วันเวลาปัจจุบัน 17 พ.ค. 2025, 05:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สวัสดีครับท่านมหาราชันย์

สักกายทิฏฐิ จะตั้งมั่นอยู่ได้ด้วยการพอกพูนสิ่งไรครับ?
และการเจริญธรรม โดยไม่ต้องไปนึกไปคิด เพราะกลัวว่าจะไปสู่สมมติ ขัดกับพุทธพจน์อย่างไรครับ?

เจริญธรรม



สวัสดีครับคุณเช่นนั้น

ผมไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่มีคอมและอินเตอร์เน็ตเสียหลายวัน เพิ่งจะมีโอกาสได้เข้าเว็ปวันนี้ครับ


เพื่อความสะดวกในการสนทนาเลยขอตั้งกระทู้ใหม่ครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 17:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องสักกายทิฏฐิ

[๕๐๖] วิสาขอุบาสกครั้นนั่งแล้ว ได้ถามธรรมทินนาภิกษุณีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ สักกายะ ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ?


ธรรมทินนาภิกษุณีตอบว่า ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ ๕ คือรูปูปาทานขันธ์ ๑ เวทนูปาทานขันธ์ ๑ สัญญูปาทานขันธ์ ๑ สังขารูปาทานขันธ์ ๑ วิญญาณูปาทานขันธ์ ๑ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายะ.

วิสาขอุบาสก ชื่นชม อนุโมทนา ภาษิตของธรรมทินนาภิกษุณีว่า ถูกละพระแม่เจ้า ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหาต่อไปว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย สักกายสมุทัย ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่าสักกายสมุทัย?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหานี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายสมุทัย.


วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ สักกายนิโรธดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความดับด้วยความคลายกำหนัดไม่มีเหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ด้วยตัณหานั้น นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธ.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้ ธรรมอะไรที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยะมรรคมีองค์ ๘ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ นี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอันเดียวกัน หรืออุปาทาน เป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ หาใช่อันเดียวกันไม่ อุปาทานเป็นอย่างอื่นจากอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็หาใช่ไม่ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอุปาทาน ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั้น.

[๕๐๗] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็สักกายทิฏฐิมีได้อย่างไร?

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ตามเห็นรูปในตนบ้าง ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมตามเห็นเวทนา ... ย่อมตามเห็นสัญญา ... ย่อมตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงมีได้.

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี




เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 06 ก.พ. 2010, 17:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 09:56
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อย่างไรสักกายทิฏฐิจึงจะไม่มีฯ

ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ ได้เห็นพระอริยะ ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ ได้เห็นสัปบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่ตามเห็นรูป โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีรูปบ้าง ไม่ตามเห็นรูปในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในรูปบ้าง ย่อมไม่ตามเห็นเวทนา ...ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา ... ย่อมไม่ตามเห็นสังขารทั้งหลาย ... ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง ไม่ตามเห็นวิญญาณในตนบ้าง ไม่ตามเห็นตนในวิญญาณบ้าง อย่างนี้แล สักกายทิฏฐิจึงจะไม่มี


เข้าใจยากจังค่ะ ผู้รู้ช่วยปรับมาเป็นภาษาบ้านๆที่เข้าใจได้ง่ายๆหน่อยได้ไหมคะ
จะได้เดินตามบ้าง

ขอบพระคุณค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย ปารมิตา เมื่อ 07 มี.ค. 2010, 20:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

:b16: :b16: :b16:

:b12: :b12: :b12:

:b8: :b8: :b8:

ท่านกลับมาแล้ว....

:b8: :b8: :b8:

:b16: :b16: :b16:

:b17: :b17: :b17:

:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๖๗๑] บรรดาสัญโญชน์ ๓ นั้น สักกายทิฏฐิ เป็นไฉน?
ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไร้การศึกษา ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ไม่ได้ฝึกฝนในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกฝน
ในธรรมของสัตบุรุษ

ย่อมเห็นรูปเป็นตน
หรือเห็นตนมีรูป
เห็นรูปในตน
เห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนาเป็นตน
หรือเห็นตนมีเวทนา
เห็นเวทนาในตน
เห็นตนในเวทนา

ย่อมเห็นสัญญาเป็นตน
หรือเห็นตนมีสัญญา
เห็นสัญญาในตน
เห็นตนในสัญญา

ย่อมเห็นสังขารเป็นตน
หรือเห็นตนมีสังขาร
เห็นสังขารในตน
เห็นตนในสังขาร

ย่อมเห็นวิญญาณเป็นตน
หรือเห็นตนมีวิญญาณ
เห็นวิญญาณในตน
เห็นตนในวิญญาณ

ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ป่าชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ ความเห็นเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ ความผันแปรแห่งทิฏฐิ สัญโญชน์คือทิฏฐิ ความยึดถือ ความยึดมั่น ความตั้งมั่น ความถือผิด ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเป็นบ่อเกิดแห่งความพินาศ การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใดนี้เรียกว่า สักกายทิฏฐิ.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 08 มี.ค. 2010, 14:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 14:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฏฐิ ความคิดความเห็น การถือว่าเป็นตัวของตน โดยถือเป็นอันเดียวกับขันธ์ เกี่ยวเนื่องกับขันธ์.

สัตว์ หรือบุคคลผู้เกิด จึงเป็นผู้เกิดในความถือมั่นในทิฏฐินั้น (เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย).
ความถือมั่นถือว่าเป็นตัวของตน จึงเป็นการถือเอาโดย ความกำหนดที่เกิดแก่ปุถุชนในขันธ์ใดๆ ว่าเป็นตัวของตน. สมมติในขันธ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งจึงมีโดยอาการอย่างนั้น.


ดังนั้นจึงมีการแสดงไว้ ว่า “สมมติ” คือทิฏฐิ 62 ประการ. ปุถุชนผู้มีอวิชชาครอบงำ ย่อมเป็นผู้เข้าถึงสมมติทั้งปวง และยึดมั่นถือมั่นในสมมติเหล่านั้น โดยยึดมั่นในสักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าเป็นตัวของตน ซึ่งก็คือเป็นผู้มีอุปาทานขันธ์.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิอย่างไร?

เมื่อจักษุเกิดขึ้นแล้ว ชันตุชนก็รู้ว่าตนของเราเกิดขึ้นแล้ว. เมื่อจักษุหายไป ก็รู้ว่า ตนของเราหายไปแล้ว ตนของเราปราศจากไปแล้ว.ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

เมื่อโสตะ ... เมื่อฆานะ ...เมื่อชิวหา ... เมื่อกาย ... เมื่อรูป ... เมื่อเสียง ... เมื่อกลิ่น ... เมื่อรส ... เมื่อโผฏฐัพพะเกิดขึ้นแล้วชันตุชนก็รู้ว่า ตนของเราเกิดขึ้นแล้ว เมื่อโผฏฐัพพะหายไป ก็รู้ว่า ตนของเราหายไปแล้ว ตนของเราปราศจากไปแล้ว ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ คือ ให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้บังเกิดเฉพาะ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 14:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงจะละสักกายทิฐิได้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

ดูกรภิกษุ บุคคลรู้เห็นจักษุแลโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นรูปโดยความเป็นทุกข์จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นจักษุวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นจักษุสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้
รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยโดยความ
เป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้


บุคคลรู้เห็นหู ... รู้เห็นจมูก... รู้เห็นลิ้น... รู้เห็นกาย... รู้เห็นใจโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐได้ รู้เห็นธรรมารมณ์โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นมโนสัมผัสโดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้ รู้เห็นแม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นทุกข์ จึงจะละสักกายทิฐิได้

ดูกรภิกษุเมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละสักกายทิฐิได้ ฯ


เป็นทุกข์ เพราะแปรปรวน ไปกับเหตุปัจจัย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 14:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วนรอบปากอ่าวอีกรอบ

ย่อมเห็นรูปเป็นตน
หรือเห็นตนมีรูป
เห็นรูปในตน
เห็นตนในรูป

4 ลักษณะของอุปาทานขันธ์ อันก่อให้เกิดสักกายทิฏฐิ

แม้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เช่นเดียวกัน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พายเรือชมทุ่ง

เห็นรูปเป็นตน

เมื่อจักษุเกิดขึ้นแล้ว ชันตุชนก็รู้ว่าตนของเราเกิดขึ้นแล้ว. เมื่อจักษุหายไป ก็รู้ว่า ตนของเราหายไปแล้ว ตนของเราปราศจากไปแล้ว.ชันตุชนย่อมทำความตัดสินใจด้วยทิฏฐิ แม้ด้วยประการอย่างนี้.

แม้โสต...ฆานะ ...ชิวหา ...กาย ...รูป... เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ... ก็ด้วยนัยยะประการเดียวกันแล

หรือ เห็นตนมีรูป
การยึดมั่นถือมั่นย่อมเกิดแม้ ด้วยความยึดถือไปว่า ตนเป็นผู้มี จักษุ มีโสต..ฆานะ..ชิวหา..กาย..รูป..เสียง..กลิ่น..รส..โผฏฐัพพะ จึงกล่าวได้ว่า เห็นตนมีรูป

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 08 มี.ค. 2010, 15:17, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นรูปในตน
สักกายทิฏฐิ อันเป็นความยึดมั่นถือมั่นในรูปว่ามีในตน เช่นรูปที่จินตนาการขึ้นมาอันเป็นรูปที่เกิดจากการคิดในความคิด แล้วยึดเอาว่าเป็นตน การยึดถือเอาจากรูปที่จินตนาการขึ้นมานั้นเป็นอุปาทาน
แม้แต่ รูปที่เกิดจากญาณ นิรมิตด้วยญาณ ก็เช่นเดียวกัน


เห็นตนในรูป
สักกายทิฏฐิ อันเป็นความยึดมั่นว่าตนในญาณนั้น หรือในจินตนาการนั้นอันนิรมิตรูป อีกชั้นหนึ่ง

การที่ปุถุชนจะเข้าใจ สักกายทิฏฐิ ก็ให้เข้าใจว่า เป็นอุปาทานขันธ์ อันเกิดในจิตแต่ละขณะ

เมื่อเกิดในจิตแต่ละขณะ อุปาทานขันธ์ของปุถุชน ย่อม ประกอบไปด้วยขันธ์ 5
เมื่อมีอุปาทานขันธ์ในรูป
อุปาทานขันธ์ในอรูป คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมเป็นอุปาทานอันเกิดร่วมเกิดพร้อมกันไป

สมกับการกล่าวว่า "ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้"
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=2717&Z=2768&pagebreak=0

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 08 มี.ค. 2010, 16:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปนี้หาใช่ชีพไม่ :b39:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


[๕๓๕] รูปที่เรียกว่า รูปสันตติ นั้น เป็นไฉน?

ความเกิดแห่งรูป อันใด อันนั้น เป็นความสืบต่อแห่งรูป รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปสันตติ.

[๕๓๖] รูปที่เรียกว่า รูปชรตา นั้น เป็นไฉน?
ความชรา ความคร่ำคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยว ความ
เสื่อมอายุ ความหง่อมแห่งอินทรีย์ แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปชรตา.

[๕๓๗] รูปที่เรียกว่า รูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน?
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง ความอันตรธาน
แห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปอนิจจตา.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 10 มี.ค. 2010, 13:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มังกรน้อย... มาแล้วก็ไป ... พร้อม สัญญา
:b6: :b6:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 10 มี.ค. 2010, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
มังกรน้อย... มาแล้วก็ไป ... พร้อม สัญญา
:b6: :b6:


:b3: :b3:

ก็แบบว่า...โอ่งมังกร...ยังอายหง่ะ...
อยากร่วมหนุก...
แต่ยัง...กลิ้งไม่ค่อยเก่ง...
กลัว...สะดุดหิน...พลาดท่าให้ท่าน sup ขำกลิ้ง...

:b12: :b12: :b12: :b12:

เพราะจริง ๆ เท่าที่อ่าน ๆ มา ท่านเช่นนั้นยังกล่าวถึงรูป...
และท่าน sup มากล่าวถึงชีพ...

ซึ่งจริง ๆ เอกอนยังไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่า ชีพ นั้น ท่าน sup หมายถึงองค์ประกอบอันใด...

จึงได้คิดไปเทียบเคียง...ว่ามันน่าจะเป็น... กระยึกกระหยึ๋ย...

ซึ่ง...โดยนัยแล้ว กระยึกกระหยึ๋ย... ก็ไม่ได้ตั้งอยู่ได้ด้วย กระยึกกระหยึ๋ย...เอง...

เอกอนก็เลย... เผลอตัว ออกมารำพัน... :b3: :b3:

เมื่อคิดได้... ว่า ชีพ นั้น ยังไม่แจ้ง...ว่ามันคือ กระยึกกระหยึ๋ย...อย่างที่เอกอนเข้าใจไปรึเปล่า...

จึงหันกลับมา....หอบมันกลับบ้านก่อน....

ไว้...ชีพ...นั้น ท่าน sup กลับมาขยายความชัดแจ้งกว่านี้....

ค่อยว่ากันใหม่.... :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 10 มี.ค. 2010, 15:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร