประการต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิมคนที่คล้อยตามมัน จึงเป็นผู้ลืมธรรมะไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม

โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ ทั้งที่สิ่งนั้นเป็นโทษ พระเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองการณ์ไกลย่อมไม่หดตัวมั่วสุมอยู่เปล่าๆ

เหมือนเต่าถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลกเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผาไม่มีกาลสถานที่ ที่พอจะปลงวางลงได้

จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตามๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน สิ่งแผดเผาเร่าร้อนอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่น

(มีต่อ)




ที่มาวัดป่าโนนวิเวก อุดรธานี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 23:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนที35พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนาหลวงปู่มั่น

--------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนา







หลังจากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระสาวกบริวารเป็นจำนวนหมื่นเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับสาวกบริวารจำนวนแสนเสด็จมาเยี่ยม

คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีสาวกเท่านั้นเสด็จมาเยี่ยมอนุโมทนา

จำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์นั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ท่านว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ไม่เหมือนกัน ที่พระสาวกตามเสด็จมาด้วยแต่ละพระองค์นั้น มิได้ตามเสด็จมาทั้งหมดในบรรดาพระสาวกของแต่ละพระองค์ที่มีอยู่ แต่ที่ตามเสด็จมามากน้อยต่างกันนั้น พอแสดงให้เห็นภูมิพระวาสนาบารมีของแต่ละพระองค์นั้นต่างกันเท่านั้น

บรรดาพระสาวกจำนวนมากของแต่ละพระองค์ที่ตามเสด็จมานั้น มีสามเณรติดตามมาด้วยครั้งละไม่น้อยเลย ท่านสงสัยจึงพิจารณาก็ทราบว่า คำว่าพระอรหันต์ในนามธรรมนั้นมิได้หมายเฉพาะพระ แต่สามเณรที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดก็นับเข้าในจำนวนสาวกอรหันต์ด้วย ฉะนั้นที่สามเณรติดตามมาด้วยจึงไม่ขัดกัน



ในพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประทานอนุโมทนาแก่พระอาจารย์มั่นนั้น ส่วนใหญ่มีว่า



อ้างอิงคำพูด:
เราตถาคตทราบว่าเธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนา ที่คุมขังแหล่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก และมีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์โลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมา ว่าเป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาทางออกด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหาภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่าจะหายได้เมื่อไร



สิ่งตายตัวก็คือโรคพรรค์นี้ ถ้าไม่รับยาคือธรรมจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ตลอดอนันตกาล ธรรมแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุ ก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรม ธรรมก็อยู่แบบธรรม สัตว์โลกก็หมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภพน้อยภพใหญ่แบบสัตว์โลก โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงได้เมื่อใด ไม่มีทางช่วยได้ ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเองโดยยึดธรรมมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม


พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงไร ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอยู่อย่างเดียวกัน คือสอนให้ละชั่วทำดีทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้ เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้วเป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิเลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว นอกจากผู้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่องกิเลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น


ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประเภทต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิม คนที่คล้อยตามมันจึงเป็นผู้ลืมธรรมไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ ทั้งที่สิ่งนั้นให้โทษ ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองเห็นการณ์ไกล ย่อมไม่หดตัวมั่วสุมอยู่เปล่า ๆ เหมือนเต่าถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลกเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผา ไม่มีกาลสถานที่ที่พอจะปลงวางลงได้ จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตาม ๆ กัน โดยไม่นิยมสัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน เพราะสิ่งแผดเผาเร่าร้อนอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่น


ที่นี่เธอเห็นพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ?


พระตถาคตแท้คืออะไร คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั้นแล ที่พระตถาคตมาในร่างนี้ มาในร่างแห่งสมมุติต่างหาก เพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้ นี่เป็นเพียงเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมุติต่างหาก






อ้างอิงคำพูด:
ท่านพระอาจารย์กราบทูลว่า
ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย ที่สงสัยก็คือ พระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่านที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่เลย แล้วเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร?



อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าตรัสว่า



ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมุติอยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมุติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมุติซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้วไม่มีส่วนสมมุติยังเหลืออยู่ ตถาคตก็ไม่มีสมมุติอันใดมาแสดงเพื่ออะไรอีก ฉะนั้นการมาในร่างสมมุตินี้จึงเพื่อสมมุติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมุติเสียอย่างเดียวก็หมดปัญหา



พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีตอนาคตก็ทรงถือเอานิมิต คือสมมุติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายให้ทราบ เช่น ทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าทรงเป็นมาอย่างไรเป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายพิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมุติของสิ่งนั้น ๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทางสมมุติ เพราะวิมุตติล้วน ๆ ไม่มีทางแสดงได้ ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ ต้องอาศัยสมมุติเป็นหลักพิจารณา


ดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมุติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นจะพอมีทางทราบได้ว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ และพระอรหันต์องค์นั้น ๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้


เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมุติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแสดงออกโดยทางสมมุติเพื่อความเหมาะสมกัน


ถ้าเป็นวิมุตติล้วน ๆ เช่นจิตที่บริสุทธิ์รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกัน ก็เพียงแต่รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จำต้องนำสมมุติเข้ามาช่วยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้น พอมีทางทราบกันได้ว่าวิมุตติมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวง มีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใด ๆ เป็นต้น พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมุติทั่ว ๆ ไป ผู้ทราบวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้ว จึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติแสดงตัวออกต่อสมมุติในบางคราวที่ควรแก่กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมของวิมุตติ ไม่แสดงอาการ


ที่เธอถามเราตถาคตนั้น ถามด้วยความสงสัย หรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน






อ้างอิงคำพูด:
ท่านกราบทูลว่า


ข้าพระองค์มิได้มีความสงสัยทั้งสมมุติและวิมุตติของพระองค์ทั้งหลาย แต่ที่กราบทูลนั้นก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมุติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ใจอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มีใช่ธรรมชาติอื่นใดจากที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมุติในลักษณะเดียวกันกับพระรัตนตรัย





อ้างอิงคำพูด:
พระพุทธเจ้าตรัสว่า




การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัย แต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น




บรรดาพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์และแต่ละครั้งนั้น มิได้กล่าวปราศรัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียว ส่วนพระสาวกทั้งหลายเป็นเพียงนั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม น่าเคารพเลื่อมใสมากเท่านั้น แม้สามเณรองค์เล็ก ๆ ที่น่ารักมากกว่าจะน่าเคารพเลื่อมใส ก็นั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม เช่นเดียวกับพระสาวกทั้งหลาย อันเป็นที่น่าเคารพเลื่อมใสมากและน่ารักมากด้วย ซึ่งยังอยู่ในวัยเล็กมากก็มี อายุราว ๙ ขวบ ๑๐ ขวบ ๑๑
__________________


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 15 มิ.ย. 2010, 23:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร