วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 21:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 17:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นไฉน ?

มีคำถามที่ยินบ่อยๆว่า

การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ต้องทำอย่างไร แค่ไหนเพียงไร จึงจะเรียกว่า การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ธรรมหมวดนี้มีความเป็นมาอย่างไร พิจารณาดู

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ปฏิบัติที่จะทำให้เป็นโสดาบัน หรือ ข้อปฏิบัติที่นำไปสู่ความเป็นโสดาบัน

พระพุทธเจ้า:สารีบุตร พูดกันว่า โสตาปัตติยังคะ โสตาปัตติยังคะ โสตาปัตติยังคะ เป็นไฉน ?

พระสารีบุตร: พระองค์ผู้เจริญ การเสวนาสัตบุรุษ เป็นโสตาปัตติยังคะ ๑

การฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นโสตาปัตติยังคะ ๑

การคิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี เป็นโสตาปัตติยังคะ ๑

การปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยแก่หลักใหญ่ เป็นโสตาปัตติยังคะ ๑”

(สํ.ม.19/1427/434)

“ภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ กล่าวคือ การเสวนาสัตบุรุษ

การฟังธรรมของสัตบุรุษ การคิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี การปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยแก่หลักใหญ่” *

(สํ.ม.19/1620/509)

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อการประจักษ์แจ้ง

โสดาปัตติผล”

(สํ.ม.19/1634/516)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจริงธรรมหมวดนี้ มิใช่จะเป็นไปเพื่อโสดาปัตติผลเท่านั้น แต่อำนวยผลเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางปัญญา

ทุกระดับจนถึงการบรรลุอรหัตผล จึงอาจเรียกชื่ออื่นๆ ได้อีกหลายอย่าง

แต่ท่านเน้นสำหรับการปฏิบัติขั้นนี้ จึงมีชื่อเฉพาะว่าโสดาปัตติยังคะ*

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเสวนาสัตบุรุษ = สัปปุริสังเสวะ

การฟังธรรมของสัตบุรุษ = สัทธัมมสวนะ

การคิดหาเหตุผลโดยถูกวิธี = โยนิโสมนสิการ

การปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยแก่หลักใหญ่ = ธัมมานุธัมมปฏิบัติ (การปฏิบัติธรรมสมควคแก่ธรรม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


*ธรรม ๓ ข้อแรก ก็คือปัจจัยแห่งสัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นหลักธรรมสำคัญ (เสวนาสัตบุรุษ=กัลยาณมิตตตา,

ฟังธรรมของสัตบุรุษ = ปรโตโฆสะฝ่ายดี)


ส่วนธัมมานุธัมมปฏิบัติ ที่แปลว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น หมายถึงการปฏิบัติธรรมให้ถูกต้องตาม

หลักการ ตามความมุ่งหมาย คือ หลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่ หลักเบื้องต้นเอื้อแก่หรือเป็นไปเพื่อ

หลักเบื้องปลาย เช่น ปฏิบัติศีลถูกหลัก เป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผล นิพพาน มิใช่ปฏิบัติโดยงมงาย

ไร้หลักการ หรือทำให้เขวไปด้วยตัณหาและทิฐิ

คัมภีร์จูฬนิทเทส แสดงตัวอย่างธรรมหรือธรรมหลักใหญ่ เช่น สติปัฏฐาน ๔ มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น

(คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ นั่นเอง) และอนุธรรมหรือธรรมหลักย่อยเช่น การบำเพ็ญศีล

การสำรวมอินทรีย์ ความรู้ประมาณในอาหาร ชาคริยานุโยค และสติสัมปชัญญะ เป็นต้น

พึงปฏิบัติธรรมหลักย่อยเช่น ศีล และการสำรวมอินทรีย์นี้อย่างมีจุดหมาย ให้สอดคล้องและอุดหนุนแก่ธรรม

หลักใหญ่ เช่น สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้นนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




IMG_0819.jpg
IMG_0819.jpg [ 35.9 KiB | เปิดดู 3717 ครั้ง ]
(ขยายความที่มี * ข้างบน) โสตาปัตติยังคะ *(องค์ของโสดาบัน)

* ในบาลี คือ สํ.ม.19/1635-1653/517-516 ฯลฯ กล่าวว่าธรรม ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อประจักษ์

สกทาคามิผล จนถึงอรหัตผล และเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางปัญญาอีกมากมายหลายอย่าง เช่น

เพื่อความเจริญงอกงามแห่งปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความมีปัญญาแหลมคม

เพื่อความมีนิพเพธิกปัญญา คือ ปัญญาที่จะทำลายกิเลสได้ ฯลฯ โดยเฉพาะที่ว่าเป็นไปเพื่อความเจริญงอก

งามแห่งปัญญานั้น ทำให้ได้ชื่อว่าปัญญาวุฒิธรรมด้วย ...และเป็นธรรมมีอุปการะมากแก่ผู้เป็นมนุษย์

ซึ่งอาจเรียกง่ายๆว่า พหุการธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 มิ.ย. 2010, 17:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เพิ่มรายละเอียดธรรมานุธรรมปฏิบัติอีกหน่อย)

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ หรือ ธัมมานุธัมมปฏิบัติ แปลกันมาว่า ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

แปลตามความหมายว่า ปฏิบัติธรรมน้อยคล้อยแก่ธรรมใหญ่ หรือปฏิบัติธรรมหลักย่อยคล้อยตามหลักใหญ่

แปลเข้าใจง่ายๆว่า ปฏิบัติธรรมถูกหลัก คือ ทำให้ข้อปฏิบัติย่อยเข้ากันได้ สอดคล้องกัน

และส่งผลแก่หลักการใหญ่ เป็นไปเพื่อจุดหมายที่ต้องการ *

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจเรียกได้ว่าเป็นตัวตัดสินว่า การปฏิบัติธรรมหรือการกระทำนั้นๆ

จะสำเร็จผลบรรลุจุดมุ่งหมายได้หรือไม่

ถ้าไม่มีธรรมานุธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม หรือ ดำเนินตามหลักการก็คลาดเคลื่อน ผิดพลาด เลื่อนลอย

ว่างเปล่า งมงาย ไร้ผล หนำซ้ำอาจมีผลในทางตรงข้าม คือ เกิดโทษขึ้นได้

ในทางธรรม ท่านเน้นความสำคัญของการมีความคิดมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มาก

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:


ศึกษาวิธีคิดหรือโยนิโสมนสิการแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ที่

viewtopic.php?f=2&t=22337&p=109812#p109812

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความ คห.บนที่มี * พร้อมที่อ้างอิง แต่ตัดออกบ้าง


* ตัวอย่างความหมายของธรรมานุธรรมปฏิบัติจากบาลีและอรรถกถา: ปฏิบัติธรรมานุธรรม คือ ปฏิบัติชอบ

ปฏิบัติสอดคล้อง ปฏิบัติไม่ขัด ปฏิบัติคล้อยตามอรรถ (ขุ.จู..30/540/270)

ธรรมานุธรรมปฏิบัติ คือ ดำเนินปฏิปทาส่วนบุพภาค (ส่วนเบื้องต้น,เริ่มต้น)อันเป็นธรรมคล้อยตามแก่

โลกุตรธรรม ๙ (ที.อ.2/236; 3/276; สํ.อ.2/326 ฯลฯ)คือ ดำเนินปฏิปทาส่วนบุพภาคพร้อม

ทั้งศีล อันเป็นธรรมสอดสมแก่โลกุตรธรรม ๙ คือ ดำเนินปฏิปทาส่วนบุพภาคพร้อมทั้งศีลเพื่ออรรถ

คือ โลกุตรธรรม ๙ คือปฏิบัติวิปัสสนาธรรมอันเป็นธรรมคล้อยตามอริยธรรม คือ ดำเนินวิปัสสนาธรรม

อันเป็นธรรมอนุรูปแก่อริยธรรม คือ ดำเนินปฏิปทาที่เป็นธรรมคล้อยตามนิพพานธรรม ซึ่งเป็นโลกุตระ คือ

เจริญวิปัสสนาภาวนาอันเป็นธรรมน้อย เพราะสอดคล้อยแก่โลกุตรธรรม

ธรรมานุธรรม คือ ธรรมและอนุธรรม ธรรมานุธรรม ไขความว่า อนุธรรม คือปฏิปทาอันเหมาะกันแก่ธรรม

โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่าธรรม วิปัสสนา เป็นต้น ชื่อว่าอนุธรรม ปฏิปทาอันเหมาะกันแก่ธรรมนั้นชื่อว่า

อนุธรรมปฏิปทา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร