วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 02:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=2



กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


rojaninth10 เขียน:
ขอเวลานอก นะครับทุกท่าน
อ้างอิง ที่เป็นประเด็น
๑. สมถะยานิกะ
๒. วิปัสสนายานิกะ
ทางสองสายนี้ เส้นใดมีทางลัดสู่นิพพานได้บ้าง..

รูปภาพ


อืม...น่าจะไม่มี ทางลัดนะคะ ถ้าใช้คำว่า ทางตรง สู่นิพพาน จะเหมาะกว่ามั้ยคะ
การเจริญสติคือการสะสมบารมี
พระพุทธเจ้าสร้างบารมีตั้งสามแสนชาติกว่าจะทรงตรัสรู้
หรือแค่บารมีสาวกก็หกหมื่นชาติ
อ่านแล้วรู้สึกท้อมั้ยคะ
พระท่านบอกว่า ถ้าเรามัวแต่คิดหรือพูดไม่ลงมือปฏิบัติ อีกสักโกษฐ์ล้านปีก็ไม่สำเร็จ
แล้วเกิดมาชาตินี้มีใครรู้บ้างว่าสะสมบารมีมาแล้วเท่าไหร่ ๕๙,๙๙๙ ชาติหรือยัง
พระท่านจึงบอกว่า ให้ลงมือปฏิบัติ อย่าไปสงสัยนัก อย่ามัวแต่ถาม
พระพุทธเจ้าและพระสาวกท่านขึ้นต้นปฏิบัติด้วยการอธิษฐาน
หากปฏิบัติโดยไม่อธิษฐานก็ไม่ใช่...บารมี... :b44:
.....................
อย่างเราท่าน
เอาแค่ 1ส่วนในล้านส่วนของพระเวสสันดร(พระโพธิสัตว์) พอจะไหวมั้ยคะ
(ขอ :b8: ค่ะ เห็นหลายคนหาทางนิพพานกันจัง :b27: )

:b42: :b42: :b42:
ระเบิดขันธ์๕
หาอ่าน-ศึกษาปฏิปทาหลวงปู่แหวนกันเองนะคะ
อาจเป็นทางลัด(ตรง)ที่คุณปรารถนา...ขออนุโมทนาค่ะ
:b43: :b43: :b43:


บารมี ๑๐

บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่องคือ

๑. ทานบารมี มีกำลังใจพร้อมจะให้เสมอ ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน

๒. ศีลบารมี มีกำลังใจรักษาศีลยิ่งกว่าชีวิต

๓. เนกขัมมะบารมี เนกขัมมะแปลว่าการถือบวช พยายามระงับนิวรณ์ในเบื้องต้นตัดสังโยชน์เป็นเรื่องสุดท้าย

๔. ปัญญาบารมี พิจารณาว่าการเกิดเป็นต้นเหตุของทุกข์ ยอมรับนับถือกฎของความเป็นจริง

๕. วิริยะบารมี มีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง

๖. ขันติบารมี อดทนต่ออุปสรรค สู้ให้ถึงที่สุดไม่ถอยหลัง

๗. สัจจะบารมี ทรงความจริงเป็นปกติ ตั้งใจทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ

๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นทุกข์ ตั้งใจไว้เฉพาะว่า “ เราจะไปพระนิพพาน ”

๙. เมตตาบารมี ตั้งใจให้มั่นว่าจะเมตตา คำว่าศัตรูไม่มีสำหรับเรา

๑๐.อุเบกขาบารมี เฉยต่ออุปสรรค เช่น คำนินทา การเจ็บไข้ เฉยในเรื่องร่างกาย

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 16:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 16:01
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ Bwitct
อืม...น่าจะไม่มี ทางลัดนะคะ ถ้าใช้คำว่า ทางตรง สู่นิพพาน จะเหมาะกว่ามั้ยคะ
ทางตรง สู่นิพพาน ตรงแล้วยังไกลเลยนะครับ. ลองแปลความหมายของ นิพพานให้ใกล้ตัวกว่านี้ดีไหม
มรรคผล นิพพานอันเป็นความสูข ในโลกป้จจุบันหาไม่ได้แล้ว หรือ

การเจริญสติคือการสะสมบารมีการเจริญสติคือ วิปัสสนายานิกะ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตร้สรู้ได้ในพระชาติสุดท้าย ด้วยการสเจริญสติ
จะเรียกว่าเป็นการสะสมบารมี อย่างไรกัน หรือพระชาติก่อนหน้านั้นทรงพบแนวทางการวิปัสสนามาแล้ว

พระพุทธเจ้าสร้างบารมีตั้งสามแสนชาติกว่าจะทรงตรัสรู้
เท่าที่พบในบันทึก ทรงเพียรบารมีมาทั้งหมด 10 ชาติ

หรือแค่บารมีสาวกก็หกหมื่นชาติ
การระลึกชาติ เป็นมิจฉาสมาธิจากผลจากการทำสมถะ ยังติดอนัดตาอยู่กระมัง...จึงยกวิปัสสนาไม่ได้

พระท่านจึงบอกว่า ให้ลงมือปฏิบัติ อย่าไปสงสัยนัก อย่ามัวแต่ถาม
สงสัยก็เป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่ง สามัญชนผู้พึ่งปฏิบัติมักเกิดคำถามเสมอ หากการปฏิบัติไม่เกิดจาก
การกำหนด หรือเพ่งตัวอารมณ์ จนจิตไม่รู้จักคิดอะไร หลงอยู่กับความสงบนิ่งติดสูขอยู่เยี่ยงนั้นๆแหล่
ถึงจะไม่สงสัยอะไร.

พระพุทธเจ้าและพระสาวกท่านขึ้นต้นปฏิบัติด้วยการอธิษฐาน
อธิษฐาน คำนี้สงสัยมานานเหมือนกัน หากเจตนาหมายถึง เป้าหมาย (Target) ก็หน่าจะเป็นไปได้
แต่ถ้า อธิษฐาน หมายถึงการขอให้ได้มา เพื่อให้สมอยากแล้วไซ้.ประโยคข้องบนก็ไม่ใช่แล้วหล่ะครับ
เพราะการขอนั้นแย้งกับคำสอนโดยสิ้นชิง 'อัตตหิ อัตตาโนนาโถ ' จะหมายความว่าอย่างไรหล่ะ ครับ..


แก้ไขล่าสุดโดย rojaninth10 เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 16:08, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

นั่งสมาธิแล้วแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก

พอนั่งสมาธิแล้วจิตเริ่มเป็นสมาธิแล้ว ลมหมายใจเริ่มหายไป แผ่วเบา

พอเริ่มรู้ว่แผ่วเบา ก็เลยกังวล ว่าหายใจอยู่ปะเนี๊ย

และรู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก ต้องกลับมาหายใจตามปกติเหมือนเดิม

ทุกที เป็นอย่างเงี้ย ประจำเลย


เป็นอะไร ไม่ใช่การเจริญอานาปานสติหรือครับ

แล้วการปฏิบัติธรรมจริงของคุณคืออะไรหรือขอรับ

ตอบให้ตรงคำถามก็จบ แต่นี่คุณโยกไปโยกมาแล้วจะให้ว่ายังไงล่ะ ขอรับ :b12:



คุณเฉลิมศักดิ์ทำมองไม่เห็นคำถามนี้อีก ถามว่า นั่นไม่ใช่การเจริญอานาปานสติดอกหรือครับ

ตอบหน่อย

แล้วอานาปานสติตามที่คุณเข้าใจคืออะไร ต้องทำยังไง ตอบหน่อยครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธพจน์ที่ตรัสเรียกรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ แต่ละอย่างๆว่า

เป็นตทังคนิพพานบ้าง ทิฏฐธรรมนิพพานบ้าง สันทิฏฐิกนิพพานบ้าง

เช่นข้อความในบาลีว่า

“ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌาน แม้เพียงเท่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยปริยาย ฯลฯ

ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นด้วย

ปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป แม้เพียงเท่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพานโดยตรง (โดยนิปปริยาย)” *

(* ดู องฺ.นวก.23/237,251,255/428,475,476)

ผู้ที่มองเห็นขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว หมดความหวาดสะดุ้งอยู่เป็นสุข

ท่านก็เรียกว่า เป็นผู้ตทังคนิพพาน *

(* สํ.ข.17/88/54)

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:


รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ

(ธรรม ๙ อย่างนี้ รวมเรียกว่าอนุปุพพวิหาร ๙ แปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปทีละขั้นๆ

ตามลำดับ หรือ อนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ แปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ที่พึงเข้าต่อกันขึ้นไปตามลำดับ)

แต่ถ้ายึดเอาการได้ฌานเป็นการบรรลุนิพพานแท้จริง ก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิไป*

(* ม.อุ.14/29/27; 40/39 ฯลฯ


-ตทังคนิพพาน นิพพานคู่ปรับ หรือ นิพพานชั่วคราว

-ทิฏฐธรรมนิพพาน นิพพานทันตาเห็น

- สันทิฏฐิกนิพพาน นิพพานที่ผู้บรรลุจะเห็นได้เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue ธรรมะสวัสดีกัลยาณมิตรทุกท่าน
ดิฉันต้องขอออกตัวก่อนนะคะว่า
หนึ่ง ไม่เคยสนทนาธรรมกับใครมาก่อน
สอง ดิฉันไม่มีภูมิธรรมใดๆ เลย โดยเฉพาะด้านปริยัติ
ดังนั้นสิ่งที่ดิฉันจะสนทนาต่อไปนี้ไม่มีเจตนาจะยกตนเสมอท่านผู้ใดทั้งสิ้น
ทุกสิ่งเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวจากความรู้เท่าที่ได้อ่านและศึกษามา
หากสามารถอ้างอิงที่มาได้ดิฉันก็จะพยายามยกมานะคะ (ยกเว้นจากพระไตรปิฎก) :b20:
จะผิดถูกอย่างไร ก็ขอได้โปรดชี้แนะ ดิฉันพร้อมที่จะเรียนรู้ค่ะ ขออนุโมทนาล่วงหน้าค่ะ :b8:

rojaninth10 เขียน:
คุณ Bwitct
อืม...น่าจะไม่มี ทางลัดนะคะ ถ้าใช้คำว่า ทางตรง สู่นิพพาน จะเหมาะกว่ามั้ยคะ
ทางตรง สู่นิพพาน ตรงแล้วยังไกลเลยนะครับ. ลองแปลความหมายของ นิพพานให้ใกล้ตัวกว่านี้ดีไหม
มรรคผล นิพพานอันเป็นความสูข ในโลกป้จจุบันหาไม่ได้แล้ว หรือ

การเจริญสติคือการสะสมบารมีการเจริญสติคือ วิปัสสนายานิกะ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตร้สรู้ได้ในพระชาติสุดท้าย ด้วยการสเจริญสติ
จะเรียกว่าเป็นการสะสมบารมี อย่างไรกัน หรือพระชาติก่อนหน้านั้นทรงพบแนวทางการวิปัสสนามาแล้ว

พระพุทธเจ้าสร้างบารมีตั้งสามแสนชาติกว่าจะทรงตรัสรู้
เท่าที่พบในบันทึก ทรงเพียรบารมีมาทั้งหมด 10 ชาติ

หรือแค่บารมีสาวกก็หกหมื่นชาติ
การระลึกชาติ เป็นมิจฉาสมาธิจากผลจากการทำสมถะ ยังติดอนัดตาอยู่กระมัง...จึงยกวิปัสสนาไม่ได้

พระท่านจึงบอกว่า ให้ลงมือปฏิบัติ อย่าไปสงสัยนัก อย่ามัวแต่ถาม
สงสัยก็เป็นสภาวะธรรมอย่างหนึ่ง สามัญชนผู้พึ่งปฏิบัติมักเกิดคำถามเสมอ หากการปฏิบัติไม่เกิดจาก
การกำหนด หรือเพ่งตัวอารมณ์ จนจิตไม่รู้จักคิดอะไร หลงอยู่กับความสงบนิ่งติดสูขอยู่เยี่ยงนั้นๆแหล่
ถึงจะไม่สงสัยอะไร.

พระพุทธเจ้าและพระสาวกท่านขึ้นต้นปฏิบัติด้วยการอธิษฐาน
อธิษฐาน คำนี้สงสัยมานานเหมือนกัน หากเจตนาหมายถึง เป้าหมาย (Target) ก็หน่าจะเป็นไปได้
แต่ถ้า อธิษฐาน หมายถึงการขอให้ได้มา เพื่อให้สมอยากแล้วไซ้.ประโยคข้องบนก็ไม่ใช่แล้วหล่ะครับ
เพราะการขอนั้นแย้งกับคำสอนโดยสิ้นชิง 'อัตตหิ อัตตาโนนาโถ ' จะหมายความว่าอย่างไรหล่ะ ครับ..

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตสนทนาเป็นบางหัวข้อนะคะ
เกรงใจท่าน จขกท. ค่ะ

อ้างคำพูด:
ทางตรง สู่นิพพาน ตรงแล้วยังไกลเลยนะครับ. ลองแปลความหมายของ นิพพานให้ใกล้ตัวกว่านี้ดีไหม
มรรคผล นิพพานอันเป็นความสูข ในโลกป้จจุบันหาไม่ได้แล้ว หรือ


ดิฉันว่าเราคงสนทนากันคนละเรื่องเดียวกันแล้วละค่ะ
วันก่อนคุณถามถึง ทางลัดเพื่อนิพพาน ดิฉันก็ตอบพร้อมยกเหตุผลแล้วว่าไม่น่าจะมีทางลัด

มาวันนี้คุณจะหานิพพานแบบโลกๆ อีก ไปกันใหญ่ละค่ะเนี่ย... :b23:
ความเห็นของดิฉันคงหาไม่ได้นะคะ นิพพานแบบโลกๆ
ถ้านิพพานก็พ้นโลกแล้วค่ะ...
นิพพานคือ วางอยาก วางยึด วางตัณหา อุปาทานทั้งหมด
นั่นคือจิตหลุดพ้น (อย่าตีความว่านิพพานคือตายนะคะ ไม่ใช่ค่ะ)

ถ้าความสุขแบบโลกๆ อ่ะพอจะได้อยู่ ก็ถือศีล๕ ศีล๘ หรือศีล๑๐
ระมัดระวังกาย วาจา ใจ ไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น เท่านี้ก็สุขพอแก่ฐานานุรูป

ดิฉันศึกษาจากการอ่าน..อ่าน และอ่าน ยังไม่ถามแม้จะสงสัย ก็หาอ่านเองก่อน
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โลกคืออะไร นิพพานคืออะไร และเพื่ออะไร

พุทธธรรมเป็นเรื่องของการปฏิบัติไม่ใช่นั่งคิด นั่งถาม นั่งตอบ
ทำได้รู้เอง ไม่ใช่คิด

ดิฉันขอจบประเด็นนี้เพียงเท่านี้นะคะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เท่าที่พบในบันทึก ทรงเพียรบารมีมาทั้งหมด 10 ชาติ


เป็น 10 ชาติเดียวกันนี้หรืิอไม่คะ

ทศชาติชาดก เป็นชาดกที่สำคัญ กล่าวถึง 10 ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ก่อนจะเสวยพระชาติมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า หรือเจ้าชายสิทธัตถะแห่งศากยวงศ์


ชาดกทั้ง 10 เรื่อง มีดังนี้


ชาติที่ 1 เตมีย์ชาดก เพื่อบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
ชาติที่ 2 ชนกชาดก เพื่อบำเพ็ญวิริยบารมี
ชาติที่ 3 สุวรรณสามชาดก เพื่อบำเพ็ญเมตตาบารมี
ชาติที่ 4 เนมิราชชาดก เพื่อบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
ชาติที่ 5 มโหสถชาดก เพื่อบำเพ็ญปัญญาบารมี
ชาติที่ 6 ภูริทัตชาดก เพื่อบำเพ็ญศีลบารมี
ชาติที่ 7 จันทชาดก เพื่อบำเพ็ญขันติบารมี
ชาติที่ 8 นารทชาดก เพื่อบำเพ็ญอุเบกขาบารมี
ชาติที่ 9 วิทูรชาดก เพื่อบำเพ็ญสัจจบารมี
ชาติที่ 10 เวสสันดรชาดก เพื่อบำเพ็ญทานบารมี


เพื่อให้จำง่าย มักนิยมท่องโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละชาติ คือ เต ช สุ เน ม ภู จ นา วิ เว
สำหรับชาติสุดท้าย เป็นชาติที่สำคัญ และบำเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่ คือ เวสสันดรชาดก หรือเรื่องพระเวสสันดร

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อธิษฐาน คำนี้สงสัยมานานเหมือนกัน หากเจตนาหมายถึง เป้าหมาย (Target) ก็หน่าจะเป็นไปได้
แต่ถ้า อธิษฐาน หมายถึงการขอให้ได้มา เพื่อให้สมอยากแล้วไซ้.ประโยคข้องบนก็ไม่ใช่แล้วหล่ะครับ
เพราะการขอนั้นแย้งกับคำสอนโดยสิ้นชิง 'อัตตหิ อัตตาโนนาโถ ' จะหมายความว่าอย่างไรหล่ะ ครับ.


อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ว่ามนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เป็นทุกข์ ตั้งใจไว้เฉพาะว่า “ เราจะไปพระนิพพาน”

ถูกต้องแล้วค่ะ อธิษฐานคือความตั้งใจ ไม่ใช่การขอ :b8:

บารมี๑๐ ต้องครบถ้วนเต็มเปี่ยมทุกข้อ อ่านความหมายจากความเห็นที่ผ่านมานะคะ
บารมี๑๐ เป็นการค่อยๆ ละกิเลสออกจากใจทีละน้อยๆ พร้อมเข้าสู่พุทธปัญญา :b8:

ขออนุญาตสนทนาเพียงเท่านี้ค่ะ บางข้อสนทนาต่อเกรงจะไม่เหมาะไม่ควร
กลัวจะเป็นการปรามาสพระอริยบุคคลที่บำเพ็ญเพียรมากว่า ๕๙,๙๙๙ ชาติ
ตกนรกไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดกันพอดีเชียว

...พ้นทุกข์เพราะความเพียร... :b44:
.......ขอให้เจริญในธรรมค่ะ :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 21:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

บอกเรื่องบารมี 10..

คนฉลาดเกิน..ก็จะหาว่า..แค่ 10 เอง จะไปถึงนิพพานได้หรือ?..ดูมันน้อย ๆ ยังงัยชอกกล..ละมั้ง?

คนฉลาดเกิน..ต้องการรู้ให้หมด..ทุกซอกทุกมุม..

คนฉลาดเกิน..จึงเนิ่นช้า :b12: :b12:

คนฉลาดน้อย..ครูอาจารย์บอกยังงัย..ก็ทำยังงั้น

คนฉลาดน้อย..ได้อาจารย์ถูก..ไปง่าย..ได้อาจารย์ผิด..ก็เนิ้นช้า :b12: :b12:

มันเป็นเรื่องธรรมดา..ของคน..ครับ..คุณBwitch..อดทนแจงไปทีละข้อ ๆ ก็แล้วกันเน๊าะ..สาธุ


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 21:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ชมกันหรือป่าวคะ ...คนฉลาดน้อย ไปง่าย...แห่ะ แห่ะ :b9: :b32:

ดิฉันว่าปราชญ์หลายท่านกำลังอดทนอ่านความเห็นของดิฉันอยู่มากกว่าค่ะ
ส่วนดิฉันก็พยายามฝืนทำในสิ่งที่เกินปัญญาตัวเอง.... :b22: :b12:
ได้เท่านี้จริงๆ ค่ะ ไม่ต่ออีกแล้ว สาธุที่ให้โอกาสค่ะ :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 06:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
Bwitch เขียน
บารมี ๑๐

บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบบริบูรณ์ ไม่มีอะไรบกพร่องคือ


:b8: สาธุครับ คุณ Bwitch

เพิ่มเติมเรื่อง บารมี ๑๐ ทัส จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ที่อธิบายไว้อย่างละเอียด

บารมี ๑๐ ทัส
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/112.htm

ลำดับของบารมี
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/123.htm

ตอนที่กล่าวถึงเนกขัมมบารมีอันเป็นลำดับที่ ๓ นั้นได้กล่าวว่าเนกขัมมบารมี เป็นหัวใจแห่งบารมี ๑๐ ทัส ก็น่าจะสงสัยว่าเหตุใดจึงไม่ยกหัวใจขึ้นมาแสดงก่อนเป็นลำดับแรก แต่แสดงทานบารมีและสีลบารมีก่อนเป็นลำดับที่ ๑ และ ๒ ที่เป็นเช่นนี้ ก็ด้วยเหตุว่า

บุคคลทั้งหลาย ย่อมมีความตระหนี่เป็นนิสสัยสันดานด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันแต่ว่ามีมากหรือน้อย การสร้างบารมีต้องทำลายความตระหนี่ให้ลดลงเสียก่อนดังนั้นจึงได้ทรงยกเอาทาน เป็นปฐมบารมี

การบริจาคทานนี้เองทำให้จิตน้อมเข้าหาสีลธรรมจรรยา ประพฤติปฏิบัติตนให้มีกิริยา วาจาตามปกติ ไม่เป็นการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนวุ่นวาย ดังนี้จึงได้ทรงเทสนา สีล เป็นลำดับที่ ๒

เมื่อได้รักษาสีลไม่มีด่างพร้อยแล้ว ก็จะเกิดความสงบ ทำให้ตระหนักในความสับสนยุ่งยากของความเป็นอยู่ในโลก จึงคิดใคร่จะหลีกปลีกตัวให้พ้นจากความโกลาหลนั้น ๆ พระพุทธองค์จึงทรงแสดง เนกขัมมะ เป็นลำดับที่ ๓

การใคร่หนีให้พ้นจากความสับสนยุ่งยาก จะมั่นคงอยู่ได้ก็ต้องมีปัญญาเข้าไปแจ้งในความจริงนั้น ๆ จึงทรงเทสนา ปัญญาบารมี ในลำดับที่ ๔

ปัญญาที่เข้าไปแจ้งในความจริงนั้น ต้องประกอบด้วยความเพียรเป็นอย่างมาก ขนาดที่ถึงเนื้อจะเหือดเลือดจะแห้ง จนเหลือแต่เพียงหนัง เพียงเอ็น เพียงกระดูก ก็ไม่ละจากความเพียรที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้น จึงได้ทรงเทสนา วิริยะ เป็นลำดับที่ ๕

แม้จะเปี่ยมไปด้วยความพากเพียรดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หากขาดความอดทน ไม่ประกอบด้วยความอดทนแล้ว ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้จึงทรงยก ขันติ มาแสดงเป็นลำดับที่ ๖

ความอดทนจะตั้งมั่นอยู่ได้โดยไม่โยกคลอน ในเมื่อถูกปฏิปักษ์ธรรมเข้าเบียดเบียนนั้น ย่อมต้องอาศัยความสัตย์ซื่อ ถือมั่นว่าจะเว้นจากความชั่ว อันเป็นปฏิปักษ์ที่ทำให้คลายความอดทน คลายจากคุณงามความดีทั้งหลาย จึงทรงเทสนา สัจจะ เป็นลำดับที่ ๗

สัจจธรรม ก็จะมั่นคงอยู่ได้ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าอย่างแน่นอน ไม่ปรวนแปรไปเป็นอื่น จึงทรงแสดง อธิฏฐานบารมี เป็นลำดับที่ ๘

การตั้งความปรารถนาอันแรงกล้าแน่นอน จะยืนยงอยู่ได้ ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่จะทำให้เกิดความวู่วามนั้น ย่อมต้องอาศัยความไม่โกรธเป็นหลัก จึงทรงเทสนา เมตตาเป็นลำดับที่ ๙

ความเมตตา จะคงอยู่ได้อย่างไม่ขาดสายก็ต้องอาศัยความวางเฉยต่อเหตุการณ์ของโลกเป็นเครื่องสนับสนุน ไม่ให้เอนเอียงไปในฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ พระพุทธองค์จึงทรงแสดง อุเบกขาบารมี เป็นลำดับที่ ๑๐ อันเป็นลำดับสุดท้าย

บารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้ ย่อมต่อเนื่องกัน ไม่ขาดจากกันไปได้ และไม่จำต้องเริ่มบำเพ็ญทานก่อน ดังที่ท่านปรมัตถทีปนีฎีกาจารย์ได้ขยายอรรถาธิบายของท่านอรรถกถาจารย์ว่า กุสลกรรมใดที่กระทำด้วย สมฺปชานกต คือเกิดมีปัญญาแจ้งในผลบุญแล้ว บารมีทั้ง ๑๐ ทัส ย่อมบริบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง โดยไม่จำต้องคำนึงว่าต้องเริ่มด้วย ทานบารมีก่อน และได้ยก มหากปิชาดก คือ พญาวานรโพธิสัตว์ ที่ได้ช่วยชีวิตพราหมณ์หน่อเทวทัต นั้นมาประกอบด้วย ดังมีเรื่องโดยย่อว่า

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/123.htm

------------------------------------------------------------


อ้างคำพูด:
พระท่านบอกว่า ถ้าเรามัวแต่คิดหรือพูดไม่ลงมือปฏิบัติ อีกสักโกษฐ์ล้านปีก็ไม่สำเร็จ


ในเรื่อง ปริยัติ และ ปฏิบัติ นั้น ต่างมีความสำคัญพอ ๆ กัน

ซึ่งท่านอาจารย์ก็ได้แสดงไว้ดังนี้

http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard ... opic=12631

ได้สนทนาธรรมกับลูกศิษย์คนหนึ่ง ได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เขารู้สึกว่าเป็นมุมมองที่ดีเกี่ยวกับการที่เราจะพ้นทุกข์ และก็เคยได้ทราบจากหลวงพ่อเสือว่า เพราะความทุกข์เป็นสิ่งที่มีอยู่ แต่ไม่มีผู้กำหนดรู้ เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา จึงกำหนดรู้ทุกข์นั้น ว่าเป็นอะไร และต้นตอวัฏฏะของทุกข์นั้น ก็คือ ตัณหา และอวิชชา


ตัณหา ก็คือ ความอยาก อวิชชา คือ ความไม่รู้ มีคนอยากโดยไม่รู้ อยากกินอาหารอร่อยแต่ไม่รู้ว่าอาหารอร่อยนั้นอยู่ที่ไหน ก็ไปไม่ถึง สรุปได้ว่า คนพ้นทุกข์นั้นจะต้องประกอบไปด้วยไตรเหตุ ผู้ที่จะบรรลุธรรมได้ต้องเป็นผู้ไตรเหตุ เพราะวิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นต้องอาศัยไตรเหตุนั้นเป็นพื้นฐาน และในวิปัสสนาญาณ ที่เรียกว่าโสฬสญาณนั้นมี ๑๖ ญาณ เมื่อตัดสามญาณแรกออกไปก็จะเหลือ ๙ ญาณที่เป็นวิปัสสนาแท้คือนับตั้งแต่อุพพพยญาณขึ้นไป


หลวงพ่อท่านบอกว่า ผู้ที่จะพ้นทุกข์ก็จะต้องเป็นผู้ไตรเหตุ และคำว่าไตรเหตุในที่นี้เกิดขึ้นในชีวิตได้ยากมาก หรือจะเกิดในชีวิตของผู้หนึ่งผู้ใดยากมากๆ เช่น การปฏิสนธิด้วยไตรเหตุของผู้ที่จะพ้นทุกข์นั้น ผู้นั้นจะต้องได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ ญาณทั้งสามหรือญาณใดญาณหนึ่งมาแล้ว ซึ่งเป็นปฐมญาณในวิปัสสนาเพราะยังไม่ใช่วิปัสสนาจริง


เราก็จะเห็นได้ว่า ผู้ที่เรียนแล้วก็นำไปปฏิบัติจนกระทั่งบังเกิดความรู้ขึ้นที่ตัวเอง คือ นามรูปปริจเฉทญาณ รู้ลักษณะรูปนาม รูปนามแท้ๆ เกิดขึ้น รู้ปัจจัยอันเกื้อกัน ต่อเนื่องกันของรูปนามนั้นแท้ๆ รู้ความเป็นไป ของรูปนามนั้นแท้ๆ ไม่มีอะไรมากไปกว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่อย่างอ่อนเท่านั้นเอง อำนาจของความรู้เหล่านี้ก็รวมกัน ทำให้ผู้นั้นปฏิสนธิไตรเหตุ


แต่ที่เราเรียนธรรมะกันอยู่โดยปริยัติ แล้วบอกว่าสร้างให้เป็นคนไตรเหตุนั้นเรารู้จากวาทะของครูอาจารย์ในรุ่นโบราณอย่างสมานวาทะกับเกจิวาทะ


ขอย้อนกลับไปเรื่องเรื่องที่ได้สนทนาธรรมกับลูกศิษย์คนหนึ่งซึ่งเขาแสดงทัศนะถึงลูกศิษย์อีกคนหนึ่งชื่อฟูว่า น่าจะเป็นผู้บรรลุง่าย เพราะหนึ่ง.. ชอบทำทาน สอง ..ชอบเรียนอภิธรรม สาม.. ชอบปฏิบัติวิปัสสนา และก็ชอบในสิ่งดีๆ อีกหลายอย่าง คนเช่นนี้ถ้าไปอยู่ในสมัยพุทธกาล ก็จะมีโอกาสบรรลุได้ง่าย เพราะถ้าพระพุทธเจ้าได้ออกมาโปรดพุทธบริษัท หรือพระอรหันต์สาวกได้กระจายกันออกไปเผยแผ่ธรรมะ


เช่น สายของพระสารีบุตรออกไปเผยแผ่เป็นสายพระอภิธรรมล้วนๆ ไปประกาศธรรม พอลูกศิษย์คนนี้เดินไปได้ยินท่านคุยกับผู้เรียนอภิธรรม ...ก็จะเกิดความสนใจแล้วก็เข้าใจได้ง่าย ซึ่งต่างจากจากพวกที่ไม่ชอบเรียนอภิธรรมเลย มุ่งปฏิบัติวิปัสสนาลูกเดียว พอได้ยินเขาคุยอภิธรรมก็ไม่รู้เรื่อง ..ที่นี้พอเขาฟังพระอภิธรรมเข้าใจแล้วก็อาจเกิดการสนทนาซักถามขอความรู้จากพระอรหันต์ต่อไป


สมมุติว่าถ้าเขายังไม่บรรลุ เมื่อเขาเดินทางก็ไปเจอพระอานนท์ พระอานนท์ท่านเป็นพหูสูตมาก ท่านเก่งพระสูตรและพระอภิธรรม เพราะฟังจากพระพุทธเจ้าทุกอย่าง เผอิญมีผู้หนึ่งกำลังปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ ได้เกิดความสงสัยและซักถามพระอานนท์ว่าในขณะที่ปัจจัยเกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร เมื่อพระอานนท์ท่านตอบ ลูกศิษย์คนนี้ที่อาจกำลังทำงานอยู่แล้วได้ยินเข้า ก็อาจเข้าใจว่า อ้อ! ปัจจัยก็เป็นอย่างนี้นี่เอง ก็อาจสามารถปฏิบัติโดยกำหนดรู้นามรูปที่เกิดขึ้นนั้นได้เลย โดยอาศัย ปัจจัยที่ได้ยินจากพระอานนท์เมื่อสักครู่นี้นั้นปัจจัย ปัจจยปริคหญาณก็เกิดขึ้น


และสมมุติต่อไปว่า ถ้าเขายังไปสามารถบรรลุได้แต่มีความกระตือรือร้นในการที่จะพาตนเองพ้นทุกข์มากขึ้นๆ และก็พอดีกับว่าตัวเขามีสัมภาระพะรุงพะรังแบกของไว้มาก จึงคิดว่าไม่เอาแล้ว ภาราหะเว ปัญจะ ขันธา ฯลฯ ด้วยนิสัยในการชอบทำทานก็แจกจ่ายออกไป และก็ได้ไปพบกับพระสีวลีเป็นเลิศแห่งการทำทาน เมื่อถูกท่านกระตุ้นด้วยอนุโมทนากถาว่าทานนี้ให้ผลอย่างไร เขาก็อาจเกิดปิติโสมนัส และอาจบรรลุธรรมได้


ก็จะเห็นได้ว่าทุกบารมีนั้นสำคัญ ถ้าเรียนอย่างเดียวโดยไม่ปฏิบัติก็ไม่พ้นทุกข์ และต้องปฏิบัติถูกตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ด้วย คือ ดูเป็นจึงจะพ้นทุกข์ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติอย่างเดียวนั้นมันต้องมีเหตุอดีตจากการเข้าใจในพระปริยัติมา ฉะนั้น สองอย่างนี้ต้องบวกกัน และบารมีต่างๆ เกื้อหนุนให้เกิด


ฉะนั้น เราท่านทั้งหลายที่ ณ วันนี้ ถึงบอกว่า ต้องแบ่งเวลาบ้าง ด้วยการปฏิบัติ ด้วยการทำความรู้ให้เจริญ นามรูปปริจเฉทญาณสำคัญเพราะเป็นพาหนะ แต่ความท่องไว้มาก แบกไว้มาก ไม่ใช่พาหนะ แต่เป็นภาระ

------------------------------------------------------


ในเรื่อง บุคคลไตรเหตุ ที่หลวงพ่อเสือพูดถึงนั้น ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก


ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=60


บทว่า นโร ได้แก่ สัตว์.
บทว่า สปญฺโญ ได้แก่ ผู้มีปัญญาโดยปฏิสนธิมาด้วยปัญญาอันเป็นไตรเหตุอันเกิดแต่กรรม.
บทว่า จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ ได้แก่ ยังสมาธิและปัญญาให้เจริญอยู่.
จริงอยู่ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาบัติ ๘ ไว้ด้วยหัวข้อแห่งจิต ตรัสวิปัสสนาไว้โดยชื่อว่าปัญญา.
บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร.

----------------------------------------------------------

สีเล ปติฐาย นโร สปญฺโญ
จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ
โส อิมํ วิชฏเยชฏํ

ความว่า นรชาติชายหญิง ผู้มีปัญญาแต่กำเนิด
มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสมีปัญญาบริหารจิต
เห็นภัยในการเวียนว่ายตายเกิด ตั้งมั่นในศีล
อบรมสมาธิและวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น นรชนชาติชายหญิงนี้เท่านั้น
จึงจะสามารถสางรกชัฏที่เป็นเสมือนข่ายคือ ตัณหาออกได้


รายละเอียดเพิ่มเติม

http://www.abhidhamonline.org/Ajan/book.htm

ต้องการนิพพาน...ต้องรู้ถูก
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/SW/ni.doc

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 06:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
:b32: :b32: :b32:

บอกเรื่องบารมี 10..

คนฉลาดเกิน..ก็จะหาว่า..แค่ 10 เอง จะไปถึงนิพพานได้หรือ?..ดูมันน้อย ๆ ยังงัยชอกกล..ละมั้ง?

คนฉลาดเกิน..ต้องการรู้ให้หมด..ทุกซอกทุกมุม..

คนฉลาดเกิน..จึงเนิ่นช้า :b12: :b12:

คนฉลาดน้อย..ครูอาจารย์บอกยังงัย..ก็ทำยังงั้น

คนฉลาดน้อย..ได้อาจารย์ถูก..ไปง่าย..ได้อาจารย์ผิด..ก็เนิ้นช้า :b12: :b12:

มันเป็นเรื่องธรรมดา..ของคน..ครับ..คุณBwitch..อดทนแจงไปทีละข้อ ๆ ก็แล้วกันเน๊าะ..สาธุ

Bwitch เขียน:
:b1: ชมกันหรือป่าวคะ ...คนฉลาดน้อย ไปง่าย...แห่ะ แห่ะ :b9: :b32:

ดิฉันว่าปราชญ์หลายท่านกำลังอดทนอ่านความเห็นของดิฉันอยู่มากกว่าค่ะ
ส่วนดิฉันก็พยายามฝืนทำในสิ่งที่เกินปัญญาตัวเอง.... :b22: :b12:
ได้เท่านี้จริงๆ ค่ะ ไม่ต่ออีกแล้ว สาธุที่ให้โอกาสค่ะ :b8:


จ๊ะเอ๋.... :b4: :b4: เพื่อนเกี้ยมทั้งสอง... :b4: :b4:
มาแอบสนทนาธรรม...ตรงนี้นี่เอง...

:b8: ... เพื่อนม๊ดจ๋า... :b20: :b20:
เอาเถอะ...โชว์ลวดลายธรรมแบบ...ตัวเอ๊ง..ตัวเองหน่อย... :b20: :b20:
เพื่อนเกี้ยม...จะคอยตามดู...ตามให้กำลังใจ...ไม่ห่าง...
ผิดเพี้ยน ผิดพลาด...ขี้เกี้ยมเชื่อว่า จะมีผู้รู้เข้ามาร่วมชี้แนะ...ปรับแต่ง...

:b8: :b8: :b20: :b20: :b8: :b8: :b20: :b20:

เมื่อเข้ามาในลานธรรมแล้ว...เราใช้ช่วงเวลานี้...
เพื่อประโยชน์สุขทางธรรมต่อตน และ ต่อผู้อื่น กันเต๊อะ...เน๊อะ...ม๊ดดดเน๊อะ...

รักเพื่อนม๊ด...นะจ๊ะ
แต่เพื่อน...อ๊บ อ๊บ...รักไม่ได้ เดี๋ยวหัวแตก...
ไม่รู้วิมานน้อย ๆ สีซมปูไปถึงไหนแล้ว...หน๋ออออ....
ท่านอ๊บ อ๊บ พูดจริง ๆ นะ... เกี๊ยมอยากมีโอกาสอวยพร...

:b48: :b55: :b48: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กรัชกาย เขียน:

นั่งสมาธิแล้วแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก

พอนั่งสมาธิแล้วจิตเริ่มเป็นสมาธิแล้ว ลมหมายใจเริ่มหายไป แผ่วเบา

พอเริ่มรู้ว่แผ่วเบา ก็เลยกังวล ว่าหายใจอยู่ปะเนี๊ย

และรู้สึกอึดอัด แน่นหน้าอก ต้องกลับมาหายใจตามปกติเหมือนเดิม

ทุกที เป็นอย่างเงี้ย ประจำเลย


เป็นอะไร ไม่ใช่การเจริญอานาปานสติหรือครับ

แล้วการปฏิบัติธรรมจริงของคุณคืออะไรหรือขอรับ

ตอบให้ตรงคำถามก็จบ แต่นี่คุณโยกไปโยกมาแล้วจะให้ว่ายังไงล่ะ ขอรับ :b12:



คุณเฉลิมศักดิ์ทำมองไม่เห็นคำถามนี้อีก ถามว่า นั่นไม่ใช่การเจริญอานาปานสติดอกหรือครับ

ตอบหน่อย

แล้วอานาปานสติตามที่คุณเข้าใจคืออะไร ต้องทำยังไง ตอบหน่อยครับ




ส่งสัยคุณเฉลิมฯ สายตาเอียง มองข้ามคำถามที่ตนเองพูดอยู่แท้ๆ ครั้นเรานำมาถามเพื่อความเข้าใจ

ก็หลบๆเลี่ยงๆ

ถ้างั้นกรัชกายจะสรุปความคิดคุณนะขอรับ :b28:

คุณคงภูมิใจ... ที่ได้พูดศัพท์ธรรมะว่า อานาปานสติบ้าง ว่า โยนิโสมนสิการบ้าง ว่า อัตตาบ้าง ว่า

วิปัสสนาเป็นต้นบ้าง

แต่ไม่รู้ความหมายของศัพท์เหล่านั้นเลย

พูดให้เห็นภาพก็ว่า เหมือนนกแก้วนกขุนทองที่พูดภาษาคนได้ แต่ไม่รู้เข้าใจว่าหมายถึง

อะไร :b1: :b12:

นึกออกไหมครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 28 ม.ค. 2010, 08:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2010, 16:01
โพสต์: 19

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องกราบขอโทษ ท่านเจ้าของกระทู้นะครับ ที่ทำลายบรรยากาสในการสนทนาของท่านและต้องขอโทษทุกท่านที่กล่าวอ้างถึง..

ข้าพเจ้าขอ อโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใดตั้งแต่ชาติปางใดๆก็ตามขอให้เจ้ากรรมและนายเวรจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปอีกเลย.
และไม่ว่ากรรมใด ที่ใครทำกับข้าพเจ้าไว้ก็ตาม ข้าพเจ้าขอยกถวายเป็นอภัยทานแด่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดทั้งสิ้น เพื่อจะได้ไม่มีเวรมากรรมกันต่อไป.
สาธุๆๆ
:b40:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2010, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชาย อ่านคำตอบเรื่อง อานาปานสติ & สมาธิ ได้ที่

http://larndham.org/index.php?showtopic ... ntry139473

อ้างคำพูด:
อานาปานสติเป็นได้ทั้ง สมถะ - วิปัสสนา ขึ้นอยู่กับการวางใจของผู้ปฏิบัติ ถ้าทำเพื่อให้เกิดความสงบอย่างเดียวหรือให้ได้ฌานก็เป็น สมถะ

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
http://www.abhidhamo...aphi/p7/027.htm
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (บางส่วน)

บรรพที่ ๑ อานาปานสติ นี้เจริญได้ทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา กล่าวคือ

ถ้ากำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก โดยถือเอาบัญญัติ คือลม เป็นที่ตั้งแห่งการเพ่ง เพื่อให้ได้ฌาน ก็เป็นสมถภาวนา

แต่ถ้ากำหนดพิจารณาความร้อนเย็นของลมหายใจที่กระทบริมฝีปากบน หรือ ที่ปลายจมูก เพื่อให้เห็นรูปธรรม ตลอดจนไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา
---------------------------------------------------------------

เมื่อก่อนผมต้องการเห็นการเกิดดับ คือไตรลักษณ์ ของลมหายใจ เลยท่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เวลา หายใจเข้าออก

ถ้าการดูลม แบบเดิมอาจจะยังไม่ รู้ชัด(ปชานาติ)หรือไม่เกิดความสงบสักที ผมขอแนะนำการปฏิบัติ วิปัสสนายานิกะ แนวการดู รูป นาม ที่เป็นปัจจุบันอารมณ์ ซึ่งมีหลักดังนี้

หลักปฏิบัติ ๑๕ ข้อ
http://abhidhamonlin...15Principle.htm
!
!
๓. ต้องรู้สึกตัวอยู่ว่าขณะนั้นกำหนดนามอะไร หรือกำหนดรูปอะไร



ผู้ปฏิบัติต้องมีนาม-รูปรองรับ ความรู้สึกอยู่เสมอ ความรู้สึกที่ปรากฏขณะเจริญกรรมฐาน จะต้องมี นามหรือรูปเป็นตัวถูกรู้ จะเป็นนามอะไร รูปอะไรก็ได้ ถ้าขณะใดมิได้กำหนดนามหรือรูปแม้จะมีสติรู้อยู่ กำหนดอยู่ก็ตามพึงทราบขณะนั้น ว่าจิตได้ตกออกจากทางวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานเสียแล้ว ต้องยกนามหรือรูปกลับขึ้นสู่ความรู้สึกใหม่ต้องระลึกว่า การกำหนดตามหลักสติปัฏฐานแล้ว ต้องมีนาม-รูปเป็นอารมณ์อยู่เสมอ

๔. ห้ามมีความต้องการ



ขณะกำหนดหรือดูนาม-รูปอยู่ ผู้ปฏิบัติต้องระวังมิให้เกิดความรู้สึกต้องการ หรือมิให้เกิดความรู้สึกว่า กำหนดเพื่ออะไร เช่น ต้องการเห็นนาม-รูป หรือต้องการเห็นนาม-รูปเกิดดับ หรือต้องการให้เกิด วิปัสสนาญาณ เช่นนี้เป็นความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง

!
!
------------------------------------------------------------

สติปัฏฐาน ๔ คืออะไร ? และ อานิสงส์ของการปฏิบัติ
http://larndham.net/...opic=15118&st=0

จะต้องทำอย่างไร จึงจะได้ชื่อว่าเจริญสติปัฏฐาน ?
http://larndham.net/...opic=15955&st=0

สมถะ -- วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร ?
http://larndham.net/...=11408&st=0&hl=

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔
http://larndham.net/...opic=15688&st=0

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร