วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ต.ค. 2009, 09:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




010.jpg
010.jpg [ 47.25 KiB | เปิดดู 2969 ครั้ง ]
ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ [ญาณในเหตุธรรม]

ธรรมฐิติญาณ หรือ ยถาภูตญาณ หรือ สัมมาทัสสนะ นั้นตรงกับ กังขาวิตรณวิสุทธิ ใน วิสุทธิ 7

กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย, ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัยในกาลทั้ง 3

วิสุทธิ 7 หมายถึง ความหมดจด, ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปเป็นขั้นๆ, ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน ประกอบด้วย สีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ และ ญาณทัสสนวิสุทธิ


ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณอย่างไร ..............

ปัญญา ในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชา....
๑. เป็นเหตุเกิด
๒. เป็นเหตุให้เป็นไป
๓. เป็นเหตุเครื่องหมาย
๔. เป็นเหตุประมวลมา
๕. เป็นเหตุประกอบไว้
๖. เป็นเหตุพัวพัน
๗. เป็นเหตุให้เกิด
๘. เป็นเหตุเดิม และ
๙. เป็นเหตุอาศัยไปแห่งสังขาร

ด้วยอาการ ๙ ประการ อวิชชาจึงเป็นปัจจัย
สังขารเกิดขึ้นแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า
สังขารเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัย เป็นไปแห่งวิญญาณ ฯลฯ
วิญญาณเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งนามรูป
นามรูปเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งสฬายตนะ
สฬายตนะเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งผัสสะ
ผัสสะเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งเวทนา
เวทนาเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งตัณหา
ตัณหาเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งอุปาทาน
อุปาทานเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งภพ
ภพเป็นเหตุเกิด ... และเหตุอาศัยเป็นไปแห่งชาติ
ชาติเป็นเหตุเกิด ... และเป็นเหตุอาศัยเป็นไปแห่งชราและมรณะ

ชาติเป็นเหตุเกิด เป็นเหตุให้เป็นไป เป็นเครื่องหมาย เป็นเหตุประมวลมา เป็นเหตุประกอบไว้ เป็นเหตุพัวพัน เป็นเหตุให้เกิด เป็นเหตุเดิม และเป็นเหตุอาศัยเป็นไป
แห่งชราและมรณะ ด้วยอาการ ๙ ประการนี้ ชาติจึงเป็นปัจจัย ชราและมรณะ เกิดแต่ปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่ปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

ยังมีต่อ


เจริญในธรรมครับ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ต.ค. 2009, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็นเหตุ สังขารอาศัยเหตุเกิดขึ้นแม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุดังนี้เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า .........
สังขารเป็นเหตุ วิญญาณเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
วิญญาณเป็นเหตุ นามรูปเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
นามรูปเป็นเหตุ สฬายตนะ เกิดขึ้นแต่เหตุ ...
สฬายตนะเป็นเหตุ ผัสสะเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
ผัสสะเป็นเหตุ เวทนาเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
เวทนาเป็นเหตุ ตัณหาเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
ตัณหา เป็นเหตุ อุปาทานเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
อุปาทานเป็นเหตุ ภพเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
ภพเป็นเหตุ ชาติเกิดขึ้นแต่เหตุ ...
ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นแต่เหตุ
แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติเป็นเหตุ ชราและมรณะเกิดขึ้นแต่เหตุ แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นแต่เหตุ ดังนี้ เป็น ธรรมฐิติญาณ ฯ


ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขาร อาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดีอวิชชาอาศัยปัจจัยเป็นไป สังขารอาศัยอวิชชาเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า....................
.....สังขารอาศัยปัจจัยเป็นไป วิญญาณอาศัย สังขารเกิดขึ้น
.....วิญญาณอาศัยปัจจัยเป็นไป นามรูปอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น
.....นามรูป อาศัยปัจจัยเป็นไป สฬายตนะอาศัยนามรูปเกิดขึ้น
.....สฬายตนะอาศัยปัจจัยเป็นไป ผัสสะอาศัยสฬายตนะเกิดขึ้น
.....ผัสสะอาศัยปัจจัยเป็นไป เวทนาอาศัยผัสสะเกิดขึ้น
.....เวทนาอาศัยปัจจัยเป็นไป ตัณหาอาศัยเวทนาเกิดขึ้น
.....ตัณหาอาศัยปัจจัยเป็นไป อุปทานอาศัยตัณหาเกิดขึ้น
.....อุปทานอาศัยปัจจัยเป็นไป ภพอาศัยอุปทานเกิดขึ้น
.....ภพอาศัยปัจจัยเป็นไป ชาติอาศัยภพเกิดขึ้น
.....ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น
แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติอาศัยปัจจัยเป็นไป ชราและมรณะอาศัยชาติเกิดขึ้น แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็อาศัย ปัจจัยเกิดขึ้น ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ


เจริญในธรรมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย มหาราชันย์ เมื่อ 07 ต.ค. 2009, 20:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2009, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้น เพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า .............
.....สังขารเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดขึ้นเพราะ ปัจจัย
.....วิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
.....นามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
.....สฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
.....ผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
.....เวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดขึ้น เพราะปัจจัย
.....ตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
.....อุปาทานเป็นปัจจัย ภพเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
.....ภพเป็นปัจจัย ชาติเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
.....ชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้นเพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ
ปัญญาในการกำหนดปัจจัยว่า ในอดีตกาลก็ดี ในอนาคตกาลก็ดี ชาติ เป็นปัจจัย ชราและมรณะเกิดขึ้นเพราะปัจจัย แม้ธรรมทั้งสองนี้ต่างก็เกิดขึ้น เพราะปัจจัย ดังนี้ เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ


ยังมีต่อ


เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2009, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้..........เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
......ความหลงเป็นอวิชชา
......กรรมที่ประมวลมาเป็น สังขาร
......ความพอใจเป็นตัณหา
......ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน
......ความคิดอ่านเป็นภพ

ธรรม ๕ ประการในกรรมภพก่อน เหล่านี้เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิในอุปปัตติภพนี้
......ปฏิสนธิเป็นวิญญาณ
......ความก้าวลงเป็นนามรูป
......ประสาท (ภาวะที่ผ่องใสใจ) เป็นอายตนะ
......ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ
......ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา

ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในปุเรภพ
......ความหลงเป็นอวิชชา
......กรรมที่ประมวลมาเป็นสังขาร
......ความพอใจเป็นตัณหา
......ความเข้าถึงเป็นอุปาทาน
......ความคิดอ่านเป็นภพ (ย่อมมี)

เพราะอายตนะทั้งหลาย ในภพนี้สุดรอบ
.....ธรรม ๕ ประการในกรรมภพนี้เหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งปฏิสนธิ ในอนาคต
......ปฏิสนธิในอนาคตเป็นวิญญาณ
......ความก้าวลงเป็นนามรูป
......ประสาทเป็น อายตนะ
......ส่วนที่ถูกต้องเป็นผัสสะ
......ความเสวยอารมณ์เป็นเวทนา

ธรรม ๕ ประการในอุปปัตติภพในอนาคตเหล่านี้ เป็นปัจจัยแห่งกรรมที่ทำไว้ในภพนี้ พระโยคาวจร ย่อมรู้ ย่อมเห็น ย่อมทราบชัด ย่อมแทงตลอด ซึ่งปฏิจจสมุปบาท มีสังเขป ๔ กาล ๓ ปฏิสนธิ ๓ เหล่านี้ โดยอาการ ๒๐ ด้วยประการดังนี้

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดปัจจัย เป็นธรรมฐิติญาณ ฯ

เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2009, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความโศกทั้งหลาย
ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตมั่นคง ไม่ประมาท
เป็นมุนีผู้ศึกษาในทางแห่งมโนปฏิบัติ ผู้คงที่
สงบระงับแล้วมีสติในกาลทุกเมื่อ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บุคคลใดผู้อยู่ครองเรือนประกอบด้วย
สัทธา มีธรรม ๔ ประการเหล่านี้ คือ สัจจะ,
ธรรมะ, ธิติ, และจาคะ บุคคลนั้นแล ละโลกนี้
ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร