วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 21:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


beby


แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 03:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 10:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



๑๐. ชาคริยสูตร
[๒๒๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพึงเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ
มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส และพึงเป็นผู้เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย
สมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนืองๆ เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อภิกษุมีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน
ผ่องใส เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลายสมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐาน
นั้นเนืองๆ
พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน
หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
เธอทั้งหลายตื่นอยู่ จงฟังคำนี้ เธอเหล่าใดผู้หลับแล้ว
เธอเหล่านั้นจงตื่น ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณ
ประเสริฐ เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่ ผู้ใดตื่นอยู่
มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน และผ่องใส
พิจารณาธรรมอยู่โดยชอบโดยกาลอันควร
ผู้นั้นมีสมาธิ
เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว พึงกำจัดความมืดเสียได้ เพราะ
เหตุนั้นแล
ภิกษุพึงคบธรรมเครื่องเป็นผู้ตื่น ภิกษุผู้มีความ
เพียร มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีปรกติได้ฌาน ตัด
กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติและชราได้แล้ว พึงถูก-
ต้องญาณอันเป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพนี้แล ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้ว ฉะนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๕๓๑๖ - ๕๓๔๐. หน้าที่ ๒๓๔ - ๒๓๕.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:

ย้อนอีกที มีปรกติได้ฌานไม่รู้ว่าฌาณไหนฌาณที่เท่าไหร่เหมือนกัน
โลกุตระฌาณหรือโลกียะฌาณ :b10:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 พ.ค. 2010, 10:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑



อัตถสันทัสสกเถราปทานที่ ๗ (๑๓๗)
ว่าด้วยผลแห่งการชมเชยพระพุทธเจ้า ๓ คาถา
[๑๓๙] เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคพระนามว่าปทุมุตระ
ผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้บรรลุพลธรรมแวดล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ ภิกษุสงฆ์ประมาณ ๑ แสน ผู้บรรลุวิชชา ๓ ได้อภิญญา ๖
มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมพุทธเจ้า ใครเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใส ใน
มนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกไม่มีอะไรเปรียบ ในพระญาณของพระสัมพุทธ-
เจ้าองค์ใด ใครได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณไม่สิ้นสุด
แล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า ชนทั้งหลายแสดงธรรมกาย และไม่อาจทำ
รัตนากรทั้งสิ้นให้กำเริบได้
ใครได้เห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสเล่า พราหมณ์
นารทะนั้นชมเชยพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระผู้ไม่แพ้ด้วย ๓ คาถา
นี้แล้วเดินไปข้างหน้า ด้วยจิตอันเลื่อมใสและด้อยการชมเชยพระพุทธเจ้า
นั้น เราไม่ได้เข้าถึงทุคติเลยตลอดแสนกัลป ในกัลปที่ ๓๐๐๐ แต่กัลปนี้
ได้มีพระเจ้าจักรพรรดิจอมกษัตริย์พระนามว่าสุมิตตะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว
๗ ประการ มีพลมาก คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘
และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอัตถสันทัสสกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อัตถสันทัสสกเถราปทาน.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ บรรทัดที่ ๔๐๒๓ - ๔๐๔๑. หน้าที่ ๑๘๖ - ๑๘๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:


ส่วนตัวหลับอยู่เชื่อว่า ชนทั้งหลาย(ที่ขีดเส้นใต้) คงไม่ได้แสดงปถกาถา หรือธรรมกถา หรอกนะครับ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ลิ้มธรรม เขียน:

ลิ้มธรรม..มองเห็น..ในความเมตตา
ที่..ท่านหลับอยู่..คอยตามช่วยเหลือ มาตั้งเเต่ต้น
กราบขอบพระคุณ..ท่านหลับอยู่
beby


นึกถึงพระรัตนตรัยดีกว่า :b8:
ผมแค่ปุถุชนไม่ได้วิเศษวิโสอันใด ไปตรัสรู้เองไม่ได้

ที่ผมเอาพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อสดมาลง ประการแรก อ่านเองครับ ซึ่งเราได้มีโอกาสทำอักษรสวยๆได้ :b12: ใครอื่นอ่าน นั่นเป็นเรื่องรอง


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 พ.ค. 2010, 10:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


beby


แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 03:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


:b55:


แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 03:55, แก้ไขแล้ว 26 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




__BdP-PotiIndia13k.jpg
__BdP-PotiIndia13k.jpg [ 13.23 KiB | เปิดดู 6208 ครั้ง ]
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค
ธนิยสูตร

อรรถกถาธนิยสูตร


ก็ในขณะที่นายธนิยะเกิดความระลึกขึ้นได้ ในขณะที่พระตถาคตเจ้าทรงแผ่โอภาสไป และในขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังโผล่ขึ้นอยู่อย่างนี้ นายธนิยะฟังเสียงฝนที่กำลังตกลง ได้เกิดปีติโสมนัสขึ้น ได้กราบทูลเนื้อความนี้ว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ทั้งหลายไม่น้อยทีเดียว ดังนั้น (เนื้อความที่อธิบายในตอนนี้) จึงเป็น ๒ คาถา.


ใน ๒ คาถานั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกุตรจักษุ และกลับได้สัทธาที่เป็นโลกิยสัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า.

Quote Tipitaka:
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค
ธนิยสูตร

อรรถกถาธนิยสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๘๙๕ - ๖๙๗๐. หน้าที่ ๓๐๓ - ๓๐๖.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=25&i=295
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2010, 00:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 6201 ครั้ง ]
Quote Tipitaka:
พ. ท่านพึงรู้ผู้ใดว่าเป็นพราหมณ์ผู้ถึงเวท ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล
ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ ผู้นั้นแลข้ามโอฆะนี้ได้แน่แล้ว ผู้
นั้นข้ามถึงฝั่งแล้ว เป็นผู้ไม่มีตะปู คือ กิเลส ไม่มีความ
สงสัย นรชนนั้นรู้แจ้งแล้วแล เป็นผู้ถึงเวทในศาสนานี้ สละ
ธรรมเป็นเครื่องข้องนี้ในภพน้อยและภพใหญ่
(ในภพและ
มิใช่ภพ) เสียได้แล้ว เป็นผู้มีตัณหาปราศไปแล้ว ไม่มี
กิเลสอันกระทบจิต หาความหวังมิได้ เรากล่าวว่าผู้นั้นข้าม
ชาติและชราได้แล้ว ฯ

:b42: :b42: :b42:
:b8: :b8: :b8:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๑๐๖๐ - ๑๑๑๑๕. หน้าที่ ๔๗๘ - ๔๘๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=25&i=428
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 03:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


beby

พุทธวรรควรรณนา

๑. เรื่อง..มารธิดา [๑๔๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่โพธิมัณฑสถาน ทรงปรารภธิดามาร
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยสฺส ชิตํ" เป็นต้น.

พราหมณ์หาสามีให้ลูกสาว
ก็พระศาสดาทรงยังพระธรรมเทศนาให้ตั้งขึ้นที่กรุงสาวัตถีแล้ว
ตรัสแก่พราหมณ์ ชื่อมาคันทิยะ ในแคว้นกุรุอีก.

ทราบว่า ในแคว้นกุรุ ธิดาของมาคันทิยพราหมณ์ชื่อว่ามาคันทิยา เหมือนกัน
ได้เป็นผู้มีรูปงามเลอโฉม. พราหมณ์มหาศาลเป็นอันมากและเหล่าขัตติยมหาศาลอยากได้

นางมาคันทิยานั้น จึงส่งข่าวไปแก่มาคันทิยะว่า "ขอจงให้ธิดาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด."
แม้มาคันทิยพราหมณ์ก็ห้ามพราหมณ์มหาศาล และขัตติยมหาศาลเสียทั้งหมดเหมือนกันว่า
"พวกท่านไม่สมควรแก่ธิดาของข้าพเจ้า."

ต่อมาวันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลก
ทรงเห็นมาคันทิยพราหมณ์เข้าไปภายในแห่งข่าย

คือพระญาณของพระองค์ จึงทรงใคร่ครวญว่า "จักมีเหตุอะไรหนอ?"

ได้ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้ง ๓ ของพราหมณ์และนางพราหมณี.

ฝ่ายพราหมณ์ก็บำเรอไฟอยู่เป็นนิตย์ภายนอกบ้าน.
พระศาสดาได้ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปยังที่นั้นแต่เช้าตรู่.

พราหมณ์ตรวจดูรูปสิริของพระศาสดา พลางคิดว่า

"ขึ้นชื่อว่าบุรุษในโลกนี้ ที่จะเหมือนด้วยบุรุษคนนี้ไม่มี
บุรุษคนนี้เป็นผู้สมควรแก่ธิดาของเรา เราจะให้ธิดาแก่บุรุษคนนี้"

แล้วกราบทูลพระศาสดาว่า
"สมณะ เรามีธิดาอยู่คนหนึ่ง เรายังไม่เห็นบุรุษผู้ที่สมควรแก่นาง จึงไม่ได้ให้นางแก่ใครๆ เลย

ส่วนท่านเป็นผู้สมควรแก่นาง เราใคร่จะให้ธิดาแก่ท่าน ทำให้เป็นหญิงบำเรอบาท
ท่านจงรออยู่ในที่นี้แหละ จนกว่าเราจะนำธิดานั้นมา."

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว ไม่ทรงยินดีเลย (แต่) ไม่ทรงห้าม.

รอยพระบาทจะปรากฏเพราะทรงอธิษฐาน

ฝ่ายพราหมณ์ไปเรือนแล้ว บอกกะนางพราหมณีว่า
"นางผู้เจริญ วันนี้ เราเห็นบุรุษผู้สมควรแก่ธิดาของเราแล้ว,
พวกเราจักให้ธิดานั้นแก่เขา"
ให้ธิดาตกแต่งกายแล้ว ได้พาไปยังที่นั้นพร้อมด้วยนางพราหมณี.

แม้มหาชนก็ตื่นเต้น พากันออกไป (ดู).
พระศาสดาไม่ได้ประทับยืนอยู่ในที่ที่พราหมณ์บอกไว้
ทรงแสดงเจดีย์ คือรอยพระบาท ไว้ในที่นั้นแล้ว ได้ประทับยืนเสียในที่อื่น.

ทราบว่า เจดีย์ คือรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมปรากฏในที่ที่พระองค์ทรงอธิษฐานว่า "บุคคลชื่อโน้นจงเห็นเจดีย์ คือรอยเท้านี้"

แล้วทรงเหยียบไว้เท่านั้น. ชื่อว่า ผู้ที่จะเห็นเจดีย์ คือรอยพระบาทนั้นในที่ที่เหลือไม่มี.

พราหมณ์ถูกนางพราหมณีผู้ไปกับตนถามว่า "บุรุษนั้นอยู่ที่ไหน"
จึงบอกว่า "ฉันได้สั่งเขาไว้แล้วว่า ‘ท่านจงรออยู่ที่นี้’
พลางมองหาอยู่ พบรอยพระบาทแล้ว จึงชี้ว่า นี้รอยเท้าของเขา."

รอยเท้าเป็นเครื่องแสดงลักษณะของคน
นางพราหมณีนั้นกล่าวว่า

"พราหมณ์นี้ ไม่ใช่รอยเท้าของบุคคลผู้บริโภคกาม"

เพราะความที่นางเป็นคนฉลาดในมนต์เครื่องทำนายลักษณะ

เมื่อพราหมณ์พูดว่า "นางผู้เจริญ เจ้าเห็นจระเข้ในตุ่มน้ำ
สมณะนั้น..เราบอกแล้วว่า ‘เราจักให้ธิดาแก่เขา’ ถึงเขาก็รับคำของเราแล้ว"
กล่าวว่า "พราหมณ์ ท่านบอกอย่างนั้นก็จริง

ถึงดังนั้น รอยเท้านี้เป็นรอยเท้าของผู้หมดกิเลสทีเดียว"

ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า :-
ก็คนเจ้าราคะ พึงมีรอยเท้ากระหย่ง (เว้ากลาง)
คนเจ้าโทสะ ย่อมมีรอยเท้าอันส้นบีบ (หนักส้น)
คนเจ้าโมหะย่อมมีรอยเท้าจิกลง (หนักทางปลายเท้า)
คนมีกิเลสเครื่องมุงบังอันเปิดแล้วมีรอยเท้าเช่นนี้ นี้.

ทีนั้น พราหมณ์จึงบอกนางพราหมณีว่า
"นางผู้เจริญ เจ้าอย่าอึงไป จงเป็นผู้นิ่งมาเถิด" ไปพบพระศาสดาแล้ว
จึงแสดงแก่นางพราหมณีนั้นว่า "นี้คือบุรุษคนนั้น."
เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า "สมณะเราจะให้ธิดา."

พระศาสดาไม่ตรัสว่า "เราไม่ต้องการด้วยธิดาของท่าน"

(กลับ) ตรัสว่า "พราหมณ์ เราจักบอกเหตุสักอย่างหนึ่งแก่ท่าน ท่านจักฟังไหม?"

เมื่อพราหมณ์ทูลว่า "สมณะผู้เจริญ ท่านจงกล่าว ข้าพเจ้าจักฟัง.
จึงทรงนำเรื่องอดีต ตั้งแต่ครั้งออกมหาภิเนษกรมณ์มาแสดงแล้ว.

กถาโดยย่อในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-

"พระมหาสัตว์ทรงละสิริราชสมบัติ ทรงขึ้นม้ากัณฐกะ (ม้าสีขาว)
มีนายฉันนะเป็นสหาย เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
เมื่อมารยืนอยู่ที่ประตูแห่งพระนคร
กล่าวว่า "สิทธัตถะ ท่านจงกลับเสียเถิด แต่วันนี้ไปในวันที่ ๗ จักรรัตนะจักปรากฏแก่ท่าน

จึงตรัสว่า "มาร ถึงเรา..ก็รู้..จักรรัตนะนั้น แต่เราไม่มีความต้องการด้วย..จักรรัตนะนั้น."

มาร. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านออกไปเพื่อประโยชน์อะไร?
พระมหาสัตว์. เพื่อประโยชน์แก่สัพพัญญุตญาณ.

มาร. ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่วันนี้ไป บรรดาวิตกทั้งสามมีกามวิตกเป็นต้น

ท่านจะต้องตรึกวิตกแม้สักอย่างหนึ่ง

เราจักรู้กิจที่ควรทำแก่ท่าน.

ตั้งแต่นั้นมา มารนั้นคอยเพ่งจับผิด ติดตามพระมหาสัตว์ไป ๗ ปี
แม้พระศาสดาทรงประพฤติทุกรกิริยาสิ้น ๖ ปี

ทรงอาศัยการกระทำ (ความเพียร) ของบุรุษเฉพาะพระองค์
ทรงแทงตลอดซึ่งพระสัพพัญญุตญาณ เสวยวิมุตติสุข
(สุขอันเกิดจากความพ้นกิเลส) ที่ควงไม้โพธิ ในสัปดาห์

:b8: :b8: :b8:



แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 03:58, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue


เนื่องด้วย...สัจจธรรม
ข้อธรรม..คำสอน..ของ..หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
:b8: :b8: :b8:


มีผู้ไปกราบเรียนกับหลวงปู่
เรื่องงานที่มีการจัดกันบ่อยๆใกล้วัดว่ารบกวนการปฏิบัติ
ท่านได้ตอบดังนี้

"มัวสนใจอะไรกับสิ่งเหล่านั้น

ธรรมดาแสงย่อมสว่าง...ธรรมดาเสียงย่อมดัง

หน้าที่ของมันเป็นเช่นนั้นเอง...

เราไม่ใส่ใจฟังเสียก็หมดเรื่อง.

จงทําตัวเราไม่ให้เป็นปฏิปักษ์กับสิ่งแวดล้อม

เพราะมันมีอยู่อย่างนี้ เป็นอยู่อย่างนี้เอง

เพียงแต่ทําความเข้าใจกับมัน...ให้ถ่องแท้...ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งเท่านั้นเอง"


:b8: :b8: :b8:



แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 03:56, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ย. 2009, 00:37
โพสต์: 86

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


smiley smiley smiley

:b8: :b8: :b8:
.....โคตรภู...กราบขอบพระคุณท่านลิ้มธรรมและท่านหลับอยู......กับสัจจธรรมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า......

....เรียนท่านลิ้มธรรม.....ปกติ..โคตรภู...อาศัยคำสอนที่ทรงตรัสบอกแก่พราหมณ์คณกะโมคคัลลาณะในการฝึกตนเอง...โคตรภู..ก็เป็นเพียงอุบาสก...มีกัลยาณมิตรและพระไตรปิฎก..ที่คอยชี้นำเช่นกัน

Quote Tipitaka:
[๙๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษา
โดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ เปรียบ
เหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว ให้ทำสิ่งควร
ให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควรให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไป ฉันใด ดูกรพราหมณ์
ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตได้บุรุษที่ควรฝึกแล้วเริ่มต้น ย่อมแนะนำอย่างนี้ว่า
ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย
อาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษา
ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ฯ

[๙๕] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ
มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์
อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคือ
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด
เธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ... เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... เธอลิ้มรสด้วย
ชิวหาแล้ว ... เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโน
แล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวม
มนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรม
อันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมใน
มนินทรีย์เถิด ฯ
[๙๖] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในโภชนะ คือ พึงบริโภคอาหาร
พิจารณาโดยแยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อ
จะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตบแต่งร่างกายเลย
บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทาความลำบาก
เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์เท่านั้น ด้วยอุบายนี้ เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้
เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิต ความไม่มีโทษ ความอยู่สบาย
จักมีแก่เรา ฯ
[๙๗] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้ ตถาคต
ย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ
ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่
คือ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว
ทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดิน
จงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด ฯ
[๙๘] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้
ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ
ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ
บาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและ
ปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด ฯ
[๙๙] ดูกรพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้
ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะ
อันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และ
ลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา
ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌา
ในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้
ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูล
ในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีน-
*มิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
มีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉา
แล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อม
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ
[๑๐๐] เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้า
ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอ
ได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์
เพราะอุเบกขาอยู่ ดูกรพราหมณ์ ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ
พระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้
อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้ ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบ
นั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติ
สัมปชัญญะ ฯ

[url]http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?name=คณกโมคคัลลาน&book=9&bookZ=33[/url]

......เหล่านี้คือสิ่งที่..โคตรภู..เพียรพยายามกระทำอยู่..เท่าที่โอกาสอำนวย
เนื่องจากยังข้องอยู่ในโลกสมมุตินี้...ยังทำให้โคตรภู...เป็นเพียงบุคคลที่กำลังเพียรพยายามเข้าใกล้โคตรภูญานเท่านั้น....


เจริญในธรรมครับ

.....................................................
....ถ้าไม่ทำสัญญาให้เป็นปัญญา ทำอย่างไรก็เป็นกามสัญญา......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


:b55:


แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 24 เม.ย. 2011, 03:57, แก้ไขแล้ว 11 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Image-05x.jpg
Image-05x.jpg [ 275.98 KiB | เปิดดู 6018 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
เย เกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ ฯ


แปลความว่า “บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ บุคคลเหล่านั้นจักไม่ไปสู่อบายภูมิ ละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้เต็มรอบ” ดังนี้ :b8:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร