วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 21:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




51.jpg
51.jpg [ 84.64 KiB | เปิดดู 3736 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
แนวทางเหล่านี้แทนขวัญเองก็ไม่เห็นด้วยว่าจะช่วยให้สุข สงบ อย่างไร
เพราะหากธรรมะ คือ ธรรมชาติ
การปฏิบัติโดยอ้างสิ่งที่ไม่เป็นธรรมชาติจึงไม่น่าจะเป็นทางที่ถูก
หากคนเราต้องพึ่งพิงอยู่กับอิทฤทธิ์ กับเรื่องเทพ เทวดา เจ้ากรรมนายเวร
มนุษย์เราคงทำอะไรเองไม่ได้
นี่เป็นมุมมองของแทนขวัญเองค่ะ


หากคนเราต้องพึ่งพิงอยู่กับอิทธิฤทธิ์ กับเรื่องเทพ เทวดา เจ้ากรรมนายเวร
มนุษย์เราคงทำอะไรเองไม่ได้


มุมมองของคุณ หากพระพุทธยังทรงประชนม์อยู่ คงเปล่งวาจาสาธุการ :b8:

พระพุทธเจ้า ยังตรัสว่า ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางให้ ส่วนการเดิน (ทาง) เธอทั้งหลายต้องทำเอง


หากจะมองธรรมะให้แคบเข้ามา เพื่อให้เป็นประโยชน์ในปัจจุบัน ก็ได้แก่นุษย์แต่ละคนๆนี่เอง นี่แหละที่พระ
พุทธเจ้าตรัสรู้ คือ กายใจนี่เอง

เรามนสิการกรรมฐาน เพื่อต้องการให้เห็นธรรมคือกายใจ (ทีมนุษย์ไม่เห็นธรรม เพราะถูกอวิชชาตัณหา
อุปาทานครอบงำอยู่)


ตัวอย่างมีมากมายที่มนสิการกรรมฐานแล้วธรรมะเผยตัว แต่โยคีคิดว่า เป็นนั่นเป็นนี่ (อย่างที่พูดๆกัน)
จึงแทนที่จะเห็นธรรม เห็นสัจธรรมแล้วพ้นจากทุกข์ (ทุกข์เพราะยึด) แต่กลับได้ทุกข์จากการกระทำไปสะนี่

มีตัวอย่าง่ที่โยคีถามๆ ให้ศึกษาครับ :b12: =>


ขณะนั่งสมาธิแล้วรู้สึกเหมือนมีอะไรบ้างอย่าง มารบกวน

ทุกครั้งที่ผมนั่งสมาธิพอจิตเริ่มสงบ จะต้องมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นทุกครั้งคือเหมือนมีตัวหนอน หรือ มด มาเดิน
ตามลำตัว และใบหน้า
ตอนแรกก็คิดว่ามีมดอยู่บนที่นอน ก็ลืมตาดู ไม่เห็นมีก็ยังไม่คิดอะไร หลัง ๆ เป็นอยู่เรื่อย ๆ ไม่ว่าจะนั่งสมาธิ
ที่บ้านแฟน หรือสถานปฏิบ้ติธรรมก็เกิดอาการเดียวกัน
จึงอยากถามผู้รู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันคืออะไรครับ


ขนลุกซู่ๆ เวลาเข้าสมาธิ


ทุกวันก่อนนอน เมื่อผมสวดมนต์เสร็จ ผมก็จะมานั่งสมาธิ กำหนดลมหายใจ เข้า - ออก และเมื่อผมรู้สึกว่า
ผมเข้าถึงสมาธิ ผมจะมีอาการเหมือน ขนลุกซู่ๆ ร่างกายเหมือนจะพองโต แต่มันจะทำให้สมาธิผมแกว่ง
ทุกครั้งที่เกิดอาการแบบนี้ อาจจะเป็นเพราะผมยังตกใจกับอาการที่เกิดขึ้น
ไม่ทราบว่า ท่านผู้รู้พอจะมีสิ่งใดแนะนำบ้างครับ ผมคืออาการอะไร และผมต้องปฎิบัติอย่างไรบ้างครับ
ขอบคุณทุกท่านครับ


นั่งสมาธิแล้วร้อน


อยากสอบถามผู้รู้หหน่อยครับเวลานั่งสมาธิแล้ว พอจิตเริ่มรวม จะมีความรู้สึกร้อนภายในครับ ทั้งที่เปิดแอร์
ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็หายครับ แล้วตอนที่นั่งจะมีอีกช่วงตอนที่ลมหายใจแผ่วมากๆใกล้หมดครับ
จะร้อนเป็นเพราะอะไรครับ



คำถามสามตัวอย่างดังกล่าว เป็นสิ่ง (ทุกข์) ที่โยคีจะต้องประสบและเรียนรู้มัน (ทำการบ้าน) ด้วยการกำหนดรู้ตามนั้นทุกๆ ขณะ เพื่อสาวให้ถึงสาเหตุของมัน (นิดเดียว)

มักถามกันว่า อะไรๆ เป็นอะไร ฯลฯ
หากตอบคลุมกว้างๆ ก็ว่า เป็นสภาวะของรูปนาม หรือ เกิดจากกายใจนี่เอง :b1:
ไม่ใช่เกิดจากเจ้ากรรมนายเวร หรือ มีผู้สร้างผู้บันดาลให้เป็นไป ไม่ใช่เลย

จะว่าเป็นกิเลส เกิดจากกิเลส เกิดจากความคิด ก็ไม่ผิด เป้าใหญ่ คือ สมุทัยหรือว่าตัณหา

แต่เมื่อโยคีไม่กำหนดรู้สภาวะต่างๆทุกขณะที่เกิด ก็ไม่รู้เห็นเหตุเกิด ดังนั้นจึงคิดฟุ้งซ่านปรุงแต่งความคิด
ไปนานานัย สุดท้ายก็ไม่รู้สาเหตุ ก็ซัดโทษให้อดีตชาติ จึงหลุดจากความคิดปัจจุบันไปอีก



ศึกษา สมุทัย ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=22926&p=115517#p115517

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 มี.ค. 2010, 17:07, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกตัวอย่างหนึ่ง ธรรมดาๆ แต่มีความไม่เข้าใจธรรมปฏิบัติอยู่

ดูครับ


เรียนท่านผู้รู้ช่วยตอบหน่อย ดิฉันสวดมนต์ และนั่งสมาธิ ฝึกทุกวัน แต่รู้สึกว่าทำไมนั่งไปนานๆ กับรู้สึกเวียนหัว ตัวเรารู้และกำหนดลมหายเข้า-ออก พุธ-โท อยู่ตลอด จิตไม่คิดอะไร เห็นแต่สีขาว สว่างๆหายใจละเอียดขึ้น รู้สึกนั่งได้นานขึ้นคะ ไม่ทราบว่าทำไมจึงเกิดอาการเวียนหัวคะ

ก่อนหน้าเคยนั่งจะเห็น แสงสีม่วง เขียว แต่พยายามไม่ยึดติดเห็นก็ปล่อยว่าง กำหนดลมหายใจ พุธ โท เหมือนเดิมคะ แต่ไม่ได้เห็นอะไรยังคงแสงสีขาวเหมือนเดิม


http://board.palungjit.com/f4/นั่งสมาธิ-แล้วเวียนหัว-195718.html

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 17:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปเห็นมาอีกครับ เขาว่างี้ครับ


เชื่อหรือไม่.!! คุณก็สามารถ... ตรวจกรรมเจ้ากรรมนายเวร แก้ไขกรรมอดีตชาติ ด้วยตนเองได้

....เชื่อหรือไม่ครับว่า.... คนเราทุกคนสามารถตรวจอดีตชาติ ตรวจเจ้ากรรมนายเวรของตนเองได้
เพียงแค่เรารู้หลักการ ในการติดต่อกับพวกเขา เมื่อรู้ว่าเขาต้องการอะไร เราก็นำสิ่งนั้นไปชดใช้เขา
เขาก็อโหสิกรรม
... สำหรับผู้ที่สนใจอยากทราบถึงวิธี ให้ โพสเมล ของคุณไว้เดี๋ยวผมจะ PM ไปบอกรายละเอียดครับ

ช่วงนี้คนติดต่อไปเยอะมากๆ เพราะว่าสนใจอยากจะปฏิบัติเพื่อดูกรรมด้วยตัวเองและบางส่วน
ก็ต้องการแก้ไขกรรม โดยให้ ท่านผู้นี้ดูกรรมให้...ดังนี้เขาอาจจะตอบช้าหน่อย ก็อย่าถือสาอะไร
เพราะว่า คนมันเยอะ ต้องเข้าใจนะครับ สาธุ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2009, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัจธรรม คือ ความจริง คงมีคงเป็นของมันอยู่เช่นนั้น

พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม ความเกิดขึ้นในเบื้องต้น ตั้งอยู่ในท่ามกลางและเสื่อมสลาย

ในที่สุด (ตามกฎของมัน)

ส่วนความเชื่อของคนเรา ซึ่งเป็นส่วนจริยธรรม ไม่แน่นอน อาจจริงก็ได้ไม่จริงก็ได้

เพราะเป็นเพียงความเชื่อว่ามีว่าเป็นอย่างนั้น เช่น ความเชื่อเรื่องดังกล่าว ฯลฯ

เมื่อมองทางจริยะไม่เสียหายมากนัก (หากไม่หลงจนเกินพอดี) เพราะจิตใจเรายังไม่แข็งแรง

รู้สึกยังมีเยื่อใยที่ยังตัดไม่ขาด

แต่ให้เลิกจากการปฏิบัติกรรมฐานออกมาก่อน จะแผ่เมตตาหรืออะไรก็ทำไปทำได้

แต่ขณะๆ มนสิการรูปนามอยู่นั่น พึงตามดูรู้ทันรูปนามตามที่มันเป็น เป็นอย่างไรรู้อย่างนั้น

เห็นอะไร ได้ยินเสียงอะไร ได้กลิ่นอะไร ฯลฯ คิดอย่างไรๆ กำหนดจิตตามนั้น เห็นหนอๆๆ

เสียงหนอๆๆ กลิ่นหนอๆๆๆ ตามทวารนั้นๆ ทุกๆ ขณะจิต เพราะนั่นเป็นฐานของสติปัญญา

เป็นต้น เมื่อองค์ธรรมดังกล่าวเจริญขึ้นตามฐานนั้นๆ

กิเลสเครื่องเหศร้าหมอง เช่น อวิชชา ตัณหา อุปาทาน จะถูกขจัดด้วยอินทรีย์ธรรม

พลธรรม (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) เป็นต้น


:b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55: :b55:

หน้าที่ของสัญญา เป็นต้น ศึกษาที่

viewtopic.php?f=2&t=23002

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ต.ค. 2009, 15:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วความพอ ใจ ความ ไม่พอใจที่มีผู้อื่นทำให้ท่านถือว่าเป็นวิปัสนู ไม :b14:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2009, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCAYMPZCV.jpg
imagesCAYMPZCV.jpg [ 4.38 KiB | เปิดดู 3816 ครั้ง ]
บุญชัย เขียน:
แล้วความพอใจ ความไม่พอใจที่มีผู้อื่นทำให้ท่านถือว่าเป็นวิปัสนู ไม :b14:


แล้วความพอใจ ความไม่พอใจที่มีผู้อื่นทำให้ท่านถือว่า...

เป็นกิเลส หรือ จะว่าเป็นอุปกิเลสก็ได้ แก่ผู้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ฯลฯ ได้ทราบ (ทางใจ) แล้วเกิดความยินดีพอใจ

หากไม่รู้สึกพอใจ หรือ ไม่พอใจ (ไม่รู้สึกยินดียืนร้าย) มันเป็นเพียงหน้าที่ของอายตนะภายใน กับ
อายตนภายนอกกระทบกันเกิดวิญญาณขึ้นทางทวารนั้นๆ

แต่เมื่อ...ทำวิปัสสนาก็เรียกตามสิ่งที่ทำว่า วิปัสสนูปกิเลส (ตามนัยอรรถกถา) แก่โยคีที่เกิดความพอใจ
ไม่พอใจขึ้นในขณะๆนั้นๆ

แต่เมื่อเกิดวิปัสสนูปกิเลสแล้ว รู้เท่ารู้ทัน มนสิการทำความรู้จักเข้าใจ จนจิตรู้เห็นว่ามันอย่างนั้นแหละ
ก็ไม่เป็นวิปัสสนูปกิเลส ไม่เป็นธัมมุธัจจ์ แต่กลับเป็นสิ่งสำหรับเรียนรู้ เป็นแบบฝึกหัดดัดใจในทุกกรณี ไม่ว่า
สุขหรือทุกข์ก็ตามก็รู้ตามนั้น
เมื่อรู้เห็นตามเรืองที่เกิดบ่อยๆ วิชชาก็เกิด อวิชชาก็ดับ วงจรปฏิจจสมุปบาทก็จะดับตามๆกันไป

กิเลส แปลว่า สิ่งที่ทำให้จิตใจเสร้าหมอง
อุปกิเลส แปลตามศัพท์ว่า เข้าไปเสร้าหมอง
อุป เป็นอุปสรรค เข้าไป, ใกล้, มั่น

วิปัสนู

วิปัสนู แปลไม่ได้ครับ ไม่มีที่ใช้ และ ไม่ควรใช้

วิปัสสนูปกิเลส - วิปัสสนา+อุปกิเลส = วิปัสสนูปกิเลส (สนธิ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2010, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมุทธัจจ์ 10(ภาคปฏิบัติ) คือ

1. โอภาส เห็นแสงสว่าง แสงสี ต่างๆ

2. ปีติ ๕ จะเกิดขึ้น

1. ขุททกปีติ มีลักษณะดังนี้

1.1 เยือกเย็น ขนลุกตั้งชันไปทั้งตัว

1.2 ร่างกายมึน ตึง หนัก

1.3 น้ำตาไหลพราก

1.4 ปรากฏเป็นสีข่าวต่างๆ

2. ขณิกาปีติ มีลักษณะดังนี้

2.1 เป็นประกายดังฟ้าแลบ

2.2 ร่างกายแข็ง หัวใจสั่น

2.3 แสบร้อนตามเนื้อตามตัว

2.4 คันยุบยิบ เหมือนแมลงไต่ตามตัว

3.โอกกันติกาปีติ ลักษณะดังนี้

3.1 ร่างกายไหวโยก โคลงเคลง บางครั้งสั่นระริก

3.2 สะบัดหน้า สะบัดมือ สะบัดเท้า

3.3 น้ำลายสอในปาก คลื่นไส้ อาเจียน

3.4 มีอาการคล้ายๆ ละลอกคลื่นซัด

3. 5 ปรากฏมีสีม่วงอ่อน สีเหลืองอ่อน

4. อุเพงคาปีติ มีลักษณะดังนี้

4.1 มีอาการคล้ายๆ กายสูงขึ้น ตัวเบา ตัวเบา

4.2 คันยุบยิบ เหมือนมีตัวไรตอมไต่ตามหน้าตา

4.3 ท้องเสีย ลงท้อง

4.4 สัปหงกไปข้างหลังบ้าง ข้างหน้าบ้าง

4.5 ศีรษะหมุนไปมา

4.6 กัดฟันบ้าง อ้าปากบ้าง หุบปากบ้าง

4.7 กายงุบไปข้างหลังบ้าง ข้างๆบ้าง

4.8 กายกระตุก ยกแขน ยกขา

4.9 ปรากฏสีไข่มุก สีนุ่น

5. ผรณาปีติ มีลักษณะดังนี้

5.1 ร่างกายเยือกเย็นแผ่ซ่านไปทั้งตัว

5.2 ซึมๆ ไม่อยากลืมตา ไม่อยากเคลื่อนไหว

5.3 ปรากฏเป็นสีคราม สีเขียว สีมรกต

3. ญาณ (ความรู้) ปรากฏว่าตัวมีความรู้เปรื่องปราด หมดจด อย่างไม่เคยมีมาก่อน

4.ปัสสัทธิ มีความรู้สึกสงบเยือกเย็น ทั้งกายและใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่กระวนกระวาย สงบเงียบดัง

เข้าผลสมาบัติ

5.สุข ได้แก่ วิปัสสนาสุข รู้สึกว่ามีความสุขที่สุด อย่างไม่เคยพบมาก่อน ยินดี เพลิดเพลิน

ไม่อยากออกจากการปฏิบัติ อยากจะพูด จะบอกผลที่ตนได้แก่ผู้อื่น

6. อธิโมกข์ (สัทธา)มีความเลื่อมใส ในพระรัตนไตรเป็นต้น อย่างแรงกล้า

7.ปัคคาหะ (ความเพียร) ขยันเกินควร ตั้งใจปฏิบัติจริง ยอมสู้ตายไม่ถอย จนเกินพอดี

8.อุปัฏฐานะ (สติ) สติมากเกินไป ระลึกถึงแต่เรื่องในอดีตและอนาคต จนทิ้งอารมณ์ปัจจุบันเสีย

9.อุเบกขา รู้สึกเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย ใจลอย หลงๆลืมๆ เป็นต้น อะไรมากกระทบก็เฉยๆ ขาดการกำหนด

ปล่อยใจไปตามอารมณ์

10.นิกันติ (ติดใจ) พอใจในอารมณ์ต่างๆ มีโอภาสเป็นต้น หลงผิดคิดไปว่า ตนคงบรรลุ มรรค

ผล นิพพานแล้ว เพราะไม่เคยพบมาก่อน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 29 มี.ค. 2010, 17:21, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มี.ค. 2010, 12:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธัมมุทธัจจ์ จะปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาถูกต้องเท่านั้น

จะไม่เกิดแก่บุคคลเหล่านี้

1. ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาผิดวิธี

2. ผู้เกียจคร้านต่อการปฏิบัติ

3.ผู้ทอดทิ้งการปฏิบัติ

4.พระอริยบุคคล

ที่ว่าไม่เกิดแก่พระอริยบุคคล เพราะท่านกำหนดผ่านด่านนี้ไปแล้ว ก่อนหน้าท่านประสบแต่ได้กำหนดรู้ตามที่มัน

เป็นมันเกิดแล้วก็หลุดพ้นเป็นอิสระเป็นขั้นๆไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:

มาค่ะ...

:b53: :b50: :b53: :b50: :b53: :b50: :b53: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 มี.ค. 2010, 00:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

... สติ ไม่ใช่ตัว วิปัสสนา
ปัญญา หรือ การใช้ปัญญาต่างหากเป็น วิปัสสนา แต่ปัญญา จะได้โอกาสและจะทำงานได้อย่างปลอดโปรงเต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีสติคอยช่วยกำกับหนุนอยู่ด้วย
การฝึกสติ จึงมีความสำคัญมากใน วิปัสสนา


พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติเพื่อจะใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือ เป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง

ในภาษาการปฏิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วย และ สติจะมีกำลังกล้าแข็ง หรือ ชำนาญ
คล่องแคล้วขึ้นได้ ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงาน


ปัญญา ที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆ ไป มักมีลักษณาการที่เรียกว่า สัมปชัญญะ ในขั้นนี้ ปัญญา ยังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานอยู่กับสติ
การพูดจากล่าวขาน มักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลัก หรือ ตัวเด่น

แต่ในขั้นที่ใช้ ปัญญา พินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา
สติ จะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ ปัญญา

ปัญญา ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาพที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้น
เป็นอิสระ นี่แหละ คือ วิปัสสนา


ซึ่งในประเด็นนี้...สมาธิ...เหมือนเป็นเพียงสิ่งที่เกื้อหนุน...การทำงาน...
การคงสภาวะอันเหมาะแก่งาน...รักษาน้ำหนัก(กำลัง)...ให้มีความต่อเนื่อง...
รึเปล่าคะ...

อิ อิ อ่านยังไม่ทันจบเลย...ถามซะแล้ว..เดี๋ยวกลับไปอ่านต่อ... :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 05:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉทที่ ๙ สมถะ-วิปัสสนา

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/085.htm

วิปัสสนูปกิเลส

วิปัสสนูปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา และเป็นสหชาตธรรมของวิปัสสนาด้วย เพราะผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จนเกิดญาณแก่กล้าถึงตรุณอุทยัพพยญาณแล้ว เป็นที่แน่นอนที่ต้องเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันเป็น อมัคค ไม่ใช่ทางที่ให้ถึงความบริสุทธิหมดจด วิปัสสนูปกิเลสนั้นมี ๑๐ อย่าง ดังมีคาถาที่ ๒๔ แสดงว่า

๒๔. โอภาโส ปีติ ปสฺสทฺธิ อธิโมกโข จ ปคฺคโห สุขํ ญาณนุปฏฺฐาน มุเปกฺขา จ นิกนฺติ จ ฯ

โอภาส ปีติ ปัสสัทธิ อธิโมกข ปัคคหะ สุข ญาณ อุปัฏฐาน อุเบกขา นิกันติ

มีความหมายว่า เครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา ที่ชื่อว่า วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งมีจำนวน ๑๐ ประการ ได้แก่

๑. โอภาส มีแสงสว่างรุ่งโรจน์แรงกล้า สว่างกว่าแต่กาลก่อน

๒. ปีติ อิ่มใจเป็นอย่างยิ่งกว่าที่ได้เคยพบเห็นมา

๓. ปัสสัทธิ จิตสงบเยือกเย็นมาก

๔. อธิโมกข น้อมใจเชื่อ อย่างเลื่อมใสเด็ดขาด ปัญญาก็เกิดได้ยาก

๕. ปัคคหะ พากเพียรอย่างแรงกล้า

๖. สุข มีความสุขสบายเหลือเกิน ชวนให้ติดสุขเสีย

๗. ญาณ มีปัญญามากไป จะทำให้เสียปัจจุบัน

๘. อุปัฏฐาน ตั้งมั่นในอารมณ์รูปนามจนเกินไป ทำให้ปรากฏนิมิตต่าง ๆ

๙. อุเบกขา วางเฉยมาก เป็นเหตุให้หย่อนความเพียร

๑๐. นิกันติ ชอบใจติดใจในกิเลส ๙ อย่างข้างบนนั้น

วิปัสสนูปกิเลส ๙ ประการ ตั้งแต่ โอภาส ถึง อุเบกขานั้น แม้ว่าจะเกิดปรากฏขึ้นมาแล้ว ถ้านิกันติยังไม่เข้าร่วมด้วย คือ ไม่ชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินไปด้วย ก็ไม่เป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา



๒๕. อิจฺเจวํ ทสุปเกฺลสา ปริปนฺถ ปริคฺคหา อมคฺคา ว อิเมธมฺมา ธมฺมสฺส ปริปนฺติกา ฯ

อุปกิเลส ๑๐ ประการ ดังบรรยายมาฉะนี้ กำหนดถือว่า เป็นอันตราย ธรรมเหล่านี้เป็นอันตรายแห่งวิปัสสนาธรรม เป็นอมัคค มิใช่ทางเลย

มีความหมายว่า วิปัสสนูปกิเลส ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้เป็นอันตรายของวิปัสสนาโดยแท้ แต่จะบังคับบัญชามิให้เกิดขึ้นก็ไม่ได้ เมื่อเจริญถึงตรุณอุทยัพพยญาณ วิปัสสนูปกิเลสย่อมเกิดขึ้นตามธรรมชาติคู่กับวิปัสสนา จะเรียกว่าเป็นสหายของวิปัสสนาก็ได้ แต่ว่า วิปัสสนูปกิเลสจะไม่เกิดแก่บุคคล ๓ จำพวก คือ

๑. พระอริยบุคคล เพราะได้เคยดำเนินในทางที่ถูกแล้ว

๒. ผู้ปฏิบัติผิดจากทางวิปัสสนา

๓. ผู้มีความเพียรอ่อน เพราะความเพียรที่แรงกล้าเท่านั้นจึงจะเป็น วิปัสสนูปกิเลส

เมื่อวิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้น พระโยคีผู้ที่ไม่ประกอบด้วยสปาย ๗ (โดยเฉพาะในที่นี้หมายถึง กัลยาณมิตร คืออาจารย์ผู้อุปถัมภ์) แล้ว ก็ยากที่จะล่วงพ้นไปได้ เพราะชอบใจ ติดใจ เพลิดเพลินในวิปัสสนูปกิเลสนี้เสีย อุปมาเหมือนการเดินทางไกลและกันดาร เมื่อเดินไปพบศาลาพักร้อนข้างทาง ก็แวะเข้าไปพักผ่อนหลับนอนเสีย ไม่เดินทางต่อไป ก็ไม่บรรลุถึงจุดหมายปลายทาง ด้วยเหตุนี้วิปัสสนูปกิเลสจึงเป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นอันตราย เป็นอมัคค คือ มิใช่ทางแห่งวิปัสสนา ส่วนทางของวิปัสสนานั้นคือ การเห็นแจ้งในรูปธรรมกับนามธรรมโดยลักษณะทั้ง ๓ คือ ไตรลักษณ์ เห็นแต่เกิดขึ้นแล้วดับไปในอุทยัพพยญาณนั้น จึงจะพ้นอำนาจของวิปัสสนูปกิเลส


กระทู้ สมถะ - วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร

viewtopic.php?f=2&t=21049

viewtopic.php?f=2&t=21062


---------------------------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน


สังเกตดูอาการของปีติภาคปฏิบัติแต่ละอย่างๆ ซึ่งเกิดขณะปฏิบัติกรรมฐาน

ธัมมุทธัจจ์ 10 อย่าง

3.3 น้ำลายสอในปาก คลื่นไส้ อาเจียน

3.4 มีอาการคล้ายๆ ละลอกคลื่นซัด




อาการที่ว่า นึกคิดปรุงแต่งเอง จากแนวการปฏิบัติ ยุบหนอ พองหนอ

หรือ แนวทางอื่น ๆ ที่สอนตามกันมา อันเป็นเพียง อัตตโนมติ , อาจาริวาท ที่เป็น สัทธรรมปฏิรูป

ยังไม่ใช่ วิปัสสนูกิเลส หรอกครับ

อาการผิดปกติดังกล่าว เกิดจาก เริ่มมีสมาธิ แล้วจิตปรุงแต่งไปเอง เท่านั้นครับ

คุณกรัชกาย ครับ

อาการที่เกิด วิปัสสนึก คิดปรุงแต่งว่า ตนเอง ได้เจริญวิปัสสนาญาณ ขั้นโน้น ขั้นนี้แล้ว

( ไม่แน่ใจว่า คุณกรัชกาย จะเหมือนผู้ปฏิบัติแนวยุบหนอ พองหนอ บางท่านจำนวนมากหรือเปล่า ที่เข้าใจผิดว่า ตนเองเกิด วิปัสสนาญาณขั้นสูงแล้ว หรือ แม้กระทั่งเป็นพระโสดาบัน พระอรหันต์ แล้ว)


ไม่มีโอกาส ได้เกิด วิปัสสนูกิเลส เลยครับ

เพราะ ยังไม่ได้ เจริญ วิปัสสนา เลยครับ ( ทำเพีงสมาธิ ขั้นต้น )

แม้จะ ภาวนาว่า วิปัสสนาหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

เห็น อัตตโนมติ แบบผิด ๆ ที่คุณกรัชกายนำมาลง แล้วเกิดอาการเปรี้ยวปากครับ

เหมือนมีคนพูดถึง มะนาว น้ำลายก็เริ่ม ไหลแล้วครับ :b22:

นี่ถ้าผม เกิด อาการ ตัวโยกไปมา น้ำลายสอ เวียนหัว อย่ามาคิดว่าผม เกิดวิปัสสนูกิเลสนะครับ

มันเป็นเพียง กิเลสธรรมดา ของ ปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสเท่านั้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 26 เม.ย. 2010, 05:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือ พุทธวิปัสสนา ที่แต่งจาก อัตตโนมติของผู้ปฏิบัติแนวยุบหนอ พองหนอ


ถ้าหากผู้ปฏิบัติรู้สึกขนลุกขนชัน หรือรู้สึกซู่ซ่าตามตัวหรือแขนขา หรือสะดุ้งขึ้นมาเฉย ๆ ก็ให้กำหนดว่า " ขนลุกหนอ" หรือ " ซู่ซ่าหนอ " หรือ "สะดุ้งหนอ" แล้วแต่กรณีอาการเหล่านั้นจะหายไป หรือถ้าเกิดสงสัยขึ้นมาในใจ เช่น สงสัยว่าว่า วิธีกำหนด " พองหนอ ยุบหนอ " เช่นนี้ จะทำให้บรรลุมรรคผลได้อย่างไร ดูไม่มีเหตุผลเลย หรือสงสัยว่า วิธีปฏิบัติอยู่นี้จะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่มรรคผลได้หรือไฉน ก็ให้กำหนดว่า "สงสัยหนอ สงสัยหนอ" แล้วหันมากำหนด "พองหนอ ยุบหนอ" ใหม่ ความสงสัยจะค่อย ๆ คลายลงและหมดไปในที่สุด พร้อมกับเต็มใจที่จะปฏิบัติตามวิธีที่ทำมาแล้ว
เมื่อปฏิบัติถึงขั้นนี้ ก็เป็นอันถือได้ว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึง ปัจจยปริคคหญาณ โดยสมบูรณ์
!
!
!
กำลังใจของผู้ปฏิบัติในระยะนี้ จะอ่อนแอเกิดความท้อถอย คิดว่า ตนหมดวาสนาที่จะปฏิบัติธรรมเสียแล้วทำให้ไม่อยากปฏิบัติต่อไป และไม่อยากแม้แต่จะเข้าห้องปฏิบัติของตนเอง ถ้าปฏิบัติอยู่ในสำนักวิปัสสนาก็อยากจะหนีไปเสีย เพราะความเบื่อหน่าย และบางทีจะเตรียมเก็บข้าวของหีบห่อเพื่อกลับบ้าน เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจว่า ความรู้หรืออารมณ์ดังกล่าวนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางจิตอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อญาณแก่กล้าขึ้นแล้ว ปรากฏการณ์อย่างนี้ก็จะต้องเกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติทุกคน ฉะนั้นจะต้องพยายามปฏิบัติต่อไป ด้วยน้ำใจอันหนักแน่นไม่ท้อถอย และอย่าเลิกร้างการปฏิบัติเสียเป็นอันขาด อีกไม่ช้านักก็จะถึงจุดมุ่งหมายปลายทางอันเป็นยอดปรารถนา
ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นลักษณะของ มุญจิตุกัมยตาญาณ ซึ่งโบราณขนานนามว่า " ญาณม้วนเสื่อ " เพราะเมื่อถึงญาณนี้ ผู้ปฏิบัติมักจะม้วนเสื่อและเก็บข้าวของกลับบ้านเนื่องจากเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย
เมื่อได้หันกลับมาตั้งใจปฏิบัติเดินจงกรม และนั่งวิปัสสนาต่อไป ความเบื่อหน่ายและความท้อถอยก็จะค่อยๆ อันตรธานและหายไป ให้เปลี่ยนวิธีเดินจงกรมใหม่ คือเพิ่มการเดินห้าจังหวะเข้าด้วย


สมัยก่อนก็ฝึกแบบยุบหนอ พองหนอ เหมือนกัน

ดีที่ไม่เข้าใจผิดว่า ตนเองได้ วิปัสสนาญาณขั้นสูงแล้ว ไม่งั้นคงได้ บิดเบือนพระสัทธรรม แบบที่คุณกรัชกาย กำลังทำอยู่นี้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับคุณเฉลิมศักดิ์ :b8:

หายไปหลายวันไปวิปัสสนาที่ไหนมาอีกครับ :b1: :b12: เป็นไงบ้างเล่าให้ฟังบ้างสิครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สนทนากับคุณเฉลิมศักดิ์ก็วนๆเรื่องเดิมๆ แต่ก็ยังดีกว่านอนเกาสะดือเล่น :b32: :b13:

คุณเฉลิมศักดิ์ คลิ๊กเข้าไปอ่านลิงค์ดูก่อน

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?board=3.0

เพราะเหตุใด เมื่อโยคีเริ่มปฏิบัติกรรมฐาน หรือ จะเรียกว่าอะไรสุดแท้แต่ ทำไมจึงเกิดอาการอย่างนั้นๆ

เขาใช้คำภาวนาต่างๆกัน

คุณเข้าใจสักเรื่องไหม

หากคุณตอบได้รู้เรื่องเข้าใจกรัชกายจะพิจารณาตัวเอง บางทีอาจไปมอบตัวเป็นศิษย์ผู้น้องสำนักคุณบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




869.gif
869.gif [ 12.15 KiB | เปิดดู 3660 ครั้ง ]
อ้างคำพูด:
แม้จะ ภาวนาว่า วิปัสสนาหนอ ๆ ๆ
เห็น อัตตโนมติ แบบผิด ๆ ที่คุณกรัชกายนำมาลง แล้วเกิดอาการเปรี้ยวปากครับ
เหมือนมีคนพูดถึง มะนาว น้ำลายก็เริ่ม ไหลแล้วครับ

นี่ถ้าผม เกิด อาการ ตัวโยกไปมา น้ำลายสอ เวียนหัว อย่ามาคิดว่าผม เกิดวิปัสสนูกิเลสนะครับ
มันเป็นเพียง กิเลสธรรมดา ของ ปุถุชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลสเท่านั้น


คุณเฉ-ลิมศักดิ์ครับ :b13:

ที่บอร์ดเก่านำมาให้ดูเป็นตัวอย่างมีเยอะแยะครับ ในรายนี้ไม่มีใครพูดถึงมะนาวเลยนะครับดู

-เวลานั่งสมาธิแล้ว เกินอาการมีน้ำลายออกมามาก จะแก้ไขอย่างไรดีค่ะ เพราะว่าทำให้ต้องกลืนน้ำลายอยู่เรื่อยเลย แล้วอาการแบบนี้เค้าหมายถึงอย่างไรหรือเปล่า

-เวลากำหนดลมหายใจ ทำไม่บางที่มันรู้สึกอึดอัด เหมือนมีอะไรมีจุกที่คอ แล้วท้องมันก็รู้สึกว่ามันเกร็งๆ ก็ไม่ทราบ แล้วก็เหมือนอยากจะเรออยู่เรื่อยเลย

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17708


คุณเกิดอาการเปรี้ยวปาก เป็นเพราะดื่มเหล้าจนติดแล้วไม่ได้ดื่มก็เปรี้ยวปากสิครับ :b32:

สนทนากับคุณแล้วเหมือนคนสูบกัญชาเห็นข้อเขียน ซึ่งออกมาจากความคิดคุณแล้วขำครับ :b9: :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 66 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร