วันเวลาปัจจุบัน 23 พ.ค. 2025, 03:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


- สถานที่ปฏิบัติธรรม
แนะนำรายชื่อสถานที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐานทั่วประเทศ
http://www.dhammajak.net/forums/viewforum.php?f=9

- รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=30



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2010, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

ส่วนหนึ่งของ ทันตภูมิสูตร ซึ่งแสดงถึงครรลองคลองธรรมที่พระพุทธองค์ได้วางไว้ให้พระอริยสาวกปฏิบัติ เป็นการสรุปย่อๆ ตั้งแต่ต้นจนจบ จึงนำมาให้ศึกษาพิจรณากันดู .... เล่นๆ เย็นๆ ใจ :b38:

Quote Tipitaka:
[๓๙๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้วเป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลางในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง
แสดงถึงการตรัสรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง หรือ โดยใช้อภิญญา

Quote Tipitaka:
คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดีก็ดี คนที่เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่งก็ดีย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ย่อมได้ความเชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลยเราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด
ส่วนนี้บอกถึงการแสดงอนุบุพพิกถา จนผู้นั้นมีดวงตาเห็นธรรม (โสดาปัตติมรรค) จึงชวนให้มาบวช

Quote Tipitaka:
สมัยต่อมาเขาละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง และวงศ์ญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้างปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตดูกรอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในโอกาสอันว่างแล้ว
หลังจากบวชก็ได้ชื่อว่าเป็นพระอริยะ

Quote Tipitaka:
ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕ อยู่ ตถาคตจึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียง เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด
ทรงให้ศึกษาธรรมก่อน ฝึกตนให้อยู่ในวินัย ให้ศีลขั้นต้นเกิด

Quote Tipitaka:
ดูกรอัคคิเวสสนะ ในเมื่ออริย สาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ
เมื่อศึกษาและฝึกตนจนขั้นต้นศีลเกิด จึงให้ฝึกวิปัสสนาภาวนาขันธ์ ๕ อินทรี ๖

Quote Tipitaka:
เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
เมื่อวิปัสสนาจนเกิดปัญญา (โสดาปัตติผล) จึงให้เจริญสติปัฏฐานต่อไป เพื่อบรรลุอรหันตผลต่อไป ... :b42:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 10 มี.ค. 2010, 12:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ลำดับการปฏิบัติของพระสงฆ์ โดยละเอียดใน คณกโมคคัลลานสูตร (๑๐๗) มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เราอาจบัญญัติการศึกษาโดยลำดับ การกระทำโดยลำดับ การปฏิบัติโดยลำดับ ในธรรมวินัยนี้ได้ เปรียบเหมือนคนฝึกม้าผู้ฉลาด ได้ม้าอาชาไนยตัวงามแล้ว เริ่มต้นทีเดียว ให้ทำสิ่งควรให้ทำในบังเหียน ต่อไปจึงให้ทำสิ่งที่ควร ฯ ... อ่านต่อ ... http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=1571&Z=1734

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 10 มี.ค. 2010, 22:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ลาภสักการสังยุตต์

สุทธกสูตร

[๕๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่าพระเจ้าข้า ฯ

[๕๓๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียงทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละลาภสักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภสักการะและชื่อเสียงที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ

พฬิสสูตร

[๕๓๘] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภ สักการะ และชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคายเป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ฯ

[๕๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลาบางตัวเห็นแก่เหยื่อ กลืนเบ็ดที่พรานเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงในห้วงน้ำลึก มันกลืนเบ็ดของพรานเบ็ดอย่างนี้แล้ว ได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ พรานเบ็ดพึงทำได้ตามความพอใจ ฉะนั้น ฯ

[๕๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า "พรานเบ็ด" นี้เป็นชื่อของมารใจบาป คำว่า "เบ็ด" เป็นชื่อของลาภ สักการะและชื่อเสียง ภิกษุบางรูปยินดี พอใจลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุนี้เรากล่าวว่า กลืนเบ็ดของมารได้รับทุกข์ ถึงความพินาศ อันมารใจบาปพึงทำได้ตามความพอใจ ภิกษุทั้งหลายลาภ สักการะและชื่อเสียง ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า อย่างนี้แล ฯ

[๕๔๑] เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลาย จักละ ลาภ สักการะและชื่อเสียงที่เกิดขึ้นแล้วเสีย และลาภ สักการะและชื่อเสียงที่บังเกิดขึ้นแล้ว จักครอบงำจิตของเราทั้งหลายตั้งอยู่ไม่ได้ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 11:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักสูตรพระอริยะจากพระพุทธพจน์

เมื่อบุคคลศึกษาธรรม ฟังธรรม จนเกิดมีดวงดาเห็นธรรม (โสดาปัตติมรรค) หรือมีความคิดเห็นที่ถูกต้องเกิดขึ้น (บริบูรณ์ด้วยทิฏฐิ) เมื่อออกเรือนบวช พระพุทธองค์ได้วางหลักสูตรไว้ดังนี้

๑) ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด

๒) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุมาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วจงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิดเธอได้ยินเสียงด้วยโสตแล้ว ... เธอดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... เธอลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว ... เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ... เธอรู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมนินทรีย์อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ พึงถูกอกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด ฯ (ฝึกวิปัสสนา)

๓) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายได้ (บรรลุโสดาปัตติผล) ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ฯ

๔) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือ จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี พึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัวทำความสำคัญว่า จะลุกขึ้น ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด

๕) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้ ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด

๖) ในเมื่อภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะได้ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงพอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขาซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังเวลาอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกแล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌาได้ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาทได้ ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะอยู่ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัย ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้ ฯ

๗) เธอครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมองทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติ อยู่เป็นสุขอยู่ เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขเพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่

ในพวกภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัตมรรค ยังปรารถนาธรรมที่เกษมจากโยคะอย่างหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้อยู่นั้น เรามีคำพร่ำสอนเห็นปานฉะนี้

ส่วนสำหรับภิกษุพวกที่เป็นอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะผู้ชอบนั้น ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่สบาย ในปัจจุบันและเพื่อสติสัมปชัญญะ ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 16 มี.ค. 2010, 03:05, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล สมาธิ ปัญญา ที่เรียกกันว่า ไตรสิกขาในปัจจุบัน เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน พระภิกษุจำนวนมากพากันหลงทาง เพราะไม่ได้ศึกษาพระธรรมโดยตรงจากพระไตรปิฏก ยังมีการนำการปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนสอนกันต่อๆ มา ในที่สุดก็ระบาดมาถึงฆราวาส ผู้สอนก็ไม่รู้ ผู้เรียนก็ไม่รู้ พากันเดินหลงทางมาพันกว่าปี ตำราที่เรานำมาจากลังกาก็มีผิดเพี้ยนไปบ้างแล้ว พอเราไปเอาจากลังกามา มันก็ผิดแบบไม่มีไครรู้ว่าผิด ยึอถือกันมาจนปัจจุบัน

เมื่อพุทธศาสนาเสื่อมลงถึงจุดต่ำสุด ราวๆ พ.ศ. ๑๐๐๐ คำสอนก็เริ่มคลาดเคลื่อน มีการนำความเห็นลงไปปนกับคำสอน มีการอธิบายคำสอนในหลายรูปแบบ พระพุทธองค์ก็ทรงพยากรณ์ไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วว่า นี่เป็นเหตุของความเสื่อม พระพุทธองค์บอกให้ยึดพระไตรปิฏก ยกพระธรรมเป็นเสมือนศาสดา

ก็ยังนับว่าโชคดี เพราะพระไตรปิฏกยังอยู่ คำสอนยังครบถ้วน (ถึงที่แปลเป็นภาษาไทยจะมีผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่สาระยังครบ) หากได้ศึกษาคำสอนจากพระไตรปิฏกโดยตรงแล้ว บ้านเราจะเต็มไปด้วยพระอรหันต์สาวก ไม่ต่างกับสมัยพุทธกาลเลย

ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่เคยมีตอนใหนเลย ที่พระพทุธองค์บอกให้สาวกไป ถือศีล นั่งสมาธิจนเป็นฌาน แล้วจะมีปัญญามาดับทุกข์ ในทางตรงกันข้าม พระพุทธองค์บอกว่า ทางนี้ไม่มีปัญญาดับทุกข์ได้

ตัวตัวอย่างที่นำมาให้ศึกษานี้ พระพุทธองค์ให้ใช้ปัญญาในการศึกษาธรรม เมื่อมีปัญญารู้ดี รู้ชั่ว ศีลจึงเกิด เมื่อมีศีลแล้ว ก็ให้สร้างปัญญาเพื่อดับทุกข์ หรือให้ฝึกวิปัสสนา เมื่อละอุปทานขันธ์ ๕ ได้ หรือละสักกายทิฏฐิได้ ก็ให้ไปเดินจงกรม เจริญสติปัฏฐาน เพื่อบรรลุอรหันตผลต่อไป

ขอให้ชาวพุทธทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ... :b42:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 12 มี.ค. 2010, 10:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2010, 23:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้เว้นแล้วจากสัญญา โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่าใด ยังถือสัญญาและ ทิฏฐิ ชนเหล่านั้น กระทบกระทั่งกันอยู่ ย่อมเที่ยวไปในโลก.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร