วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 21:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girl_med2.jpg
girl_med2.jpg [ 23.9 KiB | เปิดดู 6168 ครั้ง ]
พึงแสวงหาสัจธรรมจากกายใจตนเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 พ.ค. 2010, 21:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศึกษาเพื่อให้รู้จักธรรมะในตัว ดังนี้

ความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ต่างๆ

ขันธ์ทั้ง 5 (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ = ชีวิตหนึ่ง)

รูปขันธ์ เป็นส่วนกาย

นามขันธ์ทั้ง 4 เป็นส่วนใจ

มีทั้งกายและใจจึงจะเป็นชีวิต

กายกับใจ ทำหน้าที่เป็นปกติและประสานสอดคล้องกัน ชีวิตจึงจะดำรงอยู่ได้ด้วยดี

ตัวอย่าง เช่น กิจกรรมของจิตใจ ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยอารมณ์คือรูป

เสียง กลิ่น รส และสิ่งต้องกาย (ศัพท์เต็ม รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์

และโผฏฐัพพารมณ์) ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย

อารมณ์ทั้ง 5 ก็ดี ตา หู จมูก ลิ้น กายก็ดี

ต่างก็เป็นรูปธรรมอยู่ในรูปขันธ์ คือ เป็นฝ่ายกาย ...ซึ่งถือว่ากายเป็นเสมือนอุปกรณ์สำเร็จรูปที่สร้างขึ้นมา

รับใช้กิจกรรมของจิตใจ

ถือว่า จิตใจเป็นศูนย์กลางแห่งกิจกรรมของชีวิต มีความกว้างขวาง ซับซ้อนและลึกซึ้งมาก เป็นที่ให้คุณ

ค่าและความหมายแก่ชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

นามขันธ์ 4 มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและส่งอิทธิพลเป็นปัจจัยแก่กัน การเกิดขึ้นของนามขันธ์ทั้งสี่

เหล่านั้น ตามปกติจะดำเนินไปตามกระบวนธรรมดังนี้

“เพราะผัสสะ (ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับสิ่งต้องกาย =

วิญญาณ...) เป็นปัจจัย การเสวยอารมณ์(= เวทนา)จึงมี บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น

(= สัญญา)หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (=สังขาร)ฯลฯ ”

ตัวอย่าง นาย ก. ได้ยินเสียงระฆังกังวาน (หู+เสียง+วิญญาณทางหู)

รู้สึกสบายหูสบายใจ (= เวทนา)

หมายรู้ว่าเป็นเสียงไพเราะ ว่าเป็นเสียงระฆัง ว่าเป็นเสียงระฆังอันไพเราะ (= สัญญา)

ชอบใจเสียงนั้น อยากฟังเสียงนั้นอีก คิดจะไปตีระฆังนั้น อยากได้ระฆังนั้น คิดจะไปซื้อระฆังอย่างนั้น

คิดจะลักระฆังใบนั้น ฯลฯ (= สังขาร)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ในกระบวนธรรมนั้น เวทนามีบทบาทสำคัญมาก อารมณ์ใดให้สุขเวทนา สัญญาก็มักกำหนดหมาย

อารมณ์นั้น ยิ่งให้สุขเวทนามาก ก็จะกำหนดหมายมาก และเป็นแรงผลักดันให้คิดปรุงแต่งทำการต่างๆ

เพื่อให้ได้เสวยสุขเวทนานั้นมากขึ้น

ความเป็นไปอย่างนี้ เรียกได้ว่าเป็นกระบวนธรรมง่ายๆพื้นๆเบื้องต้น เป็นแบบสามัญหรือแบบพื้นฐาน

ในกระบวนธรรมนี้

เวทนา เป็นตัวล่อและชักจูงใจ เหมือนผู้คอยเสนอให้เอา หรือ ไม่เอาหรือหลีกเลี่ยงอะไร

สัญญา เหมือนผู้สะสมเก็บข้อมูลหรือวัตถุดิบ

สังขาร เหมือนผู้นำเอาข้อมูลหรือวัตถุดิบนั้นไปใช้ปรุงแปรตระเตรียมทำการ

วิญญาณ เหมือนเจ้าของงาน ใครจะทำอะไรคอยรับรู้ไปหมด เป็นทั้งผู้เปิดโอกาสให้มีการทำงานและเป็นผู้รับผล

ของการงาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ในกระบวนธรรมนี้ มีความซับซ้อนอยู่ในตัว มิใช่ว่า เวทนาจะเป็นตัวชักจูงผลักดันขันธ์อื่นฝ่ายเดียว

ขันธ์อื่น ก็เป็นปัจจัยแก่เวทนา เช่น เสียงดนตรี เสียงเพลงเดียวกัน คนหนึ่งได้ยินแล้ว สุขสบายชื่นใจ

อีกคนหนึ่ง รู้สึกบีบคั้นใจเป็นทุกข์ หรือคนเดียวกันนั่นแหละ สมัยหนึ่งได้ยินแล้วเป็นสุข

ล่วงไปอีกสมัยหนึ่ง ได้ยินแล้วเป็นทุกข์

หลักทั่วไป คือ ของที่ชอบ ของที่ตรงกับความปรารถนา ความต้องการ เมื่อได้ประสบก็เป็นสุข

ของไม่ชอบขัดความปรารถนา เมื่อได้ประสบก็เป็นทุกข์

ในกรณีเช่นนี้ สังขารคือความชอบ ไม่ชอบ ปรารถนา เกลียดกลัวเป็นต้น เป็นตัวปรุงแต่งเวทนาอีกต่อหนึ่ง


แต่ที่กล่าวอย่างนี้ ความจริงมีสัญญาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยในตัว คือสังขารปรุงแต่งสัญญาไว้แล้ว

กลับมามีอิทธิพลต่อเวทนา

ตัวอย่างที่อาจจะชัดกว่า เช่น เคยเห็นคนที่รักที่นิยมชมชอบทำอากัปกิริยาบางอย่าง ก็กำหนดหมายเอาไว้ว่า

อย่างนี้สวย น่ารัก

เห็นกิริยาอาการบางอย่างของบางคนแล้วไม่ชอบ กำหนดหมายไว้ว่าอย่างนี้ น่าหมั่นไส้ (= สัญญา)

ต่อมาเห็นกิริยาอย่างที่นิยมหมายไว้ว่าสวย น่ารัก หรืออย่างที่หมายไว้ว่าน่าชัง น่าหมั่นไส้ ก็สบายตาชื่นใจ

หรือเดือดร้อนบีบคั้นใจ (= เวทนา)

แล้วชอบหรือโกรธ (= สังขาร)ไปตามนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้น เช่น งานบางอย่างหรือการเล่าเรียนบางอย่าง เป็นสิ่งยากลำบาก

หากลำพังจะต้องทำหรือเล่าเรียนขึ้นมาโดดๆแล้ว ก็จะต้องเกิดทุกขเวทนา แล้วก็ส่งผลต่อไปให้ไม่อยากทำ

ไม่อยากเรียน

แต่หากมีเครื่องล่อมาให้ ก็อาจกลับสนใจและตั้งใจทำตั้งใจเรียนต่อไปได้

เครื่องล่ออาจเป็นเวทนาที่เป็นสุขในปัจจุบัน เช่น วิธีการที่ให้สนุกสนานบันเทิงเป็นต้น หรืออาจเป็นสิ่งซับ

ซ้อนเนื่องด้วยการกำหนดหมายเกี่ยวกับสุขเวทนาในอนาคต -(สัญญาตอนนี้ เกือบเหมือนสัญญาที่เข้าใจ

ในภาษาไทย) เช่น รางวัล ความสำเร็จของงาน ประโยชน์แก่ชีวิตตน แก่ผู้อื่นหรือแก่ส่วนรวม เป็นต้น

แล้วแต่จะปรุงแต่งด้วยสังขารฝ่ายใด เช่น ด้วยตัณหา ด้วยมานะ หรือด้วยปัญญา เป็นอาทิ ซึ่งจะส่งผล

สะท้อนกลับมาทำให้การทำงาน หรือการเล่าเรียนนั้น เกิดมีความหมาย มีค่า มีความสำคัญขึ้นแก่ผู้ทำหรือผู้

เรียน แล้วแต่งให้เขากลับได้รับสุขเวทนาในขณะที่เรียนหรือทำงานนั้นแข็งขันต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

เมื่อระฆังโรงเรียนกังวานขึ้นในเวลาเย็น นักเรียนทั้งหลายได้ยิน (= วิญญาณ)

รู้สึกเรื่อยๆ ต่อเสียงนั้น (= เวทนา)เพราะชินชาอยู่ทุกวัน

ต่างก็รู้กำหนดหมายว่าเป็นสัญญาณเลิกเรียน (= สัญญา)

เด็กคนหนึ่งดีใจ (=สุขเวทนา + สังขาร)เพราะจะได้เลิกเรียนไม่ต้องนั่งปวดเมื่อยและจะได้ไปเล่น

สนุกสนาน (= สัญญาซ้อน)

เด็กคนอีกคนหนึ่งเสียใจ (= ทุกขเวทนา + สังขาร)เพราะจะต้องหยุดบทเรียนอันมีค่า ขาดประโยชน์

อันพึงได้ หรือเพราะจะต้องกลับไปพบกับผู้ปกครองที่แสนจะน่ากลัว (= สัญญาซ้อน)


โดยนัยนี้กระบวนธรรมตลอดสายเริ่มแต่วิญญาณที่รับรู้เป็นต้นไป จึงล้วนสัมพันธ์กันเป็นเหตุปัจจัยซับซ้อน

ร่วมเสริมสร้างบุคลิกภาพและกำหนดชะตาชีวิตของแต่ละบุคคลให้เป็นไปต่างๆ และให้แตกต่างจากกันและกัน

ในกระบวนธรรมนี้ สังขารนั่นแหละเป็นตัวปรุงแต่ง และสังขารนั้น ซึ่งมีเจตนาเป็นตัวแทน ก็คือชื่อตัวหรือ

ชื่อที่เรียกกันของคำว่า กรรม

ดังนั้น กรรม ซึ่งเป็นชื่อประจำตำแหน่งของสังขาร จึงถูกกล่าวขวัญถึงอย่างเป็นผู้มีบทบาทอันสำคัญยิ่ง

ว่า “กรรม ย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลายให้ต่างๆออกไป คือ ให้ทรามและให้ประณีต”

(ม.มู.12/581/376) “หมู่สัตว์เป็นไปเพราะกรรม” (ขุ.สุ.25/382/453)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำเตือน

การทำงานของชีวิตย่อๆ ดังกล่าวแล้ว และจะกล่าวภาคปฏิบัติต่อไปข้างหน้า ไม่เหมาะกับผู้ซึ่งมองหาธรรมะไกล

ตัว หรือผู้ต้องการผลโดยไม่ลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้วแต่อิงไสยศาสตร์ อิงภูตผี ฯลฯ ด้วยประสบกับสภาวธรรม

ซึ่งตนไม่รู้เข้าใจมาก่อน จึงลงความเห็นไปเช่นนั้น

ดังตัวอย่างนี้ เป็นต้น

พอดีมีโอกาสได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดมาค่ะเมื่อวันที่2 - 4 เมษายนที่ผ่านมานี้ค่ะ
แม่ชีได้สอนการปฏิบัติ การเดินจงกรมและการนั่งสมาธิ ชุดแรกให้ทำอย่างละ 15 นาที
วันแรกที่ได้ทำฟุ้งซ่านมากเลยค่ะไม่มีสมาธิ
วันที่สองก็ทำแต่ก็เหมือนเดิมค่ะ
พอตกเย็นได้สอบอารมณ์กับพระอาจารย์ท่านได้ให้การบ้านเพิ่ม เป็นนั่งสมาธิ 20 นาที เดินจงกรม 20 นาที 3 ชุดติดกัน
เราเริ่มทำกับเพื่อนอีกคนค่ะ ไปปฏิบัติกันที่พระธาตุ ชุดแรกผ่านไปไม่มีอะไรเกิดขึ้น
พอชุดที่ 2 ตอนนั่งสมาธิเริ่มรู้สึกว่าหายใจติดขัด หัวใจเต้นแรงมาก อยากอาเจียร เหมือนคนจะเป็นลมค่ะ
พอทำชุดที่ 3 ก็เป็นเหมือนเดิม เพื่อนที่ไปด้วยกันก็เป็น จึงคิดว่าอากาศร้อนไปหรือสมาธิไม่ดีพอรึเปล่า ก็เลยคุยกับเพื่อนว่า วันรุ่งขึ้นค่อยทำกันตอนเช้า ว่าจะเป็นเหมือนเดิมรึเปล่า

ตกตอนเช้าก็ไปปฏิบัติธรรมเหมือนเดิมคือทำ 3 ชุดเหมือนตอนกลางคืน แล้วก็ย้ายสถานที่ เป็นเหมือนเดิมค่ะ เป็นอาการเป็นเหมือนตอนกลางคืน
แต่คราวนี้นั่งไปทนไม่ไหว ร้องไห้เลยค่ะน้ำตาไหลออกมา หัวใจเหมือนจะเต้นออกมาจากอกเลยค่ะ
ตอนเย็นไปสอบอารมณ์ พระท่านก็ถามว่า ตอนนั่งสมาธิเห็นอะไรหรือเปล่า
เราก็เล่าไปตามอาการที่เกิดขึ้น
ท่านก็ไม่ได้ตกใจอะไร แค่บอกให้เรากำหนดรู้ แล้วไม่ต้องไปสนใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ด้วยความที่เราอยากรู้ว่าเพราะอะไร จึงถามพระอาจารย์ ไปอีกรอบ
ท่านก็ตอบว่า เป็นพวกสัมพเวสี แถว ๆ วัดนี่แหละ โยมไม่ต้องไปอยากรู้หรอก


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 144#msg144

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพธิปักขิยธรรม 37 ประการอยู่ในพอง-ยุบ เป็นต้น


สติปัฏฐาน 4 มีอยู่ในพอง-ยุบ

กำหนดรู้ตามที่มันเป็นว่า พองหนอ-ยุบหนอ เป็นกายานุปัสสนา

กำหนดรู้ตามที่มันเป็นว่า ทุกข์หนอ สุขหนอ เฉยหนอ เป็นเวทนานุปัสสนา

กำหนดรู้ตามที่มันเป็นว่า คิดหนอ เป็นจิตตานุปัสสนา

กำหนดรู้ตามที่มันเป็นว่า สงสัยหนอ ง่วงหนอ เป็นต้น เป็นธัมมานุปัสสนา


(เป็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ทั้งกายและใจกำหนดรู้ตามนั้น ตามที่มันเป็น แต่ละขณะในขณะนั้นๆ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 03 พ.ค. 2010, 20:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมัปปธาน 4 มีอยู่ในพอง-ยุบ

สำรวมระวังในการกำหนดให้ทันขณะปัจจุบัน เป็นสังวรปธาน

เมื่อกำหนดรู้ทันขณะปัจจุบัน กิเลสเกิดไม่ได้ เป็นปหานปธาน

กำหนดจิตรู้อยู่ในการปฏิบัติ เป็นภาวนาปธาน

กำหนควบคุมอารมณ์ไม่ให้ฟุ้งซ่านด้วยสติ เป็นอนุรักขนาปธาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อิทธิบาท 4 มีอยู่ในพองยุบ

ความพอใจปฏิบัติ (กำหนดรู้) เป็นฉันทิทธิบาท

ความพากเพียรกำหนด เป็นวิริยิทธิบาท

ความตั้งใจกำหนดอารมณ์ เป็นจิตติทธิบาท

ความพิจารณาเหตุผลในการกำหนด เป็นวิมังสิทธิบาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อินทรีย์ 5 มีอยู่ในพอง-ยุบ

อินทรีย์ เมื่อเข้าไปทำหน้าที่ในทางปฏิบัติภาวนา ก็เจาะลึกเข้าไปในรูปในนามปัจจุบัน เป็นสิทธินทรีย์

ขยันกำหนดบริกรรมให้ต่อเนื่อง ทำให้มาก เป็นวิริยินทรีย์

มีความระลึกรู้ตัวก่อนที่รูปที่นามจะเคลื่อนตัว เป็นสตินทรีย์

ผูกจิตไว้กับรูปกับนามปัจจุบัน ไม่เผลอ จิตจับอยู่กับอารมณ์ใด ก็ยึดภาวนาอารมณ์นั้น เป็นสมาธินทรีย์

รู้รูป รู้นามปัจจุบัน รู้ไตรลักษณ์ รู้เหตุรู้ผลของรูปของนาม เป็นปัญญินทรีย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พละ 5 มีอยู่ในพอง-ยุบ

ความเชื่อมั่นในการปฏิบัติ (โดยการกำหนดรูปรู้นามปัจจุบันตามที่มันเป็น)เป็นสัทธาพละ

เพียรพยายามในการปฏิบัติ เป็นวิริยพละ

ระลึกรู้อยู่ในการปฏิบัติ เป็นสติพละ

ตั้งใจแน่วแน่ ในอารมณ์ที่กำหนด เป็นสมาธิพละ

รู้รูป รู้นามปัจจุบัน รู้ไตรลักษณ์ รู้เหตุรู้ผลของรูปของนาม เป็นปัญญาพละ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โพชฌงค์ 7 มีอยู่ในพอง-ยุบ

ขณะนั้นๆ โยคีกำลังเจริญสติปัฏฐาน 4 อยู่แล้ว จึงเป็นสติสัมโพชฌงค์

สติเกิด การวิจัยสภาวธรรมเกิด จึงเป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

ธัมมวิจัยเกิด ความเพียรพยายามก็เกิดตามมา จึงเป็นวิริยสัมโพชฌงค์

วิริยะเกิด ความอิ่มใจก็เกิด จึงเป็นปีติสัมโพชฌงค์

ปีติเกิด ความสงบก็เกิด จึงเป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

เมื่อปัสสัทธิเกิด ความตั้งใจมั่นก็เกิด จึงเป็นสมาธิสัมโพชฌงค์

เมื่อสมาธิเกิด ความวางเฉยก็เกิด จึงเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา) ตัวนี้ มีอรรถเดียวกับ สังขารุเปกขาญาณ เมื่อโพชฌงค์เกิดแล้ว มรรคมีองค์ ๘

ก็เกิด คือ เกิดมาตามลำดับแล้วตั้งแต่เริ่มปฏิบัติ เพราะมรรคมีองค์ 8 ย่อลงในศีล สมาธิ ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2010, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค มีองค์ 8 มีอยู่ในพอง-ยุบ

ศีล สมาธิ ปัญญา มีอยู่ที่ใด มรรคก็มีอยู่ในที่นั้น

ปัญญา

สัมมาทิฏฐิ

สัมมาสังกัปปะ

ศีล

สัมมาวาจา

สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะ

สมาธิ

สัมมาวายามะ

สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ


จิตที่ติดตามท้องพองท้องยุบ เป็นต้น ไม่เผลอ เป็นศีล

จิตที่แนบแน่นอยู่กับพองท้องยุบเป็นต้น เป็นสมาธิ

รู้ว่าท้องพอง รู้ว่าสุดพอง รู้ว่าท้องยุบ รู้ว่าสุดยุบ เป็นปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร