วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 01:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
โดย...พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
(ศิษย์หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา)


คำนำของหลวงพ่อ


หนังสือคู่มือปฏิบัตินี้ ผู้เขียน เขียนขึ้นเพราะปรารภนักปฏิบัติกรรมฐานที่มาเรียนกรรมฐานกับผู้เขียน การสอนที่สอนแก่นักปฏิบัติส่วนใหญ่ก็สอนแก่การปฏิบัติ สำหรับความรู้ทั่วไปนั้น ไม่มีโอกาสได้สอน ทั้งนี้ เพราะนักปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่มีเวลาพักอยู่ได้นานวัน มักจะมาขอให้ฝึกเพื่อผลทางปฏิบัติเท่านั้น ฝึกแล้วก็กลับ ฉะนั้น เมื่อมีอารมณ์ข้อขัดข้องขึ้นมา จึงไม่สามารถจะทราบด้วยตนเองได้ บางรายอยู่ไกลถึงต่างจังหวัด กว่าจะมาพบอาจารย์ผู้ฝึกได้ก็ล่วงเวลาไปมาก เป็นการเสียผลในทางปฏิบัติ คณะศิษย์ส่วนใหญ่ขอร้องให้เขียนแนวการสอนให้ไว้เป็นหลักปฏิบัติ เรื่องเขียนไว้เป็นตำรานี้ ผู้เขียนเองก็หนักใจไม่น้อยเลย เพราะความรู้ในทางปฏิบัตินี้ ผู้เขียนเองก็รู้อะไรไม่มากมายนัก รู้เท่าที่จำได้จากครูผู้สอนบ้าง จากบรรดาคณาจารย์ต่าง ๆ ที่กรุณาแนะนำให้บ้าง จากตำราบ้าง แต่ต่อมาตำรับตำราก็ไม่ใคร่ได้สำรวจตรวจสอบ เมื่อทนต่อการขอร้องไม่ไหวก็ต้องเขียนไว้ตามแต่จะจำได้ ฉะนั้น หนังสือเล่มนี้อาจมีข้อบกพร่องอยู่มาก หากท่านผู้รู้เห็นข้อผิดพลาดที่มีขึ้นประการใด โปรดแจ้งตรงไปยังผู้เขียน ผู้เขียนขอน้อมรับคำตักเตือนนั้นด้วยความเคารพอย่างยิ่ง

การเขียนหนังสือนี้ ได้รับกำลังใจจากบรรดาคณะศิษยานุศิษย์เป็นอันดี ต่างก็ให้กำลังใจสนับสนุนในการเขียนคราวนี้ ผู้เขียนขออนุโมทนาท่านทั้งหลายที่ให้กำลังใจในการเขียนคราวนี้ทุกท่าน ขอทุกท่านตามที่มีนามในหนังสือนี้ จงเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น ทั้งความสุขในการบริหารความเป็นอยู่ และขอให้บรรลุผลในการเจริญสมณธรรม สมความมุ่งหมายที่ตั้งใจไว้จงทุกท่านเถิด

ความดีที่พึงมีจากหนังสือนี้บ้างเพียงใด ผู้เขียนขออุทิศความดีนี้ถวายแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ และพระอริยสาวกทุก ๆ ท่าน ที่ทุก ๆ ท่านได้มีความเกื้อกูลให้ความรู้ความเข้าใจ และนำเอาความรู้นี้มาสอนเวไนยพุทธบริษัทสืบ ๆ มาจนถึงยุคปัจจุบัน และขออุทิศความดีที่มีจากหนังสือนี้บูชาคุณครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่กรุณาแนะ นำสั่งสอนผู้เขียนมามากบ้างน้อยบ้าง แต่ผู้เขียนก็เคารพว่าทุกท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงของผู้เขียน เสมอมา ครูบาอาจารย์ที่สอนในส่วนปฏิบัติกรรมฐานนี้มีมากท่านด้วยกัน อาจจะหลงลืมชื่อเสียงของท่านไปบ้างก็ต้องกราบขออภัยมาในที่นี้ด้วย เท่าที่จำได้ในขณะนี้คือ

๑. พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน สุทธาวงษ์) วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นปฐมาจารย์ ผู้สั่งสอนเป็นองค์แรก สอนกรรมฐานทุกตอนจนถึงพระนิพพาน และพยายามฝึกฝนให้จนมีความเข้าใจในการปฏิบัติกรรมฐาน จนมีความเข้าใจรอบ ๆ พอควรแก่ปัญญาของผู้เขียน
๒. หลวงพ่อเล็ก เกสโร อาจารย์ที่สองรองจากหลวงพ่อปาน เป็นตัวแทนหลวงพ่อปาน ในการควบคุมดูแลในการปฏิบัติเบื้องต้น ท่านอยู่วัดบางนมโค เช่นเดียวกัน
๓. พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔. หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๕. หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๖. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๗. พระครูรัตนาภิรมย์ พระอุปัชฌาย์ของผู้เขียน วัดบ้านแพน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๘. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
๙. หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๐. หลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
๑๑. พระครูสุวรรณพิทักษ์บรรพต เจ้าคณะ ๑๑ วัดสระเกศ จังหวัดพระนคร
๑๒. ท่านเจ้าคุณ พระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี
๑๓. ท่านเจ้าคุณ พระธรรมปาหังสณาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส วัดประยูรวงศาวาส
๑๔. ท่านเจ้าคุณ พระมหาโพธิวงศาจารย์ เจ้าอาวาส วัดอนงคาราม จังหวัดธนบุรี
๑๕. พระเดชพระคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส วัดอนงคาราม จังหวัดธนบุรี
๑๖. พระอาจารย์เกษม วัดดาวดึงสาวาส จังหวัดธนบุรี
๑๗. พระอาจารย์ทอง วัดราษฏรสุนทรเจริญ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
๑๘. ท่านอาจารย์สุข ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ตามที่กล่าวนามมาแล้วนี้ ทุกท่านมีความดี เคยแนะนำสั่งสอนผู้เขียนมามากบ้าง น้อยบ้าง แต่ละท่านต่างก็แนะนำสั่งสอนเพื่อให้เข้าใจในปฏิปทาการปฏิบัติด้วยดี ทำให้ผู้เขียนได้รับความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมขึ้นอีกมาก ฉะนั้น ความดีที่พึงมีจากหนังสือนี้ แม้เป็นหนังสือมีข้อความย่อ พอเป็นหัวข้อในการปฏิบัติ จะไม่ละเอียดลออพอที่จะเป็นตำราได้ก็ตาม ผู้เขียนขออุทิศความดีนี้บูชาคุณทุกท่านตามที่กล่าวนามมาแล้ว

ส่วนความผิดพลาดที่จะพึงมีในหนังสือเล่มนี้มากน้อยเพียงใด ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่ผู้เดียว ที่ผิดเพราะความโง่เขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้เขียนแน่นอน ส่วนที่ครูบาอาจารย์สอนมานั้นไม่ผิดแน่

ที่สุดนี้ ขอทุกท่านที่ได้รับและอ่านหนังสือนี้ จงเจริญผ่องใส มีอารมณ์ใจเต็มเปี่ยมด้วยผลปฏิบัติพระกรรมฐานจงทุกท่านเทอญ

พระมหาวีระ ถาวโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


แก้ไขล่าสุดโดย krit_2112_tt เมื่อ 08 ก.พ. 2010, 13:55, แก้ไขแล้ว 7 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


อัชฌาสัย


ความต้องการของอารมณ์ เรียกว่า อุดมคติ หรือแบบที่ผู้ใหญ่โบราณสักหน่อย เรียกว่า อัชฌาสัย หรืออุดมคติ อัชฌาสัยในการปฏิบัติมี ๔ อย่างด้วยกัน คือ

๑. อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก

บางคนชอบแบบสุกเอาเผากิน เรื่องความละเอียดเรียบร้อย การรู้เล็กรู้น้อย แสดงฤิทธิ์ อวดเดชเดชาอะไรนั้น ไม่มีความต้องการ หวังอย่างเดียวคือความบรรลุผล ท่านประเภทนี้พระพุทธเจ้ามีแบบปฏิบัติไว้ให้เรียกว่า สุกขวิปัสสโก คือปฏิบัติแบบสบาย เริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เรื่องศีลนี้นักปฏิบัติต้องสนใจเป็นพิเศษถ้าหวังผลในการปฏิบัติแล้ว อย่าให้ศีลพร่องโดยเด็ดขาด แม้แต่ด่างพร้อยก็อย่าให้มี ถ้าท่านเห็นว่าศีลเป็นของเล็กน้อย ปฏิบัติยังขาด ๆ เกิน ๆ แล้ว ท่านไม่มีหวังในมรรคผลแน่นอน เมื่อมีศีลครบถ้วนบริสุทธิ์ผุดผ่องดีแล้ว ท่านก็ให้เจริญสมาธิ ตอนสมาธินี้ ท่านฝ่ายสุกขวิปัสสโกท่านไม่เอาดีทางฌานสมาบัติ พอมีสมาธิเล็กน้อยก็เจริญวิปัสสนาญาณควบคู่กันไปเลย คุมสมาธิบ้าง เจริญวิปัสสนาบ้าง พอสมาธิที่รวบรวมได้ทีละเล็กละน้อย เมื่อมีสมาธิเข้าถึงปฐมฌานวิปัสสนา ก็มีกำลังตัดกิเลสได้จะได้มรรคผลก็ตอนที่สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน หากมีสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌานเพียงใดจะได้มรรคผลไม่ได้ นี้เป็นกฏตายตัว เพราะมรรคผลต้องมีฌานเป็นเครื่องรู้ ฌานนี้จะบังเกิดขึ้นเมื่อจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิ คือเกือบถึงปฐมฌาน ห่างกันระหว่างปฐมฌานกับอุปจารฌานนั้น เพียงเส้นผมเดียวเท่านั้น จิตเมื่อตั้งมั่นในอุปจารสมาธิแล้ว ก็จะเกิดทิพยจักษุฌาน คือเห็นสิ่งที่เป็นทิพย์ และได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ เพราะตามธรรมดาจิตนั้นเป็นทิพย์อยู่แล้ว ที่ต้องมาชำระกันใหม่ด้วยการฝึกสมาธิ ก็เพราะจิตถูกนิวรณ์ คืออกุศลห่อหุ้มไว้ ได้แก่ความโลภอยากได้ไม่มีขอบเขต ความผูกโกรธ คือพยาบาทจองล้างจองผลาญ ความง่วงเมื่อขณะปฏิบัติทำสมาธิ ความคิดฟุ้งซ่านของอารมณ์ในขณะฝึกสมาธิ ความสงสัยในผลปฏิบัติโดยคิดว่า จะได้หรือ จะสำเร็จหรือ ทำอย่างนี้จะสำเร็จได้อย่างไร ความสงสัยไม่แน่ใจอย่างนี้ เป็นนิวรณ์กั้นฌานไม่ให้เกิด รวมความแล้ว ทั้งห้าอย่างนี้นั่นแหละ แม้เพียงอย่างเดียว ถ้าอารมณ์ของจิตยังข้องอยู่ฌานจะไม่เกิด จะคอยกีดกันไม่ให้จิตผ่องใส มีอารมณ์เป็นทิพย์ตามสภาพปกติได้ จิตเมื่อถูกอกุศลห้าอย่างนี้หุ้มห่อก็มีอารมณ์มืดมนท์รู้สิ่งที่เป็นทิพย์ ไม่ได้ เพราะอำนาจอกุศลคือนิวรณ์ห้านี้จะพ้นจากจิตไปได้ก็ต่อเมื่อจิตทรงอารมณ์ของ ฌานไว้ได้เท่านั้น ถ้าจิตทรงอารมณ์ปฐมฌานไม่ได้ จิตก็ต้องตกเป็นทาสของนิวรณ์ อารมณ์ปฐมฌานนั้นมี ๕ เหมือนกัน คือ

๑. วิตก คำนึงถึงองค์กรรมฐานที่ฝึกตลอดเวลา

๒. วิจาร ใคร่ครวญกำหนดรู้ตามในองค์กรรมฐานนั้น ๆ ไม่ให้บกพร่องตรวจตราพิจารณาให้ครบถ้วนอยู่เสมอ ๆ

๓. ปิติ มีความเอิบอิ่มรื่นเริงหรรษา ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติพระกรรมฐาน

๔. สุข เกิดความสุขสันตหรรษาทางกายอย่างไม่เคยปรากฏมาในกาลก่อน มีความสุขสดชื่นบอกไม่ถูก

๕. เอกกัคคตารมณ์ มีอารมณ์มั่นคงในองค์กรรมฐาน จิตกำหนดตั้งมั่นไม่คลาดจากองค์กรรมฐานนั้น ๆ

ทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน เมื่อเข้าถึงตอนนี้จิตก็เป็นทิพย์มากสามารถกำหนดจิตรู้ในสิ่งที่เป็นทิพย์ ได้ ก็ผลของวิปัสสนา คือมรรคผลนั้น การที่จะบรรลุถึงได้ต้องอาศัยทิพยจักษุญาณเป็นเครื่องชี้ ตามที่ท่านกล่าวไว้ว่าเมื่อภิกษุบรรลุแล้วก็มีญาณบอกว่ารู้แล้ว ที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็ทรงหมายเอาญาณที่เป็นทิพยจักษุญาณนี้ ถ้าบรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนวิสุทธิ วิมุตติแปลว่า หลุดพ้น ญาณแปลว่า รู้ ทัสสนะแปลว่า เห็น วิสุทธิแปลว่า หมดจดอย่างวิเศษ คือ หมดไม่เหลือ หรือสะอาดที่สุด ไม่มีอะไรสกปรก (บอกไว้เพื่อรู้)

ฉะนั้น ท่านสุกขวิปัสสโก ถึงแม้ท่านจะรีบปฏิบัติแบบรวบรัดอย่างไรก็ตาม ท่านก็ต้องอาศัยฌานในสมถะจนได้ แต่ได้เพียงฌานเด็ก ๆ คือปฐมฌาน เป็นฌานกระจุ๋มกระจิ๋มเอาดีเอาเด่นในเรื่องฌานไม่แน่นอนนัก กล่าวโดยย่อก็คือ

๑. ท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ ชนิดไม่ทำเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีในเมื่อคนอื่นทำบาป

๒. ท่านเจริญสมาธิควบกับวิปัสสนา จนสมาธิรวมถึงปฐมฌาณแล้ว ท่านจึงจะได้สำเร็จมรรคผล

ท่านสุกขวิปัสสโก มีกฏปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านจึงเรียกว่า สุกขวิปัสสโก แปลว่า บรรลุแบบง่าย ๆ ท่านไม่มีฌานสูง ท่านไม่มีญาณพิเศษอย่างท่านวิชชาสาม ท่านไม่มีฤิทธิ์ ท่านไม่มีความรู้พิเศษอะไรทั้งสิ้น เป็นพระอรหันต์ประเภทรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ไม่มีคุณพิเศษอื่นนอกจากบรรลุมรรคผล

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


แก้ไขล่าสุดโดย krit_2112_tt เมื่อ 08 ก.พ. 2010, 13:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อัชฌาสัยเตวิชโช

อัชฌาสัยเตวิชโช หมายถึงท่านที่มีอุดมคติในด้านวิชาสาม คือทรงคุณสามประการ ในส่วนแห่งการปฏิบัติ ได้แก่คุณธรรมดังต่อไปนี้

๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติที่แล้ว ๆ มาได้

๒. จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้ว และเกิดมานี้ ตายแล้วไปไหน ก่อนเกิดมาจากไหน

๓. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวกิเลสให้สิ้นไป

เมื่อพิจารณาตามคุณพิเศษสามประการนี้แล้ว แสดงให้เห็นว่าท่านที่มีอุดมคติในด้านเตวิชโชนี้ ท่านเป็นคนอยากรู้อยากเห็น เมื่อพบเห็นอะไรเข้าก็เป็นเหตุให้คิดนึกถึงสมุฏฐานที่เกิด ว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดมาจากอะไร เดิมก่อนจะเป็นอย่างนั้น เป็นอะไรมาก่อน เช่นเห็นของที่มีวัตถุปกปิด ก็อยากจะแก้วัตถุที่ปกปิดนั้นออก เพื่อสำรวจตรวจดูของภายใน เห็นของภายในว่าเป็นอะไรแล้ว ก็อยากจะรู้ต่อไปว่า ภายในของนั้นมีอะไรบ้าง ทำด้วยอะไร เมื่อรู้แล้วก็อยากรู้ต่อไปว่า ภายในของนั้นมีอะไรบ้าง ทำด้วยอะไร เมื่อรู้แล้วก็อยากรู้ต่อไปว่า สิ่งนั้น ๆ เกิดมาได้อย่างไร อย่างนี้เป็นต้น

ท่านประเภทเตวิชโชนี้ จะให้ท่านทำตนเป็นคนหวังผลอย่างเดียว โดยไม่ให้พิสูจน์ค้นคว้าเลยนั้น ท่านประเภทนี้ทนไม่ไหว เพราะอัชฌาสัยไม่ชอบประเภทคลุมหน้าเดินโดยที่ไม่ได้พิสูจน์ต้นทางปลายทาง เสียก่อน ถ้าต้องทำแบบคลุมหน้าเดินอย่างท่านสุกขวิปัสสโกแล้วท่านก็ทนไม่ไหว รำคาญใจหยุดเอาเฉย ๆ คนประเภทนี้เคยพบมาในขณะสอนสมณธรรมมีจำนวนมาก ประเภทเตวิชโชนั้น ส่วนใหญ่มักชอบรู้ชอบเห็นพอให้วิปัสสนาล้วนเธอเข้า เธอก็บ่นอู้อี้ว่าไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย ต่อเมื่อให้กรรมฐานประเภททิพยจักษุญาณ หรือมโนมยิทธิื เธอก็พอใจ ทำได้อย่างไม่เห็นแก่เหน็จเหนื่อย จะยากลำบากก็ทนทำจนสำเร็จผล ทางที่ได้พิสูจน์มาเป็นอย่างนี้

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


แก้ไขล่าสุดโดย krit_2112_tt เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 08:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวปฏิบัติสำหรับเตวิชโช

ทราบแล้วว่า เตวิชโชมีอะไรบ้าง ขอนำแนวปฏิบัติมาเขียนไว้ เพื่อรู้แนวทาง หากท่านผู้อ่านประสงค์จะรู้หรือนำไปปฏิบัติ ก็จะสะดวกในการค้นคว้า เตวิชโชหรือท่านผู้ทรงวิชชาสาม มีปฏิทาในการปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑. การรักษาศีลให้สะอาดหมดจด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด

๒. ฝึกสมาธิในกรรมฐานที่มีอภิญญาเป็นบาท คือกสิณกองใดกองหนึ่งที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุญาณ กสินที่เป็นสมุฏฐานให้เกิดทิพยจักษุญาณนั้นมีอยู่สามกองด้วยกัน คือ
๑. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
๒. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
๓. โอทาตกสิณ เพ่งสีขาว

กสิณทั้งสามอย่างนี้ อย่างใดก็ตาม เป็นพื้นฐานให้ได้ทิพยจักษุญาณทั้งสิ้น แต่ตามนัยวิสุทธิมรรคท่านกล่าวว่า ในบรรดากสิณทั้งสามอย่างนี้ อาโลกกสิณเป็นกสิณสร้างทิพยจักษุญาณโดยตรง ท่านว่าเจริญอาโลกกสิณนั่นแหละเป็นการดี

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีเจริญอาโลกกสิณเพื่อทิพยจักษุญาณ การสร้างทิพยจักษุญาณด้วยการเจริญอาโลกกสิณนั้น ท่านให้ปฏิบัติดังนี้ ท่านให้เพ่งแสงสว่างที่ลอดมาทางช่องฝาหรือหลังคาให้กำหนดจิตจดจำภาพแสงสว่าง นั้นไว้ให้จำได้ดี แล้วหลับตากำหนดนึกถึงภาพแสงสว่างที่มองเห็น ภาวนาในใจ พร้อมทั้งกำหนดนึกถึงภาพนั้นไปด้วย ภาวนาว่า "อาโลกกสิณัง" แปลว่า แสงสว่าง กำหนดนึกไป ภาวนาไป ถ้าภาพแสงสว่างนั้นเลอะเลือนจากไป ก็ลืมตาดูใหม่ ทำอย่างนี้เรื่อยไป จนภาพนั้นติดตาติดใจ นึกคิดขึ้นมาเมื่อไร ภาพนั้นก็ปรากฏแก่ใจตลอดเวลา ในขณะที่กำหนดจิตคิดเห็นภาพนั้น ระวังอารมณ์จิตจะซ่านออกภายนอก และเมื่อจิตเริ่มมีสมาธิ ภาพอื่นมักจะเกิดขึ้นมาสอดแทรกภาพกสิณ เมื่อปรากฏว่ามีภาพอื่นสอดแทรกเข้ามาจงตัดทิ้งเสีย โดยไม่ยอมรับรู้รับทราบ กำหนดภาพเฉพาะภาพกสิณอย่างเดียว ภาพแทรกเมื่อเราไม่สนใจใยดี ไม่ช้าก็ไม่มารบกวนอีก เมื่อภาพนั้นติดตาติดใจจนเห็นได้ทุกขณะจิตที่ปราถนาจะเห็นได้แล้วและเป็นภาพ หนาใหญ่จะกำหนดจิตให้ภาพนั้นเล็ก ใหญ่ได้ตามความประสงค์ ให้สูงต่ำก็ได้ตามใจนึก เมื่อเป็นได้อย่างนั้นก็อย่าเพิ่งคิดว่าได้แล้ว ถึงแล้ว จงกำหนดจิตจดจำไว้ตลอดวันตลอดเวลา อย่าให้ภาพแสงสว่างนั้นคลาดจากจิต จงเป็นคนมีเวลา คืออย่าคิดว่า เวลานั้นเถอะเวลานี้เถอะจึงค่อยกำหนด การเป็นคนไม่มีเวลาเพราะหาเวลาเหมาะไม่ได้นั้น ท่านว่าเป็นอภัพบุคคลสำหรับการฝึกญาณ คือเป็นคนหาความเจริญไม่ได้ ไม่มีทางสำหรับมรรคผล เท่าที่ตนปราถนานั่นเอง ต้องมีจิตคิดนึกถึงภาพกสิณตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ ไม่ยอมให้ภาพนั้นคลาดจากจิต ไม่ว่า กิน นอน นั่ง เดิน ยืน หรือทำกิจการงาน ต่อไปไม่ช้าภาพกสิณก็จะค่อยคลายจากสีเดิม เปลี่ยนเป็นสีใสประกายพรึกน้อย ๆ และค่อย ๆ ทวีความสดใสประกายมากขึ้น ในที่สุดก็จะปรากฏเป็นสีประกายสวยสดงดงาม คล้ายดาวประกายพรึกดวงใหญ่ ตอนนี้กำหนดจิตให้ภาพนั้นเล็ก โต สูง ต่ำ ตามความต้องการ การกำหนดภาพเล็ก โต สูง ต่ำ และเคลื่อนที่ไปมาอย่างนี้ จงพยายามทำให้คล่อง จะเป็นประโยชน์ตอนฝึกมโนมยิทธิ คือ ถอดจิตออกท่องเที่ยวมาก เมื่อภาพปรากฏประจำจิตไม่คลาดเคลื่อนเลื่อนได้รวดเร็ว เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์คล่องแคล่วว่องไวดีแล้ว ก็เริ่มฝึกทิพยจักษุญาณได้แล้ว เมื่อฝึกถึงตอนนี้ มีประโยชน์ในการฝึกทิพยจักษุญาณ และฝึกมโนมยิทธิ คือถอดจิตออกท่องเที่ยว และมีผลในญาณต่าง ๆ ที่เป็นบริวารของทิพยจักษุญาณทั้งหมด เช่น

๑. ได้จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ที่ตายไปแล้วไปเกิด ณ ที่ใด ที่มาเกิดนี้มาจากไหน

๒. เจโตปริยญาณ รู้อารมณ์จิตของคนและสัตว์

๓. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติที่เกิดมาแล้วในกาลก่อนได้

๔. อตีตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในอดีตได้

๕. อนาคตังสญาณ รู้เหตุการณ์ในกาลข้างหน้าต่อไปได้

๖. ปัจจุปปันนังสญาณ รู้เหตุปัจจุบันว่า ขณะนี้อะไรเป็นอะไรได้

๗. ยถากัมมุตาญาณ รู้ผลกรรมของสัตว์ บุคคล เทวดา และพรหมได้ว่าเขามีสุขมีทุกข์เพราะผลกรรมอะไรเป็นเหตุ

การฝึกกสิณจนถึงระดับดีมีผลมากอย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงอย่าท้อถอย สำหรับวันเวลาหรือไม่นานตามที่ท่านคิดหรอก จงอย่าเข้าใจว่าต้องใช้เวลาแรมปี คนว่าง่ายสอนง่ายปฏิบัติตามนัยพระพุทธเจ้าสั่งสอนแล้ว ไม่นานเลย นับแต่อย่างเลวจัด ๆ ก็สามเดือน เป็นอย่างเลวมาก อย่างดีมากไม่เกินเจ็ดวันเป็นอย่างช้า ทั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะท่านผู้นั้นเคยได้ทิพยจักษุญาณมาในชาติก่อน ๆ ก็ได้ เพราะท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า "ท่านที่เคยได้ทิพยจักษุญาณมาในชาติก่อน ๆ แล้วนั้น พอเห็นแสงสว่างจากช่องแสงหรือหลังคา ก็ได้ทิพยจักษุญาณทันที" เคยพบมาหลายคนเหมือนกัน แม้แต่มโนมยิทธิซึ่งเป็นของยากกว่าหลายร้อยรายที่พอฝึกเดี๋ยวนั้น ไม่ทันถึงชั่วโมงเธอก็ได้เลย ทำเอาครูอายเสียเกือบแย่ เพราะครูเองก็ย่ำต๊อกมาแรมเดือน แรมปี กว่าจะพบดี เอาความรู้นี้มาสอนได้ ก็ต้องบุกป่าบุกโคลน ขึ้นเขาลำเนาไม้เสียเกือบแย่ แต่ศิษย์คว้าปับได้ปุบอย่างนี้ ครูจะไม่อาย แล้วจะไปรออายกันเมื่อไร แต่ก็ภูมิใจอยู่นิดหนึ่งว่า ถึงแม้ครูจะทึบ ก็ยังมีโอกาสมีศิษย์ฉลาดพออวดกับเขาได้

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


กำหนดภาพถอดถอน เมื่อรู้อานิสงค์อาโลกกสิณแล้ว ก็จะได้แนะวิธีใช้ญาณจากฌานในกสิณต่อไป การเห็นภาพเป็นประกายและรักษาภาพไว้ได้นั้นเป็นฌาน ต้องการดูนรกสวรรค์ พรหมโลก หรืออะไรที่ไหน จงทำดังนี้ กำหนดจิตจับภาพกสิณตามที่กล่าวมาแล้วให้มั่นคง ถ้าอยากดูนรก ก็กำหนดจิตต่ำลงแล้วอธิษฐานว่าขอภาพนี้จงหายไป ภาพนรกจงปรากฏขึ้นมาแทน เท่านี้ภาพนรกก็จะปรากฏ อยากดูสวรรค์ก็กำหนดจิตให้สูงขึ้น แล้วคิดว่า ขอภาพกสิณจงหายไป ภาพสวรรค์จงปรากฏแทน ภาพพรหม หรือภาพอื่น ๆ ก็ทำเหมือนกัน ถ้าฝึกกสิณคล่องแล้วไม่มีอะไรอธิบายอีกเพราะภาพอื่นที่จะเห็น ก็เพราะเห็นภาพกสิณก่อน แล้วกำหนดจิตให้ภาพกสิณหายไป เอาภาพใหม่แทน การเห็นก็เห็นทางใจเช่นเดียวกับภาพกสิณ แต่ชำนาญแล้วก็เห็นชัดเหมือนเห็นด้วยตา เล่นให้คล่อง จนพอคิดว่าจะรู้ก็รู้ได้ทันใด ไม่ว่าตื่นนอนใหม่ กำลังง่วงจะนอน ร้อน หนาว ปวด เมื่อย หิว เจ็บ ไข้ได้ป่วยทำได้ทุกเวลาอย่างนี้ ก็ชื่อว่าท่านได้กสิณกองนี้แล้วและได้ทิพยจักษุญาณแล้ว เมื่อได้ทิพยจักษุญาณเสียอย่างเดียว ญาณต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ไม่มีอะไรจะต้องทำ ได้ไปพร้อม ๆ กัน เว้นไว้แต่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ท่านว่าต้องมีแบบฝึกต่างหาก แต่ตามผลปฏิบัติพอได้ทิพยจักษุญาณเต็มขนาดแล้ว ก็เห็นระลึกชาติได้กันเป็นแถว ใครจะระลึกได้มากได้น้อยเป็นเรื่องของความขยันและขี้เกียจ ใครขยันมากก็ระลึกได้มาก ขยันน้อยก็ระลึกได้น้อย ขยันมากคล่องมาก ขยันน้อยคล่องน้อย ไหน ๆ ก็พูดมาถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณแล้ว ขอนำวิธีฝึกปุพเพนิวาสานุสสติญาณมากล่าวต่อกันไว้เสียเลย

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ฝึกปุพเพนิวาสานุสสติญาณ การเจริญปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือฝึกวิชาการระลึกชาตินั้น ท่านให้ทำดังต่อไปนี้ ท่านให้เข้าญาณ ๔ ในกสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องเป็นฌานในกสิณ อย่างอื่นไม่ได้ นี่ว่าเฉพาะคนฝึกใหม่ ไม่เคยได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณมาในชาติก่อน ๆ เมื่อเข้าฌาน ๔ แล้ว ออกจากฌาน ๔ มาพักอารมณ์อยู่เพียงอุปจารฌาน (เรื่องฌานและอุปจาณฌานนี้ขอให้ทำความเข้าใจเอาตอนที่ว่าด้วยฌานจะเขียนต่อ ไปข้างหน้า หากประสงค์จะทราบก็ขอให้ติดตามอ่านในบทต่อ ๆ ไป ในข้อที่ว่าด้วยฌาน) เมื่อพักจิตอยู่เพียงอุปจารณฌานแล้ว ก็ค่อย ๆ คิดย้อนถอยหลังถึงเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วในอดีตตั้งแต่เมื่อตอนสายของวัน ถอยไปตามลำดับถึงวันก่อน ๆ เดือนก่อน ๆ ปีก่อน ๆ และชาติก่อน ๆ ตามลำดับ ถ้าจิตฟุ้งซ่านก็พักคิดเข้าฌานใหม่ พอจิตสบายก็ถอยออกมา แล้วถอยไปตามที่กล่าวแล้ว ไม่นานก็จะค่อย ๆ รู้ค่อย ๆ เห็น การรู้การเห็นเป็นการรู้เห็นด้วยกำลังฌาน อันปรากฏเป็นรูปของฌาน คือ รู้เห็นทางใจ อย่างเดียวกับทิพยจักษุญาณเห็นคล้ายดูภาพยนต์ เห็นภาพพร้อมกับรู้เรื่องราวต่าง ๆ พร้อมกันไปรู้ชื่อ รู้อาการ รู้ความเป็นมาทุกอย่าง เป็นการสร้างความเพลิดเพลินแก่นักปฏิบัติ ทำให้เกิดความรื่นเริงหรรษา มีความสบายใจเป็นพิเศษ ดีกว่ามั่วสุมกับคนมาก ที่เต็มไปด้วยกิเลสและตัณหา มีประโยชน์ในการเจริญวิปัสสนาญาณมาก เพราะรู้แจ้งเห็นจริงว่า การเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด หาที่สุดมิได้นี้เป็นความจริง การเกิดแต่ละครั้งก็เต็มไปด้วยความทุกข์ทุรนทุรายไม่มีอะไรเป็นสุข บางคราวเกิดในตระกูลยากจน บางคราวเกิดในตระกูลเศรษฐี บางคราวเกิดในตระกูลกษัตริย์ ทรงอำนาจวาสนา บางคราวเกิดเป็นเทวดา บางคราวเกิดเป็นพรหม บางคราวเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย สัตว์เดียรัจฉาน รวมความว่าเราเป็นมาแล้วทุกอย่าง ไม่ว่าเกิดเป็นอะไรก็เต็มไปด้วยความทุกข์ หาการพ้นทุกข์เพราะการเกิดไม่ได้เลย เมื่อเห็นทุกข์ในการเกิด ก็เป็นการเห็นอริยสัจ ๔ จัดว่าเป็นองค์วิปัสสนาญาณ อันดับสูง การเห็นด้วยปัญญาญาณจัดเข้าในประเภทรู้แจ้งเห็นจริง ไม่ใช่เห็นแบบวิปัสสนึก คือการคาดคะเนเดาเอาเอง เดาผิดบ้างถูกบ้างตามอารมณ์คิดได้บ้าง หลง ๆ ลืม ๆ บ้าง เป็นวิปัสสนึกที่ให้ผลช้าอาจจะเข้าใจอริยสัจได้แต่ก็นานมาก และทุลักทุเลเกินสมควรที่เหลวเสียนั่นแหละมาก ส่วนที่ได้เป็นมรรคผลมีจำนวนน้อยเต็มทน

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึง...เพื่อน ๆ ทั้งหลายในธรรมจักร.เน็ต ทั้งที่แวะเข้ามาดูกันออกจะบ่อย ๆ และไม่ค่อยบ่อยยยย กันทุกท่าน ทุกนาม...ครับ

ผมนายกฤษฏ์...ผมยอมรับว่าห่างหายไปจากกะทู้นี้ ก็หลายเพลาอยู่ สาเหตุก็เพื่อที่จะได้ให้ท่านผู้อ่านกะทู้นี้ หากท่านใดมีความสนใจที่จะฝึก "กรรมฐาน" จะได้มีเวลาทบทวนบทเรียน , ตรวจตราบทความที่ผมได้โพสต์เข้ามาให้อ่านกันครับ...เพื่อนพ้องพี่น้องพี่

ผมนายกฤษฏ์...เองก็กำลังใช้เวลาว่าง หมั่นฝึกและปฏิบัติอยู่เหมือนกันครับ คืบหน้ายังไงผมจะนำมาเล่าสู่กันฟังเรื่อย ๆ และจะโพสต์บทต่อ ๆ ไปเข้ามาให้ท่าน ๆ ได้อ่านกันอีกเป็นระยะ ๆ นะครับ...จาก...นายกฤษฏ์ครับ

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2010, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ผ่อนคลายมานะ นอกจากจะทราบประวัติของตนเองในอดีตชาติแล้ว ยังช่วยทำให้มีปัญญาญาณรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจได้โดยง่าย ยิ่งกว่านั้นยังคลายมานะ ความถือตนถือตัว อันเป็นกิเลสตัวสำคัญ ที่แม้พระอนาคามีก็ยังตัดไม่ได้จะตัดได้ก็ต่อเมื่อถึงอรหัตตผลนั่นแหละ แต่เมื่อท่านได้ญาณนี้แล้ว ถ้าท่านคิดรังเกียจใคร คนหรือสัตว์ รังเกียจในความโสโครก หรือฐานะ ชาติตระกูล ท่านก็ถอยหลังชาติเข้าไปหาว่า ชาติใด เราเคยเป็นอย่างนี้บ้าง ท่านจะพบว่าท่านเองเคยครองตำแหน่งนี้มาก่อน เมื่อพบแล้ว จงเตือนใจตัวเองว่า เมื่อเราเป็นอย่างเขามาก่อน เขากับเราก็มีสภาพเสมอกัน เราเป็นอย่างนั้นมาก่อนเขา เขากับเรามีสภาพเสมอกัน เราเป็นอย่างนั้นมาก่อนเขา ก็ชื่อว่าเราเป็นต้นตระกูล สภาพการณ์อย่างนั้น ที่เขาเป็นอย่างนั้น เพราะเขารับมรดกตกทอดมาจากเรา เราจะมารังเกียจทายาทของเราด้วยเรื่องอะไร ถ้าเรารังเกียจทายาท ก็ควรจะรังเกีนจตัวเองให้มากกว่า เพราะทราบแล้วว่าเป็นอย่างนั้นไม่ดี เป็นที่น่ารังเกียจ เราทำไมจึงไม่ทำลายกรรมนั้นเสีย กลับปล่อยให้เป็นมรดกตกทอดมาให้บรรดาอนุชนรุ่นหลังต้องรับกรรมต่อ ๆ กันมา เป็นความชั่วร้ายเลวทรามของเราต่างหาก ไม่ใช่เขาเลว คิดตัดใจว่า เราจะไม่ถือเพศ ชาติ ตระกูล ฐานะ เป็นสำคัญ ใครเป็นอย่างไร ก็มีสภาพเสมอกันโดยเกิดแล้วตายเหมือนกันหมด ฐานะความเป็นอยู่ ชาติ ตระกูล ในปัจจุบัน เป็นเสมือนความฝันเลื่อนลอย ไม่มีอะไรเป็นของจริง ในที่สุดก็ต้องตกเป็นเหยื่อของมัจจุราชทั้งสิ้น คิดตัดอย่างนี้ จะบรรเทามานะความถือทะนงตัวเสียได้ ความสุขสงบใจก็จะมีตลอดวันคืน จะก้าวสู่อรหัตตผลได้อย่างไม่ยากนัก

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


มโนมยิทธิ มโนมยิทธิแปลว่ามีฤิทธิ์ทางใจ ในที่นี้ท่านหมายเอาการถอดจิตออกจากร่างแล้วท่องเที่ยวไปในภพต่าง ๆ ความจริงมโนมยิทธินี้ ท่านจัดไว้ในส่วนอภิญญา แต่เพราะท่านที่ทรงวิชชาสาม ก็สามารถจะทำได้ จึงขอนำมากล่าวไว้ในวิชชาสาม

เมื่อท่านทรงฌาน ๔ ได้ในกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็เป็นอันว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะทรงมโนมยิทธิได้ เช่นเดียวกับได้ทิพยจักษุญาณแล้ว ก็มีสิทธิ์ได้ญาณอีกเจ็ดอย่างได้ตามที่กล่าวมาแล้วในข้อว่าด้วยทิพยจักษุญาณ ท่านประสงค์จะท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จะเป็นภพใดก็ตาม นรก สวรรค์ พรหม นิพพาน ดินแดนในมนุษย์โลกทุกหนทุกแห่ง ดาวพระอังคาร พระจันทร์ พระศุกร์ ไม่ว่าบ้านใครเมืองใคร เมืองฝรั่ง เมืองแขก เมืองเจ็ก เมืองญวน ท่านไปได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องเสียเวลารอคอยใคร ไม่ต้องยืมจมูกคนอื่นขับเคลื่อน หรือเจ้านายเหนือหัวคนใด ที่จะคอยกำหนดเวลาออกเวลาถึงให้ ไม่ต้องเสียค่าพาหนะอะไรมากมายอะไร เพียงกินข้าวเสียให้อิ่ม เพียงอิ่มเดียว

ซื้อตั๋วด้วยธูปสามดอก เทียนหนึ่งเล่ม ดอกไม้สามดอก ถ้าหาได้ หากหาไม่ได้ท่านก็ให้ไปฟรี ไม่ต้องเสียอะไร เพราะท่านเอาเฉพาะหน้าที่หาได้ ถ้าหาไม่ได้ ท่านอนุญาต ใช้เวลาไม่ถึงนาทีก็ไปถึงจุดหมายปลายทางได้ จะเข้าบ้าน สถานทำงาน ห้องนอนใครก็ตาม ก็เข้าได้ตามประสงค์ ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของบ้าน สำรวจความลับได้ดีมากใครทำอะไร ซุกซ่อนเอาไว้ที่ไหนมีเมียน้อยเก็บไว้ที่ไหน ก็สำรวจได้หมด ไม่มีทางปกปิด วิธีทำเพื่อไปทำอย่างนี้

ท่านให้เข้าฌาน ๔ ทำจิตใจให้โปร่งไสวดีแล้ว กำหนดจิตว่า ขอร่างกายนี้จงเป็นโพรงก็จะเห็นว่าร่างกายเป็นโพรงใหญ่ ต่อแต่นั้นก็กำหนดจิตว่า ขอร่างอีกร่างหนึ่งจงปรากฏขึ้นภายในกายนี้ กายอีกกายหนึ่งก็จะปรากฏขึ้น

ต่อไปก็ค่อยบังคับกายนั้น ให้เคลื่อนไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แม้กระทั่งตับไตไส้ปอด ลำไส้ทุกส่วน เส้นเลือดทุกส่วน ประสาททุกส่วน บังคับให้กายนั้นเดินไปตรวจให้ถ้วนทั้งร่างกาย จะเห็นว่าแม้เส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ร่างนั้นก็เดินไปได้อย่างสบาย จะเห็นเส้นเลือดนั้นเป็นเสมือนถนนสายใหญ่ เดินได้สะดวก เห็นร่างกายนี้เป็นโพรงใหญ่ คล้ายเรือหรือถ้ำขนาดใหญ่

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อท่องเที่ยวในร่างกายจนชำนาญแล้ว ขณะท่องเที่ยวในร่างกายอย่าหาความชำนาญอย่างเดียว ควรหาความรู้ไปด้วย รู้สภาพของอวัยวะ และรู้สภาพความสกปรกโสมมในร่างกาย จดจำสภาพเมื่อปกติไว้ พอป่วยไข้ไม่สบายตรวจร่างกายภายในได้ว่า มีอะไรชำรุดหรือผิดปกติบ้าง เห็นแจ้งเห็นชัด เป็นแผลหรือชอกช้ำ รู้ชัดเจนไม่แพ้เอ็กซเรย์ เลยมีประโยชน์ในทางตรวจร่างกายด้วย

เมื่อชำนาญการตรวจแล้ว ก็กำหนดจิตว่าจะไปที่ใด กำหนดจิตว่าเราจะไปที่นั้น พุ่งกายออกไปก็จะถึงถิ่นที่ประสงค์ทันทีื ใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวินาทีื เมื่อถึงแล้ว จิตจะบอกเองว่าสถานที่นั้นเป็นเมืองอะไร ใครบ้างที่พบ ไม่ต้องมีคนบอก เพราะสภาพของจิตที่เป็นทิพย์ กิเลสไม่ได้ห่อหุ้มไป จึงรู้อะไรได้ตามความเป็นจริงเสมอ โดยไม่ต้องอาศัยใครบอก

มโนมยิทธินี้ ควรสนใจทำให้คล่อง เพียงกำหนดจิตคิดว่า เราจะไปละ เพียงเท่านี้ก็ไปได้ทันที ทำได้ทุกขณะ เวลาเดิน ยืน นอน นั่งในท่าปกติ ทำงาน กำลังพูด รับประทานอาหาร เวลาที่ควรฝึกให้ชำนาญมากก็คือเวลาป่วย ขณะที่ร่างกายมีทุกขเวทนามากตอนนั้นสำคัญมาก ยกจิตออกไปเสีย ปล่อยไว้แต่ร่างกายเวทนาจะได้ไม่รบกวน ที่ใดเป็นแดนใหม่ สวรรค์ หรือพรหม ไปอยู่ประจำที่นั้น ยามปกติควรไปอยู่พักอารมณ์เป็นประจำ ยามป่วยไปอยู่เป็นปกติ หมายความว่า บอกกับคนพยาบาลว่า เวลาเท่านั้นถึงเท่านั้น ฉันจะพักผ่อน อย่าให้ใครมากวน แล้วก็เข้าฌาน ๔ ไปสถานที่อยู่ตามกำลังกุศลที่ทำไว้ ถ้าได้วิมุตติญาณทัสสนะก็ไปนิพพานเลย นิพพานอยู่ที่ไหน ท่านที่ถึงวิมุตติญาณทัสสนะเท่านั้นที่จะบอกได้ ท่านที่ยังไม่ถึงงงไปพลางก่อน ขืนบอกไปท่านก็ไม่เชื่อ ไม่บอกดีกว่า เอาไว้รู้เองเมื่อท่านถึง ผู้เขียนก็งงเหมือนกัน ท่านว่ามาอย่างนี้ ก็เขียนตามท่านไป เมื่อได้ถึงแล้วก็รู้เอง ผู้เขียนเองก็เหมือนกัน เขียนไปเขียนมาก็ชักอยากรู้นักว่านิพพานอยู่ที่ไหน

ประโยชน์ของมโนมยิทธิ ได้กล่าวมาโดยย่อ พอสมควรแล้ว มโนมยิทธิ ตามที่กล่าวมานี้เป็นแบบที่ใช้กันทั่วไป มีอีกแบบหนึ่ง เรียนมาจากท่านอาจารย์สุข บ้านคลองแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ของท่านแปลกได้ผลเร็วเกินคาด แบบปกติที่กล่าวมาแล้วนั้น กว่าจะชำนสญในกสิณก็เหงือกบวมมีมากรายที่ไม่ได้ ปล่อยล่องลอยไปเลย คือเลิกเลยมีมาก บางรายทำไม่สำเร็จ เลยกลายเป็นศัตรูพระศาสนาไป ไม่เชื่อผลปฏิบัติแถมค้านเอาเสียอีกด้วย น่าสงสารท่านเหล่านั้นแต่ก็ไม่รู้จะช่วยอย่างไรได้ พอได้ของท่านอาจารย์สุขมา ก็รู้สึกว่ามโนมยิทธิเป็นของง่ายมาก หลายรายพอเริ่มฝึกก็ท่องเที่ยวได้เลย ไม่ข้ามวัน ที่ช้าหน่อยก็ไม่กี่วัน แต่ที่ไม่ได้เลยก็มี เป็นเพราะอะไร ไม่ขอวิจารณ์ บอกไว้แต่เพียงว่า ถ้ารู้จักควบคุมอารมณ์ แล้วไม่นานเลยไปได้และแจ่มใสดีกว่าวิธีปกติธรรมดา แบบของท่านมีดังนี้ ใครอยากได้ก็ขอมอบให้เลย ใกล้ตายแล้วไม่หวง

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2010, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:29
โพสต์: 77

อายุ: 43

 ข้อมูลส่วนตัว


มโนมยิทธิ แบบอาจารย์สุข แบบนี้ใครเป็นคนคิดไม่ทราบ ท่านอาจารย์ก็บอกว่าเรียนต่อกันมาหลายรุ่นแล้ว เดิมเป็นใครคิดไม่ทราบ แบบของท่านมีดังนี้

๑. ในระยะต้น ท่านเขียนหนังสือลงบนกระดาษที่พับเป็นสามเหลี่ยม เขียนว่า "นะมะพะทะ" สอนคาถาภาวนา ให้ศิษย์ภาวนาว่า "นะมะพะทะ" เหมือนหนังสือที่เขียนบนกระดาษ แล้วให้ศิษย์เอากระดาษปิดหน้า จุดธูปสามดอก จนกว่าจะมีอาการสั่น อาจารย์หยิบกระดาษออก ถามศิษย์ว่าสว่างไหม? ถ้าศิษย์บอกว่ามืด ท่านก็เอากระดาษสะอาดมาจุดไฟ แกว่งที่หน้าศิษย์ใช้คาถาว่า "นะโมพุทธายะ ขอแสงสว่างจงปรากฏแก่ศิษย์" ท่านแกว่งไฟประเดี๋ยวเดียวศิษย์ก็บอกว่าสว่าง ท่านถามว่า จะไปสวรรค์หรือนรก ศิษย์บอกตามความพอใจ สวรรค์หรือนรกก็ได้ตามต้องการ ท่านบอกว่าไปได้ เท่านั้นศิษย์ก็ไปได้ตามประสงค์ ไปถึงไหนถามได้ บอกมาเรื่อย ๆ ว่า ถึงไหน พบใคร มีรูปร่างอย่างไร แต่ห้ามถูกตัว ลองไปสอบดูแล้ว เห็นเป็นของจริง ให้ไปบ้านเมืองไหน ประเทศไหนก็ได้ บอกได้ถูกหมด แม้แต่สถานที่เธอไม่เคยไป เมื่อไปถึงแล้ว ถามว่ามีอะไรบ้าง เธอตอบถูกหมด บอกให้ไปต่างประเทศที่เธอเคยรู้จัก เธอไปถึงแล้วก็บอกถูก เป็นของแปลกมาก ได้ขอเรียนมาสอนศิษย์ได้ผลเกินคาด เป็นของเจริญศรัทธาดี และส่งเสริมศรัทธาผู้นั่งรับฟังด้วย ตอนแรกจะมีอาการสั่น และออกท่าทางเมื่อจิตตกไป แต่พอสมาธิเข้าจุดอิ่ม ก็นั่งเงียบสงัดแบบธรรมดาแต่แจ่มใสมาก รวดเร็วกว่าแบบธรรมดามาก

๒. กระดาษปิดหน้า ถ้าศิษย์คนใดท่องเที่ยวได้แล้ว ต่อไปไม่ต้องปิดอีก ใช้เฉพาะเวลาที่ยังไปไม่ได้เท่านั้น

๓. เครื่องบูชาครูมี ดอกไม้สามดอก เอาสามสี เทียนหนักบาท ๑ เล่ม ธูปสามดอก เงิน ๑ สลึง สามอย่างนี้ขาดไม่ได้ เงินต้องซื้อของถวายพระ เอาใช้เองไม่ได้

๔. ก่อนที่ศิษย์จะเริ่มภาวนา ครูค้องทำน้ำมนต์ก่อน น้ำมนต์ทำด้วยอิติปิโส ฯลฯ ทั้งบท พรมศิษย์เมื่อเริ่มทำ ท่านว่ากันอารมณ์ฟั่นเฟือนดีมาก

คนที่ทำเป็นใครก็ได้ บางรายเป็นคนทำงานหนัก พอทิ้งจอบเสียมก็มาทำเลยเห็นท่องเที่ยวกันได้ไปเป็นคณะก็ได้ เหมือนเที่ยวธรรมดา ออกมาแล้วพูดเหมือนกันหมด น่าแปลก และน่าดีใจ ที่สมัยนี้ท่านผู้ทรงมโนมยิทธิอภิญญาอยู่ คิดว่าสูญไปเสียหมดแล้ว

.....................................................
บุคคลขาดสติย่อมนำชีวิตไปสู่ความทุกข์ความล้มเหลวฉันใด ในทางตรงกันข้าม บุคคลผู้มีสติสมบูรณ์ มีสติชอบ (สัมมาสติ) ย่อมนำชีวิตไปสู่ความสุขความรุ่งเรืองฉันนั้น และความแตกต่างระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์ก็อยู่ตรงนี้ คือ ปุถุชนมีสติไม่สมบูรณ์ ส่วนพระอรหันต์มีสติสมบูรณ์ ปุถุชนจึงต้องหัวเราะบ้าง ร้องให้บ้าง ดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เพราะเผลอสติ ส่วนพระอรหันต์ท่านไม่มีไม่เป็นอย่างนั้น.....กฤษฏ์


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร