วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 22:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 123 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:24
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมตลกนะเนี่ย อะไรจะขนาดนั้นท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ ใครๆเค้าก็รู้กันทั้งนั้นว่า การที่จะมีวิปัสสนาเกิดได้ ก็ต้องมีรูปนามเป็นอารมณ์แล้วรูปนามเป็นอารมณ์ เอาอะไรให้รู้รูปนามเล่า เอารูปนามตรงไหนเป็นอารมณ์ รูปนามวิ่งผ่านมาเหมือนหนูเหมือนแมวให้จับมาเป็นอารมณ์เหรอ แล้วพวกที่ดูท้องพองยุบ ท้องที่พองท้องที่ยุบ ใจที่รู้ท้องพองท้องยุบ ไม่ไช่รูปนามเหรอ แล้วพวกที่ทำพองยุบคุณคิดว่าเค้าเอาแต่พองยุบเหรอ เค้าไม่เปลี่ยนไปตามสภาวะที่แท้จริงเหรอ ศึกษาของเค้าจนดีแล้วเหรอ จึงว่าเค้าเอาแต่เพ่งบัญญัติ จะขอให้ท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์อธิบายเป็นธรรมทานแก่ตัวกระผมหน่อยว่า ท้องพอง ท้องยุบ ใจที่รู้ว่าท้องพองท้องยุบ ไม่ใช่รูปนามตรงไหน เป็นสมมุติบัญญัติตรงไหน ช่วยอธิบายผมที


จนแล้วจนรอดที่ถามท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ที่ ที่เรียกว่า คน หรือ มนุษย์เนี่ยะๆๆ ที่เห็น

โด่ๆ อยู่เนี่ยะ ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ไม่เห็นตอบเลย :b19: :b19:


อันนี้ท่านอาจารย์กรัชกายท่านถามเนี่ย ผมว่าเป็นหัวใจเป็นประเด็นสำคัญของกระทู้ที่เราสนทนากันเลย ตอบท่านด้วย ผมจะได้อาศัยคำตอบจากคถามนี้เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องสมมุติ ไม่สมมุติ เรื่องปรมตับัญญัติ


แก้ไขล่าสุดโดย สติสัมปันน์ เมื่อ 07 ก.พ. 2010, 10:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ธ.ค. 2009, 14:59
โพสต์: 31

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จนแล้วจนรอดที่ถามท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ที่ ที่เรียกว่า คน หรือ มนุษย์เนี่ยะๆๆ ที่เห็น

โด่ๆ อยู่เนี่ยะ ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ไม่เห็นตอบเลย

ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ .......หัว ไหล่ ตูด
ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ..........หัว ไหล่ ตูด
มันก็อยู่ที่ คน หรือ มนุษย์ นี่แหละ ว่าจะมองให้มันเป็น บัญญัติหรือเป็นปรมัตถ์


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 20:24
โพสต์: 43

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


spata300 ท่านว่า
จนแล้วจนรอดที่ถามท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ที่ ที่เรียกว่า คน หรือ มนุษย์เนี่ยะๆๆ ที่เห็น

โด่ๆ อยู่เนี่ยะ ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ไม่เห็นตอบเลย

ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ .......หัว ไหล่ ตูด
ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ..........หัว ไหล่ ตูด
มันก็อยู่ที่ คน หรือ มนุษย์ นี่แหละ ว่าจะมองให้มันเป็น บัญญัติหรือเป็นปรมัตถ์




สามทุ่มกว่าผมนั่งกินกาแฟ สำลักกาแฟเลยครับ สำลักจิงๆ กร๊ากกกกก

:b32: :b9:


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสนอตัวอย่างใหม่ ยกตัวอย่าง คน หรือ มนุษย์ ดูใกล้ตัวเกินไปอาจมองเห็นยากสักหน่อย :b1:

จะขยับคำถามออกไปให้ห่างตัวสักหน่อยหนึ่ง คงเห็นง่ายเห็นชัดขึ้น

ถามว่าชื่อว่า แม่น้ำเจ้าพระยาเนี่ย ส่วนไหนเป็นสมมุติ(บัญญัติ) ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ (สภาวะ) :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 07 ก.พ. 2010, 21:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 06:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติสัมปันน์ เขียน
ผมตลกนะเนี่ย อะไรจะขนาดนั้นท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ ใครๆเค้าก็รู้กันทั้งนั้นว่า การที่จะมีวิปัสสนาเกิดได้ ก็ต้องมีรูปนามเป็นอารมณ์แล้วรูปนามเป็นอารมณ์ เอาอะไรให้รู้รูปนามเล่า เอารูปนามตรงไหนเป็นอารมณ์ รูปนามวิ่งผ่านมาเหมือนหนูเหมือนแมวให้จับมาเป็นอารมณ์เหรอ แล้วพวกที่ดูท้องพองยุบ ท้องที่พองท้องที่ยุบ ใจที่รู้ท้องพองท้องยุบ ไม่ไช่รูปนามเหรอ แล้วพวกที่ทำพองยุบคุณคิดว่าเค้าเอาแต่พองยุบเหรอ เค้าไม่เปลี่ยนไปตามสภาวะที่แท้จริงเหรอ ศึกษาของเค้าจนดีแล้วเหรอ จึงว่าเค้าเอาแต่เพ่งบัญญัติ จะขอให้ท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์อธิบายเป็นธรรมทานแก่ตัวกระผมหน่อยว่า ท้องพอง ท้องยุบ ใจที่รู้ว่าท้องพองท้องยุบ ไม่ใช่รูปนามตรงไหน เป็นสมมุติบัญญัติตรงไหน ช่วยอธิบายผมที


จนแล้วจนรอดที่ถามท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ที่ ที่เรียกว่า คน หรือ มนุษย์เนี่ยะๆๆ ที่เห็น

โด่ๆ อยู่เนี่ยะ ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ไม่เห็นตอบเลย


อันนี้ท่านอาจารย์กรัชกายท่านถามเนี่ย ผมว่าเป็นหัวใจเป็นประเด็นสำคัญของกระทู้ที่เราสนทนากันเลย ตอบท่านด้วย ผมจะได้อาศัยคำตอบจากคถามนี้เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องสมมุติ ไม่สมมุติ เรื่องปรมตับัญญัต


ผมอุตส่าห์ นำหลักธรรมคำสอนจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา และการบรรยายจาก พระวิปัสสนาจารย์

นึกเกิด สุตามยปัญญา จากการอ่านพระไตรปิฏก อรรถกถา กันแล้ว

กลับไป อ่านใหม่ พร้อม ๆ กันนะครับ พี่น้อง

viewtopic.php?f=2&t=29011&st=0&sk=t&sd=a&start=38

อ้างคำพูด:
หากไม่มีมนุษย์เกิดขึ้นในโลกนี้ ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่มนุษย์บัญญัติขึ้นว่า เป็นนั่นเป็นนี่ มีชื่อเรียกอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นเช่นกัน แม้แต่ ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ พื้นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ฯลฯ ก็เป็นเพียงธรรมชาติ ที่ปราศจากความหมาย ปราศจากชื่อ คือเป็นแต่เพียงสภาวะ ที่เกิดจากการประชุมกัน ของมหาภูตรูปทั้ง ๔๔ อันเป็นรูปธรรม (รูป) ที่ปราศจากนามธรรม (จิต+เจตสิก) ซึ่งเป็นสภาวะปรมัตถ์ (ปรมัตถธรรม) ที่พ้นจากสมมุติบัญญัติ โดยสิ้นเชิง

ส่วนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนั้น หากกล่าวในแง่ปรมัตถธรรมแล้ว ถือว่าไม่มีตัวตน ไม่มี นายมี ไม่มี นางมา มีแต่รูปธรรม (รูป) และนามธรรม (จิต+เจตสิก) มาประชุมกันเท่านั้น

ดังนั้น ไม่ว่าตัวเราหรือผู้อื่น ซึ่งรวมถึงสัตว์ทั้งหลายด้วยนั้น เมื่อกล่าวในแง่ปรมัตถธรรม หรือธาตุแท้ตามธรรมชาติแล้ว จะมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วนเท่านั้น คือ
๑. จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์
๒. เจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบปรุงแต่งจิตมี ๕๒ ลักษณะ
๓. รูป คือ องค์ประกอบ ๒๘ ชนิดที่รวมกันขึ้นเป็นกาย
!
!
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมไว้ว่า ธรรมทั้งหลายย่อม จำแนกได้เป็น ๒ ประการ คือ บัญญัติธรรม และ ปรมัตถธรรม

๑. บัญญัติธรรม คือ สิ่งที่บัญญัติขึ้น สมมุติขึ้นไม่ได้มีอยู่จริง ๆ เป็นการ สมมุติขึ้นเพื่อเรียกขานกันของชาวโลก เพื่อให้รู้ได้ว่าเรียกสิ่งใด เช่น คำว่า “คน” ผู้เรียกจะชี้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายว่า“คน” ไม่ได้ไม่มี หรือคำว่า“เก้าอี้” ผู้เรียก จะชี้ส่วนหนึ่งส่วนใดว่าเป็นเก้าอี้ไม่ได้ เพราะเป็นการเรียกโดยสมมุติขึ้นเท่านั้น

บัญญัติธรรมนี้มี ๒ ประการ คือ อัตถบัญญัติ และสัททบัญญัติ

ก. อัตถบัญญัติ เป็นการสมมุติขึ้นตามความหมายแห่งรูปร่างสัณฐาน หรือ ลักษณะอาการของสิ่งนั้น ๆ เช่น ภูเขา ต้นไม้ บ้าน เรือน เดิน วิ่ง การโบกมือ หมายถึงการจากลา หรือหมายถึงการปฏิเสธก็ได้ การพยักหน้า หมายถึงการยอมรับ หรือการให้เข้ามาหาก็ได้

ข. สัททบัญญัติ เป็นการสมมุติขึ้นเพื่อใช้เรียกขานสิ่งนั้น ๆ คือ สมมุติขึ้น เพื่อให้รู้ด้วยเสียงตามอัตถบัญญัตินั้น เช่น ไม่ได้เห็นภูเขา ไม่ได้เห็นการเดิน แต่เมื่อ ออกเสียงว่า ภูเขา พูดว่าเดิน ก็รู้ว่าภูเขามีรูปร่างสัณฐานอย่างนั้น เดินมีลักษณะ อาการอย่างนั้น เป็นต้น

เพราะฉะนั้นทั้งอัตถบัญญัติ และสัททบัญญัติ ก็คือระบบการสื่อสารให้เกิด ความรู้ เกิดความเข้าใจกันของมนุษย์นั่นเอง ไม่ได้มีอยู่จริง ๆ

ตัวอย่างร่างกายของเรา ที่เรียกว่า แขน ขา จมูก ปาก ตับ ปอด ลำไส้ ฯลฯ ต่าง ๆ เหล่านี้ คนไทยก็เรียกอย่างหนึ่ง คนจีนก็เรียกไปอย่างหนึ่ง คนแขกก็เรียกไป อย่างหนึ่ง ฝรั่งก็เรียกไปอีกอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ใครจะสมมุติเรียกว่า อะไร บัญญัติจึงหมายถึงการสมมุติขึ้นของคนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกขานกัน ไม่ได้มีอยู่ จริง ๆ ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นความจริงโดยสมมุติ


--------------------------------

อ้างคำพูด:
จะขอให้ท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์อธิบายเป็นธรรมทานแก่ตัวกระผมหน่อยว่า ท้องพอง ท้องยุบ ใจที่รู้ว่าท้องพองท้องยุบ ไม่ใช่รูปนามตรงไหน เป็นสมมุติบัญญัติตรงไหน ช่วยอธิบายผมที


การที่จะเข้าถึง วิปัสสนาญาณ ได้นั้น ต้องเข้าถึง สภาพที่เป็น รูปธรรม จริง ๆ

และ เพิกความเข้าใจผิดว่า รูปธรรมนั้น เป็นของเรา เช่น รูปเดิน , รูปนั่ง,รูปยืน, รูปนอน

ซึ่งเราเกิดวิลาสว่า เรายืน เรานั่ง เรานอน

ในการเข้าไปถึงปรมัตถ์ธรรมนั้น ต้องโยนิโสมนสิการในการปฏิบัติด้วย ดังหลักการจากพระไตรปิฏก อรรถกถา ในเรื่อง "ปชานาติ" - การรู้ชัด ที่ผมนำมาแสดงแก่คุณสติสัมปันน์ ในความเห็นที่ 44

viewtopic.php?f=2&t=29011&st=0&sk=t&sd=a&start=44

คุณสติสัมปันน์ คุณกรัชกาย คุณอายะ ครับ ขณะนั่งอยู่นี้ ผมไม่ได้เข้าใจผิดว่า ท้องที่พองที่ยุบ นั้นเป็นตัวเราเลย แต่เข้าใจผิดว่าเรานั่ง

การที่ไปเพ่งบัญญัติ ยุบหนอ พองหนอ มันไม่ได้ทำให้หายใจผิดเลย ว่า เรานั่งอยู่

เกิดปัญญา เข้าถึงว่า ขณะนั้นมีเพียงรูป และนาม

อ้างคำพูด:
จนแล้วจนรอดที่ถามท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ที่ ที่เรียกว่า คน หรือ มนุษย์เนี่ยะๆๆ ที่เห็น

โด่ๆ อยู่เนี่ยะ ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ไม่เห็นตอบเลย


คุณกรัชกาย ครับ ย่อลงมาหน่อยได้ไหมครับ

เอาขณะที่คุณกรัชกาย กำลังเพ่งขาที่ 2 ข้างพร้อมคำภาวนา ซ้ายหนอ ขวาหนอ

สิ่งที่กำลัง ภาวนาอยู่นั้นแหละครับ คือ สมมุติบัญญัติ

ฝรั่งอาจจะ สมมุติว่า LEFT NHO ๆ ๆ ๆ ๆ & RIGHT NHO ๆ ๆ ๆ ๆ

ต่อให้ปฏิบัติ เพ่งหน้าท้อง เพ่งขา จน ท้องพองยุบหายไป บัญญัติต่าง ๆ หายไป (ตามที่คุณอายะ แสดงไว้ แบบเดียวกับเพ่งกสิณ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว)

ก็ไม่เกิด ปัญญา ตามที่อรรถกถา ท่านกล่าวไว้เลยครับ

viewtopic.php?f=2&t=29011&st=0&sk=t&sd=a&start=44

๑. โก คจฺฉติ - ใครเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๒. กสฺส คมนํ -- การเดินเป็นของใคร, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้
๓. กึ การณา คจฺฉติ -- เพราะเหตุไรจึงเดิน, นี้ก็เป็นประการหนึ่งที่ควรรู้


-----------------------------------------------------

คุณกรัชกายครับ หากอ่านแล้วไม่เข้าใจ ลองศึกษาที่อาจารย์แนบ และท่านผู้รู้ บรรยายไว้ประกอบดีกว่าครับ

ปรมัตถธรรม กับการปฏิบัติวิปัสสนา
http://larndham.org/index.php?showtopic ... er=1&st=0&

ปรมัตถธรรม หมายถึงธรรมที่มีเนื้อความอันประเสริฐ เพราะมีคุณลักษณะแน่นอน ไม่วิปริตผันแปร เป็นอารมณ์ของปัญญาอันสูงสุดและเป็นประธานในบัญญัติธรรมทั้งปวง
ปรมัตถธรรมมี ๔ อย่าง
๑. จิต ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ มี ๘๙ หรือ ๑๒๑
๒. เจตสิก ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต มี ๕๒
๓. รูป ธรรมชาติที่แตกดับ มี ๒๘
๔. นิพพาน ธรรมชาติที่สงัดจากขันธ์และกิเลส โดยสภาพมี ๑

----------------------------------------

แนวคิดเรื่องรูป
http://abhidhamonline.org/rupa.files/rupa.htm


ดังได้กล่าวแล้วว่า รูปปรมัตถ์เกิดขึ้นเองไม่ได้ ต้องมีสมุฏฐานให้เกิด เมื่อเกิดแล้วจะอยู่ลำพังก็ไม่ได้ ต้องรวมกันเป็นกลุ่ม (กลาป) จึงจะทำหน้าที่ได้ ในมนุษยภูมิมีกลุ่มกลาปได้อย่างมาก ๗ กลุ่ม บางกลุ่มกระจายอยู่ทั่วทุกส่วนของร่างกาย เช่น กายปสาทรูป และกลุ่มภาวะรูป ๒ อีก ๕ กลุ่ม คือ หทยรูป จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป ฆานปสาทรูป จะรวมกันอยู่เฉพาะที่ เช่น กลุ่มหทยวัตถุรูป จะมีที่ตั้งอยู่ในเนื้อเยื่อหัวใจ กลุ่มจักขุปสาทรูปจะมีอยู่เฉพาะบริเวณจอรับภาพ (Retina) ของลูกตาทั้ง ๒ ข้างเท่านั้น กลุ่มโสตปสาทรูปก็จะมีอยู่เฉพาะบริเวณ Cochlea ในหูชั้นกลาง ๒ ข้างเท่านั้น เป็นต้น ใน ๗ กลุ่ม สามารถเป็นที่ตั้งที่อาศัยของจิตได้ ๖ กลุ่ม คือ หทยรูป ๑ และปสาทรูป ๕ จิตต้องอาศัยกลุ่มรูปทั้ง ๖ นี้ จึงจะแสดงความสามารถในการรู้อารมณ์ได้ หากรูปใดพิการหรือบกพร่อง เช่น ตาบอด การรับรู้อารมณ์ในส่วนนั้นก็บกพร่องไปด้วย คือ มองไม่เห็น

แนวคิดเรื่องจิต
http://www.abhidhamonline.org/thesis/th ... hesis2.htm

--------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
จนแล้วจนรอดที่ถามท่านอาจารย์เฉลิมศักดิ์ที่ ที่เรียกว่า คน หรือ มนุษย์เนี่ยะๆๆ ที่เห็น

โด่ๆ อยู่เนี่ยะ ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ไม่เห็นตอบเลย


คน มนุษย์ คือ สมมุติบัญญัติ

สภาพธรรมของ จิต,เจตสิก , รูป(๒๘) คือ ปรมัตถ์ธรรม

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
ขอถามหน่อยเถอะค่ะ เข้าใจคำว่า " แยกรูปนาม " นี้เป็นยังไงหรือคะ
เห็นยกเป็นของวิเศษกันเสียเหลือเกิน


เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ หรือ ทิฏฐิวิสุทธิ

เป็นปัญญาที่จะนำไปสู่ วิปัสสนาญาณขั้นสูงต่อไป ที่เห็นสภาพธรรมของ รูป นามเป็นไตรลักษณ์



พระพุทธพจน์

สพฺพโส นามรูปสฺมึ
ยสฺส นตฺถิ มมายตํ
อสตา จ น โสจติ
ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ

ผู้ใดไม่มีความยึดถือในนามรูป
ว่าของเราโดยประการทั้งปวง
และย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปไม่มีอยู่
ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นภิกษุ

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท


ทิฏฐิวิสุทธิ โดยอาจารย์แนบ
http://larndham.org/index.php?showtopic=19112&st=0

-------------------------------------------

อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
ขอถามหน่อยเถอะค่ะ เข้าใจคำว่า " แยกรูปนาม " นี้เป็นยังไงหรือคะ
เห็นยกเป็นของวิเศษกันเสียเหลือเกิน


เป็นปัญญาที่ควรทำให้เกิด และควรกำหนดรู้ ครับ

ว่ากันว่า เมื่อใด ที่ มีปัญญาแยกรูป นาม , มี รูป นาม เป็นอาจารย์แล้ว ก็มีความก้าวหน้าในทางปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับผมแล้ว เพียงแต่เป็นผู้เริ่มศึกษา ปฏิบัติในเรื่อง รูป นาม จึงเกิดความเข้าใจตามนัยปริยัติ เท่านั้น

เหตุผลในการกำหนดอิริยาบถ โดยอาจารย์บุญมี เมธางกูร
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/hatpol.doc
ด้วยเหตุนี้ ในพุทธศาสนาจึงพูดว่า เรานั้นวิปลาส แปลว่า จิตคิดผิดไปจากความจริง หรือแปลว่าเป็นบ้า เราไม่เคยคิดว่า ยืน เดิน นั่ง นอน นี้ลำบาก และเป็นเพราะทุกข์ ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง จากการศึกษาเล่าเรียน ทำให้รู้ว่าอำนาจของทุกข์ที่บีบคั้น ทำให้เราต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เปลี่ยนไปเพราะความสุข

การรู้ขึ้นมาในใจเป็น ปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการรู้นี้ เรียกว่า สุตามยปัญญา

แต่ถ้าหากผู้ใดได้นำความรู้นี้ไปปฏิบัติ กำหนดแล้วเห็น ผู้นั้นจะได้ชื่อว่ามีปัญญาชนิด จินตามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณา

ถ้าหากได้ญาณปัญญา เวลาปฏิบัติก็จะได้ปัญญาชนิด ภาวนามยปัญญา คือ นามรูปปริจเฉทญาณ ตามนัยซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ

เมื่อปฏิบัติรู้ว่า ยืนเป็นรูป เดินเป็นรูป และรู้ว่ารูปนี้เป็นทุกข์ เราจะได้ นามรูปปริจเฉทญาณ ตามนัยปริยัติ แปลว่าเล่าเรียนศึกษาแล้วเข้าใจ

แต่เมื่อลงมือปฏิบัติ เรามองเห็นว่า ก่อนจะเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นเพราะเรามีทุกข์มาบังคับ จึงเปลี่ยนอิริยาบถ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ทุกข์เกิดขึ้นจากอิริยาบถโดยตรง เช่น จะต้องทานอาหาร ไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น คือต้องลุกจากที่ เพราะอำนาจของทุกข์มาบีบคั้น ให้เราต้องผันแปรอิริยาบถ หาใช่ความสุข
ถ้ามีการพิจารณาเช่นนี้ในระหว่างปฏิบัติแล้ว ก็ได้ชื่อว่ามีญาณปัญญาเกิด จะได้ นามรูปปริจเฉทญาณ ตามนัยแห่งการปฏิบัติ กล่าวคือ เห็นว่าการยืน เดิน นั่ง นอนนี้เป็นทุกข์
เห็นว่าการยืน เดิน นั่ง นอนเป็นรูป ไม่ใช่เป็นนาม หรือไม่ใช่เป็นเรา

การเห็นเช่นนี้ แปลว่า จิตของเราน้อมเข้าไปรู้และเห็น นามอันหนึ่ง รูปอันหนึ่ง ส่วน นามรูปปริจเฉทญาณ ตามนัยของวิปัสสนา จะเป็นไปอีกอย่าง กล่าวคือ จะต้องเข้าใจจริง ๆ ประกาศขึ้นมาในใจเลย

--------------------------------
อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
การกล่าวโจมตีว่าทางโน้นผิด ของตัวเองถูกต้องนั้น
มีแต่จะสร้างเหตุใหม่ที่เป็นการพาให้ห่างออกจากเส้นทางไปเรื่อยๆ
ทำไมไม่ตั้งใจปฏิบัติ แล้วนำสิ่งที่ปฏิบัติมาอธิบายแนบกับของครูบาฯก็ได้ ถ้ายังไม่มั่นใจ
ไม่ใช่ยังทำไม่ได้เลย แล้วมานั่งวิเคราะห์เอาเองว่านี่นะ ของวิปัสสนาจารย์ท่านนี้นะถูกต้อง
ใช่ถูกเหมือนกัน แต่ถูกในความคิดของแต่ละคนเท่านั้นเอง


ขอโทษคุณวลัยพรด้วยนะครับ บางความเห็น บางตัวอย่าง อาจจะขัดความรู้สึกของคุณ

ถือว่า เรามาสนทนา เรื่อง เหตุผลของการกำหนดอิริยาบถ เพื่อเป็นการกำหนดรู้นามรูป ที่ถูกต้องแล้วกันครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:


สำหรับผมแล้ว เพียงแต่เป็นผู้เริ่มศึกษา ปฏิบัติในเรื่อง รูป นาม จึงเกิดความเข้าใจตามนัยปริยัติ เท่านั้น

เมื่อปฏิบัติรู้ว่า ยืนเป็นรูป เดินเป็นรูป และรู้ว่ารูปนี้เป็นทุกข์ เราจะได้ นามรูปปริจเฉทญาณ ตามนัยปริยัติ แปลว่าเล่าเรียนศึกษาแล้วเข้าใจ

แต่เมื่อลงมือปฏิบัติ เรามองเห็นว่า ก่อนจะเปลี่ยนอิริยาบถ เป็นเพราะเรามีทุกข์มาบังคับ จึงเปลี่ยนอิริยาบถ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ทุกข์เกิดขึ้นจากอิริยาบถโดยตรง เช่น จะต้องทานอาหาร ไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น คือต้องลุกจากที่ เพราะอำนาจของทุกข์มาบีบคั้น ให้เราต้องผันแปรอิริยาบถ หาใช่ความสุข
ถ้ามีการพิจารณาเช่นนี้ในระหว่างปฏิบัติแล้ว ก็ได้ชื่อว่ามีญาณปัญญาเกิด จะได้ นามรูปปริจเฉทญาณ ตามนัยแห่งการปฏิบัติ กล่าวคือ เห็นว่าการยืน เดิน นั่ง นอนนี้เป็นทุกข์
เห็นว่าการยืน เดิน นั่ง นอนเป็นรูป ไม่ใช่เป็นนาม หรือไม่ใช่เป็นเรา

การเห็นเช่นนี้ แปลว่า จิตของเราน้อมเข้าไปรู้และเห็น นามอันหนึ่ง รูปอันหนึ่ง ส่วน นามรูปปริจเฉทญาณ ตามนัยของวิปัสสนา จะเป็นไปอีกอย่าง กล่าวคือ จะต้องเข้าใจจริง ๆ ประกาศขึ้นมาในใจเลย [/color]
--------------------------------
อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
การกล่าวโจมตีว่าทางโน้นผิด ของตัวเองถูกต้องนั้น
มีแต่จะสร้างเหตุใหม่ที่เป็นการพาให้ห่างออกจากเส้นทางไปเรื่อยๆ
ทำไมไม่ตั้งใจปฏิบัติ แล้วนำสิ่งที่ปฏิบัติมาอธิบายแนบกับของครูบาฯก็ได้ ถ้ายังไม่มั่นใจ
ไม่ใช่ยังทำไม่ได้เลย แล้วมานั่งวิเคราะห์เอาเองว่านี่นะ ของวิปัสสนาจารย์ท่านนี้นะถูกต้อง
ใช่ถูกเหมือนกัน แต่ถูกในความคิดของแต่ละคนเท่านั้นเอง


ขอโทษคุณวลัยพรด้วยนะครับ บางความเห็น บางตัวอย่าง อาจจะขัดความรู้สึกของคุณ

ถือว่า เรามาสนทนา เรื่อง เหตุผลของการกำหนดอิริยาบถ เพื่อเป็นการกำหนดรู้นามรูป ที่ถูกต้องแล้วกันครับ





ก็คิดอยู่แล้วว่า คุณต้องตอบมาแบบนี้
แต่ก็ดีที่คุณยังยอมรับตามความเป็นจริงว่าเป็นผู้เริ่มศึกษา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คน มนุษย์ คือ สมมุติบัญญัติ

สภาพธรรมของ จิต,เจตสิก , รูป(๒๘) คือ ปรมัตถ์ธรรม


จิต,เจตสิก , รูป(๒๘) คือปรมัตถ์ธรรม

ครับๆ เกือบได้แล้ว ถามอีกนิดหนึ่งว่าแล้ว จิต เจตสิก รูป เนี่ยรวมกันไม่เรียกว่าคนหรือมนุษย์หรือครับ

คุณเฉลิมศักดิ์



ถามใหม่ชัดๆ นายเฉลิมศักดิ์ นายกรัชกาย นาย ก. นาง ข.ฯลฯ คุณแยกสมมุติกับปรมัตถ์ออกจากกันสิครับ

ไหนสมมุติ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์

หรือตัวอย่างที่ถามหลังสุด ...เราไปยืนอยู่บนสะพานพุทธฯ แล้วมองดูที่ใต้สะพานเห็นแม่น้ำสายหนึ่ง มีชื่อ

เรียกกันว่า แม่น้ำเจ้าพระยา คุณแยกสมมุติกับปรมัตถ์สิครับ ไหนสมมุติ ไหนปรมัตถ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 ก.พ. 2010, 12:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนา

อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
แต่ครูบาฯรุ่นหลังมาบัญญัติศัพท์กันขึ้นมาเอง เรียกว่า วิปัสสนา เพื่อเป็นอุบายในการสื่อสาร
ไปในทางเดียวกัน แต่ทีนี้มีคนที่ไม่เข้าใจในเรื่องของสติปัฏฐาน เมื่อไปอ่านเข้า
ก็เกิดการยึดเอาไว้เลยว่า การปฏิบัติแนวสติปัฏฐานเป็นวิปัสสนาไปอย่างเดียว
ทั้งๆที่ผลของการเจริญสติปัฏฐานนั้น ได้ทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ
ไม่ใช่ได้แค่สติ สัมปชัญญะอย่างเดียวสะที่ไหนล่ะคะ
และสมาธิที่ได้จากการเจริญสติปัฏฐานของแต่ละคนนั้นก็เกิดมากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่เหตุ
ที่เคยกระทำกันมา มีทั้ง ขณิก อุปจาร และอัปปนาสมาธิ แม้แต่คนที่มีแค่ขณิกสมาธิ
ก็สามารถพัฒนาไปถึงอัปปนาสมาธิได้ ไม่ใช่แค่สมาธิตัวหนึ่งตัวเดียวที่ไหนกัน
ไม่งั้นพระพุทธเจ้าจะทรงแยกเรื่องสมถะไว้ทำไมล่ะคะ


คุณวลัยพร ครับ การปฏิบัติในแบบยุบหนอ พองหนอ หรือ พุทโธ ล้วนเป็น สมถะถาวนาทั้งสิ้น

เป็นการเพ่งลมหายใจ พร้อมคำภาวนา จดจ่ออยู่เช่นนั้น จนเกิด อัปปนาสมาธิ , รูปฌาน, อรูปฌาน

คุณวลัยพร ครับ มีสำนักปฏิบัติไหนบ้าง ที่สอนดารเจริญ วิปัสสนา โดยการยกองค์ฌาน ตามพระไตรปิฏก อรรถกถา ดังนี้


viewtopic.php?f=2&t=21049

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง
เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ.



อ้างคำพูด:
เฉลิมศักดิ์ เขียน
วิปัสสนา เป็นชื่อของการปฏิบัติครับ

ส่วนภาวนามยปัญญา ที่เห็นไตรลักษณ์ของ รูป นามขันธ์ ๕ เป็น วิปัสสนาญาณ คือผลของการปฏิบัติวิปัสสนา ครับ

ไม่ใช่ ผลของการปฏิบัติสมถกรรมฐาน ( ซึ่งผลที่เกิดคือ รูปฌาน , อรูปฌาน )



อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
ภาวนามยปัญญา แล้วแต่จะตีความกัน


ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาสำเร็จจากการภาวนา เมื่อบุคคลเจริญซึ่งภาวนาอยู่ย่อม

ได้ซึ่งปัญญาคือความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริงของนามธรรมและรูปธรรม ปัญญา

นี้เป็นภาวนามยปัญญา ในบางแห่ง อธิบายภาวนามยปัญญาว่าเป็นปัญญาของผู้เข้า

สมาบัติ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๒- หน้าที่ 583

ปัญญาของผู้เข้าสมาบัติแม้ทั้งหมด เรียกว่า ภาวนามยปัญญา.


http://www.dhammahome.com/front/webboar ... hp?id=3066


คุณวลัยพรครับ หากเข้าสมาบัติอย่างเดียว แล้วไม่ออกมาเจริญวิปัสสนา พิจารณาสภาพของปรมัตถ์ธรรม คือ รูป นาม ปัญญานั้นก็ไม่ วิสุทธิ (ทิฏฐิวิสุทธิ : นามรูปปริจเฉทญาณ)

อ้างคำพูด:
วลัยพร เขียน
แยกความแตกต่างระหว่างฌานในสมถะกับฌานในสัมมาสมาธิให้ได้ก่อนนะคะ
ค่อยมาอธิบายเรื่องการยกองค์ฌานขึ้นเจริญวิปัสสนา


แต่ผมเกรงว่า นักปฏิบัติสมถะกรรมฐาน บางท่านอาจจะแยกไม่ออก และ ไม่เคยเรียนรู้ ถึงแนวทางในการปฏิบัติ ให้ถึง ฌาน ที่นำไปสู่การเจริญวิปัสสนา เพื่อนำไปสู่ สัมมาสมาธิ ต่อไป

พระพุทธวจนะ

“นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน
ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญาจ นิพฺพานสฺ เสว สนฺติเก

ฌานย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีปัญญา
ปัญญาย่อมไม่มีในผู้ที่ไม่มีฌาน
ผู้ที่มีทั้งฌานและปัญญา จึงจะอยู่ใกล้พระนิพพาน.”


อ้างคำพูด:
21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
viewtopic.php?f=2&t=21062

ความแตกต่างกันระหว่างฌานทั้ง ๒


กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณซึ่งเป็นบัญญัติเป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌาน นั้น คือวิปัสสนาญาณ มีรูปนาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพานเป็นอารมณ์

กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา และที่ประกอบกับมหัคคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ( รูปฌาน ๕ + อรูปฌาน ๔ ) ส่วนลักขณูปนิชฌาน ก็มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุศลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม



คุณวลัยพร ครับ มีสำนักปฏิบัติแนวไหน ที่สอนการนำ อารัมมณูปนิชฌาน ขึ้นสู่ ลักขณูปนิชฌาน ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

ส่วนใหญ่ก็จะสอนกันให้ได้ อารัมมณูปนิชฌาน แล้วเข้าใจว่า รูปฌาน+อรูปฌาน ที่ได้ คือ สัมมาสมาธิ

ฌานต่าง ๆ ที่ได้ คือ วิปัสสนาฌาณ

อย่างที่คุณอายะเคยบอก การเพ่งหน้าท้องยุบหนอ พองหนอ, พุทโธ ก็ไม่ต่างจากการเพ่งกสิณ ถึงระดับหนึ่ง ทั้ง หน้าท้อง กับ กสิณก็หายไปอยู่ คือสมมุติบัญญัติหายไป (แต่ไม่รู้หายไปไหน แล้วจะทำอย่างไรต่อ ?)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสต์ เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติสัมปันน์ เขียน
โด่ๆ อยู่เนี่ยะ ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ไม่เห็นตอบเลย

ตรงไหนเป็นบัญญัติๆ .......หัว ไหล่ ตูด
ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ๆ ..........หัว ไหล่ ตูด
มันก็อยู่ที่ คน หรือ มนุษย์ นี่แหละ ว่าจะมองให้มันเป็น บัญญัติหรือเป็นปรมัตถ์

สามทุ่มกว่าผมนั่งกินกาแฟ สำลักกาแฟเลยครับ สำลักจิงๆ กร๊ากกกกก


คุณสติสัมปันน์ ครับ หายสำลักกาแฟ แล้วหรือยังครับ ?

เรื่อง ปรมัตถ์ธรรม ของ จิต,เจตสิก,รูป ลองศึกษา ตามที่ผมแนะนำก่อนนะครับ

อ้างคำพูด:
กรัชกายเขียน
หรือตัวอย่างที่ถามหลังสุด ...เราไปยืนอยู่บนสะพานพุทธฯ แล้วมองดูที่ใต้สะพานเห็นแม่น้ำสายหนึ่ง มีชื่อ

เรียกกันว่า แม่น้ำเจ้าพระยา คุณแยกสมมุติกับปรมัตถ์สิครับ ไหนสมมุติ ไหนปรมัตถ์


คุณกรัชกายครับ แต่การท่อง แม่น้ำเจ้าพระยาหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ, สะพานพุทธหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ

เป็น บัญญัติธรรม เช่นเดียวกับที่คุณท่อง เห็นหนอ ๆ ๆ ๆ, ยุบหนอ ๆๆๆๆๆ, พองหนอๆๆๆๆๆ, เดินหนอๆๆๆๆๆๆ


http://larndham.org/index.php?showtopic=19097&st=2

๑. อารมณ์ของการปฏิบัติ จะต้องเป็นปรมัตถ์อารมณ์ ซึ่งต่างกับการปฏิบัติสมาธิ อารมณ์ปรมัตถ์นี้จะเป็นเสมือนพาหนะนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่วิปัสสนาปัญญาได้ นั่นคือ ผู้ปฏิบัติจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจใน เรื่องของ วิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ ซึ่งเมื่อสงเคราะห์ลงแล้ว ก็คือ รูป - นาม นั่นเอง ผู้ปฏิบัติจึงต้องกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ฉะนั้นก่อนปฏิบัติจะต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะที่มีการกระทบอารมณ์ตามทวารต่างๆจะต้องกำหนดอย่างไรจึงจะแก้ไข ความโง่ และความเห็นผิดได้

๒. ปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจในปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างกันของปัจจุบันธรรม และปัจจุบันอารมณ์

- ปัจจุบันธรรม คือ รูป นาม ที่เกิดเป็นปัจจุบันอยู่เรื่อยไป

- ปัจจุบันอารมณ์ คือ รูป นามที่ปรากฏเฉพาะหน้า

ปัจจุบันที่มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติ คือ ปัจจุบันอารมณ์ เพราะ อภิชฌา-โทมนัส จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ปฏิบัติสามารถกำหนดได้เท่าทันความจริงตามความเป็นจริงหรือไม่ หากกำหนดได้ทันว่ามีรูปอะไร นามอะไร เกิดขึ้นในอารมณ์ปัจจุบัน ขณะนั้นอภิชฌา และโทมนัสย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เท่ากับว่าในขณะนั้นสมุทัย อันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ย่อมถูกละไป (เป็นการทำลายตัณหา) ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ตรงที่ว่า ผู้ปฏิบัติจะต้องคอยสังเกตให้ได้ทันในปัจจุบันอารมณ์


คุณกรัชกาย ครับ การไปเพ่ง แม่น้ำเจ้าพระยา, สะพานพุทธ, ท้องพองยุบ ก็ไม่สามารถละ อภิชฌา โทมนัสได้ครับ

แต่อาจจะเกิดความสงบ เพราะเพ่งอยู่ในอารมณ์ เดียว อาจจะได้ รูปฌาน ก็ได้ครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสต์ เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




girljump.gif
girljump.gif [ 128.49 KiB | เปิดดู 4688 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์ตอบแถออกนอกเรื่องอีก ที่ถามไม่ตอบ

เอาใหม่นะครับ ตัวอย่างเช่น นายเฉลิมศักดิ์ นายกรัชกาย คุณแยกบัญญัติกับปรมัตถ์ออกจากกันสิครับ

ส่วนไหนเป็นบัญญัติ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์ ชัดๆครับ :b1:

ถ้าคราวนี้คุณเฉไฉอีกครั้งหนึ่ง คงต้องแนะนำให้คุณบอกขายที่ดินที่ตั้งสำนักเสียแล้วล่ะนะ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 ก.พ. 2010, 17:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสต์ เมื่อ: 09 ก.พ. 2010, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




picture-3996.gif
picture-3996.gif [ 11.4 KiB | เปิดดู 4660 ครั้ง ]
เพื่อความชัดเจน เสริมอีกนิดหนึ่ง

ก่อนหน้าคุณตอบว่า

อ้างคำพูด:
คน มนุษย์ คือ สมมุติบัญญัติ

สภาพธรรมของ จิต,เจตสิก , รูป (๒๘) คือ ปรมัตถ์ธรรม

(กรัชกายถามต่อว่า)

แล้ว จิต เจตสิก รูป รวมกันไม่เรียกว่าคนหรือมนุษย์หรือครับ คุณเฉลิมศักดิ์


แต่คุณเลี่ยงไม่ตอบคำถามนี้

เอาใหม่...นายเฉลิมศักดิ์ นายกรัชกาย ก็คนหรือมนุษย์ คือสมมุติบัญญัติ โอเคตามนั้นรับได้



แต่นายเฉลิมศักดิ์ กับนายกรัชกาย ก็ประกอบด้วยจิต เจตสิก รูป อ้าว...แบบนี้คือปรมัตถ์ธรรมด้วยซี่

ก็แสดงว่า นายเฉลิมศักดิ์ นายกรัชกาย เป็นทั้งสมมุติ ทั้งปรมัตถ์ ถูกไหม คุณรับได้ไหม


(คุณตอบคำถามกรัชกายก่อนนะครับ ของคนอื่นพักไว้ก่อน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสต์ เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




45210713yj6.gif
45210713yj6.gif [ 7.49 KiB | เปิดดู 4633 ครั้ง ]
คุณเฉลิมศักดิ์ เอ้ย...ไม่ใช่ดิ ต้องคุณปรมัตถ์ หรือ นายสภาวะ :b12: (ที่จริงคำว่า คุณ,นาย ก็เป็น

บัญญัติ ถูกไหม)

ปกติเคยเข้าลานตอบทุกเข้า แต่เช้านี้คุณหายไป ไม่สบายหรือเปล่าครับ :b22:

หากพรุ่งนี้คุณไม่มาตอบคำถามสองข้อข้างบน คุณเอาที่ดินที่ตั้งสำนักทำเป็นสนามเด็กเล่นเถอะ

ได้ประโยชน์มากกว่า เพราะไม่สร้างมิจฉาทิฏฐิให้ลุกลามออกไป

ก่อนหน้าจะแนะนำให้ขาย แต่ราคาที่ดินใกล้ความเจริญราคาสูง ได้ตังมาก ก็เท่ากับให้ขายที่หนึ่งแล้วเอาเงิน

ไปซื้อที่ที่อื่นๆได้มากกว่า ก็ยิ่งลุกลามเป็นทวีคูณ :b28:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 10 ก.พ. 2010, 09:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสต์ เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปกติเคยเข้าลานตอบทุกเข้า แต่เช้านี้คุณหายไป ไม่สบายหรือเปล่าครับ

หากพรุ่งนี้คุณไม่มาตอบคำถามสองข้อข้างบน คุณเอาที่ดินที่ตั้งสำนักทำเป็นสนามเด็กเล่นเถอะ



คุณกรัชกาย ครับ เกรงใจเจ้าของกระทู้เขาบ้างนะครับ

แล้วคำถาม ความเห็นคุณ เป็นการถามเพื่อเอาชนะ , กระแหนะ กระแหน ผมของดการสนทนาคุณกรัชกายชั่วคราวก่อนแล้วกัน

ประเด็นเรื่อง ปรมัตถ์ธรรมผมก็นำหลักฐานจากพระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท มาชี้แจงหมดแล้ว





อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
ถามใหม่ชัดๆ นายเฉลิมศักดิ์ นายกรัชกาย นาย ก. นาง ข.ฯลฯ คุณแยกสมมุติกับปรมัตถ์ออกจากกันสิครับ

ไหนสมมุติ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์

หรือตัวอย่างที่ถามหลังสุด ...เราไปยืนอยู่บนสะพานพุทธฯ แล้วมองดูที่ใต้สะพานเห็นแม่น้ำสายหนึ่ง มีชื่อ
เรียกกันว่า แม่น้ำเจ้าพระยา คุณแยกสมมุติกับปรมัตถ์สิครับ ไหนสมมุติ ไหนปรมัตถ์



คุณกรัชกาย ครับ ขอเชิญคุณไปเพ่ง แม่น้ำเจ้าพระยาหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ , สะพานพุทธพระยาหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ , ท้องพองยุบพระยาหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

อย่ามารอคำตอบจากผมเลยครับ หนอ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสต์ เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกรัชกาย ครับ เกรงใจเจ้าของกระทู้เขาบ้างนะครับ


คุณอายะอนุญาตแล้ว ไม่เชื่อถามดูได้ :b12:

เอางี้ไหมล่ะ กรัชกายจะตั้งกระทู้สนทนากับคุณตามลำพัง หรือคุณจะตั้งเองก็ได้ ว่าไงโอเคไหมครับ


อ้างคำพูด:
แล้วคำถาม ความเห็นคุณ เป็นการถามเพื่อเอาชนะ , กระแหนะ กระแหน ผมของดการสนทนาคุณกรัชกายชั่ว
คราวก่อนแล้วกัน



โทษกรัชกายอีก คุณแพ้ตัวเองต่างหากครับ ไม่มีใครชนะคุณเลย คุณไม่รู้เข้าใจปัญหานี้ :b3:


อ้างคำพูด:
ประเด็นเรื่อง ปรมัตถ์ธรรมผมก็นำหลักฐานจากพระไตรปิฏก อรรถกถา คัมภีร์ของเถรวาท มาชี้แจงหมดแล้ว


คุณแบกตำราก็จริง แต่คุณตีความตำราตามความคิด ตามความเข้าใจของตัวเอง

ไม่เข้าใจเนื้อหาสาระตัวอักษรนั้นๆเลย

ลึกๆแล้วคุณไม่มีความเข้าใจ ความหมาย สมมุติบัญญัติ กับสภาวธรรมหรือปรมัตถ์เลย

คุณแยกไม่ออก แยกไม่เป็น ว่าตรงไหนเรียกสมมุติ ส่วนไหนเรียกปรมัตถ์ คุณพูดตามๆ เขาไปเท่านั้นเอง

อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน
ถามใหม่ชัดๆ นายเฉลิมศักดิ์ นายกรัชกาย นาย ก. นาง ข.ฯลฯ คุณแยกสมมุติกับปรมัตถ์ออกจากกันสิครับ

ไหนสมมุติ ตรงไหนเป็นปรมัตถ์

หรือตัวอย่างที่ถามหลังสุด ...เราไปยืนอยู่บนสะพานพุทธฯ แล้วมองดูที่ใต้สะพานเห็นแม่น้ำสายหนึ่ง มีชื่อ
เรียกกันว่า แม่น้ำเจ้าพระยา คุณแยกสมมุติกับปรมัตถ์สิครับ ไหนสมมุติ ไหนปรมัตถ์


คุณกรัชกาย ครับ ขอเชิญคุณไปเพ่ง แม่น้ำเจ้าพระยาหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ , สะพานพุทธพระยาหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ , ท้องพองยุบพระยาหนอ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ

อย่ามารอคำตอบจากผมเลยครับ หนอ



สุดท้ายตัดเหลือตัวอย่างเดียว คือ นายเฉลิมศักดิ์ กับ นายกรัชกาย เพื่อให้มองเข้ามาที่ตนเอง

แต่คุณก็แถลงแม่น้ำเจ้าพระยาหนออีก ออกนอกเรื่องอีก

ก่อนหน้ายกตัวอย่างไกลๆตัว หวังให้เห็นประเด็นคำถามชัดๆ มองปัญหาออก

แต่คุณก็ตอบแบบกระแหนะกระแหน ไปพองหนอ ยุบหนอ แม่น้ำเจ้าพระยาหนอ สะพานพุทธหนอ

เลี่ยงออกนอกทางอีก


หลังสุดเหลือตัวอย่างนายเฉลิมศักดิ์ นายกรัชกาย ให้คุณแยก

ก็อย่างที่เห็นคุณแถแถกเหมือนปลาที่ถูกโยนขึ้นบก แถกจนหมดเกล็ดเหลือแต่ล้อนจ้อน

พาลงแม่น้ำเจ้ายาหนอ สะพานพุทธหนออีกจนได้ :b32:

ตอนนี้สรุปนะครับว่า คุณแพ้ตัวคุณเอง ไม่ได้แพ้กรัชกายหรือใครๆเลย O.K. นะครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 123 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร