วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 16:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิ ๗ และ ญาณ ๑๖ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry580075

๒. จิตตวิสุทธิ
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm


หมายถึง จิตที่มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ต้องเป็นไปเพื่ออานิสงส์ที่เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์เท่านั้น สมาธินี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ ถ้าทำสมาธิเพื่อจะได้มีความสุข ต้องการให้จิตสงบ ความเข้าใจเช่นนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่ต้องการพ้นทุกข์
(ขุ. ปฏิ. ญาณกถา ๓ /๗๒)

หน้าที่ของสมาธิในสติปัฏฐานนั้น คือ การทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือทำลายความยินดียินร้ายที่อยู่ในจิตใจ ซึ่งศีลไม่สามารถทำลายความรู้สึกนึกคิดได้ ศีลเพียงแต่กันไม่ให้แสดงออกทางกาย ทางวาจาเท่านั้น นิวรณ์ธรรมเกิดขึ้นในระดับจิตใจขณะที่คิดนึกถึงเรื่องราวที่เป็นอดีตหรืออนาคต ถ้าขณะใดจิตตั้งมั่นในอารมณ์ปัจจุบันแล้ว นิวรณ์จะเกิดไม่ได้เลย

สมาธิมีอยู่ ๓ ขั้น คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเป็นได้ทั่วไปในอารมณ์ทั้ง ๖ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ขณะย้ายอารมณ์ไปตามทวารทั้ง ๖ ด้วยเหตุใดก็ตาม ขณิกสมาธิจะติดตามไปด้วยเสมอ ขณิกสมาธิดังกล่าวนี้จึงเป็นปัจจัยหรือเป็นบาทฐานให้แก่วิปัสสนา เพราะการเปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นไปตามเหตุผลนั้นเอง ที่เป็นเหตุให้เห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์และของจิตได้ถ้าหากไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์แล้ว ยากที่จะเข้าใจถึงสภาวะของความเกิด ความดับ ของจิตได้

(วิสุทธิ. อ. ภาค ๒ / ๒๙)

ความเกิดของจิตในอารมณ์หนึ่ง ๆ นั้น รวดเร็วมากจนไม่ทันเห็นความดับของจิตได้ จึงคิดว่าอารมณ์มีอยู่ ดังนั้น สมาธิที่แน่วแน่จึงไม่เป็นบาทแก่วิปัสสนา และไม่เป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของจิตและอารมณ์ ความสามารถในการรู้ทุกข์ในจิตหรือในอารมณ์นั้น ไม่อาจรู้ได้ด้วยสมาธิ แต่จะรู้ได้ด้วยปัญญา จิตที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของสติปัฏฐาน จึงเป็นบาทให้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ได้ ผู้บำเพ็ญเพียรจะโดยสมถะก็ดี หรือวิปัสสนาก็ดี สิ่งสำคัญอยู่ที่อารมณ์ที่ใช้ในการพิจารณา จึงต้องศึกษาเรื่องอารมณ์ว่าอารมณ์อย่างไร จึงจะเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนา และอารมณ์อย่างไรเป็นปัจจัยแก่สมถะ

สมาธิที่เป็นจิตตวิสุทธิ จะต้องเป็นไปในอารมณ์ของสติปัฏฐาน เพราะทำลายกิเลส คือ อภิชฌาและโทมนัส ถ้าสมาธิไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์แล้ว จะทำให้เกิดความสงบ มีความสุข มีความพอใจในความสงบหรือความสุขนั้น ความพอใจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งอาศัยสมาธิเกิดขึ้น สมาธิเช่นนี้จึงไม่สามารถทำลายอารมณ์วิปลาสได้

สำหรับการเจริญวิปัสสนาของผู้ที่ได้ฌานแล้ว มีวิธีทำอย่างไร (อัฏฐสาลินี อ. ๑ / ๓๕๕) ที่เรามักได้ยินกันว่า ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา นั้นหมายความว่า ในองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา ผู้ที่ได้ฌานมักจะติดในสุข และเพลิดเพลินในสุข ความสุขนี้เกิดจากปิติเป็นเหตุ ฉะนั้น การยกองค์ฌานจึงอาศัยการเพ่งปิติซึ่งเป็นองค์ฌานและเป็นนามธรรมนั่นเอง ธรรมชาติของปิตินั้นจะเพ่งหรือไม่เพ่งก็มีการเกิดดับ แม้จิตที่เป็นสมาธิก็มีการเกิดดับ ปิติซึ่งอาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ยิ่งเกิดดับรวดเร็วมาก ปิตินั่นแหละจะแสดงความเกิดดับให้ปรากฏแก่ผู้เพ่งพิจารณา เมื่อเห็นว่าปิติมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว จิตก็จะดำเนินไปในอารมณ์ของวิปัสสนาด้วยอำนาจของการเพ่งลักษณะของปิติ (ไม่ใช่เพ่งอารมณ์บัญญัติ) วิปลาสก็จับในอารมณ์นั้นไม่ได้

ดังนั้น ถ้าฌานใดที่เพ่งลักษณะ หรือสมาธิใดที่พิจารณาลักษณะที่กำลังเปลี่ยนแปลง
(ลักขณูปนิชฌาน) สมาธินั้นชื่อว่าเป็นบาทของวิปัสสนา และเรียกสมาธินั้นว่า จิตตวิสุทธิ ส่วนสมาธิใดที่เพ่งอารมณ์บัญญัติ (อารัมมณูปนิชฌาน) ไม่เพ่งลักษณะ ไม่จัดว่าเป็นจิตตวิสุทธิ


-------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน
ดูซิว่าเหลิมสัทธรรมปฏิรูปจะดิ้นไปไหน

ที่กล้าบิดเบื้อนว่า

รูปฌาน อรูปฌาน คือการนั่งหลับตาเฉยๆ

นี่แค่ยกมาบางส่วนเท่านั้น


คุณ mes ครับ พระสูตรเกี่ยวกับ รูปฌาน อรูปฌาน ทั้งหลายที่นำมาแสดงนั้น เป็นสมาธิขั้นสูง คือ อัปปนาสมาธิ และสมาธิเหล่านั้น หรือ ฌาน ก็ถูกนำไปเป็น บาทของการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาต่อไป

หาก รูปฌาน อรูปฌาน ใด ไม่เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา โดยไม่รู้วิธียกองค์ฌานนั้นขึ้นเจริญวิปัสสนาต่อไป ติดอยู่แค่ รูปฌาน อรูปฌาน ถือว่าไม่ใช่ สมาธิวิสุทธิ , สัมมาสมาธิ

แล้วหากไปยึดถือ รูปฌาน นั้น ว่าเป็น วิปัสสนาญาณ หรือ นิพพาน แล้ว มิจฉาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นแล้ว


แล้วการนั่งสมาธิ ได้นิมิต แล้วคิดว่า ตนเองได้ วิปัสสนาญาณ แล้ว นี่คือ การสัทธรรมปฏิรูป ที่รุนแรงจริง


ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบันย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบันบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ?

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๘๒๖ - ๑๐๗๑. หน้าที่ ๓๕ - ๔๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1


สรุปได้ว่า

สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ กามคุณ ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ ปฐมฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ ทุติยฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ ตติยฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ จตุถฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ อรูปฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"

คุณหลับอยู่ครับ ไม่แน่นะครับ อาจารย์ของคุณที่ว่า ได้นิพพานแล้ว อาจจะเป็นการนั่งสมาธิได้ฌานเท่านั้นนะครับ ฝากศึกษาพิจารณา จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท ให้ดี

ผมอาจจะโง่ ที่ไม่เชื่อ อัตตโนมติ ของอาจารย์บางท่าน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
คุณ mes ครับ พระสูตรเกี่ยวกับ รูปฌาน อรูปฌาน ทั้งหลายที่นำมาแสดงนั้น เป็นสมาธิขั้นสูง คือ อัปปนาสมาธิ และสมาธิเหล่านั้น หรือ ฌาน ก็ถูกนำไปเป็น บาทของการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาต่อไป
หาก รูปฌาน อรูปฌาน ใด ไม่เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา โดยไม่รู้วิธียกองค์ฌานนั้นขึ้นเจริญวิปัสสนาต่อไป ติดอยู่แค่ รูปฌาน อรูปฌาน ถือว่าไม่ใช่ สมาธิวิสุทธิ , สัมมาสมาธิ

แล้วหากไปยึดถือ รูปฌาน นั้น ว่าเป็น วิปัสสนาญาณ หรือ นิพพาน แล้ว มิจฉาทิฏฐิย่อมเกิดขึ้นแล้ว


แล้วการนั่งสมาธิ ได้นิมิต แล้วคิดว่า ตนเองได้ วิปัสสนาญาณ แล้ว นี่คือ การสัทธรรมปฏิรูป ที่รุนแรงจริง


ทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ ๕
[๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฏฐิว่า นิพพานในปัจจุบันย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ ๕ ประการ ก็สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบันบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ ๕ ประการ?

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๘๒๖ - ๑๐๗๑. หน้าที่ ๓๕ - ๔๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1

สรุปได้ว่า

สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ กามคุณ ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ ปฐมฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ ทุติยฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ ตติยฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ จตุถฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ อรูปฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"

คุณหลับอยู่ครับ ไม่แน่นะครับ อาจารย์ของคุณที่ว่า ได้นิพพานแล้ว อาจจะเป็นการนั่งสมาธิได้ฌานเท่านั้นนะครับ ฝากศึกษาพิจารณา จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท ให้ดี

ผมอาจจะโง่ ที่ไม่เชื่อ อัตตโนมติ ของอาจารย์บางท่าน

อ้างคำพูด:
อ้างอิงคำพูด:
ฌานคือการนั่งหลับตาเฉยๆ


ถ้าเป็น การทำสมาธิขั้นสูงให้ได้ เช่น รูปฌาน อรูปฌาน ก็ใช่ครับ


แต่หากเป็น ลักขณูปนิชฌาน คงไม่ใช่การนั่งหลับตาเฉย ครับ เป็นการเจริญวิปัสสนา ครับ

คุณ mes ต้องชี้ชัด ๆ ว่า ฌาน ที่ว่า คือ ฌาน อะไร เพราะมี 2 แบบครับ










ดูความหน้าด้านของเหลิม

ยังจะบิดเบือนอีก

ท่านผู้อ่านลองพิจารณาตัวหนังสือสีแดงที่เหลิงมันตอบดูว่ามันกล้าด้านบิดเบือนเห็นๆจากคำพูดมันเอง
Quote Tipitaka:
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ
๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ
วิตก(ตรึก)
วิจาร(ตรอง)
ปีติ(อิ่มใจ)
สุข(สบายใจ)
เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา
๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา
๔. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา


Quote Tipitaka:
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
อรูป ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ ได้แก่ อรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถืออรูปฌาน,
ภพของอรูปพรหม มี ๔ คือ
๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์)
๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์)
๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)


เอาตรงจุดนี้ก่อน

ที่ยกมาจากพระสูตรยืนยัว่า

ฌานทั้งรูปฌานและอรูปฌานไม่ใช่การนั่งหลับตาเฉยๆ

เอ็งอย่าหน้าด้านให้มากนัก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 11 มิ.ย. 2010, 07:37, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิม

จิตใจเอ็งมีหิริโอตปะบ้างไหม

ในชีวิตนี้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes ครับ พระสูตรเกี่ยวกับ รูปฌาน อรูปฌาน ทั้งหลายที่นำมาแสดงนั้น เป็นสมาธิขั้นสูง คือ อัปปนาสมาธิ และสมาธิเหล่านั้น หรือ ฌาน ก็ถูกนำไปเป็น บาทของการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาต่อไป
หาก รูปฌาน อรูปฌาน ใด ไม่เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา โดยไม่รู้วิธียกองค์ฌานนั้นขึ้นเจริญวิปัสสนาต่อไป ติดอยู่แค่ รูปฌาน อรูปฌาน ถือว่าไม่ใช่ สมาธิวิสุทธิ , สัมมาสมาธิ


ไม่ได้ถามเรื่องเป็นบาทฐาน

แต่ถามว่าเป็นการนั่งหลับตาเฉยๆใช่หรือไม่

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 11 มิ.ย. 2010, 07:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสมบัติของเหลิมน้อยกว่า

ใช่ไถนา หรือ ยืนให้คนรีดนม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 08:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานแบ่งออกเป็น รูปฌาน อรูปฌาน

จุดที่เหลิมกล่าวหาคือ

ฌารเป็นการนั่งหลับตาเฉยๆ



เฉลิมศักดิ์ เขียน:
ฌานคือการนั่งหลับตาเฉยๆ


ถ้าเป็น การทำสมาธิขั้นสูงให้ได้ เช่น รูปฌาน อรูปฌาน ก็ใช่ครับ


อัปปนาสมาธ อุปาจารสมาธิ หรือขณิกสมาธิ เป็นคนละประเด็น



พอรู้ตัวว่าผิดก็รีบรนรานแก้ตัวไปคนละประเด็นอีก

เฉลิมศักดิ์ เขียน:
คุณ mes ครับ พระสูตรเกี่ยวกับ รูปฌาน อรูปฌาน ทั้งหลายที่นำมาแสดงนั้น เป็นสมาธิขั้นสูง คือ อัปปนาสมาธิ และสมาธิเหล่านั้น หรือ ฌาน ก็ถูกนำไปเป็น บาทของการเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนาต่อไป
หาก รูปฌาน อรูปฌาน ใด ไม่เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา โดยไม่รู้วิธียกองค์ฌานนั้นขึ้นเจริญวิปัสสนาต่อไป ติดอยู่แค่ รูปฌาน อรูปฌาน ถือว่าไม่ใช่ สมาธิวิสุทธิ , สัมมาสมาธิ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๔๒๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรากินอาหารหยาบให้กายมีกำลังแล้ว สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้สุขเวทนาที่
เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เราบรรลุ
จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัสในก่อน
เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิต
เราตั้งอยู่ได้. เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ. เราย่อม
ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึก
ชาติที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ
ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่
อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว.
แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.


นี่ใช่ไหมที่เหลิมบอกว่าฌานคือการนั่งหลับตาเฉยๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 08:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อ้างอิงพระไตรปิฎก:
รูปฌาน ๔
เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละแล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อ
ปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึง
ใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งยางซึม
ไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ข้อนี้เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.
[๓๒๖] ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน
ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกร
มาณพ เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วง
น้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ
ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอประการหนึ่ง.
[๓๒๗] ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติมีสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมาณพ เปรียบ
เหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือ
ดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเง่า ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอ
ประการหนึ่ง.
[๓๒๘] ดูกรมาณพ อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัว
ตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง แม้ข้อนี้ก็เป็นสมาธิของเธอ
ประการหนึ่ง.
ดูกรมาณพ สมาธิขันธ์อันเป็นอริยะนี้แล ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสรรเสริญและทรงยัง
ประชุมชนนี้ให้สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ อนึ่ง ในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีกรณียกิจที่ยิ่งขึ้น
ไปอยู่อีก.
ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาแล้ว สมาธิขันธ์อันเป็นอริยะนี้
บริบูรณ์แล้ว มิใช่ไม่บริบูรณ์ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นสมาธิขันธ์อันเป็นอริยะของท่านพระอานนท์ ที่
บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ในสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ภายนอกพระศาสนานี้เลย ข้าแต่ท่านพระอานนท์
ก็สมณพราหมณ์เหล่าอื่น ภายนอกพระศาสนานี้พึงเห็นสมาธิขันธ์อันเป็นอริยะที่บริบูรณ์แล้ว
อย่างนี้ในตน เขาเหล่านั้นจะพึงพอใจด้วยสมาธิขันธ์เพียงเท่านี้ พอแล้วด้วยสมาธิขันธ์เพียง
เท่านี้ว่า เราได้ทำสมาธิขันธ์เสร็จแล้ว สำคัญตนว่า เราได้บรรลุถึงประโยชน์แห่งสามัญคุณ ไม่
มีกรณียกิจอะไรๆ ที่ยิ่งขึ้นไปอีก. แต่ท่านพระอานนท์ก็ยังกล่าวอย่างนี้ว่า อนึ่งในธรรมวินัยนี้ยัง
มีกรณียกิจที่ยิ่งขึ้นไปอยู่อีก.
อริยปัญญาขันธ์
[๓๒๙] ส. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ปัญญาขันธ์อันเป็นอริยะที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
สรรเสริญและยังทรงประชุมชนนี้ ในสมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่นั้น เป็นไฉน.


นี่ก็อีกใช่ไหมที่เหลิมอ้างว่าฌานคือการนั่งหลับตาเฉยๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามเหลิมอีกข้อหนึ่ง

ตามหลักการปฏิบัติธรรม ธรรมานุธรรมะปฏิบัติ

หลักธรรมย่อยต้องคล้อยตามหลักธรรมใหญ่นั้น

พระสูตรต้องคล้อยตามอรรถกถา

หรือ

อรรถกถาต้องคล้อยตามพระสูตร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 11 มิ.ย. 2010, 09:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้โอกาสเหลิมยกหลักฐานมาแสดงว่า

ฌานคือการนั่งหลับตาเฉยๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 09:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
แล้วการนั่งสมาธิ ได้นิมิต แล้วคิดว่า ตนเองได้ วิปัสสนาญาณ แล้ว นี่คือ การสัทธรรมปฏิรูป ที่รุนแรงจริง


ก็ถูกแล้ว

กระทู้นี้ยังไม่มีใครกล่าว่าการนั่งสมาธิ ได้นิมิต แล้วคิดว่า ตนเองได้ วิปัสสนาญาณ

เหลิมเอาหลักฐานมาว่าในกระทู้นี้ม้ใครกล่าวอย่างนั้น

แต่งเรื่องขึ้นมาเองทั้งนั้น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
คุณสมบัติของเหลิมน้อยกว่า
ใช่ไถนา หรือ ยืนให้คนรีดนม



รูปภาพ

น่าจะเป็น(หญิง)แม่ลูกอ่อนที่ยืนให้ลูกดูด (กิน)นมแน่ๆ

"ค่าน้ำนม"

http://www.youtube.com/watch?v=5l0gbYz7-38

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เฉลิมศักดิ์ เขียน:
สรุปได้ว่า

สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ กามคุณ ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ ปฐมฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ ทุติยฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ ตติยฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ จตุถฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"
สมณะพราหมณ์บางพวก บัญญัติ อรูปฌาน ว่าเป็น " นิพพาน"


เป็นมิจฉทิฐิของสมณพราหมณ์นั้น

ไม่เกี่ยวกับ

ที่เหลิมจะนำมาเป็นข้ออ้างว่า

ฌานคือการนั่งหลับตาเฉยๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิมจะไม่ขอบคุณผมสักนิดหรือที่ลดตัวลงมาคุยด้วย

ขณะที่เวปอื่น คนอื่นๆ เขาไม่เปลืองตัว ลงมาคุยกัยคน สติวิปลาส

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2010, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




0000.gif
0000.gif [ 20.24 KiB | เปิดดู 3351 ครั้ง ]
chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ครับ ไม่แน่นะครับ อาจารย์ของคุณที่ว่า ได้นิพพานแล้ว อาจจะเป็นการนั่งสมาธิได้ฌานเท่านั้นนะครับ ฝากศึกษาพิจารณา จาก พระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท ให้ดี

ผมอาจจะโง่ ที่ไม่เชื่อ อัตตโนมติ ของอาจารย์บางท่าน

เอ็งมัน โง่ จริงๆ ไอ้เหลิมไม่มีอาจจะ
ทั้งโง่ทั้งเบื้อก ข้าอ่านสูตรนี้มานานแล้ว
ไม่ต้องสะเหร่อดอก เสือกแกล้งเซ่อ เหมือนพวกโพสตามเวป พรรณนั้นๆ แล
:b32: :b32: :b32: เดียร์ถีย์ปริพาชก2012แบบเอ็ง มันเยอะว่ะ ไอ้ ปัญญาทราม...
สู้ เพศหญิงแท้ๆ อีกหลายๆท่านในนี้ไม่ได้ ฟาย!


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 11 มิ.ย. 2010, 10:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 198 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร