วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 22:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 123 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์หลับตานึกภาพ

หากมนุษย์ทุกคนทุกชาติทุกภาษา ซึ่งเกิดมาแล้วไม่บัญญัติชื่อ(นาม) นาย ก.นาย ข. เฉลิมศักดิ์ ฯลฯ

เขาจะเรียกขาน “สภาวะ” หรือ "ชีวิต" ว่า ?

ไม่รู้จะสื่อสารกันยังไง ถูกไหมครับ

เขาจึงบัญญัติชื่อ นาย ก.นาง ข. เฉลิมศักดิ์ กรัชกาย ฯลฯ

ชื่อซึ่งบัญญัติขึ้นใช้เรียก อย่างหนึ่ง

กับสิ่งที่ถูกเรียก อย่างหนึ่ง

สิ่งที่ถูกเรียก นั่นนี่ เป็นปรมัตถ์ มีเสื่อมมีสลายเปลี่ยนแปลงไปตามกาลทุกวันเวลานาที ไม่คงที่

ชีวิตจึงเป็นตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท ....ในสภาวะเช่นนั้น ชีวิตก็จึงเป็นตามกฎแห่งไตรลักษณ์ด้วย

ส่วนชื่อที่สมมุติตั้งขึ้นสำหรับเรียกขานกันและกันนั้น ไม่เสื่อมไม่สลาย พ้นจากกาล


ชื่อว่า เฉลิมศักดิ์ ว่านาย ก. ฯลฯ ไม่เสื่อมไม่สลายไม่ผุพัง

แต่สิ่งที่ถูกเรียก เฉลิมศักดิ์ นาย ก. เปลี่ยนแปลงผุพังไปตามกาล ตามกฎธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยของมัน


ข้อสำคัญก็คือจะต้องรู้เท่าทัน แยกสมมุติกับตัวสภาวะออกจากกันได้

ของอันเดียวกันนั่นแหละ เมื่อใดจะพูดถึงสภาวะ ก็พูดไปตามสภาวะ

เมื่อใดจะใช้สมมุติ ก็พูดไปตามสมมุติ อย่าไขว้เขว อย่าสับสนปะปนกัน และต้องมีความเข้าใจสภาวะเป็นความรู้

เท่าทันรับรองยืนเป็นพื้นอยู่

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

ความหมาย "สมมุติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ" ที่

viewtopic.php?f=2&t=20008

ความหมาย "บัญญัติ,ปรมัตถ์" ที่

viewtopic.php?f=2&t=19996

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.พ. 2010, 18:53, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากยังมองไม่ออก จะชวนคุณมองออกห่างตัวอีกสักหน่อย (สะพานพุทธ ฯ)

นามหรือชื่อ สะพานพุทธ ส่วนหนึ่ง สิ่งที่ถูกเรียกว่า สะพานหรือตัวสะพาน ส่วนหนึ่ง

แยกออกจากกัน ตัวสะพานสนิมขึ้นทรุดโทรมผุกร่อนตามกาล เป็นปรมัตถ์

แต่ชื่อที่สมมุติบัญญัติขึ้นเรียกว่า สะพาน นั่น นี่ ไม่ผุกร่อน สนิมไม่กิน (นึกดีๆ)



อีกสักตัวอย่างหนึ่ง ชื่อเรียกแม่น้ำเจ้าพระยา กับสิ่งที่ถูกเรียกว่า แม่น้ำเจ้าพระยา

สิ่งที่ถูกเรียกว่า แม่น้ำเจ้าพระยาไหลขึ้นไหลลง เหือดแห้งไปตามกาล เปลี่ยนแปรไปทุกเมื่อเชื่อวัน

แต่ชื่อซึ่งบัญญัติขึ้นเรียก แม่น้ำ คงที่ ไม่ไหลขึ้นไหลลง

เห็นความต่างไหมครับ

เมื่อคุณมองตัวอย่างดังกล่าวออก คุณก็มองชีวิตเข้าใจ เข้าใจธรรมะระดับการศึกษาแล้วครับ

แต่เรื่องของคนหรือมนุษย์ลึกซึ้งเข้าใจยากกว่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 11 ก.พ. 2010, 20:51, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




avatar125420_1.gif
avatar125420_1.gif [ 19.15 KiB | เปิดดู 4017 ครั้ง ]
เมื่อเข้าใจความหมายบัญญัติกับปรมัตถ์ สอง คห.บนแล้ว ขั้นนี้ เราจะมองเห็นอะไรมีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม

จะเห็นแต่สมมุติบัญญัติกับสภาวธรรม (หรือปรมัตถธรรม) ทั่วไปหมด

ขั้นนี้ คุณเฉลิมศักดิ์ พอรับได้ไหมครับ หรือจะคัดค้าน ประเด็นไหนก็ว่ามาครับ

เพื่อจะได้พูดถึงมนุษย์กับการปฏิบัติกรรมฐานต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเฉลิมศักดิ์รับได้ไหมครับ =>


ชีวิต เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฏแห่งปฏิจจสมุปบาท คือ มีอยู่ในรูปกระแสแห่งปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์

เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไปพร้อมกับที่เป็นปัจจัย

ให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก

ส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผล

และคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน

ในภาวะเช่นนี้ ชีวิต จึงเป็นตามกฏแห่งไตรลักษณ์ คือ อยู่ในภาวะแห่งอนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่

อนัตตา ไม่มีส่วนใดที่มีตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัวตนได้

ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ

ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อเข้าใจความหมายบัญญัติกับปรมัตถ์ สอง คห.บนแล้ว ขั้นนี้ เราจะมองเห็นอะไรมีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม

จะเห็นแต่สมมุติบัญญัติกับสภาวธรรม (หรือปรมัตถธรรม) ทั่วไปหมด

ขั้นนี้ คุณเฉลิมศักดิ์ พอรับได้ไหมครับ หรือจะคัดค้าน ประเด็นไหนก็ว่ามาครับ

เพื่อจะได้พูดถึงมนุษย์กับการปฏิบัติกรรมฐานต่อไป


สิ่งที่คุณกรัชกาย รู้นั้น เป็นเพียงความคิด ยังไม่ใช่วิปัสสนาญาณ ที่แท้จริง

การไปเพ่ง ท้องยุบ พอง จึงเป็น อุบายให้ใจสงบ เป็น สมถะกรรมฐาน

แต่ยังไม่ใช่ การพิจารณา สภาวะธรรม เพื่อ การเจริญสติปัฏฐาน หรือ วิปัสสนา


http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

๑. อารมณ์ของการปฏิบัติ จะต้องเป็นปรมัตถ์อารมณ์ ซึ่งต่างกับการปฏิบัติสมาธิ อารมณ์ปรมัตถ์นี้จะเป็นเสมือนพาหนะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่วิปัสสนาปัญญาได้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจใน เรื่องของ วิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ ซึ่งเมื่อสงเคราะห์ลงแล้ว ก็คือ รูป - นาม นั่นเอง ผู้ปฏิบัติจึงต้องกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ฉะนั้นก่อนปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะที่มีการกระทบอารมณ์ตามทวารต่างๆจะต้องกำหนดอย่างไรจึงจะแก้ไข ความโง่ และความเห็นผิดได้

๒. ปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจในปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างกันของปัจจุบันธรรม และปัจจุบันอารมณ์

- ปัจจุบันธรรม คือ รูป นาม ที่เกิดเป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยไป

- ปัจจุบันอารมณ์ คือ รูป นามที่ปรากฏเฉพาะหน้า

ปัจจุบันที่มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ คือ ปัจจุบันอารมณ์ เพราะ อภิชฌา-โทมนัส จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดได้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงหรือไม่ หากกำหนดได้ทันว่ามีรูปอะไร นามอะไร เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบัน ขณะนั้นอภิชฌา และโทมนัสย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เท่ากับว่าในขณะนั้นสมุทัย อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมถูกละไป (เป็นการทำลายตัณหา) ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องคอยสังเกตให้ได้ทันในปัจจุบันอารมณ์


------------------------------------------

ขณะที่คุณกรัชกาย กำลังเพ่งขาที่ 2 ข้างพร้อมคำภาวนา ซ้ายหนอ ขวาหนอ

สิ่งที่กำลัง ภาวนาอยู่นั้นแหละครับ คือ สมมุติบัญญัติ

ฝรั่งอาจจะ สมมุติว่า LEFT NHO ๆ ๆ ๆ ๆ & RIGHT NHO ๆ ๆ ๆ ๆ

ต่อให้ปฏิบัติ เพ่งหน้าท้อง เพ่งขา จน ท้องพองยุบหายไป บัญญัติต่าง ๆ หายไป (ตามที่คุณอายะ แสดงไว้ แบบเดียวกับเพ่งกสิณ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว)

ก็ไม่เกิด ปัญญา ตามที่อรรถกถา ท่านกล่าวไว้เลยครับ

viewtopic.php?f=2&t=29011&st=0&sk=t&sd=a&start=44

๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้

-----------------------------------------------------

คุณกรัชกายครับ หากอ่านแล้วไม่เข้าใจ ลองศึกษาที่อาจารย์แนบ และท่านผู้รู้ บรรยายไว้ประกอบดีกว่าครับ

ปรมัตถธรรม กับการปฏิบัติวิปัสสนา
http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=0&


อ้างคำพูด:
คุณเฉลิมศักดิ์ พอรับได้ไหมครับ หรือจะคัดค้าน ประเด็นไหนก็ว่ามาครับ

เพื่อจะได้พูดถึงมนุษย์กับการปฏิบัติกรรมฐานต่อไป


คุณกรัชกายรับได้ไหมครับ หรือจะว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ แล้วให้รื้อสำนักวิปัสสนา มาทำเป็นสนามเด็กเล่น ตามที่คุณเคยแสดงไว้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




Chiangmai26.jpg
Chiangmai26.jpg [ 55.52 KiB | เปิดดู 3932 ครั้ง ]
บอกว่าอย่าเอา อ.แนบ มาอ้างอิง ก็ไม่ฟัง บอกแล้วไม่ฟัง

เคยเตือนแล้วนะว่า ท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิต้นฉบับ ที่ทำให้คุณมองอะไรด้านเดียว เพราะ อ.แนบของคุณนี่ล่ะ


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายรับได้ไหมครับ หรือจะว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ แล้วให้รื้อสำนักวิปัสสนา มาทำเป็นสนามเด็กเล่น ตามที่คุณเคยแสดงไว้


ทีแรกก็ว่างั้น จะให้ทำเป็นสนามเด็กเล่น

แต่สนามเด็กเล่นก็ต้องมีพ่อแม่มานั่งดูนั่งเฝ้าลูกนอกบ้านอีก :b23:

เปลี่ยนใหม่ดีกว่า ขุดเป็นสระน้ำปลูกบัว แล้วก็ปล่อยปลา ว่างๆคุณเอาอาหารไปเลี้ยงปลา

แล้วนั่งดูตูมบัวบาน :b12:


แล้วฟังเพลง บัวตูมบัวบานไปด้วย :b32:

ไม่แน่คุณอาจเห็นความเปลี่ยนแปลงของดอกบัว แล้วได้ข้อคิดทางธรรมขึ้นมาบ้าง :b28:

http://www.b.yimwhan.com/board/show.php ... 25&Cate=29

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ก.พ. 2010, 10:20, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขณะที่คุณกรัชกาย กำลังเพ่งขาที่ 2 ข้างพร้อมคำภาวนา ซ้ายหนอ ขวาหนอ
สิ่งที่กำลัง ภาวนาอยู่นั้นแหละครับ คือ สมมุติบัญญัติ
ฝรั่งอาจจะ สมมุติว่า LEFT NHO ๆ ๆ ๆ ๆ & RIGHT NHO ๆ ๆ ๆ ๆ
ต่อให้ปฏิบัติ เพ่งหน้าท้อง เพ่งขา จน ท้องพองยุบหายไป บัญญัติต่าง ๆ หายไป (ตามที่คุณอายะ แสดงไว้ แบบเดียวกับเพ่งกสิณ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว)


คุณก็ยังงมเหมือนเดิม

ยกตัวอย่างสมมุติกับปรมัตถ์ก่อนหน้าแล้วก็ยังไม่เข้าใจ

อ้างคำพูด:
กำลังเพ่งขาที่ 2 ข้างพร้อมคำภาวนา ซ้ายหนอ ขวาหนอ
สิ่งที่กำลัง ภาวนาอยู่นั้นแหละครับ คือ สมมุติบัญญัติ


ฟังได้ รับได้


เอาใหม่คุณเฉลิมศักดิ์ นึกดีๆ

สมมุติบัญญัติชื่อว่า ขา มือ นิ้ว ศอก ท้อง หัวเข่า หน้าแข้ง ฯลฯ นั่นคือชื่อที่บัญญัติเรียกสำหรับใช้สือสาร

กัน จะบัญญัติเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ฝรั่ง จีน พม่า เขมร ลาว เวียตนาม ฯลฯ ก็บัญญัติชื่อเรียกเอาตามภาษาของ

ตนๆ

แต่สิ่งที่ถูกเรียกทั้งหมดนั้นๆ เป็นปรมัตถ์หรือเป็นสภาวธรรม

ชื่อซึ่งบัญญัติเรียกกันตอนหนึ่ง

กับสิ่งที่ถูกตั้งชื่อเรียก (คุณแยกออกไหมเนี่ย)

สิ่งที่ถูกเรียกนั่นเป็นไตรลักษณ์ เป็นปฏิจจสมุปบาท อาศัยกันและกันเกิดขึ้น

คุณแยกสมมุติ (ชื่อเรียก) กับปรมัตถ์ คือสิ่งที่ถูกเรียก สิ่งที่ถูกเรียกนั่นแหละเป็นปรมัตถ์ทั้งหมด

ของสิ่งเดียวกันนั่นแหละแต่ต้องแยกให้ออกว่าส่วนใดเป็นบัญญัติ ตรงไหนเป็นสภาวะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ก.พ. 2010, 08:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 08:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกายครับ หากอ่านแล้วไม่เข้าใจ ลองศึกษาที่อาจารย์แนบ และท่านผู้รู้ บรรยายไว้ประกอบดีกว่าครับ

ปรมัตถธรรม กับการปฏิบัติวิปัสสนา


คุณเฉลิมศักดิ์ ไหนคุณลองอธิบายขยายความ "วิปัสสนา" ตามที่คุณเข้าใจสิครับ

ประเด็นนี้ขอความกรุณาอย่าโยง ลิงค์อื่นใดของใครมานะงับ เอาทิฏฐิของคุณล้วนๆ

เอาเลยครับ วิปัสสนา ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 12:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:24
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รออ่านด้วยกับท่านอาจารย์กรัชกายครับ อยากรู้เหมือนกัน ถ้าจะอ้างอย่าอ้างคำอธิบายของครูอาจารย์นะ อันนั้นยังเป้นหลักไม่ได้ :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งตัวสภาวะ และสมมุติเป็นสิ่งจำเป็น

ตัวสภาวะ (นิยมเรียกกันว่าปรมัตถ์) เป็นเรื่องของธรรมชาติ

ส่วนสมมุติ เป็นเรื่องของประโยชน์สำหรับความเป็นอยู่ของมนุษย์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ก.พ. 2010, 14:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ปัญหาเกิดขึ้น เพราะมนุษย์เอาสภาวะกับสมมุติมาสับสนกัน คือ เข้าไปยึดเอาตัวสภาวะจะให้เป็นตามสมมุติ จึงเกิดวุ่นวายขึ้น

ตัวสภาวะไม่วุ่น เพราะมันเป็นอย่างนั้นเองตามปกติธรรมดา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ก.พ. 2010, 14:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพูดในแง่สมมุติ ก็ให้รู้ว่า กำลังพูดในแง่สมมุติ

เมื่อพูดในแง่สภาวะหรือปรมัตถ์ ก็ให้รู้ว่ากำลังพูดในแง่สภาวะ

เมื่อรู้เท่าทันความเป็นจริง และความมุ่งหมายในการพูดแบบนั้นๆ ไม่เข้าไปยึดติดถือมั่น ไม่เอามาปะปนกัน

ก็เป็นอันใช้ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




P8495862-2.gif
P8495862-2.gif [ 30.52 KiB | เปิดดู 3849 ครั้ง ]
สวัสดีวันวาเลนไทน์ขอรับคุณเฉลิมศักดิ์ :b8:

คุณรับได้ไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเข้าใจจุดตัดแยกระหว่างสมุมติบัญญัติ กับ สภาวะ(หรือปรมัตถ์) แล้ว จะเข้าใจอนัตตา อัตตาด้วย

จะรู้เข้าใจหลักอิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมปบาท (สิ่งที่อาศัยกันและกันเกิด)ด้วย

จะรู้เข้าใจไตรลักษณ์ด้วย จะเข้าใจหลักกรรมด้วย

พิจารณาบทความนี้สักครั้งสิครับ ดูดีๆ




เมื่อส่วนประกอบทั้งหลายรวมกันเข้า ปรากฏรูปเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็มีการบัญญัติเรียกชื่อเป็นอย่างนั้น

อย่างนี้ อันยอมรับกันโดยสมมุติ

เมื่อองค์ประกอบทั้งหลายพร้อมอยู่ ปัจจัยต่างๆค้ำจุนหล่อเลี้ยงอำนวย ก็คงรูปร่างหรือคงสภาพอยู่ตามที่

สมมุติเป็นตัวตนอย่างนั้น

แต่เมื่อใด องค์ประกอบทั้งหลายแยกพรากจากกัน หรือปัจจัยแวดล้อมไม่เกื้อกูล สภาพตัวตนนั้นก็หายไป

เหมือนดัง เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับ น้ำแข็งก็ละลาย ตัวตนที่ชื่อว่าน้ำแข็งหายไป เหลืออยู่แต่น้ำเหลว

เมื่อความร้อนเพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่งโดยสัมพันธ์กับความกดอากาศ น้ำเหลวก็ระเหยกลายเป็นไอน้ำ

สภาพตัวตนของน้ำเหลวก็สิ้นไป

หรือ เมื่อกระดาษถูกเผาไฟไหม้หมดแล้วเหลือแต่ฝุ่นเถ้าไฟ ก็หาตัวตนที่จะเรียกว่ากระดาษไม่ได้อีกต่อไป

ความหมายของอนัตตาที่ว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากองค์ประกอบต่างๆมาประชุมกันเข้า สัมพันธ์กันเป็นไปตาม

เหตุปัจจัย ว่างเปล่าจากตัวตนที่เป็นแกนอันยืนยงคงตัว ปราศจากตัวการที่สร้างสรรค์บันดาล

มีบาลีว่า

“อาศัยเครื่องไม้ เถาเชือกดินฉาบ และหญ้ามุง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่าเป็นเรือนฉันใด

อาศัยกระดูก เส้นเอ็น เนื้อ หนัง มีช่องว่างแวดล้อม ย่อมเรียกกันว่าเป็นตัวคน (รูป)ฉันนั้น”

(ม.มู.12/356/358)


มารถามพระวชิราภิกษุณีว่า


“สัตว์นี้ (ตัวบุคคลนี้) ใครสร้าง ผู้สร้างอยู่ที่ไหน สัตว์เกิดที่ไหน สัตว์ดับที่ไหน”


พระวชิราภิกษุณีตอบว่า

“นี่แน่ะมาร ท่านเชื่อหรือว่าเป็นสัตว์ (เป็นตัวบุคคล) ท่านมีความเห็นอย่างนั้นหรือ

นี่คือกองแห่งสังขารล้วนๆ จะหาตัวสัตว์ในนี้ไม่ได้เลย เพราะประชุมส่วนประกอบเข้าด้วยกัน ย่อมมีศัพท์เรียกว่า

รถ ฉันใด เมื่อขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม) ทั้งหลายมีอยู่ ก็มีสมมุติเรียกว่า สัตว์ฉันนั้น

แท้จริงทุกข์ (สภาพไม่คงตัว) เท่านั้นเกิดมี และทุกข์ก็ตั้งอยู่และเสื่อมสลายไป

นอกจากทุกข์ (สภาพไม่คงตัว) ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ”

(สํ.ส.15/553/198)


พระเสลาภิกษุณีตอบว่า


“ร่างนี้ ไม่มีใครสร้าง ตัวนี้ไม่มีใครบันดาล อาศัยเหตุมันก็เกิดมี เพราะเหตุสลายมันก็ดับ

เม็ดพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เขาหว่านในนา อาศัยรสในแผ่นดิน และยางในเมล็ดพืชทั้งสองอย่างนี้

ก็ย่อมงอกงามขึ้นได้ฉันใด

ฉันนั้นเหมือนกัน ประดาขันธ์ ธาตุทั้งหลาย และอายตนะทั้ง ๖ เหล่านี้ อาศัยเหตุย่อมเกิดมี เพราะเหตุสลาย

ก็ย่อมดับไป”

(สํ.ส.15/551/197)

:b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48: :b48:

คุณเฉลิมศักดิ์ รับได้ไหมขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.พ. 2010, 14:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 14:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




12.gif
12.gif [ 8.54 KiB | เปิดดู 3823 ครั้ง ]
หากคุณเฉลิมศักดิ์ ตอบคำถามนี้ได้ ถมสระตั้งสำนักวิปัสสนาได้ครับ :b1:

ถามว่า

พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ยืนหนอ ซ้าย ย่าง หนอ ขวา ย่าง หนอ ทุกข์หนอ สุขหนอ ฟุ้งซ่านหนอ

คิดหนอ ปวดหนอ ฯลฯ เป็นบัญญัติหรือปรมัตถ์ขอรับ

ตรงไหนเป็นบัญญัติ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ :b1: :b12:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 ก.พ. 2010, 16:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 123 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร