วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การอบรมเจริญสติปัฏฐานทำให้ปัญญาคมกล้าและบริสุทธิ์ขึ้นเป็นวิปัสสนา

ญาณตามลำดับขั้นนั้น เป็น วิสุทธิ ๗ ดังนี้ ...

๑. ศีลวิสุทธิ ได้แก่ ศีล เมื่อสติระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม

ขณะนั้นวิสุทธิจากการไม่รู้สภาพปรมัตถธรรมซึ่งไม่ใช่ตัวตน ขณะที่สติปัฏฐาน

ไม่เกิดไม่ใช่ศีลวิสุทธิ เพราะยึดถือศีลว่าเป็นเรา เป็นตัวตน


บ้านธัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. จิตตวิสุทธิ ได้แก่ สมาธิขั้นต่างๆ(ขนิก อุปจาร อัปปนา) ขณะที่สติระลึกรู้ลักษณะของนามธรรม

และรูปธรรม และขณะใดที่ฌานจิตเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ฌานจิตขณะนั้นก็

เป็นจิตตวิสุทธิเพราะขณะนั้นไม่ยึดถือฌานจิตนั้นว่าเป็นเรา เป็นตัวตน



โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. ทิฏฐิวิสุทธิ ได้แก่ นามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาณที่ประจักษ์แจ้ง

ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ขณะนั้นจึงวิสุทธิ

จากการไม่เคยประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โดยสภาพที่ไม่

ใช่ตัวตนมาก่อนเลย

บ้านธัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. กังขาวิตรณวิสุทธิ เมื่อทิฏฐิวิสุทธิเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาที่เจริญขึ้นจาก

การเจริญสติปัฏฐานก็เป็น ยถาภูตญาณทัสสนะ คือ เห็นลักษณะของสภาพ

ธรรมตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ในขณะที่สติระลึกลักษณะของ

สภาพธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จนสมบูรณ์ถึงขั้นเป็น ปัจจยปริคคห-

ญาณ ข้ามพ้นความสงสัยในการเกิดขึ้นของนามธรรมทั้งหลาย ว่าเป็นไปตาม

ปัจจัยทั้งสิ้น ปัจจยปริคคหญาณ จึงเป็นกังขาวิตรณวิสุทธิ


บ้านธัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เมื่อกังขาวิตรณวิสุทธิเกิดขึ้น

แล้ว ปัญญาที่เจริญขึ้นจากสติปัฏฐานที่พิจารณาลักษณะของนามธรรมและ

รูปธรรมทั่วขึ้นจนชิน รู้ว่าเป็นแต่เพียงนามธรรมและรูปธรรมเท่านั้นเสมอกันหมด

ทุกประเภท ทำให้ละคลายการใฝ่ใจแสวงหายึดมั่นในนามหนึ่งนามใดรูปหนึ่งรูป

ใดโดยเฉพาะ และน้อมพิจารณาการเกิดดับ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความ

เป็นอนัตตาของนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏ จนประจักษ์การเกิดดับสืบต่อกัน

ของนามธรรมและรูปธรรม เป็นสัมมสนญาณและอุทยัพพยญาณตามลำดับ เมื่อ

อุทยัพพยญาณดับไปแล้ว กิเลสที่ยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉทก็ทำให้เกิดความ

ยินดีพอใจใน วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ...

๑. โอภาส แสงสว่าง

๒. ญาณ ความรู้

๓. ปีติ ความอิ่มใจ

๔. ปัสสัทธิ ความสงบ

๕. สุข ความสบายแช่มชื่นใจ

๖. อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อ

๗. ปัคคาหะ ความเพียร

๘. อุปัฏฐานะ ความมั่นคง

๙. อุเบกขา ความวางเฉย

๑๐. นิกันติ ความใคร่



๑. เมื่ออุทยัพพยญาณดับไปแล้ว โอภาสย่อมเกิดจากจิตที่สงบถึง

ขั้นที่เป็นปัจจัยให้แสงสว่างเกิดขึ้นได้ ขณะที่เกิดความยินดีในโอภาสนั้นเป็น

วิปัสสนูปกิเลส เพราะทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง ไม่ได้พิจารณาความเกิดดับ ไม่

เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของสภาพธรรมในขณะนั้น

๒. ขณะที่เกิดความยินดีในความคมกล้าของปัญญา ที่ประจักษ์การ

เกิดดับของนามธรรมและรูปธรรมอย่างรวดเร็วดุจฟ้าแลบนั้น ก็เป็นวิปัสสนูป-

กิเลส เพราะไม่ได้พิจารณาความเกิดดับ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว

ตนของสภาพธรรมในขณะนั้นต่อไป

๓. ขณะที่ยินดีในปิติ ความอิ่มเอิบ ที่ประจักษ์การเกิดดับของนาม-

ธรรมและรูปธรรมนั้น ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส

๔. ขณะที่ยินดีในความสงบ ซึ่งปราศจากความกระวนกระวายความ

แข็งกระด้าง ความคดงอ ไม่ควรแก่การงาน เป็นต้น ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส

๕. ขณะที่ยินดีในความสุข ซึ่งเป็นโสมนัสเวทนาอย่างยิ่งนั้น ก็เป็น

วิปัสสนูปกิเลส

๖. ขณะที่ยินดีในความน้อมใจเชื่อที่มั่นคงยิ่งขึ้นนั้น ก็เป็นวิปัสสนู-

ปกิเลส

๗. ขณะที่ยินดีในความเพียรที่ไม่ตึงนัก ไม่หย่อนนักที่ประกอบด้วย

วิปัสสนาญาณ ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส

๘. ขณะที่ยินดีในความมั่นคงของสติปัฏฐาน ๔ ที่ประกอบด้วย

วิปัสสนาญาณนั้น ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส

๙. ขณะที่ยินดีในความวางเฉย คือ เป็นกลางเสมอกัน ในสังขาร

ธรรมทั้งปวงที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ เมื่อประจักษ์การเกิดดับของอารมณ์ที่

ปรากฏอย่างรวดเร็วดุจฟ้าแลบนั้น ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส

๑๐. ขณะที่ยินดีที่ได้ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมด้วยวิปัส-

สนาญาณนั้น ก็เป็น วิปัสสนูปกิเลส



เมื่อปัญญาพิจารณารู้ว่าวิปัสสนูปกิเลสเป็นสิ่งที่ควรละ ขณะที่ปัญญา

คมกล้า รู้ชัดความละเอียดของวิปัสสนูปกิเลส ซึ่งไม่ใช่ทางที่จะนำไปสู่การละ

คลายความติดข้องในสภาพธรรมทั้งหลายที่ละเอียดขึ้น ขณะนั้นเป็นมัคคา-

มัคคญาณทัสสนวิสุทธิ คือ อุททยัพพยญาณที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว

บ้านธัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เมื่อพ้นจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว

ปัญญาที่เจริญขึ้นจากการเจริญสติปัฏฐานต่อนั้นก็เป็น ปฏิปทาญาณทัสสนวิ

สุทธิ ตั้งแต่อุทยัพพยญาณที่ปราศจากวิปัสสนูปกิเลส จนถึงอนุโลมญาณ ๓

ขณะในมัคควิถี คือ บริกัมม์ อุปจาร อนุโลม

บ้านธัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ เมื่ออนุโลมญาณ ๓ ขณะดับแล้ว โคตรภู-

ญาณก็เกิด โคตรภูญาณไม่ใช่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิและไม่ใช่ญาณทัสสวิ-

สุทธิ เพราะโคตรภูญาณมีฐานะเป็นดุจอาวัชชนะของโลกุตตรจิตระหว่าง

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิและญาณทัสสนวิสุทธิ แต่ถึงการนับว่าเป็นวิปัสสนา

ญาณเพราะเป็นกระแสของวิปัสสนา เมื่อโคตรภูญาณดับแล้วมัคคจิตต์เกิดเป็น

ญาณทัสสนวิสุทธิ

รวมเป็นวิสุทธิ ๗

บ้านธัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อปัญญาอบรมสมบูรณ์ พร้อมที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ประกอบด้วย

องค์ของการตรัสรู้ คือ โพชฌงค์ ๗ สมบูรณ์ด้วย โพธิปักขิยธรรม ๓๗ (สติ-

ปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์

๗ มัคค์มีองค์ ๘) แล้ว โลกุตตรจิต ประกอบด้วยมัคค์มีองค์ ๘ ครบทั้ง ๘

องค์ คือ สัมมาทิฏฐิเจตสิก สัมมาสังกัปปเจตสิก สัมมาวาจาเจตสิก สัมมา-

กัมมันตเจตสิก สัมมาอาชีวเจตสิก สัมมาวายามเจตสิก สัมมาสติเจตสิก สัม-

มาสมาธิเจตสิก ก็เกิดขึ้นประจักษ์แจ้งสภาพของพระนิพพาน เป็น มัคควิถี ทาง

มโนทวารดังนี้ คือ ...

ภวังค์ เป็นวิบากญาณสัมปยุตตจิต

ภวังคจลนะ เป็นวิบากญาณสัมปยุตตจิต

(ประเภทเดียวกับภวังค์)

ภวังคุปัจเฉทะ เป็นวิบากญาณสัมปยุตตจิต

(ประเภทเดียวกับภวังค์)

มโนทวาราวัชชนะ เป็นกิริยาจิต

บริกัมม์ ๑ เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต

อุปจาร ๒ เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต

(ประเภทเดียวกับบริกัมม์)

อนุโลม ๓ เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต

(ประเภทเดียวกับบริกัมม์)

โคตรภู ๔ เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต

(ประเภทเดียวกับบริกัมม์)

โสตาปัตติมัคคจิต ๕ เป็นโลกุตตรกุศลจิต

โสตาปัตติผลจิต ๖ เป็นโลกุตตรวิบากจิต

โสตาปัตติผลจิต ๗ เป็นโลกุตตรวิบากจิต

ภวังคจิต เป็นวิบากญาณสัมปยุตตจิต


๑ - ๗ เป็นชวนวิถีจิต

บ้านธัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในวันหนึ่งๆ ปัจจัยที่จะให้สติปัฏฐานเกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพ

ธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริงนั้น น้อยกว่าปัจจัยที่จะให้อกุศล

ธรรมเกิดขึ้นมากเหลือเกิน

ฉะนั้น การเจริญขึ้นของโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ซึ่งเป็นส่วนประกอบ

ของการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ๔ คือ ...สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมัคค์มีองค์ ๘ รวมเป็นโพธิปักขิยธรรม ๓๗

นั้น จึงต้องสะสมอบรมนานมาก เพราะไม่ใช่เป็นการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมารู้ แต่

เป็นการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา ที่มีเหตุปัจจจัยเกิดขึ้น

ปรากฏแล้วดับไปรวดเร็ว เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ในขณะนี้เอง ถ้าขณะนี้ไม่รู้ว่าสติปัฏฐานเป็นอย่างไร ไม่รู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ

ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โดยสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่ตัวตนนั้นเป็น

อย่างไร ก็จะต้องอบรมปัญญาขั้นต้นด้วยการฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรง

แสดงไว้เพื่อให้พุทธบริษัทเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถูกต้อง

ตรงตามความเป็นจริงตามที่ทรงตรัสรู้ และจะต้องพิจารณาหนทางปฏิบัติ คือ

การอบรมเจริญปัญญาให้ถูกต้องว่า เหตุต้องสมควรแก่ผล เมื่อผลคือปัญญาที่

ประจักษ์แจ้งไตรลักษณะ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สภาพที่เกิดขึ้นและดับไป

เป็นทุกข์ เพราะไม่ใช่สภาพที่น่ายินดีและเป็นอนัตตาของสภาพธรรมที่กำลัง

ปรากฏในขณะนี้ ก็ย่อมรู้ว่าไม่มีทางอื่นเลย นอกจากหนทางเดียว คือ สติปัฏฐาน

เกิดขึ้นระลึกรู้ ศึกษา สังเกตลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ไป

เรื่อยๆ จนกว่าสังขารขันธ์ทั้งหลายจะเป็นปัจจัย ปรุงแต่งให้ปัญญาที่อบรม

สมบูรณ์แล้วเกิดขึ้นเป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้นๆ

บ้านธัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติปัฏฐานเป็นไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา อธิจิต(สมาธิ)

สิกขา อธิปัญญาสิกขา เพราะในขณะที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่

ปรากฏนั้น เป็นศีลอย่างละเอียด คือเป็นอธิศีลสิกขา เป็นการระลึกรู้ลักษณะ

ของจิต รูป รู้ลักษณะของกุศลธรรมและอกุศลธรรมก่อนที่จะเกิดการกระทำใดๆ

ทางกาย วาจา

สติปัฏฐานเป็น อธิจิตสิกขา เพราะเป็นความตั้งมั่นของเอกัคคตา

เจตสิก(สมาธิ)ในอารมณ์ที่ปรากฏซึ่งเกิดดับอย่างรวดเร็ว

สติปัฏฐานเป็น อธิปัญญาสิกขา เพราะเป็นปัญญาที่พิจารณา ศึกษา

รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติโดยละเอียดตามความเป็นจริง


บ้านธัมมะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 21:53
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคนั้น มีผู้อบรมเจริญสมถภาวนาจน

สามารถบรรลุคุณวิเศษ กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ได้ แต่ไม่สามารถดับกิเลส

ได้เป็นสมุจเฉท เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

และทรงแสดงพระธรรมแล้ว ก็มีผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมเป็นจำนวนมาก และบาง

ท่านที่เจริญสมถภาวนาบรรลุฌานจิตมาแล้ว เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ก็รู้แจ้งอริย-

สัจจธรรมด้วย

ฉะนั้น พระอริยสาวกจึงมี ๒ ประเภท คือ พระอริยสาวกผู้เป็นสุกขวิ-

ปัสสกะ และ พระอริยสาวกผู้เป็นเจโตวิมุตติ

พระอริยบุคคลผู้เป็นสุกขวิปัสสกะนั้น บรรลุมัคคจิตโดยไม่มีฌานจิต

เป็นบาท คือไม่ได้บรรลุฌานจิต ฌานจิตจึงไม่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์ให้พิจารณา

และถึงแม้ว่าโลกุตตรจิตประจักษ์แจ้งนิพพานอย่างชัดเจนแนบแน่นเช่นเดียวกับ

อัปปนาสมาธิที่แนบแน่นในอารมณ์ของฌานจิตขั้นต่างๆ แต่เมื่อพระอริยสุกขวิ-

ปัสสกะไม่ได้บรรลุฌาน ก็ไม่สามารถเข้าถึงฌานสมาบัติได้ การนับประเภทจิต

โดยนัย ๘๙ ดวง จึงนับโดยนัยของพระอริยบุคคลผู้เป็นสุกขวิปัสสกะ

ส่วนพระอริยบุคคลผู้เป็นเจโตวิมุตตินั้น บรรลุมัคคจิตผลจิตโดยมี

ฌานเป็นบาท ฉะนั้น จึงต้องเป็นผู้บรรลุฌานพร้อมด้วยวสี ฌานจิตจึงเกิดขึ้น

เป็นอารมณ์ให้มหากุศลญาณสัมปยุตตจิตพิจารณา จนบรรลุโลกุตตรมัคคจิต

ผลจิตได้ด้วยการพิจารณาฌานจิตนั้นเอง พระอริยบุคคลผู้บรรลุมัคค์ผล

นิพพานพร้อมด้วยองค์ของฌานขั้นต่างๆ จึงเป็นเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากกิเลส

ด้วยปัญญาและความสงบของฌานขั้นต่างๆ การนับประเภทจิตโดยนัย ๑๒๑

ดวง จึงนับโดยนัยของพระอริยบุคคลผู้เป็นเจโตวิมุตติ

บ้านธัมมะ
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร